visa blog : สำหรับคนไทยค่ะ
  • Home
  • Blog

แชร์ประสบการณ์ และสาระพันข้อเตือนใจ

21/8/2014

 
คนเขียนได้รับความไว้วางใจให้ช่วยเหลือลูกความท่านหนึ่ง (เรียกว่าครอบครัวหนึ่งดีกว่า เพราะมีสมาชิกหลายคนอยู่) คุณลูกความถูกปฏิเสธวีซ่า 457 มา และเรื่องอยู่ที่ชั้นอุทธรณ์ MRT คุณลูกความถามว่ามีทางรอดไหม ทนายที่ทำเรื่องให้ไม่ใส่ใจเลย อยากให้คนเขียนดูแลเคสที่ MRT ให้ หลังจากคนเขียนศึกษาเคส นั่งคิดนอนคิดอยู่หลายตลบ ได้ตอบกลับไปว่ายากค่ะ ยื่นใหม่ง่ายกว่า แต่ก็ยังยากอยู่ดี แค่ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับการลุยต่อในชั้นอุทธรณ์เท่านั้นเอง  โน๊ตตัวโตๆ กรุณาอย่ายึดเอาประโยคข้างต้นเป็นสรณะ คนเขียนไม่ได้หมายความว่าทุกเคสที่ถูกปฏิเสธแล้วยื่นใหม่ง่ายกว่าที่จะไปสู้ที่ชั้นอุทธรณ์ แต่ละเคสมีสถานะภาพ และสถานการณ์ที่ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นทางออกย่อมไม่เหมือนกัน

         ข้อเตือนใจที่ 1 -
อย่าเอาเคสคนอื่นมาเปรียบเทียบ หรือมาปรับใช้กับเคสเรา เราอาจจะมีสถานะภาพและสถานการณ์หลายๆอย่างคล้ายเคสเพื่อนเรา แต่รับรองได้ว่าไม่มีสองเคสไหนที่เหมือนกันเด๊ แต่ละเคสจึงควรได้รับการวินิจฉัยอย่างละเอียด โดยไม่เอาไปเปรียบเทียบกับเคสของคนอื่น


รายละเอียดในเคสนี้มีมากค่ะ เล่าไปสามวันก็ไม่จบ และก็ไม่เล่าด้วยเพราะขี้เกียจพิมพ์ สั้นๆคือทนายคนที่ช่วยเหลือคุณลูกความในการยื่นครั้งที่ถูกปฏิเสธมานี่ (ไม่ใช่คนเขียนนะ ขอบอก) ยื่นเอกสารที่ขัดแย้งกันอยู่ในตัวเข้าไป เห็นเอกสารแล้ว ถ้าคนเขียนเป็นอิมก็คงปฏิเสธเคสนี้เหมือนกัน

สรุปว่าคุณลูกความไว้ใจให้ทำเคสให้ค่ะ คนเขียนแนะนำว่ายื่นใหม่ แต่คิดว่าเก็บเคสเดิมที่ MRT ไว้เป็น Backup ก่อน ก็ยื่นไปแล้ว เสียตังค์ไปแล้วนี่ แต่ที่เก็บไว้ก่อนนี่ไม่ได้เผื่อชนะนะคะ เพราะไม่คิดว่าจะรอด แต่เก็บไว้เพื่อประโยชน์อื่น (ประโยชน์อะไรเอ่ย ยาวค่ะ ขอเป็นคราวอื่นนะคะ เดี๋ยวจะแหวกแนวจนงงว่าพูดเรื่องอะไรกันแน่)

ทำเคสนี้เครียดค่ะ มากด้วย เพราะถ้าพลาด สมาชิกในครอบครัวได้แพ๊คกระเป๋ากลับบ้านกันทั้งครอบครัว เคสนี้อยู่ในระดับยากมากถึงมากที่สุด
ก็เอกสารที่อิมมีอยู่แล้ว (ไอ้ที่มันขัดกันเองอยู่น่ะ) จะทำยังไงให้มันหายไปล่ะ ไม่ต้องคิดมากค่ะ ไม่ใช่คำถามแต่เป็นประโยคบอกเล่า สรุปว่าเอกสารที่อิมมีอยู่แล้ว มันไม่มีทางหายไปได้ มันยากตรงนี้แหละ จะยื่นเอกสารยังไงให้ถูกต้องตามกฏหมาย ไม่ขัดแย้งกับของเดิมที่ก็ขัดแย้งกันอยู่ในตัว และเข้าข่ายที่จะได้วีซ่า สัมภาษณ์เจาะลึกถึงลึกที่สุดเท่านั้นค่ะ แล้วเอาข้อมูลมาประกอบกับข้อกฏหมายและนโยบายปัจจุบัน รวมถึงคำวินิจฉัยต่างๆของศาล ยื่นเอกสารที่มีคำตอบอยู่ในตัว และอุดช่องโหว่ทุกช่องที่คิดได้ (แต่ถ้าคุณไม่รู้ว่าอะไรคือช่องโหว่ คุณก็คงไม่หาทางอุดเนอะ บางอย่างสอนกันไม่ได้ค่ะ ประสบการณ์และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น)

สรุปว่าเคสนี้ผ่านไปได้ด้วยดี แต่ขอบอกว่าหินมาก ลูกความดีใจมาก คนเขียนก็ดีใจมากเช่นกันที่ส่งคุณลูกความ (และครอบคร้ว) ถึงที่หมาย เหมือนยกภูเขาออกจากอก จากนี้ก็ได้แต่หวังว่าคุณลูกความจะไม่ทำชีวิตตัวเองให้ยุ่งยากขึ้นมาอีกในช่วง 2 ปีที่รอยื่นขอ PR (อย่าคิดว่าคนเขียนพูดเล่นนะคะ หลายๆคนมีความสามารถมากมายในการทำชีวิตให้มีสีสัน และยุ่งยากต่อการช่วยเหลือ)

        ข้อเตือนใจที่ 2 -
เลือกให้ดี
บางครั้งการเลือกทนายหรือเอเจนต์ ก็เหมือนการเลือกคู่ เลือกได้ดีก็ดีไป เลือกได้ไม่ดี กว่าจะรู้ก็เสียเงินเสียเวลา และอาจจะถึงเสียอนาคตด้วย  อ่านวิธีการเลือกทนายหรือเอเจนต์ได้ที่นี่ 

        ข้อเตือนใจที่ 3 -
เมื่อเลือกได้แล้ว เข้าใจล่ะว่าเราไว้ใจเค้าในระดับหนึ่ง แต่กรุณาอย่าปล่อยทุกอย่างให้อยู่ในมือทนายหรือเอเจนต์ ชีวิตเรา อนาคตเราที่ฝากไว้กับเค้า ตามงานบ้าง ถามบ้างว่าเค้าตั้งใจจะยื่นเอกสารอะไร เอกสารหน้าตาเป็นอย่างไร อย่างน้อยเค้าจะได้ทราบว่าเราใส่ใจ เผื่อเค้าคิดอยู่ว่าจะทำงานแบบเรื่อยๆเฉื่อยๆ เค้าก็อาจจะตั้งใจทำงานมากขึ้นนะ

        ข้อเตือนใจที่ 4 -
อย่ายื่นเอกสารให้ทนายหรือเอเจนต์เอาวินาทีสุดท้าย เหลือเวลาให้เค้าทำงานบ้าง มีความตั้งใจทำงานอย่างเดียวไม่พอนะคะ ต้องมีเวลาด้วย  ให้เวลาเค้า = เพิ่มโอกาสให้เราได้วีซ่า
                       
ขอสารภาพว่าคนเขียนแอบตุ่ยๆกับคุณลูกความท่านนี้เล็กน้อย เพราะต้องตามงานกันบ่อยครั้ง (ไม่ใช่ลูกความตามคนเขียนนะ แต่คนเขียนต้องตามคุณลูกความ ก็เล่นเงียบหายไปเป็นระยะๆ) เข้าใจละว่าเค้าไว้วางใจเรา แต่ไม่ให้ข้อมูลไม่ให้เอกสาร ประกอบกับคนเขียนนั่งเทียนไม่เป็น สรุปว่างานมันไม่เดิน แต่ Deadline มันไม่รอ ก็ต้องมีการเตือนกัน (อย่างพี่เตือนน้องนะ แอบดุ แต่ด้วยความหวังดี) ว่าอย่าให้คนตั้งใจทำงานเสียความตั้งใจนะจ๊ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องวีซ่าเป็นเรื่องอนาคตของเรา เราซึ่งเป็นเจ้าของเรื่องต้องใส่ใจและจัด Priority ให้ถูกต้อง  ถ้าคุณลูกความท่านนี้มาอ่านคงรู้ว่าคนเขียนหมายถึงเค้านะ  ขอบอกว่าอย่าคิดมากน้อง ไม่มีใครรู้ว่าน้องคือใคร ยกเว้นน้องจะไปบอกใครๆว่าพี่เค้าหมายถึงชั้นเองล่ะเทอ  (ซึ่งจริงๆ พี่อาจจะพูดถึงเคสอื่นที่มีข้อมูลใกล้เคียงกันอยู่ก็ได้ เพราะลูกความพี่ส่วนใหญ่ก็เป็นกลุ่มที่ชอบสร้างสีสันให้ชีวิตซะด้วย) อีกอย่างคือคิดซะว่าเราได้ร่วมด้วยช่วยกันให้ข้อมูล แชร์ข้อคิดกับคนอื่นๆที่อาจจะอยู่ในสถานะการณ์ใกล้เคียงกับเราเนอะ
 
        ข้อเตือนใจที่ 5 -
ทนายหรือเอเจนต์ ไม่มีเวทมนต์นะจ๊ะ ทำได้แค่เต็มที่ นี่พูดถึงคนที่มีใจรักงานและมีความจริงใจกับลูกความนะคะ จะให้มารับปากว่าผ่านแน่ ได้วีซ่าแน่ เป็นไปไม่ได้ เพราะทนายหรือเอเจนต์ไม่ใช่คนตัดสินเคส คนที่หวังจะได้ยินประโยคสวยหรูให้ความหวัง รับประกันว่าได้วีซ่าแน่ คุณจะไม่ได้ยินประโยคพวกนี้จากคนที่มีจรรยาบรรณในการทำงาน เพราะฉะนั้นอย่าให้ใครมาหลอกเรา และที่สำคัญเราอย่าหลอกตัวเอง มีความหวังได้ แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง เข้าใจสถานะภาพและสถานการณ์ที่แท้จริงของเราเองดีที่สุด


Hope for the best and prepare for the worst - Good luck, everyone.

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com

    Author


    พี่เก๋ - กนกวรรณ ศุโภทยาน เป็นทนายความไทย และทนายความของประเทศออสเตรเลีย (Immigration Lawyer)

    มีประสบการณ์เป็นทนายความเฉพาะทาง ด้าน IMMIGRATION ของประเทศออสเตรเลีย รับวางแผนการขอวีซ่า ยื่นใบสมัครขอวีซ่าทุกประเภท ช่วยเหลือในชั้นอุทธรณ์ที่ Administrative Appeals Tribunal และในชั้นศาลค่ะ

    ต้องการคำแนะนำ หรือความช่วยเหลือ ติดต่อได้ที่ Immigration Success Australia
    mb: 0428 191 889 หรือ www.immigrationsuccessaustralia.com

    Archives

    December 2023
    November 2023
    October 2023
    July 2023
    September 2022
    July 2022
    January 2022
    December 2021
    November 2021
    October 2021
    September 2021
    July 2021
    June 2021
    March 2021
    February 2021
    January 2021
    December 2020
    November 2020
    October 2020
    September 2020
    July 2020
    June 2020
    May 2020
    April 2020
    March 2020
    February 2020
    March 2019
    January 2019
    November 2018
    October 2018
    August 2018
    July 2018
    June 2018
    April 2018
    October 2017
    September 2017
    August 2017
    May 2017
    April 2017
    August 2015
    April 2015
    December 2014
    September 2014
    August 2014
    June 2014
    March 2014
    January 2014
    October 2013
    September 2013
    July 2013
    June 2013

    Categories

    All
    วีซ่า
    อุทธรณ์
    วีซ่าคู่ครอง
    101
    102
    103
    143
    173
    186
    187
    190
    300
    309
    4020
    408
    417
    445
    457
    462
    476
    482
    485
    489
    491
    494
    500
    870
    AAT
    Accountant
    Administrative Appeals Tribunal
    Adoption Visa
    Agriculture Visa
    Approved Nomination
    Australia
    Australian
    Australian Citizenship
    Australian Immigration
    Bar
    Bricklayer
    Bridging Visa
    Bridging Visa A
    Bridging Visa E
    BVA
    BVE
    Changes To Immigration Law
    Changing Courses
    Chef
    Child Visa
    Consolidated Sponsored Occupations List
    COVID 19
    COVID-19
    CSOL
    Decision Ready
    Decision-ready
    Decision Ready Application
    Decision-ready Application
    De Facto Relationship
    Employer Sponsored
    English Exemption
    ENS
    Exercise Physiologist
    Family
    Family Violence
    Federal Circuit Court
    Graduate Work
    GTE
    Hydrogeologist
    Ielts
    Immigration
    Immigration Lawyer
    Judicial Review
    Jurisdictional Error
    Migration Agent
    Migration Review Tribunal
    MRT
    Nomination
    Orphan Relative Visa
    Overstay
    Parent
    Partner Visa
    PIC 4020
    Post Study Work
    Processing Period
    Protection Visa
    Public Interest Criteria
    Public Interest Criterion
    Regional Australia
    Regional Visas
    Registered Migration Agent
    Rma
    RSMS
    Section 48
    Section 48 Bar
    Self Sponsorship
    Skilled Migration
    Skilled Occupations List
    Skilled Work Regional
    Skills Assessment
    SOL
    Sponsor
    Sponsorship
    Student Visa
    Substantive Visa
    Training
    Travel Exemption
    Tsmit
    Unlawful
    Visa Cancellation
    Visa Refusal
    Wall And Floor Tiler
    Working And Holiday Visa

    RSS Feed

Powered by Create your own unique website with customizable templates.