visa blog : สำหรับคนไทยค่ะ
  • Home
  • Blog

HOT NEWS วีซ่าที่ไม่ต้องขอ Travel Exemption ตั้งแต่วันที่ 1 December 2021

22/11/2021

 
ประกาศข่าวดี -- เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 December 2021

คนที่ถือวีซ่าต่อไปนี้  ถ้าฉีดวัคซีนครบแล้ว ไม่ต้องขอ Travel Exemption 

ฉีดวัคซีนครบแล้ว หมายถึง ......


1. ฉีดวัคซีนต่อไปนี้ 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 14 วัน (ฉีดไขว้ได้)

  • AstraZeneca Vaxzevria
  • AstraZeneca Covishield
  • Pfizer/Biontech Comirnaty
  • Moderna Spikevax
  • Sinovac Coronavac
  • Bharat Biotech Covaxin
  • Sinopharm BBIBP-CorV (for 18-60 year olds)
2. ฉีด 1 เข็ม

  • Johnson & Johnson/ Janssen-Cilag COVID Vaccine
3. ฉีดวัคซีนครบ อย่างน้อย 7 วันก่อนเดินทาง

4. ถ้าฉีดไม่ครบ ยังต้องขอ Travel Exemption


วีซ่าที่ว่าคือ


Subclass 200 – Refugee visa
Subclass 201 – In-country Special Humanitarian visa
Subclass 202 – Global Special Humanitarian visa
Subclass 203 – Emergency Rescue visa
Subclass 204 – Woman at Risk visa
Subclass 300 – Prospective Marriage visa
Subclass 400 – Temporary Work (Short Stay Specialist) visa
Subclass 403 – Temporary Work (International Relations) visa (other streams, including Australian Agriculture Visa stream)
Subclass 407 – Training visa
Subclass 408 – Temporary Activity visa
Subclass 417 – Working Holiday visa
Subclass 449 – Humanitarian Stay (Temporary) visa
Subclass 457 – Temporary Work (Skilled) visa
Subclass 461 – New Zealand Citizen Family Relationship visa
Subclass 462 – Work and Holiday visa
Subclass 476 – Skilled – Recognised Graduate visa
Subclass 482 – Temporary Skill Shortage visa
Subclass 485 – Temporary Graduate visa
Subclass 489 – Skilled – Regional (Provisional) visa
Subclass 491 – Skilled Work Regional (Provisional) visa
Subclass 494 – Skilled Employer Sponsored Regional (Provisional) visa
Subclass 500 – Student visa
Subclass 580 – Student Guardian visa (closed to new applicants)
Subclass 590 – Student Guardian visa
Subclass 785 – Temporary Protection visa
Subclass 790 – Safe Haven Enterprise visa
Subclass 870 – Sponsored Parent (Temporary) visa
Subclass 988 – Maritime Crew visa

อนาคต จะมีประเภทวีซ่าเพิ่มอีก และมีการเปลี่ยนแปลงอีก ติดตามเงื่อนไขการเข้าเมืองในช่วงโควิดได้ที่นี่

และอย่าลืมเช็คเงื่อนไขการกักตัวของแต่ละรัฐก่อนเดินทางด้วยนะคะ



Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com


แชร์ประสบการณ์ Consultation & Section 48 Bar

4/9/2021

 

น้องลูกความเคสนี้ ไม่ใช่คนไทยค่ะ  Referred มาจากอดีตลูกความที่คนเขียนเคยทำ 457 และ 186 ให้ และน้องเป็นซิติเซ่นไปเรียบร้อยแล้ว

น้องเริ่มมาปรึกษาคนเขียนหนแรกปี 2018


  • น้องถือวีซ่า 457 และต้องการยื่นพีอาร์  ENS 186
  • หลังจากซักถามกันอยู่พักนึง คำแนะนำของคนเขียนคือ น้องมีทุกอย่าง ยกเว้น Competent English ซึ่งน้องจะต้องมีก่อนยื่นวีซ่า สรุปคือยังขอพีอาร์วีซ่า 186 ไม่ได้
  • น้องถามว่า แล้วจะทำไงเพราะ 457 ใกล้หมดอายุ และอิมมิเกรชั่นก็ยกเลิกวีซ่าประเภท 457 ไปแล้ว ยื่นอีกไม่ได้แล้ว
  • คนเขียนแนะนำว่าน้องยื่น 482 ได้ และไม่ได้กระทบกับการขอพีอาร์ 186 ในอนาคต แต่ต้องยื่น 186 ก่อน mid-March 2022 เนื่องจากเป็นเคส Transitional arrangements

ปี 2019 นายจ้างของน้อง ติดต่อมาหาคนเขียน

  • สรุปว่านายจ้างและน้องตัดสินใจยื่น 482 Nomination & visa applications ..... DIY ... ทำเองค่ะ !!!!
  • คนเขียนไม่เคยทำเคสให้นายจ้างหรือน้องลูกความ และไม่ได้คาดหวังว่าลูกความจะต้องมาใช้บริการ แต่ก็ไม่คิดว่าจะทำกันเอง  ใจกล้ามากค่ะ .... เคสนายจ้างสปอนเซอร์มีหลายประเด็นที่ต้องระวัง พลาดนิดเดียว เคสปลิวได้เลย
  • สรุปว่า Nomination ผ่าน แต่วีซ่าไม่ผ่าน
  • อ่านคำตัดสิน และขอเอกสารต่างๆมานั่งดู ทำ Research และเช็คข้อกฏหมาย (ใช้เวลาไป 3 ชั่วโมง ชาร์จลูกความ 1 ชั่วโมง)
  • คำแนะนำของคนเขียนคือ ถูกปฏิเสธเพราะประโยคเดียวที่น้องเขียน (นายจ้างช่วยเขียน เพราะคิดว่าจะช่วยเคส) ประโยคเดียวจริงๆ จบเคสนี้ไปเลย ..... ปกติแล้วพออ่านคำตัดสิน คนเขียนจะพอเห็นแนวทางการโต้เถียง แล้วเราค่อยมา Perfect เคสกันระหว่างรอ Hearing จะชนะ หรือไม่ชนะ ไม่รู้ แต่อย่างน้อยเราเห็นแนวทาง .... แต่สำหรับเคสนี้ ณ ตอนให้คำปรึกษา คนเขียนคิดไม่ออกจริงๆว่าจะเถียงกับ AAT ยังไงให้เคสรอด
  • การทำเคสเอง บางทีก็เจอแบบนี้ เจ้าตัวคิดว่าเขียนอย่างนี้ ต้องช่วยเคสแน่ๆ ปรากฏว่าสำหรับเคสนี้ ไม่ใช่เลย ตายสงบ ศพไม่สีชมพู ศพเกรียม
  • ด้วยสถานการณ์เฉพาะของเคสนี้ คนเขียนบอกลูกความตามตรงว่าเคส AAT มีความหวังน้อย  แต่เห็นวิธีที่น้องลูกความจะไม่ติด section 48 และสามารถยื่นวีซ่าต่อในประเทศออสเตรเลียได้ ในระหว่างยื่นอุทธรณ์ และถือ ฺBridging visa (เห็นไหมว่าแคร์ คิดว่าเคส AAT อาจจะไม่รอด ก็ยังพยายามหาทางอื่นเผื่อไว้ให้)

และ ... ใช่แล้วค่ะ อ่านไม่ผิด .... ไม่ใช่ทุกเคสที่ถูกปฏิเสธ และถือ Bridging visa แล้วจะต้องติด Section 48 Bar

บางเคส น้องยังอยู่ในภาวะที่ยังสามารถทำอะไรซักอย่างให้ตัวเองไม่ติด Section 48 Bar ได้ (เช่นเคสนี้)

บางเคส กว่าน้องจะมาถึงคนเขียน ก็เลยช่วงเวลาที่จะทำอะไรซักอย่างได้แล้ว แต่การสัมภาษณ์เจาะลึกเพื่อที่จะเข้าใจ timeframe ต่างๆในชีวิตน้อง (หมายถึง timeframe ของวีซ่า) อาจจะช่วยให้คนเขียนพิจารณาได้ว่าจริงๆแล้วน้องติดหรือไม่ติด Section 48 Bar

       
สรุปว่า .... ส่วนใหญ่แล้ว เคสที่ถูกปฏิเสธวีซ่า เคสรออุทธรณ์ และลูกความถือ Bridging visa จะติด Section 48 Bar คือยื่นวีซ่าส่วนใหญ่ในประเทศออสเตรเลียไม่ได้   ..... แต่ (ตัวโตๆ) ... ไม่เสมอไป


  • เคสนี้ คนเขียนแนะนำแนวทางเพื่อที่น้องจะไม่ติด Section 48 Bar ให้ทราบ
  • นายจ้างอีเมล์ตอบกลับมา .... ขอบคุณคนเขียน และบอกว่าไปปรึกษาทนายอีกคน และเค้ามีแนวทางและความเห็นไม่เหมือนคนเขียน และความเห็นของทนายคนนั้นคือ .. บลา ..บลา ...บลา
  • คนเขียนตอบไปว่า ความเห็นและคำแนะนำของคนเขียนยังเหมือนเดิม จะทำตามหรือไม่ทำตาม แล้วแต่คุณ
  • คนเขียนไม่มีหน้าที่มา Justify ความเห็นของตัวเอง ทุกครั้งที่มีคนเห็นต่าง ไม่ว่าจะเป็นทนายความ หรือเอเจนต์ท่านอื่น หรือเพื่อนของลูกความ คนเขียนใช้เวลาในการอ่านเคส ในการวิเคราะห์ อ่านข้อกฏหมาย และ Research ในแต่ละเคสก่อนให้คำแนะนำเสมอ .... สำหรับเคสนี้ ใช้เวลาไป 3 ชั่วโมง .... คุณจะเชื่อ และเอาแนวทางไปปรับใช้ หรือจะไม่เชื่อ และไม่เอาแนวทางไปปรับใช้ ก็เป็นสิทธิ์ของคุณ

ปี 2021 น้องลูกความที่เป็นแฟน (วีซ่าติดตาม ในภาษาน้องๆคนไทย) ติดต่อมาขอนัดปรึกษาสำหรับเคสตัวเอง และไม่ได้ท้าวความอะไรเกี่ยวกับเคสข้างบนเลย

แต่พอส่งเอกสารมา คนเขียนเห็นชื่อคนถือวีซ่าหลัก คนเขียนนึกเคสออกเลยว่าเคสไหน เคสหน้าตาเป็นยังไง เคยให้คำแนะนำอะไรไว้กับคนถือวีซ่าหลัก และนายจ้าง (ขนาดไม่เคยทำเคสให้นะ บางเคส คนเขียนก็มี Photographic memory เคสนี้จำรายละเอียดเคส และคำแนะนำของตัวเองในปี 2018 & 2019 ได้ โดยไม่ต้องดูเอกสารย้อนหลัง !!!  สมองเป็นอะไรที่แปลกมาก)


  • สรุปว่า 2 ปีผ่านไป เคสน้องยังอยู่ที่ AAT 
  • สรุปว่า ที่แนะนำให้ทำ เพื่อที่จะไม่ติด Section 48 Bar ไม่ได้ทำ (เพราะเมื่อปี 2019 ทำตามคำแนะนำของทนายอีกท่านนึง)  ... สรุปว่าติด Section 48 Bar
  • ตอนนี้คนถือวีซ่าหลักจะยื่น 186 ก็ยังยื่นไม่ได้ เพราะเคสยังค้างอยู่ที่ AAT และภาษาอังกฤษก็ยังไม่มี
  • น้อง (คนติดตาม) ต้องการให้ดูว่าเค้าจะสมัครเป็นคนถือ 482 หลักได้ไหม เพราะตอนนี้มีนายจ้างต้องการสปอนเซอร์ 
 
ปัญหาคือ


  1. น้องติด Section 48 ฺBar ต้องบินออกไปยื่นแบบนอกประเทศออสเตรเลีย
  2. น้องจะขอ Bridging visa B ผ่านรึเปล่า เพราะปัญหา COVID-19 ถ้าเหตุผลไม่ดีจริง อิมมิเกรชั่นอาจจะไม่ให้ออก
  3. ถ้าได้ Bridging visa B มา .... ออกไปแล้ว จะกลับเข้ามาได้รึเปล่า มีน้องๆหลายคนที่ออกไปแล้วด้วย Bridging visa B นี่แหละ และก็ติดอยู่นอกประเทศเลย เพราะ COVID-19 และขอ Travel Exemption ไม่ผ่าน
  4. ถ้ายินดีที่จะติดอยู่นอกประเทศ รอ 482 ออก .... แล้วถ้า Nomination และ/หรือวีซ่า 482 ถูกปฏิเสธล่ะ (และเคส AAT ของคนที่ถือวีซ่าหลัก ดูแนวโน้มแล้วมีโอกาสไม่รอดสูง เพราะประโยคๆเดียว)

ถ้าตอนปี 2019 น้อง action อย่างที่คนเขียนแนะนำ น้องก็จะไม่ติด Section 48 Bar น้องคนติดตามก็ยื่น 482 ในประเทศออสเตรเลียได้ และก็จะได้ ฺBridging visa มาถืออีกหนึ่งตัว ถ้าเคสผ่าน ปัญหาที่มีอยู่ก็จบ ถ้าเคสไม่ผ่าน น้องก็ยังยื่นอุทธรณ์ได้ พัฒนาเคสตัวเองต่อไปในออสเตรเลีย (hindsight is a wonderful thing) แต่ตอนนี้ทำแบบนั้นไม่ได้แล้ว

ป.ล. ทนายความและเอเจนต์แต่ละคน มีสไตล์การทำงานไม่เหมือนกัน มองเคสไม่เหมือนกัน วาง Strategy การทำเคสไม่เหมือนกัน คุณมั่นใจคนไหน คุณใช้บริการคนนั้น หรือทำตามคำแนะนำของคนนั้น

คนเขียนจบเคสอุทธรณ์ AAT 186/187 Nomination & Visa applications ไป 3 เคส (ชนะทั้ง 3  เคส และ 2 ใน 3 เคสนี้ เป็น Self Sponsor) จะแชร์ประสบการณ์ให้อ่านกันในโพสหน้านะคะ  ..... ขอบคุณที่ติดตามค่ะ


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com



น้องคนไหนส่งอีเมล์มา ช่วยอ่านหน่อยค่ะ

25/7/2021

 
น้องคนไหนส่งคำถามมาทางอีเมล์ น้อยมากที่คนเขียนจะไม่ตอบ และส่วนใหญ่จะตอบภายใน 1-3 วัน (แล้วแต่ความยุ่งและโอกาสของแต่ละวัน) ถ้าไม่ได้รับอีเมล์ตอบกลับ

  1. เช็ค Junk or Spam mailbox
  2. เช็ค Mailbox เต็มหรือเปล่า ปกติจะลองส่งใหม่ 2-3 รอบถ้ายังเด้งกลับมาเพราะเมล์เต็ม คนเขียนก็ไม่ทราบจะทำยังไง
  3. ใครส่งคำถามผ่าน "Contact us" จาก Immigration Success Australia website พิมพ์อีเมล์ตอบกลับของตัวเองให้ถูกต้องด้วย

ส่วนน้อยที่คนเขียนจะไม่ตอบอีเมล์ ก็เช่น คำถามกว้างๆสั้นๆ ประมาณ "หนูอยากทำพีอาร์ค่ะ"  "ผมอยากไปออสเตรเลีย ต้องทำยังไง"  ถ้าให้ข้อมูลมาแค่นี้ บอกตามตรงว่าไม่ทราบว่าจะตอบยังไงเหมือนกัน จะให้อธิบายวีซ่าทุกประเภทก็คงไม่ไหว

เพราะฉะนั้น

สั้น กระชับ ได้ใจความ = ตอบได้ ตอบ | ถ้าตอบไม่ได้ เพราะรายละเอียดไม่พอ ต้องดูเอกสาร หรือต้องอธิบายกันยาว คนเขียนจะแจ้งรายละเอียดของการทำคอนซัลในอีเมล์ตอบกลับเลย

คนเขียนเป็นประเภทม้วนเดียวจบนะคะ ตอบกลับไปกลับมาทีละประโยค  สองประโยค ไม่ใช่สไตล์การทำงานของคนเขียน ถ้าไม่ทราบว่าจะเขียนยังไงให้สั้น กระชับ ได้ใจความ โทรเลยค่ะ 5 นาที Free advice


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


Q & A : วีซ่า 186 TRT Restaurant Manager ทำไมรอนาน

14/7/2021

 
Q: มีเรื่องอยากปรึกษา เกี่ยวกับ 186ens

หนูเคยถือ 457 restaurant managerใช้ visa หมดแล้ว 4 ปีคะ ตอนนี้ยื่น 186 ens สถานะ bridging อยู่คะ รอ pr มาแล้ว 2 ปี ไม่มีความเคลื่อนไหวที่จะผ่าน state 1 เลยคะ ขอเอกสารไปเมื่อ ปี xxxx  แล้วก้อเงียบ ตรวจสุขภาพแล้ว มี ielts เรียบร้อย เรื่องเงียบไปนานมาก เพราะอาจติดในเรื่อง covid จน xxx ที่ผ่านมา ขอเอกสารอีกเยอะเลยคะ แล้วก้อมี จม.ยืนยันจากร้านแล้วว่า sponsor เราไหว ทั้งๆที่ผ่านวิกฤติที่ปิด dine in เปิดแค่ takeaway covid มาแล้ว (ตัวหนูสงสัยนิดนึงคะ ว่าทำไมเค้ากดดันเรา แทนที่เค้าจะเห็นใจร้านว่าผ่านอะไรมาบ้าง) ร้านฟื้นตัวได้ดีนะคะหลังจาก covid ก้อส่งเอกสารยืนยันไปทั้งหมดแล้วว่า เราขายได้แบบมีกำไรมาบ้างไม่น่าเกียจ แต่ก้อยังเงียบคะ

ช่วงหนึ่งก้อเข้าใจ  แบบที่บทความพี่บอกว่าเราไม่ใช่ first criteria แต่หลังจาก covid ซา เมื่อต้นปีเพื่อนที่ได้ ielts พอๆ กับเรา 2-3 คน (chef) pr ผ่านหมดเลย บางคนยอดขายร้าน drop ด้วย ยังผ่าน เลยกังวลมากๆเลยคะว่าเกิดอะไรขึ้นกับ case เรา ( .... รายละเอียดอื่นที่เกี่ยวกับเอเจนต์ของน้อง คนเขียนไม่ลงในนี้นะคะ...เผื่อเอเจนต์มาอ่าน อาจจะทราบว่าน้องคือใคร เดี๋ยวจะเคืองกันซะเปล่าๆ...) 

ที่อยากจะถามคือ

- 186 รอนานสุด กี่ปีคะ ? (รอจนท้อมากเลยคะตอนนี้)
- เรา chat ถาม immi ใน web เกี่ยวกับความคืบหน้า visa ของเราได้มั้ยคะ ? (กลัวถามแล้ว เดี๋ยว visa โดน reject)
- ถ้าโดนปฎิเสธในช่วงนี้ โดนแบบไหนกันบ้างคะ?  (เพราะรู้สึกว่าตัวร้าน และหนูเองก้อ ค่อนข้างครบ) แต่ก้อเกรงๆว่า จะโดนหาเรื่องปฏิเสธจนได้



A: สงสารคนรอนาน .... แต่น้องเอาเคส Restaurant Manager ไปเทียบกับ Chef ไม่ได้ค่ะ เพราะ
1. Restaurant Manager อยู่ใน STSOL
2. Chef อยู่ใน MLTSSL และตอนนี้อยู่ใน PMSOL (priority list)  - เคสไปเร็วกว่าแน่นอน

ทำไมอิมมิเกรชั่นถึงขอเอกสารเพิ่มมากมาย
1. เพราะคนออสซี่ตกงานกันเยอะ อิมมิเกรชั่นต้องการทราบว่ายังจำเป็นไหมที่จะต้องสปอนเซอร์พนักงาน
2. เพราะเศรษฐกิจแย่ ร้านอยู่ได้ไหม และจะมีเงินจ่ายพนักงานที่ถือ 186 (น้องนั่นเอง) ไปอีก 2 ปีไหม

- 186 รอนานสุด กี่ปี?  .... ตอบไม่ได้เพราะคนเขียนไม่มีข้อมูลภาพรวมจากอิมมิเกรชั่น (เคยได้ยินมาว่าบางเคสรอไป 3-4 ปี ก็ยังรออยู่ แต่คนเขียนไม่ทราบว่าปัญหาของเคสเค้าคืออะไร)

ที่ตอบได้คือเคสของคนขียนเอง เคส 186 TRT Restaurant Manager (อาชีพเดียวกันกับน้อง) ที่ยื่นช่วงโควิด
.... เรายื่น Nomination & visa applications September 2020 และ
.... Nomination approved and 186 visa granted June 2021 ..... สรุปว่า 9 เดือนค่ะ (เคสนี้เป็น Cafe ด้วย ความเสี่ยงสูงกว่า Restaurant แต่เราพยายามทำเคสให้แน่นที่สุด และ Hope for the best)


- เรา chat ถาม immi ใน web เกี่ยวกับความคืบหน้า visa ของเราได้มั้ยคะ .... คนเขียนไม่ทราบว่าน้องหมายถึงตรงไหนของ Web และไม่คิดว่าเป็นช่องทางที่ถูกต้อง ..... และถ้ามีเอเจนต์ดูแลอยู่ ไม่ควรติดต่ออิมมิเกรชั่นเองค่ะ ควรจะเช็คกับเอเจนต์ ถ้าเหมาะสม เค้าคงจะตามให้ หรือเค้าโอเคไหมถ้าน้องจะลองตามเคสเอง .... คนทำงานจะดูแลเคสลำบากถ้าลูกความติดต่ออิมมิเกรชั่นเอง โดยเฉพาะ complex case ที่ strategy การทำงานเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเราจะไม่ทราบเลยว่าลูกความให้ข้อมูลอะไรอิมมิเกรชั่นไปบ้างที่อาจจะสร้างปัญหาให้เคส  และถ้าคิดว่าเอเจนต์ไม่ดูแล ก็ถอนเคสไปใช้บริการคนที่น้องคิดว่าจะดูแลน้องได้ดีกว่า (ไม่ได้ประชดนะคะ หมายความตามนี้จริงๆ ถ้าไม่มั่นใจในตัวคนดูแล ต้องหาคนดูแลใหม่ค่ะ) แต่เท่าที่อ่าน คนเขียนว่าเอเจนต์ของน้องก็ใส่ใจนะคะ Proactive ด้วยซ้ำ เอกสารที่คนเขียนไม่ได้เอ่ยถึงในโพสนี้ แต่น้องเขียนมาในอีเมล์ คนเขียนคิดว่าควรรอจนอิมมิเกรชั่นขอค่ะ (ป.ล. เอเจนต์และทนายความแต่ละคน ก็มีสไตล์การทำงานต่างกันนะคะ)

- ถ้าโดนปฎิเสธในช่วงนี้ โดนแบบไหนกันบ้างคะ? .... การเงินของร้าน (มีสถานะทางการเงินดีพอที่จะสปอนเซอร์น้องต่อไปอีก 2 ปีหรือไม่) ประวัติการสปอนเซอร์โดยรวม เอกสารการทำงานของน้องกับร้าน ระยะเวลาการทำงานของน้องกับร้าน ผลภาษาอังกฤษของน้องมีก่อนยื่นไหม .... ยื่นเอกสารครบดีแล้วค่ะ แต่เอกสารต้องมีคุณภาพด้วยนะคะ   


เอาใจช่วยนะคะ ขอให้น้องได้รับข่าวดีเร็วๆนี้


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com



NEWS อิมมิเกรชั่นเตรียมออกวีซ่าให้โดยไม่ต้องเดินทางออกนอกประเทศ

12/2/2021

 
ข่าวดีสำหรับหลายๆคน ....... อิมมิเกรชั่นประกาศมาแล้วนะคะว่า

ตั้งแต่วันที่ 27 February 2021 --- อิมมิเกรชั่นคาดว่าจะออกวีซ่าต่อไปนี้ให้ได้ในประเทศออสเตรเลีย (ผู้สมัครไม่ต้องออกไปรอนอกประเทศ)


  • Partner (subclass 309) visa
  • Prospective Marriage (subclass 300) visa
  • Dependent Child (subclass 445) visa
  • Child (subclass 101) visa
  • Adoption (subclass 102) visa

และตั้งแต่วันที่ 24 March 2021 --- ก็คาดว่าจะออกวีซ่าต่อไปนี้ให้ได้ในประเทศออสเตรเลีย

  • Contributory Parent (subclass 143) visa
  • Contributory Parent (subclass 173) visa
  • Parent (subclass 103) visa

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


Q & A : Bridging visa E ต้องขอก่อนหรือหลังวีซ่าหมด

7/11/2020

 
Q: อยากสอบถามเรื่อง Bridging Visa E ค่ะ พอดีว่าติด Section 48 bar จาก 485 visa refusal แล้วต้องกลับไทยภายใน 28 วัน แต่ว่ายังหาไฟลท์กลับไทยไม่ได้ เลยต้องการยื่นขอ BVE ไม่ทราบว่าต้องขอก่อนหรือหลังวีซ่าหมดหรอคะ

A: ถ้าตอนนี้ถือ BVE อยู่แล้ว = ต่อก่อนวีซ่าหมด
ถ้าตอนนี้ถือวีซ่าอื่น เช่น BVA = ต่อวันถัดไปหลังวีซ่าหมด (เช่น BVA หมดวัน 14, ยื่นใบสมัคร BVE วันที่ 15)

ป.ล.1    วีซ่าถูกปฏิเสธ น่าจะมี 35 วันนะคะ ไม่ใช่ 28 วัน ลองเช็ค VEVO ดูอีกครั้งว่าวีซ่าหมดวันไหนแน่
ป.ล.2    ในกรณี 485 ถูกปฏิเสธ น่าจะมีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์นะคะ ลองพิจารณาดูว่าเป็นเคสที่ควรจะยื่นอุทธรณ์หรือไม่



Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


NEWS for 485 Temporary Graduate visa

18/9/2020

 
รัฐบาลออกกฏใหม่มา เพื่อปรับให้เข้ากับสถานการณ์ COVID-19

มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันพรุ่งนี้ 19 September 2020 โดยอนุญาตให้

1. ในช่วง COVID-19 (สิ้นสุดเมื่อไหร่ยังไม่ได้กำหนดวัน)
2. ยื่นใบสมัครวีซ่า 485 จากนอกประเทศออสเตรเลียได้ (อยู่ไทยก็ยื่นได้)
3. ตอนที่วีซ่าออก จะอยู่ในหรือนอกออสเตรเลียก็ได้
4. ถ้าตอนที่วีซ่าออก อยู่นอกประเทศออสเตรเลีย ระยะเวลาของวีซ่าจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่เดินทางเข้ามาที่ออสเตรเลีย (ไม่ใช่วันที่ได้วีซ่า)
5. สำหรับคนที่อยู่นอกประเทศออสเตรเลียในช่วง 1 February 2020 - 19 September 2020 เพราะกลับเข้ามาที่ออสเตรเลียไม่ได้เนื่องจาก COVID-19 อนุญาตให้ยื่นใบสมัครได้ภายใน 12 เดือนหลังจากเรียนจบ (ปกติ 6 เดือน)

เพิ่มเติม: 

ผลภาษาอังกฤษสำหรับวีซ่า 485 เป็น "Time of Application" criterion = เป็นเอกสารที่ต้องมีก่อนยื่นใบสมัครวีซ่า 

เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 รัฐบาลประกาศเมื่อเดือนสิงหาคม อนุญาตให้ยื่นผลภาษาอังกฤษตามหลังได้  ..... แต่โน๊ตว่า ณ วันที่เขียนโพสนี้ มีแค่ประกาศจากรัฐบาล ยังไม่มีกฏหมายมารองรับ เพราะฉะนั้นถ้าไม่จำเป็นจริงๆ คนเขียนแนะนำให้มีผลภาษาอังกฤษก่อนยื่นค่ะ


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com



NEWS for Student visa วีซ่านักเรียน

20/7/2020

 
วันนี้รัฐบาลได้ออกมาประกาศแนวทางในการช่วยเหลือคนที่ถือวีซ่านักเรียน และคนที่ต้องการสมัครวีซ่านักเรียนตามนี้นะคะ

1. รัฐบาลจะเริ่มพิจารณาใบสมัครวีซ่านักเรียนที่ยื่นแบบนอกประเทศออสเตรเลียแล้วนะคะ โดยระบุว่าพอเปิดประเทศ นักเรียนจะได้ทำเรื่องเดินทางเข้ามาได้เลย

2.  ถ้า COVID-19 เป็นสาเหตุให้เรียนไม่จบคอร์สที่ลงไว้ตามวีซ่านักเรียนเดิม สามารถยื่นขอต่อวีซ่านักเรียนได้โดยไม่ต้องเสียค่ายื่น

3. การเรียนแบบออนไลน์จากนอกประเทศออสเตรเลีย ก็อนุญาตให้นับรวมได้สำหรับการยื่น Post-Study Work visa

4. จะอนุญาตให้คนที่ต้องการขอ Post-Study Work visa ยื่นจากนอกประเทศออสเตรเลียได้ ถ้าไม่สามารถเข้ามายื่นแบบในประเทศออสเตรเลียเพราะ COVID-19

5. จะมีการขยายเวลาสำหรับการยื่นผลภาษาอังกฤษในกรณีที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19

โน๊ตว่านี่เป็นประกาศจากรัฐบาล ซึ่งบางข้อยังไม่สามารถนำมาปรับใช้ได้ ต้องรอการปรับแก้กฏหมายก่อนนะคะ แต่ก็ถือเป็นข่าวดีค่ะ


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


แชร์ประสบการณ์ Subclass 186 visa

11/7/2020

 
โพสนี้ Advance อีกแล้ว เป็นเคส 457 Transitional arrangements ต่อยอดไป 186

Transitional arrangements คืออะไร ???


  • คือกฏเก่า สำหรับคนที่ ณ วันที่ (หรือก่อนวันที่) 18 April 2017 ถือ 457 หรือคนที่ยื่นใบสมัครไปแล้วและอยู่ระหว่างรอผลการพิจารณาและในที่สุดก็ได้ 457 มาครอง
  • เงื่อนไขคือ ทำงานกับนายจ้างในตำแหน่งที่ได้รับการสปอนเซอร์อย่างน้อย 2 ปี ก็จะขอ 186 / 187 ได้ โดยไม่ต้องกังวลว่าตอนยื่น 186 / 187 สาขาอาชีพจะยังอยู่ในลิสสำหรับยื่น 186 / 187 หรือไม่ (ไม่เกี่ยวเลย)

เคสนี้เรายื่น Nomination และ 457 visa application เดือน March 2017 ปรากฏว่าเดือน April 2017 (ระหว่างการพิจารณา) กฏเปลี่ยนครั้งใหญ่ก็มา แบบไม่บอกล่วงหน้า บอกปุ๊บก็บังคับใช้เลย

  • หลายสาขาอาชีพหายไปจากลิสสำหรับการสปอนเซอร์ = สาขาอาชีพของลูกความก็หายไปด้วย !
  • กฏเปลี่ยนนี้บังคับใช้ทั้งกับเคสใหม่ และเคสที่อยู่ระหว่างการพิจารณาด้วย = ลูกความก็โดนด้วยสิ !!
  • คนเขียนก็ทั้งเหวอและมึน อยู่ๆก็เจอ Dead case ซะอย่างงั้น

คนเขียนก็ได้รับจดหมายจากอิมมิเกรชั่นเชิญให้นายจ้างถอน Nomination application ถ้าไม่ถอน ก็จะถูกปฏิเสธ เพราะสาขาอาชีพถูกตัดออกไปจากลิสแล้ว ยังไงก็อนุมัติไม่ได้ ..... ทำยังไงดีล่ะ??? ..... ก็ถอนเรื่องสิคะ ไม่มีทางเลือก

และเมื่อไม่มี Nomination วีซ่า 457 ก็ไปต่อไม่ได้ ถ้าไม่ถอนเรื่องก็จะถูกปฏิเสธ ..... ลูกความร้องไห้ อนาคตหายวับไปกับกฏเปลี่ยน ..... คนเขียนก็บอกลูกความแบบมึนๆว่า อย่าเพิ่งถอน Visa application นะ ขอคิดก่อน (มันต้องมีทางสิ)

จริงๆคนเขียนไม่ต้องทำอะไรเลยก็ได้ เพราะหน้าที่ในความรับผิดชอบของตัวเองก็ทำไปแล้ว ยื่น Decision Ready application รอแค่ผลการพิจารณาอย่างเดียว กฏเปลี่ยนกะทันหัน เป็นอะไรที่อยู่นอกเหนือการควบคุม ..... แต่ ..... ในเมื่อมาเป็นลูกความกันแล้ว เราก็ต้องไม่ทิ้งกันใช่ไหม

หลังจากหายเหวอ หายมึน ก็ใช้เวลาคิดและทำ Research ไปหลายอาทิตย์ (ไม่ใช่แค่หลายวัน) ..... ฟรีด้วย ไม่ได้คิดตังค์เพิ่ม ส่วนนึงเพราะสงสารลูกความ อีกส่วนเพราะการหาทางช่วย Dead case มันท้าทาย เหนื่อยแต่สนุก

คิดอยู่หลายทาง บางทางก็แพ๊งแพงและเสี่ยงมาก ..... และแล้วไอเดียบรรเจิดก็มา เรายื่น Nomination ใหม่ นายจ้างเดิม ตำแหน่งเดิม (เคสนี้ลูกความขยับไปตำแหน่งอื่นไม่ได้ เพราะเป็น Skills ที่เฉพาะทางมากๆ) ..... ลูกความก็สุดแสนจะไว้ใจ ให้คนเขียนลองอะไรใหม่ๆ  คือจริงๆลูกความก็ไม่มีอะไรจะเสียแล้ว ถ้าลองอาจจะได้วีซ่า ถ้าไม่ลองก็เป็น Dead case แพ๊คกระเป๋ากลับบ้าน

สรุปว่าอิมมิเกรชั่นใช้เวลาพิจารณา Nomination ใหม่ไอเดียบรรเจิดของคนเขียนไปเกือบปี ในที่สุดคุณลูกความก็ได้วีซ่า 457 มาครอง (ไม่มีขอเอกสารเพิ่ม แต่คิดนานมากกกกก) ..... รอ 1 ปี ได้วีซ่า 2 ปี

ทำไมคนเขียนแนะนำให้ลูกความไม่ถอนเรื่อง ทั้งๆที่ถ้าไม่ถอนเรื่องอาจจะถูกปฏิเสธวีซ่า ..... เพราะลูกความยื่นใบสมัคร 457 ก่อนที่กฏจะเปลี่ยน ถ้าวีซ่าผ่านขึ้นมา ลูกความก็จะเข้า Transitional arrangements (ทำงานกับนายจ้างครบ 2 ปี มีสิทธิ์ยื่นขอพีอาร์ไม่ว่าสาขาอาชีพจะอยู่ใน Short term list หรือ Medium/Long list หรือหายไปจากลิสก็ตาม) แต่ถ้าถอนเรื่องแล้วยื่นใหม่ สาขาอาชีพใน Short term list จะต่อยอดไป 186 ไม่ได้ (Strategy การทำงานสำคัญเสมอ)

และแล้วลูกความก็ทำงานครบ 2 ปี ได้เวลายื่นพีอาร์ ถ้าวันนั้นถอดใจไม่ยอมเสี่ยงลุยต่อ คงไม่มีวันนี้ที่ลูกความจะได้ยื่นพีอาร์ ..... แต่ปัญหาไม่จบสิ ..... ใครที่เคยยื่น 457 หรือ 482 และรอยื่นพีอาร์ คงพอทราบว่าการยื่น Nomination นายจ้างจะต้องพิสูจน์ว่าเงินเดือนที่เสนอให้เราเป็น Annual Market Salary Rate คือจะต้องไม่ต่ำกว่าเงินเดือนที่จ่ายลูกจ้างออสซี่ที่ทำงานตำแหน่งเดียวกับเรา หรือถ้าไม่มีลูกจ้างที่เป็นออสซี่ ก็ต้องไปหาหลักฐานอย่างอื่น (ตามที่กฏหมายกำหนด) มาโชว์ว่าเงินเดือนที่เสนอให้เรามันสมเหตุสมผลและเป็นราคาตลาด

เนื่องจากเคสนี้ ทั้งบริษัทมีแค่ Director และมีลูกจ้างเพียงคนเดียวคือลูกความ ไม่มีลูกจ้างออสซี่เลย และลูกความทำงานในตำแหน่งที่ใช้ Skills เฉพาะทางมากๆ หาหลักฐาน Annual Market Salary Rate ตามที่กฏหมายกำหนดไม่ได้เลย ..... ไอเดียบรรเจิดก็ต้องมี งานโฆษณาชวนเชื่อก็ต้องมา และก็ลุ้นกันต่อว่าจะรอดหรือไม่รอด

สรุปว่ารอดค่ะ ยื่น February 2020 ก่อน COVID-19 .... ทั้ง Nomination & วีซ่า 186 ผ่านเมื่อวันก่อน (แบบไม่ขออะไรเพิ่มเลย) ..... 5 เดือนพอดี  บริษัทนี้ก็ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ต้องปิดชั่วคราวและขาดรายได้เหมือนหลายๆธุรกิจ ซึ่งหลายๆเคสตอนนี้อาจจะเจอขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตำแหน่งที่ยื่นขอ เช่นยังจำเป็นต้องมี ต้องสปอนเซอร์ไหม และสถานะการเงินดีพอที่จะจ่ายค่าแรงหรือไม่ (เตรียมตัวกันไว้ด้วยนะคะ)

หลายๆคนที่ถือ 457 Transitional arrangements (ทำงานครบ 2 ปี ยื่นขอพีอาร์ได้) อาจจะสงสัยว่า ถ้าได้วีซ่ามาแค่ 2 ปี จะยื่น 186 ได้ไหม หรือต้องต่อ 482 ไปก่อน คำตอบคือถ้า Manage ดีๆ ไม่มี unpaid leave เลย และตอนที่ได้วีซ่า 457 ก็อยู่ในประเทศออสเตรเลียและทำงานกับนายจ้างอยู่แล้ว มีความเป็นไปได้สูงค่ะ (case by case)


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


Subclass 186 in progress

9/7/2020

 
สำหรับน้องๆที่ยื่น Subclass 186 คงทราบว่าช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากปัญหา COVID-19 อิมมิเกรชั่นไปโฟกัสที่สาขาอาชีพที่อยู่ใน Critical sectors เช่นหมอ พยาบาล 

ใครที่ยื่นในสาขาอาชีพ Non-critical sectors ก็รอกันไป

ข่าวดีคืออิมมิเกรชั่นเริ่มพิจารณา Subclass 186 non-critical occupations แล้วนะคะ เมื่อวานคนเขียนก็ได้แจ้งข่าวดีกับลูกความไป .... เคสนี้เรายื่นเดือน February และวีซ่าออกเมื่อวาน ....  ก็ 5 เดือนพอดีค่ะ

เคสนี้ยากและประสบปัญหามาตั้งแต่การยื่นวีซ่า 457 เดี๋ยวว่างๆคนเขียนจะมาแชร์ประสบการณ์ให้อ่านกันนะคะ

ใครที่กำลังรอเรื่องอยู่ ก็ทำใจร่มๆนะคะ เดี๋ยวก็ถึงคิวเรา

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


TASMANIA - 491 - Category 3A Overseas Applicant (TSOL)

4/6/2020

 
คนเขียนโพสเกี่ยวกับ Tasmania อีกแล้ว  ไม่ได้สนใจรัฐนี้เป็นพิเศษนะคะ พอดีอ่านผ่านตาข่าวล่าสุดวันนี้ ก็เลยมาแจ้งให้ทราบ

Bad news สำหรับวีซ่า 491 ใน Category 3A Overseas Applicant (TSOL)

เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 Tasmania  ตัดสินใจจะไม่พิจารณาใบสมัครใน Category 3A ใครที่ยื่นใบสมัครไว้ ก็น่าจะเริ่มได้รับอีเมล์เกี่ยวกับการคืนเงินค่าสมัคร $220 กันเร็วๆนี้ ข่าวไม่ได้แจ้งว่า High demand occupations จะยังได้รับการพิจารณาหรือไม่

รัฐให้เหตุผลว่า สถานการณ์ COVID-19 ตอนนี้คาดเดาไม่ได้ว่าจะส่งผลกระทบเศรษฐกิจและสาขาอาชีพที่ขาดแคลนยังไง และยังต้องคิดถึงผลกระทบจาก International travel bands ด้วย

โน๊ตว่า Subclass 491 - Skilled Work Regional (Provisional) Visa สำหรับ Tasmania แบ่งเป็น 5 categories (โดย Category 3 แยกย่อยเป็น 3A และ 3B) ตอนนี้หยุดการพิจารณาเฉพาะ Category 3A Overseas Applicant (TSOL) เท่านั้น แต่อนาคตเราไม่รู้ และก็น่าคิดว่ารัฐอื่นจะมีแนวทางคล้ายๆกันหรือไม่

ส่วน Category 2 ที่ผู้สมัครต้องพิสูจน์การทำงาน full-time 6 เดือน ทางรัฐจะพิจารณายืดหยุ่นเงื่อนไขให้ถ้าการจ้างงาน full-time ได้รับผลกระทบจาก COVID-19

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com

TASMANIA ประกาศให้ความช่วยเหลือคนถือวีซ่าชั่วคราว

22/4/2020

 
เป็นข่าวดีสำหรับน้องๆที่อยู่ Tasmania นะคะ   Premier ของ Tasmania, Peter Gutwein ประกาศนำร่องให้ความช่วยเหลือคนถือวีซ่าชั่วคราวที่มีความเดือดร้อนจากปัญหา COVID-19 

คร่าวๆตามข้างล่างค่ะ

1. Pandemic Isolation Assistance Grants ในกรณีมีความเดือดร้อนทางด้านการเงิน รัฐจะให้ $250 ต่อคน หรือสูงสุด $1000 ต่อครอบครัว
2. ให้เงินอุดหนุน Non-government organisations สำหรับ emergency relief and assistance
3. ให้คำแนะนำในเรื่องการเดินทางกลับประเทศ และให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางกลับประเทศ (เฉพาะกรณีที่มีความเดือดร้อนทางด้านการเงิน)
4. ให้การสนับสนุนนายจ้างที่ต้องการจะเก็บรักษาลูกจ้างที่เป็น Skilled workers

ส่วนรายละเอียดจะเป็นยังไง ต้องรอประกาศจากรัฐต่อไปค่ะ

คนเขียนหวังว่ารัฐอื่นๆจะตามรอย Tasmania และให้ความช่วยเหลือคนถือวีซ่าชั่วคราวบ้างเร็วๆนี้นะคะ

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com

408 COVID-19 Pandemic event - สำหรับใครบ้าง

15/4/2020

 

ประกาศนี้ออกมาหลายวันแล้วค่ะ แต่เนื่องจากกฏหมายที่ออกมามีความคลุมเครืออยู่บางประเด็น คนเขียนก็รอดูอยู่ว่าอิมมิเกรชั่นจะมีอัพเดทอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ รอมาหลายวันก็ยังไม่มี แต่ถ้ามี ก็จะมาอัพเดทให้ที่โพสนี้นะคะ

Update 1: 21 April 2020 ตัวหนังสือสีน้ำเงิน
Update 2: 22 April 2020 ตัวหนังสือสีเขียว


วีซ่า 408 ตัวนี้ ไม่มีค่ายื่น  และส่วนคนที่อาจจะสิทธิ์ได้วีซ่า 408 ก็คร่าวๆประมาณนี้ค่ะ

1. มีวีซ่าเหลืออยู่ไม่เกิน 28 วัน หรือวีซ่าหมดไปแล้วไม่เกิน 28 วัน
2. ไม่สามารถเดินทางกลับออกไปได้เพราะ COVID-19
3. ไม่สามารถขอวีซ่าประเภทเดิมหรือวีซ่าประเภทอื่นได้แล้ว นอกจากวีซ่า 408
4. สายงานที่ทำมีความเกี่ยวข้องกับ COVID-19 เช่น agriculture, aged care, public health หรืองานที่เกี่ยวกับการ supply of essential goods and services
4.1 คนที่ทำงานในสายงานอื่นนอกเหนือจากสายงานในข้อ 4. หรือคนที่ไม่ได้ทำงาน ก็สามารถยื่นใบสมัครได้
5. มีความตั้งใจที่จะอยู่ที่นี่ชั่วคราว (GTE - Genuine Temporary Entry)
6. สามารถดูแลตัวเองทางด้านการเงินได้ในระหว่างที่อยู่ในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งอาจจะเป็นการโชว์เงินในบัญชีหรือสัญญาจ้างงาน
7. ต้องมีประกันสุขภาพ

ป.ล. คนที่ติด section 48 bar (เคยถูกปฏิเสธหรือถูกยกเลิกวีซ่า และถือ bridging visa) ไม่สามารถสมัครได้
        คนที่ติดเงื่อน "no further stay" ต้องขอ waiver ก่อน

คนเขียนเชื่อว่าวีซ่า 408 เป็น option ที่ดีสำหรับน้องหลายๆคนนะคะ

โน๊ตนะคะว่า การยื่นใบสมัครได้ ไม่ได้หมายความว่าจะได้วีซ่าเสมอไป แต่ถ้าคุณสมบัติโดยรวมถึง และเป็นทางเลือกที่เหมาะสมหรือทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์ของเรา การยื่นและรอลุ้นน่าจะดีกว่าการปล่อยให้วีซ่าหมดอายุโดยไม่ดำเนินการอะไรเลย (โน๊ตนี้สำหรับทุกวีซ่าค่ะ)

ระยะเวลาของวีซ่า 408
สำหรับคนที่ทำงานใน Critical sectors =  up to 12 months
สำหรับคนที่ไม่ได้ทำงาน หรือทำงานใน Non-Critical sectors = up to 6 months และไม่มีสิทธิ์ทำงาน

Critical sectors คือสายงานอะไรบ้าง
สำหรับตอนนี้ก็เช่น
agriculture, food processing, health care, aged care, disability care or childcare แต่อิมมิเกรชั่นสามารถปรับเปลี่ยนสายงานได้นะคะ คือเช็คสายงานก่อนยื่น

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com

๊Update 4 April 2020 - Covid-19 และผลกระทบต่อวีซ่า

4/4/2020

 
รัฐบาลมีประกาศเพิ่มเติมเกี่ยวกับคนที่ถือวีซ่าชั่วคราวมานะคะ คนเขียนขอสรุปตามข้างล่าง

โน๊ตนะคะว่านี่เป็นประกาศแรกเท่านั้น ส่วนการปฏิบัติจริงและรายละเอียดจะเป็นยังไง ต้องรออิมมิเกรชั่นแจ้งเพิ่มเติมณ เวลานี้ หลายๆเรื่องเราคาดการณ์ไม่ได้และต้องติดตามสถานการณ์กันแบบวันต่อวัน


วีซ่า 417 & 462 Working holiday makers ที่ทำงานหรือได้งานด้าน health, aged and disability care, agriculture and food processing, and childcare

-  จะได้รับการยกเว้นเงื่อนไข "6 month work limitation" ต่อ 1 นายจ้าง

-  สามารถต่อวีซ่าได้ถ้าวีซ่าตัวปัจจุบันจะหมดอายุภายใน 6 เดือนนับจากนี้

-  สามารถถอนเงินจาก Superannuation fund ได้ $10,000 สำหรับปีภาษีนี้


วีซ่า 457 & 482

- นายจ้างสามารถลดชั่วโมงการทำงานของลูกจ้างได้โดยไม่ผิด Sponsorship obligations และลูกจ้างก็ไม่ผิดเงื่อนไขวีซ่า

- คนที่ถูกให้พักงานชั่วคราวจะสามารถต่ออายุวีซ่าได้ตามเงื่อนไขปกติของการขอวีซ่าทำงาน และสามารถนับเวลาการทำงานสำหรับต่อยอดเพื่อขอพีอาร์ได้

-  คนที่ถูกเลิกจ้างต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขวีซ่า ถ้าหานายจ้างใหม่ที่พร้อมจะสปอนเซอร์ไม่ได้ภายใน 60 วัน ก็ต้องออกจากประเทศออสเตรเลีย แต่ถ้าหลังจากเหตุการณ์ COVID-19 ผ่านไปแล้ว กลับมาเป็นลูกจ้างตามเดิม (re-employed) ระยะเวลาการทำงานในประเทศออสเตรเลียยังสามารถนับเวลาได้สำหรับการขอพีอาร์ (ประเด็นนี้คนเขียนไม่แน่ใจนะคะว่า re-employed ในที่นี้คือหมายถึง re-employed โดยนายจ้างเดิมเท่านั้น หรือนายจ้างใหม่ก็ได้ด้วย รอประกาศต่อไปค่ะ)


วีซ่านักเรียน

-  อิมมิเกรชั่นจะใช้ flexible approach สำหรับเงื่อนไขวีซ่านักเรียน เช่นเรื่อง Class attendance (ไม่สามารถไปเรียนได้) 

-  วีซ่านักเรียนที่ทำงานด้าน Aged care, Nurse สามารถทำงานเกิน 40 ชั่วโมงต่อ 2 อาทิตย์ได้ (อันนี้ประกาศมาระยะนึงแล้วนะคะ ไม่ใช่ข่าวใหม่)

-  วีซ่านักเรียนที่ทำงานกับ Major Supermarket ที่ตอนนี้อิมมิเกรชั่นอนุญาตให้ทำงานเกิน 40 ชั่วโมงต่อ 2 อาทิตย์ นับจากวันที่ 1 พฤษภาคม เงื่อนไขการทำงาน 40 ชั่วโมงต่อ 2 อาทิตย์จะถูกนำกลับมาใช้ตามเดิมนะคะ

- คนที่มีปัญหาทางการเงิน รัฐบาลระบุว่าให้ขอความช่วยเหลือจากครอบครัว หางานทำ หรือใช้เงินเก็บ (คือตอนนี้ยังไม่มีความช่วยเหลือจากรัฐบาลค่ะ)

-  คนที่ถือวีซ่านักเรียนมาเกิน 1 ปี สามารถถอนเงินจาก Superannuation fund ได้ $10,000 สำหรับปีภาษีนี้


วีซ่า 485

-  สามารถถอนเงินจาก Superannuation fund ได้ $10,000 สำหรับปีภาษีนี้


วีซ่า 444  สำหรับ New Zealanders

-  คนเขียนไม่ลงรายละเอียดนะคะ เพราะไม่ค่อยเกี่ยวกับคนไทยเท่าไหร่


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com

    Author


    พี่เก๋ - กนกวรรณ ศุโภทยาน เป็นทนายความไทย และทนายความของประเทศออสเตรเลีย (Immigration Lawyer)

    มีประสบการณ์เป็นทนายความเฉพาะทาง ด้าน IMMIGRATION ของประเทศออสเตรเลีย รับวางแผนการขอวีซ่า ยื่นใบสมัครขอวีซ่าทุกประเภท ช่วยเหลือในชั้นอุทธรณ์ที่ Administrative Appeals Tribunal และในชั้นศาลค่ะ

    ต้องการคำแนะนำ หรือความช่วยเหลือ ติดต่อได้ที่ Immigration Success Australia
    mb: 0428 191 889 หรือ www.immigrationsuccessaustralia.com

    Archives

    July 2021
    June 2021
    March 2021
    February 2021
    January 2021
    December 2020
    November 2020
    October 2020
    September 2020
    July 2020
    June 2020
    May 2020
    April 2020
    March 2020
    February 2020
    March 2019
    January 2019
    November 2018
    October 2018
    August 2018
    July 2018
    June 2018
    April 2018
    October 2017
    September 2017
    August 2017
    May 2017
    April 2017
    August 2015
    April 2015
    December 2014
    September 2014
    August 2014
    June 2014
    March 2014
    January 2014
    October 2013
    September 2013
    July 2013
    June 2013

    Categories

    All
    วีซ่า
    อุทธรณ์
    วีซ่าคู่ครอง
    101
    102
    103
    143
    173
    186
    187
    190
    300
    309
    4020
    408
    445
    457
    462
    476
    482
    485
    489
    491
    500
    870
    AAT
    Accountant
    Administrative Appeals Tribunal
    Adoption Visa
    Approved Nomination
    Australia
    Australian
    Australian Citizenship
    Australian Immigration
    Bar
    Bricklayer
    Bridging Visa
    Bridging Visa A
    Bridging Visa E
    BVA
    BVE
    Changes To Immigration Law
    Changing Courses
    Chef
    Child Visa
    Consolidated Sponsored Occupations List
    COVID 19
    COVID-19
    CSOL
    Decision Ready
    Decision-ready
    Decision Ready Application
    Decision-ready Application
    De Facto Relationship
    Employer Sponsored
    English Exemption
    ENS
    Exercise Physiologist
    Family
    Family Violence
    Federal Circuit Court
    Graduate Work
    GTE
    Hydrogeologist
    Ielts
    Immigration
    Immigration Lawyer
    Judicial Review
    Jurisdictional Error
    Migration Agent
    Migration Review Tribunal
    MRT
    Nomination
    Orphan Relative Visa
    Overstay
    Parent
    Partner Visa
    PIC 4020
    Post Study Work
    Processing Period
    Protection Visa
    Public Interest Criteria
    Public Interest Criterion
    Regional Australia
    Regional Visas
    Registered Migration Agent
    Rma
    RSMS
    Section 48
    Section 48 Bar
    Self Sponsorship
    Skilled Migration
    Skilled Occupations List
    Skilled Work Regional
    Skills Assessment
    SOL
    Sponsor
    Sponsorship
    Student Visa
    Substantive Visa
    Training
    Tsmit
    Unlawful
    Visa Cancellation
    Visa Refusal
    Wall And Floor Tiler
    Working And Holiday Visa

    RSS Feed

Powered by Create your own unique website with customizable templates.