visa blog : สำหรับคนไทยค่ะ
  • Home
  • Blog

แชร์ประสบการณ์ Skills Assessment

11/12/2021

 
วันนี้คนเขียนมาแชร์ประสบการณ์การทำ Skills Assessment ตำแหน่ง Restaurant Manager

เคสนี้ น้องติดต่อคนเขียนมา 5 เดือนก่อนวีซ่าหมดอายุ  ..... มองเผินๆเหมือนน้องติดต่อมาเนิ่นๆ เวลาเหลือเฟือ ... แต่พอมองระยะเวลาภาพรวม และวีซ่าที่น้องต้องการยื่น เวลาเหลือไม่เยอะเลย เพราะสเต็ปที่ต้องทำก่อนการยื่นวีซ่ามีเยอะ และแต่ละสเต็ปก็ต้องใช้เวลาในการเตรียมเคส และเวลาในการรอผล

ส่วนใหญ่น้องที่ให้คนเขียนทำ Skills Assessment ก็จะให้คนเขียนทำงานส่วนอื่นด้วย เพราะฉะนั้นต่อให้เราเริ่มงานกันที่ Skills Assessment คนเขียนไม่ได้พิจารณาเอกสารสำหรับการยื่น Skills Assessment เท่านั้น แต่พิจารณาเผื่อไปถึงสเต็ปอื่นด้วย

Skills Assessment เคสนี้ ระยะเวลาพิจารณาปกติคือ 10-12 อาทิตย์ (3 เดือน) และมี Option ให้เลือกเป็น Priority processing ได้ด้วย ซึ่งจะทราบผลภายใน 10 วันทำการ .... คนเขียนให้น้องเลือก เพราะระยะเวลายังพอยื่นแบบปกติได้ แต่น้องก็เลือกแบบ Priority processing

ข้อดีของ Priority processing คือเร็ว  ..... ข้อเสียคือจะไม่มีการขอเอกสารเพิ่ม ถ้าพลาด เอกสารไม่ครบ หรือไม่ดีพอ ก็ถูกปฏิเสธเลย 

เคสนี้ คนเขียนตีเอกสารกลับไปให้น้องแก้ รวมทั้งขอเอกสารเพิ่มหลายครั้ง เพราะเราพลาดไม่ได้ โดยเฉพาะเคสนี้ ที่น้องรับค่าจ้างเป็นเงินสด

Q:   เอะ รับเงินสดได้ด้วยเหรอ ???
A:   ได้สิ ไม่มีกฏหมายห้ามรับค่าจ้างเป็นเงินสด ... ตราบใดที่มีการจ่ายภาษี และทำทุกอย่างกันอย่างถูกต้องตามกฏหมาย (แต่รับเงินเข้าบัญชี ดีที่สุด เพราะพิสูจน์ง่ายกว่า = เคสมีความเสี่ยงน้อยกว่า)

น้องเห็นคนเขียนตีเอกสารกลับ ขอเอกสารเพิ่ม ก็กังวลว่าเคส Skills Assessment จะมีปัญหาไหม ซึ่งคนเขียนบอกเลยว่า ... ไม่ค่ะ ... คนเขียนมั่นใจว่าเคส Skills Assessment ไม่มีปัญหา .... แต่อย่างที่เกริ่นไป คนเขียนพิจารณาเอกสารเผื่อสเต็ปอื่นไปด้วยเลย (Why not?) ในเมื่อคนเขียนก็เป็นคนทำสเต็ปต่อไปให้ลูกความ และเห็นข้อมูลและปัญหาอื่นอยู่ เราก็มองไกลนิดนึง แก้ปัญหาล่วงหน้าไปพร้อมๆกับการเตรียมยื่น Skills Assessment เลย

เคสนี้ Skills Assessing Authority ตอบรับการพิจาณาเคสเป็นแบบ Priority Processing วันศุกร์ .... วันพุธ ตี 2 คนเขียนได้รับอีเมล์ว่า Skills Assessment ผ่านแล้ว .... ม้วนเดียวจบ ใช้เวลา 2 วันทำการ ! .
... รับเงินสด เอกสารก็แน่นได้ (ในบางเคส) .... จบไป 1 สเต็ป มีเวลาหายใจ และเตรียมสเต็ปถัดไป

ป.ล. เคสรับเงินสด แบบสดจริงๆ ไม่มีบันทึก ไม่จ่ายภาษี ไม่ต้องคิดเลยนะคะ เสมือนไม่ได้ทำงาน .... เพราะฉะนั้น ถ้าคิดว่าวันนึงอาจจะต้องการยื่นวีซ่าที่ต้องใช้ประสบการณ์การทำงาน .... หางานที่เข้าระบบ และเสียภาษี

คนเขียนมีน้องหลายคนที่มาปรึกษา ประสบการณ์การทำงานสูงหลายปีเลย แต่รับ cash in hand ทั้งหมด ไม่มี record อะไรทั้งสิ้น สะดวกนายจ้าง สะดวกลูกจ้าง รับเงินสดเต็มๆ แต่สุดท้ายจบอยู่ตรงนั้น ไปต่อไม่ได้ .... ฝากไว้ให้คิด

Tip: พยายามทำงานในสายอาชีพที่เลือกให้ได้อย่างน้อย 20 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ .... เพราะ Skills Assessing Authority หลายๆที่ ไม่พิจารณาระยะเวลาการทำงานที่น้อยกว่า 20 ชั่วโมงต่ออาทิตย์เลยนะคะ



Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com 



Partner visa - Grant time for Stage 2 - PR

7/5/2020

 
ช่วงนี้เทรนการพิจารณา Stage 2 Partner visa (PR) คือ เร็วถึงเร็วมากนะคะ คนเขียนมีโอกาสได้แจ้งข่าวดีให้กับน้องๆหลายคนเลย

ต้องขอบคุณอิมมิเกรชั่นที่ถึงแม้จะไม่ได้ประกาศอะไรออกมา แต่เราก็ทราบได้จากการกระทำว่าหน่วยงานใน
อิมมิเกรชั่นเองก็พยายามช่วยหลายๆคนให้ได้พีอาร์โดยเร็ว

พอได้พีอาร์แล้ว หลายๆคนก็อาจจะได้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินที่รัฐบาลเสนอช่วยอยู่ ณ ตอนนี้ เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19

น้องๆที่ยื่นเอกสาร Stage 2 Partner visa ไปแล้ว อาจจะสงสัยว่าเราจะได้วีซ่าเร็วๆกับเค้าบ้างไหม ไม่มีใครตอบได้ แต่อย่างนึงที่น้องๆทำได้คือ

- เช็คเอกสารของตัวเองว่ายื่นเอกสารครบตามที่อิมมิเกรชั่นต้องการหรือไม่ (Decision Ready Application)

- ยื่นเอกสารครบไม่พอนะคะ เอกสารที่ยื่นต้องมีคุณภาพด้วย

- มีประเด็นอะไรที่อาจจะเป็นปัญหาหรือไม่ ถ้ามี เป็นประเด็นง่ายๆที่เราสามารถนำเสนอได้เลย เพื่อความรวดเร็วในการพิจารณา หรือเป็นประเด็นที่เราไม่ควรจะไปเปิดประเด็น (งงใช่ไหมล่า .... มันอธิบายยากนะตรงนี้ มันคือ Strategy การทำงานของแต่ละเคส)  ถ้าแนวโน้มเป็นประเด็นปัญหาใหญ่ ก็คงไม่ต้องหวังการพิจารณาที่รวดเร็วนะคะ เอาแค่หวังผ่านดีกว่า เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น

ในเคส Stage 2 ของคนเขียน ก็มีประเด็นแตกต่างกันไป ยกตัวอย่าง 2 เคส

เคสนี้ประเด็นง่าย แต่ลูกความคิดมากเกินไป overthinking ไม่อยากให้ใส่รายละเอียดบางอย่าง เพราะกลัวว่าเคสจะเกิดปัญหา แต่ถ้าไม่ให้รายละเอียดก็ดูเหมือนความสัมพันธ์จะไม่แน่น คนเขียนพิจารณาแล้วไม่เห็นว่ามันจะเป็นปัญหาตรงไหน อยู่ที่การนำเสนอมากกว่า สรุปลูกความยอมทำตามคำแนะนำ เคสผ่านไปแล้วอย่างรวดเร็ว นอกจากจะได้พีอาร์เร็วแล้ว ยังได้เงินช่วยเหลือจากรัฐบาลด้วย

อีกเคสนึง ลูกความทำ Stage 1 กับเอเจนต์อื่น แต่ไม่แฮ๊ปปี้ มาให้คนเขียนดูแล Stage 2 ให้ (ค่ะ เปลี่ยนเอเจนต์ระหว่างทางก็ทำได้ ถ้าไม่แฮ๊ปปี้ อย่าทน)   แน่นอนเคสแบบนี้ต้องเช็คประวัติและเอกสารกันค่อนข้างเยอะ โดยสรุปคือ
- ลูกความถึงกำหนดยื่น Stage 2 ตั้งแต่ 15 เดือนก่อนที่จะมาเจอคนเขียน (คือเลทไป 15 เดือนแล้ว ยังไม่ได้ยื่นเอกสารเลย) คือเอเจนต์ไม่ได้แจ้งให้ทราบ ไม่ได้แนะนำอะไรเลย
- ถามไปถามมาน้องมีลูกด้วย ลูกแต่ละคน ก็มีปัญหาเฉพาะของตัวเอง และมีทั้งอยู่ไทย และที่ออสเตรเลีย แถมคนที่อยู่ที่ออสเตรเลียวีซาก็กำลังจะหมด
- สปอนเซอร์ก็มีประวัติคดีอาญาชนิดที่ถ้าพ่วงลูกด้วย เคสอาจจะมีปัญหา
- การเงินก็ต้องเอามาพิจารณา เนื่องจากมีลูกหลายคน พ่วงลูกด้วยค่าใช้จ่ายโดยรวมถูกกว่าการได้พีอาร์คนเดียวแล้วค่อยมาทำวีซ่าให้ลูกๆภายหลัง
- จะยื่น Stage 2 คนเดียว หรือจะพ่วงลูกด้วยดี ตอนนี้ก็เลทมาตั้ง 15 เดือนแล้ว จะพ่วงลูกมีหลายสเต็ปที่ต้องทำ ยิ่งเลทไปกันใหญ่  บวกประวัติคดีอาญาของสปอนเซอร์เข้าไปให้กังวลอีก

อ่านข้างบน อาจจะคิดว่าคนเขียนคงแนะนำให้ยื่นคนเดียวให้รอดก่อนค่อยหาทางเอาลูกมา แต่ไม่ค่ะ หลังจากนั่งคิดนอนคิดตีลังกาคิด บวกกับการทำ Research และวางแผนงาน (Strategy) คนเขียนแนะนำให้ทำเรื่องพ่วงลูกเลย  ไหนๆก็เลทมา 15 เดือนแล้ว ก็เลทกันต่อไป (Why not?) แต่เลทแบบอยู่ในความดูแลของคนเขียน แผนต้องมา งานต้องเดิน ไม่ใช่เลทแบบตามมีตามเกิดไม่ทำอะไรเลย  ถ้านับจากวันที่ Stage 2 Partner visa พร้อมพิจารณา เคสนี้ใช้เวลา 5 เดือน ซึ่งถือว่าเร็วมากสำหรับเคสแบบนี้ (ก่อนหน้านี้เราก็ลุยกับเคสของลูกๆและประวัติของสปอนเซอร์ไป เหนื่อยแต่จบ ได้พีอาร์พร้อมกันทุกคน แถมประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้อีกเยอะ)

ป.ล.1  ไม่ใช่ทุกเคสที่ควรจะพ่วงลูกนะคะ บางเคสก็ต้องยอมยืดเยื้อ และเสียค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า เอาตัวเองให้รอดก่อน เรื่องลูกค่อยว่ากันภายหลัง

ป.ล. 2   ช่วงนี้มีน้องๆถามกันมาเยอะนะคะว่าเคยถูกปฏิเสธวีซ่า หรือเคยถูกยกเลิกวีซ่า ติด Section 48 บาร์ หรือตอนนี้ไม่ถือวีซ่า จะยื่น Partner visa ในประเทศออสเตรเลียได้ไหม  ...... คำตอบคือยื่นได้ค่ะ คนเขียนทำเคสประมาณนี้มาแล้วหลายเคส เช่นเคสนี้ หรือโพสนี้ ....แต่... เคสที่ติด Section 48 บาร์ ไม่ใช่ทุกเคสนะคะที่เหมาะสมกับการยื่นแบบในประเทศออสเตรเลีย

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com

แชร์ประสบการณ์ Partner visa - Schedule 3 waiver Request

13/10/2017

 
คนเขียนเพิ่งแจ้งข่าวดีให้กับลูกความคู่นึงไป ข่าวดีของคนที่ยื่นวีซ่าก็คงไม่มีอะไรนอกจากวีซ่าออกแล้ว

เคสนี้เป็นเคสที่เราดูแลกันมายาวนานพอสมควร ลูกความติดต่อคนเขียนมาตั้งแต่ 4 ปีที่แล้ว ลูกความไม่ถือวีซ่ามาระยะใหญ่ แต่มีแฟนออสซี่ แต่เนื่องจากกฏเกณฑ์นโยบายการขอวีซ่าคู่ครองของคนที่ไม่มีวีซ่า ก็เปลี่ยนมาระยะนึงแล้ว ซึ่งทำให้โอกาสการได้วีซ่าในเคสแบบนี้ยากขึ้นมาก

ทางเลือกของคนไม่ถือวีซ่าที่ต้องการยื่นวีซ่าคู่ครอง (ก็ได้เคยโพสไปแล้วว่า) มีอยู่สองทาง คือการกลับออกไปยื่นวีซ่าแบบนอกประเทศออสเตรเลีย หรือเสี่ยงยื่นวีซ่าแบบในประเทศออสเตรเลียถ้าคิดว่าเคสของเรามีเหตุผลที่น่าเห็นใจจริงๆ (Schedule 3 waiver request) คนเขียนใช้คำว่า"เสี่ยง" เพราะต่อให้เราคิดว่าเรามีเหตุผลน่าเห็นใจแค่ไหน เหตุผลอาจจะไม่มากพอในมุมมองของอิมมิเกรชั่น ซึ่งก็อาจจะทำให้เราถูกปฏิเสธวีซ่าได้ เมื่อถูกปฏิเสธวีซ่าในกรณีแบบนี้ ก็มีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์ ซึ่งอุทธรณ์ก็มีความเสี่ยง อาจจะชนะหรือแพ้ ไม่มีใครตอบได้

จากประสบการณ์ในการทำงานด้านนี้ คนเขียนคิดว่าเคสนี้เป็นเคสที่น่าเห็นใจจริงๆ แต่เนื่องจากว่าคนเขียนก็ไม่ใช่คนตัดสินเคส ลูกความก็ต้องเป็นคนตัดสินใจเองว่าจะเลือกทางไหนที่ตัวเองพอรับได้ ระหว่าง

1. กลับไปยื่นที่ไทย ซึ่งการพิจารณาน่าจะเร็วกว่าและมีโอกาสได้วีซ่าสูงกว่า (ถ้าความสัมพันธ์หนักแน่นมั่นคงและมีหลักฐานสนับสนุนที่ดี) แต่ก็คงจะต้องรออยู่ที่ไทยจนกว่าจะได้วีซ่า เพราะการขอวีซ่าท่องเที่ยวมาในระหว่างรอคงไม่ผ่านเนื่องจากเคยอยู่เป็นผีที่ออสเตรเลียมาระยะใหญ่ และถ้าวีซ่าคู่ครองไม่ผ่านจะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ ก็คงต้องรออยู่ที่ไทยจนกว่าอุทธรณ์จะผ่าน หรือได้วีซ่าประเภทอื่น

หรือ

2. เสี่ยงยื่นที่นี่ ซึ่งโอกาสที่จะถูกปฏิเสธที่ชั้นอิมมิเกรชั่นก็สูงพอสมควร แต่โอกาสที่จะชนะที่ชั้นอุทธรณ์ก็พอมี ถ้าถูกปฏิเสธ ก็มีโอกาสตัดสินใจว่าจะกลับไปวีซ่ายื่นใหม่ที่ไทยดี หรือจะเสี่ยงลุยต่อไปชั้นอุทธรณ์ดี ถ้าไม่ผ่านที่ชั้นอุทธรณ์ ก็คงจะได้กลับไปยื่นใหม่ที่ไทยจริงๆ ยกเว้นว่าจะมีเหตุให้อุทธรณ์ต่อในชั้นอื่นได้ (ซึ่งในบางเคสก็มีความเป็นไปได้)

คนเขียนง่ายๆ ถ้าลูกความลุย คนเขียนก็ลุยค่ะ แต่ก่อนลุย ลูกความต้องเข้าใจพื้นฐานเคสของตัวเองจริงๆก่อน ...
ทำงานกับคนเขียนไม่มีการเพ้นท์ภาพสวยหรู ไม่มีโลกสวย เราเอาเรื่องจริงมาคุยกัน คนเขียนไม่เห็นประโยชน์ที่จะบอกลูกความว่าเคสง่ายๆเดี๋ยวก็ได้วีซ่า ถ้าในความเป็นจริงมันไม่ใช่

สรุปว่าลูกความเลือกเสี่ยงยื่นที่นี่ คนเค้ารักกันอยากอยู่ดูแลกัน (และที่สำคัญมีเหตุผลน่าเห็นใจ) คนเขียนก็ลุย ลูกความก็ลุยค่ะ และเราก็ถูกปฏิเสธ ซึ่งก็ไม่ได้ผิดคาด แต่ผิดหวัง คนเขียนก็ถามว่าจะยื่นอุทธรณ์หรือจะกลับไปยื่นที่ไทย ในใจก็นึกว่าในเมื่อลุยมาถึงตรงนี้แล้ว ก็ควรจะลุยต่อ ไม่อย่างงั้นก็ควรยื่นที่ไทยตั้งแต่แรก นึกแต่ไม่ได้พูดเพราะนี่คือชีวิตของลูกความ และทั้งสองทางต่างก็มีข้อดี/ข้อเสียของมันเอง ก็ต้องให้ลูกความเลือกและตัดสินใจเอาเอง คนเขียนไม่ได้มีหน้าที่ตัดสินใจแทน แต่มีหน้าที่ให้คำแนะนำประกอบการตัดสินใจ

ลูกความตัดสินใจยื่นอุทธรณ์ คนเขียนชื่นใจมาก ไม่ได้ชื่นใจเพราะลูกความตัดสินใจยื่นอุทธรณ์ แต่เพราะขออะไรไปก็จะพยายามหาให้อย่างรวดเร็ว แบบไม่ต้องตามไม่ต้องถามซ้ำ (proactive แบบสุดๆ) และเราก็ชนะที่ชั้นอุทธรณ์ เคสถูกส่งกลับไปให้อิมมิเกรชั่นพิจารณาต่อ และในที่สุดคุณลูกความก็ได้วีซ่าสมใจ ซึ่งในเคสนี้ลูกความได้วีซ่าคู่ครองแบบถาวรเลยด้วยค่ะ  .... คนเขียนชื่นใจและดีใจเหมือนได้วีซ่าซะเอง  ... นับรวมเวลาตั้งแต่เข้ามาขอคำปรึกษาเบื้องต้นจนถึงวันนี้ 4 ปี กับอีก 2 เดือน

หลายๆคนอาจจะสงสัยว่าแล้วจะบอกไหมว่าเหตุผลที่น่าเห็นใจมันคืออะไร ... ไม่บอก ... ความลับของลูกความบอกไม่ได้ ... และบอกไปก็ไม่มีประโยชน์ เพราะแต่ละเคสก็มีลักษณะเฉพาะตัว ก็ต้องพิจารณากันเป็นเคสๆไป  สำหรับบางคนที่เหมารวมว่าคนไม่มีวีซ่า/ผีจะไม่มีทางขอวีซ่าคู่ครองแบบในประเทศได้และต้องกลับไปยื่นแบบนอกประเทศเท่านั้น ก็ต้องบอกว่าไม่จริงเสมอไป

คนเขียนเคยโพสไว้นานแล้วว่าเคสบางเคสทนายหรือเอเจนต์ต้องทำงานกับเรานานเป็นปีๆ เลือกคนที่คลิ๊กกับเรานะคะ จะได้ทำงานด้วยกันอย่างสบายใจ

นอกเรื่อง .... มีน้องๆถามเกี่ยวกับ Bridging visa มาค่อนข้างเยอะ คนเขียนร่างไว้แล้วแต่ยังไม่เสร็จ รออีกแป๊บ...
ที่ถามๆกันมาก็จะพยายามตอบให้นะคะ (ถ้าตอบได้) อาจจะตอบเป็นการส่วนตัว หรือทาง Blog ในหัวข้อ ถาม-ตอบ จิปาถะ (ไม่มีความจำเป็นต้องเช็ค Blog ทุกวันนะคะ ถ้าตอบทาง Blog จะแจ้งให้ทราบว่าตอบให้แล้วใน Blog)
คำถามที่คนเขียนไม่ได้ตอบ คือคำถามที่ต้องดูเอกสารประกอบหรือต้องซักถามกันเพิ่มเติมหรือต้องอธิบายกันแบบยาวๆ ในกรณีแบบนี้รบกวนนัดปรึกษารับคำแนะนำกันแบบเป็นเรื่องเป็นราวนะคะ

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com

Decision-ready application ------ what is it?

20/9/2013

 
Decision-ready application มันคืออะไร

หลายๆคนอาจจะเคยได้ยินมาแล้ว หลายๆคนอาจจะเพิ่งเคยได้ยิน(อ่าน)เป็นครั้งแรก  Decision-ready application ก็ตามชื่อเลยค่ะ มันคือการยื่นใบสมัครวีซ่าพร้อมกับเอกสารทุกอย่างที่อิมจะใช้ในการประกอบการพิจารณา และตัดสินเคสได้เลย โดยไม่ต้องขอเอกสารเพิ่มเติมภายหลัง

ประโยชน์ของการยื่น Decision-ready application ก็คือใบสมัครของเราอาจจะได้รับการพิจารณาเร็วขึ้น ดังนั้นสำหรับคนที่อยากได้วี่ซ่าอย่างรวดเร็วก็ควรจะพยายามที่จะยื่นเอกสารทุกอย่างเข้าไปพร้อมกับใบสมัครค่ะ  แต่...

โดยส่วนตัวแล้วคนเขียนนิยมยื่น Decision-ready application ค่ะ  ลูกความที่ใช้บริการของคนเขียนจะทราบดี และได้ยินคำว่า Decision-ready application ตั้งแต่วันแรกๆที่คุยกันเลยทีเดียว ทำไม???

1. การเห็นเอกสารทุกอย่าง และเอาเอกสารนั้นมาประกอบการพิจารณาก่อนยื่น ทำให้เรารู้ว่าจุดอ่อนของเคสเราอยู่ตรงไหน มีอะไรบ้างที่จะช่วยทำให้เคสเรามีโอกาสมากขึ้น
2. ลูกความได้วีซ่าเร็วขึ้น ข้อนี้สำคัญค่ะ  ใครๆก็อยากได้วีซ่าเร็วๆ เพราะได้แล้ว ก็สามารถวางแผนชีวิต และทำในสิ่งที่อยากทำ หรือต้องทำได้เร็วขึ้น เช่นบางคนหางานไม่ได้ เพราะนายจ้างไม่อยากรับคนที่ถือ Bridging visa  บางคนอยากทำธุรกิจส่วนตัว แต่ไม่กล้าเพราะกลัวว่าจะมีปัญหาหากไม่ได้วีซ่า

...แต่ ขอย้ำว่าการยื่นเอกสารครบ (Decision-ready application) ไม่ได้หมายความว่าจะได้วีซ่าเร็วขึ้น แต่แปลว่าจะได้รับการพิจารณาเร็วขึ้น ส่วนจะได้วีซ่าหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าเอกสารที่เรายื่นเข้าไปเป็นเอกสารที่มีคุณภาพหรือไม่ บางครั้งและบ่อยครั้งที่เอกสารตาม Checklist ไม่เพียงพอ

มีลูกความหลายคนที่ติดต่อเข้ามาหาคนเขียนหลังจากถูกอิมปฏิเสธวีซ่า พร้อมกับบอกคนเขียนว่า "ไม่เข้าใจทำไมถูกปฏิเสธ ก็ยื่นเอกสารทุกอย่างตาม Checklist" พอคนเขียนอ่านเหตุผลของอิมที่ปฏิเสธวีซ่า และดูเอกสารที่ใช้ประกอบการยื่น ก็ถึงบางอ้อ คิดได้เหมือนอิม เพราะเอกสารไม่พอ และ/หรือ ไม่มีคุณภาพค่ะ

ปีนี้อิมได้ขึ้นราคาค่าใบสมัครเกือบทุกวีซ่าซะแพงลิบลิ่ว แพงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน สิ่งที่ผู้สมัครทำได้ก็คือพยายามยื่นใบสมัคร และเอกสารประกอบที่มีคุณภาพมากที่สุด เพื่อที่จะได้มีโอกาสที่จะได้วีซ่ามากที่สุด & เร็วที่สุด เพื่อที่จะได้ไม่ต้องไปเสียตังค์เพิ่มเป็นค่าอุทธรณ์ หรือค่าวีซ่าตัวอื่น 

ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่นค่ะ ขอให้ทุกคนโชคดี และได้วีซ่าสมใจนะคะ

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com

    Author


    พี่เก๋ - กนกวรรณ ศุโภทยาน เป็นทนายความไทย และทนายความของประเทศออสเตรเลีย (Immigration Lawyer)

    มีประสบการณ์เป็นทนายความเฉพาะทาง ด้าน IMMIGRATION ของประเทศออสเตรเลีย รับวางแผนการขอวีซ่า ยื่นใบสมัครขอวีซ่าทุกประเภท ช่วยเหลือในชั้นอุทธรณ์ที่ Administrative Appeals Tribunal และในชั้นศาลค่ะ

    ต้องการคำแนะนำ หรือความช่วยเหลือ ติดต่อได้ที่ Immigration Success Australia
    mb: 0428 191 889 หรือ www.immigrationsuccessaustralia.com

    Archives

    July 2021
    June 2021
    March 2021
    February 2021
    January 2021
    December 2020
    November 2020
    October 2020
    September 2020
    July 2020
    June 2020
    May 2020
    April 2020
    March 2020
    February 2020
    March 2019
    January 2019
    November 2018
    October 2018
    August 2018
    July 2018
    June 2018
    April 2018
    October 2017
    September 2017
    August 2017
    May 2017
    April 2017
    August 2015
    April 2015
    December 2014
    September 2014
    August 2014
    June 2014
    March 2014
    January 2014
    October 2013
    September 2013
    July 2013
    June 2013

    Categories

    All
    วีซ่า
    อุทธรณ์
    วีซ่าคู่ครอง
    101
    102
    103
    143
    173
    186
    187
    190
    300
    309
    4020
    408
    445
    457
    462
    476
    482
    485
    489
    491
    500
    870
    AAT
    Accountant
    Administrative Appeals Tribunal
    Adoption Visa
    Approved Nomination
    Australia
    Australian
    Australian Citizenship
    Australian Immigration
    Bar
    Bricklayer
    Bridging Visa
    Bridging Visa A
    Bridging Visa E
    BVA
    BVE
    Changes To Immigration Law
    Changing Courses
    Chef
    Child Visa
    Consolidated Sponsored Occupations List
    COVID 19
    COVID-19
    CSOL
    Decision Ready
    Decision-ready
    Decision Ready Application
    Decision-ready Application
    De Facto Relationship
    Employer Sponsored
    English Exemption
    ENS
    Exercise Physiologist
    Family
    Family Violence
    Federal Circuit Court
    Graduate Work
    GTE
    Hydrogeologist
    Ielts
    Immigration
    Immigration Lawyer
    Judicial Review
    Jurisdictional Error
    Migration Agent
    Migration Review Tribunal
    MRT
    Nomination
    Orphan Relative Visa
    Overstay
    Parent
    Partner Visa
    PIC 4020
    Post Study Work
    Processing Period
    Protection Visa
    Public Interest Criteria
    Public Interest Criterion
    Regional Australia
    Regional Visas
    Registered Migration Agent
    Rma
    RSMS
    Section 48
    Section 48 Bar
    Self Sponsorship
    Skilled Migration
    Skilled Occupations List
    Skilled Work Regional
    Skills Assessment
    SOL
    Sponsor
    Sponsorship
    Student Visa
    Substantive Visa
    Training
    Tsmit
    Unlawful
    Visa Cancellation
    Visa Refusal
    Wall And Floor Tiler
    Working And Holiday Visa

    RSS Feed

Powered by Create your own unique website with customizable templates.