visa blog : สำหรับคนไทยค่ะ
  • Home
  • Blog

กฏเปลี่ยน 1 July 2021

2/7/2021

 
ไม่ทั้งหมด แต่สรุปมาให้เท่าที่สรุปได้นะคะ

  1. Partner visa ที่มีข่าวว่าสปอนเซอร์จะต้องยื่นใบสมัครและได้รับอนุมัติก่อน ผู้สมัครถึงจะยื่นใบสมัครวีซ่าได้ ณ ตอนนี้ (2 July 21 9pm) ยังไม่ปรับใช้นะคะ คาดว่าจะปรับใช้ในปีนี้แหละค่ะ (เมื่อไหร่ ยังไม่ได้ประกาศออกมา)
  2. ค่ายื่นวีซ่าหลายๆตัว (แต่ไม่ทุกตัว) ขึ้นราคา เช็คค่ายื่นกันที่นี่ค่ะ
  3. ค่ายื่น Citizenship application ก็ขึ้นราคา เช็คได้ที่นี่
  4. ค่ายื่นอุทธรณ์ Migration Review application ขึ้นราคา เป็น $3000
  5.  ค่าอุทธรณ์ Refugee Review application (Protection visa ด้วย) = $1846 (ชำระถ้าแพ้คดี)
  6. ค่าตรวจสุขภาพก็ขี้นราคาค่ะ เช็คได้ที่นี่
  7. ใบสมัคร Bridging visa E ยื่นผ่านอีเมล์ไม่ได้แล้วนะคะ เป็นทาง ImmiAccount หรือทางเมล์/courier เท่านั้น (คนเขียนเชื่อว่าประเด็นนี้ไม่กระทบน้องๆเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ก็ยื่นผ่าน ImmiAccount กัน จะมีก็ Professionals บางคน รวมถึงคนเขียนด้วย ที่บางทีก็ยื่นผ่านอีเมล์ด้วยเหตุผลทางเทคนิค)
  8. อาชีพยอดฮิต Chef ตอนนี้อยู่ใน Priority Migration Skilled Occupation List (PMSOL) ด้วย  อาชีพอยู่ใน PMSOL ดียังไง ดีเพราะ Nomination และวีซ่าแบบมีนายจ้างสปอนเซอร์จะได้รับการพิจารณาเร็ว (Priority Processing)

The Priority Migration Skilled Occupation List
ตอนนี้มี 41 อาชีพ (* คืออาชีพที่เพิ่มมาเมื่อ June 2021):


  • Chief Executive or Managing Director (111111)
  • Construction Project Manager (133111)
  • Accountant (General) (221111)*
  • Management Accountant (221112)*
  • Taxation Accountant (221113)*
  • External Auditor (221213)*
  • Internal Auditor (221214)*
  • Surveyor (232212)*
  • Cartographer (232213)*
  • Other Spatial Scientist (232214)*
  • Civil Engineer (233211)*
  • Geotechnical Engineer (233212)*
  • Structural Engineer (233214)*
  • Transport Engineer (233215)*
  • Electrical Engineer (233311)*
  • Mechanical Engineer (233512)
  • Mining Engineer (excluding Petroleum) (233611)*
  • Petroleum Engineer (233612)*
  • Medical Laboratory Scientist (234611)*
  • Veterinarian (234711)
  • Orthotist or Prosthetist (251912)*
  • General Practitioner (253111)
  • Resident Medical Officer (253112)
  • Psychiatrist (253411)
  • Medical Practitioners nec (253999)
  • Midwife (254111)
  • Registered Nurse (Aged Care) (254412)
  • Registered Nurse (Critical Care and Emergency) (254415)
  • Registered Nurse (Medical) (254418)
  • Registered Nurse (Mental Health) (254422)
  • Registered Nurse (Perioperative) (254423)
  • Registered Nurses nec (254499)
  • Multimedia Specialist (261211)*
  • Analyst Programmer (261311)*
  • Developer Programmer (261312)
  • Software Engineer (261313)
  • Software and Applications Programmers nec (261399)*
  • ICT Security Specialist (262112)*
  • Social Worker (272511)
  • Maintenance Planner (312911)
  • Chef (351311)*

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


ถาม-ตอบ COVID-19 กับผลกระทบต่อวีซ่า

28/3/2020

 
โพสนี้ คนเขียนรวบรวมคำถามที่น้องๆถามเข้ามาเกี่ยวกับผลกระทบกับวีซ่าจาก COVID-19 นะคะ

Original post: 28 March 2020 ตัวหนังสือสีเทาอ่อน
Update 1: 4 April 2020 ตัวหนังสือสีน้ำเงิน          



ถือวีซ่าท่องเที่ยว ไม่ติด 8503 (No further stay condition)

===>>  ยื่นขอต่อวีซ่าท่องเที่ยว หรือมีวีซ่าตัวอื่นที่เรามีคุณสมบัติถึงก่อนวีซ่าตัวเดิมหมดอายุ


ถือวีซ่าที่ติด No further stay condition : 8503, 8534 หรือ 8535

===>>  ยื่นขอยกเว้นเงื่อนไข No further stay แต่เนิ่นๆ 2 เดือนก่อนวีซ่าตัวเดิมหมดอายุ เพราะระยะการพิจารณาต้องใช้เวลาพอสมควร

===>> เมื่ออิมมิเกรชั่นยกเว้นเงื่อนไข ก็สามารถยื่นขอวีซ่าท่องเที่ยวหรือวีซ่าตัวอื่นที่เรามีคุณสมบัติถึง

===>> ยื่นขอวีซ่าตัวใหม่ก่อนได้รับยกเว้นเงื่อนไข = Invalid application 


ถือวีซ่า 457 หรือ 482 แต่นายจ้างให้หยุดงานชั่วคราว เพราะธุรกิจต้องปิดให้บริการตามรัฐบาลกำหนด

===>>  ใช้ Annual leave (paid leave) ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน Employment Contract นอกจากจะยังมีรายได้แล้ว ยังสามารถนับเวลาสำหรับการยื่น PR ได้ด้วย

===>>  นายจ้างให้หยุดแบบไม่จ่ายค่าจ้าง (stand down) หรือมีการทำ Leave without pay ควรมีการทำบันทึกไว้ด้วยนะคะเผื่ออิมมิเกรชั่น (Monitoring Unit) มาตรวจในภายหลัง อย่าลืมว่านายจ้างมีหน้าที่ต้อง Keep records

===>> ตามนโยบายของอิมมิเกรชั่น Leave without pay 3 เดือนไม่น่าจะมีปัญหา โน๊ตว่าตอนนี้อิมมิเกรชั่นใช้ Flexible approach (ยืดหยุ่นให้ตามสถานการณ์ของแต่ละเคส ย้ำที่ขีดเส้นใต้) ซึ่ง ณ จุดนี้ยังไม่ชัดเจนว่า Flexible approach คือแค่ไหน ยังไงบ้าง  โน๊ตว่าระยะเวลาที่ใช้ Leave without pay โดยปกติจะนับเป็นเวลาสะสมสำหรับการยื่น PR ไม่ได้นะคะ (ถ้านโยบายเปลี่ยน หรือมีอัพเดทอะไร ก็จะมาอัพเดทให้ทราบที่โพสนี้)

===>>  สามารถนับเวลาระหว่างหยุดงานชั่วคราวสำหรับการยื่น PR ได้ ไม่ว่าจะหยุดแบบได้รับหรือไม่ได้รับค่าจ้าง

===>>  รัฐอนุญาตให้ถอนเงินจาก Superannuation fund ได้ $10,000 สำหรับปีภาษีนี้


ถือวีซ่า 457 หรือ 482 แต่นายจ้างให้หยุดงานชั่วคราว เพราะธุรกิจต้องปิดให้บริการตามรัฐบาลกำหนด สามารถทำงานที่อื่นในระหว่างที่นายจ้างให้หยุดงานได้ไหม

===>>  ตามกฏหมายแล้วไม่ได้ค่ะ  สำหรับวีซ่า 457 ผิดเงื่อนไข 8107  ส่วนวีซ่า 482 ผิดเงื่อนไข 8607
คือนายจ้างใหม่ต้องมี Approved Nomination ก่อน เราถึงจะทำงานได้โดยไม่ผิดเงื่อนไขวีซ่า พอนายจ้างเดิมเรียกตัวกลับไปทำงาน นายจ้างเดิมก็ต้องทำ Nomination ใหม่และรอ Approve ก่อน เราถึงจะกลับไปทำงานได้ค่ะ

===>>  แล้วจะอยู่ยังไง ยังต้องกินต้องใช้ ยังมีค่าใช้จ่าย นั่นแหละคือปัญหา ซึ่งอิมมิเกรชั่นทราบ และคนเขียนคาดว่า (wishful thinking) อิมมิเกรชั่นจะมีประกาศแนวทางที่ยืดหยุ่นในประเด็นนี้เร็วๆนี้ค่ะ  (ถ้ามีความคืบหน้า จะมาอัพเดทให้ที่โพสนี้นะคะ)
  
===>>  รัฐอนุญาตให้ถอนเงินจาก Superannuation fund ได้ $10,000 สำหรับปีภาษีนี้


ถือวีซ่า 457 หรือ 482 แต่นายจ้างเลิกจ้างถาวร

===>>  หางานใหม่ที่นายจ้างพร้อมจะสปอนเซอร์และยื่น Nomination application ภายใน 60 วัน 

===>>  ตอนนี้อิมมิเกรชั่นใช้ Flexible approach (ยืดหยุ่นให้ตามสถานการณ์ของแต่ละเคส) อาจจะยืดหยุ่นในเรื่องเวลา แต่ก็ยังไม่มีประกาศออกมา เพราะฉะนั้น พยายามหานายจ้างใหม่ให้ได้ภายใน 60 วัน  ถ้าหาไม่ได้ ก็ไปลุ้นกับ Flexible approach ของอิมมิเกรชั่นเอาดาบหน้าค่ะ

===>>  รัฐระบุว่าถ้าถูกเลิกจ้างและหาสปอนเซอร์ใหม่ไม่ได้ภายในเงื่อนไข 60 วัน ก็ควรจะกลับออกไปค่ะ (คือยังไม่มีความยืดหยุ่นในส่วนนี้) 

===>>  ถ้ามีการ Re-employed หลังจากเรื่อง COVID-19 จบลง ก็สามารถนับเวลาการทำงานในประเทศออสเตรเลียสำหรับการยื่น PR ได้ (โน๊ตว่าตอนนี้คนเขียนไม่แน่ใจว่าหมายถึงการ Re-employed โดยนายจ้างเดิมเท่านั้น หรือนายจ้างใหม่ก็สามารถนับเวลาได้ด้วย รอประกาศเพิ่มเติมค่ะ)



ถือวีซ่า 457 หรือ 482 แต่นายจ้างลดชั่วโมงการทำงาน และลดค่าจ้าง

===>>  จริงๆแล้วทำไม่ได้นะคะ เพราะ 457 และ 482 เป็นวีซ่าที่นายจ้างสปอนเซอร์มาทำงาน full-time ในตำแหน่งที่ขาดแคลน

===>>  ตอนนี้ยังไม่มีประกาศจากอิมมิเกรชั่นที่จะยกเว้นเงื่อนไข full-time แต่คนเขียนคิดว่า (wishful thinking อีกแล้ว) อิมมิเกรชั่นน่าจะประกาศแนวทางที่ยืดหยุ่นในประเด็นนี้เร็วๆนี้ เพราะเป็นสถานการณ์ที่ธุรกิจส่วนใหญ่จะต้องเลือกระหว่างลดชั่วโมง ลดค่าจ้าง vs หยุดงานแบบไม่มีค่าจ้าง vs เลิกจ้าง

===>>  ถ้านายจ้างไม่มีทางเลือกและจำเป็นที่จะต้องลดชั่วโมงการทำงานและลดค่าจ้าง อย่างนึงที่ควรจะต้องทำให้ได้ คือจ่ายค่าจ้างในเรทที่ถูกต้องในลักษณะ Pro-rata คือเคยจ่ายชั่วโมงละเท่าไหร่ตอนทำงาน full-time ก็จ่ายชั่วโมงละเท่าเดิม ไม่มีการลดเรทค่าแรงนะคะ 

===>>  นายจ้างสามารถลดชั่วโมงการทำงานได้โดยไม่ผิด Sponsorship obligations และลูกจ้างก็ไม่ผิดเงื่อนไขวีซ่า 


ถือ Bridging visa A ระหว่างรอผลการพิจารณาวีซ่า 186 แต่นายจ้างให้หยุดงานชั่วคราวแบบไม่จ่ายค่าจ้าง เพราะธุรกิจต้องปิดให้บริการตามที่รัฐบาลกำหนด

===>>  ไม่มีปัญหาค่ะ ธุรกิจเปิดเมื่อไหร่ก็กลับไปทำต่อนะคะ

===>>  รัฐอนุญาตให้ถอนเงินจาก Superannuation fund ได้ $10,000 สำหรับปีภาษีนี้


ตอนนี้ยื่นใบสมัครวีซ่าถาวร หรือวีซ่า 820 (Stage1 Partner visa) ไปแล้ว อยู่ระหว่างรอการพิจารณา

===>>  ขอ Medicare ได้ค่ะ ไม่จำเป็นต้องรอให้วีซ่าเดิมหมดอายุ ยื่นใบสมัครเรียบร้อยก็ยื่นขอ Medicare ได้เลยค่ะ

===>> ขอ Stimulus package จาก Centrelink ไม่ได้ เพราะเป็นสิทธิ์ของคนที่ถือพีอาร์ หรือเป็น Australian citizen เท่านั้น

===>>  ตอนนี้มีหลายๆหน่วยงานพยายามล๊อบบี้ให้รัฐบาลให้ความช่วยเหลือคนที่ถือวีซ่าชั่วคราวด้วย แต่ยังไม่มีนโยบายอะไรออกมานะคะ

===>>  รัฐอนุญาตให้ถอนเงินจาก Superannuation fund ได้ $10,000 สำหรับปีภาษีนี้


ตอนนี้ถือวีซ่าทำงาน 491, 494 (Regional visas)

===>>  ขอ Medicare ได้ค่ะ  แต่ขอ Stimulus package จาก Centrelink ไม่ได้ (อ่านข้างบนนะคะ)

===>>  รัฐอนุญาตให้ถอนเงินจาก Superannuation fund ได้ $10,000 สำหรับปีภาษีนี้


ตอนนี้อยู่ที่ออสเตรเลีย แต่วีซ่าหมดอายุไปแล้ว

===>>  ติดต่อขอคำแนะนำค่ะ อาจจะยังมีวีซ่าที่สามารถยื่นได้

===>>  ถ้าต้องการแค่รอเวลาสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย กลับไทยได้เมื่อไหร่ก็จะกลับและไม่ได้คิดที่จะขอวีซ่าอื่น ติดต่ออิมมิเกรชั่นเพื่อขอ Bridging visa E เพื่อที่จะอยู่ที่นี่ได้อย่างถูกกฏหมายในระหว่างรอ


ตอนนี้อยู่ประเทศไทย แต่กลับมาที่ออสเตรเลียไม่ได้ และ Bridging visa B หมดอายุ

===>>  Bridging visa B ต่ออายุไม่ได้ และไม่สามารถสมัครได้ถ้าอยู่นอกประเทศออสเตรเลีย เมื่อสถานการณ์คลี่คลาย อาจจะลองยื่นใบสมัครวีซ่าท่องเที่ยว หรือวีซ่าอื่นที่มีคุณสมบัติถึง


ตอนนี้อยู่ประเทศไทย ถือวีซ่านักเรียน แต่กลับเข้ามาไม่ได้

===>>  ติดต่อโรงเรียน หรือ Education Agent เพื่อทำเรื่องขอ Defer คอร์ส

===>>  ถ้าวีซ่านักเรียนหมดอายุในระหว่างที่อยู่ไทย เมื่อสถานการณ์คลี่คลาย ก็ต้องยื่นใบสมัครเพื่อขอวีซ่านักเรียนตัวใหม่ค่ะ


ตอนนี้เรื่องอยู่ที่ชั้นอุทธรณ์ AAT จะต้องรออีกนานไหม

===>>  AAT ยังพิจารณาเคสอยู่นะคะ การ Hearing ก็จะเป็นทางโทรศัพท์ หรือ Video link แทน ความล่าช้า (จากที่ปกติก็ล่าช้าอยู่แล้ว) ก็เป็นอะไรที่เข้าใจได้นะคะ เพราะต้องปรับเปลี่ยนหลายอย่างให้เหมาะสมกับสถานการณ์ COVID-19 แต่อย่างน้อย AAT ก็ยังไม่ได้มีประกาศหยุดการพิจารณา


ป.ล. มีหลายคำถามที่คนเขียนก็ไม่มีคำตอบให้นะคะ ต้องรอรัฐบาลหรืออิมมิเกรชั่นประกาศเพิ่มเติม ก็ตอบให้เท่าที่ตอบได้ และจะมาอัพเดทให้เมื่อมีข้อมูลเพิ่มเติม  คำถามเกี่ยวกับ Centrelink รบกวนถามหน่วยงานโดยตรงนะคะ


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com

ฺBE honest โปรดแจ้งชื่อเดิม และประวัติที่ถูกต้องในใบสมัครวีซ่า

8/2/2020

 
นานๆทีก็จะมีน้องโทรมาถามประมาณนี้

"พี่ครับผมเคยไปออสเตรเลียและหนีวีซ่ามาระยะนึง ถูกจับได้และส่งกลับ ตอนนี้อยู่ไทย เอเจนต์แนะนำให้ผมเปลี่ยนชื่อแล้วไปขอพาสปอร์ตด้วยชื่อใหม่ นี่ผมไปเปลี่ยนชื่อมาแล้ว กำลังจะไปทำพาสปอร์ต พี่ว่าผมจะได้วีซ่าไหมครับ "

อารมณ์คนเขียนก็ประมาณ

"โอ้โหน้อง เอเจนต์ที่ไหนคะเนี่ยแนะนำแบบนี้" 

เอเจนต์คงไม่ได้แนะนำให้เปลี่ยนชื่อ เผื่อชื่อใหม่จะทำให้ดวงดีได้วีซ่าหรอกค่ะ  คาดว่าเอเจนต์ตั้งใจจะยื่นวีซ่าให้โดยใช้ชื่อใหม่ ไม่แจ้งชื่อเดิม เผื่ออิมมิเกรชั่นจะไม่เจอว่าน้องเคยมีประวัติหนีวีซ่า

การไม่แจ้งชื่อเดิมในใบสมัคร อาจจะมีผลกระทบกับวีซ่าได้นะคะ โดยเฉพาะในกรณีที่ชื่อเดิมมีประวัติไม่ดีแบบนี้ ถ้าอิมมิเกรชั่นตรวจเจอเข้าในระหว่างพิจารณาวีซ่า นอกจากอาจจะถูกปฏิเสธวีซ่าเพราะประวัติเดิมแล้ว ยังอาจจะถูกติดบาร์ 3 ปี (PIC 4020) จากการให้ข้อมูลที่ไม่เป็นจริงด้วย ถ้าบังเอิญโชคดีได้วีซ่า ก็ไม่ได้แปลว่าอนาคตจะไม่มีปัญหา ต่อให้หมกเม็ดไปตลอดรอดฝั่งจนได้พีอาร์ ได้เป็นพลเมือง อิมมิเกรชั่นก็อาจจะมาเจอประวัติเก่าเข้าจนได้

คนเขียนเอาเคสที่เพิ่งอ่านเจอเมื่อเร็วๆนี้มาแชร์นะคะ

เคสนี้คือเข้ามาด้วยวีซ่าท่องเที่ยว พบรัก แต่งงาน ขอวีซ่าคู่ครอง ความสัมพันธ์ไปไม่รอด ไม่ได้พีอาร์และกลับประเทศไป  ต่อมาพบรักใหม่กับออสซี่อีกคน แทนที่จะขอวีซ่าคู่ครองตามปกติซึ่งก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เอเจนต์กลับแนะนำให้เปลี่ยนชื่อก่อนยื่น เพื่อที่จะยื่นวีซ่าคู่ครองด้วยชื่อใหม่โดยไม่แจ้งชื่อเดิม คือประวัติใสค่ะ เสมือนไม่เคยขอวีซ่า

สรุปว่าได้วีซ่าคู่ครองกับแฟนใหม่ด้วยชื่อใหม่ และต่อมาก็ได้เป็นพลเมืองด้วยชื่อใหม่ ......18 ปีผ่านไปอิมมิเกรชั่นไปเจอเข้าโดยบังเอิญ (เดี๋ยวนี้ระบบคอมพิวเตอร์เค้าเริ่ดนะคะ) โดนยกเลิกการเป็นพลเมือง เจ้าตัวขอความเห็นใจว่าเค้ามีลูกและก็ลงหลักปักฐานที่นี่มา 18 ปีแล้ว และที่ทำแบบนั้นก็เพราะเอเจนต์แนะนำให้ทำ ....  คืออิมมิเกรชั่นหรือศาลไม่ค่อยฟังหรอกนะคะเหตุผลประมาณนี้ เพราะคุณเองก็ต้องมีวิจารณญาณคิดได้เองด้วยว่าอะไรควรอะไรไม่ควร ใบสมัครของคุณถือว่าคุณเป็นคนให้ข้อมูลจะมีคนช่วยหรือไม่ก็แล้วแต่ (เพราะฉะนั้นต่อให้ใช้บริการเอเจนต์หรือทนาย ก็ต้องใส่ใจเคสตัวเองค่ะ no ifs no buts)

ถ้าตั้งใจจะเปลี่ยนชื่อเพื่อให้ประวัติใสสะอาด อย่าทำค่ะ ไม่คุ้ม

ถ้าเปลี่ยนชื่อเพราะเชื่อเรื่องดวง แต่งงาน หย่า หรือด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ แจ้งชื่อเก่าและประวัติเก่าให้อิมมิเกรชั่นทราบด้วยค่ะ จะได้พีอาร์ และอนาคตจะต่อยอดไปเป็นพลเมือง ก็เอาให้แน่ใจว่าได้มาแล้วมันจะอยู่กับเราไปตลอดชีวิต 

คนเขียนมีเคสน้องคนนึงเคยถือวีซ่าท่องเที่ยว จากนั้นก็ถือวีซ่านักเรียนอีก 2-3 ตัว น้องมาให้คนเขียนดูแลในส่วนของวีซ่าคู่ครองให้   ถามไปถามมาได้ความว่าในใบสมัครวีซ่าท่องเที่ยวและวีซ่านักเรียน น้องแจ้งว่า Never married (ไม่เคยแต่งงาน / โสด) และไม่เคยมีชื่ออื่น แต่ในความเป็นจริงน้องเคยแต่งงาน เคยหย่า และเคยเปลี่ยนชื่อมา 6 หน !!!

คนเขียนแจ้งให้น้องทราบถึงโอกาสที่จะเกิดปัญหา PIC 4020 (การให้ข้อมูลไม่ถูกต้องในใบสมัครเดิม อาจจะทำให้ใบสมัครใหม่ถูกปฏิเสธและติดบาร์ 3 ปี)  น้องบอกว่า "แหมพี่คะ พี่ก็ทำให้มันเหมือนที่เอเจนต์เดิมทำสิคะ ไม่ต้องแจ้งอะไรทั้งนั้น" คนเขียนก็บอกว่า "น้องคะ น้องมาทางไหนน้องไปทางนั้นเลยค่ะ" .... ล้อเล่นค่ะ ไม่ได้พูด (แค่คิดในใจ)

คนเขียนบอกน้องว่าทำแบบนั้นไม่ได้ค่ะ 1. ผิดจรรยาบรรณ   2. พีอาร์เป็นวีซ่าถาวร น้องอยากได้พีอาร์ระยะสั้น หรือพีอาร์ระยะยาว ถ้าได้พีอาร์แล้วถูกยกเลิกภายหลัง หรือได้เป็นพลเมืองแล้วถูกยกเลิก รับได้ไหม

มีทางเลือกให้น้อง 2 ทางคือ 1. ใช้บริการคนเขียน Declare ทุกอย่างตามความเป็นจริง แน่นอนคนเขียนจะช่วยอย่างเต็มที่เท่าที่ทนายคนนึงจะทำได้โดยไม่ผิดจรรยาบรรณ เคสเสี่ยงถูกปฏิเสธไหม เสี่ยงแน่นอน แต่ถ้าผ่านเราก็ได้วีซ่ามาอย่างถูกต้อง ไม่ต้องมากังวลว่ากรรมจะตามทันเหมือนเคสที่เล่าให้ฟังข้างบน  2. ไปใช้บริการคนอื่นได้เลยค่ะ

น้องตัดสินใจใช้บริการค่ะ เคสแบบนี้เป็นเคสต้องคิดเยอะค่ะ Strategy การทำงานต้องมี ว่าจะนำเสนอเคสแบบไหนให้เคสดูดีที่สุด ต้องคิดเผื่อแผนสอง แผนสาม (อย่ามาถามหาการันตี เคสง่ายแค่ไหนก็ไม่เคยการันตี เพราะคนเขียนไม่ใช่คนตัดสินเคส)  เราทำเต็มที่แล้วเราก็ลุ้นผลไปด้วยกัน เตรียมใจเผื่อต้องยื่นอุทธรณ์กันไว้เรียบร้อย แล้วเราก็ผ่านมันมาได้ที่ชั้นอิมมิเกรชั่น โดยไม่มีการขอเอกสารหรือข้อมูลเพิ่มเติมเลย ตอนนี้น้องก็เป็นพีอาร์ไปแล้ว เมื่อพร้อมขอเป็นพลเมืองก็ไม่น่าจะเจอปัญหาอะไร เพราะเราเซ็ตข้อมูลของลูกความให้อิมมิเกรชั่นทราบอย่างถูกต้องแล้ว ไม่ต้องกลัวเผลอ ไม่ต้องกลัวเจอประวัติหมกเม็ดอีกต่อไป .....จริงๆ ระหว่างทางเราก็เจอประวัติคดีอาญาของน้องด้วย หลังจากที่ Declare ไปแล้วว่าไม่มีประวัติ น้องบอกว่า "หนูไม่รู้ หนูลืม" Great! - คนเขียนไม่รู้เหมือนกันว่าเรารอดมาได้ยังไง

สรุปว่า Declare (แจ้ง) ชื่อทุกชื่อ สถานะ และประวัติของเราอย่างถูกต้องค่ะ ถ้าปัญหาจะเกิดก็ให้มันเกิดซะตั้งแต่ต้น ไม่ว่าจะขอวีซ่าชั่วคราว หรือวีซ่าพีอาร์ ถ้าหมกเม็ดแล้วต้องมาตามแก้ปัญหา = ความเสี่ยงสูง/ ค่าใช้จ่ายสูง/ เสียเครดิต (หมดความน่าเชื่อถือ) หมกเม็ดไปเรื่อยๆก็อาจจะเจอแจ็คพอตแบบเคสข้างบน ถูกยกเลิกการเป็นพลเมืองหลังจากลงหลักปักฐานสร้างอนาคตที่นี่ไปเรียบร้อยแล้ว (เคสที่ถูกยกเลิกการเป็นพลเมืองมีอยู่เรื่อยๆนะคะ นี่แค่ตัวอย่างเดียว บางเคสที่หมกเม็ดเอาไว้ เรื่องก็มาแดงเอาตอนขอเป็นพลเมืองนี่แหละค่ะ ผลคือถูกปฏิเสธการเป็นพลเมือง และก็ถูกยกเลิกพีอาร์ บางเคสไม่ได้กระทบแค่ตัวเอง ลูกและคู่ครองก็พลอยโดนไปด้วย)

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com

Australian Citizenship

6/9/2017

 
จากที่รัฐบาลประกาศในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ว่าเงื่อนไขการขอเป็นพลเมืองของออสเตรเลียจะเปลี่ยน และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 20 เมษายน 2017

เงื่อนไขใหม่ที่รัฐบาลต้องการจะปรับใช้ ก็เช่น
               - ถือพีอาร์มาอย่างน้อย 4 ปีก่อน
               - มีผลภาษาอังกฤษระดับ Competent English (เทียบกับ IELTS ก็ 6 ทุกพาร์ท)
               - มีการปรับข้อสอบการเป็นพลเมืองใหม่
               - โชว์ว่ามีการปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมและสังคมของออสเตรเลีย

หลายๆคนอาจจะคิดว่าเงื่อนไขใหม่นี้มีผลบังคับใช้แล้ว แต่จริงๆแล้วยังนะคะ ยังไม่เป็นกฏหมาย และยังคงถกเถียงกันอยู่ในสภา

ข่าวล่าสุด (เมื่อวาน) มีแนวโน้มสูงว่ารัฐบาลจะไม่ได้เสียงข้างมากในเรื่องของภาษาอังกฤษ เพราะ Labour, Green & NXT (Nick Xenophon Team) ไม่สนับสนุนผลภาษาอังกฤษสูงระดับนี้ (คนเขียนก็ไม่เห็นด้วย พลเมืองออสเตรเลียที่ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง แต่ก็ปรับตัวเข้ากับสังคมออสเตรเลียได้ มีงานทำ เสียภาษี เป็นพลเมืองที่ดี เป็นคนดีของสังคมก็เยอะแยะไป) นอกจากภาษาอังกฤษแล้ว บางส่วนก็ไม่เห็นด้วยกับการให้มีระยะถือพีอาร์นานขึ้นและยืดระยะเวลาการขอ Australian citizenship ออกไป  และก็มีส่วนที่ไม่สนับสนุนให้เงื่อนไขใหม่มีผลย้อนหลังไปบังคับใช้ตั้งแต่ 20 เมษายน 2017

เราก็มารอดูกันต่อนะคะว่ากฏหมาย/เงื่อนไขใหม่จะผ่านสภาหรือไม่
           - อาจจะไม่ผ่านสภาเลย และอิมมิเกรชั่นก็ต้องนำเงื่อนไขเดิมทั้งหมดมาปรับใช้ หรือ
           - อาจจะผ่านเป็นบางเงื่อนไข (โอกาสผ่านทุกเงื่อนไข น่าจะยากแล้วนะคะ เพราะรัฐบาลไม่น่าจะได้             
              เสียงข้างมากในสภา)
           - ถ้ามีเงื่อนไขบางอย่างผ่านสภา ก็ต้องมาดูว่าจะมีผลย้อนหลังไปถึงคนที่ยื่นระหว่าง 20 เมษายน 2017 แต่
             ก่อนเงื่อนไขใหม่ผ่านสภามาเป็นกฏหมายหรือไม่ (คือจะมีผล Retrospective หรือไม่) หรือจะมีผลกับคนที่
             ยื่นตั้งแต่วันที่เงื่อนไขใหม่มีผลบังคับใช้ตามกฏหมายเท่านั้น

ที่มา ผ่านข่าวทางทีวีเมื่อคืนค่ะ
และ Sydney Morning Herald

และ ABC NEWS

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com

    Author


    พี่เก๋ - กนกวรรณ ศุโภทยาน เป็นทนายความไทย และทนายความของประเทศออสเตรเลีย (Immigration Lawyer)

    มีประสบการณ์เป็นทนายความเฉพาะทาง ด้าน IMMIGRATION ของประเทศออสเตรเลีย รับวางแผนการขอวีซ่า ยื่นใบสมัครขอวีซ่าทุกประเภท ช่วยเหลือในชั้นอุทธรณ์ที่ Administrative Appeals Tribunal และในชั้นศาลค่ะ

    ต้องการคำแนะนำ หรือความช่วยเหลือ ติดต่อได้ที่ Immigration Success Australia
    mb: 0428 191 889 หรือ www.immigrationsuccessaustralia.com

    Archives

    July 2021
    June 2021
    March 2021
    February 2021
    January 2021
    December 2020
    November 2020
    October 2020
    September 2020
    July 2020
    June 2020
    May 2020
    April 2020
    March 2020
    February 2020
    March 2019
    January 2019
    November 2018
    October 2018
    August 2018
    July 2018
    June 2018
    April 2018
    October 2017
    September 2017
    August 2017
    May 2017
    April 2017
    August 2015
    April 2015
    December 2014
    September 2014
    August 2014
    June 2014
    March 2014
    January 2014
    October 2013
    September 2013
    July 2013
    June 2013

    Categories

    All
    วีซ่า
    อุทธรณ์
    วีซ่าคู่ครอง
    101
    102
    103
    143
    173
    186
    187
    190
    300
    309
    4020
    408
    445
    457
    462
    476
    482
    485
    489
    491
    500
    870
    AAT
    Accountant
    Administrative Appeals Tribunal
    Adoption Visa
    Approved Nomination
    Australia
    Australian
    Australian Citizenship
    Australian Immigration
    Bar
    Bricklayer
    Bridging Visa
    Bridging Visa A
    Bridging Visa E
    BVA
    BVE
    Changes To Immigration Law
    Changing Courses
    Chef
    Child Visa
    Consolidated Sponsored Occupations List
    COVID 19
    COVID-19
    CSOL
    Decision Ready
    Decision-ready
    Decision Ready Application
    Decision-ready Application
    De Facto Relationship
    Employer Sponsored
    English Exemption
    ENS
    Exercise Physiologist
    Family
    Family Violence
    Federal Circuit Court
    Graduate Work
    GTE
    Hydrogeologist
    Ielts
    Immigration
    Immigration Lawyer
    Judicial Review
    Jurisdictional Error
    Migration Agent
    Migration Review Tribunal
    MRT
    Nomination
    Orphan Relative Visa
    Overstay
    Parent
    Partner Visa
    PIC 4020
    Post Study Work
    Processing Period
    Protection Visa
    Public Interest Criteria
    Public Interest Criterion
    Regional Australia
    Regional Visas
    Registered Migration Agent
    Rma
    RSMS
    Section 48
    Section 48 Bar
    Self Sponsorship
    Skilled Migration
    Skilled Occupations List
    Skilled Work Regional
    Skills Assessment
    SOL
    Sponsor
    Sponsorship
    Student Visa
    Substantive Visa
    Training
    Tsmit
    Unlawful
    Visa Cancellation
    Visa Refusal
    Wall And Floor Tiler
    Working And Holiday Visa

    RSS Feed

Powered by Create your own unique website with customizable templates.