วันนี้ก็เช่นกันค่ะ น้องใช้บริการเอเจนต์ในการยื่นอุทธรณ์ไปที่ Administrative Appeals Tribunal (AAT)
[เมื่อก่อนคือ Migration Review Tribunal (MRT) บทความเดิมที่คนเขียนๆไว้นานแล้ว ยังคงปรับใช้ได้อยู่นะคะ]
น้องรอเรื่องที่ยื่นไปที่ AAT มาเกีอบปี ตอนนี้มีเอกสารเรียกให้ไป AAT Hearing (คืออะไร ช่วยอ่านบทความเดิมนะคะ) เอเจนต์แจ้งน้องว่าถ้าจะให้ช่วยต่อ จะต้องชำระเงินเพิ่ม ไม่อย่างงั้นก็จะเลิกช่วย น้องไม่มีเงินที่จะชำระเพิ่ม ตอนนี้ก็ต้องเตรียมตัวไป AAT ตามลำพัง เหลือเวลาเตรียมตัวอยู่นิดเดียว เอกสารก็ไม่มี ติดต่อ AAT ก็ไม่เป็น คนเขียนก็แนะนำเท่าที่แนะนำได้นะคะ
ขอนอกเรื่องนิดนึงนะคะ ทุกครั้งที่คนเขียนสะกดคำว่า Agent เป็นภาษาไทย ก็เกิดอาการไม่แน่ใจทุกทีว่าที่ถูกควรเป็น "เอเจนต์" หรือ "เอเจนท์" ... แต่คนเขียนชอบ "เอเจนต์" มากกว่าก็จะสะกดแบบนี้ จนกว่าจะมีคนแจ้งเข้ามาว่าสะกดผิดนะคะ
เข้าเรื่องกันต่อ... เรื่องขอเรื่องคืออยากให้ข้อคิดและข้อมูลที่น้องๆบางคนอาจจะไม่ทราบ
1. กฏข้อบังคับของ Registered Migration Agent ระบุว่าเอเจนต์จะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนเริ่มงาน ว่าบริการที่เอเจนต์เสนอจะทำให้ลูกความมีอะไรบ้าง ประมาณการณ์ค่าบริการและค่าใช้จ่ายอื่นๆเช่นค่ายื่นใบ
สมัครวีซ่า/ค่ายื่นอุทธรณ์ ค่าตรวจสุขภาพ ค่าใบตำรวจ เป็นต้น
2. ในส่วนของค่าบริการ บางเอเจนต์อาจจะให้จ่ายรวดเดียวเป็นก้อนใหญ่เลย ซึ่งคลอบคลุมงานทั้งหมดที่ต้องทำ
บางเอเจนต์อาจจะให้มีการผ่อนจ่ายเป็นงวดๆ บางเอเจนต์อาจจะให้มีการจ่ายตามสเต็ปของงานที่ทำหรือจะทำ
ในอนาคต หรือจะมีการคิดค่าบริการกันเป็นรายชั่วโมง ขึ้นอยู่กับการตกลงกันค่ะ แต่ละเอเจนต์ก็มีวิธีการคิดและ
วิธีชำระค่าใช้จ่ายและค่าบริการแตกต่างกันไป
3. การเรียกค่าใช้จ่ายในการทำงานเพิ่ม ไม่ใช่เรื่องแปลกหรือผิด ถ้า
* มีการแจ้งค่าใช้จ่าย ค่าบริการกันล่วงหน้าแล้ว และเรียกชำระกันเป็นงวดๆ (Instalment) หรือตามสเต็ป
ของงานที่จะเกิดขี้น
(ซึ่งจริงๆในกรณีนี้ไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่ม ถ้าได้มีการตกลงกันแบบนี้ไว้ล่วงหน้าแล้ว คือทราบอยู่แล้วว่าจะ
มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นเมื่อเวลาใดเวลาหนึ่งมาถึง หรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น)
* เป็นงานที่อยู่นอกเหนือความคาดหมาย เช่น กฏหมายเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน งานงอกเพราะลูกความ
บอกไม่หมด หรืองานงอกเพราะอิมมิเกรชั่นไปเจอข้อมูลที่ลูกความก็ไม่เคยทราบมาก่อน แล้วกลาย
เป็นปัญหาที่จำเป็นต้องมีการแก้ไข และเป็นเหตุให้เอเจนต์ต้องใช้เวลาเกินกว่าที่คาดไว้ในการทำเคส
4. การเรียกค่าใช้จ่ายที่ไม่โอเค คืออยู่ๆนึกอยากเรียกเก็บก็เรียกเก็บ ลูกความไม่ทราบมาก่อน ไม่ได้มีการตกลงกัน
ไว้ล่วงหน้า ไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจ และที่สำคัญไม่ได้เตรียมเงินไว้
ในกรณีของน้องที่ยกตัวอย่างข้างบน การที่เอเจนต์เรียกเก็บเงินเมื่อมีเอกสารจาก AAT เรียกให้ไป Hearing คงไม่ใช่เรื่องแปลกหรือผิดแต่อย่างใด ถ้าเอเจนต์ได้มีการแจ้งเป็นลายลักษณ์ให้ลูกความทราบตั้งแต่แรกแล้วว่าเมื่อ AAT เรียกมาจะมีค่าบริการเท่านั้นเท่านี้ที่ต้องชำระ (ก็คือต่างฝ่ายต่างเข้าใจตรงกัน ลูกความก็มีหน้าที่เก็บเงินเผื่อค่าใช้จ่ายตรงนี้ เมื่อถึงเวลาเรียกเก็บก็ชำระ ถ้าลูกความไม่สามารถชำระได้ เอเจนต์จะไม่ทำงานต่อก็เป็นสิทธิ์ของ
เอเจนต์) แต่ถ้าลูกความไม่เคยทราบมาก่อนเลยว่าจะมีค่าใช้จ่ายงอกขึ้นมา ก็ไม่ได้มีการเก็บเงินเผื่อไว้ เอเจนต์จะมาแจ้งค่าบริการเพิ่มภายหลัง ด้วยเงื่อนไขว่าถ้าไม่จ่ายจะถอนตัว คนเขียนว่าไม่แฟร์ และที่สำคัญไม่ถูกต้องตามกฏข้อบังคับของ Registered Migration Agent นะคะ
*** ทำวีซ่า ทำอุทธรณ์... ทำสัญญาการทำงานเป็นลายลักษณ์อักษรนะคะ
ก่อนเซ็น... อ่าน
สงสัย... ถามก่อนเซ็น
บทความเก่าของคนเขียนเกี่ยวกับการเลือก Registered Migration Agent หรือ Immigration Lawyer ยังคงปรับใช้ได้อยู่นะคะ
ป.ล. Registered Migration Agent ไม่ได้เป็นทนายความกันทุกคน
ทนายความก็ไม่ได้เป็น Registered Migration Agent กันทุกคน
แต่ทนายความที่จะให้การช่วยเหลือทางด้านวีซ่าได้จะต้องเป็น Registered Migration Agent ด้วย
Registered Migration Agent ทุกคนจะมีเลขประจำตัว (MARN) 7 หลัก
ทุกคนมีวิธีพิจารณาและตัดสินใจเลือกเอเจนต์ใดเอเจนต์หนึ่งแตกต่างกันไป แต่อย่างน้อยๆก่อนตัดสินใจก็ควรจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องสำหรับใช้ประกอบการตัดสินใจนะคะ
หน่วยงานที่ควบคุมดูแล Registered Migration Agent คือ Office of the Migration Agents Registration Authority
น้องสามารถใส่ชื่อ, นามสกุล, ชื่อธุรกิจ, สถานที่ตั้ง หรือเลขประจำตัว (MARN) 7 หลัก เพื่อเช็คได้ว่า
- เป็นเอเจนต์จริงๆ ไม่ได้มีการแอบอ้าง
- เป็นเอเจนต์ที่ยังมีใบอนุญาติอยู่ ไม่ได้หมดอายุ หรือถูกยกเลิกไปแล้ว
- เป็นเอเจนต์ที่เป็นทนายความด้วยหรือไม่ เอเจนต์ที่เป็นทนายความด้วย ก็จะมีคำว่า "This registered
migration agent is also an Australian Legal Practitioner."
- เอเจนต์อยู่ในฐานะอะไร เช่น เป็น Employee, consultant หรือ Owner / Director
- เอเจนต์ทำงานกี่ที่ (บางคนไม่ได้ทำงานประจำ แต่เป็น consultant / subcontractor ให้กับเอเจนต์อื่นอีกที)
- ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และ website (ถ้ามี)
Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com