เคสนี้น้องติดต่อมาหาคนเขียนหลังจากที่วีซ่า 485 ถูกปฏิเสธไปเรียบร้อยแล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่าน้องไม่ได้ยื่นใบสมัครภายใน 6 เดือนนับจากที่เรียนจบ
▓ ย้ายที่อยู่ เปลี่ยนอีเมล์ ระหว่างรอผลวีซ่า ..... แจ้งอัพเดทข้อมูลกับอิมมิเกรชั่นด้วย ▓ ไม่ได้เปลี่ยนอีเมล์ ? ..... นอกจากเช็ค Inbox แล้ว ..... เช็ค Junk / Spam ด้วย ▓ 2 อาทิตย์ 4 เคส .... ติดต่อมาด้วยปัญหาเดียวกัน ถูกปฏิเสธวีซ่า แต่ทราบเมื่อเลยกำหนดการยื่นอุทธรณ์ไปแล้ว ◙ 1 x เปลี่ยนอีเมล์ แต่ไม่ได้แจ้งอัพเดทอิมมิเกรชั่น ◙ 2 x อีเมล์แจ้งปฏิเสธวีซ่าไปตกอยู่ใน Junk / Spam ◙ 1 x เอเจนต์แจ้งให้ทราบช้า ! ! ▓ ยื่นอุทธรณ์ไม่ทัน ปัญหาใหญ่ .... ถ้าไม่มีเหตุผลที่ดีมากๆและเข้าข้อกฏหมาย หน่วยงานอุทธรณ์ไม่รับพิจารณาเคส และทั้ง 3 เหตุผลที่ลิสไว้ ไม่ใช่เหตุผลที่ดี .... 3 ใน 4 เคสนี้ เป็นเคส PR ด้วย น่าเสียดายมากค่ะ บางเคสเราอาจจะมีทางทำอะไรได้ แต่ชีวิตไม่ง่ายแล้ว ▓ ช่วงนี้ Partner visa ถูกปฏิเสธกันเยอะ อย่าคิดว่า Stage 2 Partner visa ไม่ต้องใช้อะไรมาก ทำเคสแน่นๆไว้ก่อน จะได้ไม่มาเสียใจทีหลัง .... 2 ใน 4 เคสที่ยื่นไม่ทันนี่ก็ Stage 2 Partner visa ค่ะ ถูกปฏิเสธเพราะหลักฐานไม่แน่นพอ แล้วตอนนี้ก็ยื่นอุทธรณ์ไม่ทันอีก .... ปัญหาใหญ่ยังไง นอกจากยื่นอุทธรณ์ไม่ทัน ◙ ยื่นใหม่ในออสเตรเลีย ไม่ได้ ◙ ค่ายื่น $8000+ ◙ ถูกปฏิเสธเพราะไม่เชื่อเรื่องความสัมพันธ์ ไปรอลุ้นอยู่นอกประเทศว่าเคสยื่นใหม่อิมมิเกรชั่นจะเชื่อในความสัมพันธ์หรือไม่ .... ไม่มีวีซ่า ไม่ได้กลับมา ▓ ช่วงนี้อิมมิเกรชั่นเริ่มลงตรวจธุรกิจต่างๆเยอะขึ้น ตามนโยบายใหม่ของรัฐบาล ◙ นายจ้างที่สปอนเซอร์พนักงาน เก็บเอกสารที่ควรจะต้องมีให้เป็นระเบียบหาง่ายๆด้วย ◙ นายจ้างทั้งที่เป็นสปอนเซอร์และไม่ได้เป็น และลูกจ้างทั้งหลาย ทำอะไรไม่ถูกต้องอยู่ แก้ไขด้วย รอให้อิมมิเกรชั่นมาเจอ อาจจะไม่ใช่แค่การตักเตือน นายจ้างอาจจะต้องเสียค่าปรับ ติดบาร์ห้ามสปอนเซอร์ ลูกจ้างอาจจะถูกยกเลิกวีซ่า Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com คนเขียนมีน้องโทรมาถามกันเป็นระยะๆ
พี่คะ แฟนหนูเคยสปอนเซอร์แฟนมาแล้ว 2 คน เค้าจะสปอนเซอร์หนูได้ไหมคะ พี่คะ แล้วถ้าหนูมีลูกด้วยกัน มันจะทำให้เคสง่ายขึ้นไหมคะ คำถามสั้น คำตอบไม่สั้น -- คนเขียนไม่ค่อยตอบว่าทำได้ หรือทำไม่ได้ บอกตามตรงว่าคำตอบแบบนี้ สำหรับคนเขียนรู้สึกว่าเป็นคำตอบไร้สาระ ตอบแบบไม่มีความรับผิดชอบ * ตอบว่าทำได้ ก็เป็นคำตอบให้ความหวัง แต่จริงๆอาจจะทำไม่ได้ * ตอบว่าทำไม่ได้ ก็เป็นคำตอบตัดความหวัง แต่จริงๆอาจจะทำได้ ก็ได้ กฏหมายคนเข้าเมืองอนุญาตให้สปอนเซอร์แฟนได้แค่ 2 คนค่ะ (Sponsorship limitation) ... ถ้าต้องการสปอนเซอร์แฟนคนที่ 3 ต้องโชว์เหตุผลน่าเห็นใจ แจกแจงไปว่าทำไมอิมมิเกรชั่นถึงควรจะอนุญาตให้สปอนเซอร์อีกได้ ซึ่งไม่ง่าย แต่ละเคสเราต้องดูเนื้อหา เข้าใจเคสในรายละเอียด บางเคสต้องคิดหลายวัน บางเคสคิดกันเป็นเดือน บางเคสคิดไปตลอดระยะเวลาการทำงาน เพราะเป็นเคสความเสี่ยงสูง ถ้าใครจับพลัดจับผลู ได้แฟนที่สปอนเซอร์ไปแล้ว 2 คน ทางเลือกของน้อง คือ 1. เลิก 2. เป็นแฟนกันไป แต่น้องหาวีซ่าอื่นยื่น ... ที่ไม่ใช่ Partner visa 3. ลุยไปข้างหน้ากับ Partner visa แต่เข้าใจว่าเคสไม่ง่าย เพราะต้องพิสูจน์เหตุผลน่าเห็นใจ สำหรับปีนี้ คนเขียนจบเคสสปอนเซอร์แฟนคนที่ 3 ไป 2 เคส เคสแรก เป็นคู่ต่าง (ชาย-หญิง) ไม่มีลูกด้วยกัน ----- ลูกความกลัวเคสยากไม่พอสำหรับคนเขียน ระหว่างรอเคส คุณสปอนเซอร์ก็ไปมีคดีอาญา ให้คนเขียนแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเพิ่มด้วย เคสที่สอง เป็นคู่เหมือน (ชาย-ชาย) ก็แน่นอน ไม่มีลูกด้วยกัน ----- เคสนี้ ระยะเวลาความสัมพันธ์ค่อนข้างสั้น และอิมมิเกรชั่นก็เรียกเคสเร็วกว่าที่คาดไว้ ... แผนงาน (Strategy) ที่วางไว้ เป็นอันต้องปรับใหม่หมด แก้ปัญหาเฉพาะหน้าอีกแล้ว ทั้งสองเคส ลูกความน่ารักมาก Proactive .... ขออะไร ได้ .... ให้ทำอะไร ทำ ทั้งสองเคส คนเขียนแจ้งค่าใช้จ่ายชั้นอุทธรณ์เผื่อไว้เลยตั้งแต่ก่อนเริ่มงาน เพราะเป็นเคสความเสี่ยงสูง (ทำงานกับคนเขียน ไม่มีโลกสวยนะคะ) ทั้งสองเคส ได้เอาเงินเก็บที่เตรียมไว้สำหรับชั้นอุทธรณ์ไปทำอย่างอื่น เพราะเคสผ่านไปได้ด้วยดีที่ชั้นอิมมิเกรชั่น เคสแรก (ชาย-หญิง) ใช้เวลาเกือบ 3 ปี เคสที่สอง (ชาย-ชาย) ใช้เวลา 8 เดือน ลูก ..... ถ้าจะมีลูกเพราะอยากมี จัดไป .... ถ้าจะมีลูก เพราะคิดว่าจะช่วยเรื่องวีซ่า ขอร้องอย่าทำ 1. ไม่แฟร์กับเด็กที่จะให้เค้าเกิดมาด้วยเหตุผลแบบนี้ 2. ไม่มีลูกด้วยกัน เคสก็ผ่านได้ 3. มีลูกด้วยกัน ก็ไม่ได้แปลว่าจะทำให้เคสง่ายขึ้นเสมอไป คนตัดสินเคสทั้งชั้นอิมมิเกรชั้น และชั้นอุทธรณ์ ก็คนเหมือนเราๆนี่แหละ ... บางคนก็มีความเห็นอกเห็นใจ ... บางคนก็ไม่สน ไม่แคร์ ... และถ้าเคสถูกปฏิเสธ นอกจากตัวเองจะเดือนร้อนแล้ว ยังเอาเด็กตัวเล็กๆที่ไม่รู้เรื่องอะไร มาเดือนร้อนไปด้วย ... และถ้าบังเอิญความสัมพันธ์ไปไม่รอดล่ะ ?? Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com เมื่ออาทิตย์ก่อน คนเขียนเข้าร่วมสัมมนาที่จัดโดยหน่วยงานอุทธรณ์ Administrative Appeals Tribunal - AAT และหนึ่งในข้อมูลที่ได้รับจาก AAT คือ เคสธุรกิจ - นายจ้างสปอนเซอร์ มีเรทการชนะที่ชั้นอุทธรณ์ที่ 35% !!!
อนาคตไม่รู้ .... แต่ ณ วันนี้ เคสอุทธรณ์นายจ้างสปอนเซอร์ของคนเขียนทุกเคสอยู่ใน 35% นี้ การเตรียมเคสนายจ้างสปอนเซอร์ โดยเฉพาะเคสถูกปฏิเสธ Nomination ไม่ง่าย เพราะเป็นการพิสูจน์ใหม่หมดทุกประเด็น ไม่ใช่เฉพาะประเด็นที่ถูกปฏิเสธ และในความเห็นของคนเขียน ถ้าเตรียมเคสดีๆ ก็มีโอกาสสูงอยู่ เพราะส่วนใหญ่เป็นประเด็นที่ไม่ Black / White แต่ออกแนว Grey คือเรามีโอกาสที่โน้มน้าวให้ Tribunal member (คนตัดสินเคส) เห็นตามแนวทางการโต้เถียงของเรา สำหรับคนที่ไม่รู้ .....
หลายคนอาจจะสงสัยว่า Q: อ้าว ... แล้วจะยื่นไปพร้อมกันทำไม คือควรจะยื่น Nomination application และรอให้ผ่านก่อน แล้วค่อยยื่น Visa application ดีกว่าไหม A: จะยื่นพร้อมกัน หรือยื่นแยกเป็นสเต็ป ไม่มีสูตรตายตัวค่ะ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง พิจารณากันไปเคสๆไป ทั้ง 2 แบบ มีข้อดี ข้อเสีย แตกต่างกัน บางคนอาจจะไม่มีทางเลือก เช่นวีซ่ากำลังจะหมด หรือกฏกำลังจะเปลี่ยน หรือบางคนมีทางเลือก แต่ก็ยังควรจะยื่นไปพร้อมๆกัน ด้วยเหตุผลเฉพาะของแต่ละเคส (การให้คำแนะนำเคสพวกนี้ ต้องสัมภาษณ์แบบเจาะลึกค่ะ) Q: อุ๊ย ... ถ้า Nomination ถูกปฏิเสธ เราก็รีบถอนใบสมัครวีซ่า ก่อนถูกปฏิเสธสิ ??? A: ขึ้นอยู่กับเนื้อหา / สถานการณ์ของแต่ละเคสอีกแล้ว บางเคสก็ควรถอนเรื่อง บางเคสก็ควรปล่อยให้ถูกปฏิเสธแล้วไปอุทธรณ์ ยกตัวอย่างเช่น น้องยื่นวีซ่าก่อนกฏเปลี่ยน ถ้าถอนเรื่อง แล้วรอยื่นใหม่เมื่อพร้อม น้องก็ต้องยื่นให้เข้ากฏปัจจุบัน ซึ่งอาจจะเป็นไปไม่ได้สำหรับน้องบางคน (ถ้าถึงจุดที่ Nomination ถูกปฏิเสธ และไม่ทราบว่าควรจะถอนเรื่อง หรือปล่อยให้วีซ่าถูกปฏิเสธดี ควรจะนัดปรึกษาค่ะ เพราะบางเคส ต่อให้น้องเข้ากฏเก่า และคิดว่าควรจะปล่อยให้ถูกปฏิเสธ เพื่อไปอุทธรณ์ แต่ถ้า Nomination หรือ Visa application ไม่มีโอกาสชนะเลย การยื่นอุทธรณ์ก็อาจจะไม่ใช่ทางออก) คนเขียนจบเคสอุทธรณ์ 186 / 187 Nomination & Visa applications ไป 3 เคสเมื่อไม่นานมานี้ ทั้ง 3 เคสเป็นเคสที่ยื่น Nomination & Visa applications ไปพร้อมกัน (2 ใน 3 เคสนี้ เป็นเคส Self-sponsorship) .... พอ Nomination ไม่ผ่าน Visa ก็ไม่ผ่านด้วย ทั้ง 3 เคส Strategy ของเรา (ด้วยเหตุผลที่ต่างกัน แต่ผลลัพธ์เหมือนกัน) คือ .... จูงมือกันไปอุทธรณ์ทั้งส่วนของนายจ้าง และลูกจ้าง ความน่าสนใจของลูกความ 3 เคสนี้ เคสที่ 1 - ลูกความ Proactive แบบสุดๆ แนะนำให้ทำอะไร ได้ดั่งใจทุกอย่าง ทั้งส่งเอกสาร ทั้งติดต่อคนเขียนเป็นระยะๆ อัพเดทกันตลอด มีคำถามอะไรเกี่ยวกับธุรกิจที่อาจจะกระทบกับเคส น้องโทรขอคำแนะนำก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไร หรือไม่ทำอะไร .... เคสยาก แต่ไม่มีความหนักใจเลย เคสที่ 2 - แนะนำอะไรไป ก็ทำมั่ง ไม่ทำมั่ง และแอบทำเคสเละระหว่างรอ Hearing อีกตังหาก (ลูกความของคนเขียนทุกคน ยกหูโทรหาคนเขียนได้ตลอดไม่ต้องนัดล่วงหน้า ถ้าไม่รับสาย เดี๋ยวโทรกลับ ... แต่น้องลูกความไม่โทร ไม่ถามนี่สิ) .... คนเขียนก็งานงอกซิคะ ต้องมานั่งแก้ปัญหาที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นหลายประเด็นตอนใกล้ Hearing เหนื่อยแบบสุดๆกับการคิด ว่าจะยื่นเอกสารอะไร จะเชิญชวนให้ Tribunal member เห็นดีเห็นงามไปกับคนเขียนได้ยังไงกับเคสที่ไม่ค่อยสวย .... จากนั้นก็มาลุ้นต่อว่าจะชนะหรือไม่ เคสที่ 3 - ลูกความรู้ดีกว่าคนเขียน (ใช่แล้ว บางทีเราก็ได้ลูกความที่รู้ดีกว่าเรา) .... เหนื่อยหนักกว่าเคสที่ 2 อีก กลัวเคสจะไปไม่รอด .... ลองนึกถึงคนที่แนะนำอะไรไปก็เถียง ไม่ฟัง ให้เตรียมอะไรก็ไม่เตรียมเพราะมั่นใจในตัวเอง .... บอกตามตรงว่าคนเขียนมีโมเม้นต์ที่อยากจะเชิญลูกความให้เอาเคสกลับไปทำเอง ทั้ง 3 เคส คนเขียนเคลียร์ประเด็นที่ถูกปฏิเสธโดยอิมมิเกรชั่นได้แบบไม่ยาก แต่เนื่องจาก AAT ดูเคส Nomination ใหม่หมดทุกประเด็น ไม่ใช่แค่ประเด็นที่ถูกปฏิเสธ เพราะฉะนั้นเราโฟกัสไปประเด็นที่ถูกปฏิเสธประเด็นเดียวไม่ได้ และทั้ง 3 เคสนี้ ประเด็นที่เป็นปัญหาจริงๆที่ชั้นอุทธรณ์ ก็ไม่ใช่ประเด็นที่ถูกปฏิเสธโดยอิมมิเกรชั่น (ความน่าปวดหัวของเคส Nomination อยู่ตรงนี้เอง) ..... ลองนึกภาพ คนเขียน: น้องคะ ประเด็นนี้ (xxx) คาดว่าจะเป็นประเด็นหลัก น้องเตรียมเอกสาร 1 2 3 4 และเตรียมข้อมูล (yyy) ไว้ด้วยนะคะ คาดว่าคำถามจะมาประมาณ บลา ... บลา ... บลา ลูกความ: โอ๊ยพี่ ไม่ต้องหรอก มั่นใจว่าประเด็นนี้ไม่ใช่ปัญหา เพราะ บลา ... บลา ... บลา (หลงประเด็น แต่มั่นใจ) คนเขียน: น้องถือสายรอแป๊บนึงนะคะ เดี๋ยวกลับมาอธิบายให้ฟังอีกรอบ [คนเขียนขอเอาหัวไปโขกเสา 3 รอบ และนับ 1 - 100 ก่อน] จริงๆ อธิบายย้ำไปอีกหลายรอบ .... แนะนำได้ แต่ถ้าลูกความไม่ทำ คนเขียนก็ทำอะไรไม่ได้ ได้แต่ทำใจ วัน Hearing: ไม่ใช่แค่ประเด็นที่คาดไว้เท่านั้น แต่เป็นคำถามที่คาดไว้ด้วย น้องตอบไม่ได้ เพราะไม่ได้เตรียม (คนเขียนอยากจะบอกว่า I told you so!!) .... คนเขียนจะไม่แคร์ก็ได้ เพราะพยายามแล้ว แนะนำแล้ว ซ้ำหลายรอบด้วย แต่น้องไม่ฟัง ไม่เตรียม .... แล้วแคร์ไหม ? .... อยากจะไม่แคร์เหมือนกัน แต่ทำไม่ลง ... สำหรับคนเขียน ตราบใดที่เคสยังอยู่ในมือ ก็ต้องทำให้ดีที่สุด .... เราก็ต้องมีเทคนิคการช่วยลูกความ รวมถึงโดน Tribunal member โวยใส่แทนลูกความด้วย !!!! (แอบสงสารตัวเองนิดนึง) เห็นไหม ว่าทำไม การทำเคสแต่ละเคส เรารับประกันความสำเร็จของงานไม่ได้ .... ปัจจัยที่อาจจะทำให้เคสไม่ผ่าน มีเยอะแยะมากมาย รวมถึงปัจจัยที่ไม่ควรจะเกิดแบบเคสนี้ แนะนำแล้วไม่ทำ สุดท้ายน้องมาขอโทษ ที่ไม่ฟัง และไม่เตรียมเคสตามที่แนะนำ และทำให้คนเขียนโดนโวย .... สำหรับคนเขียน การโดนโวยแทนลูกความเป็นเรื่อง จิ๊บ จิ๊บ ไม่คิดมาก [แต่ไม่โดนเลย ดีที่สุด] .... แต่ที่เคืองคือน้องไม่ฟัง และทำเคสเกือบพัง .... คนเขียนพยายามฝ่ายเดียวไม่ได้นะคะ น้องลูกความต้องพยายามด้วย นี่คือเหตุผลที่บางเคส คนเขียนก็ต้องเชิญลูกความให้ไปใช้บริการคนอื่น ถ้าไม่เชื่อ Strategy และคำแนะนำของคนเขียน ถ้าเชื่อคนอื่น หรือเชื่อตัวเองมากกว่า บอกเลยว่าช่วยยาก และเสียเวลามาก คนเขียนขอเอาเวลาอันมีค่า ไปช่วยคนที่มั่นใจในตัวคนเขียนดีกว่า ล่าม - ถ้าไม่มั่นใจในภาษาอังกฤษของตัวเอง หรือของพยาน ขอล่ามไว้ก่อน (ฟรี) .... คือมีล่าม แล้วไม่ใช้ก็ได้ แต่ถ้าจะใช้ แล้วไม่มี เดือดร้อนนะคะ เอเจนต์หรือทนายความช่วยแปลไม่ได้ เพื่อนน้องหรือพยาน ก็ช่วยแปลไม่ได้ ทั้ง 3 เคส คนเขียนขอล่ามให้ทุกเคส ลูกความของคนเขียน ก็มีทั้งแบบใช้ล่ามเป็นบางช่วง ไม่ใช้ล่ามเลยเพราะสื่อสารกันรู้เรื่อง เคสที่แอบปวดหัวคือเคสที่สื่อสารไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่ก็ไม่ยอมใช้ล่าม (จุดประสงค์ของการ Hearing คือการสื่อสารกับ Tribunal member ถาม-ตอบ และให้ข้อมูลว่าเคสเราควรจะผ่านเพราะอะไร ไม่ใช่การโชว์ความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษ และถ้าสื่อสารแบบติดๆขัดๆ นอกจากจะไม่ได้ช่วยเคสแล้ว คุณก็ไม่ได้โชว์ความสามารถทางภาษาอยู่ดี) ทั้ง 3 เคส เราชนะที่ชั้นอุทธรณ์ และเคสจบไปได้ด้วยดี .... ข้อมูลอีกอย่างที่ได้จากวันสัมมนา คือ ... 40% ของเคสธุรกิจ - นายจ้างสปอนเซอร์ที่ชั้นอุทธรณ์ใช้ระยะเวลารอเกิน 2 ปี .... เพราะฉะนั้น การตามเคสถี่ๆ ไม่ได้ทำให้เคสเร็วขึ้น คนอื่นเค้าก็รอเคสนานเหมือนคุณ ถ้าไม่มีเหตุผลอันสมควร ไม่ต้องคิดลัดคิว .... สิ่งที่จะช่วยคุณได้คือการใช้เวลาระหว่างรอเคสให้เป็นประโยชน์ที่สุด เก็บเอกสารหลักฐานที่จะต้องใช้ ... ในขณะเดียวกัน ก็ไม่ปิดโอกาสตัวเองในระหว่างรอ อย่าลืมว่ากฏหมายด้านนี้เปลี่ยนบ่อยมาก คุณอาจจะมีโอกาสยื่นและได้วีซ่าตัวอื่นในระหว่างรอเรื่องก็ได้ Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com เคสวีซ่านักเรียนที่ถูกปฏิเสธส่วนใหญ่เป็นเรื่อง Genuine Temporary Entrant (GTE) คืออิมมิเกรชั่นไม่เชื่อว่าน้องตั้งใจจะเป็นนักเรียนจริงๆ คืออาจจะคิดว่าขอวีซ่าเพื่อจะทำงาน หรือคิดว่าเมื่อเรียนจบแล้ว คงไม่ยอมกลับประเทศแน่ๆเลย
น้องๆนักเรียนถึงต้องเขียน Statement of purpose เพื่อที่จะโน้มน้าวอิมมิเกรชั่นว่า ชั้นอยากมาเรียนจริงๆนะ เรียนจบแล้วก็จะกลับนะ ยกตัวอย่างประเด็นที่ถูกปฏิเสธ ก็เช่น 1. อยู่ที่ออสเตรเลียมานานหลายปี 2. ขอเรียนระดับที่ต่ำกว่าวุฒิการศึกษาที่ไทย 3. ขอต่อวีซ่า และเลือกเรียนระดับที่ต่ำกว่าคอร์สที่เรียนก่อนหน้า 4. ขอเรียนในสายวิชาที่ไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับสายที่เคยเรียนมา หรือมีประสบการณ์ทำงานมา 5. อายุค่อนข้างเยอะ 6. ต่อวีซ่านักเรียนมาหลายรอบแล้ว อยู่มานานแล้ว แต่แทบไม่ได้กลับไปเยี่ยมที่บ้านเลย 7. ไม่ทำ Research และเขียน Statement of purpose ได้ไม่ดี 8. ไม่ยื่น Statement of purpose 9. .... มีอีก ... แต่ ตอนนี้คิดไม่ออก วันนี้คนเขียนมี Telephone Hearing .... ลูกความอยู่รัฐนึง คนเขียนอยู่อีกรัฐนึง และ AAT ก็อยู่อีกรัฐนึง น้องลูกความควบมาหลายประเด็นเลย อยู่ออสเตรเลียมาประมาณ 10 ปีได้ เรียนสูงมา แล้วมาเปลี่ยนเป็นคอร์สที่ต่ำกว่า และเป็นคนละสายกับที่เคยเรียนมา .... แถมอายุก็เริ่มเยอะ (อายุ 37 ตอนถูกปฏิเสธ อายุ 39 ณ วัน Hearing) .... Statement of purpose ของน้อง ก็ ..... เกือบดี ตอนน้องมาเป็นลูกความของคนเขียน น้องมีการยื่นเอกสารบางอย่างเข้าไปแล้ว รวมถึง Statement of purpose ... ที่แอบกุมขมับคือยื่นไป 2 ฉบับค่ะ!!!! ฉบับเกือบดี1 กับฉบับเกือบดี2 และยื่นต่างกัน 1 วัน เนื้อหาคล้ายกันแต่ไม่เหมือนกัน คือยื่นทำไม ไม่เข้าใจ (ปัญหาของคนทำเคสเอง คือไม่รู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไร) เคสนี้ เรายื่นเอกสารเข้าไปอีกเยอะเลยค่ะ รวมถึง Statement of purpose ฉบับใหม่ (คือถ้าน้องมาหาคนเขียนตั้งแต่ต้น เราคงยื่นแค่ฉบับใหม่ฉบับเดียว!) .... เอกสารบางชิ้น คนเขียนนั่งคิดนานมาก เพราะต้องชั่งน้ำหนักว่าเอกสารจะช่วยเคส หรือจะทำเคสพัง ..... เป็นความโชคดีของคนเขียน ที่ขออะไรไป น้องก็พยายามหามาให้ และน้องก็ไว้ใจ ให้คนเขียนตัดสินใจเลยว่าจะยื่นอะไร หรือไม่ยื่นอะไร Hearing เช้านี้ .... Tribunal member เริ่มต้นการพิจารณาด้วยคำว่า "ชั้นได้ดูเอกสารที่ยื่นเข้ามาทั้งหมดแล้ว และเอกสารครอบคลุมทุกประเด็น ทำให้ชั้นเชื่อว่าคุณตั้งใจจะเป็นนักเรียนจริงๆ และชั้นตัดสินใจส่งเคสกลับไปให้อิมมิเกรชั่นพิจารณาประเด็นอื่นต่อไป" ..... สรุปว่าไม่มีคำถาม .... แถมได้คำตัดสินเดี๋ยวนั้นเลย .... น้อง Happy มีแอบกรี๊ดใส่ Tribunal member เล็กน้อย .... เคสจบไปได้ด้วยดี (คนเขียนหายเหนื่อย และดีใจไปกับน้องด้วย) สำหรับเคสที่ถูกปฏิเสธวีซ่านักเรียน .... ถ้าอยากมีโอกาสชนะ ช่วยตั้งใจเรียนในระหว่างรอการพิจารณาด้วยนะคะ Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com น้องลูกความเคสนี้ ไม่ใช่คนไทยค่ะ Referred มาจากอดีตลูกความที่คนเขียนเคยทำ 457 และ 186 ให้ และน้องเป็นซิติเซ่นไปเรียบร้อยแล้ว น้องเริ่มมาปรึกษาคนเขียนหนแรกปี 2018
ปี 2019 นายจ้างของน้อง ติดต่อมาหาคนเขียน
และ ... ใช่แล้วค่ะ อ่านไม่ผิด .... ไม่ใช่ทุกเคสที่ถูกปฏิเสธ และถือ Bridging visa แล้วจะต้องติด Section 48 Bar บางเคส น้องยังอยู่ในภาวะที่ยังสามารถทำอะไรซักอย่างให้ตัวเองไม่ติด Section 48 Bar ได้ (เช่นเคสนี้) บางเคส กว่าน้องจะมาถึงคนเขียน ก็เลยช่วงเวลาที่จะทำอะไรซักอย่างได้แล้ว แต่การสัมภาษณ์เจาะลึกเพื่อที่จะเข้าใจ timeframe ต่างๆในชีวิตน้อง (หมายถึง timeframe ของวีซ่า) อาจจะช่วยให้คนเขียนพิจารณาได้ว่าจริงๆแล้วน้องติดหรือไม่ติด Section 48 Bar สรุปว่า .... ส่วนใหญ่แล้ว เคสที่ถูกปฏิเสธวีซ่า เคสรออุทธรณ์ และลูกความถือ Bridging visa จะติด Section 48 Bar คือยื่นวีซ่าส่วนใหญ่ในประเทศออสเตรเลียไม่ได้ ..... แต่ (ตัวโตๆ) ... ไม่เสมอไป
ปี 2021 น้องลูกความที่เป็นแฟน (วีซ่าติดตาม ในภาษาน้องๆคนไทย) ติดต่อมาขอนัดปรึกษาสำหรับเคสตัวเอง และไม่ได้ท้าวความอะไรเกี่ยวกับเคสข้างบนเลย แต่พอส่งเอกสารมา คนเขียนเห็นชื่อคนถือวีซ่าหลัก คนเขียนนึกเคสออกเลยว่าเคสไหน เคสหน้าตาเป็นยังไง เคยให้คำแนะนำอะไรไว้กับคนถือวีซ่าหลัก และนายจ้าง (ขนาดไม่เคยทำเคสให้นะ บางเคส คนเขียนก็มี Photographic memory เคสนี้จำรายละเอียดเคส และคำแนะนำของตัวเองในปี 2018 & 2019 ได้ โดยไม่ต้องดูเอกสารย้อนหลัง !!! สมองเป็นอะไรที่แปลกมาก)
ปัญหาคือ
ถ้าตอนปี 2019 น้อง action อย่างที่คนเขียนแนะนำ น้องก็จะไม่ติด Section 48 Bar น้องคนติดตามก็ยื่น 482 ในประเทศออสเตรเลียได้ และก็จะได้ ฺBridging visa มาถืออีกหนึ่งตัว ถ้าเคสผ่าน ปัญหาที่มีอยู่ก็จบ ถ้าเคสไม่ผ่าน น้องก็ยังยื่นอุทธรณ์ได้ พัฒนาเคสตัวเองต่อไปในออสเตรเลีย (hindsight is a wonderful thing) แต่ตอนนี้ทำแบบนั้นไม่ได้แล้ว ป.ล. ทนายความและเอเจนต์แต่ละคน มีสไตล์การทำงานไม่เหมือนกัน มองเคสไม่เหมือนกัน วาง Strategy การทำเคสไม่เหมือนกัน คุณมั่นใจคนไหน คุณใช้บริการคนนั้น หรือทำตามคำแนะนำของคนนั้น คนเขียนจบเคสอุทธรณ์ AAT 186/187 Nomination & Visa applications ไป 3 เคส (ชนะทั้ง 3 เคส และ 2 ใน 3 เคสนี้ เป็น Self Sponsor) จะแชร์ประสบการณ์ให้อ่านกันในโพสหน้านะคะ ..... ขอบคุณที่ติดตามค่ะ Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com น้องคนไหนส่งคำถามมาทางอีเมล์ น้อยมากที่คนเขียนจะไม่ตอบ และส่วนใหญ่จะตอบภายใน 1-3 วัน (แล้วแต่ความยุ่งและโอกาสของแต่ละวัน) ถ้าไม่ได้รับอีเมล์ตอบกลับ
ส่วนน้อยที่คนเขียนจะไม่ตอบอีเมล์ ก็เช่น คำถามกว้างๆสั้นๆ ประมาณ "หนูอยากทำพีอาร์ค่ะ" "ผมอยากไปออสเตรเลีย ต้องทำยังไง" ถ้าให้ข้อมูลมาแค่นี้ บอกตามตรงว่าไม่ทราบว่าจะตอบยังไงเหมือนกัน จะให้อธิบายวีซ่าทุกประเภทก็คงไม่ไหว เพราะฉะนั้น สั้น กระชับ ได้ใจความ = ตอบได้ ตอบ | ถ้าตอบไม่ได้ เพราะรายละเอียดไม่พอ ต้องดูเอกสาร หรือต้องอธิบายกันยาว คนเขียนจะแจ้งรายละเอียดของการทำคอนซัลในอีเมล์ตอบกลับเลย คนเขียนเป็นประเภทม้วนเดียวจบนะคะ ตอบกลับไปกลับมาทีละประโยค สองประโยค ไม่ใช่สไตล์การทำงานของคนเขียน ถ้าไม่ทราบว่าจะเขียนยังไงให้สั้น กระชับ ได้ใจความ โทรเลยค่ะ 5 นาที Free advice Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com ไม่ทั้งหมด แต่สรุปมาให้เท่าที่สรุปได้นะคะ
The Priority Migration Skilled Occupation List ตอนนี้มี 41 อาชีพ (* คืออาชีพที่เพิ่มมาเมื่อ June 2021):
Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com คนเขียนมีน้องๆนัดขอคำปรึกษาเบื้องต้น (Initial Consultation) กันเป็นปกตินะคะ บางคนก็
ปกติคนเขียนไม่ทำงานวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ บางวัน 5ทุ่ม เที่ยงคืน ตี3 ยังนั่งทำงาน แต่จะพยายามเลิกรับโทรศัพท์หลัง 1ทุ่ม สำหรับเคสด่วน นัดปรึกษาวันเสาร์อาทิตย์ หรือแม้กระทั่ง 3-4 ทุ่ม คนเขียนก็จัดให้นะคะ แต่ด่วนของลูกความ กับด่วนของคนเขียน คนละเรื่องกัน เช่น
เข้าเรื่องดีกว่า ...... คนเขียนก็จะมีลูกความบางคนที่เคยทำ Initial Consultation แล้ว หายไปพักนึง ก็ขอนัดอีกรอบ หรืออีก 2 รอบ ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร รอบแรกอาจจะเป็นการหาแนวทาง รอบสองอาจจะพร้อมทำเรื่องยื่นวีซ่า หรือติดปัญหาอะไรบางอย่าง หรือสถานะของลูกความเปลี่ยน หรือกฏหมายเปลี่ยน เคส Consultation รอบที่ 2 ที่คนเขียนแอบเซ็ง(และเสียดายแทน) ก็จะประมาณ 4 เคสข้างล่างค่ะ เคสที่ 1 Initial Consultation .... เคส Partner visa .... ลูกความไม่ถือวีซ่า คนเขียนแนะนำเคสนี้ให้ยื่นในประเทศออสเตรเลียเท่านั้น โน๊ตตัวโตๆไว้ในไฟล์ว่า "Complex case - Onshore only" เหตุผลคือนอกจากจะไม่ถือวีซ่าแล้ว ประวัติทางวีซ่าก็ dodgy จะด้วยความตั้งใจหรือได้รับคำแนะนำผิดๆคนเขียนไม่ทราบ รวมถึงประวัติส่วนตัว ที่คนเขียนเชื่อว่าถ้าออกไปแล้วจะไม่ได้กลับเข้ามา 4 ปี ผ่านไป ลูกความติดต่อมาขอ Consultation รอบที่ 2 ... ปรากฏว่าตอนนี้กลับประเทศตัวเองไปแล้ว ..... What! Why? .... ก็แนะนำแล้วว่าไม่ให้กลับ ให้ยื่น Onshore = ยื่นในประเทศออสเตรเลีย ลูกความบอกว่าขอโทษนะที่ตอนนั้นไม่เชื่อยู หลังจากที่คุยกันเสร็จ เอาไปเล่าให้เพื่อนฟัง เพื่อนแนะนำคนอื่นที่เป็นคนชาติเดียวกันให้ เลยใช้บริการเค้าแทน ถูกเรียกเก็บเงินตลอดแล้วไม่ทำอะไรให้เลย ..... 4 ปีผ่านไป คนนี้ก็แนะนำให้กลับออกไปยื่น Offshore Partner visa บอกว่าง่ายและเร็ว นี่กลับมาประเทศตัวเองได้หลายเดือนแล้ว เงินก็โอนไปแล้ว เค้ายังไม่ได้ยื่นวีซ่าให้ แถมติดต่อไม่ได้ด้วย เคสนี้มีตั้งแต่การอยู่เกินวีซ่า เปลี่ยนชื่อกลับมาใหม่ ไม่แจ้งชื่อเดิม ยื่นสาระพัดวีซ่า รวมถึง Protection visa ยื่นเอกสารปลอม อยู่เกินวีซ่าต่ออีก 10 กว่าปี ที่สำคัญมีประวัติคดีอาญาร้ายแรง ประเภทที่อิมมิเกรชั่นจะต้องปฏิเสธวีซ่า ยกเว้นว่าจะมีเหตุผลน่าเห็นใจ ..... (ประวัติทางวีซ่าโชกโชนขนาดนี้ ความเห็นใจของอิมมิเกรชั่นจะมีเหลืออยู่แค่ไหน ..... แถมตอนนี้ลูกความอยู่นอกออสเตรเลีย เหตุผลหลายๆอย่างที่อาจจะเอามาใช้ได้ ถ้าลูกความอยู่ในออสเตรเลียก็หายไปด้วย) .... เพราะฉะนั้นยื่น Offshore ไม่มีทางง่ายและเร็ว ..... มีความเป็นไปได้สูงมากที่อาจจะไม่ได้กลับเข้ามาอีกนาน หรืออาจจะไม่ได้กลับเข้ามาอีกเลย คนเขียนบอกเลยว่าในบางเคส Offshore is NOT an option! และการพยายามหาทางให้ลูกความอยู่ที่ประเทศออสเตรเลียต่อ ง่ายกว่าการพยายามเอาลูกความกลับมานะคะ เคสที่ 2 Initial Consultation .... ลูกความไม่ถือวีซ่า ติด section 48 บาร์ด้วย ทางเลือกสำหรับทำพีอาร์ไม่มี คนเขียนคิดว่ากลับไทยติดบาร์ 3 ปีน่าจะดีกว่า ดูประวัติแล้ว หลังบาร์ 3 ปี น่าจะมีโอกาสได้กลับมา 7 ปีผ่านไป ลูกความติดต่อมาขอ Consultation รอบ 2 ...... ปรากฏว่าตอนนี้ก็ยังอยู่ที่นี่ เชื่อเพื่อนและนายหน้ายื่น Protection visa ไปเรียบร้อย จากนั้นก็ไปอ่านเจอจากหลายแหล่ง รวมถึง VisaBlog ของคนเขียนด้วยว่าไม่ควรยื่น Protection visa ตอนนี้เริ่มกังวลกับผลเสียที่จะตามมา คนเขียนก็งงกับเคสนี้นะคะ จะว่าไฺม่เคยรู้จักคนเขียนมาก่อนก็ไม่ใช่ เพราะเคยนัดปรึกษากันมาแล้ว แทนที่จะปรึกษาว่าควรหรือไม่ควรยื่น Protection visa ก่อนยื่น ก็ไม่ทำ ...... ยื่นไปแล้ว ค่อยมากังวล ค่อยมาหาคำปรึกษา .... ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าน้องคิดอะไร เคสที่ 3 Initial Consultation ..... เคส Partner visa เป็นเคสที่ตรงไปตรงมา ไม่ได้มีประเด็นซีเรียสอะไรที่น่ากังวล แต่คนเขียนก็อธิบายเงื่อนไข Requirements ของ Partner visa และบอกจุดที่ควรระวังให้ทราบ น้องถามว่า ถาม ...... จำเป็นต้องใช้บริการคนเขียนไหม ตอบ ..... น้องต้องถามตัวเองว่าเข้าใจกฏหมาย เงื่อนไข เอกสาร หลักฐาน ของการทำ Partner visa แค่ไหน แต่ละคนก็มีขีดความสามารถแตกต่างกันไป คนที่ทำเองแล้วผ่านก็เยอะแยะ คนที่ทำเองแล้วถูกปฏิเสธก็มี เคสที่มาให้คนเขียนทำอุทธรณ์ให้ก็เยอะ ถาม ...... ถ้าน้องจะทำเคสเอง และเสียค่าปรึกษาเพื่อขอคำแนะนำเป็นระยะๆ และให้คนเขียนตรวจเช็คเอกสารให้ก่อนยื่นล่ะ ตอบ ..... ไม่มีบริการนี้ค่ะ สำหรับคนเขียนมีแค่ 2 ทาง ทำเคส หรือไม่ทำเคส เคส Partner visa เหมือนกัน แต่ Strategy (แผนการทำงาน) ของแต่ละเคสไม่เหมือนกัน เคสที่ไม่มีประเด็นซีเรียส ไม่ได้แปลว่าไม่มีจุดที่ควรระวัง บางเคสเราเห็นปัญหาระหว่างการเตรียมยื่น และการตัดสินใจยื่นหรือไม่ยื่นเอกสารบางชิ้น นำเสนอหรือไม่นำเสนอข้อมูลบางอย่างเป็นอะไรที่ต้องคิด ต้องตัดสินใจทั้งนั้น สำหรับคนเขียน Quality control เป็นเรื่องสำคัญ และเคสที่มาให้ดูแลแบบครึ่งๆกลางๆเป็นอะไรที่ Control ยากมาก ลูกความตัดสินใจทำเคสเอง ...... 2 ปีผ่านไป ลูกความขอนัด Consultation รอบ 2 ... ส่งคำตัดสินปฏิเสธ Partner visa มาให้อ่าน พลาดไปกับการเลือกเอกสารพิสูจน์ความสัมพันธ์ เคสที่ 4 Initial Consultation .... ลูกความเลิกกับแฟนคนเดิม มีแฟนคนใหม่ คนเขียนแนะนำวีซ่าที่คิดว่าเหมาะสมให้ และแนะนำให้ Declare ข้อมูลกับอิมมิเกรชั่น เคสนี้ลูกความอยู่ในจุดที่ไม่มีหน้าที่ต้อง Declare แต่สำหรับเคสนี้ Strategically แล้ว ลูกความควร Declare ลูกความหายไป 2 ปีกว่า ขอนัด Consultation รอบ 2 เคสถูกปฏิเสธเพราะประเด็นนี้เลย ถามว่าแนะนำแล้วทำไมถึงไม่ทำ ลูกความบอกว่ายื่นวีซ่าที่คนเขียนแนะนำ แต่ให้เอเจนต์อีกคนดูแลเคสและยื่นวีซ่าให้ ซึ่งเอเจนต์บอกว่าไม่มีหน้าที่ต้อง Declare ก็ไม่ต้อง Declare ก็เลยทำตามที่เอเจนต์แนะนำ ...... ทนาย และเอเจนต์แต่ละคนก็มีสไตล์การทำงาน และ Strategy (แผนการทำงาน) ของแต่ละเคสแตกต่างกันไปนะคะ ชอบสไตล์การทำงานแบบไหน ชอบ Strategy ของใคร ใช้บริการคนนั้น คนที่วาง Strategy ให้ โดยปกติก็จะมีแพลนอยู่ในหัวแล้ว (หวังว่านะ) ว่ารายละเอียดและสเต็ปการเดินเคส รวมถึงการยื่นเอกสารควรจะเป็นแบบไหนและเพราะอะไร และถ้าอะไรบางอย่างเกิดขึ้นระหว่างทาง ควรจะเดินเคสต่อยังไง Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com Q: ได้ทำเรื่องยื่น AAT เเล้วไปศาลเมื่อสิงหาคม 2020 ที่ผ่านมา อยากจะทราบว่า หลังจากไปศาลเสร็จ รอนานไหมคะ กว่าผลจะออก
A: ขึ้นอยู่เนื้อหาของเคส และ Tribunal member เจ้าของเคสค่ะ อาจจะวันเดียวกัน อาทิตย์ถัดไป หรือหลายเดือนหลังจาก Hearing Q: อยากถามเพิ่มเติม ถ้าเรารอผลตัดสินของ AAT ถ้ายิ่งรอผลนานมีสิทธิที่จะไม่ผ่าน มากกว่า ผ่านไหมคะ A: ไม่ค่ะ ขึ้นอยู่กับจำนวนเคสและการบริหารเคสในมือของ Tribunal member แต่ละคน และบางคนก็ทำงาน Part-time Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com โพสนี้จะเป็นโพสถามมา - ตอบไป แบบจิปาถะ คือไม่มีหัวข้อนะคะ เป็นคำถามจากน้องๆที่โทรมา อีเมล์มา และคนเขียนคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆด้วย คนเขียนจะอัพเดทคำถาม - คำตอบเป็นระยะๆ - เรียงลำดับจากใหม่ไปเก่า จากบนลงล่าง โพสนี้ยาวมาก คนเขียนขอจบแค่ June 2020 และตั้งแต่ July 2020 จะเป็นโพส Q & A สั้นๆแทนนะคะ 11/06/2020 Q: ถ้าไม่เป็นการรบกวนเกินไปขอสอบถามเล็กน้อยเกี่ยวกับ186ได้ไหมครับ? 1. ผมทำเรื่องยื่น 457 เมื่อ 3/18 granted 10/18 ในเวลานั้นนายจ้างทำ Benchmark ให้ผมและกฎ Benchmark ก็ถูกยกเลิกไป ผมอยากสอบถามว่านายจ้างต้องจ่าย Training Nominate ต่อทุกปีไหมครับในขณะที่ยังคง sponsor 457 ผมอยู่เวลานี้เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย 2. จริงๆแล้ว วีซ่า186 ที่ต้องทำหลังจาก 457 นี่ จำเป็นที่จะต้องทำskill assessmentไหมครับ? 3. sponsor visa 457 สามารถเปลี่ยนนายจ้างระหว่างถือวีซ่าได้ไหมครับ? จะมีผลกับการทำวีซ่า186หรือเปล่า แล้วระหว่างถือวีซ่า186 สามารถเปลี่ยนนายจ้างได้ไหมครับ? อีกอย่างคือ ถ้าหากผมย้ายนายจ้างระหว่างที่ถือ457อยู่ จะต้องนับปีใหม่ไหมครับ? หรือว่าแค่ให้โดยรวมครบ3ปีก็มาสามารถทำ186ได้เลย A: นี่เรียกว่าถามเล็กน้อยเหรอคะ ... ล้อเล่นค่ะ ยินดีตอบ จริงๆคนเขียนจำน้องได้ เพราะฉะนั้นดีใจด้วยที่ได้วีซ่ามาในที่สุด และฝากสวัสดีคุณแม่ด้วยนะคะ 1. ไม่ต้องค่ะ 2. ไม่ต้องค่ะ (แต่อิมมิเกรชั่นมีสิทธิ์ขอให้ทำ) 3. ถือ 457 อยู่ก็เปลี่ยนนายจ้างได้ นายจ้างใหม่ต้องมี Approved Nomination ก่อน น้องถึงจะเริ่มงานกับนายจ้างใหม่ได้ ถ้าเปลี่ยนนายจ้าง ปกติก็ต้องเริ่มนับ 3 ปีใหม่ค่ะ ถ้าเปลี่ยนนายจ้างเพราะบริษัทถูก take over หรือเปลี่ยน structure ของธุรกิจ ต้องเอาเคสมาดู อาจจะไม่ต้องเริ่มนับ 3 ปีใหม่ (คนเขียนทำมาแล้ว ผ่านไปได้ด้วยดี แบบเหนื่อยๆ) ถือ 186 เปลี่ยนนายจ้างได้ไหม? คำถามยอดฮิต - 186/187 สั้นๆคือวีซ่าที่ต้องทำงานกับนายจ้างอย่างน้อย 2 ปี หลังจาก 2 ปีก็ตามสบายค่ะ (ในส่วนของอิมมิเกรชั่น) แต่ในส่วนของกฏหมายแรงงานน้องก็ต้องดูว่าสัญญาจ้างงานกำหนดไว้ว่ายังไงด้วยนะคะ - วีซ่า 187 มีเงื่อนไขติดมากับวีซ่าที่อิมมิเกรชั่นสามารถยกเลิกวีซ่าได้ถ้าไม่ทำงานกับนายจ้าง ส่วน 186 ไม่มีเงื่อนไขนั้น - แต่อิมมิเกรชั่นก็ใช้กฏหมายข้ออื่นมายกเลิกวีซ่าได้ (ุถ้าจะทำ) ส่วนใหญ่จะเป็นกรณีที่เห็นได้ชัดว่าไม่ได้มีความตั้งใจที่จะทำงานกับนายจ้างอยู่แล้ว และเคส 186 ที่ถูกยกเลิกก็มีมาหลายปีแล้วนะคะ - ถ้ามีเหตุผลสมควรในการต้องเปลี่ยนนายจ้างก็จัดไปค่ะ ถ้าวีซ่าจะถูกยกเลิก ก็เอาเหตุผลไปอธิบายให้อิมมิเกชั่นฟัง เช่นถูกไล่ออก หรือนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างตามที่ตกลงกัน เป็นต้น - ถ้าอึดอัดกับนายจ้าง ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Skilled Visas ดูสิคะ มีหลายตัวเลย และอาชีพของน้องก็อยู่ใน Medium & Long term list (MLTSSL) ด้วย นับ points และต้องทำ skills assessment นะคะ Q: ไม่ทราบว่าพี่รับเขียน Story สำหรับ Protection visa ไหมครับ A: ไม่รับค่ะ ไม่รับสร้างเรื่องที่ไม่เป็นความจริง คนเขียนทราบมาว่าบางคนคิดค่าบริการทำ Protection visa ให้น้องๆกันเป็นหมื่นเหรียญ บางคนก็หลายหมื่นเหรียญด้วยซ้ำ บอกแล้วบอกอีก บอกตรงนี้อีกรอบ คนไทยที่ได้ Protection visa มีน้อยมากๆ เคสคนไทยส่วนใหญ่ น้องเอาเงินไปทิ้งกับวีซ่าที่ตัวเองไม่มีโอกาสได้ แค่ซื้อเวลาเพื่อจะอยู่ที่ออสเตรเลีย พอเจอวีซ่าที่ต้องการยื่นจริงๆ เจ้า Protection visa ที่น้องเคยยื่นก็อาจจะมาสร้างปัญหาให้กับวีซ่าตัวใหม่ได้ เอาเงินนี้ไปยื่นวีซ่า (และถ้าจำเป็นก็ยื่นอุทธรณ์) กับวีซ่าที่เราน่าจะมีโอกาสได้ดีกว่านะคะ อย่าถูกหลอก หาข้อมูลเยอะๆ 4/06/2020 Q: เรียนจบป.โท ในสาขา environmental engineering at xxx University และกำลังจะเรียนจบป.เอก สาขาเดียวกันและที่เดียวกันในเดือนกันยายนนี้ มีคะแนน IELTs ของเก่า band 6 ไม่เคยขอวีซ่าของออสเตรเลีย สุขภาพแข็งแรงดี สามารถขอวีซ่า Skilled—Recognised Graduate visa ได้ไหม จำเป็นไหมที่ต้องเรียนจบในออสเตรเลีย หรือมีวีซ่าอื่นที่จะแนะนำไหม A: จริงๆแล้วน้องถามมาอย่างสุภาพมากนะคะ คนเขียนตัดบางประโยคออกตามความเหมาะสม ไม่จำเป็นต้องจบที่ออสเตรเลียค่ะ แต่ต้องจบจากสถานศึกษาและคอร์สที่ Accredited under the Washington Accord หรือที่ระบุไว้ในนี้ อายุและผลภาษาอังกฤษของน้องเข้าเงื่อนไขวีซ่านี้ แต่จากที่คนเขียนเช็คให้คร่าวๆ มหาวิทยาลัยและคอร์สของน้องเหมือนจะไม่อยู่ในลิสสำหรับวีซ่านี้ (คนเขียนส่งลิงค์สำหรับประเทศที่น้องเรียนให้แล้วทางอีเมล์) เพื่อให้แน่ใจน้องลองเช็คเองอีกครั้งจากลิงค์ที่ให้ไว้ในนี้และทางอีเมล์นะคะ เชื่อว่าน้องจะหาข้อมูลที่ต้องการได้ค่ะ ถ้าต้องการให้คนเขียนดูให้ลึกกว่านี้หรือหาทางเลือกอื่นที่อาจจะมี รบกวนนัดปรึกษา ส่งเอกสารการศึกษาและ CV/Resume เป็นเคสที่ต้องใช้เวลาในการพิจารณาและคุยกันค่ะ ป.ล. โพสนี้ ถามถึง Subclass 476 Skilled—Recognised Graduate visa เป็นวีซ่าชั่วคราว 18 เดือนสำหรับคนจบด้าน Engineering โดยเฉพาะเลยค่ะ ซึ่งบางคนก็สามารถต่อยอดไปเป็นพีอาร์ได้ เป็นวีซ่าที่น่าสนใจค่ะ Q: สวัสดีค่ะ..เพิ่งอ่านเจอครั้งแรกค่ะ..ขอบคุณมากๆค่ะ..ที่มีเพจแบบนี้มาแบ่งปันความรู้..ขอสอบถามค่ะ.. ตอนนี้ได้วีซ่าถือ.. TR..อยู่ที่ออสค่ะ และอีก5เดือนหน้าจะครบ2ปีค่ะ..ต้องจะยื่นวีซ่าติดตามลูกชายอายุ20..แต่เราไม่มีตังจ่ายให้ทางเอเจ้น..ติดช่วงโควิด สถานะการเงินได้แค่พยุงตัวตอนนี้..ก็เลยตั้งใจจะทำเอกสารเองค่ะ..อยากสอบถามว่า..เราต้องเริ่มต้นเตรียมเอกสารอย่างไรค่ะ และเราต้องเข้าไปตรวจสอบสถานะในอิมเพื่อเปลื่ยนแปลงอีเมล..ให้อิมสามารถติดต่อเราทางอีเมลหรือป่าวค่ะ..เพราะตอนยื่นวีซ่า309 เอเจ้นเป็นฝ่ายที่ยื่นให้ค่ะ ขอบคุณมากๆค่ะ A: ขอบคุณที่อ่านเพจค่ะ เริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจวีซ่าที่ต้องการจะสมัคร ลองอ่านรายละเอียดของ Subclass 445 Dependent Child visa ดูนะคะ ลูกอายุ 20 แล้ว ต้องพิสูจน์ว่ายังพึ่งพาเราทางด้านการเงิน บางเคสก็ตรงไปตรงมา บางเคสก็น่าปวดหัว เมื่อลูกได้วีซ่านี้ ก็ทำเรื่องแจ้งอิมมิเกรชั่นขอเพิ่มลูกใน Partner visa ของเรา ต้องทำให้เรียบร้อยก่อนพีอาร์ Subclass 100 Permanent Partner visa ออกนะคะ ถ้าพีอาร์ออกก่อน ลูกก็ต้องหาวีซ่าอื่นยื่นแล้วค่ะ ส่วนของ Partner visa เช็คใน Application form ตอนยื่นวีซ่า 309 ในหัวข้อการติดต่อสำหรับ "Second stage permanent visa" ว่าที่ใส่ไปเป็นอีเมล์ของตัวเองหรือของเอเจนต์ ถ้าเป็นอีเมล์ของเอเจนต์ และต้องการเปลี่ยนเป็นอีเมล์ของตัวเอง ก็ต้องแจ้งเปลี่ยนกับอิมมิเกรชั่นค่ะ 21/05/2020 Q: ผมอยากทราบเรื่องการโทรติดต่อในกรณีที่ผมตัดสินใจให้พี่ทำเคสให้ ผมโทรหาได้กี่ครั้ง และถ้าโทรบ่อยจะมีค่าบริการเพิ่มไหม ต้องนัดล่วงหน้าไหม A: ไม่ใช่ครั้งแรกที่เจอคำถามนี้ คนเขียนชอบลูกความที่ proactive และใส่ใจเคสตัวเอง เพราะฉะนั้นจะโทรกี่ครั้งก็ได้ค่ะ ถ้าถามคำถามแล้วน้องสบายใจขึ้น เข้าใจเคสตัวเองได้มากขึ้น ส่งเอกสารให้คนเขียนได้ตรงประเด็นมากขึ้น ยินดีรับโทรศัพท์อย่างมาก ไม่คิดค่าบริการเพิ่ม และไม่ต้องนัดล่วงหน้า 20/05/2020 Q: พี่คะ หนูอ่านเจอโพสของพี่ที่ให้เวลา 5 นาที สำหรับโทรถามคำถาม ไม่ทราบว่าหนูต้องนัดล่วงหน้าไหมคะ A: ขอบคุณสำหรับความเกรงใจ แต่ไม่ต้องนัดล่วงหน้าค่ะ ป.ล. น้องหมายถึงโพสนี้ของคนเขียน สำหรับน้องๆ = สะดวกก็โทร (หรือโทรใหม่) | สำหรับคนเขียน = สะดวกก็รับ (หรือโทรกลับ) Q: วีซ่านักเรียนกำลังจะหมดเดือนหน้า ไม่ต้องการเรียนต่อ และต้องการจะกลับไทย แต่ยังไม่มีตั๋วกลับ ขอวีซ่าท่องเที่ยวได้ไหมคะ A: สถานะการณ์ปกติอาจจะยากหน่อย สถานะการณ์ COVID-19 ตอนนี้มีความเป็นไปได้ค่ะ อย่าลืมเขียนคำอธิบายว่าทำไมถึงขอวีซ่านี้ประกอบไปด้วยนะคะ หรืออาจจะลองเช็ควีซ่า 408 เทียบกันดูนะคะ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่มีความเป็นไปได้ เมื่อยื่นใบสมัครแล้วก็จะได้ Bridging visa มาค่ะ คืออยู่ต่อได้อย่างไม่ผิดกฏหมายในระหว่างรอการพิจารณาและรอตั๋วกลับไทย 19/05/2020 Q: ยื่น Partner visa ก่อนวีซ่าท่องเที่ยวจะหมด นี่วีซ่าท่องเที่ยวหมดไปหลายวันแล้ว แต่อิมมิเกรชั่นยังไม่ส่งเอกสารแจ้งเรื่อง Bridging visa มาเลย ต้องทำยังไงดีคะ และ Partner visa ที่ยื่นไปคือทำกันเอง ยื่นเอกสารแค่ไม่กี่อย่าง ยังไม่ได้ยื่นเอกสารความสัมพันธ์เลยค่ะ A: ถ้ายื่น Partner visa ก่อนวีซ่าท่องเที่ยวหมด โดยปกติน้องก็จะได้รับ Acknowledgement letter & Bridging visa grant letter นะคะ พอวีซ่าท่องเที่ยวหมด น้องก็ถือ Bridging visa โดยอัตโนมัติ อิมมิเกรชั่นจะไม่ส่งเอกสาร Bridging visa มาให้อีกรอบ วิธีเช็ค 1. หาอีเมล์ Bridging visa grant letter (ส่วนใหญ่จะมาวันที่เรายื่น Partner visa หรือวันถัดไป) 2. เช็ค VEVO ซึ่งควรจะขึ้นว่าตอนนี้น้องถือวีซ่า Subclass 010 - Bridging visa A 3. ถ้าหา Bridging visa grant letter ไม่เจอ หรือ VEVO ขึ้น Error แถบแดง โทรกลับมาหาคนเขียนใหม่ค่ะ ต้องมาดูแล้วว่าทำอะไรพลาด และปัญหาอยู่ตรงไหน เอกสารความสัมพันธ์ก็ทยอยยื่นเข้าไปค่ะ ไม่ต้องรออิมมิเกรชั่นขอก่อนแล้วค่อยยื่น Q: สวัสดีค่ะ ขอรบกวนค่ะ ดิฉันถูกปฏิเสธวีซ่า 186 และยื่นอุทธรณ์ไป นี่รอมา 2 ปีกว่าแล้ว เอเจ้นที่ใช้บริการบอกว่ายังไม่มีความคืบหน้า ควรทำยังไงดีคะ A: ไม่ทำยังไงค่ะ รอต่อไป เดี๋ยวก็ถึงคิวเรา AAT ก็ทำตามนโยบาย COVID-19 ของรัฐบาล และพยายามทำ Hearing ที่ทำได้ทางโทรศัพท์และก็ทาง Video Conference เคสต่างๆก็ต้องมีความล่าช้ามากขึ้นเป็นธรรมดา คนเขียนก็มีหลายเคสในมือที่ใกล้ 2 ปี และ 2ปี+ 10/05/2020 Q: สวัสดีค่ะพี่เก๋ พอดีหนูไปคุยกับทนายคนนึง หนูมีแฟนที่คบกันมา 4 ปีแล้ว กำลังเก็บเงินจะยื่นวีซ่าพาร์เนอร์ แต่วีซ่านักเรียนดันมาถูกยกเลิกเสียก่อน ทนายบอกว่าหนูยื่นวีซ่าพาร์เนอร์ในออสไม่ได้แล้ว เพราะหนูถูกยกเลิกวีซ่านักเรียน ก็จะติด section 48 ห้ามยื่นที่ออส ไม่มีข้อยกเว้นใดๆทั้งสิ้น นี่หนูก็ถอดใจแล้วว่าต้องกลับไปยื่นที่ไทย แต่พอดีเพิ่งได้อ่านโพสของพี่ว่ายื่นได้ ทำไมเค้าถึงแนะนำว่ายื่นไม่ได้ละคะ A: แล้วคนเขียนจะทราบไหม ไม่ได้เข้าไปนั่งฟังด้วยนิ น้องก็ไปถามคนที่ให้คำแนะนำสิคะ โอเค ไม่กวนแล้ว ตอบจริงๆก็ได้ ........................................ ถ้าแนะนำว่ายื่นที่ไทยจะได้วีซ่าง่ายกว่า อันนี้เป็นไปได้ และส่วนใหญ่ก็ใช่ซะด้วย แต่ถ้าแนะนำว่าเคส Section 48 ยื่นที่ออสเตรเลียไม่ได้ ต้องกลับไปยื่นที่ไทยเท่านั้น อันนี้ไม่ใช่แล้ว (ยืนยัน เพราะทำเคส Section 48 ยื่นที่ออสเตรเลียมาหลายเคสแล้ว) เคสติด Section 48 แล้วกลับไปยื่นที่ไทย ก็คือเคส Partner visa แบบปกตินั่นแหละค่ะ เพราะ Section 48 ไม่ได้มีผลอะไรกับการยื่นแบบนอกประเทศออสเตรเลีย และเอาตรงๆมันง่ายกว่าสำหรับคนทำงานด้วย แต่พอเป็นเคส Section 48 ยื่นในออสเตรเลียปุ๊บ กลายเป็นเคสยากขึ้นมาเลย เอเจนต์บางคนก็ไม่อยากทำเคสแบบนี้ เครียดกว่า ใช้เวลาการทำงานเยอะกว่า ต้องละเอียด ต้องทำ Research ต้องทำ Submission นำเสนอเคสให้ลูกความ ความเสี่ยงก็สูงกว่า ...... แต่ถ้าบอกลูกความว่าทำไม่ได้ เพราะตัวเองไม่อยากทำ คนเขียนว่าไม่แฟร์นะ ชีวิตของน้อง น้องต้องมีสิทธิ์เลือก บางเคสก็ชัดเจนนะคะว่าถ้ายื่นที่ออสเตรเลียคือไม่ผ่าน ก็ต้องแนะนำให้ยื่นที่ไทย; บางเคสก็มีลุ้นค่ะ เคสแบบนี้คนเขียนจะให้ข้อดีข้อเสียของการยื่นที่ไทย vs ยื่นที่ออสเตรเลีย รับได้แบบไหน บอกมาคนเขียนจัดให้; บางเคส เมื่อเอาปัจจัยหลายๆอย่างมาพิจารณาประกอบกันแล้ว (Strategically) เสี่ยงยื่นที่ออสเตรเลียดีกว่าและให้ประโยชน์มากกว่า หรือบางเคสออกไปแล้วอาจจะไปแล้วไปลับไม่กลับมา What?!!!! .... ใช่แล้ว .... เพราะฉะนั้นไม่ใช่ทุกเคสที่ควรจะกลับไปยื่นที่ไทย .... สงสัยว่าทำไมช่วงนี้มีคนถามประเด็น Section 48 กับ Partner visa มาเยอะมาก อาจจะเพราะสถานการณ์ COVID-19 รึเปล่า ถ้ายังไม่เข้าใจก็ย้อนกลับไปอ่านโพส Partner visa เก่าๆของคนเขียนด้วย หรือจะโทรมาใช้บริการ 5 นาที Free Advice ก็ได้ (แต่บอกตามตรงว่าเคส Section 48 และต้องการจะยื่นที่ออสเตรเลีย 5 นาทีไม่พอ เคสแบบนี้โทรมาคุยกันเบื้องต้นและนัดทำคอนซัลค่ะ) 7/05/2020 Q: สวัสดีค่ะ จะรบกวนสอบถามค่ะ คือถือ 457 แล้วเราลาออกจากร้าน แต่ยังหานายจ้างใหม่ไม่ได้ แล้วระยะเวลาจากวันที่ลาออกจนตอนนี้ก็เกิน 60 วัน แต่เช็คใน vevo ก็ขึ้นว่า in Effect อยู่ แต่ไม่ขึ้นหมายเลข reference ของนายจ้าง แล้วก็ไม่ได้รับการติดต่อจากทนายหรืออิมมิเกรชั่นเรื่องโดนยกเลิกวีซ่า อย่างนี้ถือว่าวีซ่าถูกยกเลิกหรือยังคะ A: ถ้าเช็คใน VEVO แล้ว ยังขึ้นว่าถือ 457 อยู่ ก็คือยังไม่ถูกยกเลิกค่ะ ถ้าถูกยกเลิก หรือไม่มีวีซ่า VEVO ก็จะไม่ขึ้นเลขวีซ่านะคะ จะขึ้นแถบแดงว่ามี Error เกิดขึ้น ก่อนจะตกใจว่าเราไม่ถือวีซ่าแล้ว เช็คก่อนว่าพิมพ์ข้อมูลส่วนตัวถูกต้องหรือไม่ พิมพ์วันเกิดหรือพาสปอร์ตผิดก็ขึ้น Error นะคะ สำหรับน้อง เกิน 60 วันแล้ว ถ้าหานายจ้างได้ต้องรีบยื่นเอกสาร ถ้าหาไม่ได้ ก็ควรจะต้องสมัครวีซ่าอื่นที่เหมาะสม หรือเดินทางออกจากประเทศออสเตรเลียนะคะ 6/05/2020 Q: ขอสอบถามค่ะ คือวีซ่านักเรียนถูกยกเลิก และตอนนี้ไม่มีวีซ่า แต่มีแฟนที่เป็นพีอาร์น่ะค่ะ พอดีอ่านเจอจากเวปอื่นว่ายื่น Partner visa ในออสเตรเลียไม่ได้ เพราะติดบาร์ section 48 แต่อยากลองสอบถามให้แน่ใจว่ายื่นไม่ได้จริงๆ เพราะตอนนี้ก็มี Covid และก็ไม่อยากแยกกันกับแฟน A: ยื่นได้ค่ะ จะติด Section 48 บาร์ จากการถูกปฏิเสธ หรือถูกยกเลิกวีซ่า หรือจะ Overstay วีซ่า ก็สามารถยื่น Partner visa ในประเทศออสเตรเลียได้ค่ะ แต่โน๊ตนะคะว่ายื่นได้ ไม่ได้แปลว่าจะได้วีซ่าเสมอไปนะคะ เป็นเคสที่ต้องคุยกันยาวค่ะ และต้องยอมรับความเสี่ยงได้ ลักษณะการยื่น และเงื่อนไขการได้วีซ่าสำหรับเคส Section 48 หรือเคส Overstay ค่อนข้างซับซ้อน คือต้องมีการพิจารณาว่าเคสมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ไม่ง่าย แต่เคสที่ผ่านมาแล้วก็เยอะค่ะ เคสแชร์ประสบการณ์ Partner visa และเคส Partner visa ที่คนเขียนกล่าวถึงในโพสนี้ หรือโพสอื่นๆ ที่ลูกความได้วีซ่า ส่วนใหญ่ก็เป็นเคสเคยถูกยกเลิกวีซ่ามาก่อนนะคะ ไม่ใช่แค่ Overstay เฉยๆ เพียงแต่คนเขียนใช้คำว่าเคสไม่ถือวีซ่า เพราะตอนยื่นลูกความไม่ถือวีซ่าเท่านั้นเอง (การไม่ถือวีซ่า ก็มีที่มาแตกต่างกันไป) เคส Partner visa ที่คนเขียนทำ มีทั้งเคสถือวีซ่าปกติ เคสถือวีซ่าติดปัญหาอื่นเช่น Health / Character / Sponsor ที่เคยสปอนเซอร์มาก่อนหรือสปอนเซอร์เกิน 2 คนแล้ว เคสวีซ่าขาด เคสถูกปฏิเสธวีซ่า เคสวีซ่าถูกยกเลิก รวมถึงเคสยำใหญ่ (ปัญหาหลายๆอย่างมารวมกัน เหนื่อยแต่สนุก ลูกความคงไม่สนุกด้วย แต่อย่างน้อยคนเขียนก็รับทำเคสละกัน) 15/04/2020 Q: เอกสาร police checks ต้องยื่นพร้อมสมัคร หรือ ต้องรอทางอิมขอมาคะ เห็นบางคนต้องขอ 2 รอบ เนื่องจากสถาณะการณ์โควิค 19 ทุกอย่างเลยด่วนและฉับพลันค่ะ จึงพยายามหาเอกสารเพื่อทำ visa partner ถ้าเอกสารความสัมพันธ์มีน้อย หาเพิ่มหลังจากอิมขอมาได้ไหมคะ A: สำหรับ Partner visa เอกสาร Police checks ยื่นตามหลังได้ค่ะ จะรออิมมิเกรชั่นขอ หรือไม่รอก็ได้ ถ้าผู้สมัครหรือสปอนเซอร์มีประวัติคดีอาญาหรือคิดว่าอาจจะมี ควรหาคำแนะนำที่ถูกต้องก่อนการยื่นใบสมัคร และถ้าเป็นไปได้ควรมี Police checks ก่อนยื่นนะคะ เอกสารความสัมพันธ์สามารถยื่นเพิ่มเติมระหว่างรอการพิจารณาได้ค่ะ ไม่ต้องรออิมมิเกรชั่นขอนะคะ เพราะอิมมิเกรชั่นอาจจะปฏิเสธเลยโดยไม่ขอเอกสารความสัมพันธ์เพิ่มเติม (ถ้าตอนพิจารณาเคส เอกสารพิสูจน์ความสัมพันธ์ยังไม่เพียงพอ) 25/02/2020 Q: รบกวนสอบถามเรื่องผลไอเอลค่ะ ตอนนี้ถือ 457 อยู่ กำลังจะหมดมิถุนานี้ (ได้ 457 ก่อนกฏเปลี่ยน 18 Apr 2017) สอบไอเอลไม่ได้สักทีค่ะ และคิดว่าคงได้ไม่ทัน คิดว่าจะ ต่อ 482 ดีหรือไม่ รบกวนสอบถามว่า 457 ผลไอเอลต้อง 6 ทุก Part แต่ถ้าเปลี่ยนเป็น 482 ตามที่.... (??? ตามที่อะไรดีคะ น้องถามไม่จบ.... คาดว่าจะถามว่า 482 ต้องใช้ผลไอเอลเท่าไหร่) A: ในกรณีนี้คิดว่าจะต่อ 482 ถ้าเป็นอาชีพที่อยู่ใน Short term list ระวังเรื่อง Genuine Temporary Entry (GTE) ด้วยนะคะ 457 ในอดีตไม่ได้ต้องการ IELTS 6 ทุก Part นะคะ เข้าใจผิดหรือพิมพ์ผิดไม่แน่ใจ 482 Short term stream ใช้ผล IELTS 4.5 ทุก Part และ Overall 5 482 Medium term stream ใช้ผล IELTS 5 ทุก Part นอกจาก IELTS แล้ว ผลสอบ TOFEL iBT, PTE Academic, Cambridge C1 Advanced test และ OET ก็ใช้ได้ค่ะ 482 ยังใช้ผลการเรียนเป็นภาษาอังกฤษ 5 ปีในระดับ Secondary or Higher education เป็นข้อยกเว้นภาษาอังกฤษได้นะคะ 5/02/2020 Q: แฟนเป็นชาวนิวซีแลนด์ เค้าต้องการจะยื่น PR ที่นี่ ทำงานเป็น sous chef at cafe Sydney แฟนมี cert 3 certificate for commercial cookery รายได้แฟน $53900 3 ปีย้อนหลัง สามารถยื่นวีซ่าได้ไหมค่ะ A: ยังไม่ได้ค่ะ ต้องพิสูจน์ว่ามี Taxable income เท่ากับหรือมากกว่า Income threshold 4 ปีก่อนการยื่นใบสมัคร (ซึ่ง Income threshold = $53,900 ตั้งแต่ปี 2013-14 แต่ในอนาคตอาจจะไม่ใช่เรทนี้) ใครสงสัยว่าคำถามนี้หมายถึงวีซ่าตัวไหน คำตอบคือ วีซ่า 189 New Zealand Stream 12/11/2019 Q: ตอนนี้ถือวีซ่า 482 (Temporary Skill Shortage) แต่บาดเจ็บและจะต้องรักษาตัวนานเกิน 60 วัน กังวลว่าจะถูกยกเลิกวีซ่าเพราะอิมมิเกรชั่นมีเงื่อนไขว่าห้ามหยุดงานเกิน 60 วัน A: ห้ามหยุดงานเกิน 60 วันที่น้องพูดถึง คือเงื่อนไข 8607 ซึ่งติดมากับวีซ่า 482 (เฉพาะคนถือวีซ่าหลัก) ซึ่งไม่ได้หมายถึงหยุดงานเพราะป่วยนะคะ Keywords ของเงื่อนไข 8607 คือ "cease employment" ซึ่งหมายถึงการหมดสถานะการเป็นลูกจ้าง เช่นการถูกเลิกจ้าง หรือการลาออกจากงาน ซึ่งคนถือวีซ่านี้จะต้องหานายจ้างใหม่ที่พร้อมจะสปอนเซอร์เราภายใน 60 วัน การลาป่วยไม่ใช่ cease employment คือน้องไม่ได้หมดสถานะการเป็นลูกจ้าง เพราะฉะนั้นไม่ได้ทำผิดเงื่อนไข 8607 นะคะ แต่ถ้าลาป่วยนานจนถูกเลิกจ้าง อันนี้อีกเรื่องนึง (ก็เริ่มนับ 60 วันได้เลยค่ะ) 18/03/2019 Q: วีซ่านักเรียนขาดมาได้ 3 วันแล้ว ไม่ทราบว่าจะยื่นใบสมัครวีซ่านักเรียนตัวใหม่ในประเทศออสเตรเลียได้หรือไม่ A: ยื่นได้ค่ะ ถ้ายื่นไม่เกิน 28 วันหลังวีซ่านักเรียนเดิมหมดอายุ แต่ทำได้แค่หนเดียวเท่านั้นนะคะ ถ้าเคยได้วีซ่านักเรียนจากการยื่นหลังจากที่วีซ่านักเรียนเดิมหมดอายุมาแล้ว ก็หมดสิทธิ์ค่ะ ป.ล. ยื่นได้ คืออิมมิเกรชั่นสามารถรับเรื่องได้ ...... แต่ยื่นได้ ไม่ได้แปลว่าจะได้วีซ่านะคะ มันคนละเรื่องกัน เช่น ถ้าอิมมิเกรชั่นเห็นว่าไม่ได้มีความตั้งใจที่จะเป็นนักเรียนจริงๆ ก็สามารถปฏิเสธวีซ่าได้ค่ะ 21/02/2019 Q: มีเรื่องอยากจะรบกวนปรึกษาเรื่องวีซ่า 407 ค่ะ เมื่อปี 2017 เคยยื่นวีซ่า นร ของออสเตรเลียจากประเทศไทย แต่ไม่ผ่านค่ะ เลยไปเรียนโทที่ประเทศอื่นแทน จะเรียนจบปีนี้ค่ะ หลังจากเรียนจบมีความสนใจอยากจะยื่นเทรนนิ่งวีซ่า 407 ค่ะ ได้เข้าไปอ่านในเว็บไซต์ของอิมมิเกรชั่นออสเตรเลียแล้วมีข้อสงสัยตรงนี้ค่ะ ข้อความตรงนี้คือ หมายถึงคนที่เคยโดนปฏิเสธวีซ่าจากการยื่นภายในประเทศออสเตรเลียห้ามสมัครวีซ่าตัวนี้ถูกไหมคะ A: ข้อความที่ตัดมาให้อ่าน คือมีหลายปัจจัยด้วยกันที่ประวัติการถูกยกเลิกหรือถูกปฏิเสธวีซ่า จะมีผลกับการยื่นวีซ่าครั้งต่อไป ถ้าให้อธิบายทุกแบบคงยาวมาก คนเขียนคงต้องหาเวลาเขียนเป็นโพสเลย ยังไงลองอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจากลิงค์ Check if visa cancellation affects your eligibility นะคะ ถ้าประวัติของน้องมีอยู่เท่าที่ให้มา คือเคยมีการถูกปฏิเสธวีซ่านักเรียนที่ยื่นที่ไทยหนึ่งครั้ง (ไม่มีอะไรนอกเหนือ) ถ้าสาเหตุการถูกปฏิเสธไม่ได้มาจากการยื่นเอกสารปลอมหรือให้ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง ก็ไม่น่าจะติดข้อห้ามอะไรในการยื่นวีซ่าตัวถัดไป ถ้ามีประวัติมากกว่านี้ เช่นเคยอยู่เป็นผี overstayed visa มาก่อน เคยถูกยกเลิกวีซ่า ก็อาจจะมีปัญหาในการยื่นวีซ่าตัวถัดไปค่ะ 17/02/2019 Q: อยากเรียนปรึกษาค่ะคือว่าช่วงเมษาที่ผ่านมาลูกชายไปเยี่ยมพี่สาวไปออสเตเลียด้วยวีซ่าท่องเที่ยวแล้วพี่สาวแกให้เรียนภาษาที่นั่นและอยากให้น้องเรียนต่อป.ตรีจึงขอวีซ่านักเรียนให้น้องชายแต่กว่าเอกสารต่างๆจะครบและยื่นขอ ทำให้วันของวีซ่าท่องเที่ยวหมด คือผ่านไปแค่วันเดียว แต่ทางอิมก็ไม่อนุญาติให้ทำ ดังนั้นพี่สาวจึงไปขอบิดจิ้งและให้กลับไทยแต่เกินมาไม่ถึง28วัน จึงอยากจะเรียนปรึกษาว่าจะขอวีซ่าไปออสอีกจะมีทางทำได้ไหมคะ และตอนนี้ให้ลูกชายลงเรียนป.ตรีที่ไทยแล้ว แต่อยากกลับไปเยี่ยมพี่สาวเขาพร้อมพ่อและแม่ช่วงเมษาจะถึงนี้ วีซ่าจะมีปัญหาไหมคะ A: ถ้ากลับไทยไม่เกิน 28วันนับแต่วีซ่าท่องเที่ยวหมดอายุ ก็ไม่ติดบาร์ค่ะ แต่ประวัติการอยู่เกินเวลา ก็คาดว่าจะมีผลกับการพิจารณา เจ้าหน้าที่ก็ต้องมาพิจารณาและชั่งน้ำหนักเอาว่าจุดประสงค์จะมาท่องเที่ยว/มาเยี่ยมจริงหรือไม่ และถ้าอนุญาติให้เข้าออสเตรเลียแล้ว จะกลับออกไปหรือไม่ 11/02/2019 Q: คือว่าหนูเพิ่งเรียนจบป.โท วีซ่าที่ใช้อยู่เป็นวีซ่านักเรียน มาออสตั้งแต่ปี 2016ค่ะ วีซ่านักเรียนกำลังจะหมดวันที่ 15 มีนาคม 2019 ค่ะ อยากจะขอTR visa (post study work steam) ค่ะ แต่มีคำถามคือว่า หนูเคยมาเรียนภาษาที่ออสเตรเลียตอนเด็ก มาเรียนได้ 10 วีคแล้วก็กลับไทยค่ะ ตอนนั้นมา เดือนมีนาคม แล้วกลับไทยเดือนพฤษาคม ปี 2011 อยากจะทราบว่าแบบนี้สามารถสมัครTRได้มั้ยคะ การมาเรียนตอนปี2011ครั้งนั้นส่งผลกระทบ ทำให้ไม่สมารถสมัครTR วีซ่าหรือป่าว หรือว่าไม่เกี่ยวกันค่ะ A: Post study work steam มีเงื่อนไขว่าวีซ่านักเรียนที่สมัครและได้รับเป็นตัวแรกจะต้องเป็นตั้งแต่วัน 5 November 2011 เป็นต้นไป (This stream is only available if you applied for, and were granted, your first student visa to Australia on or after 5 November 2011. If you held your first student visa prior to this date, even as a child on your parent’s student visa, then you will not be eligible to apply for this stream.) ถ้าน้องมาเรียน 10 วีค เดือน March 2011 ด้วยวีซ่านักเรียน ก็จะติดเงื่อนไขนี้ค่ะ น้องคงต้องลองดูเงื่อนไขของ Graduate Work Stream ว่ามีความเป็นไปได้หรือเปล่า ถ้าตอนนั้นมาด้วยวีซ่าท่องเที่ยว ก็ไม่มีผลกระทบ เพราะไม่ใช่วีซ่านักเรียน Q: ตอนนี้ถือ 457 มีอายุถึง DD/MM/2020 ค่ะ ตอนนี้กำลังจะยื่น PR เหลือแค่ผลสอบไอเอลค่ะ น่าจะได้ยื่นภายในเดือนธันวาคมนี้ค่ะ ถ้าหากเรายื่น PR แล้ว เราก็จะเปลี่ยนเป็น Bridging A ใช่ไหมคะ แล้วทีนี้คือ อยากทราบว่า ถ้าเราจะกลับไทยในระหว่างที่เราอยู่ใน bridging A นี้ ต้องขอ bridging B ไหมคะ พอดีซื้อตั๋วไว้ จะกลับไทย DD/MM/2019 ค่ะ ถามทนายแล้ว เค้าบอกว่า สามารถเข้าออกออสเตรเลียได้ โดยไม่ต้องขอ Bridging B ไม่ทราบจริงไหมคะ...พอดีถามเพื่อนคนอื่น ก็ให้ข้อมูลไม่ตรงกันค่ะ อย่างเช่น ถ้าเรายื่นขอ PR...วีซ่าเก่าเราก็จะยกเลิก รบกวนด้วยนะคะ A: เมื่อยื่นขอ PR ก็จะได้ Bridging visa A (BVA) ค่ะ แต่ BVA จะยังไม่มีผลเพราะน้องยังถือ 457 ถึง DD/MM/2020 ถ้ากลับไทยก่อนที่ 457 จะหมดอายุ ไม่ต้องขอ BVB (คือเข้าออกด้วยวีซ่า 457) หลังจาก 457 หมดอายุ (ถ้ายังรอผล PR อยู่) น้องก็จะเข้ามาอยู่ใน BVA ก่อนออกนอกประเทศก็ต้องขอ BVB การยื่นพีอาร์ไม่ได้ทำให้วีซ่าตัวเดิมถูกยกเลิกค่ะ 26/10/2018 Q: ถือวีซ่า 457 อยู่ (หรือวีซ่า 482 / TSS) แต่ถูกเลิกจ้าง ต้องทำยังไง A: ลองหานายจ้างใหม่ดูค่ะ มีเวลา 60 วันก่อนที่อิมมิเกรชั่นจะพิจารณาว่าจะยกเลิกวีซ่าเราหรือไม่ ถ้า 457 ได้มาก่อนวันที่ 19 Nov 16 เปลี่ยนจาก 60 เป็น 90 วัน หานายจ้างใหม่ได้แล้ว เริ่มงานใหม่เลยไม่ได้นะคะ ต้องรอให้นายจ้างใหม่ได้ Approved Nomination ก่อน ถ้ามีวีซ่าอื่นที่อาจจะเหมาะสมกว่า ก็ควรจะรีบยื่นโดยเร็ว เพราะถ้าวีซ่าที่ถืออยู่ถูกยกเลิกก่อน อาจจะทำให้ยื่นไม่ได้ 25/10/2018 Q: วีซ่าถูกปฏิเสธค่ะ จากการขอต่อวีซ่านักเรียน แล้วตอนนี้ยื่น AAT ไป แล้วถือ bridging A อยู่ อยากทราบว่ายังทำงานได้ปกติตามวีซ่านักเรียนไหมคะ A: จากข้อมูลที่ให้มา ก็ควรจะทำงานได้ค่ะ และแนะนำให้น้องเช็ค VEVO ด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าวีซ่าที่ถืออยู่ไม่มี Condition: 'No Work' ติดอยู่ 18/10/2018 Q: ช่วงที่ถือวีซ่า 457 นี้ ไม่ทราบว่ายังต้องจ่ายค่า Training Benchmarks ในทุกๆปีไหมคะ A: ไม่ต้องแล้วค่ะ - นับจากวันที่ 12 สิงหาคม 2018 นายจ้างไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่า Training Benchmarks อีกต่อไป เพราะมีการปรับใช้ Skilling Australians Fund (SAF) levy หรือ Nomination Training Contribution Charge (NTCC) ซึ่งเป็นการชำระเป็นเงินก้อนตอนยื่น Nomination แทน (รายละเอียดที่นี่ค่ะ) นายจ้างที่มีหน้าที่ต้องทำ Training Benchmarks ตามกฏเก่า ก่อนหน้าที่จะมีการยกเลิกในวันที่ 12 สิงหาคม 2018 ก็ยังคงต้องเก็บหลักฐานการทำ Training ไว้นะคะ 22/08/2018 Q: ในกรณีที่ยังไม่ได้ผลภาษาอังกฤษที่ต้องการสำหรับวีซ่า 187 ไม่ทราบว่าจะยื่นใบสมัครก่อน พอได้ผลภาษาอังกฤษแล้วค่อยส่งตามหลังได้หรือไม่ A: ไม่ได้ค่ะ ผลภาษาอังกฤษสำหรับวีซ่า 186 & 187 ต้องเป็นผลของการสอบก่อนการยื่นใบสมัคร 13/07/2018 Q: มาด้วยวีซ่าท่องเที่ยว Multiple 1 ปี ต้องกลับทุก 3 เดือน จะยื่นวีซ่าคู่ครองที่ประเทศออสเตรเลียได้หรือไม่ และจะได้ Bridging visa หรือไม่ A: ถ้าวีซ่าท่องเที่ยวติด Condition 8503 "No further stay" ก็ยื่นวีซ่าคู่ครองที่ออสเตรเลียไม่ได้ค่ะ (เว้นแต่จะมีการขอยกเว้น Condition 8503 และอิมมิเกรชั่นได้อนุมัติแล้วก่อนการยื่นวีซ่าคู่ครอง) ถ้าวีซ่าท่องเที่ยวไม่ติด Condition 8503 ก็สามารถยื่นวีซ่าคู่ครองในประเทศออสเตรเลียได้ค่ะ (ยื่นในระหว่างที่ถือวีซ่าท่องเที่ยวด้วยนะคะ ไม่ใช่อยู่เกินวีซ่าแล้วค่อยยื่น ปัญหาใหญ่จะตามมา) และเมื่อได้ยื่นวีซ่าคู่ครองแล้วก็จะได้ Bridging visa (วีซ่ารอ) เพื่อที่จะอยู่รอผลการพิจารณาวีซ่าคู่ครองที่ออสเตรเลีย โดยไม่ต้องกลับออกไปหรือไปๆมาๆทุก 3 เดือน แล้วจะทราบได้ยังไงว่าวีซ่าท่องเที่ยวที่ให้อยู่ได้ 3 เดือน จะหมดวันที่เท่าไหร่ ----- เช็ค VEVO ค่ะ 4/06/2018 Q: กรณีถือวีซ่าท่องเที่ยว (multiple 3 ปี ) แล้วยื่นวีซ่านักเรียน onshore พอได้รับ bridging A อยู่ออสครบ 3 เดือน ต้องออกนอกประเทศมั๊ยคะ แล้วถ้าวีซ่านักเรียนออก วีซ่าท่องเที่ยวยังคงอยู่มั้ยคะ A: ถ้าวีซ่าท่องเที่ยวหมดอายุแล้วไม่กลับออกไป ก็จะเปลี่ยนมาถือ Bridging visa ถ้าวีซ่านักเรียนออก วีซ่านักเรียนก็จะมาแทนวีซ่าท่องเที่ยวค่ะ Q: มาด้วย visa subclass 400 ต้องการอยู่ต่อ ถ้าขอ visa subclass 400 อีกครั้ง จะโดนปฎิเสธจากทาง immigration หรือไม่ และถ้าโดนปฎิเสธ จะมีผลกับการขอ 189 ในอนาคตของดิฉันไหม A: ถ้าเหตุผลดี หลักฐานดี วีซ่า 400 ก็มีโอกาสผ่านค่ะ ถ้าวีซ่า 400 ถูกปฏิเสธ และถือ bridging visa อาจจะติด Section 48 Bar ทำให้ยื่นวีซ่า 189 ในประเทศออสเตรเลียไม่ได้ แต่ก็ยังยื่นแบบนอกประเทศได้ 25/04/2018 Q: รบกวนสอบถามค่ะ คือ ทางนายจ้างจะขอวีซ่า TSS ให้เพื่อทำงานในออสเตรเลียเป็นเวลาประมาณ 1 ปีค่ะ ทำหน้าที่ programmer ค่ะ ตัวดิฉันเองต้องการจะยื่นขอวีซ่า 189 ด้วยตัวเองด้วยค่ะ เลยอยากทราบว่า ถ้าเราถือ TSS หรือ เคยถือ TSS จะมีปัญหาในการยื่นขอ 189 ไหมคะ แล้ว ถ้าทำงานในออสเตรเลีย ครบ 1 ปี ด้วย TSS visa จะสามารถ add 5 points ในการขอ 189 ไหมคะ A: ถือ TSS หรือ เคยถือ TSS ไม่มีปัญหาในการยื่นขอ 189 ค่ะ ทำงานในออสเตรเลีย ครบ 1 ปี ด้วย TSS visa จะสามารถ add 5 points ในการขอ 189 ได้ค่ะ แต่ Points รวม ของประสบการณ์การทำงานทั้งหมด (ไม่ว่าจะในหรือนอกประเทศออสเตรเลีย) จะได้มากสุดไม่เกิน 20 points 19/10/2017 Q: ตอนนี้ได้วีซ่า 457 2 ปี แต่กำลังจะเปลี่ยนนายจ้าง นายจ้างใหม่ไม่เคยสปอนเซอร์ใครมาก่อน จึงต้องทำ nomination, sponsor applications ใหม่ แล้วก็ค่า training ค่า adv ขอสอบถามเรื่องค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ว่า 1. จริงๆแล้วใครสมควรต้องเป็นเป็นคนรับผิดชอบ? เพราะเราไปคุยกับเขาเองว่าอยากย้ายมาร้านนี้ แล้วเขาเองก็ต้อง การคนทำงานด้วย เหมือนจะ win-win ทั้งสองฝ่ายแต่ก็รู้ว่ามันไม่ใช่คับ 2. การทำ transfer มา จริงๆแล้ว มีค่าใช้จ่ายมั้ยคับ A: 1. ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ถามมา นายจ้างมีหน้าที่จ่ายค่ะ 2. ในกรณีที่ถามมา มีค่าใช้จ่ายเฉพาะส่วนของนายจ้างค่ะ ค่า adv (???) - ถ้าหมายถึงค่าโฆษณา Labour Market Testing (LMT) ต้องดูด้วยว่าเข้าข้อยกเว้นหรือไม่ กฏหมายปัจจุบัน การ Nominate ลูกจ้างที่ถือพาสปอร์ตไทย นายจ้างไม่จำเป็นต้องทำ LMT Q: ตอนนี้ผมถือวีซ่า 457 สปอนเซอร์ chef อยู่คับผมได้วีซ่าก่อนที่กฎใหม่จะเปลี่ยน แต่ผมอยากทราบว่า 1. อีกกี่ปีถึงจะขอยื่นพีอาร์ได้ ยึดตามกฎใหม่ 3 ปี หรือ กฎเก่า 2 ปีคับ 2. ตอนขอ 457 ผมสอบไอเอลได้ 5.5 แต่อยากทราบว่าตอนขอพีอาร์ ต้องสอบไอเอลใหม่มั้ยคับ เพราะตามกฎใหม่ ต้องให้ได้ 6 A: 1. ยังไม่ทราบแน่ชัดนะคะ ต้องรออิมมิเกรชั่นประกาศอีกที 2. กฏใหม่ที่ว่า คือกฏปัจจุบันแล้วค่ะ IELTS ต้องได้ 6 ทุกพาร์ท (อิมมิเกรชั่นรับผลสอบอื่นด้วยนะคะ ลองไล่ อ่านด้านล่าง) 13/10/2017 Q: ถ้าเราถือ Bridging visa B อยู่ในประเทศออสเตรเลียแล้ว สามารถอยู่ได้นานกี่ปี A: อยู่ได้จนกว่าอิมมิเกรชั่นจะพิจารณาออกวีซ่าให้ ถ้าถูกปฏิเสธวีซ่า ก็จะถือ Bridging visa ต่อไปอีก 28 หรือ 35 วัน (แล้วแต่ว่า Bridging visa ที่ถืออยู่ออกให้ก่อนหรือหลังวันที่ 19 พฤศจิกายน 2016) แนะนำให้เช็ค VEVO ค่ะ ก็จะทราบว่า Bridging visa หมดเมื่อไหร่ ถ้ามีการยื่นอุทธรณ์ไปที่ AAT Bridging visa ก็จะยืดออกไป 12/10/2017 Q: ตอนนี้ถือวีซ่านักเรียน ซึ่งจะหมดอายุปี 2020 มีนายจ้างอยากจะสปอนเซอร์ในตำแหน่ง Web Administrator จะยื่นวีซ่า 457 ตอนนี้ หรือควรจะรอยื่นวีซ่า TSS หลังมีนาคม 2018 และถ้ายื่นวีซ่า 457 หรือ TSS ไม่ผ่าน จะต้องกลับไทยเลย หรือกลับมาเป็นวีซ่านักเรียนได้เลย A: Web Administrator ตอนนี้อยู่ใน STSOL ไม่ว่าจะขอวีซ่า 457 หรือ TSS ก็จะได้วีซ่าระยะเวลา 2 ปี จากข้อมูลที่มี ณ เวลานี้ วีซ่า TSS ในสาขาอาชีพใน STSOL ไม่สามารถต่อยอดไปเป็นพีอาร์ได้ ส่วนคนที่ถือวีซ่า 457 จะต่อยอดไปเป็นพีอาร์ได้หรือไม่หลังกฏเปลี่ยนเดือนมีนาคม 2018 อิมมิเกรชั่นเกริ่นๆว่าจะมี Transitional provisions ส่วนเงื่อนไขจะเป็นยังไง ตอนนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด คาดว่าจะทราบประมาณเดือนธันวาคม ในกรณีที่ขอวีซ่า 457 หรือ TSS แล้วไม่ผ่าน และวีซ่านักเรียนยังไม่หมดอายุ น้องก็ยังคงอยู่ในประเทศออสเตรเลียได้ด้วยวีซ่านักเรียนค่ะ 7/10/2017 Q: ตอนนี้ถือ Bridging visa A อยู่ แต่อยากกลับไทยไปเยี่ยมครอบครัว และร่วมงานแต่งงานน้องชาย เหตุผลแบบนี้จะขอ Bridging visa B ได้หรือไม่ และต้องขอล่วงหน้านานเท่าไหร่ แล้วจะเข้ามาอยู่ต่อประเทศนี้อีกจะได้ไหมคะ พอกลับมาแล้วก็มาถือ ฺBridging visa A ต่อใช่ไหมคะ หรือ Bridging visa A จะถูกยกเลิก A: คิดว่าน่าจะได้ค่ะ ปกติแล้วอิมมิเกรชั่นไม่ค่อยปฏิเสธ Bridging visa B นะคะ อิมมิเกรชั่นแจ้งว่าควรขอล่วงหน้าระหว่าง 2 อาทิตย์ ถึง 3 เดือน ส่วนตัวคิดว่าล่วงหน้า 4 อาทิตย์กำลังดี กลับมาแล้วก็ถือ Bridging visa B ต่อไปค่ะ ส่วนจะออกไปนอกออสเตรเลียได้อีกหรือไม่ หรือต้องขอ Bridging visa B ตัวใหม่ก่อนออกไป ดูวันที่ที่ระบุไว้ตรง Must not arrive after ถ้าคิดว่าออกไปแล้วจะกลับเข้ามาหลังวันที่ที่ระบุไว้ ก็ต้องขอใหม่ก่อนออกไปนะคะ Q: ถูกปฏิเสธวีซ่านักเรียนเพราะอิมมิเกรชั่นไม่ได้รับหลักฐานการเงิน ควรจะยื่นอุทธรณ์ หรือกลับไทยแล้วค่อยยื่นวีซ่ามาใหม่ และจะได้วีซ่าหรือไม่ A: ยื่นอุทธรณ์ก็จะได้อยู่ที่ออสเตรเลียต่อในระหว่างรอผลอุทธรณ์ ถ้าสามารถโชว์หลักฐานการเงินตามที่อิมมิเกรชั่นกำหนดได้ อุทธรณ์ก็น่าจะผ่าน ระยะเวลาการรอ +/- 1 ปี กลับไทยแล้วค่อยยื่นมาใหม่จะเร็วกว่า เคสที่กลับไปเรื่องหลักฐานการเงิน และได้วีซ่ากลับมาอย่างรวดเร็วก็มีนะคะ แต่ก็มีความเสี่ยง เพราะถ้าอิมมิเกรชั่นปฏิเสธวีซ่าจะด้วยเหตุผลทางการเงินหรือเหตุผลอื่น เช่นไม่เชื่อว่าเราต้องการเป็นนักเรียนจริง ก็อาจจะไม่ได้กลับมา วีซ่านักเรียนยื่นแบบนอกประเทศจะไม่มีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์ไปที่ AAT นะคะ ต้องยื่นใหม่อย่างเดียว นอกจากจะพิสูจน์ได้ว่าการปฏิเสธของอิมมิเกรชั่นมีข้อผิดพลาดทางกฏหมาย ก็มีโอกาสยื่นอุทธรณ์ไปที่ศาล แต่ค่าใช้จ่ายสูงและรอผลการพิจารณานานค่ะ 13/09/2017 Q: ตอนนี้ถือ Bridging visa A จะต้องขอ Bridging visa B ล่วงหน้ากี่วัน ก่อนเดินทาง และอยู่นอกประเทศได้ถึงเมื่อไหร่ A: ข้อมูล ณ เวลานี้ อิมมิเกรชั่นระบุไว้ว่า ควรขอล่วงหน้าอย่างน้อย 2 อาทิตย์ แต่ไม่เกิน 3 เดือน (คนเขียนคิดว่าขอล่วงหน้าอย่างน้อย 4 อาทิตย์ กำลังดีค่ะ) - ในจดหมายอนุมัติ Bridging visa B จะมี Must not arrive after "วันที่" เอาไว้ ก็ต้องกลับเข้ามาในประเทศออสเตรเลียภายในวันที่ๆระบุไว้ Q: ต้องการยื่นขอวีซ่า 485 แต่ยังไม่มีผลภาษาอังกฤษ จะยื่นขอวีซ่าก่อน แล้วค่อยลองสอบไปเรื่อยๆ พอได้ผลที่ต้องการแล้ว ค่อยยื่นตามเข้าไปได้หรือไม่ A: ไม่ได้ค่ะ ผลภาษาอังกฤษที่ใช้ได้ จะต้องมาจากการสอบก่อนการยื่นขอวีซ่า 485 และมีอายุไม่เกิน 3 ปี Q: ถูกปฏิเสธวีซ่านักเรียน ตอนนี้ถือ Bridging visa A ซึ่งจะหมดอายุ 35 วันนับจากที่ได้รับแจ้ง พอยื่นอุทธรณ์ที่ AAT ไปแล้ว จะต้องรอกี่วันถึงจะไปยื่นขอต่อ Bridging visa A กับอิมมิเกรชั่นได้ A: ไม่ต้องรอ และไม่ต้องขอค่ะ หลังจากที่ยื่นอุทธรณ์แล้ว ทาง AAT และอิมมิเกรชั่นจะติดต่อกันเองค่ะ และ Bridging visa A ตัวเดิมที่ถืออยู่ ก็จะมีการอัพเดท โดยเปลี่ยน ฺฺBridging visa A ที่มีวันหมดอายุ เป็น indefinite แบบไม่มีวันหมดอายุ (เพื่อรอการพิจารณาในชั้นอุทธรณ์) Q: วีซ่า 457 จะหมดอายุเดือนเมษายน 2018 แต่ยังไม่ได้ภาษาอังกฤษสำหรับยื่นพีอาร์ จะขอต่อวีซ่า 457 อีกได้หรือไม่ A: เดือนมีนาคม 2018 วีซ่า 457 จะถูกยกเลิก และจะมีการปรับใช้วีซ่าตัวใหม่แทน คือวีซ่า Temporary Skills Shortage (TSS) Q: น้องสาวถูกปฏิเสธวีซ่าและติด PIC4020 เพราะแจ้งในใบสมัครว่าไม่เคยถูกปฏิเสธวีซ่า แต่จริงๆแล้วเคยถูกปฏิเสธวีซ่ามาก่อน เคสของน้องสาวจะมีผลกระทบกับพี่สาวที่กำลังยื่นขอพีอาร์หรือไม่ A: เป็นเรื่องเฉพาะตัวของน้องสาว คาดว่าจะไม่มีผลกระทบกับวีซ่าของพี่สาว เพราะอิมมิเกรชั่นพิจารณาวีซ่ากันเป็นรายบุคคลค่ะ Q: สอบภาษาอังกฤษไม่ผ่านซะที ควรทำยังไงดี
A: เดี๋ยวนี้ไม่ได้มีแค่ IELTS แล้วนะคะ มี PTE Academic, TOEFL iBT, CAE และ OET (อันนี้สำหรับ Healthcare workers เช่นหมอ พยาบาล) ถ้าสอบ IELTS ไม่ได้ผลที่ต้องการซะที ก็อาจจะลองเปลี่ยนมาสอบอย่างอื่นดูนะคะ เข้าคอร์สติวเข้มก็อาจจะช่วยได้ คอร์สติวเข้มส่วนใหญ่ไม่ได้สอนแกรมม่านะคะ สอนเทคนิคการทำข้อสอบ สอนการใช้เวลา (ที่มีอยู่อย่างจำกัดในการทำข้อสอบ) ให้เป็นประโยชน์สูงสุด เช่นแต่ละข้อควรใช้เวลากี่นาที เป็นต้น อีกอย่างที่จะช่วยได้ คือการเอาตัวเองไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่บังคับให้เราต้องใช้ภาษาอังกฤษ เช่นคลุกคลีกกับเพื่อนต่างชาติ ทำงานที่ต้องสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ อ่านนิยาย/หนังสือพิมพ์ที่เป็นภาษาอังกฤษ ฟังวิทยุ/ฟังเพลงเป็นภาษาอังกฤษ ฝึกสำเนียงโดยการพูดตามนักอ่านข่าวในทีวี พูดกับเพื่อนคนไทยเป็นภาษาอังกฤษก็ได้ อยู่ที่ไหนก็พัฒนาตัวเองได้ ถ้าอยากจะทำ Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com โพสนี้ คนเขียนรวบรวมคำถามที่น้องๆถามเข้ามาเกี่ยวกับผลกระทบกับวีซ่าจาก COVID-19 นะคะ
Original post: 28 March 2020 ตัวหนังสือสีเทาอ่อน Update 1: 4 April 2020 ตัวหนังสือสีน้ำเงิน ถือวีซ่าท่องเที่ยว ไม่ติด 8503 (No further stay condition) ===>> ยื่นขอต่อวีซ่าท่องเที่ยว หรือมีวีซ่าตัวอื่นที่เรามีคุณสมบัติถึงก่อนวีซ่าตัวเดิมหมดอายุ ถือวีซ่าที่ติด No further stay condition : 8503, 8534 หรือ 8535 ===>> ยื่นขอยกเว้นเงื่อนไข No further stay แต่เนิ่นๆ 2 เดือนก่อนวีซ่าตัวเดิมหมดอายุ เพราะระยะการพิจารณาต้องใช้เวลาพอสมควร ===>> เมื่ออิมมิเกรชั่นยกเว้นเงื่อนไข ก็สามารถยื่นขอวีซ่าท่องเที่ยวหรือวีซ่าตัวอื่นที่เรามีคุณสมบัติถึง ===>> ยื่นขอวีซ่าตัวใหม่ก่อนได้รับยกเว้นเงื่อนไข = Invalid application ถือวีซ่า 457 หรือ 482 แต่นายจ้างให้หยุดงานชั่วคราว เพราะธุรกิจต้องปิดให้บริการตามรัฐบาลกำหนด ===>> ใช้ Annual leave (paid leave) ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน Employment Contract นอกจากจะยังมีรายได้แล้ว ยังสามารถนับเวลาสำหรับการยื่น PR ได้ด้วย ===>> นายจ้างให้หยุดแบบไม่จ่ายค่าจ้าง (stand down) หรือมีการทำ Leave without pay ควรมีการทำบันทึกไว้ด้วยนะคะเผื่ออิมมิเกรชั่น (Monitoring Unit) มาตรวจในภายหลัง อย่าลืมว่านายจ้างมีหน้าที่ต้อง Keep records ===>> ตามนโยบายของอิมมิเกรชั่น Leave without pay 3 เดือนไม่น่าจะมีปัญหา โน๊ตว่าตอนนี้อิมมิเกรชั่นใช้ Flexible approach (ยืดหยุ่นให้ตามสถานการณ์ของแต่ละเคส ย้ำที่ขีดเส้นใต้) ซึ่ง ณ จุดนี้ยังไม่ชัดเจนว่า Flexible approach คือแค่ไหน ยังไงบ้าง โน๊ตว่าระยะเวลาที่ใช้ Leave without pay โดยปกติจะนับเป็นเวลาสะสมสำหรับการยื่น PR ไม่ได้นะคะ (ถ้านโยบายเปลี่ยน หรือมีอัพเดทอะไร ก็จะมาอัพเดทให้ทราบที่โพสนี้) ===>> สามารถนับเวลาระหว่างหยุดงานชั่วคราวสำหรับการยื่น PR ได้ ไม่ว่าจะหยุดแบบได้รับหรือไม่ได้รับค่าจ้าง ===>> รัฐอนุญาตให้ถอนเงินจาก Superannuation fund ได้ $10,000 สำหรับปีภาษีนี้ ถือวีซ่า 457 หรือ 482 แต่นายจ้างให้หยุดงานชั่วคราว เพราะธุรกิจต้องปิดให้บริการตามรัฐบาลกำหนด สามารถทำงานที่อื่นในระหว่างที่นายจ้างให้หยุดงานได้ไหม ===>> ตามกฏหมายแล้วไม่ได้ค่ะ สำหรับวีซ่า 457 ผิดเงื่อนไข 8107 ส่วนวีซ่า 482 ผิดเงื่อนไข 8607 คือนายจ้างใหม่ต้องมี Approved Nomination ก่อน เราถึงจะทำงานได้โดยไม่ผิดเงื่อนไขวีซ่า พอนายจ้างเดิมเรียกตัวกลับไปทำงาน นายจ้างเดิมก็ต้องทำ Nomination ใหม่และรอ Approve ก่อน เราถึงจะกลับไปทำงานได้ค่ะ ===>> แล้วจะอยู่ยังไง ยังต้องกินต้องใช้ ยังมีค่าใช้จ่าย นั่นแหละคือปัญหา ซึ่งอิมมิเกรชั่นทราบ และคนเขียนคาดว่า (wishful thinking) อิมมิเกรชั่นจะมีประกาศแนวทางที่ยืดหยุ่นในประเด็นนี้เร็วๆนี้ค่ะ (ถ้ามีความคืบหน้า จะมาอัพเดทให้ที่โพสนี้นะคะ) ===>> รัฐอนุญาตให้ถอนเงินจาก Superannuation fund ได้ $10,000 สำหรับปีภาษีนี้ ถือวีซ่า 457 หรือ 482 แต่นายจ้างเลิกจ้างถาวร ===>> หางานใหม่ที่นายจ้างพร้อมจะสปอนเซอร์และยื่น Nomination application ภายใน 60 วัน ===>> ตอนนี้อิมมิเกรชั่นใช้ Flexible approach (ยืดหยุ่นให้ตามสถานการณ์ของแต่ละเคส) อาจจะยืดหยุ่นในเรื่องเวลา แต่ก็ยังไม่มีประกาศออกมา เพราะฉะนั้น พยายามหานายจ้างใหม่ให้ได้ภายใน 60 วัน ถ้าหาไม่ได้ ก็ไปลุ้นกับ Flexible approach ของอิมมิเกรชั่นเอาดาบหน้าค่ะ ===>> รัฐระบุว่าถ้าถูกเลิกจ้างและหาสปอนเซอร์ใหม่ไม่ได้ภายในเงื่อนไข 60 วัน ก็ควรจะกลับออกไปค่ะ (คือยังไม่มีความยืดหยุ่นในส่วนนี้) ===>> ถ้ามีการ Re-employed หลังจากเรื่อง COVID-19 จบลง ก็สามารถนับเวลาการทำงานในประเทศออสเตรเลียสำหรับการยื่น PR ได้ (โน๊ตว่าตอนนี้คนเขียนไม่แน่ใจว่าหมายถึงการ Re-employed โดยนายจ้างเดิมเท่านั้น หรือนายจ้างใหม่ก็สามารถนับเวลาได้ด้วย รอประกาศเพิ่มเติมค่ะ) ถือวีซ่า 457 หรือ 482 แต่นายจ้างลดชั่วโมงการทำงาน และลดค่าจ้าง ===>> จริงๆแล้วทำไม่ได้นะคะ เพราะ 457 และ 482 เป็นวีซ่าที่นายจ้างสปอนเซอร์มาทำงาน full-time ในตำแหน่งที่ขาดแคลน ===>> ตอนนี้ยังไม่มีประกาศจากอิมมิเกรชั่นที่จะยกเว้นเงื่อนไข full-time แต่คนเขียนคิดว่า (wishful thinking อีกแล้ว) อิมมิเกรชั่นน่าจะประกาศแนวทางที่ยืดหยุ่นในประเด็นนี้เร็วๆนี้ เพราะเป็นสถานการณ์ที่ธุรกิจส่วนใหญ่จะต้องเลือกระหว่างลดชั่วโมง ลดค่าจ้าง vs หยุดงานแบบไม่มีค่าจ้าง vs เลิกจ้าง ===>> ถ้านายจ้างไม่มีทางเลือกและจำเป็นที่จะต้องลดชั่วโมงการทำงานและลดค่าจ้าง อย่างนึงที่ควรจะต้องทำให้ได้ คือจ่ายค่าจ้างในเรทที่ถูกต้องในลักษณะ Pro-rata คือเคยจ่ายชั่วโมงละเท่าไหร่ตอนทำงาน full-time ก็จ่ายชั่วโมงละเท่าเดิม ไม่มีการลดเรทค่าแรงนะคะ ===>> นายจ้างสามารถลดชั่วโมงการทำงานได้โดยไม่ผิด Sponsorship obligations และลูกจ้างก็ไม่ผิดเงื่อนไขวีซ่า ถือ Bridging visa A ระหว่างรอผลการพิจารณาวีซ่า 186 แต่นายจ้างให้หยุดงานชั่วคราวแบบไม่จ่ายค่าจ้าง เพราะธุรกิจต้องปิดให้บริการตามที่รัฐบาลกำหนด ===>> ไม่มีปัญหาค่ะ ธุรกิจเปิดเมื่อไหร่ก็กลับไปทำต่อนะคะ ===>> รัฐอนุญาตให้ถอนเงินจาก Superannuation fund ได้ $10,000 สำหรับปีภาษีนี้ ตอนนี้ยื่นใบสมัครวีซ่าถาวร หรือวีซ่า 820 (Stage1 Partner visa) ไปแล้ว อยู่ระหว่างรอการพิจารณา ===>> ขอ Medicare ได้ค่ะ ไม่จำเป็นต้องรอให้วีซ่าเดิมหมดอายุ ยื่นใบสมัครเรียบร้อยก็ยื่นขอ Medicare ได้เลยค่ะ ===>> ขอ Stimulus package จาก Centrelink ไม่ได้ เพราะเป็นสิทธิ์ของคนที่ถือพีอาร์ หรือเป็น Australian citizen เท่านั้น ===>> ตอนนี้มีหลายๆหน่วยงานพยายามล๊อบบี้ให้รัฐบาลให้ความช่วยเหลือคนที่ถือวีซ่าชั่วคราวด้วย แต่ยังไม่มีนโยบายอะไรออกมานะคะ ===>> รัฐอนุญาตให้ถอนเงินจาก Superannuation fund ได้ $10,000 สำหรับปีภาษีนี้ ตอนนี้ถือวีซ่าทำงาน 491, 494 (Regional visas) ===>> ขอ Medicare ได้ค่ะ แต่ขอ Stimulus package จาก Centrelink ไม่ได้ (อ่านข้างบนนะคะ) ===>> รัฐอนุญาตให้ถอนเงินจาก Superannuation fund ได้ $10,000 สำหรับปีภาษีนี้ ตอนนี้อยู่ที่ออสเตรเลีย แต่วีซ่าหมดอายุไปแล้ว ===>> ติดต่อขอคำแนะนำค่ะ อาจจะยังมีวีซ่าที่สามารถยื่นได้ ===>> ถ้าต้องการแค่รอเวลาสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย กลับไทยได้เมื่อไหร่ก็จะกลับและไม่ได้คิดที่จะขอวีซ่าอื่น ติดต่ออิมมิเกรชั่นเพื่อขอ Bridging visa E เพื่อที่จะอยู่ที่นี่ได้อย่างถูกกฏหมายในระหว่างรอ ตอนนี้อยู่ประเทศไทย แต่กลับมาที่ออสเตรเลียไม่ได้ และ Bridging visa B หมดอายุ ===>> Bridging visa B ต่ออายุไม่ได้ และไม่สามารถสมัครได้ถ้าอยู่นอกประเทศออสเตรเลีย เมื่อสถานการณ์คลี่คลาย อาจจะลองยื่นใบสมัครวีซ่าท่องเที่ยว หรือวีซ่าอื่นที่มีคุณสมบัติถึง ตอนนี้อยู่ประเทศไทย ถือวีซ่านักเรียน แต่กลับเข้ามาไม่ได้ ===>> ติดต่อโรงเรียน หรือ Education Agent เพื่อทำเรื่องขอ Defer คอร์ส ===>> ถ้าวีซ่านักเรียนหมดอายุในระหว่างที่อยู่ไทย เมื่อสถานการณ์คลี่คลาย ก็ต้องยื่นใบสมัครเพื่อขอวีซ่านักเรียนตัวใหม่ค่ะ ตอนนี้เรื่องอยู่ที่ชั้นอุทธรณ์ AAT จะต้องรออีกนานไหม ===>> AAT ยังพิจารณาเคสอยู่นะคะ การ Hearing ก็จะเป็นทางโทรศัพท์ หรือ Video link แทน ความล่าช้า (จากที่ปกติก็ล่าช้าอยู่แล้ว) ก็เป็นอะไรที่เข้าใจได้นะคะ เพราะต้องปรับเปลี่ยนหลายอย่างให้เหมาะสมกับสถานการณ์ COVID-19 แต่อย่างน้อย AAT ก็ยังไม่ได้มีประกาศหยุดการพิจารณา ป.ล. มีหลายคำถามที่คนเขียนก็ไม่มีคำตอบให้นะคะ ต้องรอรัฐบาลหรืออิมมิเกรชั่นประกาศเพิ่มเติม ก็ตอบให้เท่าที่ตอบได้ และจะมาอัพเดทให้เมื่อมีข้อมูลเพิ่มเติม คำถามเกี่ยวกับ Centrelink รบกวนถามหน่วยงานโดยตรงนะคะ Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com เคสนี้เป็นเรื่องของลูกความแถบยุโรบคู่หนึ่งที่มาด้วย Working Holiday visa และทำวีซ่า 457 กับเอเจนต์อื่น
ลูกความติดต่อมาหาคนเขียนครั้งแรกกลางปี 2016 Standard Business Sponsorship (SBS) application ถูกปฏิเสธเพราะเอเจนต์คำนวนค่าเทรนนิ่งผิด เอเจนต์แนะนำให้ยื่นอุทธรณ์ คนเขียนแนะนำให้ยื่นเรื่องใหม่เข้าไปที่อิมมิเกรชั่น เพราะเป็นประเด็นที่แก้ไขได้ และยื่นใหม่เร็วกว่ายื่นอุทธรณ์แน่นอน ลูกความอยากเปลี่ยนมาให้คนเขียนดูแล แต่นายจ้างยังมั่นคงกับเอเจนต์เดิม (ปัญหาโลกแตก ต้องปล่อยให้นายจ้างลูกจ้างตกลงกันเอาเอง) เวลาผ่านไปไวเหมือนโกหก ลูกความติดต่อมาอีกครั้งเมื่อธันวาคม 2018 และจะให้คนเขียนยื่นขอพีอาร์ให้ คนเขียนก็คิดว่าลูกความต้องการต่อยอดจาก 457 เป็นวีซ่าพีอาร์ 186 .... คือดูจากเวลาแล้วน่าจะใช่ น่าจะถือ 457 (เข้ากฏเก่า) มาแล้ว 2 ปี ปรากฏว่าความเป็นจริงห่างไกลจากที่คิดไว้เยอะเลยค่ะ ที่หายไป 2 ปีกว่า คนเขียนวิเคราะห์ได้ตามข้างล่าง คือต้องวิเคราะห์เองจากเอกสาร เพราะถามอะไรลูกความก็ทำหน้างงๆ --- คืองงอะไร ไม่เข้าใจ จะว่าภาษาไม่ดีก็ไม่ใช่ เพราะภาษาอังกฤษเป็นภาษาเกิด ....... สรุปว่าเพราะเอเจนต์ไม่เคยอธิบายอะไรเลย ....และลูกความก็เกรงใจ ....... ไม่กล้าถาม!!!! .....เอกสารที่คนเขียนขอไป ตอนแรกก็ไม่มีให้ คือเกรงใจไม่กล้าขอจากเอเจนต์ จนคนเขียนต้องบอกว่าถ้าไม่มีเอกสารก็ไม่ต้องมา หมดปัญญาช่วย .... คือจะให้นั่งเทียนหรือไง ถามอะไรก็ตอบไม่ได้ ขออะไรก็ไม่มี สรุปว่าเคสนี้ 1. SBS ที่แนะนำให้ยื่นใหม่ ผ่านไปได้ด้วยดี 2. Nomination ไม่ผ่าน และตอนนี้เรื่องอยู่ที่ชั้นอุทธรณ์ 3. วีซ่า 457 ก็แน่นอน..ไม่ผ่าน (เพราะ Nomination ไม่ผ่าน) และเรื่องอยู่ที่ชั้นอุทธรณ์เหมือนกัน (และเอเจนต์ก็ยื่นใบสมัครวีซ่าเลท คือหลังวันที่ 18 April 2017 ต่อให้ลูกความได้วีซ่า ก็เข้ากฏใหม่ อาชีพ STSOL ต่อยอดจาก 457 ไปพีอาร์ไม่ได้) ที่หนักกว่านั้นคือเช็ค VEVO แล้วไปเจอว่าจากที่เคยถือ Bridging visa B (BVB) อยู่ กลายเป็นตอนนี้ไม่มีวีซ่า ..... สรุปว่าสองคนที่นั่งอยู่ตรงหน้าคนเขียนไม่มีวีซ่า!!!!! แต่ต้องการยื่นพีอาร์ (แบบในประเทศออสเตรเลียด้วยนะ) ..... เอิ่ม......แก้ปัญหาสำคัญก่อนดีไหม ..... ทำไมอยู่ๆถึงไม่มีวีซ่า เหมือนเดิมค่ะ ลูกความตอบไม่ได้ ตอบได้แต่ว่าหลังจากที่เช็ค VEVO เองแล้วเจอว่าไม่มีวีซ่า ก็รีบบอกเอเจนต์ เอเจนต์ก็รีบยื่นเรื่องขอ Bridging visa E (BVE) ให้ ตอนนี้คือกำลังรออิมมิเกรชั่นออก BVE ให้ คนเขียนก็ .... เอะ .... แล้วมันใช่เหรอ .... จากที่ถือ BVB อยู่ดีๆ ไปเป็นผีได้ยังไง???? ..... คนทำงานด้านนี้ต้องถามคำถามนี้ซิคะ จะหลับหูหลับตายื่น BVE ให้ลูกความโดยไม่หาคำตอบได้ยังไง และประวัติลูกความก็เสียไปจากการอยู่แบบไม่ถือวีซ่า .... มันใช่เหรอ ถ้ามันมีเหตุผลอันสมควร มีที่มาที่ไปทำให้กลายเป็นคนไม่มีวีซ่า ก็ต้องยอมรับสภาพ แต่จากที่คนเขียนสัมภาษณ์ลูกความ และวิเคราะห์จากเอกสาร คนเขียนไม่เจอเหตุอะไรเลยที่อยู่ๆลูกความจะกลายเป็นผี ไม่มีวีซ่า คือค่อนข้างมั่นใจว่าต้องมีความผิดพลาดอะไรบางอย่างเกิดขึ้น และลูกความควรจะยังถือ BVB อยู่ แต่....เนื่องจากคนเขียนก็ไม่ใช่เอเจนต์ที่ดูแลลูกความ จะมาฟันธง รู้ดีไปกว่าเจ้าของเคสได้ยังไง (ใช่ไหม?) คนเขียนเลยแนะนำให้ลูกความเป็นกบฏกับเอเจนต์! เอ้ย....ไม่ใช่... .... แนะนำให้ถามเอเจนต์ถึงเหตุผลที่มาที่ไปของการที่อยู่ๆลูกความไม่มีวีซ่า ถ้าหาเหตุผลมาอธิบายไม่ได้ ก็ต้องไปสู้รบกับอิมมิเกรชั่นเอา BVB คืนมาให้ลูกความ ไม่ใช่ไปสมัคร BVE ให้ลูกความ (BVE คือวีซ่าตัวที่แย่ที่สุดในบรรดา BV ทั้งหมด ถ้าเรามีสิทธิ์ถือ BV ที่ดีกว่า ทำไมจะยอมถือ BVE - อ่านเรื่อง BV ต่างๆได้ที่นี่) ลองนึกเล่นๆถึงสถานะของลูกความในกรณีที่ถือ BVB vs BVE ดูนะคะ การกลับมาถือ BVE แน่นอนว่าเปลี่ยนสถานะจากผี เป็นมีวีซ่า .... สำหรับเอเจนต์เป็นทางออกที่ง่ายที่สุด ไม่ต้องคิด ไม่ต้องทำ Research ไม่ต้องไปนั่งทบทวนประวัติลูกความ ไม่ต้องไปง้างกับอิมมิเกรชั่น .... แต่ผลกระทบต่อลูกความตามมาแบบยาวๆ เพราะตอนนี้ลูกความติด section 48 จากการถูกปฏิเสธวีซ่า 457 ทำให้ยื่นพีอาร์ในประเทศไม่ได้ จะออกไปยื่นพีอาร์แบบนอกประเทศแล้วกลับมารอเรื่องในประเทศก็ไม่ได้ เพราะ BVE ออกไปได้ กลับเข้ามาไม่ได้ ก็ต้องรอผลวีซ่าอยู่นอกประเทศเท่านั้น ลองนึกต่อว่าถ้าวีซ่าพีอาร์ไม่ผ่าน และต้องการจะขอวีซ่าชั่วคราวเพื่อกลับมา ก็คาดว่าจะติดบาร์ 3 ปี จากประวัติที่เคยอยู่แบบไม่มีวีซ่านั่นเอง) ..... อีกทางเลือกนึง ก็คือต้องรอจน Nomination ที่ชั้นอุทธรณ์ผ่านและได้วีซ่า 457 ก่อนค่อยยื่นพีอาร์แบบในประเทศ ... แล้วถ้า Nomination ไม่ผ่าน ไม่ได้วีซ่า 457 ล่ะ (ย้อนกลับไปอ่านย่อหน้านี้อีกรอบค่ะ) การกลับมาถือ BVB แน่นอนลูกความยังติด section 48 จากการถูกปฏิเสธวีซ่า 457 .... แต่ก็สามารถบินออกไปเพื่อยื่นพีอาร์แบบนอกประเทศและกลับมารอพีอาร์ในประเทศได้ในระหว่างที่รอผลอุทธรณ์ของ 457 .... ในกรณีที่วีซ่า 457 ไม่ผ่าน หรือวีซ่าพีอาร์ไม่ผ่าน .... ลูกความก็ยังมีสิทธิ์ยื่นขอวีซ่าชั่วคราวตัวอื่นเพื่อจะกลับเข้ามาในประเทศออสเตรเลียได้โดยไม่ติดบาร์ 3 ปี (เพราะไม่เคยมีประวัติเป็นผีมาก่อน) โพสนี้แอดวานซ์นิดนึง อ่านแล้วงงก็ไม่แปลก ...... ถ้าอ่านแล้วเข้าใจหมดเลย ก็เก่งมากค่ะ แสดงว่าเข้าใจกฏหมายอิมมิเกรชั่นได้ดีระดับนึงเลยทีเดียว สิ่งที่อยากจะบอกก็คือ การมีเอเจนต์หรือทนายความดูแลเคสให้เราเป็นเรื่องที่ดี แต่หัดตั้งคำถาม หัดวิเคราะห์เองด้วย ถ้าไม่แน่ใจในแนวทาง ก็หาความเห็นที่สองค่ะ ชีวิตเป็นของเรา เราต้องดูแลชีวิตและอนาคตของตัวเองด้วย เคสนี้ ลูกความโทรมาขอบคุณที่อธิบายจนเค้าเข้าใจเคสตัวเองและฮึดไปไฟท์กับเอเจนต์ จนเอเจนต์ต้องถอน BVE application และไฟท์กับอิมมิเกรชั่นจนได้ BVB คืนมาในที่สุด (ถือวีซ่าผิด ชีวิตเปลี่ยนนะคะ) ..... ส่วนวีซ่าพีอาร์ที่ลูกความต้องการยื่น เราก็หาทางจนได้ค่ะ (457 ต่อยอดไปพีอาร์ ...ไม่ใช่คำตอบสำหรับทุกคน ...ไม่ง้อก็ได้) .... รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม .... มีประโยชน์ โปรดแชร์ .... Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com UPDATE: 14 December 2018 จากที่คนเขียนโพสไปเมื่อวันที่ 28 November ว่า "ยื่นอุทธรณ์ AAT ไม่ทันเวลา อาจจะยังมีหวัง" (อ่านเนื้อหาเดิมได้ด้านล่าง) .... ปรากฏว่าเป็นความหวังที่สั้นมากค่ะ .... เพราะ the Federal Court (Full Court) ได้มีคำตัดสินกลับไปเป็นแนวทางแบบเดิมๆที่เคยเป็นมา คือ.... ยื่นอุทธรณ์ไม่ทันเวลา = No jurisdiction = AAT ไม่สามารถพิจารณาเคสได้ เราคงต้องมาดูกันต่อว่าจะมีการยื่นอุทธรณ์ไปถึง the High Court หรือไม่ และผลจะเป็นยังไง ที่มา: Beni v Minister for Immigration and Border Protection [2018] FCAFC 228 (14 December 2018) Original post: 28 November 2018
โพสนี้มาแบบสั้นๆ แต่สำคัญมากสำหรับอนาคตของใครหลายๆคน ที่ผ่านๆมา หากมีการยื่นอุทธรณ์ที่ไป AAT เลยระยะเวลาที่กฏหมายกำหนดไว้ AAT จะถือว่าหน่วยงานไม่มีอำนาจในการพิจารณาเคส (No jurisdiction) เมื่อวันที่ 19 November 2018 the Federal Court (single judge) ได้มีคำตัดสินว่า AAT สามารถพิจารณาใบสมัครอุทธรณ์ที่ยื่นไม่ทันเวลา (Out of time) ได้ ซึ่งคาดว่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้ใครหลายๆคนที่ยื่นอุทธรณ์ไม่ทันเวลา ไม่ว่าจะสำหรับคนที่พลาดไปแล้ว (แต่เจ้าตัวยังอยู่ในประเทศออสเตรเลีย) หรือคนที่อาจจะพลาดยื่นไม่ทันเวลาในอนาคต แต่คำตัดสินนี้ ไม่ได้แปลว่าทุกคนเรื่อยๆเฉื่อยๆได้นะคะ ระยะเวลาการยื่นอุทธรณ์ก็เป็นอะไรที่เราต้องใส่ใจและพยายามยื่นให้ทันเวลา เพราะคำตัดสินนี้ ไม่ได้แปลว่า AAT จะต้องรับพิจารณาทุกเคสที่ยื่นไม่ทันเวลา (ไม่อย่างงั้นก็คงไม่ต้องมีระยะเวลาเลย) แต่แปลว่า AAT มีสิทธิ์พิจารณาเป็นเคสๆไปว่าเคสมีที่มาที่ไปยังไง มีเหตุผลน่าเห็นใจตรงไหน ถึงได้ยื่นไม่ทันเวลา และถ้าเห็นดีเห็นงาม ก็สามารถที่จะรับเรื่องไว้ได้ (ในอดีตคือไม่ต้องคิด ไม่ต้องพิจารณา เพราะถือว่า No jurisdiction ยังไงก็ไม่รับเรื่อง) สำหรับใครที่งงๆว่าคำตัดสินของเคสนึง มาเกี่ยวอะไรกับเคสอื่นๆด้วย .... กฏหมายของออสเตรเลีย นอกจากยึดถือตัวบทกฏหมายแล้ว ยังถือว่าคำตัดสินของศาลเป็นบรรทัดฐาน เป็นแนวทางเอามาปรับใช้กับเคสอื่นที่มีลักษณะคล้ายๆกันด้วยค่ะ ป.ล. ณ วันนี้ เคสนี้ถือเป็นบรรทัดฐาน แนวทางใหม่สำหรับ AAT .... แต่อนาคตไม่แน่นอนค่ะ ถ้าอิมมิเกรชั่นอุทธรณ์คำตัดสินนี้ และศาลที่สูงกว่าตัดสินเป็นอื่น บรรทัดฐาน แนวทางก็เปลี่ยนอีก หรืออิมมิเกรชั่นอาจจะมีการแก้กฏหมาย เพื่อให้ AAT ไม่สามารถพิจารณาเคสยื่นไม่ทันเวลาได้ (อะไรก็เกิดขึ้นได้) กฏหมายอิมมิเกรชั่นเปลี่ยนกันอยู่เรื่อยๆค่ะ ตราบใดที่ยังไม่ได้ PR หรือเป็น Australian citizen ก็คงต้องติดตามและอัพเดทกฏหมายกันนะคะ ที่มา: Brown v Minister for Home Affairs (No.2) [2018] FCA 1787 (19 November 2018) Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com เคสที่คนเขียนจะแชร์วันนี้เป็นเคสมหาหิน และเป็นเคสที่ใช้ชั่วโมงการทำงานเยอะมากถึงมากที่สุด
ข้อคิดในเคสนี้อยู่ในเนื้อหา (ไม่มี ป.ล. 1, 2, 3, 4) หวังว่าน้องๆจะได้เรียนรู้จากข้อผิดพลาดในเคสนี้ และเอาไปปรับใช้ให้เป็นประโยชน์กับเคสตัวเองนะคะ โพสนี้แอดวานซ์นิดนึงนะคะ สำหรับคนที่พอมีความเข้าใจเงื่อนไขของวีซ่า 186 หรือ 187 มาบ้างแล้ว สำหรับมือใหม่ รบกวนตามอ่านลิงค์ที่ให้ไว้ตัวแดงๆในโพสนี้ก่อน จะได้พอเข้าใจว่าคนเขียนพูดถึงอะไร และสำคัญยังไง คุณลูกความติดต่อมาขอคำแนะนำหลังจากอิมมิเกรชั่นปฏิเสธ Nomination สำหรับวีซ่า Subclass 186 แบบ Temporary Residence Transition Stream (TRT) ..... เหตุผลที่ปฏิเสธก็มี 2 ข้อด้วยกัน คือ
เท้าความข้อกฏหมายนิดนึง....... เคสนี้เข้ากฏเก่า (Transitional arrangements) ...... คือต้องทำงานในระหว่างถือวีซ่า 457 อย่างน้อย 2 ปี ถึงจะขอพีอาร์ได้ (กฏปัจจุบันคือต้องทำงานในวีซ่า 457 / TSS-482 อย่างน้อย 3 ปี ถึงจะขอพีอาร์ได้) จากข้อมูลที่ลูกความให้มา คนเขียนคิดว่าเราน่าจะหาข้อโต้แย้งเหตุผลทั้ง 2 ข้อนี้ได้ (หมายถึงโต้แย้งกันทางข้อกฏหมายนะคะ ไม่ใช่โต้แย้งแบบตามใจฉัน) เคสนี้จริงๆยื่นใหม่ได้ เพราะลูกความยังถือวีซ่า 457 อยู่อีกระยะใหญ่ แต่แนวโน้มที่จะถูกปฏิเสธอีกรอบก็มีสูง และลูกความก็ยังไม่มีผลภาษาอังกฤษสำหรับกฏปัจจุบัน (เทียบเป็น IELTS ก็ 6 ทุกพาร์ท) ..... สรุปว่าเคสนี้การยื่นอุทธรณ์ดูแล้วจะเข้าท่าที่สุด (จริงๆยื่นอุทธรณ์ด้วย และเมื่อได้ผลภาษาอังกฤษก็ยื่นใหม่ด้วยก็ได้ แต่ลูกความไม่สน ไม่สอบ วัดใจกันไปเลยค่ะ ลุยทางเดียว บอกว่าถ้าไม่ชนะที่ชั้นอุทธรณ์ก็จะแพ๊คกระเป๋ากลับบ้าน .... คนเขียนแอบเครียดเลย กลัวครอบครัวนี้ต้องแพ๊คกระเป๋าจริงๆ) ว่าแล้วลูกความก็เซ็นสัญญาให้คนเขียนดูแลเคสอุทธรณ์ .... และแล้วเซอร์ไพร์สก็มา ....... งานงอกแบบจริงๆจังๆ ไม่เคยมีเคสไหนงานงอกขนาดนี้ เบื้องลึกของเคส ..... ข้อมูลที่ไม่ได้ระบุในคำตัดสิน แต่เจอระหว่างทางคือ
และบลา...บลา...บลา.... คือมีปัญหาอื่นอีกมากมาย เงื่อนไขการพิจารณา Nomination มีกี่ข้อ มีปัญหาเกือบทุกข้อ .....คนเขียนก็คิดไม่ถึงว่าสาระพันปัญหามันจะมารวมกันอยู่ในเคสๆเดียวนี้แหละ (ลูกความสามารถมาก) ปรากฏว่าอธิบายยังไงลูกความก็ไม่เข้าใจว่าเคสตัวเองอาการหนักมาก Positive thinking สุดๆ (ซึ่งก็เข้าใจได้ คนส่วนใหญ่ก็คิดว่าเมื่อตัวเองคิดดีทำดี ก็ต้องได้ดี ทำผิดพลาดแบบไม่ตั้งใจก็พยายามแก้ไข ก็ต้องให้อภัยกันสิ ... ในความเป็นจริงกฏหมายอิมมิเกรชั่นโหดร้ายกว่านั้นนะคะ ........ บางครั้ง Tribunal ก็มองอีกมุม เช่นกฏหมายเป็นอะไรที่คุณต้องรู้ จะมาบอกไม่รู้ไม่ได้ ไม่อย่างงั้นทุกคนก็อ้างแบบนี้ ก็ได้วีซ่ากันหมดสิ ..... หรือมองว่าคุณพยายามโกหก สร้างเรื่องเพื่อให้ได้วีซ่ารึเปล่า .... บางครั้ง Tribunal ก็เห็นใจ แต่กฏหมายอาจจะไม่เปิดช่องให้ใช้ความเห็นใจมาเป็นองค์ประกอบในการพิจารณา) สรุปว่าหายใจเข้าลึกๆหายใจออกยาวๆ ทำ Research หาข้อกฏหมายมาแก้ปัญหาไปทีละเปลาะ ส่วนที่ไม่มีข้อกฏหมายมาช่วย คนเขียนก็ไปนำเสนอมุมมองใหม่ๆเอาที่ Tribunal ละกัน เคสนี้ก็ลูกความในฝันอีกแล้วค่ะ เคสยากมากจริงๆ แต่แนะนำอะไร ลูกความทำทุกอย่าง .... ทำให้คนเขียนแก้ไขปัญหาหลายๆจุดให้คุณลูกความได้ทางเอกสาร และเหลือประเด็นหลักๆ (ซีเรียสๆ) ไว้ลุยกันวัน Hearing เพราะเอกสารอย่างเดียวเอาไม่อยู่ ปรากฏว่าวัน Hearing คนเขียนแอบกุมขมับ เพราะรู้สึกว่า Tribunal member ออกแนวติดลบกับเคสพอสมควร (ซึ่งก็เข้าใจได้ เพราะประเด็นที่ซีเรียสและไม่น่าจะให้ผ่านมีหลายประเด็น ประกอบกับลูกความและพยานก็ตื่นเต้นตอบคำถามได้ไม่ดีและไม่ละเอียดพอ) คนเขียนก็มีการโต้เถียงทางข้อกฏหมายกับ Tribunal member ในวันนัด แต่เนื่องจากมีหลายประเด็น เวลาก็หมดซะก่อน แต่ Tribunal member ก็ยังอนุญาติให้คนเขียนทำ Written Submissions โต้เถียงเคสเพิ่มเติมได้ (โอกาสสุดท้ายของเรา) .... สรุปว่าผ่านค่ะ .... ลูกความไม่ต้องแพ๊คกระเป๋ากลับบ้านแล้ว ... เย้ ... หายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง (เคสนี้ลูกความอยู่คนละรัฐกับคนเขียน ตั้งแต่ต้นจนจบเรายังไม่เคยเจอกันตัวเป็นๆ ..... อ้าว แล้ว Hearing กันยังไง??? - Video conference คือคำตอบ) คนเขียนจะไม่ลงรายละเอียดว่าโต้เถียงอะไรไปบ้าง แค่ Submissions โต้เถียงทางข้อกฏหมายอย่างเดียวก็ 10 หน้าแล้ว เอกสารประกอบรวมๆในเคสนี้ก็น่าจะราวๆ 400-600 หน้า และแนวทางการโต้เถียงและการแก้ปัญหาของแต่ละเคสก็ไม่เหมือนกัน แค่ยื่นต่างช่วงเวลากันก็อาจจะใช้กฏหมายกันคนละตัวแล้ว ถึงแม้นายจ้างจะเคยมีประวัติถูกปรับหรือติดบาร์เหมือนกัน เหตุผลที่มาที่ไปของการถูกปรับหรือติดบาร์ก็ต่างกัน ถึงแม้ลูกจ้างจะเคยถูกกล่าวหาว่าทำหน้าที่อื่นนอกเหนือจากหน้าที่ของตำแหน่งที่ได้รับสปอนเซอร์เหมือนกัน แต่ลักษณะงาน ธุรกิจ หรือเอกสารประกอบต่างกัน แนวทางการทำเคสก็ต่างกัน (สรุปว่าเคสใครเคสมันค่ะ เคสอุทธรณ์ไม่มีแพทเทิร์น) .... แต่สิ่งที่ลูกความเคสอุทธรณ์ทุกคนควรมีคือ Being proactive ใส่ใจและเต็มที่กับเคสตัวเองค่ะ อย่าคาดหวังว่าเมื่อมีเอเจนต์หรือทนายความดูแลแล้ว เราจะไม่ต้องทำอะไรเลย ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ค่ะ เราทำงานกันเป็นทีม ทีมข้อกฏหมาย + ทีมข้อเท็จจริง (คุณลูกความนั่นเอง) ลูกความยกความดีความชอบให้คนเขียนเต็มๆ แต่คนเขียนคืนกลับไปครึ่งนึง ถ้าลูกความไม่ใส่ใจเคสตัวเอง เคสก็ออกมาดีไม่ได้ เราไม่มีเวทมนต์ hard work + team work ล้วนๆค่ะ หวังว่าข้อมูลในโพสนี้จะเป็นประโยชน์กับน้องๆที่หมายตาวีซ่า Subclass 186 หรือ 187 นะคะ ขอบคุณที่อ่าน ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์ ก็แชร์ได้เลยค่ะ ไม่ต้องขออนุญาตกัน Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com วันนี้มาให้ข้อมูลสั้นๆเกี่ยวกับค่ายื่นใบสมัครอุทธรณ์ (Review application) ที่ชั้น AAT หรือชื่อเต็มๆว่า Administrative Appeals Tribunal
Migration review application เป็นการยื่นอุทธรณ์ในกรณีถูกปฏิเสธวีซ่า ถูกปฏิเสธ Nomination หรือ Sponsorship หรือการถูกยกเลิกวีซ่า เป็นต้น
รายละเอียดอื่นเกี่ยวกับ AAT เขียนไว้ในโพสนี้ ซึ่งตอนที่เขียน ชื่อหน่วยงานคือ MRT (Migration Review Tribunal) .... รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม .... มีประโยชน์โปรดแชร์ .... Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com เมื่อสองสามวันมานี้ คนเขียนนั่งเตรียมเคส เตรียมลูกความสำหรับ AAT Hearing ในวันพรุ่งนี้
วีซ่าของน้องถูกปฏิเสธเพราะเอเจนต์เดิมไม่เข้าใจข้อกฏหมายที่เกี่ยวข้องอย่างแท้จริง และให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเข้าไปที่ชั้นอิมมิเกรชั่น (ด้วยความเข้าใจผิดในข้อกฏหมาย) ตอนน้องติดต่อมา เราเริ่มด้วยการทำ Consultation (คือการให้คำปรึกษาเบื้องต้น) เพื่อที่คนเขียนจะได้อ่านคำ ตัดสินของอิมมิเกรชั่น และสัมภาษณ์น้องเพื่อที่จะดูความเป็นไปได้ของเคส คือพยายามหาแนวทางแก้ไขเคส เบื้องต้น ... ซึ่งจากการสัมภาษณ์น้อง คนเขียนเชื่อว่าเคสมีความเป็นไปได้สูง อยู่ที่ว่าเราจะพยายามนำเสนอให้ AAT เห็นตามเราได้ยังไง ในเมื่อ AAT ก็มีข้อมูลที่ไม่ถูกต้องที่เอเจนต์ยื่นเข้าไปก่อนหน้านี้ที่ชั้นอิมมิเกรชั่น เริ่มแรกเลย... คนเขียนก็พยายามอธิบายเคสให้น้องฟังว่ามันเป็นเคสที่มีความเป็นไปได้อยู่นะ แต่เนื่องจากว่าเคสนี้เกี่ยวข้องกับคอนเซ็ปทางข้อกฏหมายและการตีความทางกฏหมาย พยายามอธิบายให้ง่ายยังไง คนฟังก็ยังงงอยู่ดี คือเหมือนจะเข้าใจแต่เข้าใจไม่ทั้งหมด ก็ขนาดเอเจนต์เองยังไม่เข้าใจ คนเขียนก็ไม่คาดหวังว่าน้องจะเข้าใจเคสตัวเองได้อย่างถ่องแท้ ในเคสนี้ถึงแม้คนเขียนจะเชื่อว่าเคสมีความหวังสูงอยู่ ก็ไม่กล้าให้ความหวังน้องมาก เพราะการไป AAT ไม่ได้มีแค่การยื่นเอกสาร แต่มี Hearing ด้วย ซึ่งเจ้าตัวก็ต้องไปที่ AAT และถูกซักถามมากมาย บางคนก็ทำได้ดี บางคนก็ทำได้ไม่ดี บางคนเคสดีแต่สื่อสารได้ไม่ดี บางคนความจำเสื่อมขึ้นมากระทันหัน (คือสมองว่างเปล่าด้วยความตื่นเต้น) เคสนี้น้องและคนเขียนอยู่คนละรัฐ แต่เราติดต่อกันเป็นระยะๆ น้องโทรถามโทรอัพเดทชีวิตให้ฟัง เรามีการคุยกันเรื่องการเตรียมเอกสารเพื่อยื่นเพิ่มเติม และเรามีการยื่นเอกสารเพิ่มเติมล่วงหน้าก่อน Hearing รวมถึงข้อสรุปทางกฏหมายเพื่อจะช่วยเคสของน้องด้วย (ป.ล.วิธีการทำงานและวางแผนเคสอุทธรณ์ในแต่ละเคสก็ไม่เหมือนกันนะคะ คนเขียนดูหน้างาน และก็มานั่งคิด นอนคิด ตีลังกาคิดว่าเราจะเดินเคสแต่ละเคสยังไง) เมื่อวานและวันนี้เราอยู่ในระหว่างเตรียมน้องให้พร้อมไป Hearing .... ซึ่งในความเป็นจริง ไม่มีลูกความคนไหนพร้อมจริงๆ... ส่วนใหญ่ไม่เคยไป AAT มาก่อนและตื่นเต้น บวกกับความกังวลเรื่องภาษา (ซึ่งคนเขียนขอย้ำว่าขอล่ามได้นะคะ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มด้วยค่ะ) เคสนี้เป็นเคสที่โชคดีมากค่ะ เนื่องจาก AAT เมื่อได้พิจารณาเอกสารและข้อโต้แย้งทางกฏหมายที่เรายื่นเข้าไปแล้ว ก็เห็นด้วยกับเรา คนเขียนก็ได้รับจดหมายวันนี้ว่า พรุ่งนี้ไม่ต้องมา Hearing แล้วนะ ไม่เกิน 2 อาทิตย์จะส่งคำตัดสิน (ที่เป็นบวก) มาให้ (เย้) เคสของน้องเป็นเคสที่ต้องพิจารณาทั้งข้อเท็จจริงบวกกับข้อกฏหมายที่คนเขียนระบุไปทาง AAT ว่า ข้อมูลเดิมไม่ถูกต้อง ข้อมูลใหม่ถูกต้องและเข้าข้อกฏหมาย ซึ่งเคสที่ต้องพิจารณาทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฏหมายแบบเคสนี้ มีน้อยมากที่ AAT จะตัดสินโดยไม่ต้องไป Hearing ลูกความดีใจมาก (บวกกับงงๆว่าเกิดอะไรขึ้น) คนเขียนก็ดีใจมากเช่นกัน (เพราะลึกๆคนเขียนก็แอบห่วงอยู่ว่าน้องจะตอบได้ดีหรือไม่) โดยส่วนใหญ่แล้ว เคสที่ AAT อาจจะตัดสินโดยไม่ต้องไป Hearing จะเป็นเคสที่ไม่ต้องลงไปพิจารณาข้อเท็จจริง แต่จะเป็นเคสประมาณลืมยื่นเอกสารบางอย่างที่ชั้นอิมมิเกรชั่น แต่มีมายื่นที่ชั้น AAT เช่นผลภาษาอังกฤษ หลักฐานประกันสุขภาพ ใบตำรวจ เป็นต้น (ป.ล. ในบางเคสการลืมยื่นเอกสารประเภทนี้ที่ชั้นอิมมิเกรชั่น ก็ไม่ทำให้ชนะที่ชั้นอุทธรณ์นะคะ ขึ้นอยู่กับเคสแต่ละเคสค่ะ) นี่คือเหตุผลที่คนเขียนต้องขอให้นัดทำคอนซัลก่อนที่จะพิจารณารับเคสอุทธรณ์นะคะ จะได้เข้าใจตรงกันว่าเป็นเคสที่น่าจะมีความหวังหรือไม่ (น้องบางคนอาจจะงงๆว่า ก็แค่อยากรู้ว่าจะรับทำรึเปล่าและค่าบริการเท่าไหร่)......สำหรับคนเขียน ถ้าไม่ได้อ่านคำตัดสิน ไม่ได้สัมภาษณ์หาข้อมูลเพิ่มเติม คนเขียนจะไม่รับทำเคส หลายๆเคสอ่านคำตัดสินเจอประเด็นนึง เมื่อรับงานมาและดูเอกสารกันลึกๆเจอประเด็นเพิ่มอีกหลายประเด็นเลยค่ะ อันนี้เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ เมื่อรับงานมาแล้ว เราก็ดูแลกันไป ......... แถม.... อีกหนึ่งประสบการณ์เมื่อเร็วๆนี้... เคสนี้น้องติดต่อมาว่าจะทำยังไงดี วีซ่าถูกปฏิเสธ น้องยื่นอุทธรณ์ด้วยตัวเองไปแล้ว แต่ไปทำอีท่าไหนไม่รู้ไม่ได้จ่ายเงินค่าอุทธรณ์ให้ AAT เมื่อเรานัดคอนซัลและดูเอกสารที่น้องส่งมา .... คนเขียนคาดว่าน้อง Tick ผิดช่องทำให้ใบสมัครของน้องแทนที่จะเป็น Migration review application กลายเป็น Refugee review application ซึ่งทำให้น้องยื่นใบสมัครได้โดยไม่ต้องชำระเงิน (ไม่ต้องลองนะคะ มันไม่ใช่เทคนิคการประหยัดเงิน แต่มันเป็นความผิดพลาดที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น - อ่านต่อไปจะเข้าใจค่ะ) เคส Migration review application ยังไงก็ต้องมีการชำระเงินก่อนที่ระบบออนไลน์จะรับเรื่องค่ะ เคสนี้น้องยื่นเอง นอกจาก Tick ผิดช่องทำให้ยื่น Migration review application โดยไม่ต้องชำระเงินแล้ว มีการกรอกแบบฟอร์มผิดอีกตังหาก แต่ AAT ก็ใจดียอมรับเรื่องกรอกแบบฟอร์มผิด ส่งจดหมายมาขอให้ชำระเงินค่าอุทธรณ์เท่านั้นเอง แล้วปัญหามันอยู่ตรงไหน???? ปัญหามันอยู่ที่การยื่นอุทธรณ์ประเภทที่มีค่ายื่นอุทธรณ์ จะต้องมีทั้งการยื่นใบสมัครและมีการชำระเงินด้วย และทั้งสองอย่างนี้จะต้องเกิดขึ้นภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้สำหรับการยื่นอุทธรณ์ ในเคสนี้คือ 21 วันนับจากได้รับแจ้งว่าถูกปฏิเสธวีซ่า น้องยื่นใบสมัครอุทธรณ์ทันเวลา (แบบไม่จ่ายตังค์) AAT ส่งจดหมายแจ้งให้น้องจ่ายตังค์ ซึ่งโชคดีที่ยังเหลือเวลาอีก 1 วันครึ่ง ให้น้องจ่ายตังค์ได้ทันเวลา ปัญหาคือน้องไม่ได้จ่ายตังค์ใน 1 วันครึ่งที่เหลืออยู่นี่ซิคะ ตอนที่ติดต่อมาหาคนเขียนนี่คือเลยระยะเวลา 21 วันตามที่กฏหมายกำหนดไปเรียบร้อยแล้ว น้องบอกว่าน้องมีเหตุผล ระบบอีเมล์ของน้องไม่ดี กว่าอีเมล์จะเด้งขึ้นมาให้น้องเห็น ก็เลยเวลา 21 วันไปแล้ว (ถ้าเราให้อีเมล์เป็นช่องทางการติดต่อ เราต้องมั่นใจว่าเราจะเช็คอีเมล์และระบบอีเมล์ของเราดีนะคะ ไม่อย่างงั้นน้องอาจจะเจอประสบการณ์คล้ายๆกับน้องคนนี้) ในเคสนี้ น้องอาจจะลองทำคำอธิบายเข้าไปที่ AAT ว่าทำไมถึงชำระค่ายื่นอุทธรณ์ไม่ทันเวลา แต่คนเขียนคิดว่ามีเปอร์เซ็นต์น้อยมากที่ AAT จะยอมรับเคสนี้ไว้พิจารณา แนวทางการตัดสินของ AAT ในกรณีแบบนี้คือ No Jurisdiction (AAT ไม่มีอำนาจในการพิจารณาเคสของน้องแล้ว) เพราะถือว่าเป็นการยื่นอุทธรณ์ Out of time (เลยเวลาที่อนุญาตให้ยื่นอุทธรณ์) แต่เนื่องจากว่าน้องไม่มีอะไรจะเสียแล้ว ไม่ลองไม่รู้ ถ้าลองเขียนคำอธิบายเข้าไป น้องอาจจะโชคดี AAT เห็นใจ แต่ถ้า AAT ไม่เห็นใจ ก็เป็นอะไรที่คาดไว้อยู่แล้ว เคสนี้ วีซ่าที่น้องยื่นอุทธรณ์ไม่ทันเป็นวีซ่าพีอาร์ด้วยค่ะ ซึ่งน่าเสียดายมาก และเนื่องจากน้องถูกปฏิเสธวีซ่าและตอนนี้ก็ถือ Bridging visa น้องก็ติด section 48 บาร์ คาดว่าเคสนี้น้องจะต้องกลับไปยื่นวีซ่าตัวใหม่จากไทยค่ะ Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com Bridging visa คืออะไร
คนเขียนมักจะอธิบายแบบสั้นๆง่ายๆให้ลูกความฟังว่า Bridging visa คือวีซ่า "รอ" .... รออะไร ... ก็รอผลการพิจารณาของวีซ่าตัวจริงที่เรายื่นขอไปไงคะ เช่นวีซ่านักเรียน วีซ่าคู่ครอง วีซ่าทำงาน อิมมิเกรชั่นเรียกวีซ่าตัวจริงพวกนี้ว่า "Substantive visa" วีซ่า "รอ" (Bridging visa) กับวีซ่าตัวจริง (Substantive visa) มีความสัมพันธ์กันอยู่ค่ะ
A: ก็เพราะมีกฏเปลี่ยนเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2016 Q: แล้วจะทราบได้ยังไงว่า Bridging visa หมดอายุเมื่อไหร่กันแน่ A: ถ้า Bridging visa ออกก่อนวันที่ 19 พฤศจิการยน 2016 - 28 วัน ถ้าออกวันที่ 19 พฤศจิการยน 2016 หรือหลังจากนั้น - 35 วัน ทางที่ดีที่สุด เช็ค VEVO ค่ะ
นะคะ (ครั้งนี้ก็ต้องย้ำ) คือมันไม่ใช่สูตรนะคะว่าพอถูกปฏิเสธจะต้องยื่นอุทธรณ์ ต้องดูความเหมาะสม ของเคสด้วย ว่าควรยื่นอุทธรณ์หรือไม่ - บางเคสมีโอกาสยื่นขอวีซ่าไปที่อิมมิเกรชั่นใหม่ และการยื่นใหม่อาจจะดีกว่าการยื่นอุทธรณ์ - บางเคสถึงจะมีโอกาสยื่นขอวีซ่าใหม่อีกครั้ง แต่การยื่นอุทธรณ์น่าจะมีโอกาสได้วีซ่ามากกว่า - บางเคสเมื่อพิจารณาตัวบทกฏหมายและสถานการณ์ของเคส ไม่ว่าจะทำยังไงก็ไม่มีโอกาสชนะที่ ชั้นอุทธรณ์ ก็ไม่ควรยื่น - บางเคสถึงจะไม่มีโอกาสผ่านที่ชั้นอุทธรณ์ก็ควรยื่น (แต่ก็ไม่ใช่ทุกเคส เพราะถ้าการยื่นไม่ได้ให้ ประโยชน์อะไรกับเราเลย นอกจากการเสียตังค์ ก็ไม่ทราบว่าจะเสียตังค์ไปทำไม) - บางเคสก็ควรจะยื่นอุทธรณ์ด้วย ยื่นใหม่ด้วย เพื่อเป็นการเปิดทางเลือกให้มากที่สุด ซึ่งแน่นอนว่า ค่าใช้จ่ายก็สูงขึ้นตามโอกาสที่มากขึ้น (ย้ำอีกครั้งว่า นี่ไม่ใช่สูตร ไม่ได้ใช้ได้กับทุกเคสทุกสถานการณ์ ในบางเคสก็เป็นการใช้เงินโดยเปล่าประโยชน์)
ฺฺคนเขียนขอสรุปวีซ่า "รอ" ที่เจอกันเป็นปกตินะคะ (แบบไม่ปกติขอไม่พูดถึง) Bridging visa A - รออยู่ในประเทศเท่านั้น ออกไปเที่ยวนอกประเทศระหว่างรอไม่ได้ (จริงๆ คือ ออกได้ แต่จะไม่ได้กลับเข้ามา) Bridging visa B - สำหรับคนที่ต้องการออกไปเที่ยว ไปเยี่ยมญาติ ไปทำธุระนอกประเทศระหว่างรอการพิจารณาวีซ่าตัวจริง Bridging visa B นี่เป็นวีซ่าแบบที่อิมมิเกรชั่นไม่ได้ออกให้โดยอัตโนมัตินะคะ ต้องสมัครและเสียตังค์ด้วย และเฉพาะคนที่ถือ ฺBridging visa A เท่านั้นนะคะ ที่จะขอ Bridging visa B ได้ Bridging visa C - จะออกให้กับคนที่มีสถานะเป็นผี (ไม่มีวีซ่า) หรือถือ Bridging visa (ที่ไม่ใช่ Bridging visa E) ตอนยื่นขอวีซ่าตัวจริง Bridging visa E - จะออกให้กับคนที่มีสถานะเป็นผี ที่ต้องการเตรียมตัวเดินทางกลับออกไป หรือมีการยื่นอุทธรณ์ในกรณีวีซ่าถูกยกเลิก หรือมีการยื่นอุทธรณ์ไปหารัฐมนตรีด้านคนเข้าเมือง ในกรณีแบบนี้ต้องมีการยื่นขอนะคะ อิมมิเกรชั่นไม่ได้ออก Bridging visa E ให้โดยอัตโนมัติ และสำหรับคนที่เป็นผีและเคยได้รับ Bridging visa E มาแล้ว และมีการยื่นขอวีซ่าตัวจริงเข้าไป โดยส่วนใหญ่แล้วก็จะได้ Bridging visa E โดยอัตโนมัติ ในกรณีที่เคสค่อนข้างซับซ้อน ก็อาจจะมีอาการงงๆกันนิดนึงว่าตกลงถือ Bridging visa ตัวไหนกันแน่ บางคนก็ได้ Bridging visa มาหลายตัวเพราะยื่นขอวีซ่าหลายตัว หรือมีการยื่นอุทธรณ์ด้วย ขอวีซ่าใหม่ด้วยเป็นต้น คิดอะไรไม่ออก เช็ค VEVO ค่ะ Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com คนเขียนเพิ่งแจ้งข่าวดีให้กับลูกความคู่นึงไป ข่าวดีของคนที่ยื่นวีซ่าก็คงไม่มีอะไรนอกจากวีซ่าออกแล้ว
เคสนี้เป็นเคสที่เราดูแลกันมายาวนานพอสมควร ลูกความติดต่อคนเขียนมาตั้งแต่ 4 ปีที่แล้ว ลูกความไม่ถือวีซ่ามาระยะใหญ่ แต่มีแฟนออสซี่ แต่เนื่องจากกฏเกณฑ์นโยบายการขอวีซ่าคู่ครองของคนที่ไม่มีวีซ่า ก็เปลี่ยนมาระยะนึงแล้ว ซึ่งทำให้โอกาสการได้วีซ่าในเคสแบบนี้ยากขึ้นมาก ทางเลือกของคนไม่ถือวีซ่าที่ต้องการยื่นวีซ่าคู่ครอง (ก็ได้เคยโพสไปแล้วว่า) มีอยู่สองทาง คือการกลับออกไปยื่นวีซ่าแบบนอกประเทศออสเตรเลีย หรือเสี่ยงยื่นวีซ่าแบบในประเทศออสเตรเลียถ้าคิดว่าเคสของเรามีเหตุผลที่น่าเห็นใจจริงๆ (Schedule 3 waiver request) คนเขียนใช้คำว่า"เสี่ยง" เพราะต่อให้เราคิดว่าเรามีเหตุผลน่าเห็นใจแค่ไหน เหตุผลอาจจะไม่มากพอในมุมมองของอิมมิเกรชั่น ซึ่งก็อาจจะทำให้เราถูกปฏิเสธวีซ่าได้ เมื่อถูกปฏิเสธวีซ่าในกรณีแบบนี้ ก็มีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์ ซึ่งอุทธรณ์ก็มีความเสี่ยง อาจจะชนะหรือแพ้ ไม่มีใครตอบได้ จากประสบการณ์ในการทำงานด้านนี้ คนเขียนคิดว่าเคสนี้เป็นเคสที่น่าเห็นใจจริงๆ แต่เนื่องจากว่าคนเขียนก็ไม่ใช่คนตัดสินเคส ลูกความก็ต้องเป็นคนตัดสินใจเองว่าจะเลือกทางไหนที่ตัวเองพอรับได้ ระหว่าง 1. กลับไปยื่นที่ไทย ซึ่งการพิจารณาน่าจะเร็วกว่าและมีโอกาสได้วีซ่าสูงกว่า (ถ้าความสัมพันธ์หนักแน่นมั่นคงและมีหลักฐานสนับสนุนที่ดี) แต่ก็คงจะต้องรออยู่ที่ไทยจนกว่าจะได้วีซ่า เพราะการขอวีซ่าท่องเที่ยวมาในระหว่างรอคงไม่ผ่านเนื่องจากเคยอยู่เป็นผีที่ออสเตรเลียมาระยะใหญ่ และถ้าวีซ่าคู่ครองไม่ผ่านจะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ ก็คงต้องรออยู่ที่ไทยจนกว่าอุทธรณ์จะผ่าน หรือได้วีซ่าประเภทอื่น หรือ 2. เสี่ยงยื่นที่นี่ ซึ่งโอกาสที่จะถูกปฏิเสธที่ชั้นอิมมิเกรชั่นก็สูงพอสมควร แต่โอกาสที่จะชนะที่ชั้นอุทธรณ์ก็พอมี ถ้าถูกปฏิเสธ ก็มีโอกาสตัดสินใจว่าจะกลับไปวีซ่ายื่นใหม่ที่ไทยดี หรือจะเสี่ยงลุยต่อไปชั้นอุทธรณ์ดี ถ้าไม่ผ่านที่ชั้นอุทธรณ์ ก็คงจะได้กลับไปยื่นใหม่ที่ไทยจริงๆ ยกเว้นว่าจะมีเหตุให้อุทธรณ์ต่อในชั้นอื่นได้ (ซึ่งในบางเคสก็มีความเป็นไปได้) คนเขียนง่ายๆ ถ้าลูกความลุย คนเขียนก็ลุยค่ะ แต่ก่อนลุย ลูกความต้องเข้าใจพื้นฐานเคสของตัวเองจริงๆก่อน ... ทำงานกับคนเขียนไม่มีการเพ้นท์ภาพสวยหรู ไม่มีโลกสวย เราเอาเรื่องจริงมาคุยกัน คนเขียนไม่เห็นประโยชน์ที่จะบอกลูกความว่าเคสง่ายๆเดี๋ยวก็ได้วีซ่า ถ้าในความเป็นจริงมันไม่ใช่ สรุปว่าลูกความเลือกเสี่ยงยื่นที่นี่ คนเค้ารักกันอยากอยู่ดูแลกัน (และที่สำคัญมีเหตุผลน่าเห็นใจ) คนเขียนก็ลุย ลูกความก็ลุยค่ะ และเราก็ถูกปฏิเสธ ซึ่งก็ไม่ได้ผิดคาด แต่ผิดหวัง คนเขียนก็ถามว่าจะยื่นอุทธรณ์หรือจะกลับไปยื่นที่ไทย ในใจก็นึกว่าในเมื่อลุยมาถึงตรงนี้แล้ว ก็ควรจะลุยต่อ ไม่อย่างงั้นก็ควรยื่นที่ไทยตั้งแต่แรก นึกแต่ไม่ได้พูดเพราะนี่คือชีวิตของลูกความ และทั้งสองทางต่างก็มีข้อดี/ข้อเสียของมันเอง ก็ต้องให้ลูกความเลือกและตัดสินใจเอาเอง คนเขียนไม่ได้มีหน้าที่ตัดสินใจแทน แต่มีหน้าที่ให้คำแนะนำประกอบการตัดสินใจ ลูกความตัดสินใจยื่นอุทธรณ์ คนเขียนชื่นใจมาก ไม่ได้ชื่นใจเพราะลูกความตัดสินใจยื่นอุทธรณ์ แต่เพราะขออะไรไปก็จะพยายามหาให้อย่างรวดเร็ว แบบไม่ต้องตามไม่ต้องถามซ้ำ (proactive แบบสุดๆ) และเราก็ชนะที่ชั้นอุทธรณ์ เคสถูกส่งกลับไปให้อิมมิเกรชั่นพิจารณาต่อ และในที่สุดคุณลูกความก็ได้วีซ่าสมใจ ซึ่งในเคสนี้ลูกความได้วีซ่าคู่ครองแบบถาวรเลยด้วยค่ะ .... คนเขียนชื่นใจและดีใจเหมือนได้วีซ่าซะเอง ... นับรวมเวลาตั้งแต่เข้ามาขอคำปรึกษาเบื้องต้นจนถึงวันนี้ 4 ปี กับอีก 2 เดือน หลายๆคนอาจจะสงสัยว่าแล้วจะบอกไหมว่าเหตุผลที่น่าเห็นใจมันคืออะไร ... ไม่บอก ... ความลับของลูกความบอกไม่ได้ ... และบอกไปก็ไม่มีประโยชน์ เพราะแต่ละเคสก็มีลักษณะเฉพาะตัว ก็ต้องพิจารณากันเป็นเคสๆไป สำหรับบางคนที่เหมารวมว่าคนไม่มีวีซ่า/ผีจะไม่มีทางขอวีซ่าคู่ครองแบบในประเทศได้และต้องกลับไปยื่นแบบนอกประเทศเท่านั้น ก็ต้องบอกว่าไม่จริงเสมอไป คนเขียนเคยโพสไว้นานแล้วว่าเคสบางเคสทนายหรือเอเจนต์ต้องทำงานกับเรานานเป็นปีๆ เลือกคนที่คลิ๊กกับเรานะคะ จะได้ทำงานด้วยกันอย่างสบายใจ นอกเรื่อง .... มีน้องๆถามเกี่ยวกับ Bridging visa มาค่อนข้างเยอะ คนเขียนร่างไว้แล้วแต่ยังไม่เสร็จ รออีกแป๊บ... ที่ถามๆกันมาก็จะพยายามตอบให้นะคะ (ถ้าตอบได้) อาจจะตอบเป็นการส่วนตัว หรือทาง Blog ในหัวข้อ ถาม-ตอบ จิปาถะ (ไม่มีความจำเป็นต้องเช็ค Blog ทุกวันนะคะ ถ้าตอบทาง Blog จะแจ้งให้ทราบว่าตอบให้แล้วใน Blog) คำถามที่คนเขียนไม่ได้ตอบ คือคำถามที่ต้องดูเอกสารประกอบหรือต้องซักถามกันเพิ่มเติมหรือต้องอธิบายกันแบบยาวๆ ในกรณีแบบนี้รบกวนนัดปรึกษารับคำแนะนำกันแบบเป็นเรื่องเป็นราวนะคะ Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com วีซ่าผู้ลี้ภัย (Protection visa) เป็นอีกวีซ่านึงที่น้องๆโทรถามอยู่เรื่อยๆ ส่วนใหญ่ถามว่ารับทำไหม และค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ แปลกใจที่ไม่มีใครถามว่าตัวเองเข้าข่ายมีโอกาสที่จะได้วีซ่าตัวนี้หรือไม่
คนเขียนสงสัยว่าน้องๆไปเอาความคิดที่จะขอ Protection visa มาจากไหน น้องที่โทรมาส่วนใหญ่จะฟันธงมาเลยว่าต้องการให้ทำ Protection visa ไม่ถามด้วยว่าตัวเองมีทางเลือกอื่นหรือไม่ วีซ่าตัวนี้มีไว้สำหรับคนที่ไม่สามารถกลับไปประเทศของตัวเองได้ เพราะเหตุผลตามลิงค์นี้ เช่นในบางประเทศไม่ยอมรับคนที่รักชอบเพศเดียวกัน คนที่นับถือศาสนาหรือลัทธิย่อย หรือชนกลุ่มน้อย หรือในบางประเทศก็มีกลุ่มที่มีความคิดเห็นแตกต่างทางการเมือง จนเป็นเหตุให้มีความกลัวว่าจะถูกทำร้ายหรือจะถูกฆ่าตาย โดยที่กฏหมาย ผู้รักษากฏหมายและรัฐบาลไม่สามารถปกป้องคุ้มครองเค้าได้ หรือไม่สนใจที่จะคุ้มครอง หรือคุ้มครองไปตามพิธีแต่ไม่ให้ความเป็นธรรม นอกจากนี้ยังต้องมาดูว่าการย้ายไปอยู่พื้นที่อื่นจะทำให้ปัญหาความกลัวว่าจะถูกทำร้ายและ ไม่ได้รับความเป็นธรรมหมดไปหรือไม่ คนไทยแทบจะไม่มีเหตุที่เข้าข่ายว่าจะได้ Protection visa เลย (ใช้คำว่าแทบจะ เพราะบางเคสก็มีความเป็นไปได้ และก็เคยมีคนไทยได้ Protection visa มาแล้ว... แต่น้อยมากๆ) เคสที่ดูเหมือนจะเข้าข่าย ก็ยังไม่ทราบเลยว่าจะได้วีซ่ามารึเปล่าขึ้นอยู่กับน้ำหนักพยานหลักฐานและความน่าเชื่อถือ เคสประมาณยืมเงินแล้วหนีหนี้มาออสเตรเลียเพราะถูกเจ้าหนี้ทวงหรือจะถูกฟ้องศาล ไปก่อคดีอาญามาและกำลังจะถูกจับ อยู่เมืองไทยตกงานเลยอยากมาอยู่ออสเตรเลียเพราะหางานทำง่าย ไม่ใช่สาเหตุที่ออสเตรเลียจะออก Protection visa ให้นะคะ เวลาน้องๆโทรมา คนเขียนจะถามว่าเหตุผลที่ต้องการขอ Protection visa คืออะไร กลัวอะไรที่ทำให้กลับประเทศไทยไม่ได้ คำตอบที่ได้คือไม่มีค่ะ เห็นเพื่อนๆขอกัน เห็นได้อยู่ต่อ เห็นได้ทำงาน เห็นทนาย/เอเจนต์บอกว่าเดี๋ยววีซ่าออกก็จะได้พีอาร์เลย เห็นว่าทำง่ายใครๆก็ทำกัน (สงสัยว่า "ใครๆ" ที่ว่านี่ มีใครได้ Protection visa กันบ้าง) สำหรับน้องๆที่ยังถือวีซ่าอยู่ เช่นวีซ่าท่องเที่ยว วีซ่านักเรียน วีซ่า 457 ขอร้องว่าอย่าตัดอนาคตตัวเองด้วยการยื่น Protection visa ถ้าตัวเองไม่มีเหตุแห่งความกลัวตามลิงค์ ....ถ้าจำเป็นจะต้องยื่นวีซ่าอะไรซักอย่างเพื่ออยู่ต่อ ก็ควรจะยื่นวีซ่าที่ตัวเองอาจจะมีสิทธิ์ได้วีซ่านั้น (ไม่ว่าจะที่ชั้นอิมมิเกรชั่น หรือที่ชั้นอุทธรณ์) จะดีกว่า ปกติแล้วคนเขียนไม่รับทำ Protection visa นะคะ .... ใช้คำว่าปกติ เพราะก็มีกรณีไม่ปกติที่คนเขียนอาจจะพิจารณารับทำอยู่บ้าง... ซึ่งน้อยมาก (ตั้งแต่ทำงานด้านนี้มา มีไม่ถึง 10 เคส และมีอยู่เคสเดียวในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา) เคสที่รับทำก็จะเป็นเคสที่ไม่มีทางเลือกอื่น (นอกจากการกลับออกไปและอาจจะไม่ได้กลับเข้ามา) และที่ทำก็เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกความได้ไปต่อในการพิจารณาชั้นอื่น ที่อาจจะทำให้ได้วีซ่าไม่ว่าจะวีซ่าชั่วคราวหรือวีซ่าถาวร (ใช้คำว่า "อาจจะ" เพราะผลลัพท์จริงๆ จะได้หรือไม่ได้วีซ่า จะได้วีซ่าชั่วคราวหรือวีซ่าถาวร วีซ่าที่ได้จะมีเงื่อนไขอะไร หรือจะต้องแพ็คกระเป๋ากลับไทยในที่สุด ไม่มีใครตอบได้ ... ซึ่งลูกความก็ต้องยอมรับความเสี่ยงและผลลัพธ์ที่อาจจะไม่ใช่อย่างใจคิดให้ได้ ก่อนที่จะเริ่มงานกัน) ชักงงรึเปล่า ประโยคนึงบอกว่าการยื่น Protection visa เป็นการตัดอนาคต อีกประโยคบอกว่าเป็นการเปิดโอกาส สรุปดีกว่า.... เคส Protection visa ของคนไทยส่วนใหญ่เป็นเคสที่จะไม่ประสบความสำเร็จ เป็นการชะลอเวลากลับบ้าน และเมื่อถูกปฏิเสธก็คาดว่าจะติด section 48 บาร์ ซึ่งอาจจะทำให้ไม่สามารถยื่นวีซ่าแบบในประเทศตัวอื่นที่อาจจะมีสิทธิ์ยื่นได้ในอนาคต เคสที่ปั้นเรื่องขึ้นมาก็อาจจะถูกปฏิเสธพร้อมติดบาร์ 3 ปีจาก Public Interest Criterion 4020 ..... ถ้าทราบอยู่แล้วว่าผลลัพธ์จะเป็นประมาณนี้ แล้วยังอยากจะทำ Protection visa ก็ไม่มีใครห้ามได้ (แต่คนเขียนไม่รับทำ) ถ้าไม่ทราบเพราะถูกหลอกว่าทำได้ง่ายๆและในที่สุดจะได้พีอาร์ ก็ทราบซะนะคะว่าตัวเองถูกหลอก (เคส Protection visa ของคนไทยที่เข้าข่ายจะได้วีซ่า คนเขียนคิดว่ามีไม่ถึง 1%) ..... มีน้องๆมาบอกว่าเห็นเพื่อนๆ คนรู้จักทำกับนายหน้าบ้าง เอเจนต์บ้าง บางคนทำกับทนายความด้วย เสียเงินเป็นหมื่นเหรียญและเค้าสัญญาว่าจะได้พีอาร์ พอถามว่าแล้วตกลงเพื่อนได้พีอาร์รึเปล่า น้องบอกยังไม่เห็นมีใครได้เลย บางคนแพ็คกระเป๋ากลับบ้านไปแล้ว.... อ้าว... รู้อย่างนี้แล้ว จะมาถามหา อยากทำ Protection visa เพื่ออะไร..... ถ้าจะเสียเงินเป็นหมื่นเหรียญ เอาเงินนี้ไปเสียกับการทำวีซ่าที่ตัวเองมีสิทธิ์ลุ้นดีกว่าไหมคะ เคสที่คนเขียนอาจจะพิจารณารับทำคือเคสที่ไม่มีทางเลือกอื่นที่เหมาะสมกว่านอกจากการยื่น Protection visa และมีเหตุผลที่น่าเห็นใจที่เข้าข่ายว่าอาจจะมีโอกาสได้วีซ่า ณ จุดใดจุดหนึ่งในกระบวนการทางด้านคนเข้าเมืองซึ่งก็ไม่ได้มีแค่การยื่นวีซ่าและการยื่นอุทธรณ์เท่านั้น (ซึ่งเหตุผลน่าเห็นใจ ก็อาจจะไม่ได้เกี่ยวกับเหตุผลทาง Protection visa เลย แต่ต้องน่าเห็นใจจริงๆ) และเคสประมาณนี้เราดูแลกันเป็นปีหรือหลายปี เพราะเคสจะไม่ได้จบแค่การยื่น Protection visa นะคะ ปล. "เข้าข่ายว่าอาจจะมีโอกาสได้วีซ่า" แปลว่ามีความเป็นไปได้ มีความน่าจะเป็น โดยพิจารณาจากเทรนการตัดสิน และนโยบายของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีว่าการคนเข้าเมืองในช่วงเวลานั้นๆ ไม่ได้แปลว่าจะได้วีซ่าแน่ๆ นะคะ เพราะไม่ว่าจะรัฐบาล รัฐมนตรี หรือนโยบาย ก็มีการเปลี่ยนแปลงได้ ... ถึงได้บอกว่าไม่ว่าใครก็รับประกันความสำเร็จของงานไม่ได้... ไม่ได้บอกว่าคนไทยไม่มีสิทธิ์ได้ Protection visa แค่บอกว่าโอกาสได้ยากมาก ไม่ได้บอกว่าคนเขียนไม่รับทำ Protection visa อ่านเงื่อนไขก็จะทราบว่าคนเขียนรับทำ (น้อยมาก) ลิงค์จาก: www.border.gov.au Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com มีน้องๆที่วีซ่าขาดติดต่อเข้ามาอยู่เรื่อยๆนะคะ หนู/ผมมีแฟนเป็นชาวออสเตรเลีย/เป็นพีอาร์ จะยื่นวีซ่าคู่ครองที่นี่ได้ไหม
|
Author
Archives
December 2023
Categories
All
|