visa blog : สำหรับคนไทยค่ะ
  • Home
  • Blog

Q & A : 482 Chef - skills Assessment

29/6/2021

 
Q: ผมมีเรื่องรบกวน อยากสอบถามว่า วีซ่า 482 Chef ต้องทำ skill assessment ไหมครับ ถ้าเรียนจบ Cookery + diploma hospitality ขอบคุณมากครับ

A: ถ้าเรียนจบที่ออสเตรเลีย ไม่ต้องค่ะ 

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


แชร์ประสบการณ์ Partner visa

27/6/2021

 
วันนี้คนเขียนมาแชร์เคสวีซ่าคู่ครองที่ค่อนข้างซับซ้อน 2 เคส

เคสแรก

ลูกความรักกัน แต่งงานกันที่ไทย คนนึงตัดสินใจมาเรียนที่นี่ อีกคนทำงานอยู่ที่ไทย ต้องห่างกันนานหลายปี ระยะทางและความห่างเป็นปัญหา ไม่มีอะไรจะคุยกัน สุดท้ายหาเรื่องทะเลาะกัน ลงเอยที่การหย่ากันตามกฏหมายออสเตรเลีย

กลับมาเจอกันไม่นานหลังจากหย่า สรุปว่ายังรักกัน เปลี่ยนใจจะไม่หย่าแล้ว (คือคิดว่าแต่งที่ไทย หย่าที่ออสเตรเลีย ระบบไม่ลิงค์กัน ไม่บอกก็ไม่มีใครรู้) .... ไม่ทันแล้วค่ะ หย่าก็คือหย่า แต่งที่ไทยและหย่าที่ออสเตรเลียก็คือหย่าอย่างถูกต้องตามกฏหมาย ไม่ต่างอะไรกับการหย่าที่ไทย (ใครมีปัญหาคล้ายๆกัน และคิดว่าไทยกับออสเตรเลีย ระบบไม่ลิงค์กัน ไม่บอกก็ไม่มีใครรู้ว่าใครแต่งใครหย่า ขอร้องว่าอย่า shortcut ถ้าไม่อยากมีปัญหาให้ปวดหัวที่หลัง ... ปวดหัวมากด้วย PIC4020 การให้ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง false or misleading information ถ้าถูกเช็คเจอ ใบสมัครอาจจะถูกปฏิเสธพร้อมติดบาร์อีก 3 ปี)

เคสนี้ Strategy ของเราหลายสเต็ป เข้าตามตรอกออกตามประตูแบบสุดๆ ปัญหาคืออิมมิเกรชั่นอาจจะคิดว่าการหย่าก็แสดงให้เห็นอยู่แล้วว่าหมดรักกัน ไม่มั่นคงต่อกันจริงๆ (not a genuine and committed relationship) ประกอบกับลูกความอยู่กันคนละประเทศมานาน ทะเลาะกัน ห่างกัน หย่ากัน เอกสารพิสูจน์ความสัมพันธ์ก็น้อยมาก คำอธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์จึงเป็นเรื่องสำคัญมากๆสำหรับเคสนี้

เคสนี้เราทำงานด้วยกัน 4 ปีกว่า ตั้งแต่ลูกความหย่ากันยันได้พีอาร์ (Strategy ได้ผล ไม่มีถูกปฏิเสธ ไม่ต้องไปอุทธรณ์ เย้) ลูกความก็อยู่ซิดนีย์เหมือนคนเขียน แต่เราก็ไม่เคยเจอกัน 

เพราะฉะนั้นน้องๆที่ถามว่าเราจะทำงานด้วยกันยังไงเพราะน้องอยู่ไทย/อยู่ต่างรัฐ  คนเขียนอยู่ซิดนีย์ .... ทำได้ค่ะ ผ่านอีเมล์ + โทรศัพท์ (+ apps ต่างๆที่เหมาะสม)


เคสที่สอง

ลูกความคู่นี้ (หรือสองคู่นี้) ไม่ใช่คนไทยค่ะ แต่เป็นลูกความคนเขียนมา 10 ปีได้    ... เดี๋ยวนะ ... อย่าเพิ่งคิดว่าทำเคสยังไงใช้เวลา 10 ปี !

ลูกความเดิมทีเป็นคู่เหมือนค่ะ อายุต่างกันหลายสิบปี ตอนทำเคสนี้คนเขียนก็ว่าเสี่ยงอยู่แล้วเพราะอายุห่างกันมาก แต่ความรักไม่มีขอบเขต ไม่จำกัดเพศ ไม่จำกัดอายุใช่ไหม สรุปว่าผ่านค่ะ ได้พีอาร์สมใจ

วันดีคืนดีลูกความติดต่อมา
ลูกความ:   ชั้นเลิกกับแฟนแล้วนะ
คนเขียน:   อ้าว... เสียใจด้วยนะ
ลูกความ:   ไม่เป็นไร ชั้นมีแฟนใหม่แล้วนะ
คนเขียน:   ว้าว... ดีใจด้วยนะ
ลูกความ:   เป็นคนละเพศแล้วนะ และอยากให้ทำเคสให้
คนเขียน:   ......

อึ้งไปนาน หลังจากหายอึ้งก็สัมภาษณ์แบบเจาะลึก คนเขียนไม่ได้สงสัยว่าความสัมพันธ์ไม่ใช่เรื่องจริง เพราะเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง เราอยู่ในยุคที่เปิดกว้างและยอมรับว่าอะไรๆก็เป็นไปได้ทั้งนั้น  แต่กังวลแทนลูกความว่าอิมมิเกรชั่นจะคิดยังไงกับประวัติแบบนี้ บอกเลยว่าเป็นเคสความเสี่ยงสูง เคสอาจจะถูกปฏิเสธ เราอาจจะต้องไปถึงชั้นอุทธรณ์ สรุปว่าลูกความยืนยันว่าจะให้คนเขียนทำเคสให้ ...... สรุปว่าทำก็ทำ ... การวางแผนงาน (Strategy) การอธิบายความสัมพันธ์เป็นจุดสำคัญของเคสอีกแล้ว

Stage 1 ผ่านฉลุยอย่างรวดเร็ว
Stage 2 ถูกดอง 2 ปีกว่า
(อย่าคิดว่า Stage 2 เป็นอะไรที่ง่ายๆ แค่ยื่นเอกสารประมาณเดิมก็พอนะคะ ไม่เสมอไปค่ะ ลูกความที่ติดต่อมาหาคนเขียนหลังจากที่ถูกปฏิเสธ Stage 2 ก็เยอะ)

หลายครั้งที่ลูกความโทรมาถามว่าทำไมนานจังเลย เพื่อนยื่นทีหลังได้พีอาร์แล้ว โทรตามไหม อยากได้พีอาร์เร็วๆ  

คำอธิบายของคนเขียนคือ อย่าเอาเคสของตัวเองไปเทียบกับเคสเพื่อน เคสเพื่อนมีประเด็นแบบนี้ไหม (ไม่มี) Processing Centre หรือเจ้าหน้าที่คนเดียวกันไหม (ไม่ทราบ) 

สำหรับบางเคส (รวมถึงเคสนี้ด้วย) คนเขียนไม่ตามค่ะ อยากดองๆไป ในระหว่างถูกดองก็พัฒนาความสัมพันธ์ไป ถามว่าถ้าเคสแน่น อิมมิเกรชั่นจะเอาจุดไหนมาปฏิเสธ

ตามเร็วแล้วอาจจะถูกปฏิเสธ กับถูกดองแล้วอาจจะผ่าน เลือกเอา

ไม่มีใครอยากรอ อยากได้วีซ่าเร็วๆกันทั้งนั้น การที่ทนายความหรือเอเจนต์ตามเคสให้ ลูกความก็แฮ๊ปปี้เพราะดูเหมือนได้รับความเอาใจใส่ แต่บางเคสที่ไม่ได้ตาม ไม่ได้แปลว่าลืมหรือไม่ใส่ใจ .... ไม่มีใครต้องการให้ลูกความไม่แฮ๊ปปี้หรอกค่ะ 

การอีเมล์ตามเคสกับอิมมิเกรชั่น คนเขียนใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที + ลูกความแฮ๊ปปี้
คนเขียนใช้เวลา 15-30 นาที ในการอธิบายเหตุผลว่าทำไมถึงไม่ตามเคสให้ + ความเสี่ยงที่ลูกความก็จะยังไม่แฮ๊ปปี้ต่อไป
เพราะฉะนั้น ....... ถ้าตามเคสแล้ว มีผลดีกับเคส คนเขียนก็ทำไปแล้ว (make sense ไหมคะ)

บางเคสไม่มีใครตอบได้ว่าจะออกหัวหรือก้อย ทำได้แค่ดีที่สุด ถ้ารักกันจริงและไม่มีทางเลือกอื่น ก็ต้องลุยไปข้างหน้า ไม่ลองไม่รู้ (ใช่ไหม) ทั้ง 2 เคส คนเขียนวาง Strategy ให้ลูกความแบบคร่าวๆ ทราบอยู่แล้วว่าเคสแบบนี้เราคาดเดาไม่ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นระหว่างทาง แผนก็ต้องปรับเปลี่ยนกันไปตามหน้างาน คนเขียนไม่ชอบให้ความหวังลูกความ รับได้กับความเสี่ยงเราก็ทำงานด้วยกันได้ 

ทั้งสองเคสลูกความรู้ตั้งแต่ต้นว่าโอกาสที่เคสจะถูกปฏิเสธที่สเต็ปใดสเต็ปหนึ่งมีสูง คนเขียนไม่เคยรับประกันความสำเร็จของงาน ทำได้แค่ดีที่สุด ทั้งสองเคสเราผ่านในทุกสเต็ปค่ะ

ป.ล. นานๆทีก็จะมีน้องโยนหินถามทางมาว่าคนเขียนรับทำเคสจ้างแต่ง เพื่อนช่วยเพื่อน ญาติช่วยญาติไหม
ตอบกันชัดๆไปเลยนะคะ
  - ถ้าความสัมพันธ์ไม่ใช่เรื่องจริง ไม่รับทำเคส
  - ถ้ารับเคสมาแล้ว มาทราบระหว่างทาง ก็เลิกทำเคสระหว่างทาง
  - ถ้าความสัมพันธ์เป็นเรื่องจริง ต่อให้คบกันมาไม่นาน ต่อให้มีความยุ่งยากซับซ้อนแค่ไหน ถ้าคุณยอมรับความเสี่ยงได้ คนเขียนไม่มีปัญหาในการทำเคสให้ (คนเขียนไม่แคร์เรื่อง 100% success rate ถ้า play safe ตลอด ลูกความที่เคสยากแต่อยากลอง ก็พลาดโอกาส และคนเขียนก็พลาดโอกาสที่จะได้พัฒนาตัวเองด้วย)



Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


แชร์ประสบการณ์ อดีตลูกความที่ต้องปล่อย 1

26/6/2021

 
อดีตลูกความคนนี้ไม่ใช่คนไทย คนเขียนเริ่มทำเคสให้เมื่อ 10 กว่าปีก่อน

ลูกความจำวันหมดอายุของวีซ่านักเรียนผิดวัน .... รู้ตัวอีกที เป็นผีไป 6 เดือนแล้ว

คนเขียนใช้เวลาทำ Research หาข้อมูลไปหลายวัน ก่อนจะนัดลูกความคุย Strategy (แผน) การทำงานกัน 

คนเขียนบอกลูกความว่า Test case นะ ไปเจอช่องโหว่ ... ไม่มีกฏหมายบอกว่าห้ามทำ แปลว่าทำได้ ... ใช่ไหม?? ... ส่วนจะได้วีซ่ากลับมารึเปล่า ไม่ลองไม่รู้ แต่คิดว่าน่าจะรอด ..... ณ จุดนั้น ลูกความไม่มีอะไรจะเสียแล้ว นอกจากเงินและเวลา และยืนยันหนักแน่นว่ายังไงก็ไม่อยากกลับประเทศตัวเอง พ่อแม่ต้องโกรธมากถ้ารู้ว่าอยู่ๆกลายเป็นผี และเรียนไม่จบเพราะจำวันหมดอายุวีซ่าผิด  

Strategy แรก (แผน 1) ของเรา มี 3 สเต็ป ในระหว่างที่เราเริ่มสเต็ปแรก คนเขียนก็ทำ Research ต่อไปด้วย เผื่อเจอทางที่ดีกว่า และก็เจอทางที่ดีกว่าจริงๆ สเต็ปเดียวจบ (เหมือนเดิม บางทีกฏหมายก็ไม่ได้เขียนไว้ชัดเจนว่าทำได้ แต่ในเมื่อไม่มีตรงไหนบอกว่าห้ามทำ สำหรับคนเขียนแปลว่าทำได้)  ...... ถามว่าลูกความโกรธไหม ที่คนเขียนต้องการเปลี่ยนแผนหลังจากเริ่มงานแผนแรกไปแล้ว .... ไม่โกรธค่ะ ดีใจด้วยซ้ำที่คนเขียนหาทางที่ดูมีเปอร์เซ็นมากกว่า ง่ายกว่าและถูกกว่าให้ได้ ...... จริงๆก็ไม่ควรจะโกรธนะ เคสจะทำผีให้เป็นคน (จากคนไม่มีวีซ่าให้มีวีซ่าตัวที่เหมาะสม) ไม่ง่าย ถ้าไม่แคร์ไม่ใส่ใจ ก็คงไม่มานั่งทำ Research ต่อ ทั้งๆที่แผนแรกก็น่าจะเวิร์ค และลูกความก็ตัดสินใจทำแล้ว

สรุปว่าเราเปลี่ยนแผนระหว่างทางไปแผน 2 แทน .... คนเขียนต้องทำ Submissions เขียนเอกสารอธิบายข้อกฏหมายให้อิมมิเกรชั่นเข้าใจ ยาว 3 หน้ากระดาษ  อิมมิเกรชั่นก็ไม่เข้าใจอยู่ดี ยกหูหาคนเขียนเลย ร่ำๆจะปฏิเสธวีซ่า บอกว่ากฏหมายไม่ได้บอกว่าทำได้นะ ....  คนเขียนก็อธิบายไปสิ ทีละสเต็ป อย่างช้าๆ ถามอิมมิเกรชั่นเป็นระยะๆว่าที่อธิบายไปนี้เค้าเห็นด้วยกับคนเขียนไหม สรุปว่าเห็นด้วย ..... อ้าว ถ้าเห็นด้วย ก็ต้องออกวีซ่าให้สิ .... สรุปว่าขอ 10 นาทีเพื่อเช็คกับหัวหน้าอีกรอบก่อน แล้วจะโทรหาคนเขียนใหม่ ..... ครึ่งชั่วโมงผ่านไป .....  ไม่มีโทรศัพท์จากอิมมิเกรชั่น แต่มีอีเมล์แจ้ง Student visa grant letter ..... เย้

2 ปี ผ่านไป ... ลูกความติดต่อมาต้องการวางแผนทำพีอาร์ .... คนเขียนแนะนำวีซ่าที่เหมาะสม

1 ปี ผ่านไป ... ลูกความติดต่อมา พ่อแม่ให้ใช้เอเจนต์ชาติเดียวกัน และเอเจนต์แนะนำให้ยื่นวีซ่าอีกตัวนึงและตอนนี้ถูกปฏิเสธ เคสอยู่ชั้นอุทธรณ์ AAT .... ขอคำแนะนำต่อว่าควรจะเดินเคสยังไง คนเขียนก็แนะนำค่ะ แต่แอบกังวลว่าเคสจะไปรอดไหม คำแนะนำเป็น Technical: ข้อกฏหมาย และเทคนิคการทำเคสทั้งนั้น คนที่จะเอามาปรับใช้ก็ไม่ใช่คนเขียน แต่เป็นเอเจนต์ที่ลูกความใช้บริการอยู่ (เคสหลายๆเคส เราต้องตัดสินใจกันหน้างาน ตอนปัญหาเกิด ว่าจะยื่นอะไร ยื่นยังไง นำเสนอแบบไหน)

1 ปี ผ่านไป ... ลูกความติดต่อมา เคสยังอยู่ที่ชั้น AAT .... ที่แนะนำไปคราวที่แล้ว ไม่ได้ทำอะไรซักอย่าง [เสียเวลาไป 1 ปี โดยไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย] ... ขอคำแนะนำอีกแล้วว่าควรจะทำยังไงต่อ ... คนเขียนก็แนะนำอีกแล้วค่ะ แต่ในใจเริ่มคิดว่าแล้วว่าที่แนะนำไปนี่จะเวิร์คไหม เพราะเคสยากขึ้นเรื่อยๆ 

อีก 1 ปีครึ่ง ผ่านไป ... ลูกความแพ้ที่ชั้น AAT .... คนเขียนถามว่าที่แนะนำไป ไม่ได้เอาไปปรับใช้เลยสิ .... ลูกความบอกว่า ... ก็บอกเอเจนต์แล้ว แต่เค้าไม่ทำ .... ขอคำแนะนำอีกแล้ว

... คนเขียนทราบดีว่าลูกความไว้ใจคนเขียน ติดที่พ่อแม่ต้องการให้ใช้เอเจนต์ชาติเดียวกัน แต่ถามว่าลูกความได้อะไรจากการขอคำแนะนำ แนะนำอะไรไป ก็ไม่ได้เอาไปปรับใช้ หรือต่อให้ปรับใช้ก็ไม่ได้เต็มร้อย เพราะคนทำเคสไม่ใช่คนวางแผนงาน  ... สรุปว่าได้เวลาต้องปล่อยลูกความไปตามทางแล้วค่ะ



Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


Q & A : วีซ่า 187 กับการเรียน 5 ปี เพื่อยกเว้นผลภาษาอังกฤษ

25/6/2021

 
Q: พยายามสอบภาษาอังกฤษมาหลายรอบแล้ว แต่ไม่ผ่านซักที ได้ยินมาว่าวีซ่า 187 ยังใช้ผลการเรียน 5 ปี แทนผลภาษาอังกฤษได้อยู่ จริงไหมคะ

A: จริงค่ะ  สำหรับ 187 Temporary Residence Transition Stream (187TRT) เท่านั้น

แต่นโยบายการพิจารณาผลการเรียน 5 ปี ไม่นิ่ง ขึ้นอยู่กับการตีความของอิมมิเกรชั่นในแต่ละช่วงเวลา บางช่วงเวลาก็นับได้หมด ยกเว้น General English บางช่วงก็นับได้เฉพาะการเรียนระดับมัธยมและปริญญา .... จริงอยู่ นโยบายไม่ใช่ข้อกฏหมาย เราโต้เถียงได้ แต่ใครจะอยากเสี่ยงถูกปฏิเสธวีซ่า ถ้าไม่จำเป็น

เพราะฉะนั้น แนะนำว่าพยายามสอบภาษาอังกฤษ (เช่น IELTS, PTE) ให้ผ่านดีกว่าค่ะ ถ้าสอบไม่ผ่านจริงๆ ค่อยมาเสี่ยงใช้ผลการเรียน 5 ปี

 

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


    Author


    พี่เก๋ - กนกวรรณ ศุโภทยาน เป็นทนายความไทย และทนายความของประเทศออสเตรเลีย (Immigration Lawyer)

    มีประสบการณ์เป็นทนายความเฉพาะทาง ด้าน IMMIGRATION ของประเทศออสเตรเลีย รับวางแผนการขอวีซ่า ยื่นใบสมัครขอวีซ่าทุกประเภท ช่วยเหลือในชั้นอุทธรณ์ที่ Administrative Appeals Tribunal และในชั้นศาลค่ะ

    ต้องการคำแนะนำ หรือความช่วยเหลือ ติดต่อได้ที่ Immigration Success Australia
    mb: 0428 191 889 หรือ www.immigrationsuccessaustralia.com

    Archives

    July 2021
    June 2021
    March 2021
    February 2021
    January 2021
    December 2020
    November 2020
    October 2020
    September 2020
    July 2020
    June 2020
    May 2020
    April 2020
    March 2020
    February 2020
    March 2019
    January 2019
    November 2018
    October 2018
    August 2018
    July 2018
    June 2018
    April 2018
    October 2017
    September 2017
    August 2017
    May 2017
    April 2017
    August 2015
    April 2015
    December 2014
    September 2014
    August 2014
    June 2014
    March 2014
    January 2014
    October 2013
    September 2013
    July 2013
    June 2013

    Categories

    All
    วีซ่า
    อุทธรณ์
    วีซ่าคู่ครอง
    101
    102
    103
    143
    173
    186
    187
    190
    300
    309
    4020
    408
    445
    457
    462
    476
    482
    485
    489
    491
    500
    870
    AAT
    Accountant
    Administrative Appeals Tribunal
    Adoption Visa
    Approved Nomination
    Australia
    Australian
    Australian Citizenship
    Australian Immigration
    Bar
    Bricklayer
    Bridging Visa
    Bridging Visa A
    Bridging Visa E
    BVA
    BVE
    Changes To Immigration Law
    Changing Courses
    Chef
    Child Visa
    Consolidated Sponsored Occupations List
    COVID 19
    COVID-19
    CSOL
    Decision Ready
    Decision-ready
    Decision Ready Application
    Decision-ready Application
    De Facto Relationship
    Employer Sponsored
    English Exemption
    ENS
    Exercise Physiologist
    Family
    Family Violence
    Federal Circuit Court
    Graduate Work
    GTE
    Hydrogeologist
    Ielts
    Immigration
    Immigration Lawyer
    Judicial Review
    Jurisdictional Error
    Migration Agent
    Migration Review Tribunal
    MRT
    Nomination
    Orphan Relative Visa
    Overstay
    Parent
    Partner Visa
    PIC 4020
    Post Study Work
    Processing Period
    Protection Visa
    Public Interest Criteria
    Public Interest Criterion
    Regional Australia
    Regional Visas
    Registered Migration Agent
    Rma
    RSMS
    Section 48
    Section 48 Bar
    Self Sponsorship
    Skilled Migration
    Skilled Occupations List
    Skilled Work Regional
    Skills Assessment
    SOL
    Sponsor
    Sponsorship
    Student Visa
    Substantive Visa
    Training
    Tsmit
    Unlawful
    Visa Cancellation
    Visa Refusal
    Wall And Floor Tiler
    Working And Holiday Visa

    RSS Feed

Powered by Create your own unique website with customizable templates.