visa blog : สำหรับคนไทยค่ะ
  • Home
  • Blog

รู้หรือไม่ EP3

14/10/2023

 

▓   ย้ายที่อยู่ เปลี่ยนอีเมล์ ระหว่างรอผลวีซ่า ..... แจ้งอัพเดทข้อมูลกับอิมมิเกรชั่นด้วย

▓   ไม่ได้เปลี่ยนอีเมล์ ? ..... นอกจากเช็ค Inbox แล้ว ..... เช็ค Junk / Spam ด้วย

▓   2 อาทิตย์ 4 เคส .... ติดต่อมาด้วยปัญหาเดียวกัน ถูกปฏิเสธวีซ่า แต่ทราบเมื่อเลยกำหนดการยื่นอุทธรณ์ไปแล้ว

          ◙  1 x เปลี่ยนอีเมล์ แต่ไม่ได้แจ้งอัพเดทอิมมิเกรชั่น
          ◙  2 x อีเมล์แจ้งปฏิเสธวีซ่าไปตกอยู่ใน Junk / Spam
          ◙  1 x เอเจนต์แจ้งให้ทราบช้า ! !

▓   ยื่นอุทธรณ์ไม่ทัน ปัญหาใหญ่ .... ถ้าไม่มีเหตุผลที่ดีมากๆและเข้าข้อกฏหมาย หน่วยงานอุทธรณ์ไม่รับพิจารณาเคส และทั้ง 3 เหตุผลที่ลิสไว้ ไม่ใช่เหตุผลที่ดี .... 3 ใน 4 เคสนี้ เป็นเคส PR ด้วย น่าเสียดายมากค่ะ บางเคสเราอาจจะมีทางทำอะไรได้ แต่ชีวิตไม่ง่ายแล้ว

▓   ช่วงนี้ Partner visa ถูกปฏิเสธกันเยอะ อย่าคิดว่า Stage 2 Partner visa ไม่ต้องใช้อะไรมาก ทำเคสแน่นๆไว้ก่อน จะได้ไม่มาเสียใจทีหลัง .... 2 ใน 4 เคสที่ยื่นไม่ทันนี่ก็ Stage 2 Partner visa ค่ะ ถูกปฏิเสธเพราะหลักฐานไม่แน่นพอ แล้วตอนนี้ก็ยื่นอุทธรณ์ไม่ทันอีก .... ปัญหาใหญ่ยังไง นอกจากยื่นอุทธรณ์ไม่ทัน

          ◙  ยื่นใหม่ในออสเตรเลีย ไม่ได้
          ◙  ค่ายื่น $8000+
          ◙  ถูกปฏิเสธเพราะไม่เชื่อเรื่องความสัมพันธ์ ไปรอลุ้นอยู่นอกประเทศว่าเคสยื่นใหม่อิมมิเกรชั่นจะเชื่อในความสัมพันธ์หรือไม่ .... ไม่มีวีซ่า ไม่ได้กลับมา

▓   ช่วงนี้อิมมิเกรชั่นเริ่มลงตรวจธุรกิจต่างๆเยอะขึ้น ตามนโยบายใหม่ของรัฐบาล

          ◙  นายจ้างที่สปอนเซอร์พนักงาน เก็บเอกสารที่ควรจะต้องมีให้เป็นระเบียบหาง่ายๆด้วย
          ◙  นายจ้างทั้งที่เป็นสปอนเซอร์และไม่ได้เป็น และลูกจ้างทั้งหลาย ทำอะไรไม่ถูกต้องอยู่ แก้ไขด้วย รอให้อิมมิเกรชั่นมาเจอ อาจจะไม่ใช่แค่การตักเตือน นายจ้างอาจจะต้องเสียค่าปรับ ติดบาร์ห้ามสปอนเซอร์ ลูกจ้างอาจจะถูกยกเลิกวีซ่า



Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com

รู้หรือไม่ EP2

8/10/2023

 

► ในอดีตไม่ว่าจะเป็นไมเกรชั่นเอเจนต์ (Registered Migration Agent) หรือทนายความ (Legal Practitioner) ก็จะต้องมีการขึ้นทะเบียนกับ Office of the Migration Agents Registration Authority (OMARA) และคนทั้ง 2 ประเภทก็จะต้องมีเลข Migration Agent Registration Number (MARN) ถึงจะให้คำแนะนำและการช่วยเหลือทางด้านวีซ่าและคนเข้าเมืองได้

► ปัจจุบัน (2ปีกว่าแล้ว) กฏหมายแยกการขึ้นทะเบียนของไมเกรชั่นเอเจนต์ (Registered Migration Agent) และทนายความ (Legal Practitioner) อย่างชัดเจน ซึ่งก็ทำให้ตรวจสอบได้ง่ายขึ้นด้วยว่าคนที่ตัวเองใช้บริการเป็นเอเจนต์หรือเป็นทนายความ


► ไมเกรชั่นเอเจนต์ (Registered Migration Agent) จะต้องมีการขึ้นทะเบียนกับ OMARA และมีเลข MARN ... ตรวจสอบโดยการพิมพ์ชื่อ-นามสกุล ได้ที่ OMARA website

► ทนายความ (Legal Practitioner) ด้านอิมมิเกรชั่นจะต้องมีเลข Legal Practitioner Number (LPN) และมีการขึ้นทะเบียนกับสภาทนายความของรัฐที่ทนายความทำงานอยู่ .... ตรวจสอบโดยการพิมพ์ชื่อ-นามสกุล ได้ที่


  • New South Wales
  • Victoria
  • Australian Capital Territory
  • Queensland
  • South Australia
  • Tasmania
  • Northern Territory
  • Western Australia

► ถ้าไม่มีชื่อใน OMARA website ไม่ใช่เอเจนต์

► ถ้าไม่มีชื่ออยู่ในสภาทนายความของ
รัฐใดรัฐหนึ่ง ไม่ใช่ทนายความ

► อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก Immigration website

  
Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com

5 นาที

8/10/2023

 

มีน้องถามมาว่า คำแนะนำฟรี 5 นาที ยังมีอยู่หรือไม่
ตอบ: ข้างล่างเป็นโพสที่เคยลงไว้นานหลายปีแล้ว ทุกอย่างยังเหมือนเดิม

░ ░ ░ ░ ░ ░ ░ ░ ░ ░


ปกติแล้วคนเขียนให้เวลา 5 นาที สำหรับน้องๆที่โทรมาถามคำถามนะคะ เงื่อนไขคือ

1. อะไรตอบได้ ตอบให้เลย

2. ถ้าตอบไม่ได้ เช่น
     *  เป็นเคสที่ต้องดูเอกสาร
     *  ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม
     *  เป็นเคสที่ไม่มีข้อมูลอยู่ในหัว (ใช่ค่ะ คนนะคะไม่ใช่คอมพิวเตอร์ ไม่สามารถจำทุกอย่างได้ และ กฏหมายก็
         เปลี่ยนกันอยู่ตลอด ถ้าไม่แน่ใจว่าจะให้คำตอบที่ถูกต้อง คนเขียนไม่ตอบนะคะ)
     *  เคสที่ต้องซักถามและอธิบายกันนานเกิน 5 นาที
เคสประมาณนี้ต้องนัดเวลารับคำปรึกษากันเป็นเรื่องเป็นราวนะคะ ซึ่งก็จะมีค่าบริการตามความยากง่าย ความด่วนไม่ด่วนของแต่ละเคส

3. เวลาคนเขียนรับโทรศัพท์ ก็ไม่ได้พูดภาษาไทยนะคะ เพราะคนที่โทรมาอาจจะไม่ใช่คนไทย บางครั้งเป็น
อิมมิเกรชั่น หน่วยงานอุทธรณ์ หน่วยงานอื่น หรือลูกความที่ไม่ใช่คนไทย ถ้าคนเขียนจับสำเนียงได้ว่าเป็นคนไทย
ก็จะรีบพูดไทยด้วย เพราะฉะนั้นไม่ต้องตกใจจนรีบวาง (ต้องบอก เพราะคนเขียนเจอวางหูใส่อยู่บ่อยๆ ตกใจเพราะเจอ Hello เป็นภาษาอังกฤษ พอรวบรวมกำลังใจได้ ก็โทรมาใหม่ แล้วเราถึงได้คุยกัน)

4. เวลา 5 นาที ไม่เยอะ แต่ก็ไม่น้อยค่ะ คนเขียนรับโทรศัพท์วันละหลายสาย ถ้าให้เวลามากกว่าคนละ 5 นาที (ซึ่งหลายๆครั้งก็เลย) คนเขียนก็จะไม่เหลือเวลาทำงานให้ลูกความ และด้วยความที่ทำงานด้านนี้มานาน คุยกันไม่กี่คำก็ทราบแล้วว่าสามารถตอบได้เลย หรือเป็นเคสที่ต้องดูเอกสารหรือต้องคุยต้องอธิบายกันนาน
      *  คำตอบแค่ทำได้ กับทำไม่ได้ บางครั้งก็มีประโยชน์ บางครั้งก็ไม่ได้ช่วยอะไร
      *  บางทีการตอบสั้นๆว่าทำได้ เป็นการให้ความหวังแบบผิดๆ เพราะเมื่อพิจารณาข้อมูลอื่นที่ก็สำคัญกับการ
          พิจารณาวีซ่าแล้ว คำตอบว่าทำได้ อาจจะไม่ถูกต้อง
      *  บางทีคำตอบว่าทำไม่ได้ ก็ไม่ถูก เพราะถ้าถามเจาะมาคำถามเดียว อาจจะตอบว่าทำไม่ได้ แต่พอได้ข้อมูล
          ลึกขึ้น เราอาจจะเจอข้อยกเว้นที่ทำให้ทำเคสได้

5. จะใช้เวลา 5 นาทีให้เป็นประโยชน์ได้ยังไง ก็ควรจะเรียบเรียงคำถามก่อนโทรมา กระชับ ได้ใจความ ไม่ต้องประหม่า คนเขียนก็คนไทยพูดไทยและชอบกินตำปูปลาร้าเหมือนหลายๆคน ไม่ต้องอารัมภบทเยอะ (ไม่ต้อง Hello กันไปมา ไม่ได้คุยกันซะที ไม่ต้องอ้อมโลก สวัสดีตามมารยาทที่ดีของคนไทยแล้วเข้าประเด็นได้เลย)

6. ขอแค่ไม่หยาบคายคนเขียนยินดีคุยด้วย (ถ้ายุ่งมาก อาจจะขอให้โทรมาใหม่)

7. เสียงดุ???? ทำใจค่ะ เสียงเป็นอย่างงี้เอง

8. รบกวนโทรในเวลาทำงาน จันทร์ - ศุกร์ 9 ถึง 5 

ป.ล. น้องๆที่ชอบโทรวันหยุด โทรดึกๆ ไม่รับก็โทรเป็นสิบๆหนจนกว่าจะรับนี่ บอกเลยว่าไม่สำเร็จนะคะ นอกจากไม่รับแล้ว คนเขียนอาจจะบล๊อคเบอร์ไปด้วยเลย


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com

รู้หรือไม่ EP1

3/10/2023

 


█   ถือ Bridging visa A ออกนอกออสเตรเลียไม่ได้ (จริงๆออกได้ - ออกเมื่อไหร่วีซ่าหาย - กลับเข้าออสเตรเลียไม่ได้)

█   ยื่นขอ Bridging visa B (BVB) แล้วออกนอกออสเตรเลียเลยไม่ได้ .... ต้องรอวีซ่าออกก่อนแล้วค่อยเดินทาง

█   ระยะเวลารอ Bridging visa B (BVB) มีตั้งแต่ 1 วัน ถึงเป็นเดือน เพราะฉะนั้นเผื่อเวลาด้วย

█   ธุรกิจตั้งใหม่ก็สปอนเซอร์พนักงานได้

█   ไม่ว่าเป็นธุรกิจแบบเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือ Trust/Trustee ก็สปอนเซอร์พนักงานได้


█   ยื่นขอวีซ่าจากไทย เช่นวีซ่าท่องเที่ยว วีซ่านักเรียน แล้วถูกปฏิเสธด้วยเหตุผลทั่วๆไป เช่นไม่เชื่อว่าจะมาเที่ยวจริง จะมาเป็นนักเรียนจริง หรือส่งเอกสารไม่ครบ จะยื่นใหม่กี่รอบก็ได้ จะยื่นใหม่เมื่อไหร่ก็ได้ แต่ควรยื่นเมื่อมีเอกสารที่ดีกว่าเดิม และตอบโจทย์ประเด็นที่ถูกปฏิเสธ

█   ถูกปฏิเสธวีซ่าด้วย Public Interest Criterion (PIC) 4020 เพราะมีการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง - ติดบาร์ 3 ปี -  โอกาสขอวีซ่าใหม่แล้วผ่าน .... ยากมาก

█   คนที่เคยถูกยกเลิกวีซ่า (ส่วนใหญ่) ติดบาร์ 3 ปี

█   เคยอยู่เกินวีซ่า ไม่ได้แปลว่าจะต้องติดบาร์ 3 ปีเสมอไป

█   ได้รับแจ้งว่าวีซ่าออกแล้ว ป้องกันการถูกหลอกด้วยการขอจดหมายแจ้ง (Visa grant letter) และเช็คสถานะวีซ่าได้ด้วยตัวเอง ผ่านระบบของอิมมิเกรชั่นที่ VEVO

█   ถูกปฏิเสธวีซ่าในออสเตรเลีย ไม่ได้ติด Section 48 บาร์กันทุกคน - บางคนไม่ติด - บางคนติด แต่ก็ยังยื่นวีซ่าบางประเภทได้


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com



แชร์ประสบการณ์ นายจ้างถูกลงตรวจ กระทบลูกจ้างไหม

1/10/2023

 

วันนี้คนเขียนมาแชร์ประสบการณ์ เกี่ยวกับวีซ่าแบบมีนายจ้างสปอนเซอร์ เช่น 457 482 494 186 และ 187

          Q: 187 ??? - วีซ่าตัวนี้ไม่มีแล้วไม่ใช่เหรอ
          A: ยังทำได้ สำหรับคนกลุ่มเล็กๆที่ถือวีซ่า 457 หรือ 482

ประวัตินายจ้างสำคัญไหม - สำคัญมากค่ะ ไม่ว่าจะก่อนยื่น หรือหลังจากลูกจ้างได้วีซ่าแล้ว ถ้าอนาคตจะมีการสปอนเซอร์คนอื่นต่อ หรือจะมีการสปอนเซอร์ลูกจ้างที่ถือ Temporary visa เพื่อต่อยอดไปเป็นพีอาร์


เคสที่คนเขียนจะแชร์วันนี้เป็นเคสที่นายจ้างถูกอิมมิเกรชั่นลงตรวจหลังจากที่มีการสปอนเซอร์ลูกจ้างไปแล้ว 2 คน (ไม่ได้แปลว่าถ้าสปอนเซอร์แค่คนเดียวจะไม่ถูกลงตรวจ อยู่ที่นายจ้างไหนจะเจอแจ๊คพอต) .... เกิดอะไรขึ้น

1. อิมมิเกรชั่นเจอว่านายจ้างมีการแต่งตั้ง Director ใหม่ แล้วไม่ได้แจ้งให้อิมมิเกรชั่นทราบภายในเวลาที่กฏหมายกำหนด

          Q: มีต้องแจ้งด้วยเหรอ
          A: มีค่ะ ต้องแจ้งภายใน 28 วัน ... จริงๆ นายจ้างมีหน้าที่อย่างอื่นอีกหลายอย่าง

2. อิมมิเกรชั่นสัมภาษณ์พนักงานในร้าน รวมถึงลูกจ้างที่ได้รับการสปอนเซอร์ แล้วพบว่าลูกจ้างทำงานนอกเหนือหน้าที่ที่ได้รับการสปอนเซอร์ ..... [เช่น จ้างมาเป็น Backpacker Manager แต่มาช่วยทำความสะอาดห้องพัก ช่วยเก็บขยะ หรือจ้างมาเป็นพนักงานนวด เป็น Chef หรือ Cook แต่มาช่วยทำบัญชีร้าน] ..... น้องๆที่คิดว่าเราทำได้หลายอย่าง เราทำเกินหน้าที่ ดูดีมากๆเลย ...... ขอบอกว่าไม่จริง

เคสนี้นายจ้าง
          1) ถูกปรับ และ
          2) ถูกห้ามสปอนเซอร์พนักงานเพิ่ม


นายจ้างและลูกจ้าง1 ยื่นขอพีอาร์วีซ่า 186 คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะไม่ได้สปอนเซอร์พนักงานเพิ่ม แต่เป็นการสปอนเซอร์พนักงานเดิมเพื่อเป็นพีอาร์ .... เกิดอะไรขึ้น ????

นายจ้างถูกปฏิเสธ 186 Nomination เพราะประวัติที่ถูกลงตรวจและถูกลงโทษจากอิมมิเกรชั่น ...... แปลว่าวีซ่า 186 ของลูกจ้างก็ถูกปฏิเสธไปด้วย

ลูกจ้าง1 ติดต่อนัดปรึกษากับคนเขียน ถามว่าทำยังไงดี .... คนเขียนก็แนะนำทั้งส่วนการยื่นอุทธรณ์และการยื่นใบสมัครใหม่ไปที่อิมมิเกรชั่น พร้อมกับแจ้งว่าตัดสินใจโดยเร็ว อุทธรณ์มีระยะเวลาจำกัด และน่าจะมีกฏหมายเปลี่ยนเร็วๆนี้ ซึ่งจะกระทบกับเคส หากต้องการจะยื่นใหม่


ลูกจ้าง2 ซึ่งทำงานครบตามที่กฏหมายกำหนด และพร้อมจะยื่นวีซ่าพีอาร์ 186 ..... เมื่อเห็น Nomination & 186 visa applications ของเพื่อนถูกปฏิเสธเพราะนายจ้างมีประวัติถูกอิมมิเกรชั่นลงโทษ ก็เริ่มกังวลบ้าง เพราะตัวเองก็จะต้องใช้นายจ้างคนเดียวกัน .... ขอนัดปรึกษากับคนเขียนบ้าง ซึ่งได้รับคำแนะนำว่า

1. ก็ควรกังวลจริงๆแหละ เพราะแนวทางที่อิมมิเกรชั่นจะพิจารณาเคสของเพื่อนกับของน้องลูกจ้าง2 ก็ไม่ต่างกัน ประวัตินายจ้างมีผลกระทบกับเคสแน่ๆ


2. แต่ ..... เคสเพื่อนที่ถูกปฏิเสธ (ซึ่งคนเขียนไม่ได้เป็นคนทำเคส) จากที่อ่านคำตัดสิน อ่านเอกสารอื่น และซักถามเพิ่มเติม คนเขียนเชื่อว่ามีข้อโต้เถียงบางอย่างที่น่าจะช่วยเคส แต่เคสเพื่อนไม่ได้เอามาใช้ .... สรุปสั้นๆ คือถ้าคนเขียนเป็นคนทำเคส ก็จะเอาข้อโต้เถียงที่ว่ามาใช้ .... ตอบไม่ได้หรอกว่าเคสจะรอดหรือไม่ ... ไม่ลองไม่รู้

3. ถ้าไม่ต้องการเสี่ยงกับนายจ้างนี้ ก็ ....เริ่มใหม่ .... หานายจ้างใหม่ เสียเงินทำ sponsorship & visa กันใหม่ ถ้านายจ้างใหม่ยอมทำ 186 Direct Entry ให้เลย ก็โชคดีไป ถ้าไม่ยอม ก็ทำงานใน Temporary visa ไป จนกว่านายจ้างจะยอมสปอนเซอร์เป็นพีอาร์

น้องใช้เวลาคิดอยู่ 1 วัน ก่อนจะติดต่อกลับมาให้คนเขียนทำเคสให้  ใช้นายจ้างเดิม .... เสี่ยงเป็นเสี่ยง

เกิดอะไรขึ้นกับเคสลูกจ้าง2 .... คนเขียนทำสรุปประเด็นข้อกฏหมาย และโน้มน้าวอิมมิเกรชั่นว่าทำไมควรจะให้เคสนี้ผ่าน รวมถึงเหตุผลที่เคสลูกจ้าง1 ไม่ได้นำมาใช้ แต่คนเขียนคิดว่าสำคัญมากและควรนำมาใช้ (คนเขียนพูดเสมอว่าทนายความและเอเจนต์แต่ละคน มีวิธีการเก็บรายละเอียด มุมมองและแนวทางการทำเคส แตกต่างกันไป .... Strategy การทำเคสของแต่ละคน ไม่เหมือนกัน) ..... เคสนี้ คนเขียนเลือกที่จะเปิดประเด็นเลย ไม่รออิมมิเกรชั่นถาม

ผ่านไหม ..... ผ่านสิ .... ประเด็นนายจ้างมีประวัติ จบด้วยจดหมายฉบับเดียวที่คนเขียนทำสรุปเข้าไปนั่นแหละ (แต่อย่าคิดว่าจดหมายฉบับเดียว ใช้เวลานิดเดียวนะคะ กว่าจดหมายจะคลอด ใช้เวลาอ่านเอกสารเดิม เอกสารใหม่ และทำ Research เป็นร้อยหน้า)


ย้อนกลับมาที่ลูกจ้าง1 ...... น้องหายไป 3 - 4 เดือน จนในที่สุดกฏเปลี่ยนก็ประกาศออกมา มีเวลา 2 อาทิตย์ก่อนกฏหมายใหม่จะปรับใช้ .... น้องติดต่อมาหาคนเขียน จะให้ทำเคสให้ ยินดีชำระค่าบริการเพิ่มสำหรับเคสด่วน .... ไม่ทันแล้วค่ะ

          Q: ทำไมถึงช่วยไม่ได้ 2 อาทิตย์ไม่พอเหรอ
          A: 2 อาทิตย์พอค่ะ ถ้าสามารถทุ่มเวลาให้กับเคสน้องเคสเดียว .... แต่ความจริง ไม่ได้เป็นแบบนั้น

ทุกคนที่เซ็นสัญญาการทำงานกับคนเขียน ก็อยากให้เคสของตัวเองออกมาดีๆกันทั้งนั้น เมื่อรับงาน คนเขียนจะมีตารางการทำงานของแต่ละเคสชัดเจน ถ้ารับงานเพิ่มแล้วจะกระทบเคสของน้องๆที่เซ็นสัญญาการทำงานกับคนเขียนไว้ก่อนแล้ว ต่อให้อยากรับ ก็รับไม่ได้


เคสนายจ้างมีประวัติ ระวังให้มาก โอกาสเคสผ่านก็มี โอกาสเคสไม่ผ่านก็สูง และไม่ต้องมานัวๆคิดว่าอิมมิเกรชั่นอาจจะไม่เอาประวัตินายจ้างมาพิจารณา ..... เพราะอยู่ในลิสที่ต้องพิจารณา ยังไงก็ต้องพิจารณา อยู่ที่ว่าเราจะหาเหตุผลอะไร มาช่วยเคสเท่านั้นเอง

และจากตัวอย่างเคสนี้ อยากจะบอกว่านายจ้างมีประวัติคนเดียวกัน Nomination เคสนึงถูกปฏิเสธ ไม่ได้แปลว่า Nomination อีกเคสจะต้องถูกปฏิเสธด้วย ถ้าเริ่มต้นการทำเคสด้วยความระมัดระวัง และคิดรอบด้าน โอกาสที่จะผ่านก็มี

ย้อนกลับมาที่นายจ้าง ตอนถูกอิมมิเกรชั่นลงตรวจ ..... อิมมิเกรชั่นไม่ใช่ว่าพอเจออะไรไม่ถูกต้อง ก็จะหลับหูหลับตาลงโทษเลยนะคะ .... ให้โอกาสตอบว่าทำไมไม่ควรถูกลงโทษ ให้โอกาสเราโน้วน้าวว่าทำไมควรผ่อนโทษหนักให้เป็นเบา .... ขึ้นอยู่กับเรา นายจ้าง และ/หรือทนายความ เอเจนต์แล้วค่ะว่าจะทำเคสยังไง


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com

    Author


    พี่เก๋ - กนกวรรณ ศุโภทยาน เป็นทนายความไทย และทนายความของประเทศออสเตรเลีย (Immigration Lawyer)

    มีประสบการณ์เป็นทนายความเฉพาะทาง ด้าน IMMIGRATION ของประเทศออสเตรเลีย รับวางแผนการขอวีซ่า ยื่นใบสมัครขอวีซ่าทุกประเภท ช่วยเหลือในชั้นอุทธรณ์ที่ Administrative Appeals Tribunal และในชั้นศาลค่ะ

    ต้องการคำแนะนำ หรือความช่วยเหลือ ติดต่อได้ที่ Immigration Success Australia
    mb: 0428 191 889 หรือ www.immigrationsuccessaustralia.com

    Archives

    December 2023
    November 2023
    October 2023
    July 2023
    September 2022
    July 2022
    January 2022
    December 2021
    November 2021
    October 2021
    September 2021
    July 2021
    June 2021
    March 2021
    February 2021
    January 2021
    December 2020
    November 2020
    October 2020
    September 2020
    July 2020
    June 2020
    May 2020
    April 2020
    March 2020
    February 2020
    March 2019
    January 2019
    November 2018
    October 2018
    August 2018
    July 2018
    June 2018
    April 2018
    October 2017
    September 2017
    August 2017
    May 2017
    April 2017
    August 2015
    April 2015
    December 2014
    September 2014
    August 2014
    June 2014
    March 2014
    January 2014
    October 2013
    September 2013
    July 2013
    June 2013

    Categories

    All
    วีซ่า
    อุทธรณ์
    วีซ่าคู่ครอง
    101
    102
    103
    143
    173
    186
    187
    190
    300
    309
    4020
    408
    417
    445
    457
    462
    476
    482
    485
    489
    491
    494
    500
    870
    AAT
    Accountant
    Administrative Appeals Tribunal
    Adoption Visa
    Agriculture Visa
    Approved Nomination
    Australia
    Australian
    Australian Citizenship
    Australian Immigration
    Bar
    Bricklayer
    Bridging Visa
    Bridging Visa A
    Bridging Visa E
    BVA
    BVE
    Changes To Immigration Law
    Changing Courses
    Chef
    Child Visa
    Consolidated Sponsored Occupations List
    COVID 19
    COVID-19
    CSOL
    Decision Ready
    Decision-ready
    Decision Ready Application
    Decision-ready Application
    De Facto Relationship
    Employer Sponsored
    English Exemption
    ENS
    Exercise Physiologist
    Family
    Family Violence
    Federal Circuit Court
    Graduate Work
    GTE
    Hydrogeologist
    Ielts
    Immigration
    Immigration Lawyer
    Judicial Review
    Jurisdictional Error
    Migration Agent
    Migration Review Tribunal
    MRT
    Nomination
    Orphan Relative Visa
    Overstay
    Parent
    Partner Visa
    PIC 4020
    Post Study Work
    Processing Period
    Protection Visa
    Public Interest Criteria
    Public Interest Criterion
    Regional Australia
    Regional Visas
    Registered Migration Agent
    Rma
    RSMS
    Section 48
    Section 48 Bar
    Self Sponsorship
    Skilled Migration
    Skilled Occupations List
    Skilled Work Regional
    Skills Assessment
    SOL
    Sponsor
    Sponsorship
    Student Visa
    Substantive Visa
    Training
    Travel Exemption
    Tsmit
    Unlawful
    Visa Cancellation
    Visa Refusal
    Wall And Floor Tiler
    Working And Holiday Visa

    RSS Feed

Powered by Create your own unique website with customizable templates.