visa blog : สำหรับคนไทยค่ะ
  • Home
  • Blog

์NEWS 500 Student visa - 462 Work and Holiday visa

22/1/2022

 
Student visa (Subclass 500)

เงื่อนไขการทำงาน

            - ตั้งแต่วันที่ 19 January 2022 ไม่ว่าจะถือวีซ่าหลัก หรือวีซ่าติดตาม ทำงานได้ไม่จำกัดชั่วโมง
            - โน๊ตว่า คนถือวีซ่าหลัก ก็ยังต้องเรียน เก็บ attendance และทำผลการเรียนนะคะ
            - โน๊ตต่อว่า รัฐบาลจะรีวิวเงื่อนไขที่ให้ทำงานใหม่นี้ เดือน April 2022

Refund เงินค่าใบสมัคร

             - ไม่ว่าจะถือวีซ่าหลัก หรือวีซ่าติดตาม
             - ไม่ว่าจะถือวีซ่านักเรียนอยู่แล้ว หรือเพิ่งขอก็แล้วแต่
             - ถ้าเดินทางมาถึงออสเตรเลียระหว่างวันที่ 19 January 2022 และ 19 March 2022
             - สามารถทำเรื่อง Refund ขอคืนเงินค่าใบสมัครได้
             - การขอ Refund ทำได้ถึง 31 December 2022


Work and Holiday visa (Subclass 462) และ Working Holiday visa (Subclass 417)

เงื่อนไขการทำงาน

            - ตั้งแต่วันที่ 19 January 2022 ถึง 31 December 2022 ไม่จำต้องเปลี่ยนนายจ้างทุก 6 เดือน


Refund เงินค่าใบสมัคร

             - ไม่ว่าจะถือวีซ่า 462 / 417 อยู่แล้ว หรือเพิ่งขอก็แล้วแต่
             - ถ้าเดินทางมาถึงออสเตรเลียระหว่างวันที่ 19 January 2022 และ 19 April 2022
             - สามารถทำเรื่อง Refund ขอคืนเงินค่าใบสมัครได้เช่นกัน



Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


HOT NEWS ข่าวดีของคนติด Section 48 bar

30/10/2021

 
Hot news ..... ใครติด Section 48 Bar .... สามารถยื่นวีซ่า

  • Subclass 190 -Skilled Nominated visa
  • Subclass 491Skilled Work Regional (Provisional) visa
  • Subclass 494 Skilled Employer Sponsored Regional (Provisional) visa

แบบในประเทศออสเตรเลียได้ตั้งแต่วันที่ 13 November 2021

โพสนี้ มาเร็ว ไปเร็ว แค่ต้องการแจ้งข่าวดี

คนเขียนเชื่อว่าต้องมีน้องหลายๆคนที่จะได้ประโยชน์จากข่าวนี้ ดีใจด้วยนะคะ



Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com


กฏเปลี่ยน 1 July 2021

2/7/2021

 
ไม่ทั้งหมด แต่สรุปมาให้เท่าที่สรุปได้นะคะ

  1. Partner visa ที่มีข่าวว่าสปอนเซอร์จะต้องยื่นใบสมัครและได้รับอนุมัติก่อน ผู้สมัครถึงจะยื่นใบสมัครวีซ่าได้ ณ ตอนนี้ (2 July 21 9pm) ยังไม่ปรับใช้นะคะ คาดว่าจะปรับใช้ในปีนี้แหละค่ะ (เมื่อไหร่ ยังไม่ได้ประกาศออกมา)
  2. ค่ายื่นวีซ่าหลายๆตัว (แต่ไม่ทุกตัว) ขึ้นราคา เช็คค่ายื่นกันที่นี่ค่ะ
  3. ค่ายื่น Citizenship application ก็ขึ้นราคา เช็คได้ที่นี่
  4. ค่ายื่นอุทธรณ์ Migration Review application ขึ้นราคา เป็น $3000
  5.  ค่าอุทธรณ์ Refugee Review application (Protection visa ด้วย) = $1846 (ชำระถ้าแพ้คดี)
  6. ค่าตรวจสุขภาพก็ขี้นราคาค่ะ เช็คได้ที่นี่
  7. ใบสมัคร Bridging visa E ยื่นผ่านอีเมล์ไม่ได้แล้วนะคะ เป็นทาง ImmiAccount หรือทางเมล์/courier เท่านั้น (คนเขียนเชื่อว่าประเด็นนี้ไม่กระทบน้องๆเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ก็ยื่นผ่าน ImmiAccount กัน จะมีก็ Professionals บางคน รวมถึงคนเขียนด้วย ที่บางทีก็ยื่นผ่านอีเมล์ด้วยเหตุผลทางเทคนิค)
  8. อาชีพยอดฮิต Chef ตอนนี้อยู่ใน Priority Migration Skilled Occupation List (PMSOL) ด้วย  อาชีพอยู่ใน PMSOL ดียังไง ดีเพราะ Nomination และวีซ่าแบบมีนายจ้างสปอนเซอร์จะได้รับการพิจารณาเร็ว (Priority Processing)

The Priority Migration Skilled Occupation List
ตอนนี้มี 41 อาชีพ (* คืออาชีพที่เพิ่มมาเมื่อ June 2021):


  • Chief Executive or Managing Director (111111)
  • Construction Project Manager (133111)
  • Accountant (General) (221111)*
  • Management Accountant (221112)*
  • Taxation Accountant (221113)*
  • External Auditor (221213)*
  • Internal Auditor (221214)*
  • Surveyor (232212)*
  • Cartographer (232213)*
  • Other Spatial Scientist (232214)*
  • Civil Engineer (233211)*
  • Geotechnical Engineer (233212)*
  • Structural Engineer (233214)*
  • Transport Engineer (233215)*
  • Electrical Engineer (233311)*
  • Mechanical Engineer (233512)
  • Mining Engineer (excluding Petroleum) (233611)*
  • Petroleum Engineer (233612)*
  • Medical Laboratory Scientist (234611)*
  • Veterinarian (234711)
  • Orthotist or Prosthetist (251912)*
  • General Practitioner (253111)
  • Resident Medical Officer (253112)
  • Psychiatrist (253411)
  • Medical Practitioners nec (253999)
  • Midwife (254111)
  • Registered Nurse (Aged Care) (254412)
  • Registered Nurse (Critical Care and Emergency) (254415)
  • Registered Nurse (Medical) (254418)
  • Registered Nurse (Mental Health) (254422)
  • Registered Nurse (Perioperative) (254423)
  • Registered Nurses nec (254499)
  • Multimedia Specialist (261211)*
  • Analyst Programmer (261311)*
  • Developer Programmer (261312)
  • Software Engineer (261313)
  • Software and Applications Programmers nec (261399)*
  • ICT Security Specialist (262112)*
  • Social Worker (272511)
  • Maintenance Planner (312911)
  • Chef (351311)*

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


Q & A : วีซ่า 187 กับการเรียน 5 ปี เพื่อยกเว้นผลภาษาอังกฤษ

25/6/2021

 
Q: พยายามสอบภาษาอังกฤษมาหลายรอบแล้ว แต่ไม่ผ่านซักที ได้ยินมาว่าวีซ่า 187 ยังใช้ผลการเรียน 5 ปี แทนผลภาษาอังกฤษได้อยู่ จริงไหมคะ

A: จริงค่ะ  สำหรับ 187 Temporary Residence Transition Stream (187TRT) เท่านั้น

แต่นโยบายการพิจารณาผลการเรียน 5 ปี ไม่นิ่ง ขึ้นอยู่กับการตีความของอิมมิเกรชั่นในแต่ละช่วงเวลา บางช่วงเวลาก็นับได้หมด ยกเว้น General English บางช่วงก็นับได้เฉพาะการเรียนระดับมัธยมและปริญญา .... จริงอยู่ นโยบายไม่ใช่ข้อกฏหมาย เราโต้เถียงได้ แต่ใครจะอยากเสี่ยงถูกปฏิเสธวีซ่า ถ้าไม่จำเป็น

เพราะฉะนั้น แนะนำว่าพยายามสอบภาษาอังกฤษ (เช่น IELTS, PTE) ให้ผ่านดีกว่าค่ะ ถ้าสอบไม่ผ่านจริงๆ ค่อยมาเสี่ยงใช้ผลการเรียน 5 ปี

 

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


NEWS for Partner visa

7/10/2020

 
Federal Budget ที่ประกาศมาเมื่อวาน (6 October 2020) ที่เกี่ยวข้องกับ Partner visa ก็จะมีตามนี้นะคะ

  • ผู้สมัครวีซ่าแบบในประเทศออสเตรเลีย และคนที่มีสปอนเซอร์อาศัยอยู่ Regional areas (เมืองรอบนอก) จะได้ Priority คือจะได้รับการพิจารณาก่อน
  • ผู้สมัคร Partner visa และสปอนเซอร์ที่เป็นพีอาร์ ต้องมีผลภาษาอังกฤษ - UPDATE: ผลภาษาอังกฤษที่ต้องการคือ Functional English หรือเรียน Adult Migrant English Program:AMEP 510 ชั่วโมง ก่อนยื่น Stage 2 Permanent Partner visa (ความเห็นส่วนตัวนะคะ คนเขียนคิดว่า Functional English เป็นระดับที่สูงเกินไปสำหรับ Partner visa และก็ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถไปเรียน AMEP ได้ ไม่ว่าจะเป็นภาระทางครอบครัว ที่อยู่อาจจะไกลจากที่เรียน)
  • สปอนเซอร์ต้องยื่น Sponsorship application และต้องได้รับอนุมัติ ก่อนที่ผู้สมัครจะยื่น Partner visa application ได้ (เรื่องนี้คนเขียนเคยโพสไว้นานแล้ว เพราะกฏหมายออกมาตั้งนานแล้ว เพียงแต่อิมมิเกรชั่นยังไม่เอามาปรับใช้กับ Partner visa แต่เมื่อมีประกาศใน Federal Budget คาดว่าคงจะปรับใช้เร็วๆนี้)
  • การตรวจเช็คประวัติคดีอาญาจะเข้มงวดขึ้น

ทั้งหมดนี้เป็นประกาศนะคะ ส่วนจะปรับใช้เมื่อไหร่และรายละเอียดลึกๆจะเป็นอย่างไร เราก็ต้องติดตามกันต่อไป

ใครพร้อมยื่นก่อนกฏเปลี่ยนก็ยื่นค่ะ แต่ดูให้ดีๆว่าเคสพร้อมยื่นจริงๆ

เคส Partner visa ไม่ใช่แค่มีแฟนเป็น Australian citizen หรือพีอาร์เป็นอันจบนะคะ มีเงื่อนไขอื่นๆอีกเยอะแยะเคสที่ถูกปฏิเสธเพราะประเด็นอื่นก็เยอะค่ะ ยื่นวีซ่ากันด้วยความระมัดระวัง


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com

แชร์ประสบการณ์ Consultation รอบที่ 2

5/10/2020

 
คนเขียนมีน้องๆนัดขอคำปรึกษาเบื้องต้น (Initial Consultation) กันเป็นปกตินะคะ บางคนก็

  • ชัดเจนมาเลยว่าต้องการทำวีซ่าอะไร (แต่บางครั้งคนเขียนก็เสนอวีซ่าตัวอื่นที่เหมาะสมกว่า)
  • ไม่ทราบอะไรเลยและต้องการหาแนวทาง หรือวางแผนอนาคต
  • มีปัญหาด่วนมาให้แก้ไขให้
  • มีเวลาตั้งเยอะแต่ไม่ทำอะไร เหลือ 1 อาทิตย์บ้าง 3 วันบ้าง
  • วีซ่าจะหมดวันพรุ่งนี้ วันนี้เพิ่งติดต่อมา

ปกติคนเขียนไม่ทำงานวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ  บางวัน 5ทุ่ม เที่ยงคืน ตี3 ยังนั่งทำงาน แต่จะพยายามเลิกรับโทรศัพท์หลัง 1ทุ่ม

สำหรับเคสด่วน นัดปรึกษาวันเสาร์อาทิตย์ หรือแม้กระทั่ง 3-4 ทุ่ม คนเขียนก็จัดให้นะคะ แต่ด่วนของลูกความ กับด่วนของคนเขียน คนละเรื่องกัน เช่น


  • ลูกความเพิ่งแพ้ที่ชั้นอุทธรณ์มา ต้องการทราบว่าจะอุทธรณ์ต่อหรือจะกลับไทยดี เคสนี้มี 35 วัน จริงๆเคสนี้ไม่ด่วน แต่ไฟล์กลับไทยช่วงโควิดมีไม่เยอะ และเต็มเร็วมาก เพราะฉะนั้นเวลาเป็นเรื่องสำคัญ และอาจจะมีผลกระทบกับวีซ่าของลูกความในอนาคต (ถ้าตัดสินใจจะกลับ แต่กลับไม่ได้ก่อนวีซ่าหมด) เคสนี้คนเขียนดูเคสให้วันเสาร์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็น 3 วัน Long weekend สงสารตัวเองนิดนึง แต่ด่วนก็คือด่วน จัดให้
  • เคสที่ลูกความถูกเอเจนต์ลอยแพ และมี deadline คนเขียนก็ดูเคสให้แบบด่วน ส่วนจะรับทำเคสหรือไม่อีกเรื่องนึง
  • เคสที่วีซ่าจะหมดวันพรุ่งนี้ แต่เพิ่งติดต่อมา อันนี้ด่วนของคุณ ไม่ด่วนสำหรับคนเขียนนะคะ

เข้าเรื่องดีกว่า ...... คนเขียนก็จะมีลูกความบางคนที่เคยทำ Initial Consultation แล้ว หายไปพักนึง ก็ขอนัดอีกรอบ หรืออีก 2 รอบ ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร รอบแรกอาจจะเป็นการหาแนวทาง รอบสองอาจจะพร้อมทำเรื่องยื่นวีซ่า หรือติดปัญหาอะไรบางอย่าง หรือสถานะของลูกความเปลี่ยน หรือกฏหมายเปลี่ยน

เคส Consultation รอบที่ 2 ที่คนเขียนแอบเซ็ง(และเสียดายแทน) ก็จะประมาณ 4 เคสข้างล่างค่ะ


เคสที่ 1

Initial Consultation .... เคส Partner visa .... ลูกความไม่ถือวีซ่า คนเขียนแนะนำเคสนี้ให้ยื่นในประเทศออสเตรเลียเท่านั้น โน๊ตตัวโตๆไว้ในไฟล์ว่า "Complex case - Onshore only"   เหตุผลคือนอกจากจะไม่ถือวีซ่าแล้ว ประวัติทางวีซ่าก็ dodgy จะด้วยความตั้งใจหรือได้รับคำแนะนำผิดๆคนเขียนไม่ทราบ รวมถึงประวัติส่วนตัว ที่คนเขียนเชื่อว่าถ้าออกไปแล้วจะไม่ได้กลับเข้ามา

4 ปี ผ่านไป ลูกความติดต่อมาขอ Consultation รอบที่ 2 ... ปรากฏว่าตอนนี้กลับประเทศตัวเองไปแล้ว ..... 
       
                                                                       What!  Why?

                     .... ก็แนะนำแล้วว่าไม่ให้กลับ ให้ยื่น Onshore = ยื่นในประเทศออสเตรเลีย

ลูกความบอกว่าขอโทษนะที่ตอนนั้นไม่เชื่อยู หลังจากที่คุยกันเสร็จ เอาไปเล่าให้เพื่อนฟัง เพื่อนแนะนำคนอื่นที่เป็นคนชาติเดียวกันให้ เลยใช้บริการเค้าแทน ถูกเรียกเก็บเงินตลอดแล้วไม่ทำอะไรให้เลย .....  4 ปีผ่านไป คนนี้ก็แนะนำให้กลับออกไปยื่น Offshore Partner visa บอกว่าง่ายและเร็ว นี่กลับมาประเทศตัวเองได้หลายเดือนแล้ว เงินก็โอนไปแล้ว เค้ายังไม่ได้ยื่นวีซ่าให้ แถมติดต่อไม่ได้ด้วย

เคสนี้มีตั้งแต่การอยู่เกินวีซ่า เปลี่ยนชื่อกลับมาใหม่ ไม่แจ้งชื่อเดิม ยื่นสาระพัดวีซ่า รวมถึง Protection visa ยื่นเอกสารปลอม อยู่เกินวีซ่าต่ออีก 10 กว่าปี ที่สำคัญมีประวัติคดีอาญาร้ายแรง ประเภทที่อิมมิเกรชั่นจะต้องปฏิเสธวีซ่า ยกเว้นว่าจะมีเหตุผลน่าเห็นใจ ..... (ประวัติทางวีซ่าโชกโชนขนาดนี้ ความเห็นใจของอิมมิเกรชั่นจะมีเหลืออยู่แค่ไหน ..... แถมตอนนี้ลูกความอยู่นอกออสเตรเลีย เหตุผลหลายๆอย่างที่อาจจะเอามาใช้ได้ ถ้าลูกความอยู่ในออสเตรเลียก็หายไปด้วย) .... เพราะฉะนั้นยื่น Offshore ไม่มีทางง่ายและเร็ว ..... มีความเป็นไปได้สูงมากที่อาจจะไม่ได้กลับเข้ามาอีกนาน หรืออาจจะไม่ได้กลับเข้ามาอีกเลย

คนเขียนบอกเลยว่าในบางเคส Offshore is NOT an option!  และการพยายามหาทางให้ลูกความอยู่ที่ประเทศออสเตรเลียต่อ ง่ายกว่าการพยายามเอาลูกความกลับมานะคะ


เคสที่ 2

Initial Consultation .... ลูกความไม่ถือวีซ่า ติด section 48 บาร์ด้วย ทางเลือกสำหรับทำพีอาร์ไม่มี คนเขียนคิดว่ากลับไทยติดบาร์ 3 ปีน่าจะดีกว่า ดูประวัติแล้ว หลังบาร์ 3 ปี น่าจะมีโอกาสได้กลับมา

7 ปีผ่านไป ลูกความติดต่อมาขอ Consultation รอบ 2 ...... ปรากฏว่าตอนนี้ก็ยังอยู่ที่นี่ เชื่อเพื่อนและนายหน้ายื่น Protection visa ไปเรียบร้อย จากนั้นก็ไปอ่านเจอจากหลายแหล่ง รวมถึง VisaBlog ของคนเขียนด้วยว่าไม่ควรยื่น Protection visa ตอนนี้เริ่มกังวลกับผลเสียที่จะตามมา

คนเขียนก็งงกับเคสนี้นะคะ จะว่าไฺม่เคยรู้จักคนเขียนมาก่อนก็ไม่ใช่ เพราะเคยนัดปรึกษากันมาแล้ว แทนที่จะปรึกษาว่าควรหรือไม่ควรยื่น Protection visa ก่อนยื่น ก็ไม่ทำ ...... ยื่นไปแล้ว ค่อยมากังวล ค่อยมาหาคำปรึกษา .... ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าน้องคิดอะไร


เคสที่ 3

Initial Consultation ..... เคส Partner visa เป็นเคสที่ตรงไปตรงมา ไม่ได้มีประเด็นซีเรียสอะไรที่น่ากังวล แต่คนเขียนก็อธิบายเงื่อนไข Requirements ของ Partner visa และบอกจุดที่ควรระวังให้ทราบ น้องถามว่า
ถาม ...... จำเป็นต้องใช้บริการคนเขียนไหม
ตอบ ..... น้องต้องถามตัวเองว่าเข้าใจกฏหมาย เงื่อนไข เอกสาร หลักฐาน ของการทำ Partner visa แค่ไหน แต่ละคนก็มีขีดความสามารถแตกต่างกันไป คนที่ทำเองแล้วผ่านก็เยอะแยะ คนที่ทำเองแล้วถูกปฏิเสธก็มี เคสที่มาให้คนเขียนทำอุทธรณ์ให้ก็เยอะ
ถาม ...... ถ้าน้องจะทำเคสเอง และเสียค่าปรึกษาเพื่อขอคำแนะนำเป็นระยะๆ และให้คนเขียนตรวจเช็คเอกสารให้ก่อนยื่นล่ะ
ตอบ ..... ไม่มีบริการนี้ค่ะ สำหรับคนเขียนมีแค่ 2 ทาง ทำเคส หรือไม่ทำเคส  เคส Partner visa เหมือนกัน แต่ Strategy (แผนการทำงาน) ของแต่ละเคสไม่เหมือนกัน เคสที่ไม่มีประเด็นซีเรียส ไม่ได้แปลว่าไม่มีจุดที่ควรระวัง บางเคสเราเห็นปัญหาระหว่างการเตรียมยื่น และการตัดสินใจยื่นหรือไม่ยื่นเอกสารบางชิ้น นำเสนอหรือไม่นำเสนอข้อมูลบางอย่างเป็นอะไรที่ต้องคิด ต้องตัดสินใจทั้งนั้น  สำหรับคนเขียน Quality control เป็นเรื่องสำคัญ และเคสที่มาให้ดูแลแบบครึ่งๆกลางๆเป็นอะไรที่ Control ยากมาก

ลูกความตัดสินใจทำเคสเอง

...... 2 ปีผ่านไป ลูกความขอนัด Consultation รอบ 2 ... ส่งคำตัดสินปฏิเสธ Partner visa มาให้อ่าน พลาดไปกับการเลือกเอกสารพิสูจน์ความสัมพันธ์


เคสที่ 4

Initial Consultation .... ลูกความเลิกกับแฟนคนเดิม มีแฟนคนใหม่ คนเขียนแนะนำวีซ่าที่คิดว่าเหมาะสมให้ และแนะนำให้ Declare ข้อมูลกับอิมมิเกรชั่น เคสนี้ลูกความอยู่ในจุดที่ไม่มีหน้าที่ต้อง Declare  แต่สำหรับเคสนี้ Strategically แล้ว ลูกความควร Declare

ลูกความหายไป 2 ปีกว่า ขอนัด Consultation รอบ 2 เคสถูกปฏิเสธเพราะประเด็นนี้เลย ถามว่าแนะนำแล้วทำไมถึงไม่ทำ ลูกความบอกว่ายื่นวีซ่าที่คนเขียนแนะนำ แต่ให้เอเจนต์อีกคนดูแลเคสและยื่นวีซ่าให้ ซึ่งเอเจนต์บอกว่าไม่มีหน้าที่ต้อง Declare ก็ไม่ต้อง Declare ก็เลยทำตามที่เอเจนต์แนะนำ ...... 

ทนาย และเอเจนต์แต่ละคนก็มีสไตล์การทำงาน และ Strategy (แผนการทำงาน) ของแต่ละเคสแตกต่างกันไปนะคะ  ชอบสไตล์การทำงานแบบไหน   ชอบ Strategy ของใคร  ใช้บริการคนนั้น   คนที่วาง Strategy ให้  โดยปกติก็จะมีแพลนอยู่ในหัวแล้ว (หวังว่านะ) ว่ารายละเอียดและสเต็ปการเดินเคส รวมถึงการยื่นเอกสารควรจะเป็นแบบไหนและเพราะอะไร และถ้าอะไรบางอย่างเกิดขึ้นระหว่างทาง ควรจะเดินเคสต่อยังไง



Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


NEWS for Student visa วีซ่านักเรียน

20/7/2020

 
วันนี้รัฐบาลได้ออกมาประกาศแนวทางในการช่วยเหลือคนที่ถือวีซ่านักเรียน และคนที่ต้องการสมัครวีซ่านักเรียนตามนี้นะคะ

1. รัฐบาลจะเริ่มพิจารณาใบสมัครวีซ่านักเรียนที่ยื่นแบบนอกประเทศออสเตรเลียแล้วนะคะ โดยระบุว่าพอเปิดประเทศ นักเรียนจะได้ทำเรื่องเดินทางเข้ามาได้เลย

2.  ถ้า COVID-19 เป็นสาเหตุให้เรียนไม่จบคอร์สที่ลงไว้ตามวีซ่านักเรียนเดิม สามารถยื่นขอต่อวีซ่านักเรียนได้โดยไม่ต้องเสียค่ายื่น

3. การเรียนแบบออนไลน์จากนอกประเทศออสเตรเลีย ก็อนุญาตให้นับรวมได้สำหรับการยื่น Post-Study Work visa

4. จะอนุญาตให้คนที่ต้องการขอ Post-Study Work visa ยื่นจากนอกประเทศออสเตรเลียได้ ถ้าไม่สามารถเข้ามายื่นแบบในประเทศออสเตรเลียเพราะ COVID-19

5. จะมีการขยายเวลาสำหรับการยื่นผลภาษาอังกฤษในกรณีที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19

โน๊ตว่านี่เป็นประกาศจากรัฐบาล ซึ่งบางข้อยังไม่สามารถนำมาปรับใช้ได้ ต้องรอการปรับแก้กฏหมายก่อนนะคะ แต่ก็ถือเป็นข่าวดีค่ะ


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


แชร์ประสบการณ์ Subclass 186 visa

11/7/2020

 
โพสนี้ Advance อีกแล้ว เป็นเคส 457 Transitional arrangements ต่อยอดไป 186

Transitional arrangements คืออะไร ???


  • คือกฏเก่า สำหรับคนที่ ณ วันที่ (หรือก่อนวันที่) 18 April 2017 ถือ 457 หรือคนที่ยื่นใบสมัครไปแล้วและอยู่ระหว่างรอผลการพิจารณาและในที่สุดก็ได้ 457 มาครอง
  • เงื่อนไขคือ ทำงานกับนายจ้างในตำแหน่งที่ได้รับการสปอนเซอร์อย่างน้อย 2 ปี ก็จะขอ 186 / 187 ได้ โดยไม่ต้องกังวลว่าตอนยื่น 186 / 187 สาขาอาชีพจะยังอยู่ในลิสสำหรับยื่น 186 / 187 หรือไม่ (ไม่เกี่ยวเลย)

เคสนี้เรายื่น Nomination และ 457 visa application เดือน March 2017 ปรากฏว่าเดือน April 2017 (ระหว่างการพิจารณา) กฏเปลี่ยนครั้งใหญ่ก็มา แบบไม่บอกล่วงหน้า บอกปุ๊บก็บังคับใช้เลย

  • หลายสาขาอาชีพหายไปจากลิสสำหรับการสปอนเซอร์ = สาขาอาชีพของลูกความก็หายไปด้วย !
  • กฏเปลี่ยนนี้บังคับใช้ทั้งกับเคสใหม่ และเคสที่อยู่ระหว่างการพิจารณาด้วย = ลูกความก็โดนด้วยสิ !!
  • คนเขียนก็ทั้งเหวอและมึน อยู่ๆก็เจอ Dead case ซะอย่างงั้น

คนเขียนก็ได้รับจดหมายจากอิมมิเกรชั่นเชิญให้นายจ้างถอน Nomination application ถ้าไม่ถอน ก็จะถูกปฏิเสธ เพราะสาขาอาชีพถูกตัดออกไปจากลิสแล้ว ยังไงก็อนุมัติไม่ได้ ..... ทำยังไงดีล่ะ??? ..... ก็ถอนเรื่องสิคะ ไม่มีทางเลือก

และเมื่อไม่มี Nomination วีซ่า 457 ก็ไปต่อไม่ได้ ถ้าไม่ถอนเรื่องก็จะถูกปฏิเสธ ..... ลูกความร้องไห้ อนาคตหายวับไปกับกฏเปลี่ยน ..... คนเขียนก็บอกลูกความแบบมึนๆว่า อย่าเพิ่งถอน Visa application นะ ขอคิดก่อน (มันต้องมีทางสิ)

จริงๆคนเขียนไม่ต้องทำอะไรเลยก็ได้ เพราะหน้าที่ในความรับผิดชอบของตัวเองก็ทำไปแล้ว ยื่น Decision Ready application รอแค่ผลการพิจารณาอย่างเดียว กฏเปลี่ยนกะทันหัน เป็นอะไรที่อยู่นอกเหนือการควบคุม ..... แต่ ..... ในเมื่อมาเป็นลูกความกันแล้ว เราก็ต้องไม่ทิ้งกันใช่ไหม

หลังจากหายเหวอ หายมึน ก็ใช้เวลาคิดและทำ Research ไปหลายอาทิตย์ (ไม่ใช่แค่หลายวัน) ..... ฟรีด้วย ไม่ได้คิดตังค์เพิ่ม ส่วนนึงเพราะสงสารลูกความ อีกส่วนเพราะการหาทางช่วย Dead case มันท้าทาย เหนื่อยแต่สนุก

คิดอยู่หลายทาง บางทางก็แพ๊งแพงและเสี่ยงมาก ..... และแล้วไอเดียบรรเจิดก็มา เรายื่น Nomination ใหม่ นายจ้างเดิม ตำแหน่งเดิม (เคสนี้ลูกความขยับไปตำแหน่งอื่นไม่ได้ เพราะเป็น Skills ที่เฉพาะทางมากๆ) ..... ลูกความก็สุดแสนจะไว้ใจ ให้คนเขียนลองอะไรใหม่ๆ  คือจริงๆลูกความก็ไม่มีอะไรจะเสียแล้ว ถ้าลองอาจจะได้วีซ่า ถ้าไม่ลองก็เป็น Dead case แพ๊คกระเป๋ากลับบ้าน

สรุปว่าอิมมิเกรชั่นใช้เวลาพิจารณา Nomination ใหม่ไอเดียบรรเจิดของคนเขียนไปเกือบปี ในที่สุดคุณลูกความก็ได้วีซ่า 457 มาครอง (ไม่มีขอเอกสารเพิ่ม แต่คิดนานมากกกกก) ..... รอ 1 ปี ได้วีซ่า 2 ปี

ทำไมคนเขียนแนะนำให้ลูกความไม่ถอนเรื่อง ทั้งๆที่ถ้าไม่ถอนเรื่องอาจจะถูกปฏิเสธวีซ่า ..... เพราะลูกความยื่นใบสมัคร 457 ก่อนที่กฏจะเปลี่ยน ถ้าวีซ่าผ่านขึ้นมา ลูกความก็จะเข้า Transitional arrangements (ทำงานกับนายจ้างครบ 2 ปี มีสิทธิ์ยื่นขอพีอาร์ไม่ว่าสาขาอาชีพจะอยู่ใน Short term list หรือ Medium/Long list หรือหายไปจากลิสก็ตาม) แต่ถ้าถอนเรื่องแล้วยื่นใหม่ สาขาอาชีพใน Short term list จะต่อยอดไป 186 ไม่ได้ (Strategy การทำงานสำคัญเสมอ)

และแล้วลูกความก็ทำงานครบ 2 ปี ได้เวลายื่นพีอาร์ ถ้าวันนั้นถอดใจไม่ยอมเสี่ยงลุยต่อ คงไม่มีวันนี้ที่ลูกความจะได้ยื่นพีอาร์ ..... แต่ปัญหาไม่จบสิ ..... ใครที่เคยยื่น 457 หรือ 482 และรอยื่นพีอาร์ คงพอทราบว่าการยื่น Nomination นายจ้างจะต้องพิสูจน์ว่าเงินเดือนที่เสนอให้เราเป็น Annual Market Salary Rate คือจะต้องไม่ต่ำกว่าเงินเดือนที่จ่ายลูกจ้างออสซี่ที่ทำงานตำแหน่งเดียวกับเรา หรือถ้าไม่มีลูกจ้างที่เป็นออสซี่ ก็ต้องไปหาหลักฐานอย่างอื่น (ตามที่กฏหมายกำหนด) มาโชว์ว่าเงินเดือนที่เสนอให้เรามันสมเหตุสมผลและเป็นราคาตลาด

เนื่องจากเคสนี้ ทั้งบริษัทมีแค่ Director และมีลูกจ้างเพียงคนเดียวคือลูกความ ไม่มีลูกจ้างออสซี่เลย และลูกความทำงานในตำแหน่งที่ใช้ Skills เฉพาะทางมากๆ หาหลักฐาน Annual Market Salary Rate ตามที่กฏหมายกำหนดไม่ได้เลย ..... ไอเดียบรรเจิดก็ต้องมี งานโฆษณาชวนเชื่อก็ต้องมา และก็ลุ้นกันต่อว่าจะรอดหรือไม่รอด

สรุปว่ารอดค่ะ ยื่น February 2020 ก่อน COVID-19 .... ทั้ง Nomination & วีซ่า 186 ผ่านเมื่อวันก่อน (แบบไม่ขออะไรเพิ่มเลย) ..... 5 เดือนพอดี  บริษัทนี้ก็ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ต้องปิดชั่วคราวและขาดรายได้เหมือนหลายๆธุรกิจ ซึ่งหลายๆเคสตอนนี้อาจจะเจอขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตำแหน่งที่ยื่นขอ เช่นยังจำเป็นต้องมี ต้องสปอนเซอร์ไหม และสถานะการเงินดีพอที่จะจ่ายค่าแรงหรือไม่ (เตรียมตัวกันไว้ด้วยนะคะ)

หลายๆคนที่ถือ 457 Transitional arrangements (ทำงานครบ 2 ปี ยื่นขอพีอาร์ได้) อาจจะสงสัยว่า ถ้าได้วีซ่ามาแค่ 2 ปี จะยื่น 186 ได้ไหม หรือต้องต่อ 482 ไปก่อน คำตอบคือถ้า Manage ดีๆ ไม่มี unpaid leave เลย และตอนที่ได้วีซ่า 457 ก็อยู่ในประเทศออสเตรเลียและทำงานกับนายจ้างอยู่แล้ว มีความเป็นไปได้สูงค่ะ (case by case)


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


ถาม - ตอบ จิปาถะ

11/6/2020

 
โพสนี้จะเป็นโพสถามมา - ตอบไป แบบจิปาถะ คือไม่มีหัวข้อนะคะ เป็นคำถามจากน้องๆที่โทรมา อีเมล์มา และคนเขียนคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆด้วย

คนเขียนจะอัพเดทคำถาม - คำตอบเป็นระยะๆ - เรียงลำดับจากใหม่ไปเก่า จากบนลงล่าง

โพสนี้ยาวมาก คนเขียนขอจบแค่ June 2020  และตั้งแต่ July 2020 จะเป็นโพส Q & A สั้นๆแทนนะคะ

11/06/2020
Q: ถ้าไม่เป็นการรบกวนเกินไปขอสอบถามเล็กน้อยเกี่ยวกับ186ได้ไหมครับ?

1. ผมทำเรื่องยื่น 457 เมื่อ 3/18 granted 10/18 ในเวลานั้นนายจ้างทำ Benchmark ให้ผมและกฎ Benchmark ก็ถูกยกเลิกไป ผมอยากสอบถามว่านายจ้างต้องจ่าย Training Nominate ต่อทุกปีไหมครับในขณะที่ยังคง sponsor 457 ผมอยู่เวลานี้เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย

2. จริงๆแล้ว วีซ่า186 ที่ต้องทำหลังจาก 457 นี่ จำเป็นที่จะต้องทำskill assessmentไหมครับ?
 
3. sponsor visa 457 สามารถเปลี่ยนนายจ้างระหว่างถือวีซ่าได้ไหมครับ? จะมีผลกับการทำวีซ่า186หรือเปล่า แล้วระหว่างถือวีซ่า186 สามารถเปลี่ยนนายจ้างได้ไหมครับ?  อีกอย่างคือ ถ้าหากผมย้ายนายจ้างระหว่างที่ถือ457อยู่ จะต้องนับปีใหม่ไหมครับ? หรือว่าแค่ให้โดยรวมครบ3ปีก็มาสามารถทำ186ได้เลย


A: นี่เรียกว่าถามเล็กน้อยเหรอคะ ... ล้อเล่นค่ะ ยินดีตอบ จริงๆคนเขียนจำน้องได้ เพราะฉะนั้นดีใจด้วยที่ได้วีซ่ามาในที่สุด และฝากสวัสดีคุณแม่ด้วยนะคะ

1. ไม่ต้องค่ะ 
2. ไม่ต้องค่ะ (แต่อิมมิเกรชั่นมีสิทธิ์ขอให้ทำ)
3. ถือ 457 อยู่ก็เปลี่ยนนายจ้างได้ นายจ้างใหม่ต้องมี Approved Nomination ก่อน น้องถึงจะเริ่มงานกับนายจ้างใหม่ได้ ถ้าเปลี่ยนนายจ้าง ปกติก็ต้องเริ่มนับ 3 ปีใหม่ค่ะ ถ้าเปลี่ยนนายจ้างเพราะบริษัทถูก take over หรือเปลี่ยน structure ของธุรกิจ ต้องเอาเคสมาดู อาจจะไม่ต้องเริ่มนับ 3 ปีใหม่ (คนเขียนทำมาแล้ว ผ่านไปได้ด้วยดี แบบเหนื่อยๆ)

ถือ 186 เปลี่ยนนายจ้างได้ไหม?  คำถามยอดฮิต

- 186/187 สั้นๆคือวีซ่าที่ต้องทำงานกับนายจ้างอย่างน้อย 2 ปี  หลังจาก 2 ปีก็ตามสบายค่ะ (ในส่วนของอิมมิเกรชั่น) แต่ในส่วนของกฏหมายแรงงานน้องก็ต้องดูว่าสัญญาจ้างงานกำหนดไว้ว่ายังไงด้วยนะคะ 
- วีซ่า 187 มีเงื่อนไขติดมากับวีซ่าที่อิมมิเกรชั่นสามารถยกเลิกวีซ่าได้ถ้าไม่ทำงานกับนายจ้าง ส่วน 186 ไม่มีเงื่อนไขนั้น
- แต่อิมมิเกรชั่นก็ใช้กฏหมายข้ออื่นมายกเลิกวีซ่าได้ (ุถ้าจะทำ) ส่วนใหญ่จะเป็นกรณีที่เห็นได้ชัดว่าไม่ได้มีความตั้งใจที่จะทำงานกับนายจ้างอยู่แล้ว และเคส 186 ที่ถูกยกเลิกก็มีมาหลายปีแล้วนะคะ
- ถ้ามีเหตุผลสมควรในการต้องเปลี่ยนนายจ้างก็จัดไปค่ะ ถ้าวีซ่าจะถูกยกเลิก ก็เอาเหตุผลไปอธิบายให้อิมมิเกชั่นฟัง เช่นถูกไล่ออก หรือนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างตามที่ตกลงกัน เป็นต้น
- ถ้าอึดอัดกับนายจ้าง ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Skilled Visas ดูสิคะ มีหลายตัวเลย และอาชีพของน้องก็อยู่ใน Medium & Long term list (MLTSSL) ด้วย นับ points และต้องทำ skills assessment นะคะ

Q: ไม่ทราบว่าพี่รับเขียน Story สำหรับ Protection visa ไหมครับ

A: ไม่รับค่ะ ไม่รับสร้างเรื่องที่ไม่เป็นความจริง

คนเขียนทราบมาว่าบางคนคิดค่าบริการทำ Protection visa ให้น้องๆกันเป็นหมื่นเหรียญ บางคนก็หลายหมื่นเหรียญด้วยซ้ำ บอกแล้วบอกอีก บอกตรงนี้อีกรอบ คนไทยที่ได้ Protection visa มีน้อยมากๆ เคสคนไทยส่วนใหญ่ น้องเอาเงินไปทิ้งกับวีซ่าที่ตัวเองไม่มีโอกาสได้ แค่ซื้อเวลาเพื่อจะอยู่ที่ออสเตรเลีย พอเจอวีซ่าที่ต้องการยื่นจริงๆ เจ้า Protection visa ที่น้องเคยยื่นก็อาจจะมาสร้างปัญหาให้กับวีซ่าตัวใหม่ได้ เอาเงินนี้ไปยื่นวีซ่า (และถ้าจำเป็นก็ยื่นอุทธรณ์) กับวีซ่าที่เราน่าจะมีโอกาสได้ดีกว่านะคะ  อย่าถูกหลอก หาข้อมูลเยอะๆ 

4/06/2020
Q: เรียนจบป.โท ในสาขา environmental engineering at xxx University และกำลังจะเรียนจบป.เอก สาขาเดียวกันและที่เดียวกันในเดือนกันยายนนี้ มีคะแนน IELTs ของเก่า band 6 ไม่เคยขอวีซ่าของออสเตรเลีย สุขภาพแข็งแรงดี สามารถขอวีซ่า Skilled—Recognised Graduate visa ได้ไหม จำเป็นไหมที่ต้องเรียนจบในออสเตรเลีย หรือมีวีซ่าอื่นที่จะแนะนำไหม

A: จริงๆแล้วน้องถามมาอย่างสุภาพมากนะคะ คนเขียนตัดบางประโยคออกตามความเหมาะสม

ไม่จำเป็นต้องจบที่ออสเตรเลียค่ะ แต่ต้องจบจากสถานศึกษาและคอร์สที่ Accredited under the Washington Accord หรือที่ระบุไว้ในนี้ อายุและผลภาษาอังกฤษของน้องเข้าเงื่อนไขวีซ่านี้  แต่จากที่คนเขียนเช็คให้คร่าวๆ 
มหาวิทยาลัยและคอร์สของน้องเหมือนจะไม่อยู่ในลิสสำหรับวีซ่านี้ (คนเขียนส่งลิงค์สำหรับประเทศที่น้องเรียนให้แล้วทางอีเมล์) เพื่อให้แน่ใจน้องลองเช็คเองอีกครั้งจากลิงค์ที่ให้ไว้ในนี้และทางอีเมล์นะคะ เชื่อว่าน้องจะหาข้อมูลที่ต้องการได้ค่ะ  ถ้าต้องการให้คนเขียนดูให้ลึกกว่านี้หรือหาทางเลือกอื่นที่อาจจะมี รบกวนนัดปรึกษา ส่งเอกสารการศึกษาและ CV/Resume เป็นเคสที่ต้องใช้เวลาในการพิจารณาและคุยกันค่ะ

ป.ล. โพสนี้ ถามถึง Subclass 476 Skilled—Recognised Graduate visa เป็นวีซ่าชั่วคราว 18 เดือนสำหรับคนจบด้าน Engineering โดยเฉพาะเลยค่ะ ซึ่งบางคนก็สามารถต่อยอดไปเป็นพีอาร์ได้ เป็นวีซ่าที่น่าสนใจค่ะ

Q: สวัสดีค่ะ..เพิ่งอ่านเจอครั้งแรกค่ะ..ขอบคุณมากๆค่ะ..ที่มีเพจแบบนี้มาแบ่งปันความรู้..ขอสอบถามค่ะ.. ตอนนี้ได้วีซ่าถือ.. TR..อยู่ที่ออสค่ะ และอีก5เดือนหน้าจะครบ2ปีค่ะ..ต้องจะยื่นวีซ่าติดตามลูกชายอายุ20..แต่เราไม่มีตังจ่ายให้ทางเอเจ้น..ติดช่วงโควิด สถานะการเงินได้แค่พยุงตัวตอนนี้..ก็เลยตั้งใจจะทำเอกสารเองค่ะ..อยากสอบถามว่า..เราต้องเริ่มต้นเตรียมเอกสารอย่างไรค่ะ และเราต้องเข้าไปตรวจสอบสถานะในอิมเพื่อเปลื่ยนแปลงอีเมล..ให้อิมสามารถติดต่อเราทางอีเมลหรือป่าวค่ะ..เพราะตอนยื่นวีซ่า309 เอเจ้นเป็นฝ่ายที่ยื่นให้ค่ะ ขอบคุณมากๆค่ะ

A: ขอบคุณที่อ่านเพจค่ะ เริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจวีซ่าที่ต้องการจะสมัคร ลองอ่านรายละเอียดของ Subclass 445 Dependent Child visa ดูนะคะ ลูกอายุ 20 แล้ว ต้องพิสูจน์ว่ายังพึ่งพาเราทางด้านการเงิน บางเคสก็ตรงไปตรงมา บางเคสก็น่าปวดหัว  เมื่อลูกได้วีซ่านี้ ก็ทำเรื่องแจ้งอิมมิเกรชั่นขอเพิ่มลูกใน Partner visa ของเรา ต้องทำให้เรียบร้อยก่อนพีอาร์ Subclass 100 Permanent Partner visa ออกนะคะ  ถ้าพีอาร์ออกก่อน ลูกก็ต้องหาวีซ่าอื่นยื่นแล้วค่ะ

ส่วนของ Partner visa เช็คใน Application form ตอนยื่นวีซ่า 309 ในหัวข้อการติดต่อสำหรับ "Second stage permanent visa" ว่าที่ใส่ไปเป็นอีเมล์ของตัวเองหรือของเอเจนต์ ถ้าเป็นอีเมล์ของเอเจนต์ และต้องการเปลี่ยนเป็นอีเมล์ของตัวเอง ก็ต้องแจ้งเปลี่ยนกับอิมมิเกรชั่นค่ะ 

21/05/2020
Q: ผมอยากทราบเรื่องการโทรติดต่อในกรณีที่ผมตัดสินใจให้พี่ทำเคสให้ ผมโทรหาได้กี่ครั้ง และถ้าโทรบ่อยจะมีค่าบริการเพิ่มไหม ต้องนัดล่วงหน้าไหม

A: ไม่ใช่ครั้งแรกที่เจอคำถามนี้ คนเขียนชอบลูกความที่ proactive และใส่ใจเคสตัวเอง เพราะฉะนั้นจะโทรกี่ครั้งก็ได้ค่ะ ถ้าถามคำถามแล้วน้องสบายใจขึ้น เข้าใจเคสตัวเองได้มากขึ้น ส่งเอกสารให้คนเขียนได้ตรงประเด็นมากขึ้น ยินดีรับโทรศัพท์อย่างมาก ไม่คิดค่าบริการเพิ่ม และไม่ต้องนัดล่วงหน้า

20/05/2020
Q: พี่คะ หนูอ่านเจอโพสของพี่ที่ให้เวลา 5 นาที สำหรับโทรถามคำถาม ไม่ทราบว่าหนูต้องนัดล่วงหน้าไหมคะ

A: ขอบคุณสำหรับความเกรงใจ แต่ไม่ต้องนัดล่วงหน้าค่ะ

ป.ล. น้องหมายถึงโพสนี้ของคนเขียน
        สำหรับน้องๆ = สะดวกก็โทร (หรือโทรใหม่) | สำหรับคนเขียน = สะดวกก็รับ (หรือโทรกลับ)

Q: วีซ่านักเรียนกำลังจะหมดเดือนหน้า ไม่ต้องการเรียนต่อ และต้องการจะกลับไทย แต่ยังไม่มีตั๋วกลับ ขอวีซ่าท่องเที่ยวได้ไหมคะ

A: สถานะการณ์ปกติอาจจะยากหน่อย สถานะการณ์ COVID-19 ตอนนี้มีความเป็นไปได้ค่ะ อย่าลืมเขียนคำอธิบายว่าทำไมถึงขอวีซ่านี้ประกอบไปด้วยนะคะ หรืออาจจะลองเช็ควีซ่า 408 เทียบกันดูนะคะ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่มีความเป็นไปได้ เมื่อยื่นใบสมัครแล้วก็จะได้ Bridging visa มาค่ะ คืออยู่ต่อได้อย่างไม่ผิดกฏหมายในระหว่างรอการพิจารณาและรอตั๋วกลับไทย

19/05/2020
Q: ยื่น Partner visa ก่อนวีซ่าท่องเที่ยวจะหมด นี่วีซ่าท่องเที่ยวหมดไปหลายวันแล้ว แต่อิมมิเกรชั่นยังไม่ส่งเอกสารแจ้งเรื่อง Bridging visa มาเลย ต้องทำยังไงดีคะ และ Partner visa ที่ยื่นไปคือทำกันเอง ยื่นเอกสารแค่ไม่กี่อย่าง ยังไม่ได้ยื่นเอกสารความสัมพันธ์เลยค่ะ

A: ถ้ายื่น Partner visa ก่อนวีซ่าท่องเที่ยวหมด โดยปกติน้องก็จะได้รับ Acknowledgement letter & Bridging visa grant letter นะคะ พอวีซ่าท่องเที่ยวหมด น้องก็ถือ Bridging visa โดยอัตโนมัติ อิมมิเกรชั่นจะไม่ส่งเอกสาร Bridging visa มาให้อีกรอบ

วิธีเช็ค
1. หาอีเมล์ Bridging visa grant letter (ส่วนใหญ่จะมาวันที่เรายื่น Partner visa หรือวันถัดไป)
2. เช็ค VEVO ซึ่งควรจะขึ้นว่าตอนนี้น้องถือวีซ่า Subclass 010 -  Bridging visa A
3. ถ้าหา Bridging visa grant letter ไม่เจอ หรือ VEVO ขึ้น Error แถบแดง โทรกลับมาหาคนเขียนใหม่ค่ะ ต้องมาดูแล้วว่าทำอะไรพลาด และปัญหาอยู่ตรงไหน

เอกสารความสัมพันธ์ก็ทยอยยื่นเข้าไปค่ะ ไม่ต้องรออิมมิเกรชั่นขอก่อนแล้วค่อยยื่น

Q: สวัสดีค่ะ ขอรบกวนค่ะ ดิฉันถูกปฏิเสธวีซ่า 186 และยื่นอุทธรณ์ไป นี่รอมา 2 ปีกว่าแล้ว เอเจ้นที่ใช้บริการบอกว่ายังไม่มีความคืบหน้า ควรทำยังไงดีคะ 

A: ไม่ทำยังไงค่ะ รอต่อไป เดี๋ยวก็ถึงคิวเรา
AAT ก็ทำตามนโยบาย COVID-19 ของรัฐบาล และพยายามทำ Hearing ที่ทำได้ทางโทรศัพท์และก็ทาง Video Conference  เคสต่างๆก็ต้องมีความล่าช้ามากขึ้นเป็นธรรมดา  คนเขียนก็มีหลายเคสในมือที่ใกล้ 2 ปี และ 2ปี+ 

10/05/2020
Q: สวัสดีค่ะพี่เก๋ พอดีหนูไปคุยกับทนายคนนึง หนูมีแฟนที่คบกันมา 4 ปีแล้ว กำลังเก็บเงินจะยื่นวีซ่าพาร์เนอร์ แต่วีซ่านักเรียนดันมาถูกยกเลิกเสียก่อน ทนายบอกว่าหนูยื่นวีซ่าพาร์เนอร์ในออสไม่ได้แล้ว เพราะหนูถูกยกเลิกวีซ่านักเรียน ก็จะติด section 48 ห้ามยื่นที่ออส ไม่มีข้อยกเว้นใดๆทั้งสิ้น นี่หนูก็ถอดใจแล้วว่าต้องกลับไปยื่นที่ไทย แต่พอดีเพิ่งได้อ่านโพสของพี่ว่ายื่นได้ ทำไมเค้าถึงแนะนำว่ายื่นไม่ได้ละคะ

A: แล้วคนเขียนจะทราบไหม ไม่ได้เข้าไปนั่งฟังด้วยนิ  น้องก็ไปถามคนที่ให้คำแนะนำสิคะ

โอเค ไม่กวนแล้ว ตอบจริงๆก็ได้ ........................................ ถ้าแนะนำว่ายื่นที่ไทยจะได้วีซ่าง่ายกว่า อันนี้เป็นไปได้ และส่วนใหญ่ก็ใช่ซะด้วย  แต่ถ้าแนะนำว่าเคส Section 48 ยื่นที่ออสเตรเลียไม่ได้ ต้องกลับไปยื่นที่ไทยเท่านั้น อันนี้ไม่ใช่แล้ว (ยืนยัน เพราะทำเคส Section 48 ยื่นที่ออสเตรเลียมาหลายเคสแล้ว)

เคสติด Section 48 แล้วกลับไปยื่นที่ไทย ก็คือเคส Partner visa แบบปกตินั่นแหละค่ะ เพราะ Section 48 ไม่ได้มีผลอะไรกับการยื่นแบบนอกประเทศออสเตรเลีย และเอาตรงๆมันง่ายกว่าสำหรับคนทำงานด้วย   แต่พอเป็นเคส Section 48 ยื่นในออสเตรเลียปุ๊บ กลายเป็นเคสยากขึ้นมาเลย เอเจนต์บางคนก็ไม่อยากทำเคสแบบนี้ เครียดกว่า ใช้เวลาการทำงานเยอะกว่า ต้องละเอียด ต้องทำ Research ต้องทำ  Submission นำเสนอเคสให้ลูกความ ความเสี่ยงก็สูงกว่า ...... แต่ถ้าบอกลูกความว่าทำไม่ได้ เพราะตัวเองไม่อยากทำ คนเขียนว่าไม่แฟร์นะ ชีวิตของน้อง น้องต้องมีสิทธิ์เลือก

บางเคสก็ชัดเจนนะคะว่าถ้ายื่นที่ออสเตรเลียคือไม่ผ่าน ก็ต้องแนะนำให้ยื่นที่ไทย; บางเคสก็มีลุ้นค่ะ เคสแบบนี้คนเขียนจะให้ข้อดีข้อเสียของการยื่นที่ไทย vs ยื่นที่ออสเตรเลีย  รับได้แบบไหน บอกมาคนเขียนจัดให้; บางเคส เมื่อเอาปัจจัยหลายๆอย่างมาพิจารณาประกอบกันแล้ว (Strategically) เสี่ยงยื่นที่ออสเตรเลียดีกว่าและให้ประโยชน์มากกว่า หรือบางเคสออกไปแล้วอาจจะไปแล้วไปลับไม่กลับมา What?!!!! .... ใช่แล้ว .... เพราะฉะนั้นไม่ใช่ทุกเคสที่ควรจะกลับไปยื่นที่ไทย

.... สงสัยว่าทำไมช่วงนี้มีคนถามประเด็น Section 48 กับ Partner visa มาเยอะมาก อาจจะเพราะสถานการณ์ COVID-19 รึเปล่า  ถ้ายังไม่เข้าใจก็ย้อนกลับไปอ่านโพส Partner visa เก่าๆของคนเขียนด้วย  หรือจะโทรมาใช้บริการ 5 นาที Free Advice ก็ได้ (แต่บอกตามตรงว่าเคส Section 48 และต้องการจะยื่นที่ออสเตรเลีย 5 นาทีไม่พอ เคสแบบนี้โทรมาคุยกันเบื้องต้นและนัดทำคอนซัลค่ะ)

7/05/2020
Q: สวัสดีค่ะ จะรบกวนสอบถามค่ะ คือถือ 457 แล้วเราลาออกจากร้าน แต่ยังหานายจ้างใหม่ไม่ได้ แล้วระยะเวลาจากวันที่ลาออกจนตอนนี้ก็เกิน 60 วัน แต่เช็คใน vevo ก็ขึ้นว่า in Effect อยู่ แต่ไม่ขึ้นหมายเลข reference ของนายจ้าง แล้วก็ไม่ได้รับการติดต่อจากทนายหรืออิมมิเกรชั่นเรื่องโดนยกเลิกวีซ่า อย่างนี้ถือว่าวีซ่าถูกยกเลิกหรือยังคะ

A: ถ้าเช็คใน VEVO แล้ว ยังขึ้นว่าถือ 457 อยู่ ก็คือยังไม่ถูกยกเลิกค่ะ

ถ้าถูกยกเลิก หรือไม่มีวีซ่า VEVO ก็จะไม่ขึ้นเลขวีซ่านะคะ จะขึ้นแถบแดงว่ามี Error เกิดขึ้น ก่อนจะตกใจว่าเราไม่ถือวีซ่าแล้ว เช็คก่อนว่าพิมพ์ข้อมูลส่วนตัวถูกต้องหรือไม่ พิมพ์วันเกิดหรือพาสปอร์ตผิดก็ขึ้น Error นะคะ

สำหรับน้อง เกิน 60 วันแล้ว ถ้าหานายจ้างได้ต้องรีบยื่นเอกสาร ถ้าหาไม่ได้ ก็ควรจะต้องสมัครวีซ่าอื่นที่เหมาะสม หรือเดินทางออกจากประเทศออสเตรเลียนะคะ 

6/05/2020
Q: ขอสอบถามค่ะ คือวีซ่านักเรียนถูกยกเลิก และตอนนี้ไม่มีวีซ่า แต่มีแฟนที่เป็นพีอาร์น่ะค่ะ พอดีอ่านเจอจากเวปอื่นว่ายื่น Partner visa ในออสเตรเลียไม่ได้ เพราะติดบาร์ section 48  แต่อยากลองสอบถามให้แน่ใจว่ายื่นไม่ได้จริงๆ เพราะตอนนี้ก็มี Covid และก็ไม่อยากแยกกันกับแฟน

A: ยื่นได้ค่ะ จะติด Section 48 บาร์ จากการถูกปฏิเสธ หรือถูกยกเลิกวีซ่า หรือจะ Overstay วีซ่า ก็สามารถยื่น Partner visa ในประเทศออสเตรเลียได้ค่ะ  แต่โน๊ตนะคะว่ายื่นได้ ไม่ได้แปลว่าจะได้วีซ่าเสมอไปนะคะ เป็นเคสที่ต้องคุยกันยาวค่ะ และต้องยอมรับความเสี่ยงได้

ลักษณะการยื่น และเงื่อนไขการได้วีซ่าสำหรับเคส Section 48 หรือเคส Overstay ค่อนข้างซับซ้อน คือต้องมีการพิจารณาว่าเคสมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ไม่ง่าย แต่เคสที่ผ่านมาแล้วก็เยอะค่ะ เคสแชร์ประสบการณ์ Partner visa และเคส Partner visa ที่คนเขียนกล่าวถึงในโพสนี้ หรือโพสอื่นๆ ที่ลูกความได้วีซ่า ส่วนใหญ่ก็เป็นเคสเคยถูกยกเลิกวีซ่ามาก่อนนะคะ ไม่ใช่แค่ Overstay เฉยๆ   เพียงแต่คนเขียนใช้คำว่าเคสไม่ถือวีซ่า เพราะตอนยื่นลูกความไม่ถือวีซ่าเท่านั้นเอง (การไม่ถือวีซ่า ก็มีที่มาแตกต่างกันไป)

เคส Partner visa ที่คนเขียนทำ มีทั้งเคสถือวีซ่าปกติ เคสถือวีซ่าติดปัญหาอื่นเช่น Health / Character / Sponsor ที่เคยสปอนเซอร์มาก่อนหรือสปอนเซอร์เกิน 2 คนแล้ว เคสวีซ่าขาด เคสถูกปฏิเสธวีซ่า เคสวีซ่าถูกยกเลิก รวมถึงเคสยำใหญ่ (ปัญหาหลายๆอย่างมารวมกัน เหนื่อยแต่สนุก ลูกความคงไม่สนุกด้วย แต่อย่างน้อยคนเขียนก็รับทำเคสละกัน)

15/04/2020
Q: เอกสาร police checks ต้องยื่นพร้อมสมัคร หรือ ต้องรอทางอิมขอมาคะ เห็นบางคนต้องขอ 2 รอบ เนื่องจากสถาณะการณ์โควิค 19  ทุกอย่างเลยด่วนและฉับพลันค่ะ จึงพยายามหาเอกสารเพื่อทำ visa partner  ถ้าเอกสารความสัมพันธ์มีน้อย หาเพิ่มหลังจากอิมขอมาได้ไหมคะ

A: สำหรับ Partner visa เอกสาร Police checks ยื่นตามหลังได้ค่ะ จะรออิมมิเกรชั่นขอ หรือไม่รอก็ได้

ถ้าผู้สมัครหรือสปอนเซอร์มีประวัติคดีอาญาหรือคิดว่าอาจจะมี ควรหาคำแนะนำที่ถูกต้องก่อนการยื่นใบสมัคร และถ้าเป็นไปได้ควรมี Police checks ก่อนยื่นนะคะ
 
เอกสารความสัมพันธ์สามารถยื่นเพิ่มเติมระหว่างรอการพิจารณาได้ค่ะ ไม่ต้องรออิมมิเกรชั่นขอนะคะ เพราะอิมมิเกรชั่นอาจจะปฏิเสธเลยโดยไม่ขอเอกสารความสัมพันธ์เพิ่มเติม (ถ้าตอนพิจารณาเคส เอกสารพิสูจน์ความสัมพันธ์ยังไม่เพียงพอ)


25/02/2020
Q: รบกวนสอบถามเรื่องผลไอเอลค่ะ ตอนนี้ถือ 457 อยู่ กำลังจะหมดมิถุนานี้ (ได้ 457 ก่อนกฏเปลี่ยน 18 Apr 2017) สอบไอเอลไม่ได้สักทีค่ะ และคิดว่าคงได้ไม่ทัน คิดว่าจะ ต่อ 482 ดีหรือไม่   รบกวนสอบถามว่า 457 ผลไอเอลต้อง 6 ทุก Part แต่ถ้าเปลี่ยนเป็น 482 ตามที่....  (??? ตามที่อะไรดีคะ น้องถามไม่จบ.... คาดว่าจะถามว่า 482 ต้องใช้ผลไอเอลเท่าไหร่)

A: ในกรณีนี้คิดว่าจะต่อ 482 ถ้าเป็นอาชีพที่อยู่ใน Short term list ระวังเรื่อง Genuine Temporary Entry (GTE) ด้วยนะคะ   

457 ในอดีตไม่ได้ต้องการ IELTS 6 ทุก Part นะคะ เข้าใจผิดหรือพิมพ์ผิดไม่แน่ใจ
482 Short term stream ใช้ผล IELTS 4.5 ทุก Part และ Overall 5
482 Medium term stream ใช้ผล IELTS 5 ทุก Part 
นอกจาก IELTS แล้ว ผลสอบ TOFEL iBT, PTE Academic, Cambridge C1 Advanced test และ OET ก็ใช้ได้ค่ะ
482 ยังใช้ผลการเรียนเป็นภาษาอังกฤษ 5 ปีในระดับ Secondary or Higher education เป็นข้อยกเว้นภาษาอังกฤษได้นะคะ 
   

5/02/2020
Q: แฟนเป็นชาวนิวซีแลนด์ เค้าต้องการจะยื่น PR ที่นี่ ทำงานเป็น sous chef at cafe Sydney แฟนมี cert 3 certificate for commercial cookery  รายได้แฟน $53900 3 ปีย้อนหลัง  สามารถยื่นวีซ่าได้ไหมค่ะ

A: ยังไม่ได้ค่ะ ต้องพิสูจน์ว่ามี Taxable income เท่ากับหรือมากกว่า Income threshold 4 ปีก่อนการยื่นใบสมัคร   (ซึ่ง Income threshold = $53,900 ตั้งแต่ปี 2013-14 แต่ในอนาคตอาจจะไม่ใช่เรทนี้) 

ใครสงสัยว่าคำถามนี้หมายถึงวีซ่าตัวไหน คำตอบคือ วีซ่า 189 New Zealand Stream

12/11/2019
Q: ตอนนี้ถือวีซ่า 482 (Temporary Skill Shortage) แต่บาดเจ็บและจะต้องรักษาตัวนานเกิน 60 วัน กังวลว่าจะถูกยกเลิกวีซ่าเพราะอิมมิเกรชั่นมีเงื่อนไขว่าห้ามหยุดงานเกิน 60 วัน

A: ห้ามหยุดงานเกิน 60 วันที่น้องพูดถึง คือเงื่อนไข 8607 ซึ่งติดมากับวีซ่า 482 (เฉพาะคนถือวีซ่าหลัก) ซึ่งไม่ได้หมายถึงหยุดงานเพราะป่วยนะคะ 

Keywords ของเงื่อนไข 8607 คือ "cease employment" ซึ่งหมายถึงการหมดสถานะการเป็นลูกจ้าง เช่นการถูกเลิกจ้าง หรือการลาออกจากงาน ซึ่งคนถือวีซ่านี้จะต้องหานายจ้างใหม่ที่พร้อมจะสปอนเซอร์เราภายใน 60 วัน

การลาป่วยไม่ใช่ cease employment คือน้องไม่ได้หมดสถานะการเป็นลูกจ้าง เพราะฉะนั้นไม่ได้ทำผิดเงื่อนไข 8607 นะคะ แต่ถ้าลาป่วยนานจนถูกเลิกจ้าง อันนี้อีกเรื่องนึง (ก็เริ่มนับ 60 วันได้เลยค่ะ)

18/03/2019
Q: วีซ่านักเรียนขาดมาได้ 3 วันแล้ว ไม่ทราบว่าจะยื่นใบสมัครวีซ่านักเรียนตัวใหม่ในประเทศออสเตรเลียได้หรือไม่

A: ยื่นได้ค่ะ ถ้ายื่นไม่เกิน 28 วันหลังวีซ่านักเรียนเดิมหมดอายุ แต่ทำได้แค่หนเดียวเท่านั้นนะคะ
    ถ้าเคยได้วีซ่านักเรียนจากการยื่นหลังจากที่วีซ่านักเรียนเดิมหมดอายุมาแล้ว ก็หมดสิทธิ์ค่ะ
   
    ป.ล. ยื่นได้ คืออิมมิเกรชั่นสามารถรับเรื่องได้ ...... แต่ยื่นได้ ไม่ได้แปลว่าจะได้วีซ่านะคะ มันคนละเรื่องกัน
    เช่น ถ้าอิมมิเกรชั่นเห็นว่าไม่ได้มีความตั้งใจที่จะเป็นนักเรียนจริงๆ ก็สามารถปฏิเสธวีซ่าได้ค่ะ

21/02/2019
Picture
Q: มีเรื่องอยากจะรบกวนปรึกษาเรื่องวีซ่า 407 ค่ะ
เมื่อปี 2017 เคยยื่นวีซ่า นร ของออสเตรเลียจากประเทศไทย แต่ไม่ผ่านค่ะ เลยไปเรียนโทที่ประเทศอื่นแทน จะเรียนจบปีนี้ค่ะ หลังจากเรียนจบมีความสนใจอยากจะยื่นเทรนนิ่งวีซ่า 407 ค่ะ ได้เข้าไปอ่านในเว็บไซต์ของอิมมิเกรชั่นออสเตรเลียแล้วมีข้อสงสัยตรงนี้ค่ะ










ข้อความตรงนี้คือ หมายถึงคนที่เคยโดนปฏิเสธวีซ่าจากการยื่นภายในประเทศออสเตรเลียห้ามสมัครวีซ่าตัวนี้ถูกไหมคะ 
 
A: ข้อความที่ตัดมาให้อ่าน คือมีหลายปัจจัยด้วยกันที่ประวัติการถูกยกเลิกหรือถูกปฏิเสธวีซ่า จะมีผลกับการยื่นวีซ่าครั้งต่อไป ถ้าให้อธิบายทุกแบบคงยาวมาก คนเขียนคงต้องหาเวลาเขียนเป็นโพสเลย ยังไงลองอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจากลิงค์ Check if visa cancellation affects your eligibility นะคะ
 
ถ้าประวัติของน้องมีอยู่เท่าที่ให้มา คือเคยมีการถูกปฏิเสธวีซ่านักเรียนที่ยื่นที่ไทยหนึ่งครั้ง (ไม่มีอะไรนอกเหนือ) ถ้าสาเหตุการถูกปฏิเสธไม่ได้มาจากการยื่นเอกสารปลอมหรือให้ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง ก็ไม่น่าจะติดข้อห้ามอะไรในการยื่นวีซ่าตัวถัดไป

ถ้ามีประวัติมากกว่านี้ เช่นเคยอยู่เป็นผี overstayed visa มาก่อน เคยถูกยกเลิกวีซ่า ก็อาจจะมีปัญหาในการยื่นวีซ่าตัวถัดไปค่ะ


17/02/2019
Q: อยากเรียนปรึกษาค่ะคือว่าช่วงเมษาที่ผ่านมาลูกชายไปเยี่ยมพี่สาวไปออสเตเลียด้วยวีซ่าท่องเที่ยวแล้วพี่สาวแกให้เรียนภาษาที่นั่นและอยากให้น้องเรียนต่อป.ตรีจึงขอวีซ่านักเรียนให้น้องชายแต่กว่าเอกสารต่างๆจะครบและยื่นขอ ทำให้วันของวีซ่าท่องเที่ยวหมด คือผ่านไปแค่วันเดียว แต่ทางอิมก็ไม่อนุญาติให้ทำ ดังนั้นพี่สาวจึงไปขอบิดจิ้งและให้กลับไทยแต่เกินมาไม่ถึง28วัน จึงอยากจะเรียนปรึกษาว่าจะขอวีซ่าไปออสอีกจะมีทางทำได้ไหมคะ และตอนนี้ให้ลูกชายลงเรียนป.ตรีที่ไทยแล้ว แต่อยากกลับไปเยี่ยมพี่สาวเขาพร้อมพ่อและแม่ช่วงเมษาจะถึงนี้ วีซ่าจะมีปัญหาไหมคะ

A: ถ้ากลับไทยไม่เกิน 28วันนับแต่วีซ่าท่องเที่ยวหมดอายุ ก็ไม่ติดบาร์ค่ะ แต่ประวัติการอยู่เกินเวลา ก็คาดว่าจะมีผลกับการพิจารณา เจ้าหน้าที่ก็ต้องมาพิจารณาและชั่งน้ำหนักเอาว่าจุดประสงค์จะมาท่องเที่ยว/มาเยี่ยมจริงหรือไม่ และถ้าอนุญาติให้เข้าออสเตรเลียแล้ว จะกลับออกไปหรือไม่

11/02/2019
Q: คือว่าหนูเพิ่งเรียนจบป.โท วีซ่าที่ใช้อยู่เป็นวีซ่านักเรียน มาออสตั้งแต่ปี 2016ค่ะ วีซ่านักเรียนกำลังจะหมดวันที่ 15 มีนาคม 2019 ค่ะ อยากจะขอTR visa (post study work steam) ค่ะ แต่มีคำถามคือว่า หนูเคยมาเรียนภาษาที่ออสเตรเลียตอนเด็ก มาเรียนได้ 10 วีคแล้วก็กลับไทยค่ะ ตอนนั้นมา เดือนมีนาคม แล้วกลับไทยเดือนพฤษาคม ปี 2011 อยากจะทราบว่าแบบนี้สามารถสมัครTRได้มั้ยคะ การมาเรียนตอนปี2011ครั้งนั้นส่งผลกระทบ ทำให้ไม่สมารถสมัครTR วีซ่าหรือป่าว หรือว่าไม่เกี่ยวกันค่ะ

A:  Post study work steam มีเงื่อนไขว่าวีซ่านักเรียนที่สมัครและได้รับเป็นตัวแรกจะต้องเป็นตั้งแต่วัน 5 November 2011 เป็นต้นไป (This stream is only available if you applied for, and were granted, your first student visa to Australia on or after 5 November 2011.    If you held your first student visa prior to this date, even as a child on your parent’s student visa, then you will not be eligible to apply for this stream.)

ถ้าน้องมาเรียน 10 วีค เดือน March 2011 ด้วยวีซ่านักเรียน ก็จะติดเงื่อนไขนี้ค่ะ  น้องคงต้องลองดูเงื่อนไขของ Graduate Work Stream ว่ามีความเป็นไปได้หรือเปล่า

ถ้าตอนนั้นมาด้วยวีซ่าท่องเที่ยว ก็ไม่มีผลกระทบ เพราะไม่ใช่วีซ่านักเรียน

Q: ตอนนี้ถือ 457 มีอายุถึง DD/MM/2020 ค่ะ  ตอนนี้กำลังจะยื่น PR เหลือแค่ผลสอบไอเอลค่ะ น่าจะได้ยื่นภายในเดือนธันวาคมนี้ค่ะ  ถ้าหากเรายื่น PR แล้ว เราก็จะเปลี่ยนเป็น Bridging A ใช่ไหมคะ  แล้วทีนี้คือ อยากทราบว่า ถ้าเราจะกลับไทยในระหว่างที่เราอยู่ใน bridging A นี้ ต้องขอ bridging B ไหมคะ พอดีซื้อตั๋วไว้ จะกลับไทย DD/MM/2019 ค่ะ ถามทนายแล้ว เค้าบอกว่า สามารถเข้าออกออสเตรเลียได้ โดยไม่ต้องขอ Bridging B ไม่ทราบจริงไหมคะ...พอดีถามเพื่อนคนอื่น ก็ให้ข้อมูลไม่ตรงกันค่ะ อย่างเช่น ถ้าเรายื่นขอ PR...วีซ่าเก่าเราก็จะยกเลิก
รบกวนด้วยนะคะ


A: เมื่อยื่นขอ PR ก็จะได้ Bridging visa A (BVA) ค่ะ แต่ BVA จะยังไม่มีผลเพราะน้องยังถือ 457 ถึง DD/MM/2020
ถ้ากลับไทยก่อนที่ 457 จะหมดอายุ ไม่ต้องขอ BVB (คือเข้าออกด้วยวีซ่า 457)
หลังจาก 457 หมดอายุ (ถ้ายังรอผล PR อยู่) น้องก็จะเข้ามาอยู่ใน BVA ก่อนออกนอกประเทศก็ต้องขอ BVB
การยื่นพีอาร์ไม่ได้ทำให้วีซ่าตัวเดิมถูกยกเลิกค่ะ

26/10/2018
Q: ถือวีซ่า 457 อยู่ (หรือวีซ่า 482 / TSS) แต่ถูกเลิกจ้าง ต้องทำยังไง

A: ลองหานายจ้างใหม่ดูค่ะ มีเวลา 60 วันก่อนที่อิมมิเกรชั่นจะพิจารณาว่าจะยกเลิกวีซ่าเราหรือไม่
ถ้า 457 ได้มาก่อนวันที่ 19 Nov 16 เปลี่ยนจาก 60 เป็น 90 วัน
หานายจ้างใหม่ได้แล้ว เริ่มงานใหม่เลยไม่ได้นะคะ ต้องรอให้นายจ้างใหม่ได้ Approved Nomination ก่อน
ถ้ามีวีซ่าอื่นที่อาจจะเหมาะสมกว่า ก็ควรจะรีบยื่นโดยเร็ว เพราะถ้าวีซ่าที่ถืออยู่ถูกยกเลิกก่อน อาจจะทำให้ยื่นไม่ได้

25/10/2018
Q: วีซ่าถูกปฏิเสธค่ะ จากการขอต่อวีซ่านักเรียน แล้วตอนนี้ยื่น AAT ไป แล้วถือ bridging A อยู่ อยากทราบว่ายังทำงานได้ปกติตามวีซ่านักเรียนไหมคะ

A: จากข้อมูลที่ให้มา ก็ควรจะทำงานได้ค่ะ
และแนะนำให้น้องเช็ค VEVO ด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าวีซ่าที่ถืออยู่ไม่มี Condition: 'No Work' ติดอยู่

18/10/2018
Q: ช่วงที่ถือวีซ่า 457 นี้ ไม่ทราบว่ายังต้องจ่ายค่า Training Benchmarks ในทุกๆปีไหมคะ

A: ไม่ต้องแล้วค่ะ - นับจากวันที่ 12 สิงหาคม 2018 นายจ้างไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่า Training Benchmarks อีกต่อไป เพราะมีการปรับใช้ Skilling Australians Fund (SAF) levy หรือ Nomination Training Contribution Charge (NTCC) ซึ่งเป็นการชำระเป็นเงินก้อนตอนยื่น Nomination แทน (รายละเอียดที่นี่ค่ะ) 

นายจ้างที่มีหน้าที่ต้องทำ Training Benchmarks ตามกฏเก่า ก่อนหน้าที่จะมีการยกเลิกในวันที่ 12 สิงหาคม 2018 ก็ยังคงต้องเก็บหลักฐานการทำ Training ไว้นะคะ

22/08/2018
Q: ในกรณีที่ยังไม่ได้ผลภาษาอังกฤษที่ต้องการสำหรับวีซ่า 187 ไม่ทราบว่าจะยื่นใบสมัครก่อน พอได้ผลภาษาอังกฤษแล้วค่อยส่งตามหลังได้หรือไม่

A: ไม่ได้ค่ะ ผลภาษาอังกฤษสำหรับวีซ่า 186 & 187 ต้องเป็นผลของการสอบก่อนการยื่นใบสมัคร

                                                                             13/07/2018
Q: มาด้วยวีซ่าท่องเที่ยว Multiple 1 ปี ต้องกลับทุก 3 เดือน จะยื่นวีซ่าคู่ครองที่ประเทศออสเตรเลียได้หรือไม่ และจะได้ Bridging visa หรือไม่

A: ถ้าวีซ่าท่องเที่ยวติด Condition 8503 "No further stay" ก็ยื่นวีซ่าคู่ครองที่ออสเตรเลียไม่ได้ค่ะ (เว้นแต่จะมีการขอยกเว้น Condition 8503 และอิมมิเกรชั่นได้อนุมัติแล้วก่อนการยื่นวีซ่าคู่ครอง)

ถ้าวีซ่าท่องเที่ยวไม่ติด Condition 8503 ก็สามารถยื่นวีซ่าคู่ครองในประเทศออสเตรเลียได้ค่ะ (ยื่นในระหว่างที่ถือวีซ่าท่องเที่ยวด้วยนะคะ ไม่ใช่อยู่เกินวีซ่าแล้วค่อยยื่น ปัญหาใหญ่จะตามมา) และเมื่อได้ยื่นวีซ่าคู่ครองแล้วก็จะได้ Bridging visa (วีซ่ารอ) เพื่อที่จะอยู่รอผลการพิจารณาวีซ่าคู่ครองที่ออสเตรเลีย โดยไม่ต้องกลับออกไปหรือไปๆมาๆทุก 3 เดือน

แล้วจะทราบได้ยังไงว่าวีซ่าท่องเที่ยวที่ให้อยู่ได้ 3 เดือน จะหมดวันที่เท่าไหร่  ----- เช็ค VEVO ค่ะ

4/06/2018
Q: กรณีถือวีซ่าท่องเที่ยว (multiple 3 ปี ) แล้วยื่นวีซ่านักเรียน onshore พอได้รับ bridging A อยู่ออสครบ 3 เดือน ต้องออกนอกประเทศมั๊ยคะ แล้วถ้าวีซ่านักเรียนออก วีซ่าท่องเที่ยวยังคงอยู่มั้ยคะ 

A: ถ้าวีซ่าท่องเที่ยวหมดอายุแล้วไม่กลับออกไป ก็จะเปลี่ยนมาถือ Bridging visa
    ถ้าวีซ่านักเรียนออก วีซ่านักเรียนก็จะมาแทนวีซ่าท่องเที่ยวค่ะ

Q: มาด้วย visa subclass 400 ต้องการอยู่ต่อ ถ้าขอ visa subclass 400 อีกครั้ง จะโดนปฎิเสธจากทาง immigration หรือไม่ และถ้าโดนปฎิเสธ จะมีผลกับการขอ 189 ในอนาคตของดิฉันไหม

A:  ถ้าเหตุผลดี หลักฐานดี วีซ่า 400 ก็มีโอกาสผ่านค่ะ
ถ้าวีซ่า 400 ถูกปฏิเสธ และถือ bridging visa อาจจะติด Section 48 Bar ทำให้ยื่นวีซ่า 189 ในประเทศออสเตรเลียไม่ได้ แต่ก็ยังยื่นแบบนอกประเทศได้

25/04/2018
Q: รบกวนสอบถามค่ะ
คือ ทางนายจ้างจะขอวีซ่า TSS ให้เพื่อทำงานในออสเตรเลียเป็นเวลาประมาณ 1 ปีค่ะ ทำหน้าที่ programmer ค่ะ ตัวดิฉันเองต้องการจะยื่นขอวีซ่า 189 ด้วยตัวเองด้วยค่ะ เลยอยากทราบว่า ถ้าเราถือ TSS หรือ เคยถือ TSS จะมีปัญหาในการยื่นขอ 189 ไหมคะ แล้ว ถ้าทำงานในออสเตรเลีย ครบ 1 ปี ด้วย TSS visa จะสามารถ add 5 points ในการขอ 189 ไหมคะ


A: ถือ TSS หรือ เคยถือ TSS ไม่มีปัญหาในการยื่นขอ 189 ค่ะ
    ทำงานในออสเตรเลีย ครบ 1 ปี ด้วย TSS visa จะสามารถ add 5 points ในการขอ 189 ได้ค่ะ แต่ Points รวม
    ของประสบการณ์การทำงานทั้งหมด (ไม่ว่าจะในหรือนอกประเทศออสเตรเลีย) จะได้มากสุดไม่เกิน 20 points

19/10/2017
Q: ตอนนี้ได้วีซ่า 457 2 ปี แต่กำลังจะเปลี่ยนนายจ้าง นายจ้างใหม่ไม่เคยสปอนเซอร์ใครมาก่อน จึงต้องทำ nomination, sponsor applications ใหม่ แล้วก็ค่า training ค่า adv ขอสอบถามเรื่องค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ว่า
1. จริงๆแล้วใครสมควรต้องเป็นเป็นคนรับผิดชอบ? เพราะเราไปคุยกับเขาเองว่าอยากย้ายมาร้านนี้ แล้วเขาเองก็ต้อง
    การคนทำงานด้วย เหมือนจะ win-win ทั้งสองฝ่ายแต่ก็รู้ว่ามันไม่ใช่คับ
2. การทำ transfer มา จริงๆแล้ว มีค่าใช้จ่ายมั้ยคับ


A: 1. ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ถามมา นายจ้างมีหน้าที่จ่ายค่ะ
    2. ในกรณีที่ถามมา มีค่าใช้จ่ายเฉพาะส่วนของนายจ้างค่ะ
ค่า adv (???) - ถ้าหมายถึงค่าโฆษณา Labour Market Testing (LMT) ต้องดูด้วยว่าเข้าข้อยกเว้นหรือไม่ กฏหมายปัจจุบัน การ Nominate ลูกจ้างที่ถือพาสปอร์ตไทย นายจ้างไม่จำเป็นต้องทำ LMT

Q: ตอนนี้ผมถือวีซ่า 457 สปอนเซอร์ chef อยู่คับผมได้วีซ่าก่อนที่กฎใหม่จะเปลี่ยน แต่ผมอยากทราบว่า
1. อีกกี่ปีถึงจะขอยื่นพีอาร์ได้ ยึดตามกฎใหม่ 3 ปี หรือ กฎเก่า 2 ปีคับ
2. ตอนขอ 457 ผมสอบไอเอลได้ 5.5 แต่อยากทราบว่าตอนขอพีอาร์ ต้องสอบไอเอลใหม่มั้ยคับ เพราะตามกฎใหม่
    ต้องให้ได้ 6


A: 1. ยังไม่ทราบแน่ชัดนะคะ ต้องรออิมมิเกรชั่นประกาศอีกที 
    2. กฏใหม่ที่ว่า คือกฏปัจจุบันแล้วค่ะ IELTS ต้องได้ 6 ทุกพาร์ท (อิมมิเกรชั่นรับผลสอบอื่นด้วยนะคะ ลองไล่
        อ่านด้านล่าง)

13/10/2017
Q: ถ้าเราถือ Bridging visa B อยู่ในประเทศออสเตรเลียแล้ว สามารถอยู่ได้นานกี่ปี

A: อยู่ได้จนกว่าอิมมิเกรชั่นจะพิจารณาออกวีซ่าให้ ถ้าถูกปฏิเสธวีซ่า ก็จะถือ Bridging visa ต่อไปอีก 28 หรือ 35 วัน (แล้วแต่ว่า Bridging visa ที่ถืออยู่ออกให้ก่อนหรือหลังวันที่ 19 พฤศจิกายน 2016) แนะนำให้เช็ค VEVO ค่ะ ก็จะทราบว่า Bridging visa หมดเมื่อไหร่ ถ้ามีการยื่นอุทธรณ์ไปที่ AAT Bridging visa ก็จะยืดออกไป

12/10/2017
Q: ตอนนี้ถือวีซ่านักเรียน ซึ่งจะหมดอายุปี 2020 มีนายจ้างอยากจะสปอนเซอร์ในตำแหน่ง Web Administrator จะยื่นวีซ่า 457 ตอนนี้ หรือควรจะรอยื่นวีซ่า TSS หลังมีนาคม 2018 และถ้ายื่นวีซ่า 457 หรือ TSS ไม่ผ่าน จะต้องกลับไทยเลย หรือกลับมาเป็นวีซ่านักเรียนได้เลย

A: Web Administrator ตอนนี้อยู่ใน STSOL ไม่ว่าจะขอวีซ่า 457 หรือ TSS ก็จะได้วีซ่าระยะเวลา 2 ปี
จากข้อมูลที่มี ณ เวลานี้ วีซ่า TSS ในสาขาอาชีพใน STSOL ไม่สามารถต่อยอดไปเป็นพีอาร์ได้
ส่วนคนที่ถือวีซ่า 457 จะต่อยอดไปเป็นพีอาร์ได้หรือไม่หลังกฏเปลี่ยนเดือนมีนาคม 2018 อิมมิเกรชั่นเกริ่นๆว่าจะมี Transitional provisions ส่วนเงื่อนไขจะเป็นยังไง ตอนนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด คาดว่าจะทราบประมาณเดือนธันวาคม
ในกรณีที่ขอวีซ่า 457 หรือ TSS แล้วไม่ผ่าน และวีซ่านักเรียนยังไม่หมดอายุ น้องก็ยังคงอยู่ในประเทศออสเตรเลียได้ด้วยวีซ่านักเรียนค่ะ

7/10/2017
Q: ตอนนี้ถือ Bridging visa A อยู่ แต่อยากกลับไทยไปเยี่ยมครอบครัว และร่วมงานแต่งงานน้องชาย เหตุผลแบบนี้จะขอ Bridging visa B ได้หรือไม่ และต้องขอล่วงหน้านานเท่าไหร่ แล้วจะเข้ามาอยู่ต่อประเทศนี้อีกจะได้ไหมคะ พอกลับมาแล้วก็มาถือ ฺBridging visa A ต่อใช่ไหมคะ หรือ Bridging visa A จะถูกยกเลิก

A: คิดว่าน่าจะได้ค่ะ ปกติแล้วอิมมิเกรชั่นไม่ค่อยปฏิเสธ Bridging visa B นะคะ อิมมิเกรชั่นแจ้งว่าควรขอล่วงหน้าระหว่าง 2 อาทิตย์ ถึง 3 เดือน ส่วนตัวคิดว่าล่วงหน้า 4 อาทิตย์กำลังดี กลับมาแล้วก็ถือ Bridging visa B ต่อไปค่ะ
ส่วนจะออกไปนอกออสเตรเลียได้อีกหรือไม่ หรือต้องขอ Bridging visa B ตัวใหม่ก่อนออกไป ดูวันที่ที่ระบุไว้ตรง Must not arrive after ถ้าคิดว่าออกไปแล้วจะกลับเข้ามาหลังวันที่ที่ระบุไว้ ก็ต้องขอใหม่ก่อนออกไปนะคะ

Q: ถูกปฏิเสธวีซ่านักเรียนเพราะอิมมิเกรชั่นไม่ได้รับหลักฐานการเงิน ควรจะยื่นอุทธรณ์ หรือกลับไทยแล้วค่อยยื่นวีซ่ามาใหม่ และจะได้วีซ่าหรือไม่

A: ยื่นอุทธรณ์ก็จะได้อยู่ที่ออสเตรเลียต่อในระหว่างรอผลอุทธรณ์ ถ้าสามารถโชว์หลักฐานการเงินตามที่อิมมิเกรชั่นกำหนดได้ อุทธรณ์ก็น่าจะผ่าน ระยะเวลาการรอ +/- 1 ปี  กลับไทยแล้วค่อยยื่นมาใหม่จะเร็วกว่า เคสที่กลับไปเรื่องหลักฐานการเงิน และได้วีซ่ากลับมาอย่างรวดเร็วก็มีนะคะ แต่ก็มีความเสี่ยง เพราะถ้าอิมมิเกรชั่นปฏิเสธวีซ่าจะด้วยเหตุผลทางการเงินหรือเหตุผลอื่น เช่นไม่เชื่อว่าเราต้องการเป็นนักเรียนจริง ก็อาจจะไม่ได้กลับมา วีซ่านักเรียนยื่นแบบนอกประเทศจะไม่มีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์ไปที่ AAT นะคะ ต้องยื่นใหม่อย่างเดียว นอกจากจะพิสูจน์ได้ว่าการปฏิเสธของอิมมิเกรชั่นมีข้อผิดพลาดทางกฏหมาย ก็มีโอกาสยื่นอุทธรณ์ไปที่ศาล แต่ค่าใช้จ่ายสูงและรอผลการพิจารณานานค่ะ

13/09/2017
Q: ตอนนี้ถือ Bridging visa A จะต้องขอ Bridging visa B ล่วงหน้ากี่วัน ก่อนเดินทาง และอยู่นอกประเทศได้ถึงเมื่อไหร่

A: ข้อมูล ณ เวลานี้ อิมมิเกรชั่นระบุไว้ว่า ควรขอล่วงหน้าอย่างน้อย 2 อาทิตย์ แต่ไม่เกิน 3 เดือน (คนเขียนคิดว่าขอล่วงหน้าอย่างน้อย 4 อาทิตย์ กำลังดีค่ะ) - ในจดหมายอนุมัติ Bridging visa B จะมี Must not arrive after "วันที่"  เอาไว้ ก็ต้องกลับเข้ามาในประเทศออสเตรเลียภายในวันที่ๆระบุไว้

Q: ต้องการยื่นขอวีซ่า 485 แต่ยังไม่มีผลภาษาอังกฤษ จะยื่นขอวีซ่าก่อน แล้วค่อยลองสอบไปเรื่อยๆ พอได้ผลที่ต้องการแล้ว ค่อยยื่นตามเข้าไปได้หรือไม่

A: ไม่ได้ค่ะ ผลภาษาอังกฤษที่ใช้ได้ จะต้องมาจากการสอบก่อนการยื่นขอวีซ่า 485 และมีอายุไม่เกิน 3 ปี

Q: ถูกปฏิเสธวีซ่านักเรียน ตอนนี้ถือ Bridging visa A ซึ่งจะหมดอายุ 35 วันนับจากที่ได้รับแจ้ง พอยื่นอุทธรณ์ที่ AAT ไปแล้ว จะต้องรอกี่วันถึงจะไปยื่นขอต่อ Bridging visa A กับอิมมิเกรชั่นได้

A: ไม่ต้องรอ และไม่ต้องขอค่ะ หลังจากที่ยื่นอุทธรณ์แล้ว ทาง AAT และอิมมิเกรชั่นจะติดต่อกันเองค่ะ และ Bridging visa A ตัวเดิมที่ถืออยู่ ก็จะมีการอัพเดท โดยเปลี่ยน ฺฺBridging visa A ที่มีวันหมดอายุ เป็น indefinite แบบไม่มีวันหมดอายุ  (เพื่อรอการพิจารณาในชั้นอุทธรณ์)                                                   

Q: วีซ่า 457 จะหมดอายุเดือนเมษายน 2018 แต่ยังไม่ได้ภาษาอังกฤษสำหรับยื่นพีอาร์ จะขอต่อวีซ่า 457 อีกได้หรือไม่

A: เดือนมีนาคม 2018 วีซ่า 457 จะถูกยกเลิก และจะมีการปรับใช้วีซ่าตัวใหม่แทน คือวีซ่า Temporary Skills Shortage (TSS)

Q: น้องสาวถูกปฏิเสธวีซ่าและติด PIC4020 เพราะแจ้งในใบสมัครว่าไม่เคยถูกปฏิเสธวีซ่า แต่จริงๆแล้วเคยถูกปฏิเสธวีซ่ามาก่อน เคสของน้องสาวจะมีผลกระทบกับพี่สาวที่กำลังยื่นขอพีอาร์หรือไม่

A: เป็นเรื่องเฉพาะตัวของน้องสาว คาดว่าจะไม่มีผลกระทบกับวีซ่าของพี่สาว เพราะอิมมิเกรชั่นพิจารณาวีซ่ากันเป็นรายบุคคลค่ะ

Q: สอบภาษาอังกฤษไม่ผ่านซะที ควรทำยังไงดี

A: เดี๋ยวนี้ไม่ได้มีแค่ IELTS แล้วนะคะ มี PTE Academic, TOEFL iBT, CAE และ OET (อันนี้สำหรับ Healthcare workers เช่นหมอ พยาบาล)

ถ้าสอบ IELTS ไม่ได้ผลที่ต้องการซะที ก็อาจจะลองเปลี่ยนมาสอบอย่างอื่นดูนะคะ  เข้าคอร์สติวเข้มก็อาจจะช่วยได้ คอร์สติวเข้มส่วนใหญ่ไม่ได้สอนแกรมม่านะคะ สอนเทคนิคการทำข้อสอบ สอนการใช้เวลา (ที่มีอยู่อย่างจำกัดในการทำข้อสอบ) ให้เป็นประโยชน์สูงสุด เช่นแต่ละข้อควรใช้เวลากี่นาที เป็นต้น

อีกอย่างที่จะช่วยได้ คือการเอาตัวเองไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่บังคับให้เราต้องใช้ภาษาอังกฤษ เช่นคลุกคลีกกับเพื่อนต่างชาติ ทำงานที่ต้องสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ อ่านนิยาย/หนังสือพิมพ์ที่เป็นภาษาอังกฤษ ฟังวิทยุ/ฟังเพลงเป็นภาษาอังกฤษ ฝึกสำเนียงโดยการพูดตามนักอ่านข่าวในทีวี พูดกับเพื่อนคนไทยเป็นภาษาอังกฤษก็ได้ อยู่ที่ไหนก็พัฒนาตัวเองได้ ถ้าอยากจะทำ

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com

Skilled Regional Provisional Visas เริ่ม November 2019

22/3/2019

 
รัฐบาลได้ประกาศว่าจะมีวีซ่าแบบใหม่อีก 2 ประเภทนะคะ สำหรับคนที่สนใจไปทำงาน ไปใช้ชีวิตอยู่เมืองรอบนอก (Regional Australia)  คาดว่าจะเริ่มใช้ November 2019

......เงื่อนไขดึงดูดใจสำหรับวีซ่าใหม่นี้คือ เป็นวีซ่าชั่วคราวที่สามารถต่อยอดไปเป็นพีอาร์ได้ค่ะ

วีซ่าที่ว่าคือ

1. Skilled Employer Sponsored Regional (Provisional) visa
    สำหรับคนที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ไปทำงานในเขตเมืองรอบนอก (Regional Australia)

2. Skilled Work Regional (Provisional) visa
    สำหรับคนที่ได้รับ Nominated จาก State or Territory government หรือได้รับการสปอนเซอร์จากญาติ
    ที่อาศัยอยู่และทำงานในเขตเมืองรอบนอก (Regional Australia)
   
ระยะเวลาของวีซ่า คือสามารถขอได้สูงสุด 5 ปี หลังจาก 3 ปี มีโอกาสยื่นขอพีอาร์ .... เย้

นอกจากนี้ November 2019 ก็จะมีการเปลี่ยนคำจำกัดความของคำว่า "Regional Australia" ด้วย โดยจะหมายถึงเมืองอื่นๆยกเว้น

     • Sydney
     • Melbourne
     • Brisbane
     • Gold Coast
     • Perth

Regional Australia ณ จุดนี้ คาดว่าจะเป็น Pathway to PR สำหรับหลายๆคนนะคะ

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com

Sponsored Parent (Temporary) Visa เริ่ม 17 April 2019

22/3/2019

 
รัฐบาลได้ออกวีซ่าตัวใหม่ สำหรับพ่อแม่ ของคุณลูกที่เป็นซิติเซ่นหรือพีอาร์ ข้อมูลคร่าวๆก็ตามข้างล่างค่ะ

  1. เรียกว่า Subclass 870 - Sponsored Parent (Temporary) Visa
  2. Temporary คือเป็นวีซ่าชั่วคราวค่ะ
  3. ยื่นเรื่องการสปอนเซอร์พ่อแม่ได้ตั้งแต่วันที่ 17 April 2019 เป็นต้นไป
  4. ระยะเวลาของวีซ่า มีแบบ 3 ปี และ 5 ปี
  5. ค่า Sponsorship application $420
  6. ค่า Visa application ก็แพงไปตามระยะเวลาที่ขอ.... $5,000 สำหรับ 3 ปี และ $10,000 สำหรับ 5 ปี
  7. No Balance of Family test คือมีลูกที่เป็นซิติเซ่นหรือพีอาร์เพียง 1 คน ก็โอเคแล้ว
  8. ไม่อนุญาตให้ทำงาน
  9. ต้องมีประกันสุขภาพ
  10. ต้องโชว์หลักฐานการเงิน

วีซ่าผู้ปกครองแบบพีอาร์ หรือแบบชั่วคราวที่ต่อยอดเป็นพีอาร์ได้ ก็ยังคงมีอยู่ตามเดิมนะคะ ไม่ได้หายไปไหน
แต่อนาคตไม่แน่ ......โดยเฉพาะวีซ่าแบบ Non-Contributory Parent visa (คือแบบไม่ต้องเสียตังค์เยอะๆให้รัฐบาล) เพราะในอดีตก็เคยมีการพยายามยกเลิกวีซ่าประเภทนี้มาแล้ว แต่ไม่สำเร็จเพราะกฏหมายไม่ผ่านสภา

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com

Changes to Occupation lists เริ่มใช้ 11 March 2019

22/3/2019

 
Occupation lists ของหลายๆวีซ่าได้มีการอัพเดท และปรับใช้เมื่อวันที่  11 มีนาคม 2019

เพื่อความสะดวก คนเขียนรวบรวมลิงค์ Occupation lists ของวีซ่าประเภทต่างๆไว้ที่นี่เลยนะคะ

LIN 19/051
Subclass 189 - Skilled Independent Visa
Subclass 190 - Skilled Nominated Visa
Subclass 489 - Skilled Regional (Provisional) Visa
Subclass 485 - Temporary Graduate Visa (Graduate Work)
_______________________________________

LIN 19/049
Subclass 186 - Employer Nomination Scheme (ENS) Visa
_______________________________________

LIN 19/047
Subclass 187 - Regional Sponsored Migration Scheme (RSMS) Visa
_______________________________________

LIN 19/048
Subclass 482 - Temporary Skill Shortage Visa
_______________________________________

LIN 19/050
Subclass 407 - Training Visa


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com

แชร์ประสบการณ์ ความสำคัญของความเห็นที่สอง

24/1/2019

 
เคสนี้เป็นเรื่องของลูกความแถบยุโรบคู่หนึ่งที่มาด้วย Working Holiday visa และทำวีซ่า 457 กับเอเจนต์อื่น

ลูกความติดต่อมาหาคนเขียนครั้งแรกกลางปี 2016 Standard Business Sponsorship (SBS) application          ถูกปฏิเสธเพราะเอเจนต์คำนวนค่าเทรนนิ่งผิด เอเจนต์แนะนำให้ยื่นอุทธรณ์ คนเขียนแนะนำให้ยื่นเรื่องใหม่เข้าไปที่อิมมิเกรชั่น เพราะเป็นประเด็นที่แก้ไขได้ และยื่นใหม่เร็วกว่ายื่นอุทธรณ์แน่นอน ลูกความอยากเปลี่ยนมาให้คนเขียนดูแล แต่นายจ้างยังมั่นคงกับเอเจนต์เดิม (ปัญหาโลกแตก ต้องปล่อยให้นายจ้างลูกจ้างตกลงกันเอาเอง)

เวลาผ่านไปไวเหมือนโกหก ลูกความติดต่อมาอีกครั้งเมื่อธันวาคม 2018 และจะให้คนเขียนยื่นขอพีอาร์ให้

คนเขียนก็คิดว่าลูกความต้องการต่อยอดจาก 457 เป็นวีซ่าพีอาร์ 186 .... คือดูจากเวลาแล้วน่าจะใช่ น่าจะถือ 457 (เข้ากฏเก่า) มาแล้ว 2 ปี

ปรากฏว่าความเป็นจริงห่างไกลจากที่คิดไว้เยอะเลยค่ะ ที่หายไป 2 ปีกว่า คนเขียนวิเคราะห์ได้ตามข้างล่าง คือต้องวิเคราะห์เองจากเอกสาร เพราะถามอะไรลูกความก็ทำหน้างงๆ --- คืองงอะไร ไม่เข้าใจ จะว่าภาษาไม่ดีก็ไม่ใช่ เพราะภาษาอังกฤษเป็นภาษาเกิด ....... สรุปว่าเพราะเอเจนต์ไม่เคยอธิบายอะไรเลย ....และลูกความก็เกรงใจ ....... ไม่กล้าถาม!!!! .....เอกสารที่คนเขียนขอไป ตอนแรกก็ไม่มีให้ คือเกรงใจไม่กล้าขอจากเอเจนต์ จนคนเขียนต้องบอกว่าถ้าไม่มีเอกสารก็ไม่ต้องมา หมดปัญญาช่วย .... คือจะให้นั่งเทียนหรือไง ถามอะไรก็ตอบไม่ได้ ขออะไรก็ไม่มี

สรุปว่าเคสนี้

1. SBS ที่แนะนำให้ยื่นใหม่ ผ่านไปได้ด้วยดี
2. Nomination ไม่ผ่าน และตอนนี้เรื่องอยู่ที่ชั้นอุทธรณ์
3. วีซ่า 457 ก็แน่นอน..ไม่ผ่าน (เพราะ Nomination ไม่ผ่าน) และเรื่องอยู่ที่ชั้นอุทธรณ์เหมือนกัน (และเอเจนต์ก็ยื่นใบสมัครวีซ่าเลท คือหลังวันที่ 18 April 2017 ต่อให้ลูกความได้วีซ่า ก็เข้ากฏใหม่ อาชีพ STSOL ต่อยอดจาก 457 ไปพีอาร์ไม่ได้)

ที่หนักกว่านั้นคือเช็ค VEVO แล้วไปเจอว่าจากที่เคยถือ Bridging visa B (BVB) อยู่ กลายเป็นตอนนี้ไม่มีวีซ่า

..... สรุปว่าสองคนที่นั่งอยู่ตรงหน้าคนเขียนไม่มีวีซ่า!!!!!  แต่ต้องการยื่นพีอาร์ (แบบในประเทศออสเตรเลียด้วยนะ)

..... เอิ่ม......แก้ปัญหาสำคัญก่อนดีไหม ..... ทำไมอยู่ๆถึงไม่มีวีซ่า

เหมือนเดิมค่ะ ลูกความตอบไม่ได้ ตอบได้แต่ว่าหลังจากที่เช็ค VEVO เองแล้วเจอว่าไม่มีวีซ่า ก็รีบบอกเอเจนต์       เอเจนต์ก็รีบยื่นเรื่องขอ Bridging visa E (BVE) ให้   ตอนนี้คือกำลังรออิมมิเกรชั่นออก BVE ให้

คนเขียนก็ .... เอะ .... แล้วมันใช่เหรอ .... จากที่ถือ BVB อยู่ดีๆ ไปเป็นผีได้ยังไง????

..... คนทำงานด้านนี้ต้องถามคำถามนี้ซิคะ จะหลับหูหลับตายื่น BVE ให้ลูกความโดยไม่หาคำตอบได้ยังไง และประวัติลูกความก็เสียไปจากการอยู่แบบไม่ถือวีซ่า .... มันใช่เหรอ

ถ้ามันมีเหตุผลอันสมควร มีที่มาที่ไปทำให้กลายเป็นคนไม่มีวีซ่า ก็ต้องยอมรับสภาพ
แต่จากที่คนเขียนสัมภาษณ์ลูกความ และวิเคราะห์จากเอกสาร คนเขียนไม่เจอเหตุอะไรเลยที่อยู่ๆลูกความจะกลายเป็นผี ไม่มีวีซ่า คือค่อนข้างมั่นใจว่าต้องมีความผิดพลาดอะไรบางอย่างเกิดขึ้น และลูกความควรจะยังถือ BVB อยู่

แต่....เนื่องจากคนเขียนก็ไม่ใช่เอเจนต์ที่ดูแลลูกความ จะมาฟันธง รู้ดีไปกว่าเจ้าของเคสได้ยังไง (ใช่ไหม?)
คนเขียนเลยแนะนำให้ลูกความเป็นกบฏกับเอเจนต์!   เอ้ย....ไม่ใช่...
.... แนะนำให้ถามเอเจนต์ถึงเหตุผลที่มาที่ไปของการที่อยู่ๆลูกความไม่มีวีซ่า ถ้าหาเหตุผลมาอธิบายไม่ได้ ก็ต้องไปสู้รบกับอิมมิเกรชั่นเอา BVB คืนมาให้ลูกความ ไม่ใช่ไปสมัคร BVE ให้ลูกความ (BVE คือวีซ่าตัวที่แย่ที่สุดในบรรดา BV ทั้งหมด ถ้าเรามีสิทธิ์ถือ BV ที่ดีกว่า ทำไมจะยอมถือ BVE - อ่านเรื่อง BV ต่างๆได้ที่นี่)

ลองนึกเล่นๆถึงสถานะของลูกความในกรณีที่ถือ BVB vs BVE ดูนะคะ

การกลับมาถือ BVE แน่นอนว่าเปลี่ยนสถานะจากผี เป็นมีวีซ่า .... สำหรับเอเจนต์เป็นทางออกที่ง่ายที่สุด ไม่ต้องคิด ไม่ต้องทำ Research ไม่ต้องไปนั่งทบทวนประวัติลูกความ ไม่ต้องไปง้างกับอิมมิเกรชั่น .... แต่ผลกระทบต่อลูกความตามมาแบบยาวๆ  เพราะตอนนี้ลูกความติด section 48 จากการถูกปฏิเสธวีซ่า 457 ทำให้ยื่นพีอาร์ในประเทศไม่ได้ จะออกไปยื่นพีอาร์แบบนอกประเทศแล้วกลับมารอเรื่องในประเทศก็ไม่ได้ เพราะ BVE ออกไปได้ กลับเข้ามาไม่ได้ ก็ต้องรอผลวีซ่าอยู่นอกประเทศเท่านั้น ลองนึกต่อว่าถ้าวีซ่าพีอาร์ไม่ผ่าน และต้องการจะขอวีซ่าชั่วคราวเพื่อกลับมา ก็คาดว่าจะติดบาร์ 3 ปี จากประวัติที่เคยอยู่แบบไม่มีวีซ่านั่นเอง)  ..... อีกทางเลือกนึง ก็คือต้องรอจน Nomination ที่ชั้นอุทธรณ์ผ่านและได้วีซ่า 457 ก่อนค่อยยื่นพีอาร์แบบในประเทศ ... แล้วถ้า Nomination ไม่ผ่าน ไม่ได้วีซ่า 457 ล่ะ (ย้อนกลับไปอ่านย่อหน้านี้อีกรอบค่ะ)

การกลับมาถือ BVB แน่นอนลูกความยังติด section 48 จากการถูกปฏิเสธวีซ่า 457 .... แต่ก็สามารถบินออกไปเพื่อยื่นพีอาร์แบบนอกประเทศและกลับมารอพีอาร์ในประเทศได้ในระหว่างที่รอผลอุทธรณ์ของ 457 .... ในกรณีที่วีซ่า 457 ไม่ผ่าน หรือวีซ่าพีอาร์ไม่ผ่าน .... ลูกความก็ยังมีสิทธิ์ยื่นขอวีซ่าชั่วคราวตัวอื่นเพื่อจะกลับเข้ามาในประเทศออสเตรเลียได้โดยไม่ติดบาร์ 3 ปี (เพราะไม่เคยมีประวัติเป็นผีมาก่อน)

โพสนี้แอดวานซ์นิดนึง อ่านแล้วงงก็ไม่แปลก ...... ถ้าอ่านแล้วเข้าใจหมดเลย ก็เก่งมากค่ะ แสดงว่าเข้าใจกฏหมายอิมมิเกรชั่นได้ดีระดับนึงเลยทีเดียว

สิ่งที่อยากจะบอกก็คือ การมีเอเจนต์หรือทนายความดูแลเคสให้เราเป็นเรื่องที่ดี แต่หัดตั้งคำถาม หัดวิเคราะห์เองด้วย ถ้าไม่แน่ใจในแนวทาง ก็หาความเห็นที่สองค่ะ ชีวิตเป็นของเรา เราต้องดูแลชีวิตและอนาคตของตัวเองด้วย

เคสนี้ ลูกความโทรมาขอบคุณที่อธิบายจนเค้าเข้าใจเคสตัวเองและฮึดไปไฟท์กับเอเจนต์ จนเอเจนต์ต้องถอน BVE application  และไฟท์กับอิมมิเกรชั่นจนได้ BVB คืนมาในที่สุด (ถือวีซ่าผิด  ชีวิตเปลี่ยนนะคะ)   ..... ส่วนวีซ่าพีอาร์ที่ลูกความต้องการยื่น เราก็หาทางจนได้ค่ะ (457 ต่อยอดไปพีอาร์ ...ไม่ใช่คำตอบสำหรับทุกคน ...ไม่ง้อก็ได้)

.... รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม .... มีประโยชน์ โปรดแชร์ ....

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com

Partner visa วีซ่าคู่ครอง กฏเปลี่ยนกำลังจะมา

29/11/2018

 
UPDATE: 12 April 2019

ถึงแม้กฏหมายใหม่เกี่ยวกับ family sponsorship จะให้มีผลบังคับใช้วันที่ 17 April 2019

ทางอิมมิเกรชั่นได้ชี้แจ้งมาว่า ในวันที่ 17 April 2019 กฏหมายใหม่นี้จะนำมาปรับใช้กับวีซ่าใหม่ก่อน ซึ่งก็คือ วีซ่าผู้ปกครอง (วีซ่าพ่อแม่) แบบชั่วคราว  Sponsored Parent (Temporary) visa

ส่วนวีซ่าคู่ครอง Partner visa จะยังไม่เอากฏใหม่นี้มาปรับใช้  สรุปว่าเคสของน้องๆที่วีซ่าใกล้จะหมดและยังไม่ได้ยื่น Partner visa ก็ยังพอมีเวลาค่ะ   ส่วนเคสที่ได้ยื่นไปแล้วก่อนหน้าที่จะมีประกาศนี้  ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีค่ะ เพราะอิมมิเกรชั่นก็ไม่ได้แจ้งมาว่าจะนำกฏหมายใหม่มาปรับใช้กับ Partner visa เมื่อไหร่  ซึ่งก็แปลว่าเมื่อไหร่ก็ได้นับแต่วันที่ 17 April 2019 เป็นต้นไป เพราะมีกฏหมายมารับรองแล้ว

ค่ายื่นวีซ่าต่างๆ ก็จะมีการขึ้นราคาอีก 5.4% นับจากวันที่ 1 July 2019


UPDATE: 9 April 2019

กฏใหม่ จะเริ่มปรับใช้วันที่ 17 April 2019 นะคะ


UPDATE: 23 January 2019

จากที่คนเขียนโพสไปเมื่อวันที่ 29 November 2018 ว่ามีร่างกฏหมายผ่านทั้งสภาล่างและสภาสูงเมื่อวันที่ 28 November 2018 (อ่านเนื้อหาเดิมได้ด้านล่าง)

ร่างกฏหมายนี้ ออกมาเป็นกฏหมายเมื่อวันที่ 10 December 2018 นะคะ ที่คนเขียนไม่ได้อัพเดทให้ทราบก่อนหน้านี้ เพราะต้องการจะรอดูว่าจะให้มีผลบังคับใช้เมื่อไหร่ และในทางปฏิบัติอิมมิเกรชั่นจะปรับใช้ยังไง จะได้อัพเดทให้ทราบกันรอบเดียว .... แต่จนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีความคืบหน้า

.... แปลว่า..จะปรับใช้เมื่อไหร่ก็ได้ในช่วง 6 เดือนนับจากวันที่ผ่านเป็นกฏหมาย ส่วนอิมมิเกรชั่นจะประกาศกฏเปลี่ยนให้ทราบล่วงหน้า หรือประกาศแล้วปรับใช้ทันทีเลย ก็ต้องรอดูกันต่อไปค่ะ


Original post: 29 November 2018

โพสนี้มาแบบสั้นๆ แต่สำคัญอีกแล้วค่ะ

มีร่างกฏหมายผ่านทั้งสภาล่างและสภาสูงเมื่อวานนี้นะคะ ยังไม่เป็นกฏหมาย แต่เนื่องจากผ่านทั้งสองสภามาแล้ว ก็คาดว่าจะเป็นกฏหมายเร็วๆนี้ ส่วนรายละเอียดลึกๆจะเป็นยังไง จะมีผลบังคับใช้เร็วหรือช้าแค่ไหน ต้องคอยดูกันต่อไป อาจจะประกาศออกมาก่อนและปรับใช้ใน 1-6 เดือน (แจ้งล่วงหน้า) หรืออาจจะเหมือนตอนกฏเปลี่ยนของ 457 ประกาศแล้วมีผลเลย ก็เซอร์ไพร์สและรับสภาพกันไป

กฏปัจจุบัน - ใบสมัครวีซ่าคู่ครอง (Partner visa) และใบสมัครสปอนเซอร์จะยื่นไปพร้อมๆกัน หรือจะยื่นใบสมัครสปอนเซอร์ตามหลังก็ได้

กฏที่ "คาดว่า" จะนำมาปรับใช้ (จากจุดประสงค์ของร่างกฏหมายฉบับนี้ บวกกับข้อมูลที่อิมมิเกรชั่นได้ประกาศไว้นานแล้ว)  คือต้องการให้สปอนเซอร์ยื่นใบสมัครของตัวเองตังหากก่อน   และเมื่อใบสมัครของสปอนเซอร์ผ่านแล้ว ผู้สมัคร Partner visa ถึงจะสามารถยื่นใบสมัครวีซ่าได้

ปกติแล้วคนเขียนจะไม่โพสอะไรที่ยังไม่เป็นตัวบทกฏหมาย แต่ร่างกฏหมายฉบับนี้สำคัญสำหรับคนที่วีซ่ากำลังจะหมด ถ้ามาเจอกฏเปลี่ยนกระทันหัน ต้องรอให้สปอนเซอร์ยื่นใบสมัครและได้รับการ Approve ก่อน ก็อาจจะยื่น Partner visa ไม่ทันก่อนที่วีซ่าตัวปัจจุบันจะหมดอายุ 

เคสที่อยู่ระหว่างเตรียมเอกสารหรือเอกสารยังไม่แน่น ก็ต้องเลือกเอาระหว่างยื่นแบบหลวมๆ เสี่ยงถูกปฏิเสธวีซ่า หรือเสี่ยงเข้ากฏใหม่ ยื่นไม่ทันเพราะต้องรอสปอนเซอร์ Approval ก่อน และอาจจะต้องยื่นวีซ่าตัวอื่นเข้าไปแทน

เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน จุดประสงค์ของโพสนี้ ไม่ได้เป็นการแนะนำว่าให้ทุกคนรีบยื่นก่อนกฏเปลี่ยน แค่ต้องการแจ้งข่าวให้ทราบ จะได้เอาไปประกอบการพิจารณา .... อย่าลืมว่าเคสแต่ละเคสมีที่มาที่ไปไม่เหมือนกัน วิธีการทำงานก็แตกต่างกันไปนะคะ.... There is no "one size fits all" scenario.

มีความคืบหน้า ก็จะมาอัพเดทให้ทราบในโพสนี้นะคะ

ที่มา: Migration Amendment (Family Violence and Other Measures) Bill 2016

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com

ยื่นอุทธรณ์ AAT ไม่ทันเวลา

28/11/2018

 
UPDATE: 14 December 2018

จากที่คนเขียนโพสไปเมื่อวันที่ 28 November ว่า "ยื่นอุทธรณ์ AAT ไม่ทันเวลา อาจจะยังมีหวัง" (อ่านเนื้อหาเดิมได้ด้านล่าง)

.... ปรากฏว่าเป็นความหวังที่สั้นมากค่ะ .... เพราะ the Federal Court (Full Court) ได้มีคำตัดสินกลับไปเป็นแนวทางแบบเดิมๆที่เคยเป็นมา คือ.... ยื่นอุทธรณ์ไม่ทันเวลา = No jurisdiction = AAT ไม่สามารถพิจารณาเคสได้

เราคงต้องมาดูกันต่อว่าจะมีการยื่นอุทธรณ์ไปถึง the High Court หรือไม่ และผลจะเป็นยังไง

ที่มา: Beni v Minister for Immigration and Border Protection [2018] FCAFC 228 (14 December 2018)


Original post: 28 November 2018

โพสนี้มาแบบสั้นๆ แต่สำคัญมากสำหรับอนาคตของใครหลายๆคน

ที่ผ่านๆมา หากมีการยื่นอุทธรณ์ที่ไป AAT เลยระยะเวลาที่กฏหมายกำหนดไว้ AAT จะถือว่าหน่วยงานไม่มีอำนาจในการพิจารณาเคส (No jurisdiction)

เมื่อวันที่ 19 November 2018 the Federal Court (single judge) ได้มีคำตัดสินว่า AAT สามารถพิจารณาใบสมัครอุทธรณ์ที่ยื่นไม่ทันเวลา (Out of time) ได้  ซึ่งคาดว่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้ใครหลายๆคนที่ยื่นอุทธรณ์ไม่ทันเวลา ไม่ว่าจะสำหรับคนที่พลาดไปแล้ว (แต่เจ้าตัวยังอยู่ในประเทศออสเตรเลีย) หรือคนที่อาจจะพลาดยื่นไม่ทันเวลาในอนาคต

แต่คำตัดสินนี้ ไม่ได้แปลว่าทุกคนเรื่อยๆเฉื่อยๆได้นะคะ ระยะเวลาการยื่นอุทธรณ์ก็เป็นอะไรที่เราต้องใส่ใจและพยายามยื่นให้ทันเวลา เพราะคำตัดสินนี้ ไม่ได้แปลว่า AAT จะต้องรับพิจารณาทุกเคสที่ยื่นไม่ทันเวลา (ไม่อย่างงั้นก็คงไม่ต้องมีระยะเวลาเลย) แต่แปลว่า AAT มีสิทธิ์พิจารณาเป็นเคสๆไปว่าเคสมีที่มาที่ไปยังไง มีเหตุผลน่าเห็นใจตรงไหน ถึงได้ยื่นไม่ทันเวลา และถ้าเห็นดีเห็นงาม ก็สามารถที่จะรับเรื่องไว้ได้ (ในอดีตคือไม่ต้องคิด ไม่ต้องพิจารณา เพราะถือว่า No jurisdiction ยังไงก็ไม่รับเรื่อง)

สำหรับใครที่งงๆว่าคำตัดสินของเคสนึง มาเกี่ยวอะไรกับเคสอื่นๆด้วย .... กฏหมายของออสเตรเลีย นอกจากยึดถือตัวบทกฏหมายแล้ว ยังถือว่าคำตัดสินของศาลเป็นบรรทัดฐาน เป็นแนวทางเอามาปรับใช้กับเคสอื่นที่มีลักษณะคล้ายๆกันด้วยค่ะ

ป.ล. ณ วันนี้ เคสนี้ถือเป็นบรรทัดฐาน แนวทางใหม่สำหรับ AAT .... แต่อนาคตไม่แน่นอนค่ะ ถ้าอิมมิเกรชั่นอุทธรณ์คำตัดสินนี้ และศาลที่สูงกว่าตัดสินเป็นอื่น บรรทัดฐาน แนวทางก็เปลี่ยนอีก หรืออิมมิเกรชั่นอาจจะมีการแก้กฏหมาย เพื่อให้ AAT ไม่สามารถพิจารณาเคสยื่นไม่ทันเวลาได้ (อะไรก็เกิดขึ้นได้)

กฏหมายอิมมิเกรชั่นเปลี่ยนกันอยู่เรื่อยๆค่ะ ตราบใดที่ยังไม่ได้ PR หรือเป็น Australian citizen ก็คงต้องติดตามและอัพเดทกฏหมายกันนะคะ

ที่มา: Brown v Minister for Home Affairs (No.2) [2018] FCA 1787 (19 November 2018)

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com

กฏเปลี่ยน - ค่า Training - วีซ่า 457 482 186 และ 187

10/8/2018

 
กฏใหม่สำหรับค่า Training ที่นายจ้างจะต้องชำระในการยื่น Nomination จะเริ่มปรับใช้แล้วนะคะ

รายละเอียดตามข้างล่างค่ะ

  • เริ่มปรับใช้วันที่ 12 สิงหาคม 2018
  • สำหรับวีซ่า 457, 482, 186 & 187   -    ใช่ค่ะ...สำหรับวีซ่า 457 ด้วย (ไม่ได้พิมพ์ผิด) .... คือสำหรับนายจ้างที่ต้องการยื่น Nomination เพื่อสปอนเซอร์คนที่ถือวีซ่า 457 อยู่แล้ว
  • ปรับใช้กับ  Nomination ที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคมเป็นต้นไป ไม่มีผลย้อนหลัง
  • ค่า Training จ่ายเต็มตอนยื่น Nomination application
รายละเอียดค่า Training
Nomination สำหรับวีซ่า 457 & 482
  • รายได้ของธุรกิจต่ำกว่า 10ล้าน ชำระ $1200 x จำนวนปีที่ต้องการสปอนเซอร์พนักงาน
  • รายได้ของธุรกิจสูงกว่า 10ล้าน ชำระ $1800 x จำนวนปีที่ต้องการสปอนเซอร์พนักงาน

Nomination สำหรับวีซ่า 186 & 187
  • รายได้ของธุรกิจต่ำกว่า 10ล้าน ชำระ $3000
  • รายได้ของธุรกิจสูงกว่า 10ล้าน ชำระ $5000

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com

Australian Citizenship

6/9/2017

 
จากที่รัฐบาลประกาศในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ว่าเงื่อนไขการขอเป็นพลเมืองของออสเตรเลียจะเปลี่ยน และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 20 เมษายน 2017

เงื่อนไขใหม่ที่รัฐบาลต้องการจะปรับใช้ ก็เช่น
               - ถือพีอาร์มาอย่างน้อย 4 ปีก่อน
               - มีผลภาษาอังกฤษระดับ Competent English (เทียบกับ IELTS ก็ 6 ทุกพาร์ท)
               - มีการปรับข้อสอบการเป็นพลเมืองใหม่
               - โชว์ว่ามีการปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมและสังคมของออสเตรเลีย

หลายๆคนอาจจะคิดว่าเงื่อนไขใหม่นี้มีผลบังคับใช้แล้ว แต่จริงๆแล้วยังนะคะ ยังไม่เป็นกฏหมาย และยังคงถกเถียงกันอยู่ในสภา

ข่าวล่าสุด (เมื่อวาน) มีแนวโน้มสูงว่ารัฐบาลจะไม่ได้เสียงข้างมากในเรื่องของภาษาอังกฤษ เพราะ Labour, Green & NXT (Nick Xenophon Team) ไม่สนับสนุนผลภาษาอังกฤษสูงระดับนี้ (คนเขียนก็ไม่เห็นด้วย พลเมืองออสเตรเลียที่ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง แต่ก็ปรับตัวเข้ากับสังคมออสเตรเลียได้ มีงานทำ เสียภาษี เป็นพลเมืองที่ดี เป็นคนดีของสังคมก็เยอะแยะไป) นอกจากภาษาอังกฤษแล้ว บางส่วนก็ไม่เห็นด้วยกับการให้มีระยะถือพีอาร์นานขึ้นและยืดระยะเวลาการขอ Australian citizenship ออกไป  และก็มีส่วนที่ไม่สนับสนุนให้เงื่อนไขใหม่มีผลย้อนหลังไปบังคับใช้ตั้งแต่ 20 เมษายน 2017

เราก็มารอดูกันต่อนะคะว่ากฏหมาย/เงื่อนไขใหม่จะผ่านสภาหรือไม่
           - อาจจะไม่ผ่านสภาเลย และอิมมิเกรชั่นก็ต้องนำเงื่อนไขเดิมทั้งหมดมาปรับใช้ หรือ
           - อาจจะผ่านเป็นบางเงื่อนไข (โอกาสผ่านทุกเงื่อนไข น่าจะยากแล้วนะคะ เพราะรัฐบาลไม่น่าจะได้             
              เสียงข้างมากในสภา)
           - ถ้ามีเงื่อนไขบางอย่างผ่านสภา ก็ต้องมาดูว่าจะมีผลย้อนหลังไปถึงคนที่ยื่นระหว่าง 20 เมษายน 2017 แต่
             ก่อนเงื่อนไขใหม่ผ่านสภามาเป็นกฏหมายหรือไม่ (คือจะมีผล Retrospective หรือไม่) หรือจะมีผลกับคนที่
             ยื่นตั้งแต่วันที่เงื่อนไขใหม่มีผลบังคับใช้ตามกฏหมายเท่านั้น

ที่มา ผ่านข่าวทางทีวีเมื่อคืนค่ะ
และ Sydney Morning Herald

และ ABC NEWS

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com

Protection visa

23/8/2017

 
วีซ่าผู้ลี้ภัย (Protection visa) เป็นอีกวีซ่านึงที่น้องๆโทรถามอยู่เรื่อยๆ ส่วนใหญ่ถามว่ารับทำไหม และค่าใช้จ่ายเท่าไหร่  แปลกใจที่ไม่มีใครถามว่าตัวเองเข้าข่ายมีโอกาสที่จะได้วีซ่าตัวนี้หรือไม่

คนเขียนสงสัยว่าน้องๆไปเอาความคิดที่จะขอ Protection visa มาจากไหน น้องที่โทรมาส่วนใหญ่จะฟันธงมาเลยว่าต้องการให้ทำ Protection visa ไม่ถามด้วยว่าตัวเองมีทางเลือกอื่นหรือไม่

วีซ่าตัวนี้มีไว้สำหรับคนที่ไม่สามารถกลับไปประเทศของตัวเองได้ เพราะเหตุผลตามลิงค์นี้ เช่นในบางประเทศไม่ยอมรับคนที่รักชอบเพศเดียวกัน คนที่นับถือศาสนาหรือลัทธิย่อย หรือชนกลุ่มน้อย หรือในบางประเทศก็มีกลุ่มที่มีความคิดเห็นแตกต่างทางการเมือง จนเป็นเหตุให้มีความกลัวว่าจะถูกทำร้ายหรือจะถูกฆ่าตาย โดยที่กฏหมาย
ผู้รักษากฏหมายและรัฐบาลไม่สามารถปกป้องคุ้มครองเค้าได้ หรือไม่สนใจที่จะคุ้มครอง หรือคุ้มครองไปตามพิธีแต่ไม่ให้ความเป็นธรรม นอกจากนี้ยังต้องมาดูว่าการย้ายไปอยู่พื้นที่อื่นจะทำให้ปัญหาความกลัวว่าจะถูกทำร้ายและ
ไม่ได้รับความเป็นธรรมหมดไปหรือไม่ 

คนไทยแทบจะไม่มีเหตุที่เข้าข่ายว่าจะได้ Protection visa เลย (ใช้คำว่าแทบจะ เพราะบางเคสก็มีความเป็นไปได้ และก็เคยมีคนไทยได้ Protection visa มาแล้ว... แต่น้อยมากๆ) เคสที่ดูเหมือนจะเข้าข่าย ก็ยังไม่ทราบเลยว่าจะได้วีซ่ามารึเปล่าขึ้นอยู่กับน้ำหนักพยานหลักฐานและความน่าเชื่อถือ

เคสประมาณยืมเงินแล้วหนีหนี้มาออสเตรเลียเพราะถูกเจ้าหนี้ทวงหรือจะถูกฟ้องศาล ไปก่อคดีอาญามาและกำลังจะถูกจับ อยู่เมืองไทยตกงานเลยอยากมาอยู่ออสเตรเลียเพราะหางานทำง่าย ไม่ใช่สาเหตุที่ออสเตรเลียจะออก Protection visa ให้นะคะ 

เวลาน้องๆโทรมา คนเขียนจะถามว่าเหตุผลที่ต้องการขอ Protection visa คืออะไร กลัวอะไรที่ทำให้กลับประเทศไทยไม่ได้ คำตอบที่ได้คือไม่มีค่ะ เห็นเพื่อนๆขอกัน เห็นได้อยู่ต่อ เห็นได้ทำงาน เห็นทนาย/เอเจนต์บอกว่าเดี๋ยววีซ่าออกก็จะได้พีอาร์เลย เห็นว่าทำง่ายใครๆก็ทำกัน (สงสัยว่า "ใครๆ" ที่ว่านี่ มีใครได้ Protection visa กันบ้าง)

สำหรับน้องๆที่ยังถือวีซ่าอยู่ เช่นวีซ่าท่องเที่ยว วีซ่านักเรียน วีซ่า 457 ขอร้องว่าอย่าตัดอนาคตตัวเองด้วยการยื่น Protection visa ถ้าตัวเองไม่มีเหตุแห่งความกลัวตามลิงค์  ....ถ้าจำเป็นจะต้องยื่นวีซ่าอะไรซักอย่างเพื่ออยู่ต่อ ก็ควรจะยื่นวีซ่าที่ตัวเองอาจจะมีสิทธิ์ได้วีซ่านั้น (ไม่ว่าจะที่ชั้นอิมมิเกรชั่น หรือที่ชั้นอุทธรณ์) จะดีกว่า

ปกติแล้วคนเขียนไม่รับทำ Protection visa นะคะ .... ใช้คำว่าปกติ เพราะก็มีกรณีไม่ปกติที่คนเขียนอาจจะพิจารณารับทำอยู่บ้าง... ซึ่งน้อยมาก (ตั้งแต่ทำงานด้านนี้มา มีไม่ถึง 10 เคส และมีอยู่เคสเดียวในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา) เคสที่รับทำก็จะเป็นเคสที่ไม่มีทางเลือกอื่น (นอกจากการกลับออกไปและอาจจะไม่ได้กลับเข้ามา) และที่ทำก็เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกความได้ไปต่อในการพิจารณาชั้นอื่น ที่อาจจะทำให้ได้วีซ่าไม่ว่าจะวีซ่าชั่วคราวหรือวีซ่าถาวร (ใช้คำว่า "อาจจะ" เพราะผลลัพท์จริงๆ จะได้หรือไม่ได้วีซ่า จะได้วีซ่าชั่วคราวหรือวีซ่าถาวร วีซ่าที่ได้จะมีเงื่อนไขอะไร หรือจะต้องแพ็คกระเป๋ากลับไทยในที่สุด ไม่มีใครตอบได้ ... ซึ่งลูกความก็ต้องยอมรับความเสี่ยงและผลลัพธ์ที่อาจจะไม่ใช่อย่างใจคิดให้ได้ ก่อนที่จะเริ่มงานกัน)

ชักงงรึเปล่า ประโยคนึงบอกว่าการยื่น Protection visa เป็นการตัดอนาคต อีกประโยคบอกว่าเป็นการเปิดโอกาส

สรุปดีกว่า.... เคส Protection visa ของคนไทยส่วนใหญ่เป็นเคสที่จะไม่ประสบความสำเร็จ เป็นการชะลอเวลากลับบ้าน และเมื่อถูกปฏิเสธก็คาดว่าจะติด section 48 บาร์ ซึ่งอาจจะทำให้ไม่สามารถยื่นวีซ่าแบบในประเทศตัวอื่นที่อาจจะมีสิทธิ์ยื่นได้ในอนาคต เคสที่ปั้นเรื่องขึ้นมาก็อาจจะถูกปฏิเสธพร้อมติดบาร์ 3 ปีจาก Public Interest Criterion 4020 ..... ถ้าทราบอยู่แล้วว่าผลลัพธ์จะเป็นประมาณนี้ แล้วยังอยากจะทำ Protection visa ก็ไม่มีใครห้ามได้ (แต่คนเขียนไม่รับทำ)  ถ้าไม่ทราบเพราะถูกหลอกว่าทำได้ง่ายๆและในที่สุดจะได้พีอาร์ ก็ทราบซะนะคะว่าตัวเองถูกหลอก (เคส Protection visa ของคนไทยที่เข้าข่ายจะได้วีซ่า คนเขียนคิดว่ามีไม่ถึง 1%)
..... มีน้องๆมาบอกว่าเห็นเพื่อนๆ คนรู้จักทำกับนายหน้าบ้าง เอเจนต์บ้าง บางคนทำกับทนายความด้วย เสียเงินเป็นหมื่นเหรียญและเค้าสัญญาว่าจะได้พีอาร์ พอถามว่าแล้วตกลงเพื่อนได้พีอาร์รึเปล่า น้องบอกยังไม่เห็นมีใครได้เลย บางคนแพ็คกระเป๋ากลับบ้านไปแล้ว.... อ้าว... รู้อย่างนี้แล้ว จะมาถามหา อยากทำ Protection visa เพื่ออะไร..... ถ้าจะเสียเงินเป็นหมื่นเหรียญ เอาเงินนี้ไปเสียกับการทำวีซ่าที่ตัวเองมีสิทธิ์ลุ้นดีกว่าไหมคะ

เคสที่คนเขียนอาจจะพิจารณารับทำคือเคสที่ไม่มีทางเลือกอื่นที่เหมาะสมกว่านอกจากการยื่น Protection visa และมีเหตุผลที่น่าเห็นใจที่เข้าข่ายว่าอาจจะมีโอกาสได้วีซ่า ณ จุดใดจุดหนึ่งในกระบวนการทางด้านคนเข้าเมืองซึ่งก็ไม่ได้มีแค่การยื่นวีซ่าและการยื่นอุทธรณ์เท่านั้น (ซึ่งเหตุผลน่าเห็นใจ ก็อาจจะไม่ได้เกี่ยวกับเหตุผลทาง Protection visa เลย แต่ต้องน่าเห็นใจจริงๆ)  และเคสประมาณนี้เราดูแลกันเป็นปีหรือหลายปี เพราะเคสจะไม่ได้จบแค่การยื่น Protection visa นะคะ

ปล. "เข้าข่ายว่าอาจจะมีโอกาสได้วีซ่า" แปลว่ามีความเป็นไปได้ มีความน่าจะเป็น โดยพิจารณาจากเทรนการตัดสิน และนโยบายของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีว่าการคนเข้าเมืองในช่วงเวลานั้นๆ ไม่ได้แปลว่าจะได้วีซ่าแน่ๆ นะคะ เพราะไม่ว่าจะรัฐบาล รัฐมนตรี หรือนโยบาย ก็มีการเปลี่ยนแปลงได้ ... ถึงได้บอกว่าไม่ว่าใครก็รับประกันความสำเร็จของงานไม่ได้...

ไม่ได้บอกว่าคนไทยไม่มีสิทธิ์ได้ Protection visa แค่บอกว่าโอกาสได้ยากมาก
ไม่ได้บอกว่าคนเขียนไม่รับทำ Protection visa อ่านเงื่อนไขก็จะทราบว่าคนเขียนรับทำ (น้อยมาก)

ลิงค์จาก: www.border.gov.au

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com

อย่ารอจนวินาทีสุดท้าย

26/5/2017

 
คนเขียนจะบอกลูกความ และน้องๆที่โทรมาขอคำปรึกษาเสมอว่า อย่ารอจนวินาทีสุดท้ายนะคะ พร้อมแล้วยื่นเลย (ในบางเคสไม่พร้อมที่สุด ยังต้องยื่นเลยเพราะรอแล้วอาจจะพลาดโอกาสได้)

"ยื่น" ที่ว่านี่คือ ยื่นใบสมัครวีซ่า ยื่นอุทธรณ์นะคะ

จริงๆแล้วมันเป็นอะไรที่เข้าใจได้ง่าย แต่บางคนไม่พยายามที่จะเข้าใจ หรือไม่ได้ใส่ใจ แต่บางอย่างพลาดแล้วพลาดเลยนะคะ ...... ยกตัวอย่างดีกว่าจะได้เห็นภาพ

ตัวอย่างที่ 1

น้องอยู่ในวีซ่า 485 กำลังจะหมดอายุ น้องยื่นวีซ่านักเรียนเข้าไปก่อนวีซ่าหมดอายุ 1 วัน ชำระค่าใบสมัครวีซ่าผ่านบัตรเครดิต ปรากฏว่าเงินค่าประกันสุขภาพตัดบัตรวันนั้นพอดี วงเงินที่เหลือไม่พอให้อิมมิเกรชั่นหักค่าใบสมัครวีซ่านักเรียน กว่าอิมมิเกรชั่นจะแจ้งให้ทราบ กว่าจะมีเงินพอให้หักค่าวีซ่านักเรียน วีซ่า 485 ก็หมดอายุไปแล้ว 4 วัน

แปลว่าไม่สามารถยื่นวีซ่านักเรียนในประเทศออสเตรเลียได้ เพราะวีซ่าที่ยื่นไปถึงแม้ว่าจะทันเวลา แต่เก็บค่ายื่นไม่ได้ เป็น invalid application  พอเก็บค่ายื่นได้ วีซ่า 485 ก็หมดอายุไปแล้ว ก็เป็น invalid application อยู่ดี

"invalid application" คือใบสมัครที่อิมมิเกรชั่นไม่สามารถพิจารณาได้ คือจะออกวีซ่าให้ก็ไม่ได้ จะปฏิเสธก็ไม่ได้ (ก็ไม่ต้องหวังยื่นอุทธรณ์ด้วย เพราะไม่มีการปฏิเสธวีซ่าเกิดขึ้น) อิมมิเกรชั่นทำได้อย่างเดียว คืนเงินค่าสมัครให้

ตัวอย่างที่ 2

น้องอยู่ในวีซ่านักเรียน กำลังจะหมดอายุ น้องจะยื่นวีซ่านักเรียนต่อ เอเจนต์งานยุ่ง น้องก็ยุ่งกับภาระกิจอื่น เอเจนต์บอกว่าไม่เป็นไรน้องยังยื่นวีซ่านักเรียนได้ภายใน 28 วันหลังวีซ่านักเรียนตัวเดิมหมดอายุ

ถูกต้องนะคะ ทำได้ค่ะ แต่หนเดียวเท่านั้น ปรากฏว่าเอเจนต์ไม่ทราบว่าใช้ได้แค่หนเดียว หรือไม่ทราบว่าน้องเคยยื่นช้ามาแล้วหนนึง เลยเรื่อยเฉื่อยๆและยื่นวีซ่านักเรียนตัวใหม่เข้าไปหลังวีซ่านักเรียนหมดอายุ

เหมือนข้อ 1 ค่ะ ไม่สามารถยื่นวีซ่านักเรียนในประเทศออสเตรเลียได้แล้ว และวีซ่าที่ยื่นไปก็เป็น invalid application

ตัวอย่างที่ 3

น้องถือวีซ่า 457 ซึ่งไม่มีทางต่อยอดไปเป็นพีอาร์หรือต่อ 457 อีกครั้งได้ (ด้วยเหตุผลหลายๆอย่างที่จะไม่เอ่ยถึง) น้องไปหาเอเจนต์นักเรียนเพื่อจะขอวีซ่านักเรียนใหม่ (บางเคสมีลุ้นนะคะ อาจจะผ่าน อาจจะไม่ผ่าน ไม่ลองไม่รู้)

น้องไปหาเอเจนต์แต่เนิ่นๆ จ่ายเงิน เลือกคอร์ส ส่งเอกสาร เอเจนต์งานยุ่งลืมยื่น เลยวันที่วีซ่า 457 หมดอายุไปสองวัน แถมบอกน้องว่าไม่เป็นไรวีซ่าหมดอายุก็ยื่นได้ ถ้ายื่นภายใน 28 วัน

ไม่ถูกต้องนะคะ วีซ่า 457 ไม่อยู่ในลิสของวีซ่าที่ถ้าหมดอายุแล้วจะยังยื่นวีซ่านักเรียนได้ภายใน 28 วัน

แปลว่าในเคสนี้ก็ไม่สามารถยื่นวีซ่านักเรียนในประเทศออสเตรเลียได้แล้วค่ะ และวีซ่าที่ยื่นไปเป็น invalid application

ตัวอย่างที่ 4

น้องถูกปฏิเสธวีซ่า ต้องยื่นอุทธรณ์ไปที่ AAT ให้ทันเวลา (21 วัน นับจากวันที่ถือว่าได้รับแจ้ง) ตั้งใจจะยื่นวันสุดท้ายและวินาทีสุดท้าย ระบบขัดข้องปิดปรับปรุง พลาดค่ะ เลยกำหนดยื่นไป 1 วัน

แปลว่า AAT ไม่มีสิทธิ์พิจารณาเคสอุทธรณ์นี้ค่ะ (no jurisdiction)

ตัวอย่างที่ 5

เคสนี้หลายปีมากแล้วนะคะ ลูกความติดต่อคนเขียนมาเนิ่นๆ ขอคำปรึกษาจะทำพีอาร์ผ่านวีซ่า 457 ที่ถือมาเกิน 2 ปีแล้ว ลูกความอายุเกิน 50 ภาษาอังกฤษไม่ได้ คนเขียนแจ้งว่าถ้าจะยื่นก็ต้องรีบยื่นนะคะ ก่อน 30 มิถุนายน (ปีอะไรจำไม่ได้แล้ว) พลาดแล้วพลาดเลยเพราะกฏจะเปลี่ยนวันที่ 1 กรกฏาคม บอกด้วยว่าเป็น Paper application นะคะ และขอยกเว้นทั้งอายุและภาษาต้องทำ Submissions + เอกสารอีกมากมาย ถ้าจะยื่นแจ้งกันแต่เนิ่นๆ จะได้มีเวลา
เตรียมเคสให้แน่นๆ เผื่อเวลาสำหรับส่งไปรษณีย์ courier อะไรไว้ด้วย

คนเขียนตามลูกความอยู่หลายครั้ง เพราะกลัวจะพลาดโอกาสสุดท้ายและพีอาร์จะหลุดลอยไป 

ปรากฏว่าลูกความติดต่อมาให้ทำเคสให้ในวันที่ 30 มิถุนายน ... สี่โมงเย็น .....
....วันสุดท้ายที่มีสิทธิ์ยื่น .... และเป็นวันเสาร์ ...............


พอแล้วมั้งคะสำหรับตัวอย่าง พอเห็นภาพนะคะ ..... สรุปสั้นๆ

1. เคสส่วนใหญ่ เมื่อพร้อมก็ควรยื่น อย่ารอจนวินาทีสุดท้าย

2. เคสบางเคส ต้องดูลาดเลาว่ายื่นตอนไหนถึงจะเหมาะสม และเพิ่มโอกาสในการได้วีซ่า

3. เคสบางเคสไม่พร้อมก็ต้องยื่น เพราะวีซ่ากำลังจะหมด เวลาการยื่นอุทธรณ์ใกล้เข้ามา หรือกฏกำลังจะเปลี่ยน

4. ไม่มีคำแนะนำแบบตายตัว ที่จะปรับใช้ได้กับทุกเคสนะคะ แต่ละเคสมีลักษณะเฉพาะของตัวเอง  ไม่แน่ใจว่าเคสของตัวเองควรจะทำยังไง หาคำแนะนำแต่เนิ่นๆ จะได้มีเวลาเตรียมตัวทำเคสแน่นๆ

5. รับผิดชอบชีวิตตัวเองด้วยนะคะ อย่าเอาชีวิตตัวเองไปฝากไว้กับคนอื่นอย่างเดียว
(ไม่ได้แนะนำให้ทำเคสเองหรือไม่ทำเคสเอง ... ทำเองได้ถ้าสามารถ ... แต่หมายความว่าถ้าจะใช้บริการเอเจนต์ก็ติดตามเคสตัวเองด้วยว่าเคสไปถึงไหนแล้ว ต้องการอะไรเพิ่ม จะยื่นได้ทันเวลาไหม ... เราต้อง Proactive ค่ะ)

ป.ล.1 คนเขียนชอบลูกความที่ Proactive ค่ะ โทรถาม โทรตาม โทรขออัพเดท โทรเช็คเอกสาร ไม่ว่าเลย ชอบด้วยซ้ำ ... ถามซ้ำเดิมๆก็ได้ สงสัยถามมา อธิบายแล้วอธิบายอีกก็ได้ไม่ว่ากัน

แถม ตัวอย่างที่ 6 (เมื่อเร็วๆนี้เองค่ะ)

น้องถือวีซ่านักเรียนที่กำลังจะหมด จะต่อวีซ่านักเรียน จ่ายเงิน ส่งเอกสาร รอเอเจนต์ยื่นเรื่องให้ รอแล้วรออีก โทรมาถามคนเขียนว่าทำยังไงดีคะ เอเจนต์ไม่ยื่นให้ซะที กังวลมากเหลืออีก 2 วันวีซ่าจะหมดอายุ

คนเขียนแจ้งน้องให้ทราบว่าวีซ่านักเรียนหมด ก็ยังสามารถต่อวีซ่านักเรียนภายใน 28 วันได้หนึ่งครั้ง แต่อย่าสบายใจเพราะน้องอาจจะไม่ทราบว่าตัวเองเคยใช้สิทธิ์นี้มาแล้วหรือยัง เอเจนต์อาจจะเคยยื่นช้าแต่ไม่ได้แจ้งน้อง หรือถึงไม่เคยยื่นช้าเลย ทำไมจะต้องเคยด้วย ถ้าเรายังอยู่ในภาวะที่สามารถยื่นได้ทันเวลา

สรุปว่าคนเขียนแนะนำให้น้องไปนั่งกดดันเอเจนต์ให้ยื่นให้ทันเวลา ไม่ยื่นไม่ต้องกลับ นั่งอยู่ที่นั่นแหละ (ไม่รู้ว่าน้องจะกล้ารึเปล่านะ) อีกทางเลือกนึง เปลี่ยนเอเจนต์ค่ะ

ป.ล.2 คนเขียนไม่ได้โพสทุกคำถามคำตอบที่ส่งเข้ามานะคะ ถ้าข้อมูลไม่เพียงพอที่จะพิจารณาและให้คำตอบที่เอาไปปรับใช้ได้จริง ก็จะไม่ได้ตอบนะคะ

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com

457 กฏเปลี่ยน 2

8/5/2017

 
วีซ่า 457 ยังอยู่นะคะ จนกว่าวีซ่าตัวใหม่ Temporary Skill Shortage (TSS) จะมีผลบังคับใช้ในเดือนมีนาคม 2018

แต่... คนเขียนขอสรุปกฏเปลี่ยนที่มีผลแล้ว และที่จะมีผลในอนาคตอันใกล้ตามนี้ค่ะ

กฏที่บังคับใช้ตั้งแต่ 19 เมษายน 2017

@ ลิสสาขาอาชีพเปลี่ยนจาก SOL  เป็น MLTSSL และ จาก CSOL เป็น STSOL
    เพราะว่าอ่านจากตัวกฏหมายไม่ง่าย และน่าเบื่อ (คนเขียนยังเบื่อเลย แต่ต้องอ่าน) คนเขียนเลยให้ลิงค์ไปที่
    เวปของอิมมิเกรชั่นแทนนะคะ แต่ถ้าใครสนใจอ่านจากกฏหมายโดยตรงก็คลิ๊กที่นี่เลยค่ะ

@ มี 216 อาชีพถูกตัดออกไปจากลิส
    คนที่ยื่น Nomination และ/หรือ วีซ่า 457 ไปก่อนกฏเปลี่ยน แต่ยังรอผลอยู่ ก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกันค่ะ
   อิมมิเกรชั่นแนะนำให้ถอนเรื่องและขอรีฟัน ถ้าไม่ถอนเรื่องก็จะถูกปฏิเสธและไม่ได้เงินค่ายื่นคืน แต่... คนเขียนคิด
   ว่าในบางเคสการถอนเรื่องและขอรีฟันอาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด  ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละเคสนะคะ

@ บางอาชีพที่อยู่ในลิสใหม่ อิมมิเกรชั่นมีเงื่อนไขบางอย่าง (Caveats) เพิ่มขึ้นมา (อาชีพยอดฮิตของเรา Massage
    Therapist, Cook, Chef & Restaurant Manager โดนด้วยค่ะ)
    Restaurant Manager จะต้องไม่ใช่ร้าน fast food, takeaway, ร้านที่ออกแนว Casual - ร้านที่ก่ำกึ่งว่าอาจจะมี
    ปัญหาก็คือร้านประเภทคาเฟ่ หรือ coffee shop ซึ่งก็ต้องมาดูกันเป็นเคสๆไปนะคะ
    Chef, Cook ก็เหมือนๆกันนะคะ และก็จะต้องไม่ใช่การทำงานในโรงงาน หรือ mass production
    Accountant (General) หน้าที่จะต้องเป็นนักบัญชี ไม่ใช่เสมียนบัญชีหรือ book keeper ธุรกิจจะต้องมีรายได้ต่อ
    ปีอย่างน้อย 1 ล้านเหรียญ และมีพนักงานไม่น้อยกว่า 5 คน

   แปลว่า... เช็ค Caveats กันก่อนนะคะ ว่าเราจะมีสิทธิ์ลุ้น Nomination & Visa application หรือไม่
  ใช้คำว่ามีสิทธ์ลุ้น เพราะบางเคสเป็นเคสก่ำกึ่ง ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ เคสแบบนี้คงต้องมีการทำสรุป
   (โฆษณาชวนเชื่อกันนิดนึง)

   สำหรับเคสที่อยู่ระหว่างพิจารณา แต่ตอนนี้ทราบแล้วว่าติด Caveats แน่ๆ (ไม่ใช่เคสก่ำกึ่งแบบมีสิทธิ์ลุ้น)
   อิมมิเกรชั่นให้ถอนเรื่องรับเงินคืนได้ค่ะ แต่ (ขอใช้ประโยคเดิม) ในบางเคสการถอนเรื่องและขอรีฟันอาจจะไม่ใช่
   ทางเลือกที่ดีที่สุด  ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละเคสนะคะ
   
@ วีซ่า 457 ที่จะออกหลังจากนี้ ถ้าอาชีพที่อยู่ใน MLTSSL จะได้วีซ่า 4 ปี และ STSOL จะได้วีซ่า 2 ปี (ปรับใช้กับ
    เคสที่ยื่นก่อนกฏเปลี่ยนและยังอยู่ในระหว่างพิจารณาด้วยนะคะ)

จากวันที่ 1 กรกฏาคม 2017

@ การจ่ายค่าจ้าง $96,4000 เพื่อยกเว้นผลภาษาอังกฤษ จะถูกยกเลิก

@ ต้องยื่นใบตำรวจแล้วนะคะ ก่อนหน้านี้ไม่ต้องยื่น(ยกเว้นว่าถูกขอ)

@ คาดว่าจะมีการเพิ่มอาชีพที่ต้องทำ skills assessment นะคะ
   ถึงแม้จะเป็นเคสที่ไม่มีระบุให้ต้องทำ skills assessment อิมมิเกรชั่นก็มีสิทธิ์ขอได้อยู่แล้วค่ะ ถ้าไม่เชื่อว่าเรามี
   คุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งจริง

@ ในส่วนของเจ้าของธุรกิจ (Sponsor) อิมมิเกรชั่นจะเข้มงวดขึ้นในเรื่องการเทรนพนักงานที่เป็นซิติเซ่นหรือ
    พีอาร์  (... ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะเข้มยังไง) 

@ คาดว่าจะมีการปรับเปลี่ยนสาขาอาชีพอีกนะคะ (ชีวิตอยู่บนความไม่แน่นอน ต้องตามข่าวกันค่ะ)
     
ก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2017

@ อิมมิเกรชั่นจะมีการเก็บข้อมูลเลขที่ภาษีของคนถือวีซ่า 457 และวีซ่าถาวรแบบนายจ้างสปอนเซอร์ และลิงค์
    กับ ATO (แปลว่าถ้าตกลงค่าแรงกันไว้ที่ $55000 แต่จ่ายจริงไม่ถึง ก็อาจจะเกิดปัญหาได้ค่ะ)
        
@ Sponsor ที่ไม่ทำตามหน้าที่ เช่นไม่ทำเทรนนิ่ง ไม่จ่ายค่าแรงตามที่ตกลงกัน ถ้าถูกจับได้ และมีความผิดจริง
   ก็อาจจะมีการลงโทษ (Sanctioned) คาดว่าคนทั่วไปก็จะสามารถเข้าถึงข้อมูลพวกนี้ได้ (Sanctioned มีมา
   นานแล้ว แต่ "publication of sanctioned sponsors" ยังไม่มีค่ะ เริ่มธันวานะคะ)

มีนาคม 2018

@ Bye bye 457

@ Hello TSS (Temporary Skill Shortage)


ข้อมูลจาก:
www.border.gov.au
www.legislation.gov.au

บทความต่อไป ผลกระทบของกฏเปลี่ยนต่อการขอพีอาร์ผ่านนายจ้างสปอนเซอร์

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com

457 กฏเปลี่ยน 1

28/4/2017

 
รัฐบาลเปลี่ยนลิสสาขาอาชีพสำหรับวีซ่า 457 เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2017

จาก Skilled Occupation List (SOL)  เป็น  Medium and Long-term Strategic Skills List (MLTSSL) และ
จาก Consolidated Sponsored Occupation List (CSOL)  เป็น  Short-term Skilled Occupation List (STSOL)

วันนี้ก็มีน้องๆโทรมาถามคนเขียนว่า ได้ข่าวมาว่ารัฐบาลเปลี่ยนกลับมาใช้ SOL และ CSOL อีกแล้ว จริงรึเปล่า คือน้องๆดีใจค่ะ คนเขียนก็จะดีใจมากๆเลยค่ะถ้าเปลี่ยนกลับมาใช้ลิสเดิมจริง แต่

ขอตอบว่า ไม่จริงค่ะ 

ณ ตอนนี้ (28 เมษายน เวลา 2.55pm) ลิสที่ใช้ยังคงเป็นลิสใหม่ MLTSSL และ STSOL ที่ตัดหลายๆสาขาอาชีพออกไปอยู่นะคะ อาชีพยอดฮิตของน้องๆเช่น Restaurant Manager, Cook และ Massage Therapist ยังคงอยู่ใน STSOL นะคะ ซึ่งแปลว่าถ้าได้ 457 ก็จะได้ 2 ปี

น้องๆที่ตามรายละเอียดลึกๆเช่นกฏหมายฉบับที่ออกมาเกี่ยวกับการเปลี่ยนสาขาอาชีพ อาจจะเห็นว่ากฏหมายฉบับที่ว่านี้ได้ถูกยกเลิกไป และคิดว่ารัฐบาลเอาลิสเก่า SOL และ CSOL กลับมาใช้ แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ค่ะ กฏหมายฉบับนั้นถูกยกเลิกจริง แต่ไม่ได้ยกเลิกไปเลย รัฐบาลเอาเนื้อหาของกฏหมายฉบับนั้นไปรวมไว้กับกฏหมายอีกฉบับนึง (ฉบับเก่า) เท่านั้นเองค่ะ

สรุปอีกรอบนะคะ ณ เวลานี้ ลิสที่ใช้คือ MLTSSL และ STSOL

คนเขียนเข้าใจความกังวลของน้องๆนะคะ คนเขียนเองก็มีลูกความที่อยู่ในภาวะที่ไม่ทราบอนาคตตัวเองอยู่หลายคน และกำลังหาทางช่วยเหลืออยู่เช่นกันค่ะ

ปล. หัวข้อ 457 กฏเปลี่ยน 1 แปลว่าจะมี 457 กฏเปลี่ยน 2 ค่ะ (ขอเวลาทำงานก่อนนะคะ)

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com

ภาษาอังกฤษสำหรับ Subclass 485 Temporary Graduate & Subclass 476 Skilled - Recognised Graduate

23/4/2015

 
คนเขียนนั่งพิมพ์หัวข้อนี้มาตั้งแต่วันจันทร์ แต่เนื่องจากฝนฟ้า พายุ ไฟดับ.... เลยพิมพ์ไม่เสร็จ

ณ ตอนนี้ไฟก็ยังดับอยู่ ยังดีที่คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ คนเขียนก็พิมพ์ต่อใต้แสงเทียน ... หัวข้อนี้เลยมาแบบ
สั้นๆนะคะ กลัวแบตหมดก่อน เดี๋ยวจะพิมพ์ไม่เสร็จอีก

เข้าเรื่องกันเลย
นอกจากอิมจะปรับผลภาษาอังกฤษสำหรับวีซ่า 457 ให้ง่ายขึ้นแล้ว ภาษาอังกฤษสำหรับวีซ่า 485 และวีซ่า 476 ก็ได้รับการปรับเปลี่ยนให้ง่ายขึ้น (นิดนึง) ด้วยค่ะ ตั้งแต่วันที่ 18 April 2015

จากที่จำเป็นต้องใช้ IELTS 6 ทุกพาร์ท ก็เปลี่ยนเป็น ค่าเฉลี่ย (overall score) 6 โดยที่ทุกพาร์ทต้องไม่ต่ำกว่า 5

นอกจากนี้ผลภาษาอังกฤษจากการสอบแบบอื่นก็สามารถนำมาใช้แทนผล IELTS ได้ มีอะไรบ้าง เรามาดูกันนะคะ

Picture
ถือว่าเป็นอีกข่าวดีสำหรับน้องๆนักเรียนที่สอบ IELTS มาหลายรอบแล้ว และเกือบจะ 6 ทุกพาร์ทแต่ไม่ถึงซักที

โน๊ตตัวโตๆ - สำหรับสาย Graduate Work Stream ซึ่งต้องยื่นผล Skills assessment อย่าลืมว่าหน่วยงานที่รับทำ Skills assessment ของบางสายอาชีพ ยังไม่ได้ปรับกฏภาษาอังกฤษให้เข้ากับกฏใหม่ของอิมนะคะ น้องๆที่เลือก หรือ Nominate สายอาชีพที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษสูงกว่าที่อิมกำหนดไว้สำหรับวีซ่าที่กล่าวถึง ก็ต้องสอบให้ได้ตามที่หน่วยงาน Skills assessment กำหนดไว้นะคะ เพราะถ้าทำ Skills assessment ไม่ผ่าน ก็ไม่ได้วีซ่าอยู่ดี

จบข่าว
Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com

Subclass 457 VISA  -  April 2015  -  กฏเปลี่ยนอีกแล้วค่ะ

18/4/2015

 
กฏเปลี่ยนรอบนี้น่าจะเป็นข่าวดีสำหรับน้องๆหลายคนที่สอบ IELTS มาหลายรอบ แต่ไม่ได้ 5 ทุกพาร์ทซะที ซึ่งรัฐบาลก็เกริ่นๆมาว่าจะแก้ไขมาพักใหญ่แล้ว และในที่สุดก็มีผลบังคับใช้แล้วค่ะ ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 18 April 2015 (คนเขียนไม่เข้าใจว่าทำไมเริ่มมีผลวันเสาร์ @#$%^&^@# ความช่างสงสัยนี่เป็นธรรมชาติของนักกฏหมายค่ะ น้องๆก็ไม่ต้องสงสัยตามหรอกนะคะ รู้แค่ว่ามีผลบังคับใช้แล้วก็พอค่ะ)

เริ่มเลย

IELTS ตอนนี้เปลี่ยนจากที่ต้องได้ 5 ทุกพาร์ท มาเป็นค่าเฉลี่ย 5 โดยที่ต้องได้อย่างน้อย 4.5 ทุกพาร์ท
นอกจากนี้อิมก็ยอมรับผลภาษาอังกฤษประเภทอื่นด้วย คือ

    -     Occupational English Test (OET)
    -     Test of English as a Foreign Language internet-based test (TOEFL iBT)
    -    
Pearson Test of English Academic (PTE)
    -     Cambridge English: Advanced test (CAE) - ผลของ CAE จะต้องหลักจากวันที่ 1 มกราคม 2015 นะคะ

ว่าแล้วก็ตัดแปะผลภาษาอังกฤษตามที่กฏใหม่กำหนดไว้มาให้ดูเลยละกันนะคะ
Picture
ส่วนใครที่คิดว่าถึงแม้จะลดผลคะแนน IELTS ก็แล้ว เพิ่มประเภทการสอบภาษาอังกฤษก็แล้ว ก็ยังไม่รอดอยู่ดี ลองมาดูข้อยกเว้นผลภาษาอังกฤษกันค่ะ

1. ได้รับเสนอเงินเดือนอย่างน้อย $96,400 ต่อปี คนเขียนอยากบอกว่า อิมจะนำปัจจัยอื่นๆมาประกอบการ                    พิจารณาด้วยนะคะ คือไม่ใช่ว่าได้รับการเสนอเงินเดือนเท่านี้ แปลว่าได้วีซ่าแน่ๆ

2. ถือพาสปอร์ตของ UK, US, Canada, NZ and Ireland

3. เรียน full-time เป็นภาษาอังกฤษ ใน secondary and/or higher education institution มาอย่างน้อย 5 ปี            กฏนี้มีการเปลี่ยนแปลงนะคะ จากเดิมจะต้องเป็น 5 ปีต่อเนื่อง ตอนนี้นับรวมได้ 5 ปีเป็นอันใช้ได้ แปลว่าเรียนมา         2 ปี พักการเรียนไป 1 ปี กลับมาเรียนต่ออีก 3 ปี ก็โอเคค่ะ พิสูจน์ให้ได้ก็แล้วกัน

แถมท้ายด้วย


ค่าแรงขั้นต่ำ (TSMIT) สำหรับลูกจ้างที่ขอ 457 ยังคงเดิมค่ะ คือ $53,900
ค่าแรงของลูกจ้าง สำหรับนายจ้างที่ไม่ต้องการโชว์ Market Rate ลดลงจาก $250,000 เป็น $180,000 
(อัฟเดทค่ะ เนื่องจากเรทใหม่ $180,000 ที่ประกาศให้ใช้เมื่อ 18 เมษายน 2015 ไม่ผ่านที่ The Senate - นับจาก 17 มิถุนายน 2015 - เรทเปลี่ยนกลับมาเป็น $250,000 ตามเดิมนะคะ)

โดยภาพรวมแล้ว ต้องบอกว่าเป็นข่าวดีสำหรับน้องๆที่รอยื่่นวีซ่า 457 นะคะ ไม่มีกฏที่ทำให้ชีวิตยุ่งยากขึ้นเลย มีแต่หย่อนลง แต่อย่าลืมนะคะว่าเงื่อนไขการยื่นวีซ่า 457 ไม่ได้มีแค่ที่เอ่ยถึงข้างต้น เพราะฉะนั้นตรวจเช็คให้แน่ใจก่อนว่าเรามีโอกาสได้วีซ่าแน่ๆค่อยยื่นนะคะ


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com

รัฐบาลประกาศขึ้นราคาค่ายื่นวีซ่าคู่ครอง & วีซ่าคู่หมั้น นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2015

16/12/2014

 
ตามหัวเรื่องเลยค่ะ

วีซ่าคู่ครอง Subclass 820/801 onshore Partner visa (ยื่นในประเทศออสเตรเลีย)
จาก $4575 ขึ้นเป็น $6865

วีซ่าคู่ครอง Subclass 309/100 offshore Partner visa (ยื่นนอกประเทศออสเตรเลีย)
จาก $3085 ขึ้นเป็น $4630

วีซ่าคู่หมั้น Subclass 300 Prospective Marriage visa (ยื่นนอกประเทศออสเตรเลีย)
จาก $3085 ขึ้นเป็น $4630

ถ้าต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย ต้องยื่นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2015 นะคะ แต่ต้องเช็คด้วยนะคะเคสเราพร้อมยื่นและมีโอกาสที่จะได้วีซ่า

ถ้าระยะเวลา
ความสัมพันธ์ไม่ถึงเกณฑ์ตามกฏหมายกำหนด หรือหลักฐานยังไม่เพียงพอ ก็ไม่ควรรีบยื่นเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายนะคะ เพราะถ้าถูกปฏิเสธมา คงได้เสียตังค์มากกว่าเดิม และเสียเวลามากขึ้นด้วย


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com

Hot news 25 September 2014

24/9/2014

 
ประกาศข่าวดีค่ะ

เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2014 อิม (รัฐบาลปัจจุบัน) ได้ยกเลิก 5 วีซ่าข้างล่าง แบบไม่ให้เวลาตั้งตัว

1. Parent visa
2. Aged Parent visa
3. Aged Dependent Relative visa
4. Carer visa
5. Remaining Relative visa


ต้องขอบคุณ Senator Sarah Hanson-Young ที่เสนอเรื่องเข้า the Senate และผลการโหวตวันนี้ ที่มีผลให้ทั้ง 5 วีซ่านี้กลับมาอยู่ในระบบตามเดิม และเป็นทางเลือก(หรือเป็นหนทางเดียว)ให้กับคนอีกหลายๆคน

ณ ตอนนี้อิมเปิดรับใบสมัครของ 5 วีซ่านี้แล้วนะคะ ส่วนจะรับใบสมัครอีกนานแค่ไหน ไม่มีใครตอบได้ เพราะรัฐบาล Abbott อาจจะหาหนทางใหม่มาพยายามยกเลิก 5 วีซ่านี้อีกก็เป็นได้

เพราะฉะนั้นใครที่คิดว่ามีสิทธิยื่น 1 ใน 5 วีซ่าที่ว่านี้ รีบตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณสมบัติเราถึง และยื่นใบสมัครกันซะนะคะ

ป.ล. อย่าหลับหูหลับตายื่นนะคะ เสียดายตังค์

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com
<<Previous

    Author


    พี่เก๋ - กนกวรรณ ศุโภทยาน เป็นทนายความไทย และทนายความของประเทศออสเตรเลีย (Immigration Lawyer)

    มีประสบการณ์เป็นทนายความเฉพาะทาง ด้าน IMMIGRATION ของประเทศออสเตรเลีย รับวางแผนการขอวีซ่า ยื่นใบสมัครขอวีซ่าทุกประเภท ช่วยเหลือในชั้นอุทธรณ์ที่ Administrative Appeals Tribunal และในชั้นศาลค่ะ

    ต้องการคำแนะนำ หรือความช่วยเหลือ ติดต่อได้ที่ Immigration Success Australia
    mb: 0428 191 889 หรือ www.immigrationsuccessaustralia.com

    Archives

    July 2021
    June 2021
    March 2021
    February 2021
    January 2021
    December 2020
    November 2020
    October 2020
    September 2020
    July 2020
    June 2020
    May 2020
    April 2020
    March 2020
    February 2020
    March 2019
    January 2019
    November 2018
    October 2018
    August 2018
    July 2018
    June 2018
    April 2018
    October 2017
    September 2017
    August 2017
    May 2017
    April 2017
    August 2015
    April 2015
    December 2014
    September 2014
    August 2014
    June 2014
    March 2014
    January 2014
    October 2013
    September 2013
    July 2013
    June 2013

    Categories

    All
    วีซ่า
    อุทธรณ์
    วีซ่าคู่ครอง
    101
    102
    103
    143
    173
    186
    187
    190
    300
    309
    4020
    408
    445
    457
    462
    476
    482
    485
    489
    491
    500
    870
    AAT
    Accountant
    Administrative Appeals Tribunal
    Adoption Visa
    Approved Nomination
    Australia
    Australian
    Australian Citizenship
    Australian Immigration
    Bar
    Bricklayer
    Bridging Visa
    Bridging Visa A
    Bridging Visa E
    BVA
    BVE
    Changes To Immigration Law
    Changing Courses
    Chef
    Child Visa
    Consolidated Sponsored Occupations List
    COVID 19
    COVID-19
    CSOL
    Decision Ready
    Decision-ready
    Decision Ready Application
    Decision-ready Application
    De Facto Relationship
    Employer Sponsored
    English Exemption
    ENS
    Exercise Physiologist
    Family
    Family Violence
    Federal Circuit Court
    Graduate Work
    GTE
    Hydrogeologist
    Ielts
    Immigration
    Immigration Lawyer
    Judicial Review
    Jurisdictional Error
    Migration Agent
    Migration Review Tribunal
    MRT
    Nomination
    Orphan Relative Visa
    Overstay
    Parent
    Partner Visa
    PIC 4020
    Post Study Work
    Processing Period
    Protection Visa
    Public Interest Criteria
    Public Interest Criterion
    Regional Australia
    Regional Visas
    Registered Migration Agent
    Rma
    RSMS
    Section 48
    Section 48 Bar
    Self Sponsorship
    Skilled Migration
    Skilled Occupations List
    Skilled Work Regional
    Skills Assessment
    SOL
    Sponsor
    Sponsorship
    Student Visa
    Substantive Visa
    Training
    Tsmit
    Unlawful
    Visa Cancellation
    Visa Refusal
    Wall And Floor Tiler
    Working And Holiday Visa

    RSS Feed

Powered by Create your own unique website with customizable templates.