เคสนี้น้องติดต่อมาหาคนเขียนหลังจากที่วีซ่า 485 ถูกปฏิเสธไปเรียบร้อยแล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่าน้องไม่ได้ยื่นใบสมัครภายใน 6 เดือนนับจากที่เรียนจบ
► กฏเปลี่ยน 482 ที่จะปรับใช้วันที่ 25 November 2023 จริงๆ ก็คือกฏเก่าที่เคยใช้สมัยที่ยังเป็นวีซ่า 457 นั่นเอง ► กฏเปลี่ยนนี้ ให้ประโยชน์กับผู้สมัคร (นานๆ จะมีกฏเปลี่ยนแบบนี้ให้ชื่นใจซะที) ► นับจาก 25 November 2023 1. ถือ 482 แค่ 2 ปี ยื่นขอพีอาร์ 186 ได้ 2. ไม่สนใจว่าอาชีพตอนถือ 482 จะอยู่ใน MLTSSL STSOL หรือ Labour agreement 3. ไม่สนใจ Occupation list ... ไม่ต้องกังวลว่าอาชีพจะหายไปจากลิสหรือไม่ 4. 482 ในอาชีพ STSOL ขอต่อวีซ่ารอบที่ 3 ในออสเตรเลียได้ ► ขี้เกียจจำ ขี้เกียจทำความเข้าใจ จำข้อ 1. เป็นอันใช้ได้ ________________________________________ คนเขียนอ่านผ่านตาในเฟสบุค น้องมีปัญหากับเอเจนต์นักเรียน ..... ขอให้ข้อมูลไว้ตรงนี้ .... เชื่อว่าข้อมูลน่าจะเป็นประโยชน์กับน้องนักเรียนหลายๆคน ► มีปัญหากับโรงเรียน หรือกับเอเจนต์นักเรียน (Education Agent) ??? ..... ดีที่สุดคือพยายามคุยกัน และจบกันแบบดีๆ ► ตกลงกันไม่ได้ ?? รัฐบาลมีหน่วยงาน Commonwealth Ombudsman ไว้ให้ความช่วยเหลือ ► ลิงค์อาจจะเอ่ยถึงปัญหากับทางโรงเรียน แต่หน่วยงานนี้จริงๆแล้วรับพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างนักเรียน และเอเจนต์นักเรียน (Education Agent) ด้วย ► หน่วยงานนี้ไม่เข้าข้างนักเรียน หรือโรงเรียน หรือเอเจนต์ .... พูดง่ายๆ คือว่ากันตามเนื้อผ้า ก่อนจะยื่นเรื่องไปถึงหน่วยงาน คิดทบทวนก่อน รวมถึงตรวจสอบเอกสารที่มี นอกจากมองมุมของตัวเองแล้ว อย่าลืมมองมุมของอีกฝ่ายด้วย ถ้าตกลงกันไม่ได้ และคิดว่าตัวเองไม่ได้รับความเป็นธรรม ลุยเลยค่ะ Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com Q: อุ๊ย 482 มี GTE ด้วยเหรอ ??
A: มีค่ะ สำหรับอาชีพที่อยู่ใน Short term list (STSOL) Q: เอิ่ม .... GTE คืออะไร ??? A: GTE หรือ Genuine Temporary Entrant คือประเด็นการพิจารณาของบางวีซ่า เช่นวีซ่านักเรียน วีซ่าทำงาน วีซ่าท่องเที่ยว ที่อิมมิเกรชั่นจะต้องเชื่อว่าน้องเข้ามาเรียน มาทำงาน มาท่องเที่ยว แล้วก็จะกลับประเทศของตัวเอง วีซ่านักเรียนและวีซ่าท่องเที่ยวถูกปฏิเสธด้วยประเด็นนี้เยอะมาก ประเด็น GTE ปกติแล้วไม่ใช่ปัญหาใหญ่สำหรับการขอ 482 STSOL .... แต่ต้องระวัง ถ้า * อยู่ออสเตรเลียมานานหลายปีแล้ว * ถือ 457 หรือ 482 STSOL มาแล้ว และต้องการขอ 482 STSOL รอบที่ 2 หรือ 3 หรือ 4 .... * มีประวัติเคยยื่นขอวีซ่าถาวร !!! เคสที่คนเขียนจะแชร์วันนี้ เป็นเคสรวมมิตร รวมทั้ง 3 ประเด็นเลย * น้องถือ 457 รุ่นเก่า ที่ทำงานกับนายจ้างครบ 2 ปี สามารถต่อยอดไปขอวีซ่าถาวร 186 ได้ * น้องไม่มีผลภาษาอังกฤษ ทนายของน้องแนะนำให้ยื่น 186 บอกว่าผ่านแน่นอนโดยใช้ผลการเรียนที่เป็นภาษาอังกฤษ 5 ปี * ยื่นไปได้ 20 วัน น้องถูกปฏิเสธ ด้วยเหตุผลว่าไม่มีผลการเรียน 5 ปี * ทนายของน้องแนะนำให้ยื่นอุทธรณ์ บอกว่าผ่านแน่นอนที่ชั้นอุทธรณ์ น้องมาปรึกษาคนเขียน ขอความเห็นที่สองเกี่ยวกับเคสอุทธรณ์ และแนวทางว่าจะอยู่ที่นี่ต่อยังไง เพราะวีซ่า 457 ที่ถืออยู่กำลังจะหมด ความเห็นของคนเขียนคือ * เคสอุทธรณ์ 186 ไม่น่าจะรอด เพราะน้องไม่มีผลการเรียนที่เป็นภาษาอังกฤษ 5 ปีจริงๆ (ถ้าจะรอด ก็คือฟลุ๊ก Tribunal member เห็นใจ แอบหลับตาข้างนึง) * ยื่น 482 ได้ เสี่ยงถูกปฏิเสธ เพราะ - น้องอยู่มา 13 ปีแล้ว - ถือ 457 มาแล้ว 4 ปี และกำลังจะขอ 482 STSOL - มีประวัติการยื่นขอวีซ่าถาวร 186 และตอนนี้เรื่องอยู่ที่ชั้นอุทธรณ์ ..... แต่น้องกำลังจะเชิญชวนให้อิมมิเกรชั่นเชื่อว่าน้องต้องการที่จะอยู่ที่ออสเตรเลียชั่วคราว เพื่อทำงาน และอนาคตก็จะกลับไปใช้ชีวิตที่ไทย .... เคสนี้เราให้ข้อมูลประเด็นนี้ไปแล้วรอบนึงตอนยื่นใบสมัคร คาดไว้แล้วว่าเราอาจจะเจอรอบ 2 (แต่แอบหวังว่าจะไม่เจอ) พอเราได้จดหมายให้เวลา 28 วัน เพื่อตอบประเด็นนี้อีกรอบ คนเขียนเฉยๆ น้องก็ไม่ตกใจ เพราะเราเข้าใจตรงกันตั้งแต่ต้นแล้ว ... ให้ทำอะไร น้องทำ ... ขออะไร น้องหาให้ .... สุดท้ายน้องก็ได้ 482 ..... มีเวลาหายใจ มีเวลาปรับแผนชีวิต มีเวลาสอบภาษาอังกฤษ ทั้งน้องและนายจ้าง อยากให้คนเขียนทำเคสอุทธรณ์ 186 ที่ทนายคนเดิมยื่นไว้ .... ปกติแล้วคนเขียนไม่ค่อยปฏิเสธลูกความที่คนเขียนเคยทำเคสให้ ... แต่คณิตคิดง่าย .... ทนายคนเดิมของน้อง มีความเห็นว่าเคสอุทธรณ์ผ่านแน่ๆ และน้องก็เสียตังค์ค่าบริการไปแล้ว .... ส่วนคนเขียนคิดว่าเคสไม่น่าจะไม่รอด แล้วจะรับทำเคส ให้น้องเสียตังค์เพิ่มโดยใช่เหตุไปเพื่ออะไร .... ก็ให้น้องอยู่กับทนายเดิมไป ถ้าเคสผ่านคนเขียนก็ดีใจไปกับน้องด้วย .... ถ้าไม่ผ่าน ก็เป็นไปตามที่แจ้งไว้ และก็ได้ให้แนวทางไว้แล้วว่าระหว่างนี้ ควรทำอะไร และปรับแผนชีวิตยังไง ส่วนน้องจะทำ หรือจะแค่รอความหวังกับเคสอุทธรณ์ที่ทนาย 2 คนเห็นไม่เหมือนกัน ก็แล้วแต่น้อง น้องบางคนอ่านโพสนี้อาจจะคิดว่า Q: อ้าว ขนาดทนายด้วยกันยังเห็นไม่เหมือนกัน แล้วชีวิตชั้นจะรอดไหม ???? A: เป็นเรื่องปกติมากที่ทนายความหรือเอเจนต์จะมีความเห็นไม่ตรงกัน หรือมีสไตล์การทำงานที่ไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะด้วยประสบการณ์การทำงานที่ต่างกัน หรือตีความกฏหมายต่างกัน บางคนลืมเช็คข้อกฏหมายก่อนให้คำแนะนำลูกความ หรือลืมเช็คข้อกฏหมายก่อนยื่นใบสมัคร (อย่าลืมว่ากฏหมายคนเข้าเมือง เปลี่ยนบ่อยมาก) Q: โอเค เข้าใจที่พูดมา แต่ในทางปฏิบัติ ชั้นทำอะไรได้บ้าง A: หาความเห็นที่ 2 (หรือ 3 หรือ 4... ) หาคนที่ใช่ ที่น้องมั่นใจ คนที่คลิ๊กค์และคุยกันรู้เรื่อง .... การนัดปรึกษาเบื้องต้นเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เป็นโอกาสที่คุณจะได้คุยเบื้องต้น หาแนวทางสำหรับอนาคต หรือหาแนวทางสำหรับเคสที่กำลังเจอปัญหา เปรียบเทียบและพิจารณาว่าคำแนะนำไหน Make sense มากที่สุด (อย่าลืมทำการบ้านเองด้วย ก่อนคุยเคส น้องจะได้ประโยชน์มากกว่า) นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสที่น้องจะได้พิจารณาบุคลิก การพูดจา สไตล์การทำงาน ความน่าเชื่อถือ ของคนที่เราอาจจะใช้บริการด้วย Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com Student visa (Subclass 500)
เงื่อนไขการทำงาน - ตั้งแต่วันที่ 19 January 2022 ไม่ว่าจะถือวีซ่าหลัก หรือวีซ่าติดตาม ทำงานได้ไม่จำกัดชั่วโมง - โน๊ตว่า คนถือวีซ่าหลัก ก็ยังต้องเรียน เก็บ attendance และทำผลการเรียนนะคะ - โน๊ตต่อว่า รัฐบาลจะรีวิวเงื่อนไขที่ให้ทำงานใหม่นี้ เดือน April 2022 Refund เงินค่าใบสมัคร - ไม่ว่าจะถือวีซ่าหลัก หรือวีซ่าติดตาม - ไม่ว่าจะถือวีซ่านักเรียนอยู่แล้ว หรือเพิ่งขอก็แล้วแต่ - ถ้าเดินทางมาถึงออสเตรเลียระหว่างวันที่ 19 January 2022 และ 19 March 2022 - สามารถทำเรื่อง Refund ขอคืนเงินค่าใบสมัครได้ - การขอ Refund ทำได้ถึง 31 December 2022 Work and Holiday visa (Subclass 462) และ Working Holiday visa (Subclass 417) เงื่อนไขการทำงาน - ตั้งแต่วันที่ 19 January 2022 ถึง 31 December 2022 ไม่จำต้องเปลี่ยนนายจ้างทุก 6 เดือน Refund เงินค่าใบสมัคร - ไม่ว่าจะถือวีซ่า 462 / 417 อยู่แล้ว หรือเพิ่งขอก็แล้วแต่ - ถ้าเดินทางมาถึงออสเตรเลียระหว่างวันที่ 19 January 2022 และ 19 April 2022 - สามารถทำเรื่อง Refund ขอคืนเงินค่าใบสมัครได้เช่นกัน Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com เคสวีซ่านักเรียนที่ถูกปฏิเสธส่วนใหญ่เป็นเรื่อง Genuine Temporary Entrant (GTE) คืออิมมิเกรชั่นไม่เชื่อว่าน้องตั้งใจจะเป็นนักเรียนจริงๆ คืออาจจะคิดว่าขอวีซ่าเพื่อจะทำงาน หรือคิดว่าเมื่อเรียนจบแล้ว คงไม่ยอมกลับประเทศแน่ๆเลย
น้องๆนักเรียนถึงต้องเขียน Statement of purpose เพื่อที่จะโน้มน้าวอิมมิเกรชั่นว่า ชั้นอยากมาเรียนจริงๆนะ เรียนจบแล้วก็จะกลับนะ ยกตัวอย่างประเด็นที่ถูกปฏิเสธ ก็เช่น 1. อยู่ที่ออสเตรเลียมานานหลายปี 2. ขอเรียนระดับที่ต่ำกว่าวุฒิการศึกษาที่ไทย 3. ขอต่อวีซ่า และเลือกเรียนระดับที่ต่ำกว่าคอร์สที่เรียนก่อนหน้า 4. ขอเรียนในสายวิชาที่ไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับสายที่เคยเรียนมา หรือมีประสบการณ์ทำงานมา 5. อายุค่อนข้างเยอะ 6. ต่อวีซ่านักเรียนมาหลายรอบแล้ว อยู่มานานแล้ว แต่แทบไม่ได้กลับไปเยี่ยมที่บ้านเลย 7. ไม่ทำ Research และเขียน Statement of purpose ได้ไม่ดี 8. ไม่ยื่น Statement of purpose 9. .... มีอีก ... แต่ ตอนนี้คิดไม่ออก วันนี้คนเขียนมี Telephone Hearing .... ลูกความอยู่รัฐนึง คนเขียนอยู่อีกรัฐนึง และ AAT ก็อยู่อีกรัฐนึง น้องลูกความควบมาหลายประเด็นเลย อยู่ออสเตรเลียมาประมาณ 10 ปีได้ เรียนสูงมา แล้วมาเปลี่ยนเป็นคอร์สที่ต่ำกว่า และเป็นคนละสายกับที่เคยเรียนมา .... แถมอายุก็เริ่มเยอะ (อายุ 37 ตอนถูกปฏิเสธ อายุ 39 ณ วัน Hearing) .... Statement of purpose ของน้อง ก็ ..... เกือบดี ตอนน้องมาเป็นลูกความของคนเขียน น้องมีการยื่นเอกสารบางอย่างเข้าไปแล้ว รวมถึง Statement of purpose ... ที่แอบกุมขมับคือยื่นไป 2 ฉบับค่ะ!!!! ฉบับเกือบดี1 กับฉบับเกือบดี2 และยื่นต่างกัน 1 วัน เนื้อหาคล้ายกันแต่ไม่เหมือนกัน คือยื่นทำไม ไม่เข้าใจ (ปัญหาของคนทำเคสเอง คือไม่รู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไร) เคสนี้ เรายื่นเอกสารเข้าไปอีกเยอะเลยค่ะ รวมถึง Statement of purpose ฉบับใหม่ (คือถ้าน้องมาหาคนเขียนตั้งแต่ต้น เราคงยื่นแค่ฉบับใหม่ฉบับเดียว!) .... เอกสารบางชิ้น คนเขียนนั่งคิดนานมาก เพราะต้องชั่งน้ำหนักว่าเอกสารจะช่วยเคส หรือจะทำเคสพัง ..... เป็นความโชคดีของคนเขียน ที่ขออะไรไป น้องก็พยายามหามาให้ และน้องก็ไว้ใจ ให้คนเขียนตัดสินใจเลยว่าจะยื่นอะไร หรือไม่ยื่นอะไร Hearing เช้านี้ .... Tribunal member เริ่มต้นการพิจารณาด้วยคำว่า "ชั้นได้ดูเอกสารที่ยื่นเข้ามาทั้งหมดแล้ว และเอกสารครอบคลุมทุกประเด็น ทำให้ชั้นเชื่อว่าคุณตั้งใจจะเป็นนักเรียนจริงๆ และชั้นตัดสินใจส่งเคสกลับไปให้อิมมิเกรชั่นพิจารณาประเด็นอื่นต่อไป" ..... สรุปว่าไม่มีคำถาม .... แถมได้คำตัดสินเดี๋ยวนั้นเลย .... น้อง Happy มีแอบกรี๊ดใส่ Tribunal member เล็กน้อย .... เคสจบไปได้ด้วยดี (คนเขียนหายเหนื่อย และดีใจไปกับน้องด้วย) สำหรับเคสที่ถูกปฏิเสธวีซ่านักเรียน .... ถ้าอยากมีโอกาสชนะ ช่วยตั้งใจเรียนในระหว่างรอการพิจารณาด้วยนะคะ Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com Q: รบกวนสอบถามค่ะ กำลังจะเรียนจบ Certificate III in Cookery เรียนหลักสูตรนี้มาได้ 15 เดือนค่ะ กำลังจะต่อ Certificate IV in Cookery 6 เดือน กับ Advanced diploma of Hospitality 6 เดือน ที่สถาบันเดิม และเรียนต่อเนื่องเลยค่ะ
ในกรณีนี้สามารถขอวีซ่า 485 หลังเรียนจบได้หรือไม่คะ เห็นมีคนบอกว่าต้องเป็นหลักสูตร 2 ปี ตั้งแต่ขอวีซ่าครั้งแรกเลย มาต่อคอร์สทีหลังให้ครบ 2 ปีไม่ได้ รบกวนช่วยแนะนำด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ A: รวมคอร์สได้ค่ะ ไม่จำเป็นต้องเป็นหลักสูตร 2 ปี Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com Q: ตอนนี้ กำลังจะเปลี่ยนวีซ่าจากวีซ่า working and holiday เป็นวีซ่า student แต่ยังไม่ได้ยื่น อยากทราบว่า กรณีเราเปลี่ยนวีซ่า ระหว่างรอวีซ่า student เราสามารถทำงานกับนายจ้างคนเดิมได้ไหมคะ ตามเงื่อนเดิม เข้าใจว่าที่จะได้ระหว่างรอ จะเป็นเงื่อนไขเดียวกับ วีซ่า working and Holiday ที่ถืออยู่ ณ ปัจจุบัน หรือสามารถทำกับนายจ้างคนเดิมได้คะ ขอบคุณค่ะ
A: เมื่อยื่น Student visa application น้องจะได้ Bridging visa มาถือระหว่างรอผลวีซ่านักเรียน เงื่อนไขการทำงานกับนายจ้าง 6 เดือน (8547) ก็จะติดมากับ Bridging visa ด้วยค่ะ แต่เงื่อนไข 6 เดือนกับนายจ้างจะเริ่มนับใหม่ ถ้าเคยทำงานกับนายจ้างมาแล้ว 6 เดือน เมื่อ Bridging visa มีผลบังคับใช้ (คือหลังวีซ่า 462 หมดอายุ) น้องสามารถทำงานกับนายจ้างเดิมได้อีก 6 เดือน และเมื่อวีซ่านักเรียนออก น้องก็ทำตามเงื่อนไขวีซ่านักเรียนค่ะ Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com วันนี้รัฐบาลได้ออกมาประกาศแนวทางในการช่วยเหลือคนที่ถือวีซ่านักเรียน และคนที่ต้องการสมัครวีซ่านักเรียนตามนี้นะคะ
1. รัฐบาลจะเริ่มพิจารณาใบสมัครวีซ่านักเรียนที่ยื่นแบบนอกประเทศออสเตรเลียแล้วนะคะ โดยระบุว่าพอเปิดประเทศ นักเรียนจะได้ทำเรื่องเดินทางเข้ามาได้เลย 2. ถ้า COVID-19 เป็นสาเหตุให้เรียนไม่จบคอร์สที่ลงไว้ตามวีซ่านักเรียนเดิม สามารถยื่นขอต่อวีซ่านักเรียนได้โดยไม่ต้องเสียค่ายื่น 3. การเรียนแบบออนไลน์จากนอกประเทศออสเตรเลีย ก็อนุญาตให้นับรวมได้สำหรับการยื่น Post-Study Work visa 4. จะอนุญาตให้คนที่ต้องการขอ Post-Study Work visa ยื่นจากนอกประเทศออสเตรเลียได้ ถ้าไม่สามารถเข้ามายื่นแบบในประเทศออสเตรเลียเพราะ COVID-19 5. จะมีการขยายเวลาสำหรับการยื่นผลภาษาอังกฤษในกรณีที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 โน๊ตว่านี่เป็นประกาศจากรัฐบาล ซึ่งบางข้อยังไม่สามารถนำมาปรับใช้ได้ ต้องรอการปรับแก้กฏหมายก่อนนะคะ แต่ก็ถือเป็นข่าวดีค่ะ Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com Q: ตอนนี้หนูถือ bridging visa A จากการยื่น 482 ค่ะ มีสถานะติดตามแฟน แต่ตอนนี้ถูก รร ทวงค่าเทอมจาก course Advance diploma ซึ่งทาง รร ได้ cancel Course เอง แต่ไม่ได้ cancel visa วีซ่าของหนูจึงหมดปกติก่อนที่จะกลายเป็น bridging อัตโนมัติ รบกวนสอบถามค่ะ ว่ากรณีนี้ หนูจำเป็นต้องจ่ายค่าเทอมมั้ยคะ แล้วจะมีผลอะไรกับวีซ่าตัวใหม่ที่ยื่นไปแล้วมั้ยคะ
A: ต้องจ่ายค่าเทอมไหม ในแง่กฏหมายข้อมูลไม่พอที่จะตอบค่ะ ต้องอ่านสัญญาที่น้องเซ็นไว้กับทางโรงเรียนว่ามีเงื่อนไขอย่างไร และน้องปฏิบัติตัวยังไงที่จะทำให้โรงเรียนมีสิทธิ์หรือไม่มีสิทธิ์เรียกเงินจากน้อง ..... แต่บางครั้ง .....โรงเรียนรู้ทั้งรู้ว่าตัวเองไม่มีสิทธิ์จะมาเรียกร้องอะไร ก็ลองนะ เผื่อได้ตังค์ จะมีผลอะไรกับวีซ่าตัวใหม่หรือไม่ คำตอบคือ "อาจจะ" ไม่ใช่เพราะเรื่องเงินที่โรงเรียนทวงมา แต่เป็นเพราะน้องทำผิดเงื่อนไขวีซ่านักเรียน ต้องไปเรียนแต่ไม่ไปเรียนจน CoE ถูกยกเลิก 482 มีข้อกำหนดว่าผู้สมัครจะต้อง "complied substantially" กับเงื่อนไขของวีซ่าตัวก่อนหน้าและ Bridging visa ที่ถืออยู่ เจ้าหน้าที่ก็ต้องพิจารณาประเด็นนี้ค่ะว่าถ้ามีการทำผิดเงื่อนไขของวีซ่ามาก่อน มันร้ายแรงจนต้องปฏิเสธวีซ่าหรือไม่ ป.ล. โรงเรียน Cancel visa ของน้องไม่ได้ (เหมือนๆกับที่แฟน หรือนายจ้างที่เป็นสปอนเซอร์ Cancel visa เราไม่ได้นั่นแหละค่ะ ..... แอบนอกเรื่องอีกแล้ว แต่อยากบอกให้ทราบกันไว้) คนที่จะ Cancel visa ได้คืออิมมิเกรชั่น และก็ขึ้นอยู่เคสนั้นๆนะคะ บางเคสอิมมิเกรชั่นก็พิจารณาไม่ Cancel บางเคสก็อยาก Cancel แต่ทำไม่ทัน วีซ่าหมดซะก่อน Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com Q: วีซ่านักเรียนกำลังจะหมด เหลือ 4 อาทิตย์ แต่ไม่อยากจะต่อวีซ่านักเรียนแล้ว เบื่อเรียน และกลัวถูกปฏิเสธเพราะอยู่มา 7 ปีแล้ว มีทางเลือกอะไรบ้าง
A: คนเขียนถามว่า
ไม่มีนายจ้าง ไม่มีแฟน และไม่อยากเป็นนักเรียนแล้ว ลองเช็คดูว่าคุณสมบัติถึงสำหรับ Subclass 485 หรือ Skilled visa ซึ่งก็มีทั้ง skilled independent และ State Sponsored visa แต่มีเวลาอยู่ 4 อาทิตย์สำหรับสอบภาษาอังกฤษ ทำ Skills Assessment และยื่นวีซ่า .... คนเขียนคิดว่า 485 อาจจะมีลุ้น แต่ถ้าเป็น Skilled visa ตัวอื่น ไม่น่าจะเตรียมตัวทันนะคะ แค่ Skills Assessment ก็ใช้เวลาประมาณ 3 เดือนแล้วค่ะ ปกติแล้ว เคสเหลือไม่ถึง 4 อาทิตย์คนเขียนไม่ค่อยรับ นานๆจะใจอ่อนรับมาซักเคสนึง (เพิ่งใจอ่อนไปเมื่อเดือนที่แล้ว เคสยากด้วย สุดยอดของความเหนื่อย เที่ยงคืน ตีหนึ่ง คนเขียนก็มานั่งดูเคส ส่งอีเมล์) จะให้ดี ติดต่อกันมาเนิ่นๆค่ะ 8 อาทิตย์เป็นอย่างน้อย เพื่อประโยชน์ของตัวเอง Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com รัฐบาลมีประกาศเพิ่มเติมเกี่ยวกับคนที่ถือวีซ่าชั่วคราวมานะคะ คนเขียนขอสรุปตามข้างล่าง
โน๊ตนะคะว่านี่เป็นประกาศแรกเท่านั้น ส่วนการปฏิบัติจริงและรายละเอียดจะเป็นยังไง ต้องรออิมมิเกรชั่นแจ้งเพิ่มเติมณ เวลานี้ หลายๆเรื่องเราคาดการณ์ไม่ได้และต้องติดตามสถานการณ์กันแบบวันต่อวัน วีซ่า 417 & 462 Working holiday makers ที่ทำงานหรือได้งานด้าน health, aged and disability care, agriculture and food processing, and childcare - จะได้รับการยกเว้นเงื่อนไข "6 month work limitation" ต่อ 1 นายจ้าง - สามารถต่อวีซ่าได้ถ้าวีซ่าตัวปัจจุบันจะหมดอายุภายใน 6 เดือนนับจากนี้ - สามารถถอนเงินจาก Superannuation fund ได้ $10,000 สำหรับปีภาษีนี้ วีซ่า 457 & 482 - นายจ้างสามารถลดชั่วโมงการทำงานของลูกจ้างได้โดยไม่ผิด Sponsorship obligations และลูกจ้างก็ไม่ผิดเงื่อนไขวีซ่า - คนที่ถูกให้พักงานชั่วคราวจะสามารถต่ออายุวีซ่าได้ตามเงื่อนไขปกติของการขอวีซ่าทำงาน และสามารถนับเวลาการทำงานสำหรับต่อยอดเพื่อขอพีอาร์ได้ - คนที่ถูกเลิกจ้างต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขวีซ่า ถ้าหานายจ้างใหม่ที่พร้อมจะสปอนเซอร์ไม่ได้ภายใน 60 วัน ก็ต้องออกจากประเทศออสเตรเลีย แต่ถ้าหลังจากเหตุการณ์ COVID-19 ผ่านไปแล้ว กลับมาเป็นลูกจ้างตามเดิม (re-employed) ระยะเวลาการทำงานในประเทศออสเตรเลียยังสามารถนับเวลาได้สำหรับการขอพีอาร์ (ประเด็นนี้คนเขียนไม่แน่ใจนะคะว่า re-employed ในที่นี้คือหมายถึง re-employed โดยนายจ้างเดิมเท่านั้น หรือนายจ้างใหม่ก็ได้ด้วย รอประกาศต่อไปค่ะ) วีซ่านักเรียน - อิมมิเกรชั่นจะใช้ flexible approach สำหรับเงื่อนไขวีซ่านักเรียน เช่นเรื่อง Class attendance (ไม่สามารถไปเรียนได้) - วีซ่านักเรียนที่ทำงานด้าน Aged care, Nurse สามารถทำงานเกิน 40 ชั่วโมงต่อ 2 อาทิตย์ได้ (อันนี้ประกาศมาระยะนึงแล้วนะคะ ไม่ใช่ข่าวใหม่) - วีซ่านักเรียนที่ทำงานกับ Major Supermarket ที่ตอนนี้อิมมิเกรชั่นอนุญาตให้ทำงานเกิน 40 ชั่วโมงต่อ 2 อาทิตย์ นับจากวันที่ 1 พฤษภาคม เงื่อนไขการทำงาน 40 ชั่วโมงต่อ 2 อาทิตย์จะถูกนำกลับมาใช้ตามเดิมนะคะ - คนที่มีปัญหาทางการเงิน รัฐบาลระบุว่าให้ขอความช่วยเหลือจากครอบครัว หางานทำ หรือใช้เงินเก็บ (คือตอนนี้ยังไม่มีความช่วยเหลือจากรัฐบาลค่ะ) - คนที่ถือวีซ่านักเรียนมาเกิน 1 ปี สามารถถอนเงินจาก Superannuation fund ได้ $10,000 สำหรับปีภาษีนี้ วีซ่า 485 - สามารถถอนเงินจาก Superannuation fund ได้ $10,000 สำหรับปีภาษีนี้ วีซ่า 444 สำหรับ New Zealanders - คนเขียนไม่ลงรายละเอียดนะคะ เพราะไม่ค่อยเกี่ยวกับคนไทยเท่าไหร่ Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com นานๆทีก็จะมีน้องโทรมาถามประมาณนี้
"พี่ครับผมเคยไปออสเตรเลียและหนีวีซ่ามาระยะนึง ถูกจับได้และส่งกลับ ตอนนี้อยู่ไทย เอเจนต์แนะนำให้ผมเปลี่ยนชื่อแล้วไปขอพาสปอร์ตด้วยชื่อใหม่ นี่ผมไปเปลี่ยนชื่อมาแล้ว กำลังจะไปทำพาสปอร์ต พี่ว่าผมจะได้วีซ่าไหมครับ " อารมณ์คนเขียนก็ประมาณ "โอ้โหน้อง เอเจนต์ที่ไหนคะเนี่ยแนะนำแบบนี้" เอเจนต์คงไม่ได้แนะนำให้เปลี่ยนชื่อ เผื่อชื่อใหม่จะทำให้ดวงดีได้วีซ่าหรอกค่ะ คาดว่าเอเจนต์ตั้งใจจะยื่นวีซ่าให้โดยใช้ชื่อใหม่ ไม่แจ้งชื่อเดิม เผื่ออิมมิเกรชั่นจะไม่เจอว่าน้องเคยมีประวัติหนีวีซ่า การไม่แจ้งชื่อเดิมในใบสมัคร อาจจะมีผลกระทบกับวีซ่าได้นะคะ โดยเฉพาะในกรณีที่ชื่อเดิมมีประวัติไม่ดีแบบนี้ ถ้าอิมมิเกรชั่นตรวจเจอเข้าในระหว่างพิจารณาวีซ่า นอกจากอาจจะถูกปฏิเสธวีซ่าเพราะประวัติเดิมแล้ว ยังอาจจะถูกติดบาร์ 3 ปี (PIC 4020) จากการให้ข้อมูลที่ไม่เป็นจริงด้วย ถ้าบังเอิญโชคดีได้วีซ่า ก็ไม่ได้แปลว่าอนาคตจะไม่มีปัญหา ต่อให้หมกเม็ดไปตลอดรอดฝั่งจนได้พีอาร์ ได้เป็นพลเมือง อิมมิเกรชั่นก็อาจจะมาเจอประวัติเก่าเข้าจนได้ คนเขียนเอาเคสที่เพิ่งอ่านเจอเมื่อเร็วๆนี้มาแชร์นะคะ เคสนี้คือเข้ามาด้วยวีซ่าท่องเที่ยว พบรัก แต่งงาน ขอวีซ่าคู่ครอง ความสัมพันธ์ไปไม่รอด ไม่ได้พีอาร์และกลับประเทศไป ต่อมาพบรักใหม่กับออสซี่อีกคน แทนที่จะขอวีซ่าคู่ครองตามปกติซึ่งก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เอเจนต์กลับแนะนำให้เปลี่ยนชื่อก่อนยื่น เพื่อที่จะยื่นวีซ่าคู่ครองด้วยชื่อใหม่โดยไม่แจ้งชื่อเดิม คือประวัติใสค่ะ เสมือนไม่เคยขอวีซ่า สรุปว่าได้วีซ่าคู่ครองกับแฟนใหม่ด้วยชื่อใหม่ และต่อมาก็ได้เป็นพลเมืองด้วยชื่อใหม่ ......18 ปีผ่านไปอิมมิเกรชั่นไปเจอเข้าโดยบังเอิญ (เดี๋ยวนี้ระบบคอมพิวเตอร์เค้าเริ่ดนะคะ) โดนยกเลิกการเป็นพลเมือง เจ้าตัวขอความเห็นใจว่าเค้ามีลูกและก็ลงหลักปักฐานที่นี่มา 18 ปีแล้ว และที่ทำแบบนั้นก็เพราะเอเจนต์แนะนำให้ทำ .... คืออิมมิเกรชั่นหรือศาลไม่ค่อยฟังหรอกนะคะเหตุผลประมาณนี้ เพราะคุณเองก็ต้องมีวิจารณญาณคิดได้เองด้วยว่าอะไรควรอะไรไม่ควร ใบสมัครของคุณถือว่าคุณเป็นคนให้ข้อมูลจะมีคนช่วยหรือไม่ก็แล้วแต่ (เพราะฉะนั้นต่อให้ใช้บริการเอเจนต์หรือทนาย ก็ต้องใส่ใจเคสตัวเองค่ะ no ifs no buts) ถ้าตั้งใจจะเปลี่ยนชื่อเพื่อให้ประวัติใสสะอาด อย่าทำค่ะ ไม่คุ้ม ถ้าเปลี่ยนชื่อเพราะเชื่อเรื่องดวง แต่งงาน หย่า หรือด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ แจ้งชื่อเก่าและประวัติเก่าให้อิมมิเกรชั่นทราบด้วยค่ะ จะได้พีอาร์ และอนาคตจะต่อยอดไปเป็นพลเมือง ก็เอาให้แน่ใจว่าได้มาแล้วมันจะอยู่กับเราไปตลอดชีวิต คนเขียนมีเคสน้องคนนึงเคยถือวีซ่าท่องเที่ยว จากนั้นก็ถือวีซ่านักเรียนอีก 2-3 ตัว น้องมาให้คนเขียนดูแลในส่วนของวีซ่าคู่ครองให้ ถามไปถามมาได้ความว่าในใบสมัครวีซ่าท่องเที่ยวและวีซ่านักเรียน น้องแจ้งว่า Never married (ไม่เคยแต่งงาน / โสด) และไม่เคยมีชื่ออื่น แต่ในความเป็นจริงน้องเคยแต่งงาน เคยหย่า และเคยเปลี่ยนชื่อมา 6 หน !!! คนเขียนแจ้งให้น้องทราบถึงโอกาสที่จะเกิดปัญหา PIC 4020 (การให้ข้อมูลไม่ถูกต้องในใบสมัครเดิม อาจจะทำให้ใบสมัครใหม่ถูกปฏิเสธและติดบาร์ 3 ปี) น้องบอกว่า "แหมพี่คะ พี่ก็ทำให้มันเหมือนที่เอเจนต์เดิมทำสิคะ ไม่ต้องแจ้งอะไรทั้งนั้น" คนเขียนก็บอกว่า "น้องคะ น้องมาทางไหนน้องไปทางนั้นเลยค่ะ" .... ล้อเล่นค่ะ ไม่ได้พูด (แค่คิดในใจ) คนเขียนบอกน้องว่าทำแบบนั้นไม่ได้ค่ะ 1. ผิดจรรยาบรรณ 2. พีอาร์เป็นวีซ่าถาวร น้องอยากได้พีอาร์ระยะสั้น หรือพีอาร์ระยะยาว ถ้าได้พีอาร์แล้วถูกยกเลิกภายหลัง หรือได้เป็นพลเมืองแล้วถูกยกเลิก รับได้ไหม มีทางเลือกให้น้อง 2 ทางคือ 1. ใช้บริการคนเขียน Declare ทุกอย่างตามความเป็นจริง แน่นอนคนเขียนจะช่วยอย่างเต็มที่เท่าที่ทนายคนนึงจะทำได้โดยไม่ผิดจรรยาบรรณ เคสเสี่ยงถูกปฏิเสธไหม เสี่ยงแน่นอน แต่ถ้าผ่านเราก็ได้วีซ่ามาอย่างถูกต้อง ไม่ต้องมากังวลว่ากรรมจะตามทันเหมือนเคสที่เล่าให้ฟังข้างบน 2. ไปใช้บริการคนอื่นได้เลยค่ะ น้องตัดสินใจใช้บริการค่ะ เคสแบบนี้เป็นเคสต้องคิดเยอะค่ะ Strategy การทำงานต้องมี ว่าจะนำเสนอเคสแบบไหนให้เคสดูดีที่สุด ต้องคิดเผื่อแผนสอง แผนสาม (อย่ามาถามหาการันตี เคสง่ายแค่ไหนก็ไม่เคยการันตี เพราะคนเขียนไม่ใช่คนตัดสินเคส) เราทำเต็มที่แล้วเราก็ลุ้นผลไปด้วยกัน เตรียมใจเผื่อต้องยื่นอุทธรณ์กันไว้เรียบร้อย แล้วเราก็ผ่านมันมาได้ที่ชั้นอิมมิเกรชั่น โดยไม่มีการขอเอกสารหรือข้อมูลเพิ่มเติมเลย ตอนนี้น้องก็เป็นพีอาร์ไปแล้ว เมื่อพร้อมขอเป็นพลเมืองก็ไม่น่าจะเจอปัญหาอะไร เพราะเราเซ็ตข้อมูลของลูกความให้อิมมิเกรชั่นทราบอย่างถูกต้องแล้ว ไม่ต้องกลัวเผลอ ไม่ต้องกลัวเจอประวัติหมกเม็ดอีกต่อไป .....จริงๆ ระหว่างทางเราก็เจอประวัติคดีอาญาของน้องด้วย หลังจากที่ Declare ไปแล้วว่าไม่มีประวัติ น้องบอกว่า "หนูไม่รู้ หนูลืม" Great! - คนเขียนไม่รู้เหมือนกันว่าเรารอดมาได้ยังไง สรุปว่า Declare (แจ้ง) ชื่อทุกชื่อ สถานะ และประวัติของเราอย่างถูกต้องค่ะ ถ้าปัญหาจะเกิดก็ให้มันเกิดซะตั้งแต่ต้น ไม่ว่าจะขอวีซ่าชั่วคราว หรือวีซ่าพีอาร์ ถ้าหมกเม็ดแล้วต้องมาตามแก้ปัญหา = ความเสี่ยงสูง/ ค่าใช้จ่ายสูง/ เสียเครดิต (หมดความน่าเชื่อถือ) หมกเม็ดไปเรื่อยๆก็อาจจะเจอแจ็คพอตแบบเคสข้างบน ถูกยกเลิกการเป็นพลเมืองหลังจากลงหลักปักฐานสร้างอนาคตที่นี่ไปเรียบร้อยแล้ว (เคสที่ถูกยกเลิกการเป็นพลเมืองมีอยู่เรื่อยๆนะคะ นี่แค่ตัวอย่างเดียว บางเคสที่หมกเม็ดเอาไว้ เรื่องก็มาแดงเอาตอนขอเป็นพลเมืองนี่แหละค่ะ ผลคือถูกปฏิเสธการเป็นพลเมือง และก็ถูกยกเลิกพีอาร์ บางเคสไม่ได้กระทบแค่ตัวเอง ลูกและคู่ครองก็พลอยโดนไปด้วย) Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com คนเขียนจะบอกลูกความ และน้องๆที่โทรมาขอคำปรึกษาเสมอว่า อย่ารอจนวินาทีสุดท้ายนะคะ พร้อมแล้วยื่นเลย (ในบางเคสไม่พร้อมที่สุด ยังต้องยื่นเลยเพราะรอแล้วอาจจะพลาดโอกาสได้)
"ยื่น" ที่ว่านี่คือ ยื่นใบสมัครวีซ่า ยื่นอุทธรณ์นะคะ จริงๆแล้วมันเป็นอะไรที่เข้าใจได้ง่าย แต่บางคนไม่พยายามที่จะเข้าใจ หรือไม่ได้ใส่ใจ แต่บางอย่างพลาดแล้วพลาดเลยนะคะ ...... ยกตัวอย่างดีกว่าจะได้เห็นภาพ ตัวอย่างที่ 1 น้องอยู่ในวีซ่า 485 กำลังจะหมดอายุ น้องยื่นวีซ่านักเรียนเข้าไปก่อนวีซ่าหมดอายุ 1 วัน ชำระค่าใบสมัครวีซ่าผ่านบัตรเครดิต ปรากฏว่าเงินค่าประกันสุขภาพตัดบัตรวันนั้นพอดี วงเงินที่เหลือไม่พอให้อิมมิเกรชั่นหักค่าใบสมัครวีซ่านักเรียน กว่าอิมมิเกรชั่นจะแจ้งให้ทราบ กว่าจะมีเงินพอให้หักค่าวีซ่านักเรียน วีซ่า 485 ก็หมดอายุไปแล้ว 4 วัน แปลว่าไม่สามารถยื่นวีซ่านักเรียนในประเทศออสเตรเลียได้ เพราะวีซ่าที่ยื่นไปถึงแม้ว่าจะทันเวลา แต่เก็บค่ายื่นไม่ได้ เป็น invalid application พอเก็บค่ายื่นได้ วีซ่า 485 ก็หมดอายุไปแล้ว ก็เป็น invalid application อยู่ดี "invalid application" คือใบสมัครที่อิมมิเกรชั่นไม่สามารถพิจารณาได้ คือจะออกวีซ่าให้ก็ไม่ได้ จะปฏิเสธก็ไม่ได้ (ก็ไม่ต้องหวังยื่นอุทธรณ์ด้วย เพราะไม่มีการปฏิเสธวีซ่าเกิดขึ้น) อิมมิเกรชั่นทำได้อย่างเดียว คืนเงินค่าสมัครให้ ตัวอย่างที่ 2 น้องอยู่ในวีซ่านักเรียน กำลังจะหมดอายุ น้องจะยื่นวีซ่านักเรียนต่อ เอเจนต์งานยุ่ง น้องก็ยุ่งกับภาระกิจอื่น เอเจนต์บอกว่าไม่เป็นไรน้องยังยื่นวีซ่านักเรียนได้ภายใน 28 วันหลังวีซ่านักเรียนตัวเดิมหมดอายุ ถูกต้องนะคะ ทำได้ค่ะ แต่หนเดียวเท่านั้น ปรากฏว่าเอเจนต์ไม่ทราบว่าใช้ได้แค่หนเดียว หรือไม่ทราบว่าน้องเคยยื่นช้ามาแล้วหนนึง เลยเรื่อยเฉื่อยๆและยื่นวีซ่านักเรียนตัวใหม่เข้าไปหลังวีซ่านักเรียนหมดอายุ เหมือนข้อ 1 ค่ะ ไม่สามารถยื่นวีซ่านักเรียนในประเทศออสเตรเลียได้แล้ว และวีซ่าที่ยื่นไปก็เป็น invalid application ตัวอย่างที่ 3 น้องถือวีซ่า 457 ซึ่งไม่มีทางต่อยอดไปเป็นพีอาร์หรือต่อ 457 อีกครั้งได้ (ด้วยเหตุผลหลายๆอย่างที่จะไม่เอ่ยถึง) น้องไปหาเอเจนต์นักเรียนเพื่อจะขอวีซ่านักเรียนใหม่ (บางเคสมีลุ้นนะคะ อาจจะผ่าน อาจจะไม่ผ่าน ไม่ลองไม่รู้) น้องไปหาเอเจนต์แต่เนิ่นๆ จ่ายเงิน เลือกคอร์ส ส่งเอกสาร เอเจนต์งานยุ่งลืมยื่น เลยวันที่วีซ่า 457 หมดอายุไปสองวัน แถมบอกน้องว่าไม่เป็นไรวีซ่าหมดอายุก็ยื่นได้ ถ้ายื่นภายใน 28 วัน ไม่ถูกต้องนะคะ วีซ่า 457 ไม่อยู่ในลิสของวีซ่าที่ถ้าหมดอายุแล้วจะยังยื่นวีซ่านักเรียนได้ภายใน 28 วัน แปลว่าในเคสนี้ก็ไม่สามารถยื่นวีซ่านักเรียนในประเทศออสเตรเลียได้แล้วค่ะ และวีซ่าที่ยื่นไปเป็น invalid application ตัวอย่างที่ 4 น้องถูกปฏิเสธวีซ่า ต้องยื่นอุทธรณ์ไปที่ AAT ให้ทันเวลา (21 วัน นับจากวันที่ถือว่าได้รับแจ้ง) ตั้งใจจะยื่นวันสุดท้ายและวินาทีสุดท้าย ระบบขัดข้องปิดปรับปรุง พลาดค่ะ เลยกำหนดยื่นไป 1 วัน แปลว่า AAT ไม่มีสิทธิ์พิจารณาเคสอุทธรณ์นี้ค่ะ (no jurisdiction) ตัวอย่างที่ 5 เคสนี้หลายปีมากแล้วนะคะ ลูกความติดต่อคนเขียนมาเนิ่นๆ ขอคำปรึกษาจะทำพีอาร์ผ่านวีซ่า 457 ที่ถือมาเกิน 2 ปีแล้ว ลูกความอายุเกิน 50 ภาษาอังกฤษไม่ได้ คนเขียนแจ้งว่าถ้าจะยื่นก็ต้องรีบยื่นนะคะ ก่อน 30 มิถุนายน (ปีอะไรจำไม่ได้แล้ว) พลาดแล้วพลาดเลยเพราะกฏจะเปลี่ยนวันที่ 1 กรกฏาคม บอกด้วยว่าเป็น Paper application นะคะ และขอยกเว้นทั้งอายุและภาษาต้องทำ Submissions + เอกสารอีกมากมาย ถ้าจะยื่นแจ้งกันแต่เนิ่นๆ จะได้มีเวลา เตรียมเคสให้แน่นๆ เผื่อเวลาสำหรับส่งไปรษณีย์ courier อะไรไว้ด้วย คนเขียนตามลูกความอยู่หลายครั้ง เพราะกลัวจะพลาดโอกาสสุดท้ายและพีอาร์จะหลุดลอยไป ปรากฏว่าลูกความติดต่อมาให้ทำเคสให้ในวันที่ 30 มิถุนายน ... สี่โมงเย็น ..... ....วันสุดท้ายที่มีสิทธิ์ยื่น .... และเป็นวันเสาร์ ............... พอแล้วมั้งคะสำหรับตัวอย่าง พอเห็นภาพนะคะ ..... สรุปสั้นๆ 1. เคสส่วนใหญ่ เมื่อพร้อมก็ควรยื่น อย่ารอจนวินาทีสุดท้าย 2. เคสบางเคส ต้องดูลาดเลาว่ายื่นตอนไหนถึงจะเหมาะสม และเพิ่มโอกาสในการได้วีซ่า 3. เคสบางเคสไม่พร้อมก็ต้องยื่น เพราะวีซ่ากำลังจะหมด เวลาการยื่นอุทธรณ์ใกล้เข้ามา หรือกฏกำลังจะเปลี่ยน 4. ไม่มีคำแนะนำแบบตายตัว ที่จะปรับใช้ได้กับทุกเคสนะคะ แต่ละเคสมีลักษณะเฉพาะของตัวเอง ไม่แน่ใจว่าเคสของตัวเองควรจะทำยังไง หาคำแนะนำแต่เนิ่นๆ จะได้มีเวลาเตรียมตัวทำเคสแน่นๆ 5. รับผิดชอบชีวิตตัวเองด้วยนะคะ อย่าเอาชีวิตตัวเองไปฝากไว้กับคนอื่นอย่างเดียว (ไม่ได้แนะนำให้ทำเคสเองหรือไม่ทำเคสเอง ... ทำเองได้ถ้าสามารถ ... แต่หมายความว่าถ้าจะใช้บริการเอเจนต์ก็ติดตามเคสตัวเองด้วยว่าเคสไปถึงไหนแล้ว ต้องการอะไรเพิ่ม จะยื่นได้ทันเวลาไหม ... เราต้อง Proactive ค่ะ) ป.ล.1 คนเขียนชอบลูกความที่ Proactive ค่ะ โทรถาม โทรตาม โทรขออัพเดท โทรเช็คเอกสาร ไม่ว่าเลย ชอบด้วยซ้ำ ... ถามซ้ำเดิมๆก็ได้ สงสัยถามมา อธิบายแล้วอธิบายอีกก็ได้ไม่ว่ากัน แถม ตัวอย่างที่ 6 (เมื่อเร็วๆนี้เองค่ะ) น้องถือวีซ่านักเรียนที่กำลังจะหมด จะต่อวีซ่านักเรียน จ่ายเงิน ส่งเอกสาร รอเอเจนต์ยื่นเรื่องให้ รอแล้วรออีก โทรมาถามคนเขียนว่าทำยังไงดีคะ เอเจนต์ไม่ยื่นให้ซะที กังวลมากเหลืออีก 2 วันวีซ่าจะหมดอายุ คนเขียนแจ้งน้องให้ทราบว่าวีซ่านักเรียนหมด ก็ยังสามารถต่อวีซ่านักเรียนภายใน 28 วันได้หนึ่งครั้ง แต่อย่าสบายใจเพราะน้องอาจจะไม่ทราบว่าตัวเองเคยใช้สิทธิ์นี้มาแล้วหรือยัง เอเจนต์อาจจะเคยยื่นช้าแต่ไม่ได้แจ้งน้อง หรือถึงไม่เคยยื่นช้าเลย ทำไมจะต้องเคยด้วย ถ้าเรายังอยู่ในภาวะที่สามารถยื่นได้ทันเวลา สรุปว่าคนเขียนแนะนำให้น้องไปนั่งกดดันเอเจนต์ให้ยื่นให้ทันเวลา ไม่ยื่นไม่ต้องกลับ นั่งอยู่ที่นั่นแหละ (ไม่รู้ว่าน้องจะกล้ารึเปล่านะ) อีกทางเลือกนึง เปลี่ยนเอเจนต์ค่ะ ป.ล.2 คนเขียนไม่ได้โพสทุกคำถามคำตอบที่ส่งเข้ามานะคะ ถ้าข้อมูลไม่เพียงพอที่จะพิจารณาและให้คำตอบที่เอาไปปรับใช้ได้จริง ก็จะไม่ได้ตอบนะคะ Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com คนเขียนขอให้ข้อมูลที่น้องๆวีซ่านักเรียนควรทราบ และคำถามที่ถูกถามอยู่บ่อยๆไว้ในโพสต์นี้นะคะ
จริงๆแล้วมีประเด็นเยอะแยะมากมายค่ะ รวมถึงประสบการณ์ที่ต้องให้คำแนะนำน้องๆหลายคนที่พลาดไปเรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าจะทำไปเพราะไม่รู้ว่าผิดกฏ หรือรู้ทั้งรู้ว่าผิดกฏแต่ก็ยังทำ คนเขียนตั้งใจจะทำโพสต์นี้ตั้งนานแล้วล่ะค่ะ แต่ไม่ใช่นักเขียนมืออาชีพและไม่ค่อยมีเวลา โพสต์นี้เลยเพิ่งเกิด ยังไงจะทยอยลงให้ในลักษณะ ถาม - ตอบ นะคะ ____________________________________________________ Q1: อยากสอบถามเรื่องการทำงานเกินเวลาของนักเรียนที่ทำเกิน 20 ชั่วโมง ถ้าอิมเจอจะมีบทลงโทษยังไงบ้างคะ เงื่อนไข 8105 ระบุให้นักเรียนทำงานได้ 40 ชั่วโมงต่อสองอาทิตย์ในช่วงเวลาที่มีการเรียนการสอนค่ะ คิดง่ายๆก็คือ 20 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ ถ้าถูกจับได้ว่าทำงานเกินเวลา อิมก็อาจจะยกเลิกวีซ่าของเราได้ค่ะ ____________________________________________________ Q2: ถ้าอิมจะมาจับที่ทำงานจะจับเฉพาะบุคคลที่โดนแจ้งไป หรือเหมารวมพนักงานคนอื่นๆในร้านที่ทำด้วยกันมั๊ยคะ ไหนๆก็เสียเวลาและบุคลากรบุกมาถึงที่ทำงานทั้งที ส่วนใหญ่แล้วก็จะตรวจเช็คพนักงานคนอื่นด้วยค่ะ ว่ามีวีซ่าถูกต้องหรือไม่ ทำงานเกินเวลาหรือไม่ ถ้าเราถือวีซ่าถูกต้อง ทำงานไม่เกินเวลาก็ไม่มีอะไรต้องกังวลค่ะ ____________________________________________________ Q3: ขอวีซ่าเพื่อเรียนปริญญาโทมาจากไทย แต่เรียนไม่ไหวต้องการเปลี่ยนไปเรียน Certificate III, IV หรือ Diploma แทน ได้มั๊ยคะ วีซ่าสำหรับเรียนปริญญาโทเป็นวีซ่านักเรียน Subclass 573 แต่วีซ่าสำหรับเรียน Certificate III, IV หรือ Diploma เป็นวีซ่านักเรียน Subclass 572 ซึ่งเป็นวีซ่าคนละตัวกัน น้องจำเป็นต้องยื่นขอวีซ่านักเรียนใหม่ให้ถูก Subclass นะคะ การเปลี่ยนคอร์สเรียนแต่ละครั้งจึงควรเช็คให้แน่ใจก่อนว่าเราสามารถทำได้อย่างถูกต้องตามกฏ ถ้าเปลี่ยนคอร์สเรียนในลักษณะนี้ โดยไม่ขอวีซ่าใหม่ให้ถูกต้อง ก็อาจจะทำให้อิมยกเลิกวีซ่าเราได้นะคะ ถ้าไม่ถูกอิมจับได้ก่อนวีซ่าหมดอายุ เมื่อมีการขอวีซ่านักเรียนครั้งต่อไป อิมก็อาจจะใช้เหตุผลนี้ในการปฏิเสธวีซ่าได้เช่นกันค่ะ จริงๆแล้ว การเปลี่ยนคอร์สเรียน มีอยู่หลายสถานการณ์ด้วยกัน บางสถานการณ์ก็ไม่มีความจำเป็นต้องขอวีซ่าใหม่ คนเขียนขอแนบลิงค์จากอิมไว้ตรงนี้เลยนะคะ น้องๆจะได้อ่านและทำความเข้าใจว่าเราจำเป็นต้องขอวีซ่าตัวใหม่หรือไม่ หากต้องการเปลี่ยนคอร์สเรียน http://www.border.gov.au/Trav/Stud/More/Changing-courses _______________________________________________________ Q4: จริงๆมีเรียน 3 วันต่ออาทิตย์ แต่ไปเรียนแค่วันเดียว ที่เหลือทำงานเต็มเวลา จะมีปัญหามั๊ยคะ คนเขียนมีลูกความติดต่อมาด้วยเหตุผลประมาณนี้หลายคนเลยค่ะ บางคนก็ถูกยกเลิกวีซ่าไปเรียบร้อยแล้ว บางคนก็อยู่ในระยะเวลา 28 วัน ที่อิมให้แจ้งเหตุผลของการขาดเรียน และเหตุผลว่าทำไมอิมถึงไม่ควรยกเลิกวีซ่า สรุปว่ามีแนวโน้มสูงมากว่าวีซ่าจะมีปัญหาค่ะ และการช่วยเหลือในเคสแบบนี้ก็ไม่ง่ายเลยนะคะ ขอบอก เรื่องทำงานเต็มเวลาในช่วงที่คอร์สมีการเรียนการสอน ช่วยย้อนกลับไปอ่าน Q1 & Q2 นะคะ เรื่อง Attendance ถ้าไม่เจ็บป่วย หรือมีเหตุจำเป็นจริงๆ ไปเรียนเถอะค่ะ ถ้าเจ็บป่วย ก็ให้คุณหมอออก Medical Certificate ให้และเอาไปยื่นให้ทางโรงเรียนไว้เป็นหลักฐานในการขาดเรียนจะได้ไม่เกิดปัญหาภายหลัง คนเขียนแนะนำให้เก็บก๊อปปี้ Medical Certificate ไว้ด้วย เผื่อจำเป็นต้องใช้ในการพิสูจน์กันภายหลัง ถ้ามีเหตุจำเป็นที่จะต้องขาดเรียนด้วยเหตุผลอื่่นก็ควรจะติดต่อและตกลงกับทางโรงเรียนให้เรียบร้อยก่อนขาดเรียน คนเขียนแนะนำให้มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยเช่นกันค่ะ ถ้า Attendance ไม่ครบตามกำหนดโดยไม่มีเหตุผลที่อิมรับได้ อิมก็อาจจะยกเลิกวีซ่าได้นะคะ การยกเลิกในกรณีประมาณนี้ ส่วนใหญ่จะมีโบนัสพ่วงมาด้วย คือถูก Ban 3 ปีด้วย ทางที่ดีที่สุดก็คือปฏิบัติตัวเป็นนักเรียนที่ดี ทำให้ถูกกฏมาตั้งแต่ต้น นึกถึงคนที่เค้าส่งเรามาเรียน และเงินทองที่เสียไปให้มากๆ และถ้าคิดว่าคนอื่นยังทำได้เลยไม่เห็นมีปัญหา คนเขียนอยากบอกว่าดวงใครดวงมันนะคะ และคนที่เค้ายังไม่มีปัญหาตอนนี้ ก็ไม่ได้มีหลักประกันว่าเค้าจะไม่มีปัญหาในอนาคต น้องๆเมื่อได้วีซ่านักเรียนมาแล้ว อย่าดีใจจนลืมอ่านเงื่อนไขวีซ่า (Visa Conditions) ที่ระบุอยู่ในจดหมายแจ้งด้วยนะคะ ทำความเข้าใจเงื่อนไขแต่ละตัวอย่างละเอียด ถ้าไม่เข้าใจก็ควรสอบถามจากเอเจนต์ของเรา ในกรณีที่ไม่แน่ใจว่าเอเจนต์แนะนำได้ถูกต้องหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่นอ่านเองเข้าใจได้แบบนึง เอเจนต์บอกมาอีกแบบนึง ในกรณีนี้คนเขียนแนะนำให้โทรหาสถานทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย หรือ โทรหาอิมเลยค่ะ ที่ 131 881 (อย่าลืมว่าถ้าวีซ่าของน้องถูกยกเลิก เอเจนต์เค้าไม่ได้ต้องแพ็คกระเป๋ากลับบ้านเหมือนเรานะคะ) Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com ภาษาอังกฤษสำหรับ Subclass 485 Temporary Graduate & Subclass 476 Skilled - Recognised Graduate23/4/2015
คนเขียนนั่งพิมพ์หัวข้อนี้มาตั้งแต่วันจันทร์ แต่เนื่องจากฝนฟ้า พายุ ไฟดับ.... เลยพิมพ์ไม่เสร็จ ณ ตอนนี้ไฟก็ยังดับอยู่ ยังดีที่คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ คนเขียนก็พิมพ์ต่อใต้แสงเทียน ... หัวข้อนี้เลยมาแบบสั้นๆนะคะ กลัวแบตหมดก่อน เดี๋ยวจะพิมพ์ไม่เสร็จอีก เข้าเรื่องกันเลย นอกจากอิมจะปรับผลภาษาอังกฤษสำหรับวีซ่า 457 ให้ง่ายขึ้นแล้ว ภาษาอังกฤษสำหรับวีซ่า 485 และวีซ่า 476 ก็ได้รับการปรับเปลี่ยนให้ง่ายขึ้น (นิดนึง) ด้วยค่ะ ตั้งแต่วันที่ 18 April 2015 จากที่จำเป็นต้องใช้ IELTS 6 ทุกพาร์ท ก็เปลี่ยนเป็น ค่าเฉลี่ย (overall score) 6 โดยที่ทุกพาร์ทต้องไม่ต่ำกว่า 5 นอกจากนี้ผลภาษาอังกฤษจากการสอบแบบอื่นก็สามารถนำมาใช้แทนผล IELTS ได้ มีอะไรบ้าง เรามาดูกันนะคะ ถือว่าเป็นอีกข่าวดีสำหรับน้องๆนักเรียนที่สอบ IELTS มาหลายรอบแล้ว และเกือบจะ 6 ทุกพาร์ทแต่ไม่ถึงซักที
โน๊ตตัวโตๆ - สำหรับสาย Graduate Work Stream ซึ่งต้องยื่นผล Skills assessment อย่าลืมว่าหน่วยงานที่รับทำ Skills assessment ของบางสายอาชีพ ยังไม่ได้ปรับกฏภาษาอังกฤษให้เข้ากับกฏใหม่ของอิมนะคะ น้องๆที่เลือก หรือ Nominate สายอาชีพที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษสูงกว่าที่อิมกำหนดไว้สำหรับวีซ่าที่กล่าวถึง ก็ต้องสอบให้ได้ตามที่หน่วยงาน Skills assessment กำหนดไว้นะคะ เพราะถ้าทำ Skills assessment ไม่ผ่าน ก็ไม่ได้วีซ่าอยู่ดี จบข่าว เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและความต้องการทางด้านแรงงานของประเทศ ทางอิมมิเกรชั่น & รัฐบาลของประเทศออสเตรเลีย มีการปรับเปลี่ยนกฏหมายและนโยบายด้านคนเข้าเมืองอยู่เรื่อยๆค่ะ
โดยเฉพาะวันที่ 1 กรกฏาคม ของทุกปี จะเป็นวันที่(หลัก) ที่จะมีการเปลี่ยนแปลง อัพเดทกฏหมายและนโยบายทางด้านคนเข้าเมือง แล้ววันที่ 1 กรกฏาคม ปีนี้ (2014) จะมีอะไรเปลี่ยนบ้างล่ะ????? กฏหมายก็ทยอยๆออกมานะคะ คนเขียนก็ต้องอัพเดทอยู่เรื่อยๆ แต่ที่คนเขียนทราบ ณ ตอนนี้ ก็คือ 1. อาชีพ Chef จะเข้าไปอยู่ใน Skilled Occupations List หรือที่เรียกสั้นๆว่า (SOL) ผลของมันคืออะไร?? ก็คือคนที่มีอาชีพนี้ และ/หรือเรียนมาสายนี้ อาจจะสามารถขอวีซ่าแบบอิสระ (Independent) โดยไม่จำเป็นต้องมีนายจ้างสปอนเซอร์ได้ ถ้ามีคุณสมบัติอื่นๆเข้าข่ายตามที่กฏหมายกำหนดด้วยนะคะ คนที่เรียนมาสายนี้ แต่คุณสมบัติไม่พอที่จะขอ PR ได้ ก็อาจจะมีสิทธิขอวีซ่า 485 (Graduate Temporary visa) ได้ ซึ่งถ้าได้วีซ่ามา ก็สามารถอยู่และทำงานเต็มเวลาในประเทศออสเตรเลียได้อีก 18 เดือน ซึ่งก็อาจจะทำให้มีโอกาสในการขอพีอาร์ (PR) ได้ในอนาคต ไม่ว่าจะด้วยยื่นด้วยตัวเองผ่าน Independent visa หรือแบบนายจ้างสปอนเซอร์ 2. นอกจากอาชีพ Chef แล้ว ยังมีอาชีพ Bricklayer และ Wall and Floor Tiler ด้วยนะคะ ที่ได้รับการเพิ่มเข้าไปใน Skilled Occupations List (SOL) ผลของมันก็เหมือนกับข้อ 1. ค่ะ 3. อาชีพ Hydrogeologist และ Exercise Physiologist จะได้รับการเพิ่มเข้าไปใน Consolidated Sponsored Occupations List (CSOL) ผลของมันคืออะไร?? ก็จะเป็นอีก 2 อาชีพ ที่มีโอกาสได้รับการสปอนเซอร์จากนายจ้าง หรือรัฐบาลไงคะ 4. ผลของ Skills Assessment จะมีอายุได้ยาวที่สุดที่ 3 ปีค่ะ ถ้าผลของ Skills Assessment ระบุวันหมดอายุไว้สั้นกว่า 3 ปี ก็ให้เป็นไปตามนั้น ก่อนวันที่ 1 July 2014 Skills Assessment ไม่มีวันหมดอายุค่ะ เพราะฉะนั้นใครที่ Skills Assessment กำลังจะหมดอายุ ก็มี 2 ทางเลือกค่ะ ทำ Skills Assessment ใหม่อีกรอบ หรือยื่นขอวีซ่าก่อนวันที่ 1 กรกฏาคม 2014 เพื่อหลีกเลี่ยงที่จะต้องเข้าไปอยู่ในกฏใหม่นะคะ 5. มีข่าวมาตลอดหลายเดือนที่ผ่านมาว่าอาชีพ Accountant จะถูกลบออกจาก SOL แต่ ณ ตอนนี้ คนเขียนเข้าใจว่าอาชีพนี้จะยังอยู่ เพียงแต่ลดโควต้า หรือจำนวนคนที่อิมมิเกรชั่นจะออกวีซ่าให้ในอาชีพนี้จะน้อยลง แปลว่ารอนานขึ้นนั่นแหละค่ะ ติดตามอัพเดทได้ที่นี่ค่ะ Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com คงไม่มีใครอยากถูกยกเลิกวีซ่าหรอกนะคะ ทางที่ดีที่สุดคือตั้งใจเรียน ทำattendance ให้ครบตามจำนวนที่กำหนด สอบให้ผ่าน เพื่อที่จะได้ไม่เกิดปัญหา -- สรุปว่าปฏิบัติตามกฏ กติกา แล้วชีวีตจะปลอดภัย และอยู่ในออสเตรเลียได้อย่างมีความสุข
ในกรณีที่ปัญหาเกิดขึ้นแล้ว วีซ่านักเรียนได้ถูกยกเลิกไปเรียบร้อย ก็ไม่มีทางเลือกนอกจากต้องพยายามแก้ปัญหากันไป คนเขียนมีอดีตนักเรียนหลายคนที่ติดต่อเข้ามาเพราะวีซ่านักเรียนถูกยกเลิก บางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองอยู่แบบไม่มีวีซ่ามาเป็นปี ที่ติดต่อคนเขียนก็เพราะต้องการทำวีซ่าตัวอื่นเช่น วีซ่าคู่ครอง หรือวีซ่า 457 และก็ได้รู้ตอนที่เข้ามาคุยกับคนเขียนนั่นเองว่าตัวเองเป็นผี (แบบไม่รู้ตัวว่าเป็นผี) มานานมาก โชคดีที่ไม่ถูกจับ ส่งตัวกลับเมืองไทย กรณีที่เห็นบ่อยก็เช่น เปลี่ยนที่อยู่ และ/หรือ อีเมล์ แต่ไม่ได้แจ้งให้ทางโรงเรียนและอิมทราบ ผลก็คือไม่ได้รับจดหมาย หรือ Notification ที่ทางโรงเรียน หรืออิมส่งมา และวีซ่าก็ถูกยกเลิกในที่สุด ในกรณีที่ถือวีซ่าติดตามแฟน หากวีซ่าหลักถูกยกเลิก วีซ่าของคนที่ติดตามก็จะถูกยกเลิกตามไปด้วย สำหรับอดีตนักเรียนหมาดๆ ที่วีซ่าเพิ่งจะถูกยกเลิกไป เราต้องคิดเร็ว และทำเร็วค่ะ เพราะต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่ถือว่าได้รับ Notification ตามกฏหมาย คนเขียนเสียดายแทนน้องหลายๆคน ที่ปล่อยให้ตัวเองพลาดอุทธรณ์ -- ในหลายๆเคส แม้เจ้าตัวจะคิดว่าไม่มีหวัง เมื่อเข้ามาคุยกัน ให้คนเขียนสัมภาษณ์แบบเจาะลึก บางเคสต้องบอกว่ามีโอกาสมากที่จะได้วีซ่าคืน เพราะฉะนั้นอย่าเสียโอกาสค่ะ บางเคสก็เป็นเพียงแค่การชลอเวลากลับเมืองไทย สิ่งที่อยากจะบอกก็คือ อย่าเพิ่งถอดใจค่ะ และควรขอคำแนะนำจาก Professional โดยเร็วที่สุด มีน้องบางคนบอกว่าไปปรึกษา Migration Agent แล้ว แต่ Agent บอกว่าเคสไม่มีหวัง เลยไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ คนเขียนอยากจะเปรียบเทียบการใช้บริการด้านนี้กับการไปหาหมอ อะไรที่สำคัญกับชีวิตและอนาคต ก็ควรมี Second opinion หรือ Third opinion เพราะหมอแต่ละคนก็มีความเห็น มุมมอง และวิธีการรักษาแตกต่างกันไป ไม่ต่างจาก Immigration Lawyer หรือ Migration Agent หรอกค่ะ คนที่บอกว่าหมดหวัง เค้าอาจจะคิดแบบนั้นจริงๆ จะด้วยประสบการณ์ที่แตกต่าง มุมมองเฉพาะตัว หรืออาจจะไม่ได้สัมภาษณ์กันแบบเจาะลึก หลายๆครั้งเมื่อลงลึกในแต่ละเคส จากที่เหมือนจะไม่มีทางออกและหมดหวัง กลับกลายเป็นพอมีความหวัง แน่นอนว่าคงไม่มี Professional คนไหนรับประกันได้ว่าน้องจะได้วีซ่าคืนแน่ๆ แต่เมื่อมีความหวัง และยังอยากจะอยู่ที่นี่ต่อ ก็ต้องลุยไปข้างหน้า - ยื่นอุทธรณ์ (หรือไม่ก็แพ็คกระเป๋าเตรียมกลับบ้าน) Visa Cancellation ในความเห็นของคนเขียนถือเป็น Complex case คือเคสที่มีความซับซ้อน เนื่องจากว่าเมื่อวีซ่าถูกยกเลิกแล้ว ผลกระทบที่ตามมาก็คือ Section 48 Bar (คืออะไร?? อ่านได้ ที่นี่ ค่ะ) ยังไม่หมดค่ะ ยังถูก Bar ไม่ให้สมัครวีซ่าอีกหลายๆชนิด (รวมถึงวีซ่า 457) ในระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วีซ่าถูกยกเลิกด้วย ไม่ว่าจะยื่นใน หรือนอกประเทศออสเตรเลีย ในบางเคสก็อาจจะถูก Bar ด้วยกฏตัวอื่นๆเพิ่มขึ้นมาอีก เห็นมั๊ยคะว่าเคสวีซ่า Cancellation นั้นไม่ง่ายเลย ยื่นอุทธรณ์ไปแล้วก็ไม่ควรปล่อยเลยตามเลย แต่ควรมีการวางแผนการใช้ชีวิตระหว่างรอ เพื่อที่จะทำให้เคสของเรามีความหวังมากที่สุด และมองหา Backup plan แต่ละเคส Backup plan ไม่เหมือนกันค่ะ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เฉพาะตัวของเคสนั้นๆ Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com |
Author
Archives
December 2023
Categories
All
|