visa blog : สำหรับคนไทยค่ะ
  • Home
  • Blog

ภาษาอังกฤษสำหรับ Subclass 485 Temporary Graduate & Subclass 476 Skilled - Recognised Graduate

23/4/2015

 
คนเขียนนั่งพิมพ์หัวข้อนี้มาตั้งแต่วันจันทร์ แต่เนื่องจากฝนฟ้า พายุ ไฟดับ.... เลยพิมพ์ไม่เสร็จ

ณ ตอนนี้ไฟก็ยังดับอยู่ ยังดีที่คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ คนเขียนก็พิมพ์ต่อใต้แสงเทียน ... หัวข้อนี้เลยมาแบบ
สั้นๆนะคะ กลัวแบตหมดก่อน เดี๋ยวจะพิมพ์ไม่เสร็จอีก

เข้าเรื่องกันเลย
นอกจากอิมจะปรับผลภาษาอังกฤษสำหรับวีซ่า 457 ให้ง่ายขึ้นแล้ว ภาษาอังกฤษสำหรับวีซ่า 485 และวีซ่า 476 ก็ได้รับการปรับเปลี่ยนให้ง่ายขึ้น (นิดนึง) ด้วยค่ะ ตั้งแต่วันที่ 18 April 2015

จากที่จำเป็นต้องใช้ IELTS 6 ทุกพาร์ท ก็เปลี่ยนเป็น ค่าเฉลี่ย (overall score) 6 โดยที่ทุกพาร์ทต้องไม่ต่ำกว่า 5

นอกจากนี้ผลภาษาอังกฤษจากการสอบแบบอื่นก็สามารถนำมาใช้แทนผล IELTS ได้ มีอะไรบ้าง เรามาดูกันนะคะ

Picture
ถือว่าเป็นอีกข่าวดีสำหรับน้องๆนักเรียนที่สอบ IELTS มาหลายรอบแล้ว และเกือบจะ 6 ทุกพาร์ทแต่ไม่ถึงซักที

โน๊ตตัวโตๆ - สำหรับสาย Graduate Work Stream ซึ่งต้องยื่นผล Skills assessment อย่าลืมว่าหน่วยงานที่รับทำ Skills assessment ของบางสายอาชีพ ยังไม่ได้ปรับกฏภาษาอังกฤษให้เข้ากับกฏใหม่ของอิมนะคะ น้องๆที่เลือก หรือ Nominate สายอาชีพที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษสูงกว่าที่อิมกำหนดไว้สำหรับวีซ่าที่กล่าวถึง ก็ต้องสอบให้ได้ตามที่หน่วยงาน Skills assessment กำหนดไว้นะคะ เพราะถ้าทำ Skills assessment ไม่ผ่าน ก็ไม่ได้วีซ่าอยู่ดี

จบข่าว
Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com

Subclass 457 VISA  -  April 2015  -  กฏเปลี่ยนอีกแล้วค่ะ

18/4/2015

 
กฏเปลี่ยนรอบนี้น่าจะเป็นข่าวดีสำหรับน้องๆหลายคนที่สอบ IELTS มาหลายรอบ แต่ไม่ได้ 5 ทุกพาร์ทซะที ซึ่งรัฐบาลก็เกริ่นๆมาว่าจะแก้ไขมาพักใหญ่แล้ว และในที่สุดก็มีผลบังคับใช้แล้วค่ะ ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 18 April 2015 (คนเขียนไม่เข้าใจว่าทำไมเริ่มมีผลวันเสาร์ @#$%^&^@# ความช่างสงสัยนี่เป็นธรรมชาติของนักกฏหมายค่ะ น้องๆก็ไม่ต้องสงสัยตามหรอกนะคะ รู้แค่ว่ามีผลบังคับใช้แล้วก็พอค่ะ)

เริ่มเลย

IELTS ตอนนี้เปลี่ยนจากที่ต้องได้ 5 ทุกพาร์ท มาเป็นค่าเฉลี่ย 5 โดยที่ต้องได้อย่างน้อย 4.5 ทุกพาร์ท
นอกจากนี้อิมก็ยอมรับผลภาษาอังกฤษประเภทอื่นด้วย คือ

    -     Occupational English Test (OET)
    -     Test of English as a Foreign Language internet-based test (TOEFL iBT)
    -    
Pearson Test of English Academic (PTE)
    -     Cambridge English: Advanced test (CAE) - ผลของ CAE จะต้องหลักจากวันที่ 1 มกราคม 2015 นะคะ

ว่าแล้วก็ตัดแปะผลภาษาอังกฤษตามที่กฏใหม่กำหนดไว้มาให้ดูเลยละกันนะคะ
Picture
ส่วนใครที่คิดว่าถึงแม้จะลดผลคะแนน IELTS ก็แล้ว เพิ่มประเภทการสอบภาษาอังกฤษก็แล้ว ก็ยังไม่รอดอยู่ดี ลองมาดูข้อยกเว้นผลภาษาอังกฤษกันค่ะ

1. ได้รับเสนอเงินเดือนอย่างน้อย $96,400 ต่อปี คนเขียนอยากบอกว่า อิมจะนำปัจจัยอื่นๆมาประกอบการ                    พิจารณาด้วยนะคะ คือไม่ใช่ว่าได้รับการเสนอเงินเดือนเท่านี้ แปลว่าได้วีซ่าแน่ๆ

2. ถือพาสปอร์ตของ UK, US, Canada, NZ and Ireland

3. เรียน full-time เป็นภาษาอังกฤษ ใน secondary and/or higher education institution มาอย่างน้อย 5 ปี            กฏนี้มีการเปลี่ยนแปลงนะคะ จากเดิมจะต้องเป็น 5 ปีต่อเนื่อง ตอนนี้นับรวมได้ 5 ปีเป็นอันใช้ได้ แปลว่าเรียนมา         2 ปี พักการเรียนไป 1 ปี กลับมาเรียนต่ออีก 3 ปี ก็โอเคค่ะ พิสูจน์ให้ได้ก็แล้วกัน

แถมท้ายด้วย


ค่าแรงขั้นต่ำ (TSMIT) สำหรับลูกจ้างที่ขอ 457 ยังคงเดิมค่ะ คือ $53,900
ค่าแรงของลูกจ้าง สำหรับนายจ้างที่ไม่ต้องการโชว์ Market Rate ลดลงจาก $250,000 เป็น $180,000 
(อัฟเดทค่ะ เนื่องจากเรทใหม่ $180,000 ที่ประกาศให้ใช้เมื่อ 18 เมษายน 2015 ไม่ผ่านที่ The Senate - นับจาก 17 มิถุนายน 2015 - เรทเปลี่ยนกลับมาเป็น $250,000 ตามเดิมนะคะ)

โดยภาพรวมแล้ว ต้องบอกว่าเป็นข่าวดีสำหรับน้องๆที่รอยื่่นวีซ่า 457 นะคะ ไม่มีกฏที่ทำให้ชีวิตยุ่งยากขึ้นเลย มีแต่หย่อนลง แต่อย่าลืมนะคะว่าเงื่อนไขการยื่นวีซ่า 457 ไม่ได้มีแค่ที่เอ่ยถึงข้างต้น เพราะฉะนั้นตรวจเช็คให้แน่ใจก่อนว่าเรามีโอกาสได้วีซ่าแน่ๆค่อยยื่นนะคะ


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com

ว่าด้วยเรื่อง MRT - Migration Review tribunal

17/4/2015

 
เกริ่นไว้ตั้งแต่สิงหาปีที่แล้วว่าจะแชร์ข้อคิดและประสบการณ์เกี่ยวกับการอุทธรณ์ไปที่ MRT ...ถ้าใครตั้งใจรอนี่คงแก่ไปเลยเนอะ ต้องขอโทษด้วยนะคะงานยุ่งมากค่ะ

MRT คืออะไร ชื่อเต็มๆก็ตามหัวเรื่องเลยค่ะ Migration Review Tribunal
ถ้าตามภาษาของนักแปลนี่เรียกยากและยาวมาก จะมีคำว่า 'ทวิภาคี' อะไรซักอย่างอยู่ด้วย ถ้าคุณนักแปลมาอ่านเจอเข้าก็แจ้งชื่อเต็มๆเข้ามาได้นะคะ

คนเขียนก็ไม่ใช่นักแปลและบอกตรงๆว่าจำไม่ได้จริงๆว่าเค้าเรียกกันเต็มๆว่ายังไง เอาภาษาชาวบ้านและคำอธิบายแบบยาวๆไปแล้วกันนะคะ จะได้เห็นภาพ

MRT คือหน่วยงานรับอุทธรณ์สำหรับคนที่ถูกปฏิเสธหรือยกเลิกวีซ่าโดยอิมมิเกรชั่น ลักษณะก็จะคล้ายๆศาลเล็กๆ แต่ก็ไม่ใช่ศาล และไม่มีพิธีรีตรองมากเท่าศาล คนที่มีหน้าที่ตัดสินเคส ภาษาอังกฤษเรียกว่า Tribunal Member ก็มีหน้าที่พิจารณาเอกสาร สืบพยานบุคคล ไต่ถาม ซักถามคำถามมากมาย เพื่อพิจารณาว่าจะตัดสินยืนตามอิมมิเกรชั่นดี หรือจะมีคำสั่งให้อิมมิเกรชั่นเอาเคสกลับไปพิจารณาใหม่

        ป.ล.1.     เราจะไม่คุยกันเรื่อง RRT หรือ Refugee Review Tribunal นะคะ เพราะเป็นหน่วยรับอุทธรณ์ของ                            Protection/Humanitarian visa ซึ่งไม่ค่อยเกี่ยวกับคนไทยซักเท่าไหร่

กลับมาเรื่อง MRT กันต่อ

ไม่ใช่ว่าทุกเคสที่ถูกปฏิเสธหรือยกเลิกวีซ่า จะมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ไปที่ MRT นะคะ และสำหรับเคสที่มีสิทธิ ก็ไม่ได้หมายความว่าควรจะยื่นอุทธรณ์เสมอไป กลับมาที่ประโยคเดิมๆ คือเราต้องพิจารณาสถานการณ์เฉพาะตัวของเคสนั้นๆ ว่าควรจะยื่นอุทธรณ์หรือไม่ ถ้าตัดสินใจได้แล้วว่าควรยื่น ก็ต้องยื่นอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กฏหมายกำหนดไว้ ซึ่งก็คือภายใน 21 วัน (หรือ 70 วัน ในกรณีที่ผู้สมัครอยู่นอกประเทศออสเตรเลีย) นับจากวันที่ถือว่าได้รับแจ้งว่าถูกปฏิเสธวีซ่า หรือ ภายใน 7 วัน นับจากวันที่ถือว่าได้รับแจ้งว่าถูกยกเลิกวีซ่า

        ป.ล.2      ถูกปฏิเสธวีซ่า กับถูกยกเลิกวีซ่าไม่เหมือนกันนะคะ ตามนี้ค่ะ

        ป.ล.3 
    นับจากวันที่ถือว่าได้รับแจ้งว่า ถูกปฏิเสธวีซ่า หรือถูกยกเลิกวีซ่า ไม่ได้แปลว่าจะนับจากวันที่(จริงๆ)                         ที่เราได้รับรู้หรือได้รับแจ้งข้อมูลเสมอไปนะคะ การนับวันขึ้นอยู่กับวิธีการแจ้งของอิมว่าแจ้งทาง
                        อีเมล์หรือทางไปรษณีย์ (หรือ by hand, by fax) ในหนังสือแจ้ง (notification letter) จะระบุวิธีการ                         นับวันไว้ให้ค่ะ  นับดีๆ อย่าให้พลาดนะคะ การยื่นเลยกำหนดแม้เพียง 1 วัน ก็อาจจะมีผลโดย                                    กฏหมายทำให้ MRT ไม่สามารถพิจารณาเคสของเราได้ ภาษากฏหมายเรียกว่า "no jurisdiction"                         หรือการไม่มีอำนาจในการพิจารณา

จำเป็นต้องใช้บริการจาก Registered Migration Agent หรือ Immigration Lawyer ในการดำเนินเรื่องที่ MRT หรือไม่

คำตอบคือไม่จำเป็นค่ะ - ถ้าเรารู้ว่าเราถูกปฏิเสธหรือถูกยกเลิกวีซ่าเพราะอะไร และทราบว่าจะตอบคำถามยังไง หรือยื่นเอกสารอะไรในชั้นอุทธรณ์เพื่อที่จะได้มีโอกาสในการได้วีซ่าคืนมาให้มากที่สุด  ซึ่งต้องบอกว่าไม่ง่าย เพราะถ้าง่าย คนเขียนและ Professional(s) คนอื่นๆคงตกงานกันไปหมดแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจำเป็นต้องมีคนช่วยในการทำอุทธรณ์ สรุปว่า Solo ได้ค่ะ  

เกิดอะไรขึ้นในวันพิจารณาเคส (MRT hearing)

ผู้ยื่นอุทธรณ์และพยาน (ถ้ามี) ก็จะถูกซักถามโดย Tribunal Member (คนที่มีหน้าพิจารณาและตัดสินเคส) ถ้าภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง อย่าลืมขอใช้บริการล่ามไว้ล่วงหน้าด้วยนะคะ โดยทาง MRT จะเป็นคนจัดหาล่ามให้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มค่ะ 
และ MRT ก็จะไม่ใช้ล่ามที่หามาเอง หรือทนายหรือเอเจนต์หามาให้ด้วย (ขอบอก) เพราะฉะนั้นใครที่คิดว่าจะเอาเพื่อนมาเป็นล่าม เผื่อช่วยเราได้ก็ลืมความคิดนี้ไปได้เลย และสำหรับใครที่ถูกทนายความ หรือเอเจนต์เรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในส่วนค่าบริการของล่ามสำหรับ MRT  hearing .... คิดเอาเองนะคะ ว่าควรจะทำยังไงดี

ปัญหาที่พบบ่อย ซึ่งมีผลอย่างมากต่อการพิจารณาคือ การตอบไม่ตรงคำถาม หรือตอบตรงคำถามแต่ไม่คลอบคลุม ข้อมูลบางอย่าง Tribunal Member อาจจะไม่ได้ถาม แต่ถ้าเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์และสามารถช่วยเคสเราได้ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องเอ่ยถึงในช่วงเวลาที่เหมาะสม หรือยื่นเอกสารเพิ่มเติม ปัญหาของคนที่ทำเคสเองก็คือไปไม่ถึงจุดที่ว่านี่ คือมองไม่เห็นข้อมูลหรือเอกสารที่อาจจะช่วยเคสของเราได้ เพราะส่วนใหญ่แล้วเป็นข้อมูลที่ต้องนำข้อกฏหมายและนโยบายมาประกอบการพิจารณา รวมถึงการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเพื่อหาข้อมูลที่ว่านี่ ถ้ามีหรือหาเจอ ก็ต้องมาพิจารณาว่าสมควรจะดึงข้อมูลที่ว่านี่ออกมาให้ใช้หรือไม่ หรือรูปคดีอาจจะเปลี่ยนไปเมื่อเจอข้อมูลที่ว่านี่ (คิดไม่ออกว่าจะยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมยังไงดีโดยที่ไม่ต้องเท้าความกันแบบยาวๆ ขอติดไว้ก่อน)


ผลการพิจารณาของ MRT

ถ้า MRT ไม่เห็นตามคำวินิจฉัยของอิม (ภาษาชาวบ้าน คือเราชนะคดี) โดยส่วนใหญ่แล้วก็จะมีคำสั่งให้อิมเอาเคส
กลับไปพิจารณาใหม่ตามแนวทางที่ MRT ระบุไว้ ในบางเคสก็อาจจะมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งไปเลย โดยไม่ต้องมีการพิจารณาใหม่โดยอิมมิเกรชั่น

ถ้า MRT ยืนตามคำวินิจฉัยของอิม (เราแพ้คดีนั่นเอง) เราก็มีเวลา 28 วันที่จะแพ๊คกระเป๋ากลับบ้าน ยกเว้นแต่ว่าเรายังถือวีซ่าอื่น หรือมีทางเลือกอื่นที่ทำให้เราสามารถอยู่ในประเทศออสเตรเลียได้อย่างถูกกฏหมาย


วิชาการไปมั๊ยเนี่ยะ??? 

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com

    Author


    พี่เก๋ - กนกวรรณ ศุโภทยาน เป็นทนายความไทย และทนายความของประเทศออสเตรเลีย (Immigration Lawyer)

    มีประสบการณ์เป็นทนายความเฉพาะทาง ด้าน IMMIGRATION ของประเทศออสเตรเลีย รับวางแผนการขอวีซ่า ยื่นใบสมัครขอวีซ่าทุกประเภท ช่วยเหลือในชั้นอุทธรณ์ที่ Administrative Appeals Tribunal และในชั้นศาลค่ะ

    ต้องการคำแนะนำ หรือความช่วยเหลือ ติดต่อได้ที่ Immigration Success Australia
    mb: 0428 191 889 หรือ www.immigrationsuccessaustralia.com

    Archives

    December 2023
    November 2023
    October 2023
    July 2023
    September 2022
    July 2022
    January 2022
    December 2021
    November 2021
    October 2021
    September 2021
    July 2021
    June 2021
    March 2021
    February 2021
    January 2021
    December 2020
    November 2020
    October 2020
    September 2020
    July 2020
    June 2020
    May 2020
    April 2020
    March 2020
    February 2020
    March 2019
    January 2019
    November 2018
    October 2018
    August 2018
    July 2018
    June 2018
    April 2018
    October 2017
    September 2017
    August 2017
    May 2017
    April 2017
    August 2015
    April 2015
    December 2014
    September 2014
    August 2014
    June 2014
    March 2014
    January 2014
    October 2013
    September 2013
    July 2013
    June 2013

    Categories

    All
    วีซ่า
    อุทธรณ์
    วีซ่าคู่ครอง
    101
    102
    103
    143
    173
    186
    187
    190
    300
    309
    4020
    408
    417
    445
    457
    462
    476
    482
    485
    489
    491
    494
    500
    870
    AAT
    Accountant
    Administrative Appeals Tribunal
    Adoption Visa
    Agriculture Visa
    Approved Nomination
    Australia
    Australian
    Australian Citizenship
    Australian Immigration
    Bar
    Bricklayer
    Bridging Visa
    Bridging Visa A
    Bridging Visa E
    BVA
    BVE
    Changes To Immigration Law
    Changing Courses
    Chef
    Child Visa
    Consolidated Sponsored Occupations List
    COVID 19
    COVID-19
    CSOL
    Decision Ready
    Decision-ready
    Decision Ready Application
    Decision-ready Application
    De Facto Relationship
    Employer Sponsored
    English Exemption
    ENS
    Exercise Physiologist
    Family
    Family Violence
    Federal Circuit Court
    Graduate Work
    GTE
    Hydrogeologist
    Ielts
    Immigration
    Immigration Lawyer
    Judicial Review
    Jurisdictional Error
    Migration Agent
    Migration Review Tribunal
    MRT
    Nomination
    Orphan Relative Visa
    Overstay
    Parent
    Partner Visa
    PIC 4020
    Post Study Work
    Processing Period
    Protection Visa
    Public Interest Criteria
    Public Interest Criterion
    Regional Australia
    Regional Visas
    Registered Migration Agent
    Rma
    RSMS
    Section 48
    Section 48 Bar
    Self Sponsorship
    Skilled Migration
    Skilled Occupations List
    Skilled Work Regional
    Skills Assessment
    SOL
    Sponsor
    Sponsorship
    Student Visa
    Substantive Visa
    Training
    Travel Exemption
    Tsmit
    Unlawful
    Visa Cancellation
    Visa Refusal
    Wall And Floor Tiler
    Working And Holiday Visa

    RSS Feed

Powered by Create your own unique website with customizable templates.