visa blog : สำหรับคนไทยค่ะ
  • Home
  • Blog

แชร์ประสบการณ์ Skills Assessment

11/12/2021

 
วันนี้คนเขียนมาแชร์ประสบการณ์การทำ Skills Assessment ตำแหน่ง Restaurant Manager

เคสนี้ น้องติดต่อคนเขียนมา 5 เดือนก่อนวีซ่าหมดอายุ  ..... มองเผินๆเหมือนน้องติดต่อมาเนิ่นๆ เวลาเหลือเฟือ ... แต่พอมองระยะเวลาภาพรวม และวีซ่าที่น้องต้องการยื่น เวลาเหลือไม่เยอะเลย เพราะสเต็ปที่ต้องทำก่อนการยื่นวีซ่ามีเยอะ และแต่ละสเต็ปก็ต้องใช้เวลาในการเตรียมเคส และเวลาในการรอผล

ส่วนใหญ่น้องที่ให้คนเขียนทำ Skills Assessment ก็จะให้คนเขียนทำงานส่วนอื่นด้วย เพราะฉะนั้นต่อให้เราเริ่มงานกันที่ Skills Assessment คนเขียนไม่ได้พิจารณาเอกสารสำหรับการยื่น Skills Assessment เท่านั้น แต่พิจารณาเผื่อไปถึงสเต็ปอื่นด้วย

Skills Assessment เคสนี้ ระยะเวลาพิจารณาปกติคือ 10-12 อาทิตย์ (3 เดือน) และมี Option ให้เลือกเป็น Priority processing ได้ด้วย ซึ่งจะทราบผลภายใน 10 วันทำการ .... คนเขียนให้น้องเลือก เพราะระยะเวลายังพอยื่นแบบปกติได้ แต่น้องก็เลือกแบบ Priority processing

ข้อดีของ Priority processing คือเร็ว  ..... ข้อเสียคือจะไม่มีการขอเอกสารเพิ่ม ถ้าพลาด เอกสารไม่ครบ หรือไม่ดีพอ ก็ถูกปฏิเสธเลย 

เคสนี้ คนเขียนตีเอกสารกลับไปให้น้องแก้ รวมทั้งขอเอกสารเพิ่มหลายครั้ง เพราะเราพลาดไม่ได้ โดยเฉพาะเคสนี้ ที่น้องรับค่าจ้างเป็นเงินสด

Q:   เอะ รับเงินสดได้ด้วยเหรอ ???
A:   ได้สิ ไม่มีกฏหมายห้ามรับค่าจ้างเป็นเงินสด ... ตราบใดที่มีการจ่ายภาษี และทำทุกอย่างกันอย่างถูกต้องตามกฏหมาย (แต่รับเงินเข้าบัญชี ดีที่สุด เพราะพิสูจน์ง่ายกว่า = เคสมีความเสี่ยงน้อยกว่า)

น้องเห็นคนเขียนตีเอกสารกลับ ขอเอกสารเพิ่ม ก็กังวลว่าเคส Skills Assessment จะมีปัญหาไหม ซึ่งคนเขียนบอกเลยว่า ... ไม่ค่ะ ... คนเขียนมั่นใจว่าเคส Skills Assessment ไม่มีปัญหา .... แต่อย่างที่เกริ่นไป คนเขียนพิจารณาเอกสารเผื่อสเต็ปอื่นไปด้วยเลย (Why not?) ในเมื่อคนเขียนก็เป็นคนทำสเต็ปต่อไปให้ลูกความ และเห็นข้อมูลและปัญหาอื่นอยู่ เราก็มองไกลนิดนึง แก้ปัญหาล่วงหน้าไปพร้อมๆกับการเตรียมยื่น Skills Assessment เลย

เคสนี้ Skills Assessing Authority ตอบรับการพิจาณาเคสเป็นแบบ Priority Processing วันศุกร์ .... วันพุธ ตี 2 คนเขียนได้รับอีเมล์ว่า Skills Assessment ผ่านแล้ว .... ม้วนเดียวจบ ใช้เวลา 2 วันทำการ ! .
... รับเงินสด เอกสารก็แน่นได้ (ในบางเคส) .... จบไป 1 สเต็ป มีเวลาหายใจ และเตรียมสเต็ปถัดไป

ป.ล. เคสรับเงินสด แบบสดจริงๆ ไม่มีบันทึก ไม่จ่ายภาษี ไม่ต้องคิดเลยนะคะ เสมือนไม่ได้ทำงาน .... เพราะฉะนั้น ถ้าคิดว่าวันนึงอาจจะต้องการยื่นวีซ่าที่ต้องใช้ประสบการณ์การทำงาน .... หางานที่เข้าระบบ และเสียภาษี

คนเขียนมีน้องหลายคนที่มาปรึกษา ประสบการณ์การทำงานสูงหลายปีเลย แต่รับ cash in hand ทั้งหมด ไม่มี record อะไรทั้งสิ้น สะดวกนายจ้าง สะดวกลูกจ้าง รับเงินสดเต็มๆ แต่สุดท้ายจบอยู่ตรงนั้น ไปต่อไม่ได้ .... ฝากไว้ให้คิด

Tip: พยายามทำงานในสายอาชีพที่เลือกให้ได้อย่างน้อย 20 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ .... เพราะ Skills Assessing Authority หลายๆที่ ไม่พิจารณาระยะเวลาการทำงานที่น้อยกว่า 20 ชั่วโมงต่ออาทิตย์เลยนะคะ



Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com 



HOT NEWS ข่าวดีของคนติด Section 48 bar

30/10/2021

 
Hot news ..... ใครติด Section 48 Bar .... สามารถยื่นวีซ่า

  • Subclass 190 -Skilled Nominated visa
  • Subclass 491Skilled Work Regional (Provisional) visa
  • Subclass 494 Skilled Employer Sponsored Regional (Provisional) visa

แบบในประเทศออสเตรเลียได้ตั้งแต่วันที่ 13 November 2021

โพสนี้ มาเร็ว ไปเร็ว แค่ต้องการแจ้งข่าวดี

คนเขียนเชื่อว่าต้องมีน้องหลายๆคนที่จะได้ประโยชน์จากข่าวนี้ ดีใจด้วยนะคะ



Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com


แชร์ประสบการณ์ Consultation & Section 48 Bar

4/9/2021

 

น้องลูกความเคสนี้ ไม่ใช่คนไทยค่ะ  Referred มาจากอดีตลูกความที่คนเขียนเคยทำ 457 และ 186 ให้ และน้องเป็นซิติเซ่นไปเรียบร้อยแล้ว

น้องเริ่มมาปรึกษาคนเขียนหนแรกปี 2018


  • น้องถือวีซ่า 457 และต้องการยื่นพีอาร์  ENS 186
  • หลังจากซักถามกันอยู่พักนึง คำแนะนำของคนเขียนคือ น้องมีทุกอย่าง ยกเว้น Competent English ซึ่งน้องจะต้องมีก่อนยื่นวีซ่า สรุปคือยังขอพีอาร์วีซ่า 186 ไม่ได้
  • น้องถามว่า แล้วจะทำไงเพราะ 457 ใกล้หมดอายุ และอิมมิเกรชั่นก็ยกเลิกวีซ่าประเภท 457 ไปแล้ว ยื่นอีกไม่ได้แล้ว
  • คนเขียนแนะนำว่าน้องยื่น 482 ได้ และไม่ได้กระทบกับการขอพีอาร์ 186 ในอนาคต แต่ต้องยื่น 186 ก่อน mid-March 2022 เนื่องจากเป็นเคส Transitional arrangements

ปี 2019 นายจ้างของน้อง ติดต่อมาหาคนเขียน

  • สรุปว่านายจ้างและน้องตัดสินใจยื่น 482 Nomination & visa applications ..... DIY ... ทำเองค่ะ !!!!
  • คนเขียนไม่เคยทำเคสให้นายจ้างหรือน้องลูกความ และไม่ได้คาดหวังว่าลูกความจะต้องมาใช้บริการ แต่ก็ไม่คิดว่าจะทำกันเอง  ใจกล้ามากค่ะ .... เคสนายจ้างสปอนเซอร์มีหลายประเด็นที่ต้องระวัง พลาดนิดเดียว เคสปลิวได้เลย
  • สรุปว่า Nomination ผ่าน แต่วีซ่าไม่ผ่าน
  • อ่านคำตัดสิน และขอเอกสารต่างๆมานั่งดู ทำ Research และเช็คข้อกฏหมาย (ใช้เวลาไป 3 ชั่วโมง ชาร์จลูกความ 1 ชั่วโมง)
  • คำแนะนำของคนเขียนคือ ถูกปฏิเสธเพราะประโยคเดียวที่น้องเขียน (นายจ้างช่วยเขียน เพราะคิดว่าจะช่วยเคส) ประโยคเดียวจริงๆ จบเคสนี้ไปเลย ..... ปกติแล้วพออ่านคำตัดสิน คนเขียนจะพอเห็นแนวทางการโต้เถียง แล้วเราค่อยมา Perfect เคสกันระหว่างรอ Hearing จะชนะ หรือไม่ชนะ ไม่รู้ แต่อย่างน้อยเราเห็นแนวทาง .... แต่สำหรับเคสนี้ ณ ตอนให้คำปรึกษา คนเขียนคิดไม่ออกจริงๆว่าจะเถียงกับ AAT ยังไงให้เคสรอด
  • การทำเคสเอง บางทีก็เจอแบบนี้ เจ้าตัวคิดว่าเขียนอย่างนี้ ต้องช่วยเคสแน่ๆ ปรากฏว่าสำหรับเคสนี้ ไม่ใช่เลย ตายสงบ ศพไม่สีชมพู ศพเกรียม
  • ด้วยสถานการณ์เฉพาะของเคสนี้ คนเขียนบอกลูกความตามตรงว่าเคส AAT มีความหวังน้อย  แต่เห็นวิธีที่น้องลูกความจะไม่ติด section 48 และสามารถยื่นวีซ่าต่อในประเทศออสเตรเลียได้ ในระหว่างยื่นอุทธรณ์ และถือ ฺBridging visa (เห็นไหมว่าแคร์ คิดว่าเคส AAT อาจจะไม่รอด ก็ยังพยายามหาทางอื่นเผื่อไว้ให้)

และ ... ใช่แล้วค่ะ อ่านไม่ผิด .... ไม่ใช่ทุกเคสที่ถูกปฏิเสธ และถือ Bridging visa แล้วจะต้องติด Section 48 Bar

บางเคส น้องยังอยู่ในภาวะที่ยังสามารถทำอะไรซักอย่างให้ตัวเองไม่ติด Section 48 Bar ได้ (เช่นเคสนี้)

บางเคส กว่าน้องจะมาถึงคนเขียน ก็เลยช่วงเวลาที่จะทำอะไรซักอย่างได้แล้ว แต่การสัมภาษณ์เจาะลึกเพื่อที่จะเข้าใจ timeframe ต่างๆในชีวิตน้อง (หมายถึง timeframe ของวีซ่า) อาจจะช่วยให้คนเขียนพิจารณาได้ว่าจริงๆแล้วน้องติดหรือไม่ติด Section 48 Bar

       
สรุปว่า .... ส่วนใหญ่แล้ว เคสที่ถูกปฏิเสธวีซ่า เคสรออุทธรณ์ และลูกความถือ Bridging visa จะติด Section 48 Bar คือยื่นวีซ่าส่วนใหญ่ในประเทศออสเตรเลียไม่ได้   ..... แต่ (ตัวโตๆ) ... ไม่เสมอไป


  • เคสนี้ คนเขียนแนะนำแนวทางเพื่อที่น้องจะไม่ติด Section 48 Bar ให้ทราบ
  • นายจ้างอีเมล์ตอบกลับมา .... ขอบคุณคนเขียน และบอกว่าไปปรึกษาทนายอีกคน และเค้ามีแนวทางและความเห็นไม่เหมือนคนเขียน และความเห็นของทนายคนนั้นคือ .. บลา ..บลา ...บลา
  • คนเขียนตอบไปว่า ความเห็นและคำแนะนำของคนเขียนยังเหมือนเดิม จะทำตามหรือไม่ทำตาม แล้วแต่คุณ
  • คนเขียนไม่มีหน้าที่มา Justify ความเห็นของตัวเอง ทุกครั้งที่มีคนเห็นต่าง ไม่ว่าจะเป็นทนายความ หรือเอเจนต์ท่านอื่น หรือเพื่อนของลูกความ คนเขียนใช้เวลาในการอ่านเคส ในการวิเคราะห์ อ่านข้อกฏหมาย และ Research ในแต่ละเคสก่อนให้คำแนะนำเสมอ .... สำหรับเคสนี้ ใช้เวลาไป 3 ชั่วโมง .... คุณจะเชื่อ และเอาแนวทางไปปรับใช้ หรือจะไม่เชื่อ และไม่เอาแนวทางไปปรับใช้ ก็เป็นสิทธิ์ของคุณ

ปี 2021 น้องลูกความที่เป็นแฟน (วีซ่าติดตาม ในภาษาน้องๆคนไทย) ติดต่อมาขอนัดปรึกษาสำหรับเคสตัวเอง และไม่ได้ท้าวความอะไรเกี่ยวกับเคสข้างบนเลย

แต่พอส่งเอกสารมา คนเขียนเห็นชื่อคนถือวีซ่าหลัก คนเขียนนึกเคสออกเลยว่าเคสไหน เคสหน้าตาเป็นยังไง เคยให้คำแนะนำอะไรไว้กับคนถือวีซ่าหลัก และนายจ้าง (ขนาดไม่เคยทำเคสให้นะ บางเคส คนเขียนก็มี Photographic memory เคสนี้จำรายละเอียดเคส และคำแนะนำของตัวเองในปี 2018 & 2019 ได้ โดยไม่ต้องดูเอกสารย้อนหลัง !!!  สมองเป็นอะไรที่แปลกมาก)


  • สรุปว่า 2 ปีผ่านไป เคสน้องยังอยู่ที่ AAT 
  • สรุปว่า ที่แนะนำให้ทำ เพื่อที่จะไม่ติด Section 48 Bar ไม่ได้ทำ (เพราะเมื่อปี 2019 ทำตามคำแนะนำของทนายอีกท่านนึง)  ... สรุปว่าติด Section 48 Bar
  • ตอนนี้คนถือวีซ่าหลักจะยื่น 186 ก็ยังยื่นไม่ได้ เพราะเคสยังค้างอยู่ที่ AAT และภาษาอังกฤษก็ยังไม่มี
  • น้อง (คนติดตาม) ต้องการให้ดูว่าเค้าจะสมัครเป็นคนถือ 482 หลักได้ไหม เพราะตอนนี้มีนายจ้างต้องการสปอนเซอร์ 
 
ปัญหาคือ


  1. น้องติด Section 48 ฺBar ต้องบินออกไปยื่นแบบนอกประเทศออสเตรเลีย
  2. น้องจะขอ Bridging visa B ผ่านรึเปล่า เพราะปัญหา COVID-19 ถ้าเหตุผลไม่ดีจริง อิมมิเกรชั่นอาจจะไม่ให้ออก
  3. ถ้าได้ Bridging visa B มา .... ออกไปแล้ว จะกลับเข้ามาได้รึเปล่า มีน้องๆหลายคนที่ออกไปแล้วด้วย Bridging visa B นี่แหละ และก็ติดอยู่นอกประเทศเลย เพราะ COVID-19 และขอ Travel Exemption ไม่ผ่าน
  4. ถ้ายินดีที่จะติดอยู่นอกประเทศ รอ 482 ออก .... แล้วถ้า Nomination และ/หรือวีซ่า 482 ถูกปฏิเสธล่ะ (และเคส AAT ของคนที่ถือวีซ่าหลัก ดูแนวโน้มแล้วมีโอกาสไม่รอดสูง เพราะประโยคๆเดียว)

ถ้าตอนปี 2019 น้อง action อย่างที่คนเขียนแนะนำ น้องก็จะไม่ติด Section 48 Bar น้องคนติดตามก็ยื่น 482 ในประเทศออสเตรเลียได้ และก็จะได้ ฺBridging visa มาถืออีกหนึ่งตัว ถ้าเคสผ่าน ปัญหาที่มีอยู่ก็จบ ถ้าเคสไม่ผ่าน น้องก็ยังยื่นอุทธรณ์ได้ พัฒนาเคสตัวเองต่อไปในออสเตรเลีย (hindsight is a wonderful thing) แต่ตอนนี้ทำแบบนั้นไม่ได้แล้ว

ป.ล. ทนายความและเอเจนต์แต่ละคน มีสไตล์การทำงานไม่เหมือนกัน มองเคสไม่เหมือนกัน วาง Strategy การทำเคสไม่เหมือนกัน คุณมั่นใจคนไหน คุณใช้บริการคนนั้น หรือทำตามคำแนะนำของคนนั้น

คนเขียนจบเคสอุทธรณ์ AAT 186/187 Nomination & Visa applications ไป 3 เคส (ชนะทั้ง 3  เคส และ 2 ใน 3 เคสนี้ เป็น Self Sponsor) จะแชร์ประสบการณ์ให้อ่านกันในโพสหน้านะคะ  ..... ขอบคุณที่ติดตามค่ะ


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com



แชร์ประสบการณ์ Partner visa

27/6/2021

 
วันนี้คนเขียนมาแชร์เคสวีซ่าคู่ครองที่ค่อนข้างซับซ้อน 2 เคส

เคสแรก

ลูกความรักกัน แต่งงานกันที่ไทย คนนึงตัดสินใจมาเรียนที่นี่ อีกคนทำงานอยู่ที่ไทย ต้องห่างกันนานหลายปี ระยะทางและความห่างเป็นปัญหา ไม่มีอะไรจะคุยกัน สุดท้ายหาเรื่องทะเลาะกัน ลงเอยที่การหย่ากันตามกฏหมายออสเตรเลีย

กลับมาเจอกันไม่นานหลังจากหย่า สรุปว่ายังรักกัน เปลี่ยนใจจะไม่หย่าแล้ว (คือคิดว่าแต่งที่ไทย หย่าที่ออสเตรเลีย ระบบไม่ลิงค์กัน ไม่บอกก็ไม่มีใครรู้) .... ไม่ทันแล้วค่ะ หย่าก็คือหย่า แต่งที่ไทยและหย่าที่ออสเตรเลียก็คือหย่าอย่างถูกต้องตามกฏหมาย ไม่ต่างอะไรกับการหย่าที่ไทย (ใครมีปัญหาคล้ายๆกัน และคิดว่าไทยกับออสเตรเลีย ระบบไม่ลิงค์กัน ไม่บอกก็ไม่มีใครรู้ว่าใครแต่งใครหย่า ขอร้องว่าอย่า shortcut ถ้าไม่อยากมีปัญหาให้ปวดหัวที่หลัง ... ปวดหัวมากด้วย PIC4020 การให้ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง false or misleading information ถ้าถูกเช็คเจอ ใบสมัครอาจจะถูกปฏิเสธพร้อมติดบาร์อีก 3 ปี)

เคสนี้ Strategy ของเราหลายสเต็ป เข้าตามตรอกออกตามประตูแบบสุดๆ ปัญหาคืออิมมิเกรชั่นอาจจะคิดว่าการหย่าก็แสดงให้เห็นอยู่แล้วว่าหมดรักกัน ไม่มั่นคงต่อกันจริงๆ (not a genuine and committed relationship) ประกอบกับลูกความอยู่กันคนละประเทศมานาน ทะเลาะกัน ห่างกัน หย่ากัน เอกสารพิสูจน์ความสัมพันธ์ก็น้อยมาก คำอธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์จึงเป็นเรื่องสำคัญมากๆสำหรับเคสนี้

เคสนี้เราทำงานด้วยกัน 4 ปีกว่า ตั้งแต่ลูกความหย่ากันยันได้พีอาร์ (Strategy ได้ผล ไม่มีถูกปฏิเสธ ไม่ต้องไปอุทธรณ์ เย้) ลูกความก็อยู่ซิดนีย์เหมือนคนเขียน แต่เราก็ไม่เคยเจอกัน 

เพราะฉะนั้นน้องๆที่ถามว่าเราจะทำงานด้วยกันยังไงเพราะน้องอยู่ไทย/อยู่ต่างรัฐ  คนเขียนอยู่ซิดนีย์ .... ทำได้ค่ะ ผ่านอีเมล์ + โทรศัพท์ (+ apps ต่างๆที่เหมาะสม)


เคสที่สอง

ลูกความคู่นี้ (หรือสองคู่นี้) ไม่ใช่คนไทยค่ะ แต่เป็นลูกความคนเขียนมา 10 ปีได้    ... เดี๋ยวนะ ... อย่าเพิ่งคิดว่าทำเคสยังไงใช้เวลา 10 ปี !

ลูกความเดิมทีเป็นคู่เหมือนค่ะ อายุต่างกันหลายสิบปี ตอนทำเคสนี้คนเขียนก็ว่าเสี่ยงอยู่แล้วเพราะอายุห่างกันมาก แต่ความรักไม่มีขอบเขต ไม่จำกัดเพศ ไม่จำกัดอายุใช่ไหม สรุปว่าผ่านค่ะ ได้พีอาร์สมใจ

วันดีคืนดีลูกความติดต่อมา
ลูกความ:   ชั้นเลิกกับแฟนแล้วนะ
คนเขียน:   อ้าว... เสียใจด้วยนะ
ลูกความ:   ไม่เป็นไร ชั้นมีแฟนใหม่แล้วนะ
คนเขียน:   ว้าว... ดีใจด้วยนะ
ลูกความ:   เป็นคนละเพศแล้วนะ และอยากให้ทำเคสให้
คนเขียน:   ......

อึ้งไปนาน หลังจากหายอึ้งก็สัมภาษณ์แบบเจาะลึก คนเขียนไม่ได้สงสัยว่าความสัมพันธ์ไม่ใช่เรื่องจริง เพราะเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง เราอยู่ในยุคที่เปิดกว้างและยอมรับว่าอะไรๆก็เป็นไปได้ทั้งนั้น  แต่กังวลแทนลูกความว่าอิมมิเกรชั่นจะคิดยังไงกับประวัติแบบนี้ บอกเลยว่าเป็นเคสความเสี่ยงสูง เคสอาจจะถูกปฏิเสธ เราอาจจะต้องไปถึงชั้นอุทธรณ์ สรุปว่าลูกความยืนยันว่าจะให้คนเขียนทำเคสให้ ...... สรุปว่าทำก็ทำ ... การวางแผนงาน (Strategy) การอธิบายความสัมพันธ์เป็นจุดสำคัญของเคสอีกแล้ว

Stage 1 ผ่านฉลุยอย่างรวดเร็ว
Stage 2 ถูกดอง 2 ปีกว่า
(อย่าคิดว่า Stage 2 เป็นอะไรที่ง่ายๆ แค่ยื่นเอกสารประมาณเดิมก็พอนะคะ ไม่เสมอไปค่ะ ลูกความที่ติดต่อมาหาคนเขียนหลังจากที่ถูกปฏิเสธ Stage 2 ก็เยอะ)

หลายครั้งที่ลูกความโทรมาถามว่าทำไมนานจังเลย เพื่อนยื่นทีหลังได้พีอาร์แล้ว โทรตามไหม อยากได้พีอาร์เร็วๆ  

คำอธิบายของคนเขียนคือ อย่าเอาเคสของตัวเองไปเทียบกับเคสเพื่อน เคสเพื่อนมีประเด็นแบบนี้ไหม (ไม่มี) Processing Centre หรือเจ้าหน้าที่คนเดียวกันไหม (ไม่ทราบ) 

สำหรับบางเคส (รวมถึงเคสนี้ด้วย) คนเขียนไม่ตามค่ะ อยากดองๆไป ในระหว่างถูกดองก็พัฒนาความสัมพันธ์ไป ถามว่าถ้าเคสแน่น อิมมิเกรชั่นจะเอาจุดไหนมาปฏิเสธ

ตามเร็วแล้วอาจจะถูกปฏิเสธ กับถูกดองแล้วอาจจะผ่าน เลือกเอา

ไม่มีใครอยากรอ อยากได้วีซ่าเร็วๆกันทั้งนั้น การที่ทนายความหรือเอเจนต์ตามเคสให้ ลูกความก็แฮ๊ปปี้เพราะดูเหมือนได้รับความเอาใจใส่ แต่บางเคสที่ไม่ได้ตาม ไม่ได้แปลว่าลืมหรือไม่ใส่ใจ .... ไม่มีใครต้องการให้ลูกความไม่แฮ๊ปปี้หรอกค่ะ 

การอีเมล์ตามเคสกับอิมมิเกรชั่น คนเขียนใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที + ลูกความแฮ๊ปปี้
คนเขียนใช้เวลา 15-30 นาที ในการอธิบายเหตุผลว่าทำไมถึงไม่ตามเคสให้ + ความเสี่ยงที่ลูกความก็จะยังไม่แฮ๊ปปี้ต่อไป
เพราะฉะนั้น ....... ถ้าตามเคสแล้ว มีผลดีกับเคส คนเขียนก็ทำไปแล้ว (make sense ไหมคะ)

บางเคสไม่มีใครตอบได้ว่าจะออกหัวหรือก้อย ทำได้แค่ดีที่สุด ถ้ารักกันจริงและไม่มีทางเลือกอื่น ก็ต้องลุยไปข้างหน้า ไม่ลองไม่รู้ (ใช่ไหม) ทั้ง 2 เคส คนเขียนวาง Strategy ให้ลูกความแบบคร่าวๆ ทราบอยู่แล้วว่าเคสแบบนี้เราคาดเดาไม่ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นระหว่างทาง แผนก็ต้องปรับเปลี่ยนกันไปตามหน้างาน คนเขียนไม่ชอบให้ความหวังลูกความ รับได้กับความเสี่ยงเราก็ทำงานด้วยกันได้ 

ทั้งสองเคสลูกความรู้ตั้งแต่ต้นว่าโอกาสที่เคสจะถูกปฏิเสธที่สเต็ปใดสเต็ปหนึ่งมีสูง คนเขียนไม่เคยรับประกันความสำเร็จของงาน ทำได้แค่ดีที่สุด ทั้งสองเคสเราผ่านในทุกสเต็ปค่ะ

ป.ล. นานๆทีก็จะมีน้องโยนหินถามทางมาว่าคนเขียนรับทำเคสจ้างแต่ง เพื่อนช่วยเพื่อน ญาติช่วยญาติไหม
ตอบกันชัดๆไปเลยนะคะ
  - ถ้าความสัมพันธ์ไม่ใช่เรื่องจริง ไม่รับทำเคส
  - ถ้ารับเคสมาแล้ว มาทราบระหว่างทาง ก็เลิกทำเคสระหว่างทาง
  - ถ้าความสัมพันธ์เป็นเรื่องจริง ต่อให้คบกันมาไม่นาน ต่อให้มีความยุ่งยากซับซ้อนแค่ไหน ถ้าคุณยอมรับความเสี่ยงได้ คนเขียนไม่มีปัญหาในการทำเคสให้ (คนเขียนไม่แคร์เรื่อง 100% success rate ถ้า play safe ตลอด ลูกความที่เคสยากแต่อยากลอง ก็พลาดโอกาส และคนเขียนก็พลาดโอกาสที่จะได้พัฒนาตัวเองด้วย)



Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


Q & A : สปอนเซอร์ / Sponsor สำหรับ Partner visa

24/1/2021

 
Q: สอบถามเรื่อง partner visaค่ะ

แฟนเป็น citizen ค่ะ เคยประสบอุบัติเหตุ รัฐบาลว่าเป็น disability ตอนนี้กลับไปทำงานปกติ และลาออกจากงานแล้วเพราะกำลังจะมี business ร่วมกัน  จากข้อมูลเบื้องต้น แฟนสามารถเป็น sponsor ให้ได้ไหมคะ


A: มีคำถามประมาณนี้มาให้ตอบอยู่เรื่อยๆนะคะ ขอตอบในนี้แล้วกันจะได้เป็นประโยชน์กับคนอื่นด้วย

สำหรับกฏหมาย ณ ปัจจุบัน สปอนเซอร์จะตกงาน จะ disable หรือจะทำธุรกิจส่วนตัว ไม่ใช่ประเด็นที่อิมมิเกรชั่นจะดูในส่วนของสปอนเซอร์ค่ะ



Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


    Author


    พี่เก๋ - กนกวรรณ ศุโภทยาน เป็นทนายความไทย และทนายความของประเทศออสเตรเลีย (Immigration Lawyer)

    มีประสบการณ์เป็นทนายความเฉพาะทาง ด้าน IMMIGRATION ของประเทศออสเตรเลีย รับวางแผนการขอวีซ่า ยื่นใบสมัครขอวีซ่าทุกประเภท ช่วยเหลือในชั้นอุทธรณ์ที่ Administrative Appeals Tribunal และในชั้นศาลค่ะ

    ต้องการคำแนะนำ หรือความช่วยเหลือ ติดต่อได้ที่ Immigration Success Australia
    mb: 0428 191 889 หรือ www.immigrationsuccessaustralia.com

    Archives

    July 2021
    June 2021
    March 2021
    February 2021
    January 2021
    December 2020
    November 2020
    October 2020
    September 2020
    July 2020
    June 2020
    May 2020
    April 2020
    March 2020
    February 2020
    March 2019
    January 2019
    November 2018
    October 2018
    August 2018
    July 2018
    June 2018
    April 2018
    October 2017
    September 2017
    August 2017
    May 2017
    April 2017
    August 2015
    April 2015
    December 2014
    September 2014
    August 2014
    June 2014
    March 2014
    January 2014
    October 2013
    September 2013
    July 2013
    June 2013

    Categories

    All
    วีซ่า
    อุทธรณ์
    วีซ่าคู่ครอง
    101
    102
    103
    143
    173
    186
    187
    190
    300
    309
    4020
    408
    445
    457
    462
    476
    482
    485
    489
    491
    500
    870
    AAT
    Accountant
    Administrative Appeals Tribunal
    Adoption Visa
    Approved Nomination
    Australia
    Australian
    Australian Citizenship
    Australian Immigration
    Bar
    Bricklayer
    Bridging Visa
    Bridging Visa A
    Bridging Visa E
    BVA
    BVE
    Changes To Immigration Law
    Changing Courses
    Chef
    Child Visa
    Consolidated Sponsored Occupations List
    COVID 19
    COVID-19
    CSOL
    Decision Ready
    Decision-ready
    Decision Ready Application
    Decision-ready Application
    De Facto Relationship
    Employer Sponsored
    English Exemption
    ENS
    Exercise Physiologist
    Family
    Family Violence
    Federal Circuit Court
    Graduate Work
    GTE
    Hydrogeologist
    Ielts
    Immigration
    Immigration Lawyer
    Judicial Review
    Jurisdictional Error
    Migration Agent
    Migration Review Tribunal
    MRT
    Nomination
    Orphan Relative Visa
    Overstay
    Parent
    Partner Visa
    PIC 4020
    Post Study Work
    Processing Period
    Protection Visa
    Public Interest Criteria
    Public Interest Criterion
    Regional Australia
    Regional Visas
    Registered Migration Agent
    Rma
    RSMS
    Section 48
    Section 48 Bar
    Self Sponsorship
    Skilled Migration
    Skilled Occupations List
    Skilled Work Regional
    Skills Assessment
    SOL
    Sponsor
    Sponsorship
    Student Visa
    Substantive Visa
    Training
    Tsmit
    Unlawful
    Visa Cancellation
    Visa Refusal
    Wall And Floor Tiler
    Working And Holiday Visa

    RSS Feed

Powered by Create your own unique website with customizable templates.