จากที่คนเขียนโพสไปเมื่อวันที่ 28 November ว่า "ยื่นอุทธรณ์ AAT ไม่ทันเวลา อาจจะยังมีหวัง" (อ่านเนื้อหาเดิมได้ด้านล่าง)
.... ปรากฏว่าเป็นความหวังที่สั้นมากค่ะ .... เพราะ the Federal Court (Full Court) ได้มีคำตัดสินกลับไปเป็นแนวทางแบบเดิมๆที่เคยเป็นมา คือ.... ยื่นอุทธรณ์ไม่ทันเวลา = No jurisdiction = AAT ไม่สามารถพิจารณาเคสได้
เราคงต้องมาดูกันต่อว่าจะมีการยื่นอุทธรณ์ไปถึง the High Court หรือไม่ และผลจะเป็นยังไง
ที่มา: Beni v Minister for Immigration and Border Protection [2018] FCAFC 228 (14 December 2018)
โพสนี้มาแบบสั้นๆ แต่สำคัญมากสำหรับอนาคตของใครหลายๆคน
ที่ผ่านๆมา หากมีการยื่นอุทธรณ์ที่ไป AAT เลยระยะเวลาที่กฏหมายกำหนดไว้ AAT จะถือว่าหน่วยงานไม่มีอำนาจในการพิจารณาเคส (No jurisdiction)
เมื่อวันที่ 19 November 2018 the Federal Court (single judge) ได้มีคำตัดสินว่า AAT สามารถพิจารณาใบสมัครอุทธรณ์ที่ยื่นไม่ทันเวลา (Out of time) ได้ ซึ่งคาดว่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้ใครหลายๆคนที่ยื่นอุทธรณ์ไม่ทันเวลา ไม่ว่าจะสำหรับคนที่พลาดไปแล้ว (แต่เจ้าตัวยังอยู่ในประเทศออสเตรเลีย) หรือคนที่อาจจะพลาดยื่นไม่ทันเวลาในอนาคต
แต่คำตัดสินนี้ ไม่ได้แปลว่าทุกคนเรื่อยๆเฉื่อยๆได้นะคะ ระยะเวลาการยื่นอุทธรณ์ก็เป็นอะไรที่เราต้องใส่ใจและพยายามยื่นให้ทันเวลา เพราะคำตัดสินนี้ ไม่ได้แปลว่า AAT จะต้องรับพิจารณาทุกเคสที่ยื่นไม่ทันเวลา (ไม่อย่างงั้นก็คงไม่ต้องมีระยะเวลาเลย) แต่แปลว่า AAT มีสิทธิ์พิจารณาเป็นเคสๆไปว่าเคสมีที่มาที่ไปยังไง มีเหตุผลน่าเห็นใจตรงไหน ถึงได้ยื่นไม่ทันเวลา และถ้าเห็นดีเห็นงาม ก็สามารถที่จะรับเรื่องไว้ได้ (ในอดีตคือไม่ต้องคิด ไม่ต้องพิจารณา เพราะถือว่า No jurisdiction ยังไงก็ไม่รับเรื่อง)
สำหรับใครที่งงๆว่าคำตัดสินของเคสนึง มาเกี่ยวอะไรกับเคสอื่นๆด้วย .... กฏหมายของออสเตรเลีย นอกจากยึดถือตัวบทกฏหมายแล้ว ยังถือว่าคำตัดสินของศาลเป็นบรรทัดฐาน เป็นแนวทางเอามาปรับใช้กับเคสอื่นที่มีลักษณะคล้ายๆกันด้วยค่ะ
ป.ล. ณ วันนี้ เคสนี้ถือเป็นบรรทัดฐาน แนวทางใหม่สำหรับ AAT .... แต่อนาคตไม่แน่นอนค่ะ ถ้าอิมมิเกรชั่นอุทธรณ์คำตัดสินนี้ และศาลที่สูงกว่าตัดสินเป็นอื่น บรรทัดฐาน แนวทางก็เปลี่ยนอีก หรืออิมมิเกรชั่นอาจจะมีการแก้กฏหมาย เพื่อให้ AAT ไม่สามารถพิจารณาเคสยื่นไม่ทันเวลาได้ (อะไรก็เกิดขึ้นได้)
กฏหมายอิมมิเกรชั่นเปลี่ยนกันอยู่เรื่อยๆค่ะ ตราบใดที่ยังไม่ได้ PR หรือเป็น Australian citizen ก็คงต้องติดตามและอัพเดทกฏหมายกันนะคะ
ที่มา: Brown v Minister for Home Affairs (No.2) [2018] FCA 1787 (19 November 2018)
Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com