เคสนี้น้องติดต่อมาหาคนเขียนหลังจากที่วีซ่า 485 ถูกปฏิเสธไปเรียบร้อยแล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่าน้องไม่ได้ยื่นใบสมัครภายใน 6 เดือนนับจากที่เรียนจบ
เคสนี้ น้องลูกความติดต่อมาจากไทย
น้องเป็นนักเรียนที่ออสเตรเลียมาหลายปี .... สัมภาษณ์กันอยู่นาน .... สรุปได้ว่า ....
น้องติดต่อคนเขียนหลังจากถูกปฏิเสธวีซ่า .... เครียดมาก ไม่คิดว่าจะถูกปฏิเสธวีซ่า ข้าวของที่ออสเตรเลียก็ไม่ได้แพ๊ค ค่าเช่าก็ยังต้องเสีย ตัวอยู่ไทย ไม่มีงานทำ คนเขียนขอดูเอกสารว่าวีซ่านักเรียนที่ถูกปฏิเสธยื่นอะไรไปบ้าง .... ปรากฏว่ามีจดหมายอธิบายว่าทำไมถึงมีความผิดพลาดเรื่องวีซ่า ทำไมยื่นในออสเตรเลียไม่ทัน จนมีประวัติไม่ถือวีซ่าและต้องกลับมายื่นวีซ่าจากไทย .... พูดง่ายๆคือจดหมายนี้เป็นการพยายามขอยกเว้นการติดบาร์ 3 ปีนั่นเอง แต่ .... ลืมอะไรไปรู้ไหม ??? .... ลืมตอบโจทย์ประเด็น Genuine Temporary Entrant (GTE) .... ในจดหมายไม่มีระบุว่าทำไมถึงต้องกลับมาเรียนที่ออสเตรเลีย เรียนที่ไทยได้หรือไม่ได้ etc. .... จะไปคิดเองเออเองว่าอิมมิเกรชั่นต้องคิดได้เองสิว่านักเรียนเหลืออยู่ 1 วิชา ก็ต้องตั้งใจเป็นนักเรียน กลับมาเรียนให้จบรึเปล่า ขีดเส้นใต้ 3 เส้น .... ผู้สมัครมีหน้าที่นำเสนอข้อมูล เอกสาร หลักฐาน .... อิมมิเกรชั่นไม่มีหน้าที่คิดเอง .... และถ้าปล่อยให้คิดเอง อาจจะได้ความคิดติดลบ (เช่นเคสนี้เป็นต้น) ในเมื่อข้อเท็จจริงเป็นแบบนี้ .... คนเขียนแนะนำให้ยื่นวีซ่านักเรียนใหม่ ทำเอกสารให้แน่นกว่าเดิม .... แต่เสี่ยงแน่ๆ ทั้งประเด็น GTE และประเด็นติดบาร์ 3 ปี น้องบอกว่าแต่น้องถูกปฏิเสธแค่ประเด็น GTE แปลว่าอิมมิเกรชั่นต้องโอเคกับประเด็นติดบาร์ 3 ปีแล้วสิ ไม่จริง .... อิมมิเกรชั่นแค่ดึงมาประเด็นเดียวก็ปฏิเสธได้แล้ว จะเขียนอะไรเยอะแยะ .... แต่ไม่ได้แปลว่ายื่นใบสมัครรอบหน้าจะไม่เอามาทุกประเด็นมาพิจารณา แปลว่าต้องกังวลทั้ง 2 ประเด็น !!!! .... อ้อ อย่าลืมว่านอกจากมีประวัติอยู่ออสเตรเลียแบบไม่มีวีซ่า ตอนนี้มีประวัติถูกปฏิเสธวีซ่าเพิ่มเข้ามาด้วย .... ยากสิ .... But it is what it is, you can't change the past. คนเขียน: .... [ช่วยคิดอย่างเต็มที่] .... ไม่อยากลองเสี่ยงยื่นใหม่ ก็ลองคุยกับโรงเรียนไหม เหลืออยู่ 1 วิชา ขอเรียนออนไลน์ได้ไหม และก็ให้เพื่อนช่วยแพ๊คของส่งกลับ บอกเลิกการเช่าจะได้ไม่ต้องเสียตังค์ไปเรื่อยๆ ??? ลูกความ: แต่หนูอยากกลับไปออสเตรเลีย !!! คนเขียน: โอเค ชัดเจน .... อยากกลับ ก็ต้องลองยื่นใหม่ไง .... อ้อ .... อย่าลืมขอ CoE ด้วยนะ (อีก 1 ปัญหา โรงเรียนไม่อยากออก CoE ให้ เนื่องจากน้องถูกปฏิเสธวีซ่ามาแล้วรอบนึง) วันถัดมา .... น้องอีเมล์มาบอกว่า .... โรงเรียนให้น้องจบ !!!! อ้าว .... เรียนจบ ก็ขอวีซ่านักเรียนไม่ได้แล้วสิ .... แปลว่าที่คิดๆไว้ว่าจะทำเคสวีซ่านักเรียนนี้ยังไง ลบทิ้ง โจทย์ใหม่ .... ก็ต้องเริ่มคิดใหม่ ดูเอกสารกันใหม่ ทำ Research ใหม่ด้วย .... แล้วเราก็เห็นทางออก .... Subclass 485 Temporary Graduate visa นั่นเองค่ะ วีซ่า 485 โดยตัวกฏหมายปกติแล้วผู้สมัครหลัก (น้องลูกความ) จะต้องอยู่ที่ออสเตรเลียตอนยื่นใบสมัคร แต่คนทำงานด้านนี้เราต้องตามกฏหมายอย่างใกล้ชิด ซึ่งเรารู้ว่าช่วงโควิด รัฐบาลอนุญาตให้ยื่นวีซ่า 485 จากนอกออสเตรเลีย แต่ที่ต้องทำ research ใหม่หมด เพราะเคสน้องไม่ใช่เคสตรงไปตรงมา มีประเด็นให้น่ากังวลอยู่หลายประเด็น ทั้งประวัติวีซ่า และประวัติการศึกษาเลย แต่ต้องบอกว่าน้องมีโอกาสได้วีซ่า 485 นี้มากกว่าตอนที่คิดว่าจะต้องยื่นวีซ่านักเรียนแน่นอน คนเขียนบอกน้องว่า ไม่คิดนานนะคะ จะทำก็รีบๆทำ เพราะกฏหมายที่ออกมาช่วงโควิด ทยอยยกเลิกไปเยอะแล้ว คนเขียนเชื่อว่าเคส 485 แบบยื่นนอกออสเตรเลียจะหายไปเร็วๆนี้ .... น้องลุย คนเขียนก็ลุย และอย่างรวดเร็ว กลัวกฏหมายจะเปลี่ยนซะก่อน เคสนี้ คนเขียนเลือกที่จะไม่เปิดประเด็นเลยซักประเด็นเดียว แต่เลือกเอกสารอย่างระมัดระวัง และเราวางแผนไว้แล้วว่าถ้าอิมมิเกรชั่นยังมีคำถามเพิ่ม เราจะโต้เถียงยังไง และจะยื่นเอกสารอะไรเพิ่ม รอเรื่องอยู่ 2 เดือนกว่าๆ วีซ่าผ่าน ไม่มีคำถาม ไม่ขออะไรเพิ่ม .... เจอน้องกรี๊ดใส่ หูดับไป 2 วิ หลังจากที่น้องได้วีซ่าไม่กี่วัน กฏหมายเปลี่ยนจริงๆอย่างที่คาดไว้ .... กฏปัจจุบันผู้สมัครหลักวีซ่า 485 ยื่นได้ในออสเตรเลียเท่านั้น กฏหมายด้านอิมมิเกรชั่นเปลี่ยนตลอด .... ถ้าอยู่ออสเตรเลีย หรืออยากมาออสเตรเลีย ตามข่าวด้วย .... ถ้าไม่มั่นใจในความรู้ความสามารถของตัวเอง หา Professional มาช่วยเราค่ะ อย่าลืมว่าไม่มีใครรู้ทุกเรื่อง เก่งทุกเรื่อง Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com Student visa (Subclass 500)
เงื่อนไขการทำงาน - ตั้งแต่วันที่ 19 January 2022 ไม่ว่าจะถือวีซ่าหลัก หรือวีซ่าติดตาม ทำงานได้ไม่จำกัดชั่วโมง - โน๊ตว่า คนถือวีซ่าหลัก ก็ยังต้องเรียน เก็บ attendance และทำผลการเรียนนะคะ - โน๊ตต่อว่า รัฐบาลจะรีวิวเงื่อนไขที่ให้ทำงานใหม่นี้ เดือน April 2022 Refund เงินค่าใบสมัคร - ไม่ว่าจะถือวีซ่าหลัก หรือวีซ่าติดตาม - ไม่ว่าจะถือวีซ่านักเรียนอยู่แล้ว หรือเพิ่งขอก็แล้วแต่ - ถ้าเดินทางมาถึงออสเตรเลียระหว่างวันที่ 19 January 2022 และ 19 March 2022 - สามารถทำเรื่อง Refund ขอคืนเงินค่าใบสมัครได้ - การขอ Refund ทำได้ถึง 31 December 2022 Work and Holiday visa (Subclass 462) และ Working Holiday visa (Subclass 417) เงื่อนไขการทำงาน - ตั้งแต่วันที่ 19 January 2022 ถึง 31 December 2022 ไม่จำต้องเปลี่ยนนายจ้างทุก 6 เดือน Refund เงินค่าใบสมัคร - ไม่ว่าจะถือวีซ่า 462 / 417 อยู่แล้ว หรือเพิ่งขอก็แล้วแต่ - ถ้าเดินทางมาถึงออสเตรเลียระหว่างวันที่ 19 January 2022 และ 19 April 2022 - สามารถทำเรื่อง Refund ขอคืนเงินค่าใบสมัครได้เช่นกัน Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com ประกาศข่าวดี -- เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 December 2021
คนที่ถือวีซ่าต่อไปนี้ ถ้าฉีดวัคซีนครบแล้ว ไม่ต้องขอ Travel Exemption ฉีดวัคซีนครบแล้ว หมายถึง ...... 1. ฉีดวัคซีนต่อไปนี้ 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 14 วัน (ฉีดไขว้ได้)
4. ถ้าฉีดไม่ครบ ยังต้องขอ Travel Exemption วีซ่าที่ว่าคือ Subclass 200 – Refugee visa Subclass 201 – In-country Special Humanitarian visa Subclass 202 – Global Special Humanitarian visa Subclass 203 – Emergency Rescue visa Subclass 204 – Woman at Risk visa Subclass 300 – Prospective Marriage visa Subclass 400 – Temporary Work (Short Stay Specialist) visa Subclass 403 – Temporary Work (International Relations) visa (other streams, including Australian Agriculture Visa stream) Subclass 407 – Training visa Subclass 408 – Temporary Activity visa Subclass 417 – Working Holiday visa Subclass 449 – Humanitarian Stay (Temporary) visa Subclass 457 – Temporary Work (Skilled) visa Subclass 461 – New Zealand Citizen Family Relationship visa Subclass 462 – Work and Holiday visa Subclass 476 – Skilled – Recognised Graduate visa Subclass 482 – Temporary Skill Shortage visa Subclass 485 – Temporary Graduate visa Subclass 489 – Skilled – Regional (Provisional) visa Subclass 491 – Skilled Work Regional (Provisional) visa Subclass 494 – Skilled Employer Sponsored Regional (Provisional) visa Subclass 500 – Student visa Subclass 580 – Student Guardian visa (closed to new applicants) Subclass 590 – Student Guardian visa Subclass 785 – Temporary Protection visa Subclass 790 – Safe Haven Enterprise visa Subclass 870 – Sponsored Parent (Temporary) visa Subclass 988 – Maritime Crew visa อนาคต จะมีประเภทวีซ่าเพิ่มอีก และมีการเปลี่ยนแปลงอีก ติดตามเงื่อนไขการเข้าเมืองในช่วงโควิดได้ที่นี่ และอย่าลืมเช็คเงื่อนไขการกักตัวของแต่ละรัฐก่อนเดินทางด้วยนะคะ Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com เคสวีซ่านักเรียนที่ถูกปฏิเสธส่วนใหญ่เป็นเรื่อง Genuine Temporary Entrant (GTE) คืออิมมิเกรชั่นไม่เชื่อว่าน้องตั้งใจจะเป็นนักเรียนจริงๆ คืออาจจะคิดว่าขอวีซ่าเพื่อจะทำงาน หรือคิดว่าเมื่อเรียนจบแล้ว คงไม่ยอมกลับประเทศแน่ๆเลย
น้องๆนักเรียนถึงต้องเขียน Statement of purpose เพื่อที่จะโน้มน้าวอิมมิเกรชั่นว่า ชั้นอยากมาเรียนจริงๆนะ เรียนจบแล้วก็จะกลับนะ ยกตัวอย่างประเด็นที่ถูกปฏิเสธ ก็เช่น 1. อยู่ที่ออสเตรเลียมานานหลายปี 2. ขอเรียนระดับที่ต่ำกว่าวุฒิการศึกษาที่ไทย 3. ขอต่อวีซ่า และเลือกเรียนระดับที่ต่ำกว่าคอร์สที่เรียนก่อนหน้า 4. ขอเรียนในสายวิชาที่ไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับสายที่เคยเรียนมา หรือมีประสบการณ์ทำงานมา 5. อายุค่อนข้างเยอะ 6. ต่อวีซ่านักเรียนมาหลายรอบแล้ว อยู่มานานแล้ว แต่แทบไม่ได้กลับไปเยี่ยมที่บ้านเลย 7. ไม่ทำ Research และเขียน Statement of purpose ได้ไม่ดี 8. ไม่ยื่น Statement of purpose 9. .... มีอีก ... แต่ ตอนนี้คิดไม่ออก วันนี้คนเขียนมี Telephone Hearing .... ลูกความอยู่รัฐนึง คนเขียนอยู่อีกรัฐนึง และ AAT ก็อยู่อีกรัฐนึง น้องลูกความควบมาหลายประเด็นเลย อยู่ออสเตรเลียมาประมาณ 10 ปีได้ เรียนสูงมา แล้วมาเปลี่ยนเป็นคอร์สที่ต่ำกว่า และเป็นคนละสายกับที่เคยเรียนมา .... แถมอายุก็เริ่มเยอะ (อายุ 37 ตอนถูกปฏิเสธ อายุ 39 ณ วัน Hearing) .... Statement of purpose ของน้อง ก็ ..... เกือบดี ตอนน้องมาเป็นลูกความของคนเขียน น้องมีการยื่นเอกสารบางอย่างเข้าไปแล้ว รวมถึง Statement of purpose ... ที่แอบกุมขมับคือยื่นไป 2 ฉบับค่ะ!!!! ฉบับเกือบดี1 กับฉบับเกือบดี2 และยื่นต่างกัน 1 วัน เนื้อหาคล้ายกันแต่ไม่เหมือนกัน คือยื่นทำไม ไม่เข้าใจ (ปัญหาของคนทำเคสเอง คือไม่รู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไร) เคสนี้ เรายื่นเอกสารเข้าไปอีกเยอะเลยค่ะ รวมถึง Statement of purpose ฉบับใหม่ (คือถ้าน้องมาหาคนเขียนตั้งแต่ต้น เราคงยื่นแค่ฉบับใหม่ฉบับเดียว!) .... เอกสารบางชิ้น คนเขียนนั่งคิดนานมาก เพราะต้องชั่งน้ำหนักว่าเอกสารจะช่วยเคส หรือจะทำเคสพัง ..... เป็นความโชคดีของคนเขียน ที่ขออะไรไป น้องก็พยายามหามาให้ และน้องก็ไว้ใจ ให้คนเขียนตัดสินใจเลยว่าจะยื่นอะไร หรือไม่ยื่นอะไร Hearing เช้านี้ .... Tribunal member เริ่มต้นการพิจารณาด้วยคำว่า "ชั้นได้ดูเอกสารที่ยื่นเข้ามาทั้งหมดแล้ว และเอกสารครอบคลุมทุกประเด็น ทำให้ชั้นเชื่อว่าคุณตั้งใจจะเป็นนักเรียนจริงๆ และชั้นตัดสินใจส่งเคสกลับไปให้อิมมิเกรชั่นพิจารณาประเด็นอื่นต่อไป" ..... สรุปว่าไม่มีคำถาม .... แถมได้คำตัดสินเดี๋ยวนั้นเลย .... น้อง Happy มีแอบกรี๊ดใส่ Tribunal member เล็กน้อย .... เคสจบไปได้ด้วยดี (คนเขียนหายเหนื่อย และดีใจไปกับน้องด้วย) สำหรับเคสที่ถูกปฏิเสธวีซ่านักเรียน .... ถ้าอยากมีโอกาสชนะ ช่วยตั้งใจเรียนในระหว่างรอการพิจารณาด้วยนะคะ Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com อดีตลูกความคนนี้ไม่ใช่คนไทย คนเขียนเริ่มทำเคสให้เมื่อ 10 กว่าปีก่อน
ลูกความจำวันหมดอายุของวีซ่านักเรียนผิดวัน .... รู้ตัวอีกที เป็นผีไป 6 เดือนแล้ว คนเขียนใช้เวลาทำ Research หาข้อมูลไปหลายวัน ก่อนจะนัดลูกความคุย Strategy (แผน) การทำงานกัน คนเขียนบอกลูกความว่า Test case นะ ไปเจอช่องโหว่ ... ไม่มีกฏหมายบอกว่าห้ามทำ แปลว่าทำได้ ... ใช่ไหม?? ... ส่วนจะได้วีซ่ากลับมารึเปล่า ไม่ลองไม่รู้ แต่คิดว่าน่าจะรอด ..... ณ จุดนั้น ลูกความไม่มีอะไรจะเสียแล้ว นอกจากเงินและเวลา และยืนยันหนักแน่นว่ายังไงก็ไม่อยากกลับประเทศตัวเอง พ่อแม่ต้องโกรธมากถ้ารู้ว่าอยู่ๆกลายเป็นผี และเรียนไม่จบเพราะจำวันหมดอายุวีซ่าผิด Strategy แรก (แผน 1) ของเรา มี 3 สเต็ป ในระหว่างที่เราเริ่มสเต็ปแรก คนเขียนก็ทำ Research ต่อไปด้วย เผื่อเจอทางที่ดีกว่า และก็เจอทางที่ดีกว่าจริงๆ สเต็ปเดียวจบ (เหมือนเดิม บางทีกฏหมายก็ไม่ได้เขียนไว้ชัดเจนว่าทำได้ แต่ในเมื่อไม่มีตรงไหนบอกว่าห้ามทำ สำหรับคนเขียนแปลว่าทำได้) ...... ถามว่าลูกความโกรธไหม ที่คนเขียนต้องการเปลี่ยนแผนหลังจากเริ่มงานแผนแรกไปแล้ว .... ไม่โกรธค่ะ ดีใจด้วยซ้ำที่คนเขียนหาทางที่ดูมีเปอร์เซ็นมากกว่า ง่ายกว่าและถูกกว่าให้ได้ ...... จริงๆก็ไม่ควรจะโกรธนะ เคสจะทำผีให้เป็นคน (จากคนไม่มีวีซ่าให้มีวีซ่าตัวที่เหมาะสม) ไม่ง่าย ถ้าไม่แคร์ไม่ใส่ใจ ก็คงไม่มานั่งทำ Research ต่อ ทั้งๆที่แผนแรกก็น่าจะเวิร์ค และลูกความก็ตัดสินใจทำแล้ว สรุปว่าเราเปลี่ยนแผนระหว่างทางไปแผน 2 แทน .... คนเขียนต้องทำ Submissions เขียนเอกสารอธิบายข้อกฏหมายให้อิมมิเกรชั่นเข้าใจ ยาว 3 หน้ากระดาษ อิมมิเกรชั่นก็ไม่เข้าใจอยู่ดี ยกหูหาคนเขียนเลย ร่ำๆจะปฏิเสธวีซ่า บอกว่ากฏหมายไม่ได้บอกว่าทำได้นะ .... คนเขียนก็อธิบายไปสิ ทีละสเต็ป อย่างช้าๆ ถามอิมมิเกรชั่นเป็นระยะๆว่าที่อธิบายไปนี้เค้าเห็นด้วยกับคนเขียนไหม สรุปว่าเห็นด้วย ..... อ้าว ถ้าเห็นด้วย ก็ต้องออกวีซ่าให้สิ .... สรุปว่าขอ 10 นาทีเพื่อเช็คกับหัวหน้าอีกรอบก่อน แล้วจะโทรหาคนเขียนใหม่ ..... ครึ่งชั่วโมงผ่านไป ..... ไม่มีโทรศัพท์จากอิมมิเกรชั่น แต่มีอีเมล์แจ้ง Student visa grant letter ..... เย้ 2 ปี ผ่านไป ... ลูกความติดต่อมาต้องการวางแผนทำพีอาร์ .... คนเขียนแนะนำวีซ่าที่เหมาะสม 1 ปี ผ่านไป ... ลูกความติดต่อมา พ่อแม่ให้ใช้เอเจนต์ชาติเดียวกัน และเอเจนต์แนะนำให้ยื่นวีซ่าอีกตัวนึงและตอนนี้ถูกปฏิเสธ เคสอยู่ชั้นอุทธรณ์ AAT .... ขอคำแนะนำต่อว่าควรจะเดินเคสยังไง คนเขียนก็แนะนำค่ะ แต่แอบกังวลว่าเคสจะไปรอดไหม คำแนะนำเป็น Technical: ข้อกฏหมาย และเทคนิคการทำเคสทั้งนั้น คนที่จะเอามาปรับใช้ก็ไม่ใช่คนเขียน แต่เป็นเอเจนต์ที่ลูกความใช้บริการอยู่ (เคสหลายๆเคส เราต้องตัดสินใจกันหน้างาน ตอนปัญหาเกิด ว่าจะยื่นอะไร ยื่นยังไง นำเสนอแบบไหน) 1 ปี ผ่านไป ... ลูกความติดต่อมา เคสยังอยู่ที่ชั้น AAT .... ที่แนะนำไปคราวที่แล้ว ไม่ได้ทำอะไรซักอย่าง [เสียเวลาไป 1 ปี โดยไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย] ... ขอคำแนะนำอีกแล้วว่าควรจะทำยังไงต่อ ... คนเขียนก็แนะนำอีกแล้วค่ะ แต่ในใจเริ่มคิดว่าแล้วว่าที่แนะนำไปนี่จะเวิร์คไหม เพราะเคสยากขึ้นเรื่อยๆ อีก 1 ปีครึ่ง ผ่านไป ... ลูกความแพ้ที่ชั้น AAT .... คนเขียนถามว่าที่แนะนำไป ไม่ได้เอาไปปรับใช้เลยสิ .... ลูกความบอกว่า ... ก็บอกเอเจนต์แล้ว แต่เค้าไม่ทำ .... ขอคำแนะนำอีกแล้ว ... คนเขียนทราบดีว่าลูกความไว้ใจคนเขียน ติดที่พ่อแม่ต้องการให้ใช้เอเจนต์ชาติเดียวกัน แต่ถามว่าลูกความได้อะไรจากการขอคำแนะนำ แนะนำอะไรไป ก็ไม่ได้เอาไปปรับใช้ หรือต่อให้ปรับใช้ก็ไม่ได้เต็มร้อย เพราะคนทำเคสไม่ใช่คนวางแผนงาน ... สรุปว่าได้เวลาต้องปล่อยลูกความไปตามทางแล้วค่ะ Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com Q: รบกวนสอบถามค่ะ กำลังจะเรียนจบ Certificate III in Cookery เรียนหลักสูตรนี้มาได้ 15 เดือนค่ะ กำลังจะต่อ Certificate IV in Cookery 6 เดือน กับ Advanced diploma of Hospitality 6 เดือน ที่สถาบันเดิม และเรียนต่อเนื่องเลยค่ะ
ในกรณีนี้สามารถขอวีซ่า 485 หลังเรียนจบได้หรือไม่คะ เห็นมีคนบอกว่าต้องเป็นหลักสูตร 2 ปี ตั้งแต่ขอวีซ่าครั้งแรกเลย มาต่อคอร์สทีหลังให้ครบ 2 ปีไม่ได้ รบกวนช่วยแนะนำด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ A: รวมคอร์สได้ค่ะ ไม่จำเป็นต้องเป็นหลักสูตร 2 ปี Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com Q: ตอนนี้ กำลังจะเปลี่ยนวีซ่าจากวีซ่า working and holiday เป็นวีซ่า student แต่ยังไม่ได้ยื่น อยากทราบว่า กรณีเราเปลี่ยนวีซ่า ระหว่างรอวีซ่า student เราสามารถทำงานกับนายจ้างคนเดิมได้ไหมคะ ตามเงื่อนเดิม เข้าใจว่าที่จะได้ระหว่างรอ จะเป็นเงื่อนไขเดียวกับ วีซ่า working and Holiday ที่ถืออยู่ ณ ปัจจุบัน หรือสามารถทำกับนายจ้างคนเดิมได้คะ ขอบคุณค่ะ
A: เมื่อยื่น Student visa application น้องจะได้ Bridging visa มาถือระหว่างรอผลวีซ่านักเรียน เงื่อนไขการทำงานกับนายจ้าง 6 เดือน (8547) ก็จะติดมากับ Bridging visa ด้วยค่ะ แต่เงื่อนไข 6 เดือนกับนายจ้างจะเริ่มนับใหม่ ถ้าเคยทำงานกับนายจ้างมาแล้ว 6 เดือน เมื่อ Bridging visa มีผลบังคับใช้ (คือหลังวีซ่า 462 หมดอายุ) น้องสามารถทำงานกับนายจ้างเดิมได้อีก 6 เดือน และเมื่อวีซ่านักเรียนออก น้องก็ทำตามเงื่อนไขวีซ่านักเรียนค่ะ Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com |
Author
Archives
December 2023
Categories
All
|