Transitional arrangements คืออะไร ???
- คือกฏเก่า สำหรับคนที่ ณ วันที่ (หรือก่อนวันที่) 18 April 2017 ถือ 457 หรือคนที่ยื่นใบสมัครไปแล้วและอยู่ระหว่างรอผลการพิจารณาและในที่สุดก็ได้ 457 มาครอง
- เงื่อนไขคือ ทำงานกับนายจ้างในตำแหน่งที่ได้รับการสปอนเซอร์อย่างน้อย 2 ปี ก็จะขอ 186 / 187 ได้ โดยไม่ต้องกังวลว่าตอนยื่น 186 / 187 สาขาอาชีพจะยังอยู่ในลิสสำหรับยื่น 186 / 187 หรือไม่ (ไม่เกี่ยวเลย)
เคสนี้เรายื่น Nomination และ 457 visa application เดือน March 2017 ปรากฏว่าเดือน April 2017 (ระหว่างการพิจารณา) กฏเปลี่ยนครั้งใหญ่ก็มา แบบไม่บอกล่วงหน้า บอกปุ๊บก็บังคับใช้เลย
- หลายสาขาอาชีพหายไปจากลิสสำหรับการสปอนเซอร์ = สาขาอาชีพของลูกความก็หายไปด้วย !
- กฏเปลี่ยนนี้บังคับใช้ทั้งกับเคสใหม่ และเคสที่อยู่ระหว่างการพิจารณาด้วย = ลูกความก็โดนด้วยสิ !!
- คนเขียนก็ทั้งเหวอและมึน อยู่ๆก็เจอ Dead case ซะอย่างงั้น
คนเขียนก็ได้รับจดหมายจากอิมมิเกรชั่นเชิญให้นายจ้างถอน Nomination application ถ้าไม่ถอน ก็จะถูกปฏิเสธ เพราะสาขาอาชีพถูกตัดออกไปจากลิสแล้ว ยังไงก็อนุมัติไม่ได้ ..... ทำยังไงดีล่ะ??? ..... ก็ถอนเรื่องสิคะ ไม่มีทางเลือก
และเมื่อไม่มี Nomination วีซ่า 457 ก็ไปต่อไม่ได้ ถ้าไม่ถอนเรื่องก็จะถูกปฏิเสธ ..... ลูกความร้องไห้ อนาคตหายวับไปกับกฏเปลี่ยน ..... คนเขียนก็บอกลูกความแบบมึนๆว่า อย่าเพิ่งถอน Visa application นะ ขอคิดก่อน (มันต้องมีทางสิ)
จริงๆคนเขียนไม่ต้องทำอะไรเลยก็ได้ เพราะหน้าที่ในความรับผิดชอบของตัวเองก็ทำไปแล้ว ยื่น Decision Ready application รอแค่ผลการพิจารณาอย่างเดียว กฏเปลี่ยนกะทันหัน เป็นอะไรที่อยู่นอกเหนือการควบคุม ..... แต่ ..... ในเมื่อมาเป็นลูกความกันแล้ว เราก็ต้องไม่ทิ้งกันใช่ไหม
หลังจากหายเหวอ หายมึน ก็ใช้เวลาคิดและทำ Research ไปหลายอาทิตย์ (ไม่ใช่แค่หลายวัน) ..... ฟรีด้วย ไม่ได้คิดตังค์เพิ่ม ส่วนนึงเพราะสงสารลูกความ อีกส่วนเพราะการหาทางช่วย Dead case มันท้าทาย เหนื่อยแต่สนุก
คิดอยู่หลายทาง บางทางก็แพ๊งแพงและเสี่ยงมาก ..... และแล้วไอเดียบรรเจิดก็มา เรายื่น Nomination ใหม่ นายจ้างเดิม ตำแหน่งเดิม (เคสนี้ลูกความขยับไปตำแหน่งอื่นไม่ได้ เพราะเป็น Skills ที่เฉพาะทางมากๆ) ..... ลูกความก็สุดแสนจะไว้ใจ ให้คนเขียนลองอะไรใหม่ๆ คือจริงๆลูกความก็ไม่มีอะไรจะเสียแล้ว ถ้าลองอาจจะได้วีซ่า ถ้าไม่ลองก็เป็น Dead case แพ๊คกระเป๋ากลับบ้าน
สรุปว่าอิมมิเกรชั่นใช้เวลาพิจารณา Nomination ใหม่ไอเดียบรรเจิดของคนเขียนไปเกือบปี ในที่สุดคุณลูกความก็ได้วีซ่า 457 มาครอง (ไม่มีขอเอกสารเพิ่ม แต่คิดนานมากกกกก) ..... รอ 1 ปี ได้วีซ่า 2 ปี
ทำไมคนเขียนแนะนำให้ลูกความไม่ถอนเรื่อง ทั้งๆที่ถ้าไม่ถอนเรื่องอาจจะถูกปฏิเสธวีซ่า ..... เพราะลูกความยื่นใบสมัคร 457 ก่อนที่กฏจะเปลี่ยน ถ้าวีซ่าผ่านขึ้นมา ลูกความก็จะเข้า Transitional arrangements (ทำงานกับนายจ้างครบ 2 ปี มีสิทธิ์ยื่นขอพีอาร์ไม่ว่าสาขาอาชีพจะอยู่ใน Short term list หรือ Medium/Long list หรือหายไปจากลิสก็ตาม) แต่ถ้าถอนเรื่องแล้วยื่นใหม่ สาขาอาชีพใน Short term list จะต่อยอดไป 186 ไม่ได้ (Strategy การทำงานสำคัญเสมอ)
และแล้วลูกความก็ทำงานครบ 2 ปี ได้เวลายื่นพีอาร์ ถ้าวันนั้นถอดใจไม่ยอมเสี่ยงลุยต่อ คงไม่มีวันนี้ที่ลูกความจะได้ยื่นพีอาร์ ..... แต่ปัญหาไม่จบสิ ..... ใครที่เคยยื่น 457 หรือ 482 และรอยื่นพีอาร์ คงพอทราบว่าการยื่น Nomination นายจ้างจะต้องพิสูจน์ว่าเงินเดือนที่เสนอให้เราเป็น Annual Market Salary Rate คือจะต้องไม่ต่ำกว่าเงินเดือนที่จ่ายลูกจ้างออสซี่ที่ทำงานตำแหน่งเดียวกับเรา หรือถ้าไม่มีลูกจ้างที่เป็นออสซี่ ก็ต้องไปหาหลักฐานอย่างอื่น (ตามที่กฏหมายกำหนด) มาโชว์ว่าเงินเดือนที่เสนอให้เรามันสมเหตุสมผลและเป็นราคาตลาด
เนื่องจากเคสนี้ ทั้งบริษัทมีแค่ Director และมีลูกจ้างเพียงคนเดียวคือลูกความ ไม่มีลูกจ้างออสซี่เลย และลูกความทำงานในตำแหน่งที่ใช้ Skills เฉพาะทางมากๆ หาหลักฐาน Annual Market Salary Rate ตามที่กฏหมายกำหนดไม่ได้เลย ..... ไอเดียบรรเจิดก็ต้องมี งานโฆษณาชวนเชื่อก็ต้องมา และก็ลุ้นกันต่อว่าจะรอดหรือไม่รอด
สรุปว่ารอดค่ะ ยื่น February 2020 ก่อน COVID-19 .... ทั้ง Nomination & วีซ่า 186 ผ่านเมื่อวันก่อน (แบบไม่ขออะไรเพิ่มเลย) ..... 5 เดือนพอดี บริษัทนี้ก็ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ต้องปิดชั่วคราวและขาดรายได้เหมือนหลายๆธุรกิจ ซึ่งหลายๆเคสตอนนี้อาจจะเจอขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตำแหน่งที่ยื่นขอ เช่นยังจำเป็นต้องมี ต้องสปอนเซอร์ไหม และสถานะการเงินดีพอที่จะจ่ายค่าแรงหรือไม่ (เตรียมตัวกันไว้ด้วยนะคะ)
หลายๆคนที่ถือ 457 Transitional arrangements (ทำงานครบ 2 ปี ยื่นขอพีอาร์ได้) อาจจะสงสัยว่า ถ้าได้วีซ่ามาแค่ 2 ปี จะยื่น 186 ได้ไหม หรือต้องต่อ 482 ไปก่อน คำตอบคือถ้า Manage ดีๆ ไม่มี unpaid leave เลย และตอนที่ได้วีซ่า 457 ก็อยู่ในประเทศออสเตรเลียและทำงานกับนายจ้างอยู่แล้ว มีความเป็นไปได้สูงค่ะ (case by case)
Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com