เคสนี้น้องติดต่อมาหาคนเขียนหลังจากที่วีซ่า 485 ถูกปฏิเสธไปเรียบร้อยแล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่าน้องไม่ได้ยื่นใบสมัครภายใน 6 เดือนนับจากที่เรียนจบ
เคสนี้ น้องลูกความติดต่อมาจากไทย
น้องเป็นนักเรียนที่ออสเตรเลียมาหลายปี .... สัมภาษณ์กันอยู่นาน .... สรุปได้ว่า ....
น้องติดต่อคนเขียนหลังจากถูกปฏิเสธวีซ่า .... เครียดมาก ไม่คิดว่าจะถูกปฏิเสธวีซ่า ข้าวของที่ออสเตรเลียก็ไม่ได้แพ๊ค ค่าเช่าก็ยังต้องเสีย ตัวอยู่ไทย ไม่มีงานทำ คนเขียนขอดูเอกสารว่าวีซ่านักเรียนที่ถูกปฏิเสธยื่นอะไรไปบ้าง .... ปรากฏว่ามีจดหมายอธิบายว่าทำไมถึงมีความผิดพลาดเรื่องวีซ่า ทำไมยื่นในออสเตรเลียไม่ทัน จนมีประวัติไม่ถือวีซ่าและต้องกลับมายื่นวีซ่าจากไทย .... พูดง่ายๆคือจดหมายนี้เป็นการพยายามขอยกเว้นการติดบาร์ 3 ปีนั่นเอง แต่ .... ลืมอะไรไปรู้ไหม ??? .... ลืมตอบโจทย์ประเด็น Genuine Temporary Entrant (GTE) .... ในจดหมายไม่มีระบุว่าทำไมถึงต้องกลับมาเรียนที่ออสเตรเลีย เรียนที่ไทยได้หรือไม่ได้ etc. .... จะไปคิดเองเออเองว่าอิมมิเกรชั่นต้องคิดได้เองสิว่านักเรียนเหลืออยู่ 1 วิชา ก็ต้องตั้งใจเป็นนักเรียน กลับมาเรียนให้จบรึเปล่า ขีดเส้นใต้ 3 เส้น .... ผู้สมัครมีหน้าที่นำเสนอข้อมูล เอกสาร หลักฐาน .... อิมมิเกรชั่นไม่มีหน้าที่คิดเอง .... และถ้าปล่อยให้คิดเอง อาจจะได้ความคิดติดลบ (เช่นเคสนี้เป็นต้น) ในเมื่อข้อเท็จจริงเป็นแบบนี้ .... คนเขียนแนะนำให้ยื่นวีซ่านักเรียนใหม่ ทำเอกสารให้แน่นกว่าเดิม .... แต่เสี่ยงแน่ๆ ทั้งประเด็น GTE และประเด็นติดบาร์ 3 ปี น้องบอกว่าแต่น้องถูกปฏิเสธแค่ประเด็น GTE แปลว่าอิมมิเกรชั่นต้องโอเคกับประเด็นติดบาร์ 3 ปีแล้วสิ ไม่จริง .... อิมมิเกรชั่นแค่ดึงมาประเด็นเดียวก็ปฏิเสธได้แล้ว จะเขียนอะไรเยอะแยะ .... แต่ไม่ได้แปลว่ายื่นใบสมัครรอบหน้าจะไม่เอามาทุกประเด็นมาพิจารณา แปลว่าต้องกังวลทั้ง 2 ประเด็น !!!! .... อ้อ อย่าลืมว่านอกจากมีประวัติอยู่ออสเตรเลียแบบไม่มีวีซ่า ตอนนี้มีประวัติถูกปฏิเสธวีซ่าเพิ่มเข้ามาด้วย .... ยากสิ .... But it is what it is, you can't change the past. คนเขียน: .... [ช่วยคิดอย่างเต็มที่] .... ไม่อยากลองเสี่ยงยื่นใหม่ ก็ลองคุยกับโรงเรียนไหม เหลืออยู่ 1 วิชา ขอเรียนออนไลน์ได้ไหม และก็ให้เพื่อนช่วยแพ๊คของส่งกลับ บอกเลิกการเช่าจะได้ไม่ต้องเสียตังค์ไปเรื่อยๆ ??? ลูกความ: แต่หนูอยากกลับไปออสเตรเลีย !!! คนเขียน: โอเค ชัดเจน .... อยากกลับ ก็ต้องลองยื่นใหม่ไง .... อ้อ .... อย่าลืมขอ CoE ด้วยนะ (อีก 1 ปัญหา โรงเรียนไม่อยากออก CoE ให้ เนื่องจากน้องถูกปฏิเสธวีซ่ามาแล้วรอบนึง) วันถัดมา .... น้องอีเมล์มาบอกว่า .... โรงเรียนให้น้องจบ !!!! อ้าว .... เรียนจบ ก็ขอวีซ่านักเรียนไม่ได้แล้วสิ .... แปลว่าที่คิดๆไว้ว่าจะทำเคสวีซ่านักเรียนนี้ยังไง ลบทิ้ง โจทย์ใหม่ .... ก็ต้องเริ่มคิดใหม่ ดูเอกสารกันใหม่ ทำ Research ใหม่ด้วย .... แล้วเราก็เห็นทางออก .... Subclass 485 Temporary Graduate visa นั่นเองค่ะ วีซ่า 485 โดยตัวกฏหมายปกติแล้วผู้สมัครหลัก (น้องลูกความ) จะต้องอยู่ที่ออสเตรเลียตอนยื่นใบสมัคร แต่คนทำงานด้านนี้เราต้องตามกฏหมายอย่างใกล้ชิด ซึ่งเรารู้ว่าช่วงโควิด รัฐบาลอนุญาตให้ยื่นวีซ่า 485 จากนอกออสเตรเลีย แต่ที่ต้องทำ research ใหม่หมด เพราะเคสน้องไม่ใช่เคสตรงไปตรงมา มีประเด็นให้น่ากังวลอยู่หลายประเด็น ทั้งประวัติวีซ่า และประวัติการศึกษาเลย แต่ต้องบอกว่าน้องมีโอกาสได้วีซ่า 485 นี้มากกว่าตอนที่คิดว่าจะต้องยื่นวีซ่านักเรียนแน่นอน คนเขียนบอกน้องว่า ไม่คิดนานนะคะ จะทำก็รีบๆทำ เพราะกฏหมายที่ออกมาช่วงโควิด ทยอยยกเลิกไปเยอะแล้ว คนเขียนเชื่อว่าเคส 485 แบบยื่นนอกออสเตรเลียจะหายไปเร็วๆนี้ .... น้องลุย คนเขียนก็ลุย และอย่างรวดเร็ว กลัวกฏหมายจะเปลี่ยนซะก่อน เคสนี้ คนเขียนเลือกที่จะไม่เปิดประเด็นเลยซักประเด็นเดียว แต่เลือกเอกสารอย่างระมัดระวัง และเราวางแผนไว้แล้วว่าถ้าอิมมิเกรชั่นยังมีคำถามเพิ่ม เราจะโต้เถียงยังไง และจะยื่นเอกสารอะไรเพิ่ม รอเรื่องอยู่ 2 เดือนกว่าๆ วีซ่าผ่าน ไม่มีคำถาม ไม่ขออะไรเพิ่ม .... เจอน้องกรี๊ดใส่ หูดับไป 2 วิ หลังจากที่น้องได้วีซ่าไม่กี่วัน กฏหมายเปลี่ยนจริงๆอย่างที่คาดไว้ .... กฏปัจจุบันผู้สมัครหลักวีซ่า 485 ยื่นได้ในออสเตรเลียเท่านั้น กฏหมายด้านอิมมิเกรชั่นเปลี่ยนตลอด .... ถ้าอยู่ออสเตรเลีย หรืออยากมาออสเตรเลีย ตามข่าวด้วย .... ถ้าไม่มั่นใจในความรู้ความสามารถของตัวเอง หา Professional มาช่วยเราค่ะ อย่าลืมว่าไม่มีใครรู้ทุกเรื่อง เก่งทุกเรื่อง Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com "ธุรกิจตั้งใหม่" สำหรับอิมมิเกรชั่นคือ ธุรกิจที่เปิดดำเนินการมาไม่ถึง 1 ปี เคสธุรกิจตั้งใหม่ ที่คนเขียนเพิ่งทำจบไปเร็วๆนี้ คนเขียนกำลังจะยื่นใบสมัครอยู่วันพรุ่งนี้แล้ว น้องลูกความบอกว่าแอบกังวลมากกลัวไม่ผ่าน เคยได้ยินมาว่าธุรกิจต้องดำเนินการมาแล้ว 6 เดือนขึ้นไป แต่เคสของน้องยังดำเนินการมาไม่ถึง 6 เดือน นึกในใจ ...... อ้าว ? ... กังวล ? ... แล้วทำไมไม่คุยกับคนเขียนก่อนหน้านี้ จะก่อนเซ็นสัญญาทำงาน หรือระหว่างทำเคสก็ยังดี มาบอกเอาวันนี้ แล้วพรุ่งนี้จะยื่นใบสมัครเนี่ยะนะ ?? ... แล้วก็จะปล่อยให้คนเขียนยื่นใบสมัคร ทั้งๆที่ตัวเองกังวลเนี่ยะนะ ??? โอ๊ยปวดหัว สิ่งที่พูดออกไป ...... ► ต้องดำเนินการมาแล้ว 6 เดือน ?? .... ไม่จริงค่ะ .... คนเขียนทำเคสที่ ..... ► ธุรกิจเปิดดำเนินการมาได้ 2 วัน ► ธุรกิจเปิดดำเนินการมาได้ 4 อาทิตย์ ► ธุรกิจที่เพิ่งซื้อขายเปลี่ยนเจ้าของกันเสร็จ (ซึ่งถือว่าเป็นธุรกิจตั้งใหม่เช่นกัน ... เคสนี้ไม่ใช่สปอนเซอร์ 482 ด้วย แต่สปอนเซอร์เป็นพีอาร์ 186 กันเลย) ► แต่ละเคส ขึ้นอยู่กับเอกสาร และข้อมูลที่จะนำเสนอค่ะ ► เคสน้อง คนเขียนไม่กังวล (แปลว่าน้องก็ไม่ต้องกังวล) .... เคสนี้ คนเขียนยื่นใบสมัครวันเสาร์ เราทราบผลวันพุธ (3 วันทำการ) สิ่งที่คนเขียนไม่ได้บอกน้องลูกความในวันนั้น ..... ► คนเขียนทำเคสที่ธุรกิจยังไม่ได้เปิดดำเนินการเลยด้วยซ้ำ เรายื่นขอเป็นสปอนเซอร์แล้ว ► ในขณะเดียวกัน คนเขียนก็มีเคสที่ธุรกิจเปิดมาเกินปี ซึ่งถือว่าไม่ใช่ธุรกิจตั้งใหม่แล้ว .... แต่คนเขียนแนะนำให้รอไปก่อน ยังไม่ยื่น เพราะดูภาพรวมแล้ว น่าจะไม่ผ่าน น้องที่เซ็นสัญญาการทำงานกับคนเขียนทุกคน 1. ถ้ากังวล .... ถาม .... และถามโดยเร็ว .... จะได้สบายใจโดยเร็ว .... หรือมีคนเขียนช่วยกังวลไปด้วยอีกคน .... หรือมีคนเขียนช่วยหาทางแก้ปัญหาโดยเร็ว 2. ถ้ากังวล แล้วเก็บไว้ในใจ แล้วคนเขียนจะรู้ไหม .... คนเขียนสามารถหลายอย่าง แต่อ่านใจไม่สามารถนะจ๊ะ 3. คนเขียนไม่สร้างโลกสวยให้ลูกความค่ะ คิดยังไง พูดอย่างงั้น .... ถ้าคิดว่าเคสจะไปไม่รอด จะบอกตั้งแต่ต้นเลยว่าไปไม่รอด .... ถ้าเสี่ยงมาก ก็บอกว่าเสี่ยงมาก .... ถ้าบอกว่าเคสนี้ คนเขียนไม่กังวล ก็แปลว่าไม่กังวล .... อย่างเดียวที่ไม่เคยบอกลูกความ คือเคสนี้ผ่านแน่ๆ .... จะบอกได้ยังไง ไม่ใช่คนตัดสินเคส Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com ▓ ย้ายที่อยู่ เปลี่ยนอีเมล์ ระหว่างรอผลวีซ่า ..... แจ้งอัพเดทข้อมูลกับอิมมิเกรชั่นด้วย ▓ ไม่ได้เปลี่ยนอีเมล์ ? ..... นอกจากเช็ค Inbox แล้ว ..... เช็ค Junk / Spam ด้วย ▓ 2 อาทิตย์ 4 เคส .... ติดต่อมาด้วยปัญหาเดียวกัน ถูกปฏิเสธวีซ่า แต่ทราบเมื่อเลยกำหนดการยื่นอุทธรณ์ไปแล้ว ◙ 1 x เปลี่ยนอีเมล์ แต่ไม่ได้แจ้งอัพเดทอิมมิเกรชั่น ◙ 2 x อีเมล์แจ้งปฏิเสธวีซ่าไปตกอยู่ใน Junk / Spam ◙ 1 x เอเจนต์แจ้งให้ทราบช้า ! ! ▓ ยื่นอุทธรณ์ไม่ทัน ปัญหาใหญ่ .... ถ้าไม่มีเหตุผลที่ดีมากๆและเข้าข้อกฏหมาย หน่วยงานอุทธรณ์ไม่รับพิจารณาเคส และทั้ง 3 เหตุผลที่ลิสไว้ ไม่ใช่เหตุผลที่ดี .... 3 ใน 4 เคสนี้ เป็นเคส PR ด้วย น่าเสียดายมากค่ะ บางเคสเราอาจจะมีทางทำอะไรได้ แต่ชีวิตไม่ง่ายแล้ว ▓ ช่วงนี้ Partner visa ถูกปฏิเสธกันเยอะ อย่าคิดว่า Stage 2 Partner visa ไม่ต้องใช้อะไรมาก ทำเคสแน่นๆไว้ก่อน จะได้ไม่มาเสียใจทีหลัง .... 2 ใน 4 เคสที่ยื่นไม่ทันนี่ก็ Stage 2 Partner visa ค่ะ ถูกปฏิเสธเพราะหลักฐานไม่แน่นพอ แล้วตอนนี้ก็ยื่นอุทธรณ์ไม่ทันอีก .... ปัญหาใหญ่ยังไง นอกจากยื่นอุทธรณ์ไม่ทัน ◙ ยื่นใหม่ในออสเตรเลีย ไม่ได้ ◙ ค่ายื่น $8000+ ◙ ถูกปฏิเสธเพราะไม่เชื่อเรื่องความสัมพันธ์ ไปรอลุ้นอยู่นอกประเทศว่าเคสยื่นใหม่อิมมิเกรชั่นจะเชื่อในความสัมพันธ์หรือไม่ .... ไม่มีวีซ่า ไม่ได้กลับมา ▓ ช่วงนี้อิมมิเกรชั่นเริ่มลงตรวจธุรกิจต่างๆเยอะขึ้น ตามนโยบายใหม่ของรัฐบาล ◙ นายจ้างที่สปอนเซอร์พนักงาน เก็บเอกสารที่ควรจะต้องมีให้เป็นระเบียบหาง่ายๆด้วย ◙ นายจ้างทั้งที่เป็นสปอนเซอร์และไม่ได้เป็น และลูกจ้างทั้งหลาย ทำอะไรไม่ถูกต้องอยู่ แก้ไขด้วย รอให้อิมมิเกรชั่นมาเจอ อาจจะไม่ใช่แค่การตักเตือน นายจ้างอาจจะต้องเสียค่าปรับ ติดบาร์ห้ามสปอนเซอร์ ลูกจ้างอาจจะถูกยกเลิกวีซ่า Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com มีน้องถามมาว่า คำแนะนำฟรี 5 นาที ยังมีอยู่หรือไม่ ตอบ: ข้างล่างเป็นโพสที่เคยลงไว้นานหลายปีแล้ว ทุกอย่างยังเหมือนเดิม ░ ░ ░ ░ ░ ░ ░ ░ ░ ░ ปกติแล้วคนเขียนให้เวลา 5 นาที สำหรับน้องๆที่โทรมาถามคำถามนะคะ เงื่อนไขคือ 1. อะไรตอบได้ ตอบให้เลย 2. ถ้าตอบไม่ได้ เช่น * เป็นเคสที่ต้องดูเอกสาร * ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม * เป็นเคสที่ไม่มีข้อมูลอยู่ในหัว (ใช่ค่ะ คนนะคะไม่ใช่คอมพิวเตอร์ ไม่สามารถจำทุกอย่างได้ และ กฏหมายก็ เปลี่ยนกันอยู่ตลอด ถ้าไม่แน่ใจว่าจะให้คำตอบที่ถูกต้อง คนเขียนไม่ตอบนะคะ) * เคสที่ต้องซักถามและอธิบายกันนานเกิน 5 นาที เคสประมาณนี้ต้องนัดเวลารับคำปรึกษากันเป็นเรื่องเป็นราวนะคะ ซึ่งก็จะมีค่าบริการตามความยากง่าย ความด่วนไม่ด่วนของแต่ละเคส 3. เวลาคนเขียนรับโทรศัพท์ ก็ไม่ได้พูดภาษาไทยนะคะ เพราะคนที่โทรมาอาจจะไม่ใช่คนไทย บางครั้งเป็น อิมมิเกรชั่น หน่วยงานอุทธรณ์ หน่วยงานอื่น หรือลูกความที่ไม่ใช่คนไทย ถ้าคนเขียนจับสำเนียงได้ว่าเป็นคนไทย ก็จะรีบพูดไทยด้วย เพราะฉะนั้นไม่ต้องตกใจจนรีบวาง (ต้องบอก เพราะคนเขียนเจอวางหูใส่อยู่บ่อยๆ ตกใจเพราะเจอ Hello เป็นภาษาอังกฤษ พอรวบรวมกำลังใจได้ ก็โทรมาใหม่ แล้วเราถึงได้คุยกัน) 4. เวลา 5 นาที ไม่เยอะ แต่ก็ไม่น้อยค่ะ คนเขียนรับโทรศัพท์วันละหลายสาย ถ้าให้เวลามากกว่าคนละ 5 นาที (ซึ่งหลายๆครั้งก็เลย) คนเขียนก็จะไม่เหลือเวลาทำงานให้ลูกความ และด้วยความที่ทำงานด้านนี้มานาน คุยกันไม่กี่คำก็ทราบแล้วว่าสามารถตอบได้เลย หรือเป็นเคสที่ต้องดูเอกสารหรือต้องคุยต้องอธิบายกันนาน * คำตอบแค่ทำได้ กับทำไม่ได้ บางครั้งก็มีประโยชน์ บางครั้งก็ไม่ได้ช่วยอะไร * บางทีการตอบสั้นๆว่าทำได้ เป็นการให้ความหวังแบบผิดๆ เพราะเมื่อพิจารณาข้อมูลอื่นที่ก็สำคัญกับการ พิจารณาวีซ่าแล้ว คำตอบว่าทำได้ อาจจะไม่ถูกต้อง * บางทีคำตอบว่าทำไม่ได้ ก็ไม่ถูก เพราะถ้าถามเจาะมาคำถามเดียว อาจจะตอบว่าทำไม่ได้ แต่พอได้ข้อมูล ลึกขึ้น เราอาจจะเจอข้อยกเว้นที่ทำให้ทำเคสได้ 5. จะใช้เวลา 5 นาทีให้เป็นประโยชน์ได้ยังไง ก็ควรจะเรียบเรียงคำถามก่อนโทรมา กระชับ ได้ใจความ ไม่ต้องประหม่า คนเขียนก็คนไทยพูดไทยและชอบกินตำปูปลาร้าเหมือนหลายๆคน ไม่ต้องอารัมภบทเยอะ (ไม่ต้อง Hello กันไปมา ไม่ได้คุยกันซะที ไม่ต้องอ้อมโลก สวัสดีตามมารยาทที่ดีของคนไทยแล้วเข้าประเด็นได้เลย) 6. ขอแค่ไม่หยาบคายคนเขียนยินดีคุยด้วย (ถ้ายุ่งมาก อาจจะขอให้โทรมาใหม่) 7. เสียงดุ???? ทำใจค่ะ เสียงเป็นอย่างงี้เอง 8. รบกวนโทรในเวลาทำงาน จันทร์ - ศุกร์ 9 ถึง 5 ป.ล. น้องๆที่ชอบโทรวันหยุด โทรดึกๆ ไม่รับก็โทรเป็นสิบๆหนจนกว่าจะรับนี่ บอกเลยว่าไม่สำเร็จนะคะ นอกจากไม่รับแล้ว คนเขียนอาจจะบล๊อคเบอร์ไปด้วยเลย Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com วันนี้คนเขียนมาแชร์ประสบการณ์เคสวีซ่า 482 ที่น้องลูกความกังวลเรื่องประสบการณ์ และเรื่องการพ่วงแฟนในใบสมัครเดียวกัน
เคสนี้ น้องนัดปรึกษากับคนเขียนมา 2 รอบในเรื่องของตัวเอง และ 1 รอบในเรื่องของแฟน ก่อนที่จะตัดสินใจลุยงานกัน น้องมีนายจ้างที่ต้องการสปอนเซอร์ แต่น้องมีประสบการณ์ไม่ถึง 2 ปีตามนโยบายของอิมมิเกรชั่น และน้องไม่มีวุฒิการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสายงาน ดูเผินๆเหมือนไม่น่าจะทำได้ น้องไปหาคำปรึกษาจากหลายที่ ได้รับคำแนะนำว่าประสบการณ์ยังไม่ถึงบ้าง ทำไม่ได้บ้าง มาถึงคนเขียน น้องได้รับคำแนะนำให้ 1. สะสมประสบการณ์เพิ่ม คือรอไปก่อน หรือ 2. ใช้ประสบการณ์ที่มีเทียบวุฒิการศึกษา ซึ่งน่าจะช่วยให้น้องยื่น 482 ได้เร็วขึ้น น้องเลือกที่จะเทียบวุฒิการศึกษา และยื่น 482 เลย ก่อนวีซ่าตัวปัจจุบันจะหมด คนเขียนถือว่าเป็นเคสมีความเสี่ยง (แต่คนเขียนไม่กังวลเท่าไหร่ เพราะทำเคสประสบการณ์ไม่ตรง ประสบการณ์ไม่ถึงตามนโยบายของอิมมิเกรชั่นมาก็หลายเคส แต่ทำเคสคนอื่นผ่าน ไม่ได้แปลว่าเคสน้องจะต้องผ่านด้วย โดยสรุปคือจากประสบการณ์และเนื้อหาเคสน้อง คนเขียนว่าน่าจะรอด แต่จะมาให้ความหวัง 100% คงไม่ได้ 1. ไม่ใช่คนตัดสินเคส และ 2. เราไม่หลอกกัน เสี่ยงก็คือเสี่ยง ถ้าอยากจะยื่นเร็วต้องยอมรับสภาพ ถ้าไม่อย่างเสี่ยงก็ทำงานเก็บประสบการณ์ต่อไป) ปัญหาที่คนเขียนกังวลมากกว่าเรื่องประสบการณ์ของน้อง คือการพ่วงแฟนน้อง น้องเป็นคู่เหมือน ไม่ได้แต่งงาน ไม่ได้จดทะเบียนความสัมพันธ์ (และไม่ใช่ทุกรัฐที่รับจดทะเบียนความสัมพันธ์) แฟนน้องเคยอยู่ออสเตรเลียด้วยกัน แต่ตอนนี้ติดอยู่นอกออสเตรเลีย แยกกันอยู่มาเกือบปี พยายามจะกลับเข้ามา แต่มาไม่ได้ ถูกปฏิเสธวีซ่ามาแล้ว 2 รอบ เอกสารหลักฐานความสัมพันธ์มีไม่เยอะ ไม่มี Joint อะไรซักอย่าง ไม่ว่าจะ Joint lease, Joint bank account หรือ Joint bill เรื่องของเรื่องคือต้องคิดว่าจะทำยังไงให้อิมมิเกรชั่นเชื่อว่าสองคนนี้เป็นแฟนกันฉันท์ De facto จริง ไม่ใช่แค่เพื่อนกัน อิมมิเกรชั่นขอเอกสารเพิ่มในเรื่องของความสัมพันธ์ (น้องยังมีถามอีกว่าไม่ขออะไรเพิ่มเรื่องประสบการณ์หรือคะพี่ คือยังกังวลไม่เลิก แต่ไม่มีค่ะ อิมมิเกรชั่น Happy กับเอกสารและการสรุปประเด็นกฏหมายที่คนเขียนทำขึ้นมาเพื่อช่วยน้อง) เอกสารความสัมพันธ์เพิ่มเติม เป็นอะไรที่ต้องคิดเยอะมาก เพราะจริงๆคือเอกสารที่เป็นชิ้นเป็นอันยื่นไปหมดแล้ว ต้องเป็นการทำคำอธิบายแล้ว ณ จุดนี้ .... แต่ทั้งน้องและแฟนเขียนได้ .... ไม่โอเคเลย ..... คือ ... ให้รายละเอียดความสัมพันธ์ไม่พอนะคะ ต้องให้แบบตอบโจทย์ด้วย (การตอบโจทย์ในที่นี้ คือ จะให้รายละเอียดความสัมพันธ์ยังไง ให้อิมมิเกรชั่นสามารถเอาข้อกฏหมายมาปรับเทียบได้ง่ายๆ ว่าควรจะเชื่อดีไหมว่าสองคนนี้มี De facto relationship ต่อกันจริง) หลายคนคิดว่าการทำงานของทนายความ เอเจนต์ ไม่เห็นมีอะไร แค่ส่งต่อเอกสารให้อิมมิเกรชั่น .... คนที่ทำแบบนั้นคงมีจริง แต่คนเขียนบอกเลยว่าทนายความและเอเจนต์ที่ทำงานจริงๆ เนื้องานไม่ใช่การส่งต่อเอกสารเลยค่ะ เนื้องานคือการพิจารณาเอกสารและข้อมูลที่ลูกความให้มา จากนั้นก็คิดว่าจะทำยังไงให้เอกสารและเนื้อหาของเคสเข้าข้อกฏหมายมากที่สุด เพิ่มโอกาสให้ลูกความได้วีซ่ามากที่สุด เคสนี้ ตั้งแต่ต้นจนจบ รวมถึงที่อิมมิเกรชั่นขอเอกสารเพิ่ม ใช้เวลา 5 อาทิตย์ สรุปว่าประสบการณ์ของน้องโอเค และอิมมิเกรชั่นเชื่อในความสัมพันธ์ของน้องและแฟน ในที่สุดสองคนนี้ก็ได้กลับมาอยู่ด้วยกันตามเดิม ~The End~ ป.ล. ไม่รับปากว่าเคสจะต้องผ่าน ไม่ได้แปลว่าจะไม่ทำเต็มที่นะคะ Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com วันนี้คนเขียนมาแชร์ประสบการณ์ ทำเคสเอง ดีใจเอง เผลอๆดีใจมากกว่าลูกความซะอีก เพราะทราบว่าผล Bridging visa ตัวนี้ ให้ประโยชน์ลูกความมากมาย ..... ถ้าน้องจะใช้เวลาให้เป็นประโยชน์
น้องโทรมาถามว่า Bridging visa E (BVE) ใกล้จะหมด ทำยังไงได้บ้าง คนเขียนถามคร่าวๆว่าไปทำอะไร ยังไง ก่อนจะถือ ฺBridging visa E น้องก็ตอบมาแบบงงๆ คนเขียนก็งงๆ ไปกับน้องด้วย เคสน้องค่อนข้างยุ่งเหยิงค่ะ คนเขียนขอไม่ลงรายละเอียด .... แต่ .... สรุปว่าต้องนัด Consultation ค่ะ และก็เป็นไปตามคาด น้องก็บอกตามความเข้าใจ แต่เอกสารมาอีกเรื่องนึงเลย และเอกสารก็มีไม่ครบเพราะทำเองบ้าง เพื่อนช่วยบ้าง เพื่อนของเพื่อนช่วยบ้าง .... สรุปว่า ข้อมูลบางอย่างคนเขียนต้องคาดเดาเอาเอง (จากประสบการณ์) ลูกความ : พี่ ... ทำยังไงได้บ้าง BVE ผมกำลังจะหมด และพาสปอร์ตผมก็หมดอายุไปแล้วด้วย คนเขียน : น้องต่อ BVE ใหม่ได้ค่ะ แต่คิดว่าไม่จำเป็น เพราะเท่าที่ดู เหมือนจะมีความผิดพลาดที่ระบบ คือ ฺBVE ของน้อง ยังไม่ควรจะมีวันหมดอายุ ควรจะโชว์ indefinite .... พาสปอร์ตไม่ใช่ปัญหา ลูกความ : อุ๊ย .... เหรอพี่ .... ผมต่อ BVE ได้อีกใช่ไหม ค่อยโล่งใจหน่อย คนเขียน : ใช่ค่ะ ต่อได้ (ก็เพิ่งบอกไป) .... แต่ไม่ควรต่อ .... ควรจะเถียงกับอิมมิเกรชั่น ให้ BVE ตัวเดิม ยืดอายุออกไปถึงจะถูก คนเขียน : ............ เงียบ ............ (เงียบไป แปลว่าอ่านหรือจด ---- เงียบนี้ คือกำลังอ่านข้อกฏหมายอยู่ และปรับเทียบกับประวัติของน้องลูกความ) คนเขียน : .... อืม .... ดูเอกสารน้องแล้ว เหมือนน้องน่าจะมีสิทธิ์ได้ Bridging visa A (BVA) นะคะ .... แต่เสี่ยงอยู่ เพราะเอกสารตัวที่อยากเห็น และจะใช้อ้างอิง น้องไม่มี แต่จากประสบการณ์ และการนับนิ้ว คิดว่าเคสนี้มีลุ้น เคสนี้คนเขียนต้องนับวันค่ะ .... วันที่ เป็นอะไรที่สำคัญมาก .... จะรอดหรือไม่รอด ขึ้นอยู่วันที่ของ Bridging visa ตัวเดิมที่ลูกความเคยถือ ว่าหมดอายุเมื่อไหร่ (แต่ลูกความไม่มี !!!) Big deal มากนะคะ !!!!! BVA ดีกว่า BVE มากมาย .... ถือ BVA สามารถยื่นขอ BVB เพื่อออกนอกประเทศออสเตรเลียได้ เปิดโอกาสให้ลูกความยื่นวีซ่าตัวอื่นแบบนอกประเทศออสเตรเลียได้ และกลับมารอวีซ่าในประเทศได้ (สำหรับเคส section 48 bar) ในขณะที่ BVE น้องออกไปไหนไม่ได้เลย (คือ ออกได้ แต่กลับเข้ามาไม่ได้) อ่านโพสเกี่ยวกับ Bridging visa ได้ที่นี่ค่ะ คนเขียนให้น้องเลือกเองระหว่าง 1. BVA ค่าบริการสูงกว่า เพราะเคสยากกว่า จะได้รึเปล่าไม่รู้ แต่มีลุ้น กับ 2. BVE ค่าบริการถูกกว่า และได้แน่ๆ ไม่ว่าจะเป็น BVE ตัวเดิมแต่เปลี่ยนจากมีวันหมดอายุ เป็นไม่มีวันหยุดอายุ หรือ BVE ตัวใหม่ ....... ติ๊กต๊อก .... ติ๊กต๊อก ....... น้องตัดสินใจให้คนเขียนลองยื่นขอ BVA ให้ ...... Good decision ค่ะ (คนเขียนอยากลอง เพราะเชื่อว่ามีลุ้น แต่นี่ชีวิตของลูกความ ตังค์ของลูกความ ก็ต้องให้ลูกความตัดสินใจเอง) ........ ปรากฏว่า อิมมิเกรชั่นได้ใบสมัคร BVA วันที่ 13 .... ปฏิเสธ BVA วันนั้นเลย ! ..... แอบผิดหวังไป 10 วิ (ก่อนอ่านคำตัดสิน) คนเขียนคิดว่าถ้าปฏิเสธเพราะเรื่องวันที่ (ที่เราไม่มีเอกสารอ้างอิง แต่อิมมิเกรชั่นมีในระบบ) เราก็ต้องยอมรับผลคำตัดสินนั้น ..... ปรากฏว่าไม่ใช่ค่ะ .... ถูกปฏิเสธเพราะเจ้าหน้าที่อ้างว่าน้องเคยถือ BVE มาแล้ว จะกลับมาถือ BVA ไม่ได้ ! ........ โดยส่วนใหญ่แล้ว .... ใช่ค่ะ .... ถือ ฺBVE แล้ว จะกลับมาถือ BVA ไม่ได้ ..... แต่ .... ไม่เสมอไป เคสนี้คนเขียนไม่คิดตังค์ลูกความเพิ่มด้วย .... แต่ขอ fight หน่อย เคืองใจมาก .... เจ้าหน้าที่ตัดสินแบบไม่ดูข้อกฏหมายได้ยังไง ... คนเขียนส่งอีเมล์ ระบุข้อกฏหมายที่ถูกต้องไปให้อิมมิเกรชั่น และขอให้พิจารณาใหม่ (เราไม่ยื่นใบสมัครใหม่ และเราก็ไม่ยื่นอุทธรณ์ด้วย) คนเขียนบอกน้องว่า BVA ถูกปฏิเสธนะ แต่รอก่อนกำลัง fight ให้อยู่ จะหมู่หรือจ่า เดี๋ยวอีกวันสองวันคงรู้เรื่อง วันนี้ อิมมิเกรชั่นส่ง BVA grant letter มาค่ะ .... ไม่มี condition ใดๆ เรียนได้ ทำงานได้ (ออกนอกประเทศได้ด้วย BVB) ....... ถูกปฏิเสธวันที่ 13 เปลี่ยนเป็น Visa grant ให้วันที่ 15 ..... สรุปว่าอิมมิเกรชั่นยอมรับว่าตัดสินผิด และข้อมูลที่คนเขียนต้องเดาและนับนิ้วจากประสบการณ์ ก็ถูกต้อง และตรงกับข้อมูลในระบบของอิมมิเกรชั่นค่ะ ..... เคสจบไปได้ด้วยดี ..... เย้ ........ ถือวีซ่าผิด ชีวิตเปลี่ยน ..... ........ ตัดสินใจผิด ชีวิตเปลี่ยน .... ฝากไว้ให้คิด บางครั้งโอกาสก็มากับการใช้เวลาขุดคุ้ย และมองลึก อ่านแล้วอ่านอีก ...... VEVO หรือวีซ่าที่ออกให้ ไม่ได้ถูกต้องเสมอไป คำตัดสินของอิมมิเกรชั่นก็ไม่ได้ถูกต้องเสมอไป Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com อดีตลูกความคนนี้ไม่ใช่คนไทย คนเขียนเริ่มทำเคสให้เมื่อ 10 กว่าปีก่อน
ลูกความจำวันหมดอายุของวีซ่านักเรียนผิดวัน .... รู้ตัวอีกที เป็นผีไป 6 เดือนแล้ว คนเขียนใช้เวลาทำ Research หาข้อมูลไปหลายวัน ก่อนจะนัดลูกความคุย Strategy (แผน) การทำงานกัน คนเขียนบอกลูกความว่า Test case นะ ไปเจอช่องโหว่ ... ไม่มีกฏหมายบอกว่าห้ามทำ แปลว่าทำได้ ... ใช่ไหม?? ... ส่วนจะได้วีซ่ากลับมารึเปล่า ไม่ลองไม่รู้ แต่คิดว่าน่าจะรอด ..... ณ จุดนั้น ลูกความไม่มีอะไรจะเสียแล้ว นอกจากเงินและเวลา และยืนยันหนักแน่นว่ายังไงก็ไม่อยากกลับประเทศตัวเอง พ่อแม่ต้องโกรธมากถ้ารู้ว่าอยู่ๆกลายเป็นผี และเรียนไม่จบเพราะจำวันหมดอายุวีซ่าผิด Strategy แรก (แผน 1) ของเรา มี 3 สเต็ป ในระหว่างที่เราเริ่มสเต็ปแรก คนเขียนก็ทำ Research ต่อไปด้วย เผื่อเจอทางที่ดีกว่า และก็เจอทางที่ดีกว่าจริงๆ สเต็ปเดียวจบ (เหมือนเดิม บางทีกฏหมายก็ไม่ได้เขียนไว้ชัดเจนว่าทำได้ แต่ในเมื่อไม่มีตรงไหนบอกว่าห้ามทำ สำหรับคนเขียนแปลว่าทำได้) ...... ถามว่าลูกความโกรธไหม ที่คนเขียนต้องการเปลี่ยนแผนหลังจากเริ่มงานแผนแรกไปแล้ว .... ไม่โกรธค่ะ ดีใจด้วยซ้ำที่คนเขียนหาทางที่ดูมีเปอร์เซ็นมากกว่า ง่ายกว่าและถูกกว่าให้ได้ ...... จริงๆก็ไม่ควรจะโกรธนะ เคสจะทำผีให้เป็นคน (จากคนไม่มีวีซ่าให้มีวีซ่าตัวที่เหมาะสม) ไม่ง่าย ถ้าไม่แคร์ไม่ใส่ใจ ก็คงไม่มานั่งทำ Research ต่อ ทั้งๆที่แผนแรกก็น่าจะเวิร์ค และลูกความก็ตัดสินใจทำแล้ว สรุปว่าเราเปลี่ยนแผนระหว่างทางไปแผน 2 แทน .... คนเขียนต้องทำ Submissions เขียนเอกสารอธิบายข้อกฏหมายให้อิมมิเกรชั่นเข้าใจ ยาว 3 หน้ากระดาษ อิมมิเกรชั่นก็ไม่เข้าใจอยู่ดี ยกหูหาคนเขียนเลย ร่ำๆจะปฏิเสธวีซ่า บอกว่ากฏหมายไม่ได้บอกว่าทำได้นะ .... คนเขียนก็อธิบายไปสิ ทีละสเต็ป อย่างช้าๆ ถามอิมมิเกรชั่นเป็นระยะๆว่าที่อธิบายไปนี้เค้าเห็นด้วยกับคนเขียนไหม สรุปว่าเห็นด้วย ..... อ้าว ถ้าเห็นด้วย ก็ต้องออกวีซ่าให้สิ .... สรุปว่าขอ 10 นาทีเพื่อเช็คกับหัวหน้าอีกรอบก่อน แล้วจะโทรหาคนเขียนใหม่ ..... ครึ่งชั่วโมงผ่านไป ..... ไม่มีโทรศัพท์จากอิมมิเกรชั่น แต่มีอีเมล์แจ้ง Student visa grant letter ..... เย้ 2 ปี ผ่านไป ... ลูกความติดต่อมาต้องการวางแผนทำพีอาร์ .... คนเขียนแนะนำวีซ่าที่เหมาะสม 1 ปี ผ่านไป ... ลูกความติดต่อมา พ่อแม่ให้ใช้เอเจนต์ชาติเดียวกัน และเอเจนต์แนะนำให้ยื่นวีซ่าอีกตัวนึงและตอนนี้ถูกปฏิเสธ เคสอยู่ชั้นอุทธรณ์ AAT .... ขอคำแนะนำต่อว่าควรจะเดินเคสยังไง คนเขียนก็แนะนำค่ะ แต่แอบกังวลว่าเคสจะไปรอดไหม คำแนะนำเป็น Technical: ข้อกฏหมาย และเทคนิคการทำเคสทั้งนั้น คนที่จะเอามาปรับใช้ก็ไม่ใช่คนเขียน แต่เป็นเอเจนต์ที่ลูกความใช้บริการอยู่ (เคสหลายๆเคส เราต้องตัดสินใจกันหน้างาน ตอนปัญหาเกิด ว่าจะยื่นอะไร ยื่นยังไง นำเสนอแบบไหน) 1 ปี ผ่านไป ... ลูกความติดต่อมา เคสยังอยู่ที่ชั้น AAT .... ที่แนะนำไปคราวที่แล้ว ไม่ได้ทำอะไรซักอย่าง [เสียเวลาไป 1 ปี โดยไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย] ... ขอคำแนะนำอีกแล้วว่าควรจะทำยังไงต่อ ... คนเขียนก็แนะนำอีกแล้วค่ะ แต่ในใจเริ่มคิดว่าแล้วว่าที่แนะนำไปนี่จะเวิร์คไหม เพราะเคสยากขึ้นเรื่อยๆ อีก 1 ปีครึ่ง ผ่านไป ... ลูกความแพ้ที่ชั้น AAT .... คนเขียนถามว่าที่แนะนำไป ไม่ได้เอาไปปรับใช้เลยสิ .... ลูกความบอกว่า ... ก็บอกเอเจนต์แล้ว แต่เค้าไม่ทำ .... ขอคำแนะนำอีกแล้ว ... คนเขียนทราบดีว่าลูกความไว้ใจคนเขียน ติดที่พ่อแม่ต้องการให้ใช้เอเจนต์ชาติเดียวกัน แต่ถามว่าลูกความได้อะไรจากการขอคำแนะนำ แนะนำอะไรไป ก็ไม่ได้เอาไปปรับใช้ หรือต่อให้ปรับใช้ก็ไม่ได้เต็มร้อย เพราะคนทำเคสไม่ใช่คนวางแผนงาน ... สรุปว่าได้เวลาต้องปล่อยลูกความไปตามทางแล้วค่ะ Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com โพสนี้จะเป็นโพสถามมา - ตอบไป แบบจิปาถะ คือไม่มีหัวข้อนะคะ เป็นคำถามจากน้องๆที่โทรมา อีเมล์มา และคนเขียนคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆด้วย คนเขียนจะอัพเดทคำถาม - คำตอบเป็นระยะๆ - เรียงลำดับจากใหม่ไปเก่า จากบนลงล่าง โพสนี้ยาวมาก คนเขียนขอจบแค่ June 2020 และตั้งแต่ July 2020 จะเป็นโพส Q & A สั้นๆแทนนะคะ 11/06/2020 Q: ถ้าไม่เป็นการรบกวนเกินไปขอสอบถามเล็กน้อยเกี่ยวกับ186ได้ไหมครับ? 1. ผมทำเรื่องยื่น 457 เมื่อ 3/18 granted 10/18 ในเวลานั้นนายจ้างทำ Benchmark ให้ผมและกฎ Benchmark ก็ถูกยกเลิกไป ผมอยากสอบถามว่านายจ้างต้องจ่าย Training Nominate ต่อทุกปีไหมครับในขณะที่ยังคง sponsor 457 ผมอยู่เวลานี้เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย 2. จริงๆแล้ว วีซ่า186 ที่ต้องทำหลังจาก 457 นี่ จำเป็นที่จะต้องทำskill assessmentไหมครับ? 3. sponsor visa 457 สามารถเปลี่ยนนายจ้างระหว่างถือวีซ่าได้ไหมครับ? จะมีผลกับการทำวีซ่า186หรือเปล่า แล้วระหว่างถือวีซ่า186 สามารถเปลี่ยนนายจ้างได้ไหมครับ? อีกอย่างคือ ถ้าหากผมย้ายนายจ้างระหว่างที่ถือ457อยู่ จะต้องนับปีใหม่ไหมครับ? หรือว่าแค่ให้โดยรวมครบ3ปีก็มาสามารถทำ186ได้เลย A: นี่เรียกว่าถามเล็กน้อยเหรอคะ ... ล้อเล่นค่ะ ยินดีตอบ จริงๆคนเขียนจำน้องได้ เพราะฉะนั้นดีใจด้วยที่ได้วีซ่ามาในที่สุด และฝากสวัสดีคุณแม่ด้วยนะคะ 1. ไม่ต้องค่ะ 2. ไม่ต้องค่ะ (แต่อิมมิเกรชั่นมีสิทธิ์ขอให้ทำ) 3. ถือ 457 อยู่ก็เปลี่ยนนายจ้างได้ นายจ้างใหม่ต้องมี Approved Nomination ก่อน น้องถึงจะเริ่มงานกับนายจ้างใหม่ได้ ถ้าเปลี่ยนนายจ้าง ปกติก็ต้องเริ่มนับ 3 ปีใหม่ค่ะ ถ้าเปลี่ยนนายจ้างเพราะบริษัทถูก take over หรือเปลี่ยน structure ของธุรกิจ ต้องเอาเคสมาดู อาจจะไม่ต้องเริ่มนับ 3 ปีใหม่ (คนเขียนทำมาแล้ว ผ่านไปได้ด้วยดี แบบเหนื่อยๆ) ถือ 186 เปลี่ยนนายจ้างได้ไหม? คำถามยอดฮิต - 186/187 สั้นๆคือวีซ่าที่ต้องทำงานกับนายจ้างอย่างน้อย 2 ปี หลังจาก 2 ปีก็ตามสบายค่ะ (ในส่วนของอิมมิเกรชั่น) แต่ในส่วนของกฏหมายแรงงานน้องก็ต้องดูว่าสัญญาจ้างงานกำหนดไว้ว่ายังไงด้วยนะคะ - วีซ่า 187 มีเงื่อนไขติดมากับวีซ่าที่อิมมิเกรชั่นสามารถยกเลิกวีซ่าได้ถ้าไม่ทำงานกับนายจ้าง ส่วน 186 ไม่มีเงื่อนไขนั้น - แต่อิมมิเกรชั่นก็ใช้กฏหมายข้ออื่นมายกเลิกวีซ่าได้ (ุถ้าจะทำ) ส่วนใหญ่จะเป็นกรณีที่เห็นได้ชัดว่าไม่ได้มีความตั้งใจที่จะทำงานกับนายจ้างอยู่แล้ว และเคส 186 ที่ถูกยกเลิกก็มีมาหลายปีแล้วนะคะ - ถ้ามีเหตุผลสมควรในการต้องเปลี่ยนนายจ้างก็จัดไปค่ะ ถ้าวีซ่าจะถูกยกเลิก ก็เอาเหตุผลไปอธิบายให้อิมมิเกชั่นฟัง เช่นถูกไล่ออก หรือนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างตามที่ตกลงกัน เป็นต้น - ถ้าอึดอัดกับนายจ้าง ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Skilled Visas ดูสิคะ มีหลายตัวเลย และอาชีพของน้องก็อยู่ใน Medium & Long term list (MLTSSL) ด้วย นับ points และต้องทำ skills assessment นะคะ Q: ไม่ทราบว่าพี่รับเขียน Story สำหรับ Protection visa ไหมครับ A: ไม่รับค่ะ ไม่รับสร้างเรื่องที่ไม่เป็นความจริง คนเขียนทราบมาว่าบางคนคิดค่าบริการทำ Protection visa ให้น้องๆกันเป็นหมื่นเหรียญ บางคนก็หลายหมื่นเหรียญด้วยซ้ำ บอกแล้วบอกอีก บอกตรงนี้อีกรอบ คนไทยที่ได้ Protection visa มีน้อยมากๆ เคสคนไทยส่วนใหญ่ น้องเอาเงินไปทิ้งกับวีซ่าที่ตัวเองไม่มีโอกาสได้ แค่ซื้อเวลาเพื่อจะอยู่ที่ออสเตรเลีย พอเจอวีซ่าที่ต้องการยื่นจริงๆ เจ้า Protection visa ที่น้องเคยยื่นก็อาจจะมาสร้างปัญหาให้กับวีซ่าตัวใหม่ได้ เอาเงินนี้ไปยื่นวีซ่า (และถ้าจำเป็นก็ยื่นอุทธรณ์) กับวีซ่าที่เราน่าจะมีโอกาสได้ดีกว่านะคะ อย่าถูกหลอก หาข้อมูลเยอะๆ 4/06/2020 Q: เรียนจบป.โท ในสาขา environmental engineering at xxx University และกำลังจะเรียนจบป.เอก สาขาเดียวกันและที่เดียวกันในเดือนกันยายนนี้ มีคะแนน IELTs ของเก่า band 6 ไม่เคยขอวีซ่าของออสเตรเลีย สุขภาพแข็งแรงดี สามารถขอวีซ่า Skilled—Recognised Graduate visa ได้ไหม จำเป็นไหมที่ต้องเรียนจบในออสเตรเลีย หรือมีวีซ่าอื่นที่จะแนะนำไหม A: จริงๆแล้วน้องถามมาอย่างสุภาพมากนะคะ คนเขียนตัดบางประโยคออกตามความเหมาะสม ไม่จำเป็นต้องจบที่ออสเตรเลียค่ะ แต่ต้องจบจากสถานศึกษาและคอร์สที่ Accredited under the Washington Accord หรือที่ระบุไว้ในนี้ อายุและผลภาษาอังกฤษของน้องเข้าเงื่อนไขวีซ่านี้ แต่จากที่คนเขียนเช็คให้คร่าวๆ มหาวิทยาลัยและคอร์สของน้องเหมือนจะไม่อยู่ในลิสสำหรับวีซ่านี้ (คนเขียนส่งลิงค์สำหรับประเทศที่น้องเรียนให้แล้วทางอีเมล์) เพื่อให้แน่ใจน้องลองเช็คเองอีกครั้งจากลิงค์ที่ให้ไว้ในนี้และทางอีเมล์นะคะ เชื่อว่าน้องจะหาข้อมูลที่ต้องการได้ค่ะ ถ้าต้องการให้คนเขียนดูให้ลึกกว่านี้หรือหาทางเลือกอื่นที่อาจจะมี รบกวนนัดปรึกษา ส่งเอกสารการศึกษาและ CV/Resume เป็นเคสที่ต้องใช้เวลาในการพิจารณาและคุยกันค่ะ ป.ล. โพสนี้ ถามถึง Subclass 476 Skilled—Recognised Graduate visa เป็นวีซ่าชั่วคราว 18 เดือนสำหรับคนจบด้าน Engineering โดยเฉพาะเลยค่ะ ซึ่งบางคนก็สามารถต่อยอดไปเป็นพีอาร์ได้ เป็นวีซ่าที่น่าสนใจค่ะ Q: สวัสดีค่ะ..เพิ่งอ่านเจอครั้งแรกค่ะ..ขอบคุณมากๆค่ะ..ที่มีเพจแบบนี้มาแบ่งปันความรู้..ขอสอบถามค่ะ.. ตอนนี้ได้วีซ่าถือ.. TR..อยู่ที่ออสค่ะ และอีก5เดือนหน้าจะครบ2ปีค่ะ..ต้องจะยื่นวีซ่าติดตามลูกชายอายุ20..แต่เราไม่มีตังจ่ายให้ทางเอเจ้น..ติดช่วงโควิด สถานะการเงินได้แค่พยุงตัวตอนนี้..ก็เลยตั้งใจจะทำเอกสารเองค่ะ..อยากสอบถามว่า..เราต้องเริ่มต้นเตรียมเอกสารอย่างไรค่ะ และเราต้องเข้าไปตรวจสอบสถานะในอิมเพื่อเปลื่ยนแปลงอีเมล..ให้อิมสามารถติดต่อเราทางอีเมลหรือป่าวค่ะ..เพราะตอนยื่นวีซ่า309 เอเจ้นเป็นฝ่ายที่ยื่นให้ค่ะ ขอบคุณมากๆค่ะ A: ขอบคุณที่อ่านเพจค่ะ เริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจวีซ่าที่ต้องการจะสมัคร ลองอ่านรายละเอียดของ Subclass 445 Dependent Child visa ดูนะคะ ลูกอายุ 20 แล้ว ต้องพิสูจน์ว่ายังพึ่งพาเราทางด้านการเงิน บางเคสก็ตรงไปตรงมา บางเคสก็น่าปวดหัว เมื่อลูกได้วีซ่านี้ ก็ทำเรื่องแจ้งอิมมิเกรชั่นขอเพิ่มลูกใน Partner visa ของเรา ต้องทำให้เรียบร้อยก่อนพีอาร์ Subclass 100 Permanent Partner visa ออกนะคะ ถ้าพีอาร์ออกก่อน ลูกก็ต้องหาวีซ่าอื่นยื่นแล้วค่ะ ส่วนของ Partner visa เช็คใน Application form ตอนยื่นวีซ่า 309 ในหัวข้อการติดต่อสำหรับ "Second stage permanent visa" ว่าที่ใส่ไปเป็นอีเมล์ของตัวเองหรือของเอเจนต์ ถ้าเป็นอีเมล์ของเอเจนต์ และต้องการเปลี่ยนเป็นอีเมล์ของตัวเอง ก็ต้องแจ้งเปลี่ยนกับอิมมิเกรชั่นค่ะ 21/05/2020 Q: ผมอยากทราบเรื่องการโทรติดต่อในกรณีที่ผมตัดสินใจให้พี่ทำเคสให้ ผมโทรหาได้กี่ครั้ง และถ้าโทรบ่อยจะมีค่าบริการเพิ่มไหม ต้องนัดล่วงหน้าไหม A: ไม่ใช่ครั้งแรกที่เจอคำถามนี้ คนเขียนชอบลูกความที่ proactive และใส่ใจเคสตัวเอง เพราะฉะนั้นจะโทรกี่ครั้งก็ได้ค่ะ ถ้าถามคำถามแล้วน้องสบายใจขึ้น เข้าใจเคสตัวเองได้มากขึ้น ส่งเอกสารให้คนเขียนได้ตรงประเด็นมากขึ้น ยินดีรับโทรศัพท์อย่างมาก ไม่คิดค่าบริการเพิ่ม และไม่ต้องนัดล่วงหน้า 20/05/2020 Q: พี่คะ หนูอ่านเจอโพสของพี่ที่ให้เวลา 5 นาที สำหรับโทรถามคำถาม ไม่ทราบว่าหนูต้องนัดล่วงหน้าไหมคะ A: ขอบคุณสำหรับความเกรงใจ แต่ไม่ต้องนัดล่วงหน้าค่ะ ป.ล. น้องหมายถึงโพสนี้ของคนเขียน สำหรับน้องๆ = สะดวกก็โทร (หรือโทรใหม่) | สำหรับคนเขียน = สะดวกก็รับ (หรือโทรกลับ) Q: วีซ่านักเรียนกำลังจะหมดเดือนหน้า ไม่ต้องการเรียนต่อ และต้องการจะกลับไทย แต่ยังไม่มีตั๋วกลับ ขอวีซ่าท่องเที่ยวได้ไหมคะ A: สถานะการณ์ปกติอาจจะยากหน่อย สถานะการณ์ COVID-19 ตอนนี้มีความเป็นไปได้ค่ะ อย่าลืมเขียนคำอธิบายว่าทำไมถึงขอวีซ่านี้ประกอบไปด้วยนะคะ หรืออาจจะลองเช็ควีซ่า 408 เทียบกันดูนะคะ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่มีความเป็นไปได้ เมื่อยื่นใบสมัครแล้วก็จะได้ Bridging visa มาค่ะ คืออยู่ต่อได้อย่างไม่ผิดกฏหมายในระหว่างรอการพิจารณาและรอตั๋วกลับไทย 19/05/2020 Q: ยื่น Partner visa ก่อนวีซ่าท่องเที่ยวจะหมด นี่วีซ่าท่องเที่ยวหมดไปหลายวันแล้ว แต่อิมมิเกรชั่นยังไม่ส่งเอกสารแจ้งเรื่อง Bridging visa มาเลย ต้องทำยังไงดีคะ และ Partner visa ที่ยื่นไปคือทำกันเอง ยื่นเอกสารแค่ไม่กี่อย่าง ยังไม่ได้ยื่นเอกสารความสัมพันธ์เลยค่ะ A: ถ้ายื่น Partner visa ก่อนวีซ่าท่องเที่ยวหมด โดยปกติน้องก็จะได้รับ Acknowledgement letter & Bridging visa grant letter นะคะ พอวีซ่าท่องเที่ยวหมด น้องก็ถือ Bridging visa โดยอัตโนมัติ อิมมิเกรชั่นจะไม่ส่งเอกสาร Bridging visa มาให้อีกรอบ วิธีเช็ค 1. หาอีเมล์ Bridging visa grant letter (ส่วนใหญ่จะมาวันที่เรายื่น Partner visa หรือวันถัดไป) 2. เช็ค VEVO ซึ่งควรจะขึ้นว่าตอนนี้น้องถือวีซ่า Subclass 010 - Bridging visa A 3. ถ้าหา Bridging visa grant letter ไม่เจอ หรือ VEVO ขึ้น Error แถบแดง โทรกลับมาหาคนเขียนใหม่ค่ะ ต้องมาดูแล้วว่าทำอะไรพลาด และปัญหาอยู่ตรงไหน เอกสารความสัมพันธ์ก็ทยอยยื่นเข้าไปค่ะ ไม่ต้องรออิมมิเกรชั่นขอก่อนแล้วค่อยยื่น Q: สวัสดีค่ะ ขอรบกวนค่ะ ดิฉันถูกปฏิเสธวีซ่า 186 และยื่นอุทธรณ์ไป นี่รอมา 2 ปีกว่าแล้ว เอเจ้นที่ใช้บริการบอกว่ายังไม่มีความคืบหน้า ควรทำยังไงดีคะ A: ไม่ทำยังไงค่ะ รอต่อไป เดี๋ยวก็ถึงคิวเรา AAT ก็ทำตามนโยบาย COVID-19 ของรัฐบาล และพยายามทำ Hearing ที่ทำได้ทางโทรศัพท์และก็ทาง Video Conference เคสต่างๆก็ต้องมีความล่าช้ามากขึ้นเป็นธรรมดา คนเขียนก็มีหลายเคสในมือที่ใกล้ 2 ปี และ 2ปี+ 10/05/2020 Q: สวัสดีค่ะพี่เก๋ พอดีหนูไปคุยกับทนายคนนึง หนูมีแฟนที่คบกันมา 4 ปีแล้ว กำลังเก็บเงินจะยื่นวีซ่าพาร์เนอร์ แต่วีซ่านักเรียนดันมาถูกยกเลิกเสียก่อน ทนายบอกว่าหนูยื่นวีซ่าพาร์เนอร์ในออสไม่ได้แล้ว เพราะหนูถูกยกเลิกวีซ่านักเรียน ก็จะติด section 48 ห้ามยื่นที่ออส ไม่มีข้อยกเว้นใดๆทั้งสิ้น นี่หนูก็ถอดใจแล้วว่าต้องกลับไปยื่นที่ไทย แต่พอดีเพิ่งได้อ่านโพสของพี่ว่ายื่นได้ ทำไมเค้าถึงแนะนำว่ายื่นไม่ได้ละคะ A: แล้วคนเขียนจะทราบไหม ไม่ได้เข้าไปนั่งฟังด้วยนิ น้องก็ไปถามคนที่ให้คำแนะนำสิคะ โอเค ไม่กวนแล้ว ตอบจริงๆก็ได้ ........................................ ถ้าแนะนำว่ายื่นที่ไทยจะได้วีซ่าง่ายกว่า อันนี้เป็นไปได้ และส่วนใหญ่ก็ใช่ซะด้วย แต่ถ้าแนะนำว่าเคส Section 48 ยื่นที่ออสเตรเลียไม่ได้ ต้องกลับไปยื่นที่ไทยเท่านั้น อันนี้ไม่ใช่แล้ว (ยืนยัน เพราะทำเคส Section 48 ยื่นที่ออสเตรเลียมาหลายเคสแล้ว) เคสติด Section 48 แล้วกลับไปยื่นที่ไทย ก็คือเคส Partner visa แบบปกตินั่นแหละค่ะ เพราะ Section 48 ไม่ได้มีผลอะไรกับการยื่นแบบนอกประเทศออสเตรเลีย และเอาตรงๆมันง่ายกว่าสำหรับคนทำงานด้วย แต่พอเป็นเคส Section 48 ยื่นในออสเตรเลียปุ๊บ กลายเป็นเคสยากขึ้นมาเลย เอเจนต์บางคนก็ไม่อยากทำเคสแบบนี้ เครียดกว่า ใช้เวลาการทำงานเยอะกว่า ต้องละเอียด ต้องทำ Research ต้องทำ Submission นำเสนอเคสให้ลูกความ ความเสี่ยงก็สูงกว่า ...... แต่ถ้าบอกลูกความว่าทำไม่ได้ เพราะตัวเองไม่อยากทำ คนเขียนว่าไม่แฟร์นะ ชีวิตของน้อง น้องต้องมีสิทธิ์เลือก บางเคสก็ชัดเจนนะคะว่าถ้ายื่นที่ออสเตรเลียคือไม่ผ่าน ก็ต้องแนะนำให้ยื่นที่ไทย; บางเคสก็มีลุ้นค่ะ เคสแบบนี้คนเขียนจะให้ข้อดีข้อเสียของการยื่นที่ไทย vs ยื่นที่ออสเตรเลีย รับได้แบบไหน บอกมาคนเขียนจัดให้; บางเคส เมื่อเอาปัจจัยหลายๆอย่างมาพิจารณาประกอบกันแล้ว (Strategically) เสี่ยงยื่นที่ออสเตรเลียดีกว่าและให้ประโยชน์มากกว่า หรือบางเคสออกไปแล้วอาจจะไปแล้วไปลับไม่กลับมา What?!!!! .... ใช่แล้ว .... เพราะฉะนั้นไม่ใช่ทุกเคสที่ควรจะกลับไปยื่นที่ไทย .... สงสัยว่าทำไมช่วงนี้มีคนถามประเด็น Section 48 กับ Partner visa มาเยอะมาก อาจจะเพราะสถานการณ์ COVID-19 รึเปล่า ถ้ายังไม่เข้าใจก็ย้อนกลับไปอ่านโพส Partner visa เก่าๆของคนเขียนด้วย หรือจะโทรมาใช้บริการ 5 นาที Free Advice ก็ได้ (แต่บอกตามตรงว่าเคส Section 48 และต้องการจะยื่นที่ออสเตรเลีย 5 นาทีไม่พอ เคสแบบนี้โทรมาคุยกันเบื้องต้นและนัดทำคอนซัลค่ะ) 7/05/2020 Q: สวัสดีค่ะ จะรบกวนสอบถามค่ะ คือถือ 457 แล้วเราลาออกจากร้าน แต่ยังหานายจ้างใหม่ไม่ได้ แล้วระยะเวลาจากวันที่ลาออกจนตอนนี้ก็เกิน 60 วัน แต่เช็คใน vevo ก็ขึ้นว่า in Effect อยู่ แต่ไม่ขึ้นหมายเลข reference ของนายจ้าง แล้วก็ไม่ได้รับการติดต่อจากทนายหรืออิมมิเกรชั่นเรื่องโดนยกเลิกวีซ่า อย่างนี้ถือว่าวีซ่าถูกยกเลิกหรือยังคะ A: ถ้าเช็คใน VEVO แล้ว ยังขึ้นว่าถือ 457 อยู่ ก็คือยังไม่ถูกยกเลิกค่ะ ถ้าถูกยกเลิก หรือไม่มีวีซ่า VEVO ก็จะไม่ขึ้นเลขวีซ่านะคะ จะขึ้นแถบแดงว่ามี Error เกิดขึ้น ก่อนจะตกใจว่าเราไม่ถือวีซ่าแล้ว เช็คก่อนว่าพิมพ์ข้อมูลส่วนตัวถูกต้องหรือไม่ พิมพ์วันเกิดหรือพาสปอร์ตผิดก็ขึ้น Error นะคะ สำหรับน้อง เกิน 60 วันแล้ว ถ้าหานายจ้างได้ต้องรีบยื่นเอกสาร ถ้าหาไม่ได้ ก็ควรจะต้องสมัครวีซ่าอื่นที่เหมาะสม หรือเดินทางออกจากประเทศออสเตรเลียนะคะ 6/05/2020 Q: ขอสอบถามค่ะ คือวีซ่านักเรียนถูกยกเลิก และตอนนี้ไม่มีวีซ่า แต่มีแฟนที่เป็นพีอาร์น่ะค่ะ พอดีอ่านเจอจากเวปอื่นว่ายื่น Partner visa ในออสเตรเลียไม่ได้ เพราะติดบาร์ section 48 แต่อยากลองสอบถามให้แน่ใจว่ายื่นไม่ได้จริงๆ เพราะตอนนี้ก็มี Covid และก็ไม่อยากแยกกันกับแฟน A: ยื่นได้ค่ะ จะติด Section 48 บาร์ จากการถูกปฏิเสธ หรือถูกยกเลิกวีซ่า หรือจะ Overstay วีซ่า ก็สามารถยื่น Partner visa ในประเทศออสเตรเลียได้ค่ะ แต่โน๊ตนะคะว่ายื่นได้ ไม่ได้แปลว่าจะได้วีซ่าเสมอไปนะคะ เป็นเคสที่ต้องคุยกันยาวค่ะ และต้องยอมรับความเสี่ยงได้ ลักษณะการยื่น และเงื่อนไขการได้วีซ่าสำหรับเคส Section 48 หรือเคส Overstay ค่อนข้างซับซ้อน คือต้องมีการพิจารณาว่าเคสมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ไม่ง่าย แต่เคสที่ผ่านมาแล้วก็เยอะค่ะ เคสแชร์ประสบการณ์ Partner visa และเคส Partner visa ที่คนเขียนกล่าวถึงในโพสนี้ หรือโพสอื่นๆ ที่ลูกความได้วีซ่า ส่วนใหญ่ก็เป็นเคสเคยถูกยกเลิกวีซ่ามาก่อนนะคะ ไม่ใช่แค่ Overstay เฉยๆ เพียงแต่คนเขียนใช้คำว่าเคสไม่ถือวีซ่า เพราะตอนยื่นลูกความไม่ถือวีซ่าเท่านั้นเอง (การไม่ถือวีซ่า ก็มีที่มาแตกต่างกันไป) เคส Partner visa ที่คนเขียนทำ มีทั้งเคสถือวีซ่าปกติ เคสถือวีซ่าติดปัญหาอื่นเช่น Health / Character / Sponsor ที่เคยสปอนเซอร์มาก่อนหรือสปอนเซอร์เกิน 2 คนแล้ว เคสวีซ่าขาด เคสถูกปฏิเสธวีซ่า เคสวีซ่าถูกยกเลิก รวมถึงเคสยำใหญ่ (ปัญหาหลายๆอย่างมารวมกัน เหนื่อยแต่สนุก ลูกความคงไม่สนุกด้วย แต่อย่างน้อยคนเขียนก็รับทำเคสละกัน) 15/04/2020 Q: เอกสาร police checks ต้องยื่นพร้อมสมัคร หรือ ต้องรอทางอิมขอมาคะ เห็นบางคนต้องขอ 2 รอบ เนื่องจากสถาณะการณ์โควิค 19 ทุกอย่างเลยด่วนและฉับพลันค่ะ จึงพยายามหาเอกสารเพื่อทำ visa partner ถ้าเอกสารความสัมพันธ์มีน้อย หาเพิ่มหลังจากอิมขอมาได้ไหมคะ A: สำหรับ Partner visa เอกสาร Police checks ยื่นตามหลังได้ค่ะ จะรออิมมิเกรชั่นขอ หรือไม่รอก็ได้ ถ้าผู้สมัครหรือสปอนเซอร์มีประวัติคดีอาญาหรือคิดว่าอาจจะมี ควรหาคำแนะนำที่ถูกต้องก่อนการยื่นใบสมัคร และถ้าเป็นไปได้ควรมี Police checks ก่อนยื่นนะคะ เอกสารความสัมพันธ์สามารถยื่นเพิ่มเติมระหว่างรอการพิจารณาได้ค่ะ ไม่ต้องรออิมมิเกรชั่นขอนะคะ เพราะอิมมิเกรชั่นอาจจะปฏิเสธเลยโดยไม่ขอเอกสารความสัมพันธ์เพิ่มเติม (ถ้าตอนพิจารณาเคส เอกสารพิสูจน์ความสัมพันธ์ยังไม่เพียงพอ) 25/02/2020 Q: รบกวนสอบถามเรื่องผลไอเอลค่ะ ตอนนี้ถือ 457 อยู่ กำลังจะหมดมิถุนานี้ (ได้ 457 ก่อนกฏเปลี่ยน 18 Apr 2017) สอบไอเอลไม่ได้สักทีค่ะ และคิดว่าคงได้ไม่ทัน คิดว่าจะ ต่อ 482 ดีหรือไม่ รบกวนสอบถามว่า 457 ผลไอเอลต้อง 6 ทุก Part แต่ถ้าเปลี่ยนเป็น 482 ตามที่.... (??? ตามที่อะไรดีคะ น้องถามไม่จบ.... คาดว่าจะถามว่า 482 ต้องใช้ผลไอเอลเท่าไหร่) A: ในกรณีนี้คิดว่าจะต่อ 482 ถ้าเป็นอาชีพที่อยู่ใน Short term list ระวังเรื่อง Genuine Temporary Entry (GTE) ด้วยนะคะ 457 ในอดีตไม่ได้ต้องการ IELTS 6 ทุก Part นะคะ เข้าใจผิดหรือพิมพ์ผิดไม่แน่ใจ 482 Short term stream ใช้ผล IELTS 4.5 ทุก Part และ Overall 5 482 Medium term stream ใช้ผล IELTS 5 ทุก Part นอกจาก IELTS แล้ว ผลสอบ TOFEL iBT, PTE Academic, Cambridge C1 Advanced test และ OET ก็ใช้ได้ค่ะ 482 ยังใช้ผลการเรียนเป็นภาษาอังกฤษ 5 ปีในระดับ Secondary or Higher education เป็นข้อยกเว้นภาษาอังกฤษได้นะคะ 5/02/2020 Q: แฟนเป็นชาวนิวซีแลนด์ เค้าต้องการจะยื่น PR ที่นี่ ทำงานเป็น sous chef at cafe Sydney แฟนมี cert 3 certificate for commercial cookery รายได้แฟน $53900 3 ปีย้อนหลัง สามารถยื่นวีซ่าได้ไหมค่ะ A: ยังไม่ได้ค่ะ ต้องพิสูจน์ว่ามี Taxable income เท่ากับหรือมากกว่า Income threshold 4 ปีก่อนการยื่นใบสมัคร (ซึ่ง Income threshold = $53,900 ตั้งแต่ปี 2013-14 แต่ในอนาคตอาจจะไม่ใช่เรทนี้) ใครสงสัยว่าคำถามนี้หมายถึงวีซ่าตัวไหน คำตอบคือ วีซ่า 189 New Zealand Stream 12/11/2019 Q: ตอนนี้ถือวีซ่า 482 (Temporary Skill Shortage) แต่บาดเจ็บและจะต้องรักษาตัวนานเกิน 60 วัน กังวลว่าจะถูกยกเลิกวีซ่าเพราะอิมมิเกรชั่นมีเงื่อนไขว่าห้ามหยุดงานเกิน 60 วัน A: ห้ามหยุดงานเกิน 60 วันที่น้องพูดถึง คือเงื่อนไข 8607 ซึ่งติดมากับวีซ่า 482 (เฉพาะคนถือวีซ่าหลัก) ซึ่งไม่ได้หมายถึงหยุดงานเพราะป่วยนะคะ Keywords ของเงื่อนไข 8607 คือ "cease employment" ซึ่งหมายถึงการหมดสถานะการเป็นลูกจ้าง เช่นการถูกเลิกจ้าง หรือการลาออกจากงาน ซึ่งคนถือวีซ่านี้จะต้องหานายจ้างใหม่ที่พร้อมจะสปอนเซอร์เราภายใน 60 วัน การลาป่วยไม่ใช่ cease employment คือน้องไม่ได้หมดสถานะการเป็นลูกจ้าง เพราะฉะนั้นไม่ได้ทำผิดเงื่อนไข 8607 นะคะ แต่ถ้าลาป่วยนานจนถูกเลิกจ้าง อันนี้อีกเรื่องนึง (ก็เริ่มนับ 60 วันได้เลยค่ะ) 18/03/2019 Q: วีซ่านักเรียนขาดมาได้ 3 วันแล้ว ไม่ทราบว่าจะยื่นใบสมัครวีซ่านักเรียนตัวใหม่ในประเทศออสเตรเลียได้หรือไม่ A: ยื่นได้ค่ะ ถ้ายื่นไม่เกิน 28 วันหลังวีซ่านักเรียนเดิมหมดอายุ แต่ทำได้แค่หนเดียวเท่านั้นนะคะ ถ้าเคยได้วีซ่านักเรียนจากการยื่นหลังจากที่วีซ่านักเรียนเดิมหมดอายุมาแล้ว ก็หมดสิทธิ์ค่ะ ป.ล. ยื่นได้ คืออิมมิเกรชั่นสามารถรับเรื่องได้ ...... แต่ยื่นได้ ไม่ได้แปลว่าจะได้วีซ่านะคะ มันคนละเรื่องกัน เช่น ถ้าอิมมิเกรชั่นเห็นว่าไม่ได้มีความตั้งใจที่จะเป็นนักเรียนจริงๆ ก็สามารถปฏิเสธวีซ่าได้ค่ะ 21/02/2019 Q: มีเรื่องอยากจะรบกวนปรึกษาเรื่องวีซ่า 407 ค่ะ เมื่อปี 2017 เคยยื่นวีซ่า นร ของออสเตรเลียจากประเทศไทย แต่ไม่ผ่านค่ะ เลยไปเรียนโทที่ประเทศอื่นแทน จะเรียนจบปีนี้ค่ะ หลังจากเรียนจบมีความสนใจอยากจะยื่นเทรนนิ่งวีซ่า 407 ค่ะ ได้เข้าไปอ่านในเว็บไซต์ของอิมมิเกรชั่นออสเตรเลียแล้วมีข้อสงสัยตรงนี้ค่ะ ข้อความตรงนี้คือ หมายถึงคนที่เคยโดนปฏิเสธวีซ่าจากการยื่นภายในประเทศออสเตรเลียห้ามสมัครวีซ่าตัวนี้ถูกไหมคะ A: ข้อความที่ตัดมาให้อ่าน คือมีหลายปัจจัยด้วยกันที่ประวัติการถูกยกเลิกหรือถูกปฏิเสธวีซ่า จะมีผลกับการยื่นวีซ่าครั้งต่อไป ถ้าให้อธิบายทุกแบบคงยาวมาก คนเขียนคงต้องหาเวลาเขียนเป็นโพสเลย ยังไงลองอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจากลิงค์ Check if visa cancellation affects your eligibility นะคะ ถ้าประวัติของน้องมีอยู่เท่าที่ให้มา คือเคยมีการถูกปฏิเสธวีซ่านักเรียนที่ยื่นที่ไทยหนึ่งครั้ง (ไม่มีอะไรนอกเหนือ) ถ้าสาเหตุการถูกปฏิเสธไม่ได้มาจากการยื่นเอกสารปลอมหรือให้ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง ก็ไม่น่าจะติดข้อห้ามอะไรในการยื่นวีซ่าตัวถัดไป ถ้ามีประวัติมากกว่านี้ เช่นเคยอยู่เป็นผี overstayed visa มาก่อน เคยถูกยกเลิกวีซ่า ก็อาจจะมีปัญหาในการยื่นวีซ่าตัวถัดไปค่ะ 17/02/2019 Q: อยากเรียนปรึกษาค่ะคือว่าช่วงเมษาที่ผ่านมาลูกชายไปเยี่ยมพี่สาวไปออสเตเลียด้วยวีซ่าท่องเที่ยวแล้วพี่สาวแกให้เรียนภาษาที่นั่นและอยากให้น้องเรียนต่อป.ตรีจึงขอวีซ่านักเรียนให้น้องชายแต่กว่าเอกสารต่างๆจะครบและยื่นขอ ทำให้วันของวีซ่าท่องเที่ยวหมด คือผ่านไปแค่วันเดียว แต่ทางอิมก็ไม่อนุญาติให้ทำ ดังนั้นพี่สาวจึงไปขอบิดจิ้งและให้กลับไทยแต่เกินมาไม่ถึง28วัน จึงอยากจะเรียนปรึกษาว่าจะขอวีซ่าไปออสอีกจะมีทางทำได้ไหมคะ และตอนนี้ให้ลูกชายลงเรียนป.ตรีที่ไทยแล้ว แต่อยากกลับไปเยี่ยมพี่สาวเขาพร้อมพ่อและแม่ช่วงเมษาจะถึงนี้ วีซ่าจะมีปัญหาไหมคะ A: ถ้ากลับไทยไม่เกิน 28วันนับแต่วีซ่าท่องเที่ยวหมดอายุ ก็ไม่ติดบาร์ค่ะ แต่ประวัติการอยู่เกินเวลา ก็คาดว่าจะมีผลกับการพิจารณา เจ้าหน้าที่ก็ต้องมาพิจารณาและชั่งน้ำหนักเอาว่าจุดประสงค์จะมาท่องเที่ยว/มาเยี่ยมจริงหรือไม่ และถ้าอนุญาติให้เข้าออสเตรเลียแล้ว จะกลับออกไปหรือไม่ 11/02/2019 Q: คือว่าหนูเพิ่งเรียนจบป.โท วีซ่าที่ใช้อยู่เป็นวีซ่านักเรียน มาออสตั้งแต่ปี 2016ค่ะ วีซ่านักเรียนกำลังจะหมดวันที่ 15 มีนาคม 2019 ค่ะ อยากจะขอTR visa (post study work steam) ค่ะ แต่มีคำถามคือว่า หนูเคยมาเรียนภาษาที่ออสเตรเลียตอนเด็ก มาเรียนได้ 10 วีคแล้วก็กลับไทยค่ะ ตอนนั้นมา เดือนมีนาคม แล้วกลับไทยเดือนพฤษาคม ปี 2011 อยากจะทราบว่าแบบนี้สามารถสมัครTRได้มั้ยคะ การมาเรียนตอนปี2011ครั้งนั้นส่งผลกระทบ ทำให้ไม่สมารถสมัครTR วีซ่าหรือป่าว หรือว่าไม่เกี่ยวกันค่ะ A: Post study work steam มีเงื่อนไขว่าวีซ่านักเรียนที่สมัครและได้รับเป็นตัวแรกจะต้องเป็นตั้งแต่วัน 5 November 2011 เป็นต้นไป (This stream is only available if you applied for, and were granted, your first student visa to Australia on or after 5 November 2011. If you held your first student visa prior to this date, even as a child on your parent’s student visa, then you will not be eligible to apply for this stream.) ถ้าน้องมาเรียน 10 วีค เดือน March 2011 ด้วยวีซ่านักเรียน ก็จะติดเงื่อนไขนี้ค่ะ น้องคงต้องลองดูเงื่อนไขของ Graduate Work Stream ว่ามีความเป็นไปได้หรือเปล่า ถ้าตอนนั้นมาด้วยวีซ่าท่องเที่ยว ก็ไม่มีผลกระทบ เพราะไม่ใช่วีซ่านักเรียน Q: ตอนนี้ถือ 457 มีอายุถึง DD/MM/2020 ค่ะ ตอนนี้กำลังจะยื่น PR เหลือแค่ผลสอบไอเอลค่ะ น่าจะได้ยื่นภายในเดือนธันวาคมนี้ค่ะ ถ้าหากเรายื่น PR แล้ว เราก็จะเปลี่ยนเป็น Bridging A ใช่ไหมคะ แล้วทีนี้คือ อยากทราบว่า ถ้าเราจะกลับไทยในระหว่างที่เราอยู่ใน bridging A นี้ ต้องขอ bridging B ไหมคะ พอดีซื้อตั๋วไว้ จะกลับไทย DD/MM/2019 ค่ะ ถามทนายแล้ว เค้าบอกว่า สามารถเข้าออกออสเตรเลียได้ โดยไม่ต้องขอ Bridging B ไม่ทราบจริงไหมคะ...พอดีถามเพื่อนคนอื่น ก็ให้ข้อมูลไม่ตรงกันค่ะ อย่างเช่น ถ้าเรายื่นขอ PR...วีซ่าเก่าเราก็จะยกเลิก รบกวนด้วยนะคะ A: เมื่อยื่นขอ PR ก็จะได้ Bridging visa A (BVA) ค่ะ แต่ BVA จะยังไม่มีผลเพราะน้องยังถือ 457 ถึง DD/MM/2020 ถ้ากลับไทยก่อนที่ 457 จะหมดอายุ ไม่ต้องขอ BVB (คือเข้าออกด้วยวีซ่า 457) หลังจาก 457 หมดอายุ (ถ้ายังรอผล PR อยู่) น้องก็จะเข้ามาอยู่ใน BVA ก่อนออกนอกประเทศก็ต้องขอ BVB การยื่นพีอาร์ไม่ได้ทำให้วีซ่าตัวเดิมถูกยกเลิกค่ะ 26/10/2018 Q: ถือวีซ่า 457 อยู่ (หรือวีซ่า 482 / TSS) แต่ถูกเลิกจ้าง ต้องทำยังไง A: ลองหานายจ้างใหม่ดูค่ะ มีเวลา 60 วันก่อนที่อิมมิเกรชั่นจะพิจารณาว่าจะยกเลิกวีซ่าเราหรือไม่ ถ้า 457 ได้มาก่อนวันที่ 19 Nov 16 เปลี่ยนจาก 60 เป็น 90 วัน หานายจ้างใหม่ได้แล้ว เริ่มงานใหม่เลยไม่ได้นะคะ ต้องรอให้นายจ้างใหม่ได้ Approved Nomination ก่อน ถ้ามีวีซ่าอื่นที่อาจจะเหมาะสมกว่า ก็ควรจะรีบยื่นโดยเร็ว เพราะถ้าวีซ่าที่ถืออยู่ถูกยกเลิกก่อน อาจจะทำให้ยื่นไม่ได้ 25/10/2018 Q: วีซ่าถูกปฏิเสธค่ะ จากการขอต่อวีซ่านักเรียน แล้วตอนนี้ยื่น AAT ไป แล้วถือ bridging A อยู่ อยากทราบว่ายังทำงานได้ปกติตามวีซ่านักเรียนไหมคะ A: จากข้อมูลที่ให้มา ก็ควรจะทำงานได้ค่ะ และแนะนำให้น้องเช็ค VEVO ด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าวีซ่าที่ถืออยู่ไม่มี Condition: 'No Work' ติดอยู่ 18/10/2018 Q: ช่วงที่ถือวีซ่า 457 นี้ ไม่ทราบว่ายังต้องจ่ายค่า Training Benchmarks ในทุกๆปีไหมคะ A: ไม่ต้องแล้วค่ะ - นับจากวันที่ 12 สิงหาคม 2018 นายจ้างไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่า Training Benchmarks อีกต่อไป เพราะมีการปรับใช้ Skilling Australians Fund (SAF) levy หรือ Nomination Training Contribution Charge (NTCC) ซึ่งเป็นการชำระเป็นเงินก้อนตอนยื่น Nomination แทน (รายละเอียดที่นี่ค่ะ) นายจ้างที่มีหน้าที่ต้องทำ Training Benchmarks ตามกฏเก่า ก่อนหน้าที่จะมีการยกเลิกในวันที่ 12 สิงหาคม 2018 ก็ยังคงต้องเก็บหลักฐานการทำ Training ไว้นะคะ 22/08/2018 Q: ในกรณีที่ยังไม่ได้ผลภาษาอังกฤษที่ต้องการสำหรับวีซ่า 187 ไม่ทราบว่าจะยื่นใบสมัครก่อน พอได้ผลภาษาอังกฤษแล้วค่อยส่งตามหลังได้หรือไม่ A: ไม่ได้ค่ะ ผลภาษาอังกฤษสำหรับวีซ่า 186 & 187 ต้องเป็นผลของการสอบก่อนการยื่นใบสมัคร 13/07/2018 Q: มาด้วยวีซ่าท่องเที่ยว Multiple 1 ปี ต้องกลับทุก 3 เดือน จะยื่นวีซ่าคู่ครองที่ประเทศออสเตรเลียได้หรือไม่ และจะได้ Bridging visa หรือไม่ A: ถ้าวีซ่าท่องเที่ยวติด Condition 8503 "No further stay" ก็ยื่นวีซ่าคู่ครองที่ออสเตรเลียไม่ได้ค่ะ (เว้นแต่จะมีการขอยกเว้น Condition 8503 และอิมมิเกรชั่นได้อนุมัติแล้วก่อนการยื่นวีซ่าคู่ครอง) ถ้าวีซ่าท่องเที่ยวไม่ติด Condition 8503 ก็สามารถยื่นวีซ่าคู่ครองในประเทศออสเตรเลียได้ค่ะ (ยื่นในระหว่างที่ถือวีซ่าท่องเที่ยวด้วยนะคะ ไม่ใช่อยู่เกินวีซ่าแล้วค่อยยื่น ปัญหาใหญ่จะตามมา) และเมื่อได้ยื่นวีซ่าคู่ครองแล้วก็จะได้ Bridging visa (วีซ่ารอ) เพื่อที่จะอยู่รอผลการพิจารณาวีซ่าคู่ครองที่ออสเตรเลีย โดยไม่ต้องกลับออกไปหรือไปๆมาๆทุก 3 เดือน แล้วจะทราบได้ยังไงว่าวีซ่าท่องเที่ยวที่ให้อยู่ได้ 3 เดือน จะหมดวันที่เท่าไหร่ ----- เช็ค VEVO ค่ะ 4/06/2018 Q: กรณีถือวีซ่าท่องเที่ยว (multiple 3 ปี ) แล้วยื่นวีซ่านักเรียน onshore พอได้รับ bridging A อยู่ออสครบ 3 เดือน ต้องออกนอกประเทศมั๊ยคะ แล้วถ้าวีซ่านักเรียนออก วีซ่าท่องเที่ยวยังคงอยู่มั้ยคะ A: ถ้าวีซ่าท่องเที่ยวหมดอายุแล้วไม่กลับออกไป ก็จะเปลี่ยนมาถือ Bridging visa ถ้าวีซ่านักเรียนออก วีซ่านักเรียนก็จะมาแทนวีซ่าท่องเที่ยวค่ะ Q: มาด้วย visa subclass 400 ต้องการอยู่ต่อ ถ้าขอ visa subclass 400 อีกครั้ง จะโดนปฎิเสธจากทาง immigration หรือไม่ และถ้าโดนปฎิเสธ จะมีผลกับการขอ 189 ในอนาคตของดิฉันไหม A: ถ้าเหตุผลดี หลักฐานดี วีซ่า 400 ก็มีโอกาสผ่านค่ะ ถ้าวีซ่า 400 ถูกปฏิเสธ และถือ bridging visa อาจจะติด Section 48 Bar ทำให้ยื่นวีซ่า 189 ในประเทศออสเตรเลียไม่ได้ แต่ก็ยังยื่นแบบนอกประเทศได้ 25/04/2018 Q: รบกวนสอบถามค่ะ คือ ทางนายจ้างจะขอวีซ่า TSS ให้เพื่อทำงานในออสเตรเลียเป็นเวลาประมาณ 1 ปีค่ะ ทำหน้าที่ programmer ค่ะ ตัวดิฉันเองต้องการจะยื่นขอวีซ่า 189 ด้วยตัวเองด้วยค่ะ เลยอยากทราบว่า ถ้าเราถือ TSS หรือ เคยถือ TSS จะมีปัญหาในการยื่นขอ 189 ไหมคะ แล้ว ถ้าทำงานในออสเตรเลีย ครบ 1 ปี ด้วย TSS visa จะสามารถ add 5 points ในการขอ 189 ไหมคะ A: ถือ TSS หรือ เคยถือ TSS ไม่มีปัญหาในการยื่นขอ 189 ค่ะ ทำงานในออสเตรเลีย ครบ 1 ปี ด้วย TSS visa จะสามารถ add 5 points ในการขอ 189 ได้ค่ะ แต่ Points รวม ของประสบการณ์การทำงานทั้งหมด (ไม่ว่าจะในหรือนอกประเทศออสเตรเลีย) จะได้มากสุดไม่เกิน 20 points 19/10/2017 Q: ตอนนี้ได้วีซ่า 457 2 ปี แต่กำลังจะเปลี่ยนนายจ้าง นายจ้างใหม่ไม่เคยสปอนเซอร์ใครมาก่อน จึงต้องทำ nomination, sponsor applications ใหม่ แล้วก็ค่า training ค่า adv ขอสอบถามเรื่องค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ว่า 1. จริงๆแล้วใครสมควรต้องเป็นเป็นคนรับผิดชอบ? เพราะเราไปคุยกับเขาเองว่าอยากย้ายมาร้านนี้ แล้วเขาเองก็ต้อง การคนทำงานด้วย เหมือนจะ win-win ทั้งสองฝ่ายแต่ก็รู้ว่ามันไม่ใช่คับ 2. การทำ transfer มา จริงๆแล้ว มีค่าใช้จ่ายมั้ยคับ A: 1. ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ถามมา นายจ้างมีหน้าที่จ่ายค่ะ 2. ในกรณีที่ถามมา มีค่าใช้จ่ายเฉพาะส่วนของนายจ้างค่ะ ค่า adv (???) - ถ้าหมายถึงค่าโฆษณา Labour Market Testing (LMT) ต้องดูด้วยว่าเข้าข้อยกเว้นหรือไม่ กฏหมายปัจจุบัน การ Nominate ลูกจ้างที่ถือพาสปอร์ตไทย นายจ้างไม่จำเป็นต้องทำ LMT Q: ตอนนี้ผมถือวีซ่า 457 สปอนเซอร์ chef อยู่คับผมได้วีซ่าก่อนที่กฎใหม่จะเปลี่ยน แต่ผมอยากทราบว่า 1. อีกกี่ปีถึงจะขอยื่นพีอาร์ได้ ยึดตามกฎใหม่ 3 ปี หรือ กฎเก่า 2 ปีคับ 2. ตอนขอ 457 ผมสอบไอเอลได้ 5.5 แต่อยากทราบว่าตอนขอพีอาร์ ต้องสอบไอเอลใหม่มั้ยคับ เพราะตามกฎใหม่ ต้องให้ได้ 6 A: 1. ยังไม่ทราบแน่ชัดนะคะ ต้องรออิมมิเกรชั่นประกาศอีกที 2. กฏใหม่ที่ว่า คือกฏปัจจุบันแล้วค่ะ IELTS ต้องได้ 6 ทุกพาร์ท (อิมมิเกรชั่นรับผลสอบอื่นด้วยนะคะ ลองไล่ อ่านด้านล่าง) 13/10/2017 Q: ถ้าเราถือ Bridging visa B อยู่ในประเทศออสเตรเลียแล้ว สามารถอยู่ได้นานกี่ปี A: อยู่ได้จนกว่าอิมมิเกรชั่นจะพิจารณาออกวีซ่าให้ ถ้าถูกปฏิเสธวีซ่า ก็จะถือ Bridging visa ต่อไปอีก 28 หรือ 35 วัน (แล้วแต่ว่า Bridging visa ที่ถืออยู่ออกให้ก่อนหรือหลังวันที่ 19 พฤศจิกายน 2016) แนะนำให้เช็ค VEVO ค่ะ ก็จะทราบว่า Bridging visa หมดเมื่อไหร่ ถ้ามีการยื่นอุทธรณ์ไปที่ AAT Bridging visa ก็จะยืดออกไป 12/10/2017 Q: ตอนนี้ถือวีซ่านักเรียน ซึ่งจะหมดอายุปี 2020 มีนายจ้างอยากจะสปอนเซอร์ในตำแหน่ง Web Administrator จะยื่นวีซ่า 457 ตอนนี้ หรือควรจะรอยื่นวีซ่า TSS หลังมีนาคม 2018 และถ้ายื่นวีซ่า 457 หรือ TSS ไม่ผ่าน จะต้องกลับไทยเลย หรือกลับมาเป็นวีซ่านักเรียนได้เลย A: Web Administrator ตอนนี้อยู่ใน STSOL ไม่ว่าจะขอวีซ่า 457 หรือ TSS ก็จะได้วีซ่าระยะเวลา 2 ปี จากข้อมูลที่มี ณ เวลานี้ วีซ่า TSS ในสาขาอาชีพใน STSOL ไม่สามารถต่อยอดไปเป็นพีอาร์ได้ ส่วนคนที่ถือวีซ่า 457 จะต่อยอดไปเป็นพีอาร์ได้หรือไม่หลังกฏเปลี่ยนเดือนมีนาคม 2018 อิมมิเกรชั่นเกริ่นๆว่าจะมี Transitional provisions ส่วนเงื่อนไขจะเป็นยังไง ตอนนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด คาดว่าจะทราบประมาณเดือนธันวาคม ในกรณีที่ขอวีซ่า 457 หรือ TSS แล้วไม่ผ่าน และวีซ่านักเรียนยังไม่หมดอายุ น้องก็ยังคงอยู่ในประเทศออสเตรเลียได้ด้วยวีซ่านักเรียนค่ะ 7/10/2017 Q: ตอนนี้ถือ Bridging visa A อยู่ แต่อยากกลับไทยไปเยี่ยมครอบครัว และร่วมงานแต่งงานน้องชาย เหตุผลแบบนี้จะขอ Bridging visa B ได้หรือไม่ และต้องขอล่วงหน้านานเท่าไหร่ แล้วจะเข้ามาอยู่ต่อประเทศนี้อีกจะได้ไหมคะ พอกลับมาแล้วก็มาถือ ฺBridging visa A ต่อใช่ไหมคะ หรือ Bridging visa A จะถูกยกเลิก A: คิดว่าน่าจะได้ค่ะ ปกติแล้วอิมมิเกรชั่นไม่ค่อยปฏิเสธ Bridging visa B นะคะ อิมมิเกรชั่นแจ้งว่าควรขอล่วงหน้าระหว่าง 2 อาทิตย์ ถึง 3 เดือน ส่วนตัวคิดว่าล่วงหน้า 4 อาทิตย์กำลังดี กลับมาแล้วก็ถือ Bridging visa B ต่อไปค่ะ ส่วนจะออกไปนอกออสเตรเลียได้อีกหรือไม่ หรือต้องขอ Bridging visa B ตัวใหม่ก่อนออกไป ดูวันที่ที่ระบุไว้ตรง Must not arrive after ถ้าคิดว่าออกไปแล้วจะกลับเข้ามาหลังวันที่ที่ระบุไว้ ก็ต้องขอใหม่ก่อนออกไปนะคะ Q: ถูกปฏิเสธวีซ่านักเรียนเพราะอิมมิเกรชั่นไม่ได้รับหลักฐานการเงิน ควรจะยื่นอุทธรณ์ หรือกลับไทยแล้วค่อยยื่นวีซ่ามาใหม่ และจะได้วีซ่าหรือไม่ A: ยื่นอุทธรณ์ก็จะได้อยู่ที่ออสเตรเลียต่อในระหว่างรอผลอุทธรณ์ ถ้าสามารถโชว์หลักฐานการเงินตามที่อิมมิเกรชั่นกำหนดได้ อุทธรณ์ก็น่าจะผ่าน ระยะเวลาการรอ +/- 1 ปี กลับไทยแล้วค่อยยื่นมาใหม่จะเร็วกว่า เคสที่กลับไปเรื่องหลักฐานการเงิน และได้วีซ่ากลับมาอย่างรวดเร็วก็มีนะคะ แต่ก็มีความเสี่ยง เพราะถ้าอิมมิเกรชั่นปฏิเสธวีซ่าจะด้วยเหตุผลทางการเงินหรือเหตุผลอื่น เช่นไม่เชื่อว่าเราต้องการเป็นนักเรียนจริง ก็อาจจะไม่ได้กลับมา วีซ่านักเรียนยื่นแบบนอกประเทศจะไม่มีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์ไปที่ AAT นะคะ ต้องยื่นใหม่อย่างเดียว นอกจากจะพิสูจน์ได้ว่าการปฏิเสธของอิมมิเกรชั่นมีข้อผิดพลาดทางกฏหมาย ก็มีโอกาสยื่นอุทธรณ์ไปที่ศาล แต่ค่าใช้จ่ายสูงและรอผลการพิจารณานานค่ะ 13/09/2017 Q: ตอนนี้ถือ Bridging visa A จะต้องขอ Bridging visa B ล่วงหน้ากี่วัน ก่อนเดินทาง และอยู่นอกประเทศได้ถึงเมื่อไหร่ A: ข้อมูล ณ เวลานี้ อิมมิเกรชั่นระบุไว้ว่า ควรขอล่วงหน้าอย่างน้อย 2 อาทิตย์ แต่ไม่เกิน 3 เดือน (คนเขียนคิดว่าขอล่วงหน้าอย่างน้อย 4 อาทิตย์ กำลังดีค่ะ) - ในจดหมายอนุมัติ Bridging visa B จะมี Must not arrive after "วันที่" เอาไว้ ก็ต้องกลับเข้ามาในประเทศออสเตรเลียภายในวันที่ๆระบุไว้ Q: ต้องการยื่นขอวีซ่า 485 แต่ยังไม่มีผลภาษาอังกฤษ จะยื่นขอวีซ่าก่อน แล้วค่อยลองสอบไปเรื่อยๆ พอได้ผลที่ต้องการแล้ว ค่อยยื่นตามเข้าไปได้หรือไม่ A: ไม่ได้ค่ะ ผลภาษาอังกฤษที่ใช้ได้ จะต้องมาจากการสอบก่อนการยื่นขอวีซ่า 485 และมีอายุไม่เกิน 3 ปี Q: ถูกปฏิเสธวีซ่านักเรียน ตอนนี้ถือ Bridging visa A ซึ่งจะหมดอายุ 35 วันนับจากที่ได้รับแจ้ง พอยื่นอุทธรณ์ที่ AAT ไปแล้ว จะต้องรอกี่วันถึงจะไปยื่นขอต่อ Bridging visa A กับอิมมิเกรชั่นได้ A: ไม่ต้องรอ และไม่ต้องขอค่ะ หลังจากที่ยื่นอุทธรณ์แล้ว ทาง AAT และอิมมิเกรชั่นจะติดต่อกันเองค่ะ และ Bridging visa A ตัวเดิมที่ถืออยู่ ก็จะมีการอัพเดท โดยเปลี่ยน ฺฺBridging visa A ที่มีวันหมดอายุ เป็น indefinite แบบไม่มีวันหมดอายุ (เพื่อรอการพิจารณาในชั้นอุทธรณ์) Q: วีซ่า 457 จะหมดอายุเดือนเมษายน 2018 แต่ยังไม่ได้ภาษาอังกฤษสำหรับยื่นพีอาร์ จะขอต่อวีซ่า 457 อีกได้หรือไม่ A: เดือนมีนาคม 2018 วีซ่า 457 จะถูกยกเลิก และจะมีการปรับใช้วีซ่าตัวใหม่แทน คือวีซ่า Temporary Skills Shortage (TSS) Q: น้องสาวถูกปฏิเสธวีซ่าและติด PIC4020 เพราะแจ้งในใบสมัครว่าไม่เคยถูกปฏิเสธวีซ่า แต่จริงๆแล้วเคยถูกปฏิเสธวีซ่ามาก่อน เคสของน้องสาวจะมีผลกระทบกับพี่สาวที่กำลังยื่นขอพีอาร์หรือไม่ A: เป็นเรื่องเฉพาะตัวของน้องสาว คาดว่าจะไม่มีผลกระทบกับวีซ่าของพี่สาว เพราะอิมมิเกรชั่นพิจารณาวีซ่ากันเป็นรายบุคคลค่ะ Q: สอบภาษาอังกฤษไม่ผ่านซะที ควรทำยังไงดี
A: เดี๋ยวนี้ไม่ได้มีแค่ IELTS แล้วนะคะ มี PTE Academic, TOEFL iBT, CAE และ OET (อันนี้สำหรับ Healthcare workers เช่นหมอ พยาบาล) ถ้าสอบ IELTS ไม่ได้ผลที่ต้องการซะที ก็อาจจะลองเปลี่ยนมาสอบอย่างอื่นดูนะคะ เข้าคอร์สติวเข้มก็อาจจะช่วยได้ คอร์สติวเข้มส่วนใหญ่ไม่ได้สอนแกรมม่านะคะ สอนเทคนิคการทำข้อสอบ สอนการใช้เวลา (ที่มีอยู่อย่างจำกัดในการทำข้อสอบ) ให้เป็นประโยชน์สูงสุด เช่นแต่ละข้อควรใช้เวลากี่นาที เป็นต้น อีกอย่างที่จะช่วยได้ คือการเอาตัวเองไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่บังคับให้เราต้องใช้ภาษาอังกฤษ เช่นคลุกคลีกกับเพื่อนต่างชาติ ทำงานที่ต้องสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ อ่านนิยาย/หนังสือพิมพ์ที่เป็นภาษาอังกฤษ ฟังวิทยุ/ฟังเพลงเป็นภาษาอังกฤษ ฝึกสำเนียงโดยการพูดตามนักอ่านข่าวในทีวี พูดกับเพื่อนคนไทยเป็นภาษาอังกฤษก็ได้ อยู่ที่ไหนก็พัฒนาตัวเองได้ ถ้าอยากจะทำ Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com UPDATE: 12 April 2019 ถึงแม้กฏหมายใหม่เกี่ยวกับ family sponsorship จะให้มีผลบังคับใช้วันที่ 17 April 2019 ทางอิมมิเกรชั่นได้ชี้แจ้งมาว่า ในวันที่ 17 April 2019 กฏหมายใหม่นี้จะนำมาปรับใช้กับวีซ่าใหม่ก่อน ซึ่งก็คือ วีซ่าผู้ปกครอง (วีซ่าพ่อแม่) แบบชั่วคราว Sponsored Parent (Temporary) visa ส่วนวีซ่าคู่ครอง Partner visa จะยังไม่เอากฏใหม่นี้มาปรับใช้ สรุปว่าเคสของน้องๆที่วีซ่าใกล้จะหมดและยังไม่ได้ยื่น Partner visa ก็ยังพอมีเวลาค่ะ ส่วนเคสที่ได้ยื่นไปแล้วก่อนหน้าที่จะมีประกาศนี้ ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีค่ะ เพราะอิมมิเกรชั่นก็ไม่ได้แจ้งมาว่าจะนำกฏหมายใหม่มาปรับใช้กับ Partner visa เมื่อไหร่ ซึ่งก็แปลว่าเมื่อไหร่ก็ได้นับแต่วันที่ 17 April 2019 เป็นต้นไป เพราะมีกฏหมายมารับรองแล้ว ค่ายื่นวีซ่าต่างๆ ก็จะมีการขึ้นราคาอีก 5.4% นับจากวันที่ 1 July 2019 UPDATE: 9 April 2019 กฏใหม่ จะเริ่มปรับใช้วันที่ 17 April 2019 นะคะ UPDATE: 23 January 2019 จากที่คนเขียนโพสไปเมื่อวันที่ 29 November 2018 ว่ามีร่างกฏหมายผ่านทั้งสภาล่างและสภาสูงเมื่อวันที่ 28 November 2018 (อ่านเนื้อหาเดิมได้ด้านล่าง) ร่างกฏหมายนี้ ออกมาเป็นกฏหมายเมื่อวันที่ 10 December 2018 นะคะ ที่คนเขียนไม่ได้อัพเดทให้ทราบก่อนหน้านี้ เพราะต้องการจะรอดูว่าจะให้มีผลบังคับใช้เมื่อไหร่ และในทางปฏิบัติอิมมิเกรชั่นจะปรับใช้ยังไง จะได้อัพเดทให้ทราบกันรอบเดียว .... แต่จนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีความคืบหน้า .... แปลว่า..จะปรับใช้เมื่อไหร่ก็ได้ในช่วง 6 เดือนนับจากวันที่ผ่านเป็นกฏหมาย ส่วนอิมมิเกรชั่นจะประกาศกฏเปลี่ยนให้ทราบล่วงหน้า หรือประกาศแล้วปรับใช้ทันทีเลย ก็ต้องรอดูกันต่อไปค่ะ Original post: 29 November 2018
โพสนี้มาแบบสั้นๆ แต่สำคัญอีกแล้วค่ะ มีร่างกฏหมายผ่านทั้งสภาล่างและสภาสูงเมื่อวานนี้นะคะ ยังไม่เป็นกฏหมาย แต่เนื่องจากผ่านทั้งสองสภามาแล้ว ก็คาดว่าจะเป็นกฏหมายเร็วๆนี้ ส่วนรายละเอียดลึกๆจะเป็นยังไง จะมีผลบังคับใช้เร็วหรือช้าแค่ไหน ต้องคอยดูกันต่อไป อาจจะประกาศออกมาก่อนและปรับใช้ใน 1-6 เดือน (แจ้งล่วงหน้า) หรืออาจจะเหมือนตอนกฏเปลี่ยนของ 457 ประกาศแล้วมีผลเลย ก็เซอร์ไพร์สและรับสภาพกันไป กฏปัจจุบัน - ใบสมัครวีซ่าคู่ครอง (Partner visa) และใบสมัครสปอนเซอร์จะยื่นไปพร้อมๆกัน หรือจะยื่นใบสมัครสปอนเซอร์ตามหลังก็ได้ กฏที่ "คาดว่า" จะนำมาปรับใช้ (จากจุดประสงค์ของร่างกฏหมายฉบับนี้ บวกกับข้อมูลที่อิมมิเกรชั่นได้ประกาศไว้นานแล้ว) คือต้องการให้สปอนเซอร์ยื่นใบสมัครของตัวเองตังหากก่อน และเมื่อใบสมัครของสปอนเซอร์ผ่านแล้ว ผู้สมัคร Partner visa ถึงจะสามารถยื่นใบสมัครวีซ่าได้ ปกติแล้วคนเขียนจะไม่โพสอะไรที่ยังไม่เป็นตัวบทกฏหมาย แต่ร่างกฏหมายฉบับนี้สำคัญสำหรับคนที่วีซ่ากำลังจะหมด ถ้ามาเจอกฏเปลี่ยนกระทันหัน ต้องรอให้สปอนเซอร์ยื่นใบสมัครและได้รับการ Approve ก่อน ก็อาจจะยื่น Partner visa ไม่ทันก่อนที่วีซ่าตัวปัจจุบันจะหมดอายุ เคสที่อยู่ระหว่างเตรียมเอกสารหรือเอกสารยังไม่แน่น ก็ต้องเลือกเอาระหว่างยื่นแบบหลวมๆ เสี่ยงถูกปฏิเสธวีซ่า หรือเสี่ยงเข้ากฏใหม่ ยื่นไม่ทันเพราะต้องรอสปอนเซอร์ Approval ก่อน และอาจจะต้องยื่นวีซ่าตัวอื่นเข้าไปแทน เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน จุดประสงค์ของโพสนี้ ไม่ได้เป็นการแนะนำว่าให้ทุกคนรีบยื่นก่อนกฏเปลี่ยน แค่ต้องการแจ้งข่าวให้ทราบ จะได้เอาไปประกอบการพิจารณา .... อย่าลืมว่าเคสแต่ละเคสมีที่มาที่ไปไม่เหมือนกัน วิธีการทำงานก็แตกต่างกันไปนะคะ.... There is no "one size fits all" scenario. มีความคืบหน้า ก็จะมาอัพเดทให้ทราบในโพสนี้นะคะ ที่มา: Migration Amendment (Family Violence and Other Measures) Bill 2016 Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com เมื่อไม่นานมานี้คนเขียนได้แจ้งข่าวดีให้กับลูกความคนนึง ตอนน้องติดต่อมาหาคนเขียน น้องถือวีซ่าคู่ครองแบบชั่วคราว (stage 1 - Temporary Partner visa) แต่ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัว (ภาษากฏหมายคือ Family violence หรือ Domestic violence)
น้องบอกว่าไม่ไหวแล้วค่ะพี่ รอมา 23 เดือน กำลังจะใกล้ยื่นเอกสารวีซ่าคู่ครองแบบถาวร (Stage 2 - Permanent Partner visa) แต่ถูกทำร้ายทั้งร่างกายและจิตใจ รวมถึงทำร้ายทรัพย์สินด้วย ทนจนทนไม่ไหวแล้ว .... ว่าแล้วถามว่า 'เอะ...หรือหนูควรจะทน เพราะใกล้ได้พีอาร์แล้ว' ในมุมมองของคนเขียนนะคะ ต่อให้รอมา 23 เดือน ก็ไม่ควรทนอยู่ในความสัมพันธ์แบบนี้อีกต่อไป ใช่ค่ะ อีก 1 เดือนก็จะถึงเวลายื่นเอกสารสำหรับ stage 2 - Permanent Partner visa แต่ก็ไม่ใช่ว่ายื่นเอกสารปุ๊บจะได้วีซ่าปั๊บ เดี๋ยวนี้รอผลกันร่วมปี เผลอๆเลยปีด้วย วันนี้อาจจะแค่เจ็บตัว วันหน้าอาจจะเสียโฉม พิการ ถึงตาย ไม่มีใครตอบได้ คุ้มไหมกับการได้พีอาร์ ป.ล. เคสวีซ่าคู่ครองที่ความสัมพันธ์สิ้นสุดลงระหว่างทาง มี 3 กรณีด้วยกันที่ผู้สมัครอาจจะได้พีอาร์
เคสนี้สปอนเซอร์ก็ไม่ได้ตาย ลูกก็ไม่มี แต่มีความรุนแรงเกิดขึ้น ถือเป็นเคสที่มีความเป็นไปได้ เคสนี้น้องไม่เคยแจ้งตำรวจ ไม่เคยไปหาหมอ จิตแพทย์ หรือนักสังคมสงเคราะห์ หลักฐานความรุนแรงที่น้องมี คือรูป 3 ใบ (3 ใบเท่านั้น!!!!) โชว์รอยถลอกที่เกิดกับน้อง 1 ใบ และการบาดเจ็บของสปอนเซอร์ที่ทำร้ายน้อง 2 ใบ และข้อความโต้ตอบกันผ่านไลน์ ซึ่งก็แรงด้วยกันทั้งคู่ สรุปว่าหลักฐานโชว์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นนั้นน้อยมาก และเป็นหลักฐานที่อิมมิเกรชั่นอาจจะตีความเป็นอื่นได้ (รูปสปอนเซอร์บาดเจ็บเนี่ยนะ ตกลงใครทำร้ายใครกันแน่ ใช่ค่ะคนเขียนเชื่อลูกความ ไม่มีเหตุผลที่จะไม่เชื่อ แต่คนทำงานต้องมองทุกมุม มองเผื่อมุมที่อิมมิเกรชั่นอาจจะมองด้วย - ก็เค้าเป็นคนตัดสินเคส) เคสนี้คนเขียนอธิบายให้น้องฟังว่า มี 3 ทางคือ
มีหลายเคสมากที่คนเขียนแจ้งล่วงหน้าเลยว่าเคสอาจจะไปถึงชั้นอุทธรณ์ บางเคสแจ้งค่าบริการชั้นอุทธรณ์ล่วงหน้าเลยด้วย บางคนอาจจะรู้สึกห่อเหี่ยว แต่คนเขียนคิดว่าเราควรเอาความเป็นจริงมาคุยกัน จะได้เอาข้อมูล (ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยง ระยะเวลา และค่าใช้จ่าย) ไปประกอบการตัดสินใจ และก็หลายเคสมากที่เราไม่ต้องไปชั้นอุทธรณ์ และได้วีซ่ามาที่ชั้นอิมมิเกรชั่นนั่นแหละ คนเขียนจริงใจ ตรงไปตรงมาค่ะ ถ้ารับได้ เชื่อใจกันก็ทำงานด้วยกันได้ สรุปว่าน้องลุย คนเขียนก็ลุยค่ะ ..... สรุปว่าคนเขียนวางแผนเคสไปกุมขมับไป เริ่มแรกเลย เราแจ้งอิมมิเกรชั่นค่ะว่าความสัมพันธ์ของเราจบลงแล้ว (เคส Partner visa ที่ยังอยู่ในการพิจารณา ไม่ว่าระหว่างรอผลวีซ่า Stage 1 หรือ Stage 2 ของ Partner visa ถ้าความสัมพันธ์สิ้นสุดลง ผู้สมัครมีหน้าที่แจ้ง อิมมิเกรชั่น) เมื่อเรามีหน้าที่ เราทำหน้าที่ค่ะ ดูดีไว้ก่อน (ดีกว่าสปอนเซอร์เป็นคนแจ้งหรือเพื่อนผู้ไม่หวังดีเป็นคนแจ้งเป็นไหนๆ) แต่ไม่ใช่แจ้งแล้วไม่ทำอะไรเลยนะคะ การวางแผนงาน (Strategies ต่างๆ) ต้องมีแล้วตั้งแต่ก่อนแจ้ง (หมดเวลากุมขมับ แผนต้องมา งานต้องเดิน) เพราะเมื่อแจ้งแล้ว อิมมิเกรชั่นก็จะเริ่มขอเอกสารและคำอธิบายซึ่งมีกำหนดเวลาให้ตอบคำถาม ไม่ตอบตามเวลาเราอาจจะได้ไปชั้นอุทธณ์ทั้งที่ยังไม่ได้สู้ที่ชั้นอิมมิเกรชั่นเลย ถึงแม้เคสน้องจะไม่ใช่เคสในฝัน คือมันไม่ง่าย แต่น้องเป็นลูกความในฝัน แนะนำให้ทำอะไรน้องทำทุกอย่าง อย่างรวดเร็วและเต็มที่ ถึงแม้จะสับสนในชีวิตและจิตตก เราก็ทำงานกันไปปลอบกันไป คนเขียนตีเอกสารกลับไปหลายรอบ ส่วนใหญ่เป็น Statements (หมายถึงจดหมายคำอธิบายของน้องและเพื่อนๆ ไม่ใช่แบงค์สเตทเมนท์) คือเอกสารไม่แน่นไม่ปึ๊ก เอกสารคลาดเคลื่อนคลุมเครือ เราไม่ยื่น คือหลักฐานในเคสนี้ก็น้อยอยู่แล้ว ขืนส่ง Statements และเอกสารแบบเกือบดีเข้าไป เราคงได้ไปชั้นอุทธรณ์จริงๆ ตีเอกสารกลับ ฟังดูโหด แต่จริงๆคือการขอให้แก้ไขนั่นแหละค่ะ พร้อมไกด์ให้ว่าควรจะแก้ไขประมาณไหน เพิ่มข้อมูลอะไร หาหลักฐานประเภทไหนเพิ่ม เคสที่มีหลักฐานน้อย คนเขียนก็ต้องมีไอเดียบรรเจิด ก็ต้องคิดนอกกรอบกันนิดนึง (บางคนอาจจะไม่แคร์ ลูกความมีเอกสารแค่ไหนก็ยื่นไปแค่นั้น แต่สำหรับคนเขียน...การช่วยลูกความคิดหาเอกสารเพิ่มเติม คนเขียนถือเป็นเนื้องาน อะไรช่วยได้ และอยู่ในกรอบของกฏหมาย คนเขียนทำทั้งนั้น) สรุปว่าในที่สุดเอกสารเราก็แน่นค่ะ (ก็แน่นเท่าที่แน่นได้นั่นแหละค่ะ) .... 1 ปี + 1 เดือนนับจากที่เราแจ้งอิมมิเกรชั่นว่าความสัมพันธ์สิ้นสุดลง น้องก็ได้พีอาร์มาครองสมใจ เคสนี้ ...
เคสนี้ น้องก็เป็นอีกหนึ่งลูกความที่อยู่คนละรัฐกับคนเขียน การทำงานของเราก็ผ่านโทรศัพท์ อีเมล์และไลน์ ตั้งแต่เริ่มการปรึกษาเบื้องต้นจนน้องได้พีอาร์ไปแล้วเราก็ยังไม่เคยเจอกันเลย ป.ล.1 เคส Family violence ไม่ได้พิสูจน์แค่ว่ามีความรุนแรงเกิดขึ้นนะคะ ก่อนที่อิมมิเกรชั่นจะดูเรื่องความรุนแรง อิมมิเกรชั่นดูก่อนว่าเรากับสปอนเซอร์มีความสัมพันธ์กันจริงหรือเปล่า เพราะฉะนั้นหลักฐานความสัมพันธ์ก็จะต้องมีเช่นกัน บางเคสที่คนเขียนทำมา ลูกความถูกยึดพาสปอร์ต กลับเข้าบ้านไม่ได้ ไม่มีเอกสารจะพิสูจน์ความสัมพันธ์เลย เพราะคุณสปอนเซอร์เก็บไว้ หรือทำลายไปหมด เคสแบบนี้ก็เป็นเคสที่ต้องใช้ไอเดียบรรเจิด ช่วยลูกความหาเอกสาร ป.ล.2 เคส Partner visa เป็นเคสที่ต้องเก็บเอกสารความสัมพันธ์อยู่แล้วจนกว่าจะได้พีอาร์มาครอง น้องๆทั้งหลาย ไม่ว่าจะมีปัญหาหรือไม่มีปัญหากับแฟนก็ควรจะเก็บเอกสารพวกนี้ไว้เองด้วย เช่นแสกนลง USB ถ่ายรูปเก็บไว้ในมือถือ หรือเก็บใน cloud account เผื่อเกิดปัญหาขึ้นมากลับเข้าบ้านไม่ได้ เอกสารถูกยึดถูกทำลาย อย่างน้อยก็ยังมีบางอย่างที่เราพอจะมีและเอามาใช้ได้ .... รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม .... มีประโยชน์โปรดแชร์ .... Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com กฏใหม่สำหรับค่า Training ที่นายจ้างจะต้องชำระในการยื่น Nomination จะเริ่มปรับใช้แล้วนะคะ รายละเอียดตามข้างล่างค่ะ
รายละเอียดค่า Training Nomination สำหรับวีซ่า 457 & 482
Nomination สำหรับวีซ่า 186 & 187
Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com คนเขียนเพิ่งแจ้งข่าวดีให้กับลูกความคู่นึงไป ข่าวดีของคนที่ยื่นวีซ่าก็คงไม่มีอะไรนอกจากวีซ่าออกแล้ว
เคสนี้เป็นเคสที่เราดูแลกันมายาวนานพอสมควร ลูกความติดต่อคนเขียนมาตั้งแต่ 4 ปีที่แล้ว ลูกความไม่ถือวีซ่ามาระยะใหญ่ แต่มีแฟนออสซี่ แต่เนื่องจากกฏเกณฑ์นโยบายการขอวีซ่าคู่ครองของคนที่ไม่มีวีซ่า ก็เปลี่ยนมาระยะนึงแล้ว ซึ่งทำให้โอกาสการได้วีซ่าในเคสแบบนี้ยากขึ้นมาก ทางเลือกของคนไม่ถือวีซ่าที่ต้องการยื่นวีซ่าคู่ครอง (ก็ได้เคยโพสไปแล้วว่า) มีอยู่สองทาง คือการกลับออกไปยื่นวีซ่าแบบนอกประเทศออสเตรเลีย หรือเสี่ยงยื่นวีซ่าแบบในประเทศออสเตรเลียถ้าคิดว่าเคสของเรามีเหตุผลที่น่าเห็นใจจริงๆ (Schedule 3 waiver request) คนเขียนใช้คำว่า"เสี่ยง" เพราะต่อให้เราคิดว่าเรามีเหตุผลน่าเห็นใจแค่ไหน เหตุผลอาจจะไม่มากพอในมุมมองของอิมมิเกรชั่น ซึ่งก็อาจจะทำให้เราถูกปฏิเสธวีซ่าได้ เมื่อถูกปฏิเสธวีซ่าในกรณีแบบนี้ ก็มีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์ ซึ่งอุทธรณ์ก็มีความเสี่ยง อาจจะชนะหรือแพ้ ไม่มีใครตอบได้ จากประสบการณ์ในการทำงานด้านนี้ คนเขียนคิดว่าเคสนี้เป็นเคสที่น่าเห็นใจจริงๆ แต่เนื่องจากว่าคนเขียนก็ไม่ใช่คนตัดสินเคส ลูกความก็ต้องเป็นคนตัดสินใจเองว่าจะเลือกทางไหนที่ตัวเองพอรับได้ ระหว่าง 1. กลับไปยื่นที่ไทย ซึ่งการพิจารณาน่าจะเร็วกว่าและมีโอกาสได้วีซ่าสูงกว่า (ถ้าความสัมพันธ์หนักแน่นมั่นคงและมีหลักฐานสนับสนุนที่ดี) แต่ก็คงจะต้องรออยู่ที่ไทยจนกว่าจะได้วีซ่า เพราะการขอวีซ่าท่องเที่ยวมาในระหว่างรอคงไม่ผ่านเนื่องจากเคยอยู่เป็นผีที่ออสเตรเลียมาระยะใหญ่ และถ้าวีซ่าคู่ครองไม่ผ่านจะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ ก็คงต้องรออยู่ที่ไทยจนกว่าอุทธรณ์จะผ่าน หรือได้วีซ่าประเภทอื่น หรือ 2. เสี่ยงยื่นที่นี่ ซึ่งโอกาสที่จะถูกปฏิเสธที่ชั้นอิมมิเกรชั่นก็สูงพอสมควร แต่โอกาสที่จะชนะที่ชั้นอุทธรณ์ก็พอมี ถ้าถูกปฏิเสธ ก็มีโอกาสตัดสินใจว่าจะกลับไปวีซ่ายื่นใหม่ที่ไทยดี หรือจะเสี่ยงลุยต่อไปชั้นอุทธรณ์ดี ถ้าไม่ผ่านที่ชั้นอุทธรณ์ ก็คงจะได้กลับไปยื่นใหม่ที่ไทยจริงๆ ยกเว้นว่าจะมีเหตุให้อุทธรณ์ต่อในชั้นอื่นได้ (ซึ่งในบางเคสก็มีความเป็นไปได้) คนเขียนง่ายๆ ถ้าลูกความลุย คนเขียนก็ลุยค่ะ แต่ก่อนลุย ลูกความต้องเข้าใจพื้นฐานเคสของตัวเองจริงๆก่อน ... ทำงานกับคนเขียนไม่มีการเพ้นท์ภาพสวยหรู ไม่มีโลกสวย เราเอาเรื่องจริงมาคุยกัน คนเขียนไม่เห็นประโยชน์ที่จะบอกลูกความว่าเคสง่ายๆเดี๋ยวก็ได้วีซ่า ถ้าในความเป็นจริงมันไม่ใช่ สรุปว่าลูกความเลือกเสี่ยงยื่นที่นี่ คนเค้ารักกันอยากอยู่ดูแลกัน (และที่สำคัญมีเหตุผลน่าเห็นใจ) คนเขียนก็ลุย ลูกความก็ลุยค่ะ และเราก็ถูกปฏิเสธ ซึ่งก็ไม่ได้ผิดคาด แต่ผิดหวัง คนเขียนก็ถามว่าจะยื่นอุทธรณ์หรือจะกลับไปยื่นที่ไทย ในใจก็นึกว่าในเมื่อลุยมาถึงตรงนี้แล้ว ก็ควรจะลุยต่อ ไม่อย่างงั้นก็ควรยื่นที่ไทยตั้งแต่แรก นึกแต่ไม่ได้พูดเพราะนี่คือชีวิตของลูกความ และทั้งสองทางต่างก็มีข้อดี/ข้อเสียของมันเอง ก็ต้องให้ลูกความเลือกและตัดสินใจเอาเอง คนเขียนไม่ได้มีหน้าที่ตัดสินใจแทน แต่มีหน้าที่ให้คำแนะนำประกอบการตัดสินใจ ลูกความตัดสินใจยื่นอุทธรณ์ คนเขียนชื่นใจมาก ไม่ได้ชื่นใจเพราะลูกความตัดสินใจยื่นอุทธรณ์ แต่เพราะขออะไรไปก็จะพยายามหาให้อย่างรวดเร็ว แบบไม่ต้องตามไม่ต้องถามซ้ำ (proactive แบบสุดๆ) และเราก็ชนะที่ชั้นอุทธรณ์ เคสถูกส่งกลับไปให้อิมมิเกรชั่นพิจารณาต่อ และในที่สุดคุณลูกความก็ได้วีซ่าสมใจ ซึ่งในเคสนี้ลูกความได้วีซ่าคู่ครองแบบถาวรเลยด้วยค่ะ .... คนเขียนชื่นใจและดีใจเหมือนได้วีซ่าซะเอง ... นับรวมเวลาตั้งแต่เข้ามาขอคำปรึกษาเบื้องต้นจนถึงวันนี้ 4 ปี กับอีก 2 เดือน หลายๆคนอาจจะสงสัยว่าแล้วจะบอกไหมว่าเหตุผลที่น่าเห็นใจมันคืออะไร ... ไม่บอก ... ความลับของลูกความบอกไม่ได้ ... และบอกไปก็ไม่มีประโยชน์ เพราะแต่ละเคสก็มีลักษณะเฉพาะตัว ก็ต้องพิจารณากันเป็นเคสๆไป สำหรับบางคนที่เหมารวมว่าคนไม่มีวีซ่า/ผีจะไม่มีทางขอวีซ่าคู่ครองแบบในประเทศได้และต้องกลับไปยื่นแบบนอกประเทศเท่านั้น ก็ต้องบอกว่าไม่จริงเสมอไป คนเขียนเคยโพสไว้นานแล้วว่าเคสบางเคสทนายหรือเอเจนต์ต้องทำงานกับเรานานเป็นปีๆ เลือกคนที่คลิ๊กกับเรานะคะ จะได้ทำงานด้วยกันอย่างสบายใจ นอกเรื่อง .... มีน้องๆถามเกี่ยวกับ Bridging visa มาค่อนข้างเยอะ คนเขียนร่างไว้แล้วแต่ยังไม่เสร็จ รออีกแป๊บ... ที่ถามๆกันมาก็จะพยายามตอบให้นะคะ (ถ้าตอบได้) อาจจะตอบเป็นการส่วนตัว หรือทาง Blog ในหัวข้อ ถาม-ตอบ จิปาถะ (ไม่มีความจำเป็นต้องเช็ค Blog ทุกวันนะคะ ถ้าตอบทาง Blog จะแจ้งให้ทราบว่าตอบให้แล้วใน Blog) คำถามที่คนเขียนไม่ได้ตอบ คือคำถามที่ต้องดูเอกสารประกอบหรือต้องซักถามกันเพิ่มเติมหรือต้องอธิบายกันแบบยาวๆ ในกรณีแบบนี้รบกวนนัดปรึกษารับคำแนะนำกันแบบเป็นเรื่องเป็นราวนะคะ Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com จากที่รัฐบาลประกาศในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ว่าเงื่อนไขการขอเป็นพลเมืองของออสเตรเลียจะเปลี่ยน และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 20 เมษายน 2017
เงื่อนไขใหม่ที่รัฐบาลต้องการจะปรับใช้ ก็เช่น - ถือพีอาร์มาอย่างน้อย 4 ปีก่อน - มีผลภาษาอังกฤษระดับ Competent English (เทียบกับ IELTS ก็ 6 ทุกพาร์ท) - มีการปรับข้อสอบการเป็นพลเมืองใหม่ - โชว์ว่ามีการปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมและสังคมของออสเตรเลีย หลายๆคนอาจจะคิดว่าเงื่อนไขใหม่นี้มีผลบังคับใช้แล้ว แต่จริงๆแล้วยังนะคะ ยังไม่เป็นกฏหมาย และยังคงถกเถียงกันอยู่ในสภา ข่าวล่าสุด (เมื่อวาน) มีแนวโน้มสูงว่ารัฐบาลจะไม่ได้เสียงข้างมากในเรื่องของภาษาอังกฤษ เพราะ Labour, Green & NXT (Nick Xenophon Team) ไม่สนับสนุนผลภาษาอังกฤษสูงระดับนี้ (คนเขียนก็ไม่เห็นด้วย พลเมืองออสเตรเลียที่ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง แต่ก็ปรับตัวเข้ากับสังคมออสเตรเลียได้ มีงานทำ เสียภาษี เป็นพลเมืองที่ดี เป็นคนดีของสังคมก็เยอะแยะไป) นอกจากภาษาอังกฤษแล้ว บางส่วนก็ไม่เห็นด้วยกับการให้มีระยะถือพีอาร์นานขึ้นและยืดระยะเวลาการขอ Australian citizenship ออกไป และก็มีส่วนที่ไม่สนับสนุนให้เงื่อนไขใหม่มีผลย้อนหลังไปบังคับใช้ตั้งแต่ 20 เมษายน 2017 เราก็มารอดูกันต่อนะคะว่ากฏหมาย/เงื่อนไขใหม่จะผ่านสภาหรือไม่ - อาจจะไม่ผ่านสภาเลย และอิมมิเกรชั่นก็ต้องนำเงื่อนไขเดิมทั้งหมดมาปรับใช้ หรือ - อาจจะผ่านเป็นบางเงื่อนไข (โอกาสผ่านทุกเงื่อนไข น่าจะยากแล้วนะคะ เพราะรัฐบาลไม่น่าจะได้ เสียงข้างมากในสภา) - ถ้ามีเงื่อนไขบางอย่างผ่านสภา ก็ต้องมาดูว่าจะมีผลย้อนหลังไปถึงคนที่ยื่นระหว่าง 20 เมษายน 2017 แต่ ก่อนเงื่อนไขใหม่ผ่านสภามาเป็นกฏหมายหรือไม่ (คือจะมีผล Retrospective หรือไม่) หรือจะมีผลกับคนที่ ยื่นตั้งแต่วันที่เงื่อนไขใหม่มีผลบังคับใช้ตามกฏหมายเท่านั้น ที่มา ผ่านข่าวทางทีวีเมื่อคืนค่ะ และ Sydney Morning Herald และ ABC NEWS Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com เมื่อเดือนที่แล้วคนเขียนไปเจอมาว่าร่างกฏหมายการจดทะเบียนความสัมพันธ์ของรัฐ South Australia ผ่านสภามาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2016 แล้ว คนเขียนเชื่อว่าน่าจะมีผลบังคับใช้เร็วๆนี้ .... คือจริงๆน่าจะบังคับใช้มาตั้งนานแล้ว ก็ไม่ทราบว่ารัฐบาลรออะไร ....
คนเขียนเลยบอกน้องๆลูกความที่อยู่ในความสัมพันธ์ฉันท์ De facto แต่ยังไม่ครบ 12 เดือน (หรือเกิน 12 เดือนแล้ว แต่หลักฐานไม่แน่น) ให้คอยติดตามกับทางหน่วยงานรัฐบาลว่าเมื่อไหร่กฏหมายตัวนี้จะบังคับใช้ และตอนนี้ (เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2017) ที่ South Australia ก็สามารถจดทะเบียนความสัมพันธ์ได้แล้วนะคะ ลูกความของคนเขียนคาดว่าจะเป็นคู่แรกๆที่ได้ใช้กฏหมายนี้ ป.ล.1 รัฐอื่นที่ยังไม่มีกฏหมายรองรับการจดทะเบียนความสัมพันธ์ ก็อาจจะมีได้ซักวันนึงนะคะ เพราะฉะนั้นอย่าด่วนสรุป ไม่อย่างงั้นเราอาจจะพลาดโอกาสดีๆได้ ป.ล.2 เงื่อนไขการจดทะเบียนความสัมพันธ์ของแต่ละรัฐไม่เหมือนกันนะคะ บางรัฐที่รับจดทะเบียนความสัมพันธ์อยู่แล้ว ก็อาจจะมีการเปลี่ยนเงื่อนไขได้ ก่อนจะยื่นใบสมัครก็เช็คเงื่อนไขกันด้วยนะคะ จะได้เตรียมเอกสารให้ครบ ไม่เสียเวลาหรือเสียตังค์ฟรี ข้อมูลการจดทะเบียนความสัมพันธ์ของ South Australia อยู่ที่ https://www.sa.gov.au/topics/family-and-community/births,-deaths-and-marriages/register-a-relationship Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com คนเขียนมีเคสน่าสนใจที่จะมาสรุปให้ฟังค่ะ ไม่ใช่เคสของคนเขียนเองนะคะแต่เป็นเคสที่ตีพิมพ์ไว้ และประชาชนคนทั่วไปก็สามารถเข้าไปอ่านได้ (ถ้าเป็นเคสของตัวเอง คนเขียนจะลงลึกไม่ได้ เพราะมีหน้าที่รักษาความลับของลูกความ)
เคสนี้เป็นวีซ่าบุตรบุญธรรมที่ถูกปฏิเสธในชั้นอิมมิเกรชั่น และก็ไม่ประสบความสำเร็จที่ชั้นอุทธรณ์ Administrative Appeals Tribunal (AAT) ก็เลยมาร้องต่อศาล Federal Circuit Court และก็ไม่ประสบความสำเร็จอยู่ดี เคสนี้เป็นเคสที่ป้าหรือน้าไม่แน่ใจ (เรียกว่า"ป้า" แล้วกันนะคะ เพื่อความสะดวก) ซึ่งเป็นพลเมืองของออสเตรเลียแล้ว ต้องการที่จะนำหลานอายุ 17 มาอยู่ด้วย (ซึ่งเป็นลูกของพี่หรือลูกของน้องก็ไม่แน่ใจ - คิดซะว่าเป็นลูกของน้องนะคะ เพื่อความสะดวก) - พ่อแม่แท้ๆจะแก่หรืออ่อนกว่าพ่อแม่บุญธรรมในกรณีนี้ ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ และภาษาอังกฤษใช้คำว่า sister คนเขียนก็ไม่ทราบว่าใครแก่กว่าใคร รู้แค่ว่าแม่ที่แท้จริงกับคนที่อยากเป็นแม่บุญธรรมเป็นพี่น้องกัน) เคสนี้ตามที่อ่าน ป้าไม่ได้มีการทำเรื่องบุตรบุญธรรมที่ประเทศไทย (คือไม่มีหลักฐานว่าทำ) แต่มีการร้องขอต่อศาลที่ประเทศออสเตรเลีย (Family Court of Australia) ให้มีสิทธิ์ในการปกครอง (parenting orders) หลานอายุ 17 คนนี้ ซึ่งพ่อแม่ที่แท้จริงของหลานก็ยังมีชีวิตอยู่และเซ็นยินยอมให้สิทธิ์ในการปกครองลูกตัวเองแก่ป้า เพื่อที่จะได้มาเรียน มาอาศัยอยู่ที่ออสเตรเลีย ตอนแรกป้าเริ่มด้วยวีซ่า Orphan relative แปลเป็นไทยว่าวีซ่าสำหรับญาติที่เป็นกำพร้า วีซ่าถูกปฏิเสธเพราะพ่อแม่แท้จริงก็ยังมีชีวิตอยู่ ไม่ได้ตาย ไม่ได้สูญหาย ไม่ได้พิการ ป้าเลยยื่นวีซ่าบุตรบุญธรรมแทน ประเด็นสำคัญที่โต้เถียงโดยป้าคือ 1. ป้าอ้างถึงคำสั่งของศาลออสเตรเลียที่ให้อำนาจป้าปกครองหลาน (parenting orders) - ศาลบอกว่าให้อำนาจปกครองหลาน ไม่ได้เป็นเอกสารที่แปลว่าหลานได้กลายเป็นบุตรบุญธรรมของป้าแล้ว 2. ป้าบอกว่าไปหา Department of Family and Community Services (FACS) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่พิจารณาอนุมัติการรับบุตรบุญธรรมแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ไม่ยอมรับพิจารณา (เพราะหน่วยงานจะพิจารณาอนุมัติบุตรบุญธรรม ที่ไม่ใช่แบบญาติรับญาติมาเป็นบุตร) ป้าโต้เถียงว่า การที่ FACS ไม่ยอมรับเรื่องพิจารณาการรับบุตรบุญธรรมของป้า ป้าถือเป็นการอนุมัติบุตรบุญธรรมแล้วโดยปริยาย (???? ตรงนี้ คนเขียนงงๆนะคะ ว่าการไม่รับเรื่องไว้พิจารณา จะถือว่าเป็นการอนุมัติได้อย่างไร อาจจะมีรายละเอียดทางเอกสารมากกว่าที่เขียนไว้ในคำตัดสินเคสนี้นะคะ ถึงทำให้ป้าคิดแบบนี้) - ศาลบอกว่าการที่ FACS ปฏิเสธที่จะพิจารณาเคสญาติรับญาติมาเป็นบุตรบุญธรรม จะมานัวๆว่ามีการอนุมัติได้ยังไง ต้องมีเอกสารอนุมัติที่ชัดเจนสิ 3. ป้าบอกว่าจริงๆแล้วป้าเป็นแม่บุญธรรมตามธรรมเนียมไทย (Customary/informal adoption) มานานแล้ว เพราะที่ประเทศไทยหลานมักจะอยู่ในความดูแลของปู่ย่าตายาย ในกรณีนี้นอกจากตายายแล้ว ป้าก็ช่วยดูแลและรับภาระทางการเงินส่งหลานเรียน ทำไม AAT (หน่วยรับอุทธรณ์แรก) ไม่ถามถึงจุดนี้ในวันพิจารณา และไม่ยอมพิจารณาในประเด็นนี้ - ศาลบอกว่า ถ้าคิดว่าประเด็นไหนสำคัญและอยากให้พิจารณา ป้ามีหน้าที่นำเสนอต่อ AAT นะคะ ... AAT ไม่ได้มีหน้าที่ๆจะต้องถามทุกอย่างที่ป้าอยากให้ถาม - และถ้าป้าจะบอกว่า ป้าได้นำเสนอต่อ AAT แล้ว ว่าป้าเป็นแม่บุญธรรมตามธรรมเนียมไทยมานานแล้ว แต่ AAT กลับไม่เอามาพิจารณา ศาลบอกว่าไหนล่ะหลักฐานว่าได้นำเสนอต่อ AAT แล้ว ไม่เห็นเอามาแสดงต่อศาล (Federal Circuit Court) เลย ... อ้างลอยๆไม่ได้นะ - และหลักฐานที่ศาลมีในเคสนี้ ก็ไม่มีชิ้นไหนเลยที่สื่อว่าได้มีการรับบุตรบุญธรรมกันมาก่อนแล้วจากประเทศไทย มีแต่เอกสารที่สื่อว่าป้าและสามีมาพยายามทำเรื่องรับบุตรบุญธรรมในประเทศออสเตรเลีย ... เคสอิมมิเกรชั่นเป็นเคสที่ว่ากันตามหลักฐาน และการพิสูจน์หลักฐานนะคะ ไม่ว่าจะที่ชั้นอิมมิเกรชั่น ชั้นอุทธรณ์ที่ AAT ชั้นอุทธรณ์ที่ Federal Circuit Court / Federal Court หรือ High court หรือชั้นอื่นๆที่บางเคสเปิดโอกาสให้ไปได้ ศาลโน๊ตไว้ด้วยว่า เคสนี้จริงๆแล้วเป็นเคสที่ต้องยื่นแบบนอกประเทศเท่านั้น แต่ตัวหลานอยู่ในประเทศออสเตรเลียตอนยื่น (ซึ่งแค่จุดนี้จุดเดียวก็ไม่รอดแล้ว และ AAT จะไม่พิจารณาจุดอื่นเลยก็ได้) คนเขียนโน๊ตว่าป้าและสามีไม่ได้แต่งทนายมาช่วยในเคส Federal Circuit Court (อาจจะมีคนช่วยอยู่เบื้องหลัง รึเปล่า อันนี้ไม่แน่ใจ) เคสบุตรบุญธรรมในกรณีที่ผู้ขอรับบุตรธรรมเป็นพีอาร์ หรือพลเมืองของออสเตรเลียไปแล้ว มีความซับซ้อนสูง และความเสี่ยงสูง ต้องใช้เวลาพิจารณากันนานเพราะข้อมูลเยอะ และต้องพิจารณากันเป็นเคสๆไปนะคะ ปกติแล้วคนเขียนจะโพสที่มาของข้อมูล แต่เนื่องจากเคสนี้เป็นเคสคนไทย แหล่งข้อมูลระบุชื่อนามสกุลชัดเจน ถึงแม้ว่าเคสนี้จะได้ตีพิมพ์ให้คนทั่วไปหาอ่านได้ และคนเขียนก็ไม่ได้มีหน้าที่รักษาความเป็นส่วนตัวให้กับป้าและหลานในเคสนี้ แต่ด้วยวัฒนธรรมไทยและเคารพในความเป็นส่วนตัวของป้าหลานคู่นี้ คนเขียนขอแจ้งแหล่งข้อมูลแค่ว่าเป็นคำตัดสินของ Federal Circuit Court ปี 2017 Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com วีซ่าผู้ลี้ภัย (Protection visa) เป็นอีกวีซ่านึงที่น้องๆโทรถามอยู่เรื่อยๆ ส่วนใหญ่ถามว่ารับทำไหม และค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ แปลกใจที่ไม่มีใครถามว่าตัวเองเข้าข่ายมีโอกาสที่จะได้วีซ่าตัวนี้หรือไม่
คนเขียนสงสัยว่าน้องๆไปเอาความคิดที่จะขอ Protection visa มาจากไหน น้องที่โทรมาส่วนใหญ่จะฟันธงมาเลยว่าต้องการให้ทำ Protection visa ไม่ถามด้วยว่าตัวเองมีทางเลือกอื่นหรือไม่ วีซ่าตัวนี้มีไว้สำหรับคนที่ไม่สามารถกลับไปประเทศของตัวเองได้ เพราะเหตุผลตามลิงค์นี้ เช่นในบางประเทศไม่ยอมรับคนที่รักชอบเพศเดียวกัน คนที่นับถือศาสนาหรือลัทธิย่อย หรือชนกลุ่มน้อย หรือในบางประเทศก็มีกลุ่มที่มีความคิดเห็นแตกต่างทางการเมือง จนเป็นเหตุให้มีความกลัวว่าจะถูกทำร้ายหรือจะถูกฆ่าตาย โดยที่กฏหมาย ผู้รักษากฏหมายและรัฐบาลไม่สามารถปกป้องคุ้มครองเค้าได้ หรือไม่สนใจที่จะคุ้มครอง หรือคุ้มครองไปตามพิธีแต่ไม่ให้ความเป็นธรรม นอกจากนี้ยังต้องมาดูว่าการย้ายไปอยู่พื้นที่อื่นจะทำให้ปัญหาความกลัวว่าจะถูกทำร้ายและ ไม่ได้รับความเป็นธรรมหมดไปหรือไม่ คนไทยแทบจะไม่มีเหตุที่เข้าข่ายว่าจะได้ Protection visa เลย (ใช้คำว่าแทบจะ เพราะบางเคสก็มีความเป็นไปได้ และก็เคยมีคนไทยได้ Protection visa มาแล้ว... แต่น้อยมากๆ) เคสที่ดูเหมือนจะเข้าข่าย ก็ยังไม่ทราบเลยว่าจะได้วีซ่ามารึเปล่าขึ้นอยู่กับน้ำหนักพยานหลักฐานและความน่าเชื่อถือ เคสประมาณยืมเงินแล้วหนีหนี้มาออสเตรเลียเพราะถูกเจ้าหนี้ทวงหรือจะถูกฟ้องศาล ไปก่อคดีอาญามาและกำลังจะถูกจับ อยู่เมืองไทยตกงานเลยอยากมาอยู่ออสเตรเลียเพราะหางานทำง่าย ไม่ใช่สาเหตุที่ออสเตรเลียจะออก Protection visa ให้นะคะ เวลาน้องๆโทรมา คนเขียนจะถามว่าเหตุผลที่ต้องการขอ Protection visa คืออะไร กลัวอะไรที่ทำให้กลับประเทศไทยไม่ได้ คำตอบที่ได้คือไม่มีค่ะ เห็นเพื่อนๆขอกัน เห็นได้อยู่ต่อ เห็นได้ทำงาน เห็นทนาย/เอเจนต์บอกว่าเดี๋ยววีซ่าออกก็จะได้พีอาร์เลย เห็นว่าทำง่ายใครๆก็ทำกัน (สงสัยว่า "ใครๆ" ที่ว่านี่ มีใครได้ Protection visa กันบ้าง) สำหรับน้องๆที่ยังถือวีซ่าอยู่ เช่นวีซ่าท่องเที่ยว วีซ่านักเรียน วีซ่า 457 ขอร้องว่าอย่าตัดอนาคตตัวเองด้วยการยื่น Protection visa ถ้าตัวเองไม่มีเหตุแห่งความกลัวตามลิงค์ ....ถ้าจำเป็นจะต้องยื่นวีซ่าอะไรซักอย่างเพื่ออยู่ต่อ ก็ควรจะยื่นวีซ่าที่ตัวเองอาจจะมีสิทธิ์ได้วีซ่านั้น (ไม่ว่าจะที่ชั้นอิมมิเกรชั่น หรือที่ชั้นอุทธรณ์) จะดีกว่า ปกติแล้วคนเขียนไม่รับทำ Protection visa นะคะ .... ใช้คำว่าปกติ เพราะก็มีกรณีไม่ปกติที่คนเขียนอาจจะพิจารณารับทำอยู่บ้าง... ซึ่งน้อยมาก (ตั้งแต่ทำงานด้านนี้มา มีไม่ถึง 10 เคส และมีอยู่เคสเดียวในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา) เคสที่รับทำก็จะเป็นเคสที่ไม่มีทางเลือกอื่น (นอกจากการกลับออกไปและอาจจะไม่ได้กลับเข้ามา) และที่ทำก็เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกความได้ไปต่อในการพิจารณาชั้นอื่น ที่อาจจะทำให้ได้วีซ่าไม่ว่าจะวีซ่าชั่วคราวหรือวีซ่าถาวร (ใช้คำว่า "อาจจะ" เพราะผลลัพท์จริงๆ จะได้หรือไม่ได้วีซ่า จะได้วีซ่าชั่วคราวหรือวีซ่าถาวร วีซ่าที่ได้จะมีเงื่อนไขอะไร หรือจะต้องแพ็คกระเป๋ากลับไทยในที่สุด ไม่มีใครตอบได้ ... ซึ่งลูกความก็ต้องยอมรับความเสี่ยงและผลลัพธ์ที่อาจจะไม่ใช่อย่างใจคิดให้ได้ ก่อนที่จะเริ่มงานกัน) ชักงงรึเปล่า ประโยคนึงบอกว่าการยื่น Protection visa เป็นการตัดอนาคต อีกประโยคบอกว่าเป็นการเปิดโอกาส สรุปดีกว่า.... เคส Protection visa ของคนไทยส่วนใหญ่เป็นเคสที่จะไม่ประสบความสำเร็จ เป็นการชะลอเวลากลับบ้าน และเมื่อถูกปฏิเสธก็คาดว่าจะติด section 48 บาร์ ซึ่งอาจจะทำให้ไม่สามารถยื่นวีซ่าแบบในประเทศตัวอื่นที่อาจจะมีสิทธิ์ยื่นได้ในอนาคต เคสที่ปั้นเรื่องขึ้นมาก็อาจจะถูกปฏิเสธพร้อมติดบาร์ 3 ปีจาก Public Interest Criterion 4020 ..... ถ้าทราบอยู่แล้วว่าผลลัพธ์จะเป็นประมาณนี้ แล้วยังอยากจะทำ Protection visa ก็ไม่มีใครห้ามได้ (แต่คนเขียนไม่รับทำ) ถ้าไม่ทราบเพราะถูกหลอกว่าทำได้ง่ายๆและในที่สุดจะได้พีอาร์ ก็ทราบซะนะคะว่าตัวเองถูกหลอก (เคส Protection visa ของคนไทยที่เข้าข่ายจะได้วีซ่า คนเขียนคิดว่ามีไม่ถึง 1%) ..... มีน้องๆมาบอกว่าเห็นเพื่อนๆ คนรู้จักทำกับนายหน้าบ้าง เอเจนต์บ้าง บางคนทำกับทนายความด้วย เสียเงินเป็นหมื่นเหรียญและเค้าสัญญาว่าจะได้พีอาร์ พอถามว่าแล้วตกลงเพื่อนได้พีอาร์รึเปล่า น้องบอกยังไม่เห็นมีใครได้เลย บางคนแพ็คกระเป๋ากลับบ้านไปแล้ว.... อ้าว... รู้อย่างนี้แล้ว จะมาถามหา อยากทำ Protection visa เพื่ออะไร..... ถ้าจะเสียเงินเป็นหมื่นเหรียญ เอาเงินนี้ไปเสียกับการทำวีซ่าที่ตัวเองมีสิทธิ์ลุ้นดีกว่าไหมคะ เคสที่คนเขียนอาจจะพิจารณารับทำคือเคสที่ไม่มีทางเลือกอื่นที่เหมาะสมกว่านอกจากการยื่น Protection visa และมีเหตุผลที่น่าเห็นใจที่เข้าข่ายว่าอาจจะมีโอกาสได้วีซ่า ณ จุดใดจุดหนึ่งในกระบวนการทางด้านคนเข้าเมืองซึ่งก็ไม่ได้มีแค่การยื่นวีซ่าและการยื่นอุทธรณ์เท่านั้น (ซึ่งเหตุผลน่าเห็นใจ ก็อาจจะไม่ได้เกี่ยวกับเหตุผลทาง Protection visa เลย แต่ต้องน่าเห็นใจจริงๆ) และเคสประมาณนี้เราดูแลกันเป็นปีหรือหลายปี เพราะเคสจะไม่ได้จบแค่การยื่น Protection visa นะคะ ปล. "เข้าข่ายว่าอาจจะมีโอกาสได้วีซ่า" แปลว่ามีความเป็นไปได้ มีความน่าจะเป็น โดยพิจารณาจากเทรนการตัดสิน และนโยบายของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีว่าการคนเข้าเมืองในช่วงเวลานั้นๆ ไม่ได้แปลว่าจะได้วีซ่าแน่ๆ นะคะ เพราะไม่ว่าจะรัฐบาล รัฐมนตรี หรือนโยบาย ก็มีการเปลี่ยนแปลงได้ ... ถึงได้บอกว่าไม่ว่าใครก็รับประกันความสำเร็จของงานไม่ได้... ไม่ได้บอกว่าคนไทยไม่มีสิทธิ์ได้ Protection visa แค่บอกว่าโอกาสได้ยากมาก ไม่ได้บอกว่าคนเขียนไม่รับทำ Protection visa อ่านเงื่อนไขก็จะทราบว่าคนเขียนรับทำ (น้อยมาก) ลิงค์จาก: www.border.gov.au Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com มีน้องๆที่วีซ่าขาดติดต่อเข้ามาอยู่เรื่อยๆนะคะ หนู/ผมมีแฟนเป็นชาวออสเตรเลีย/เป็นพีอาร์ จะยื่นวีซ่าคู่ครองที่นี่ได้ไหม
คนเขียนจะบอกลูกความ และน้องๆที่โทรมาขอคำปรึกษาเสมอว่า อย่ารอจนวินาทีสุดท้ายนะคะ พร้อมแล้วยื่นเลย (ในบางเคสไม่พร้อมที่สุด ยังต้องยื่นเลยเพราะรอแล้วอาจจะพลาดโอกาสได้)
"ยื่น" ที่ว่านี่คือ ยื่นใบสมัครวีซ่า ยื่นอุทธรณ์นะคะ จริงๆแล้วมันเป็นอะไรที่เข้าใจได้ง่าย แต่บางคนไม่พยายามที่จะเข้าใจ หรือไม่ได้ใส่ใจ แต่บางอย่างพลาดแล้วพลาดเลยนะคะ ...... ยกตัวอย่างดีกว่าจะได้เห็นภาพ ตัวอย่างที่ 1 น้องอยู่ในวีซ่า 485 กำลังจะหมดอายุ น้องยื่นวีซ่านักเรียนเข้าไปก่อนวีซ่าหมดอายุ 1 วัน ชำระค่าใบสมัครวีซ่าผ่านบัตรเครดิต ปรากฏว่าเงินค่าประกันสุขภาพตัดบัตรวันนั้นพอดี วงเงินที่เหลือไม่พอให้อิมมิเกรชั่นหักค่าใบสมัครวีซ่านักเรียน กว่าอิมมิเกรชั่นจะแจ้งให้ทราบ กว่าจะมีเงินพอให้หักค่าวีซ่านักเรียน วีซ่า 485 ก็หมดอายุไปแล้ว 4 วัน แปลว่าไม่สามารถยื่นวีซ่านักเรียนในประเทศออสเตรเลียได้ เพราะวีซ่าที่ยื่นไปถึงแม้ว่าจะทันเวลา แต่เก็บค่ายื่นไม่ได้ เป็น invalid application พอเก็บค่ายื่นได้ วีซ่า 485 ก็หมดอายุไปแล้ว ก็เป็น invalid application อยู่ดี "invalid application" คือใบสมัครที่อิมมิเกรชั่นไม่สามารถพิจารณาได้ คือจะออกวีซ่าให้ก็ไม่ได้ จะปฏิเสธก็ไม่ได้ (ก็ไม่ต้องหวังยื่นอุทธรณ์ด้วย เพราะไม่มีการปฏิเสธวีซ่าเกิดขึ้น) อิมมิเกรชั่นทำได้อย่างเดียว คืนเงินค่าสมัครให้ ตัวอย่างที่ 2 น้องอยู่ในวีซ่านักเรียน กำลังจะหมดอายุ น้องจะยื่นวีซ่านักเรียนต่อ เอเจนต์งานยุ่ง น้องก็ยุ่งกับภาระกิจอื่น เอเจนต์บอกว่าไม่เป็นไรน้องยังยื่นวีซ่านักเรียนได้ภายใน 28 วันหลังวีซ่านักเรียนตัวเดิมหมดอายุ ถูกต้องนะคะ ทำได้ค่ะ แต่หนเดียวเท่านั้น ปรากฏว่าเอเจนต์ไม่ทราบว่าใช้ได้แค่หนเดียว หรือไม่ทราบว่าน้องเคยยื่นช้ามาแล้วหนนึง เลยเรื่อยเฉื่อยๆและยื่นวีซ่านักเรียนตัวใหม่เข้าไปหลังวีซ่านักเรียนหมดอายุ เหมือนข้อ 1 ค่ะ ไม่สามารถยื่นวีซ่านักเรียนในประเทศออสเตรเลียได้แล้ว และวีซ่าที่ยื่นไปก็เป็น invalid application ตัวอย่างที่ 3 น้องถือวีซ่า 457 ซึ่งไม่มีทางต่อยอดไปเป็นพีอาร์หรือต่อ 457 อีกครั้งได้ (ด้วยเหตุผลหลายๆอย่างที่จะไม่เอ่ยถึง) น้องไปหาเอเจนต์นักเรียนเพื่อจะขอวีซ่านักเรียนใหม่ (บางเคสมีลุ้นนะคะ อาจจะผ่าน อาจจะไม่ผ่าน ไม่ลองไม่รู้) น้องไปหาเอเจนต์แต่เนิ่นๆ จ่ายเงิน เลือกคอร์ส ส่งเอกสาร เอเจนต์งานยุ่งลืมยื่น เลยวันที่วีซ่า 457 หมดอายุไปสองวัน แถมบอกน้องว่าไม่เป็นไรวีซ่าหมดอายุก็ยื่นได้ ถ้ายื่นภายใน 28 วัน ไม่ถูกต้องนะคะ วีซ่า 457 ไม่อยู่ในลิสของวีซ่าที่ถ้าหมดอายุแล้วจะยังยื่นวีซ่านักเรียนได้ภายใน 28 วัน แปลว่าในเคสนี้ก็ไม่สามารถยื่นวีซ่านักเรียนในประเทศออสเตรเลียได้แล้วค่ะ และวีซ่าที่ยื่นไปเป็น invalid application ตัวอย่างที่ 4 น้องถูกปฏิเสธวีซ่า ต้องยื่นอุทธรณ์ไปที่ AAT ให้ทันเวลา (21 วัน นับจากวันที่ถือว่าได้รับแจ้ง) ตั้งใจจะยื่นวันสุดท้ายและวินาทีสุดท้าย ระบบขัดข้องปิดปรับปรุง พลาดค่ะ เลยกำหนดยื่นไป 1 วัน แปลว่า AAT ไม่มีสิทธิ์พิจารณาเคสอุทธรณ์นี้ค่ะ (no jurisdiction) ตัวอย่างที่ 5 เคสนี้หลายปีมากแล้วนะคะ ลูกความติดต่อคนเขียนมาเนิ่นๆ ขอคำปรึกษาจะทำพีอาร์ผ่านวีซ่า 457 ที่ถือมาเกิน 2 ปีแล้ว ลูกความอายุเกิน 50 ภาษาอังกฤษไม่ได้ คนเขียนแจ้งว่าถ้าจะยื่นก็ต้องรีบยื่นนะคะ ก่อน 30 มิถุนายน (ปีอะไรจำไม่ได้แล้ว) พลาดแล้วพลาดเลยเพราะกฏจะเปลี่ยนวันที่ 1 กรกฏาคม บอกด้วยว่าเป็น Paper application นะคะ และขอยกเว้นทั้งอายุและภาษาต้องทำ Submissions + เอกสารอีกมากมาย ถ้าจะยื่นแจ้งกันแต่เนิ่นๆ จะได้มีเวลา เตรียมเคสให้แน่นๆ เผื่อเวลาสำหรับส่งไปรษณีย์ courier อะไรไว้ด้วย คนเขียนตามลูกความอยู่หลายครั้ง เพราะกลัวจะพลาดโอกาสสุดท้ายและพีอาร์จะหลุดลอยไป ปรากฏว่าลูกความติดต่อมาให้ทำเคสให้ในวันที่ 30 มิถุนายน ... สี่โมงเย็น ..... ....วันสุดท้ายที่มีสิทธิ์ยื่น .... และเป็นวันเสาร์ ............... พอแล้วมั้งคะสำหรับตัวอย่าง พอเห็นภาพนะคะ ..... สรุปสั้นๆ 1. เคสส่วนใหญ่ เมื่อพร้อมก็ควรยื่น อย่ารอจนวินาทีสุดท้าย 2. เคสบางเคส ต้องดูลาดเลาว่ายื่นตอนไหนถึงจะเหมาะสม และเพิ่มโอกาสในการได้วีซ่า 3. เคสบางเคสไม่พร้อมก็ต้องยื่น เพราะวีซ่ากำลังจะหมด เวลาการยื่นอุทธรณ์ใกล้เข้ามา หรือกฏกำลังจะเปลี่ยน 4. ไม่มีคำแนะนำแบบตายตัว ที่จะปรับใช้ได้กับทุกเคสนะคะ แต่ละเคสมีลักษณะเฉพาะของตัวเอง ไม่แน่ใจว่าเคสของตัวเองควรจะทำยังไง หาคำแนะนำแต่เนิ่นๆ จะได้มีเวลาเตรียมตัวทำเคสแน่นๆ 5. รับผิดชอบชีวิตตัวเองด้วยนะคะ อย่าเอาชีวิตตัวเองไปฝากไว้กับคนอื่นอย่างเดียว (ไม่ได้แนะนำให้ทำเคสเองหรือไม่ทำเคสเอง ... ทำเองได้ถ้าสามารถ ... แต่หมายความว่าถ้าจะใช้บริการเอเจนต์ก็ติดตามเคสตัวเองด้วยว่าเคสไปถึงไหนแล้ว ต้องการอะไรเพิ่ม จะยื่นได้ทันเวลาไหม ... เราต้อง Proactive ค่ะ) ป.ล.1 คนเขียนชอบลูกความที่ Proactive ค่ะ โทรถาม โทรตาม โทรขออัพเดท โทรเช็คเอกสาร ไม่ว่าเลย ชอบด้วยซ้ำ ... ถามซ้ำเดิมๆก็ได้ สงสัยถามมา อธิบายแล้วอธิบายอีกก็ได้ไม่ว่ากัน แถม ตัวอย่างที่ 6 (เมื่อเร็วๆนี้เองค่ะ) น้องถือวีซ่านักเรียนที่กำลังจะหมด จะต่อวีซ่านักเรียน จ่ายเงิน ส่งเอกสาร รอเอเจนต์ยื่นเรื่องให้ รอแล้วรออีก โทรมาถามคนเขียนว่าทำยังไงดีคะ เอเจนต์ไม่ยื่นให้ซะที กังวลมากเหลืออีก 2 วันวีซ่าจะหมดอายุ คนเขียนแจ้งน้องให้ทราบว่าวีซ่านักเรียนหมด ก็ยังสามารถต่อวีซ่านักเรียนภายใน 28 วันได้หนึ่งครั้ง แต่อย่าสบายใจเพราะน้องอาจจะไม่ทราบว่าตัวเองเคยใช้สิทธิ์นี้มาแล้วหรือยัง เอเจนต์อาจจะเคยยื่นช้าแต่ไม่ได้แจ้งน้อง หรือถึงไม่เคยยื่นช้าเลย ทำไมจะต้องเคยด้วย ถ้าเรายังอยู่ในภาวะที่สามารถยื่นได้ทันเวลา สรุปว่าคนเขียนแนะนำให้น้องไปนั่งกดดันเอเจนต์ให้ยื่นให้ทันเวลา ไม่ยื่นไม่ต้องกลับ นั่งอยู่ที่นั่นแหละ (ไม่รู้ว่าน้องจะกล้ารึเปล่านะ) อีกทางเลือกนึง เปลี่ยนเอเจนต์ค่ะ ป.ล.2 คนเขียนไม่ได้โพสทุกคำถามคำตอบที่ส่งเข้ามานะคะ ถ้าข้อมูลไม่เพียงพอที่จะพิจารณาและให้คำตอบที่เอาไปปรับใช้ได้จริง ก็จะไม่ได้ตอบนะคะ Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com มีน้องๆโทรมาหาคนเขียนบ่อยมาก เรื่องปัญหาถูกเอเจนต์ลอยแพ หรือถ้าไม่อยากถูกลอยแพก็ต้องชำระเงินเพิ่ม
วันนี้ก็เช่นกันค่ะ น้องใช้บริการเอเจนต์ในการยื่นอุทธรณ์ไปที่ Administrative Appeals Tribunal (AAT) [เมื่อก่อนคือ Migration Review Tribunal (MRT) บทความเดิมที่คนเขียนๆไว้นานแล้ว ยังคงปรับใช้ได้อยู่นะคะ] น้องรอเรื่องที่ยื่นไปที่ AAT มาเกีอบปี ตอนนี้มีเอกสารเรียกให้ไป AAT Hearing (คืออะไร ช่วยอ่านบทความเดิมนะคะ) เอเจนต์แจ้งน้องว่าถ้าจะให้ช่วยต่อ จะต้องชำระเงินเพิ่ม ไม่อย่างงั้นก็จะเลิกช่วย น้องไม่มีเงินที่จะชำระเพิ่ม ตอนนี้ก็ต้องเตรียมตัวไป AAT ตามลำพัง เหลือเวลาเตรียมตัวอยู่นิดเดียว เอกสารก็ไม่มี ติดต่อ AAT ก็ไม่เป็น คนเขียนก็แนะนำเท่าที่แนะนำได้นะคะ ขอนอกเรื่องนิดนึงนะคะ ทุกครั้งที่คนเขียนสะกดคำว่า Agent เป็นภาษาไทย ก็เกิดอาการไม่แน่ใจทุกทีว่าที่ถูกควรเป็น "เอเจนต์" หรือ "เอเจนท์" ... แต่คนเขียนชอบ "เอเจนต์" มากกว่าก็จะสะกดแบบนี้ จนกว่าจะมีคนแจ้งเข้ามาว่าสะกดผิดนะคะ เข้าเรื่องกันต่อ... เรื่องขอเรื่องคืออยากให้ข้อคิดและข้อมูลที่น้องๆบางคนอาจจะไม่ทราบ 1. กฏข้อบังคับของ Registered Migration Agent ระบุว่าเอเจนต์จะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนเริ่มงาน ว่าบริการที่เอเจนต์เสนอจะทำให้ลูกความมีอะไรบ้าง ประมาณการณ์ค่าบริการและค่าใช้จ่ายอื่นๆเช่นค่ายื่นใบ สมัครวีซ่า/ค่ายื่นอุทธรณ์ ค่าตรวจสุขภาพ ค่าใบตำรวจ เป็นต้น 2. ในส่วนของค่าบริการ บางเอเจนต์อาจจะให้จ่ายรวดเดียวเป็นก้อนใหญ่เลย ซึ่งคลอบคลุมงานทั้งหมดที่ต้องทำ บางเอเจนต์อาจจะให้มีการผ่อนจ่ายเป็นงวดๆ บางเอเจนต์อาจจะให้มีการจ่ายตามสเต็ปของงานที่ทำหรือจะทำ ในอนาคต หรือจะมีการคิดค่าบริการกันเป็นรายชั่วโมง ขึ้นอยู่กับการตกลงกันค่ะ แต่ละเอเจนต์ก็มีวิธีการคิดและ วิธีชำระค่าใช้จ่ายและค่าบริการแตกต่างกันไป 3. การเรียกค่าใช้จ่ายในการทำงานเพิ่ม ไม่ใช่เรื่องแปลกหรือผิด ถ้า * มีการแจ้งค่าใช้จ่าย ค่าบริการกันล่วงหน้าแล้ว และเรียกชำระกันเป็นงวดๆ (Instalment) หรือตามสเต็ป ของงานที่จะเกิดขี้น (ซึ่งจริงๆในกรณีนี้ไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่ม ถ้าได้มีการตกลงกันแบบนี้ไว้ล่วงหน้าแล้ว คือทราบอยู่แล้วว่าจะ มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นเมื่อเวลาใดเวลาหนึ่งมาถึง หรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น) * เป็นงานที่อยู่นอกเหนือความคาดหมาย เช่น กฏหมายเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน งานงอกเพราะลูกความ บอกไม่หมด หรืองานงอกเพราะอิมมิเกรชั่นไปเจอข้อมูลที่ลูกความก็ไม่เคยทราบมาก่อน แล้วกลาย เป็นปัญหาที่จำเป็นต้องมีการแก้ไข และเป็นเหตุให้เอเจนต์ต้องใช้เวลาเกินกว่าที่คาดไว้ในการทำเคส 4. การเรียกค่าใช้จ่ายที่ไม่โอเค คืออยู่ๆนึกอยากเรียกเก็บก็เรียกเก็บ ลูกความไม่ทราบมาก่อน ไม่ได้มีการตกลงกัน ไว้ล่วงหน้า ไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจ และที่สำคัญไม่ได้เตรียมเงินไว้ ในกรณีของน้องที่ยกตัวอย่างข้างบน การที่เอเจนต์เรียกเก็บเงินเมื่อมีเอกสารจาก AAT เรียกให้ไป Hearing คงไม่ใช่เรื่องแปลกหรือผิดแต่อย่างใด ถ้าเอเจนต์ได้มีการแจ้งเป็นลายลักษณ์ให้ลูกความทราบตั้งแต่แรกแล้วว่าเมื่อ AAT เรียกมาจะมีค่าบริการเท่านั้นเท่านี้ที่ต้องชำระ (ก็คือต่างฝ่ายต่างเข้าใจตรงกัน ลูกความก็มีหน้าที่เก็บเงินเผื่อค่าใช้จ่ายตรงนี้ เมื่อถึงเวลาเรียกเก็บก็ชำระ ถ้าลูกความไม่สามารถชำระได้ เอเจนต์จะไม่ทำงานต่อก็เป็นสิทธิ์ของ เอเจนต์) แต่ถ้าลูกความไม่เคยทราบมาก่อนเลยว่าจะมีค่าใช้จ่ายงอกขึ้นมา ก็ไม่ได้มีการเก็บเงินเผื่อไว้ เอเจนต์จะมาแจ้งค่าบริการเพิ่มภายหลัง ด้วยเงื่อนไขว่าถ้าไม่จ่ายจะถอนตัว คนเขียนว่าไม่แฟร์ และที่สำคัญไม่ถูกต้องตามกฏข้อบังคับของ Registered Migration Agent นะคะ *** ทำวีซ่า ทำอุทธรณ์... ทำสัญญาการทำงานเป็นลายลักษณ์อักษรนะคะ ก่อนเซ็น... อ่าน สงสัย... ถามก่อนเซ็น บทความเก่าของคนเขียนเกี่ยวกับการเลือก Registered Migration Agent หรือ Immigration Lawyer ยังคงปรับใช้ได้อยู่นะคะ ป.ล. Registered Migration Agent ไม่ได้เป็นทนายความกันทุกคน ทนายความก็ไม่ได้เป็น Registered Migration Agent กันทุกคน แต่ทนายความที่จะให้การช่วยเหลือทางด้านวีซ่าได้จะต้องเป็น Registered Migration Agent ด้วย Registered Migration Agent ทุกคนจะมีเลขประจำตัว (MARN) 7 หลัก ทุกคนมีวิธีพิจารณาและตัดสินใจเลือกเอเจนต์ใดเอเจนต์หนึ่งแตกต่างกันไป แต่อย่างน้อยๆก่อนตัดสินใจก็ควรจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องสำหรับใช้ประกอบการตัดสินใจนะคะ หน่วยงานที่ควบคุมดูแล Registered Migration Agent คือ Office of the Migration Agents Registration Authority น้องสามารถใส่ชื่อ, นามสกุล, ชื่อธุรกิจ, สถานที่ตั้ง หรือเลขประจำตัว (MARN) 7 หลัก เพื่อเช็คได้ว่า - เป็นเอเจนต์จริงๆ ไม่ได้มีการแอบอ้าง - เป็นเอเจนต์ที่ยังมีใบอนุญาติอยู่ ไม่ได้หมดอายุ หรือถูกยกเลิกไปแล้ว - เป็นเอเจนต์ที่เป็นทนายความด้วยหรือไม่ เอเจนต์ที่เป็นทนายความด้วย ก็จะมีคำว่า "This registered migration agent is also an Australian Legal Practitioner." - เอเจนต์อยู่ในฐานะอะไร เช่น เป็น Employee, consultant หรือ Owner / Director - เอเจนต์ทำงานกี่ที่ (บางคนไม่ได้ทำงานประจำ แต่เป็น consultant / subcontractor ให้กับเอเจนต์อื่นอีกที) - ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และ website (ถ้ามี) Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com วีซ่า 457 ยังอยู่นะคะ จนกว่าวีซ่าตัวใหม่ Temporary Skill Shortage (TSS) จะมีผลบังคับใช้ในเดือนมีนาคม 2018
แต่... คนเขียนขอสรุปกฏเปลี่ยนที่มีผลแล้ว และที่จะมีผลในอนาคตอันใกล้ตามนี้ค่ะ กฏที่บังคับใช้ตั้งแต่ 19 เมษายน 2017 @ ลิสสาขาอาชีพเปลี่ยนจาก SOL เป็น MLTSSL และ จาก CSOL เป็น STSOL เพราะว่าอ่านจากตัวกฏหมายไม่ง่าย และน่าเบื่อ (คนเขียนยังเบื่อเลย แต่ต้องอ่าน) คนเขียนเลยให้ลิงค์ไปที่ เวปของอิมมิเกรชั่นแทนนะคะ แต่ถ้าใครสนใจอ่านจากกฏหมายโดยตรงก็คลิ๊กที่นี่เลยค่ะ @ มี 216 อาชีพถูกตัดออกไปจากลิส คนที่ยื่น Nomination และ/หรือ วีซ่า 457 ไปก่อนกฏเปลี่ยน แต่ยังรอผลอยู่ ก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกันค่ะ อิมมิเกรชั่นแนะนำให้ถอนเรื่องและขอรีฟัน ถ้าไม่ถอนเรื่องก็จะถูกปฏิเสธและไม่ได้เงินค่ายื่นคืน แต่... คนเขียนคิด ว่าในบางเคสการถอนเรื่องและขอรีฟันอาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละเคสนะคะ @ บางอาชีพที่อยู่ในลิสใหม่ อิมมิเกรชั่นมีเงื่อนไขบางอย่าง (Caveats) เพิ่มขึ้นมา (อาชีพยอดฮิตของเรา Massage Therapist, Cook, Chef & Restaurant Manager โดนด้วยค่ะ) Restaurant Manager จะต้องไม่ใช่ร้าน fast food, takeaway, ร้านที่ออกแนว Casual - ร้านที่ก่ำกึ่งว่าอาจจะมี ปัญหาก็คือร้านประเภทคาเฟ่ หรือ coffee shop ซึ่งก็ต้องมาดูกันเป็นเคสๆไปนะคะ Chef, Cook ก็เหมือนๆกันนะคะ และก็จะต้องไม่ใช่การทำงานในโรงงาน หรือ mass production Accountant (General) หน้าที่จะต้องเป็นนักบัญชี ไม่ใช่เสมียนบัญชีหรือ book keeper ธุรกิจจะต้องมีรายได้ต่อ ปีอย่างน้อย 1 ล้านเหรียญ และมีพนักงานไม่น้อยกว่า 5 คน แปลว่า... เช็ค Caveats กันก่อนนะคะ ว่าเราจะมีสิทธิ์ลุ้น Nomination & Visa application หรือไม่ ใช้คำว่ามีสิทธ์ลุ้น เพราะบางเคสเป็นเคสก่ำกึ่ง ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ เคสแบบนี้คงต้องมีการทำสรุป (โฆษณาชวนเชื่อกันนิดนึง) สำหรับเคสที่อยู่ระหว่างพิจารณา แต่ตอนนี้ทราบแล้วว่าติด Caveats แน่ๆ (ไม่ใช่เคสก่ำกึ่งแบบมีสิทธิ์ลุ้น) อิมมิเกรชั่นให้ถอนเรื่องรับเงินคืนได้ค่ะ แต่ (ขอใช้ประโยคเดิม) ในบางเคสการถอนเรื่องและขอรีฟันอาจจะไม่ใช่ ทางเลือกที่ดีที่สุด ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละเคสนะคะ @ วีซ่า 457 ที่จะออกหลังจากนี้ ถ้าอาชีพที่อยู่ใน MLTSSL จะได้วีซ่า 4 ปี และ STSOL จะได้วีซ่า 2 ปี (ปรับใช้กับ เคสที่ยื่นก่อนกฏเปลี่ยนและยังอยู่ในระหว่างพิจารณาด้วยนะคะ) จากวันที่ 1 กรกฏาคม 2017 @ การจ่ายค่าจ้าง $96,4000 เพื่อยกเว้นผลภาษาอังกฤษ จะถูกยกเลิก @ ต้องยื่นใบตำรวจแล้วนะคะ ก่อนหน้านี้ไม่ต้องยื่น(ยกเว้นว่าถูกขอ) @ คาดว่าจะมีการเพิ่มอาชีพที่ต้องทำ skills assessment นะคะ ถึงแม้จะเป็นเคสที่ไม่มีระบุให้ต้องทำ skills assessment อิมมิเกรชั่นก็มีสิทธิ์ขอได้อยู่แล้วค่ะ ถ้าไม่เชื่อว่าเรามี คุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งจริง @ ในส่วนของเจ้าของธุรกิจ (Sponsor) อิมมิเกรชั่นจะเข้มงวดขึ้นในเรื่องการเทรนพนักงานที่เป็นซิติเซ่นหรือ พีอาร์ (... ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะเข้มยังไง) @ คาดว่าจะมีการปรับเปลี่ยนสาขาอาชีพอีกนะคะ (ชีวิตอยู่บนความไม่แน่นอน ต้องตามข่าวกันค่ะ) ก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2017 @ อิมมิเกรชั่นจะมีการเก็บข้อมูลเลขที่ภาษีของคนถือวีซ่า 457 และวีซ่าถาวรแบบนายจ้างสปอนเซอร์ และลิงค์ กับ ATO (แปลว่าถ้าตกลงค่าแรงกันไว้ที่ $55000 แต่จ่ายจริงไม่ถึง ก็อาจจะเกิดปัญหาได้ค่ะ) @ Sponsor ที่ไม่ทำตามหน้าที่ เช่นไม่ทำเทรนนิ่ง ไม่จ่ายค่าแรงตามที่ตกลงกัน ถ้าถูกจับได้ และมีความผิดจริง ก็อาจจะมีการลงโทษ (Sanctioned) คาดว่าคนทั่วไปก็จะสามารถเข้าถึงข้อมูลพวกนี้ได้ (Sanctioned มีมา นานแล้ว แต่ "publication of sanctioned sponsors" ยังไม่มีค่ะ เริ่มธันวานะคะ) มีนาคม 2018 @ Bye bye 457 @ Hello TSS (Temporary Skill Shortage) ข้อมูลจาก: www.border.gov.au www.legislation.gov.au บทความต่อไป ผลกระทบของกฏเปลี่ยนต่อการขอพีอาร์ผ่านนายจ้างสปอนเซอร์ Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com กฏเปลี่ยนรอบนี้น่าจะเป็นข่าวดีสำหรับน้องๆหลายคนที่สอบ IELTS มาหลายรอบ แต่ไม่ได้ 5 ทุกพาร์ทซะที ซึ่งรัฐบาลก็เกริ่นๆมาว่าจะแก้ไขมาพักใหญ่แล้ว และในที่สุดก็มีผลบังคับใช้แล้วค่ะ ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 18 April 2015 (คนเขียนไม่เข้าใจว่าทำไมเริ่มมีผลวันเสาร์ @#$%^&^@# ความช่างสงสัยนี่เป็นธรรมชาติของนักกฏหมายค่ะ น้องๆก็ไม่ต้องสงสัยตามหรอกนะคะ รู้แค่ว่ามีผลบังคับใช้แล้วก็พอค่ะ) เริ่มเลย IELTS ตอนนี้เปลี่ยนจากที่ต้องได้ 5 ทุกพาร์ท มาเป็นค่าเฉลี่ย 5 โดยที่ต้องได้อย่างน้อย 4.5 ทุกพาร์ท นอกจากนี้อิมก็ยอมรับผลภาษาอังกฤษประเภทอื่นด้วย คือ - Occupational English Test (OET) - Test of English as a Foreign Language internet-based test (TOEFL iBT) - Pearson Test of English Academic (PTE) - Cambridge English: Advanced test (CAE) - ผลของ CAE จะต้องหลักจากวันที่ 1 มกราคม 2015 นะคะ ว่าแล้วก็ตัดแปะผลภาษาอังกฤษตามที่กฏใหม่กำหนดไว้มาให้ดูเลยละกันนะคะ ส่วนใครที่คิดว่าถึงแม้จะลดผลคะแนน IELTS ก็แล้ว เพิ่มประเภทการสอบภาษาอังกฤษก็แล้ว ก็ยังไม่รอดอยู่ดี ลองมาดูข้อยกเว้นผลภาษาอังกฤษกันค่ะ
1. ได้รับเสนอเงินเดือนอย่างน้อย $96,400 ต่อปี คนเขียนอยากบอกว่า อิมจะนำปัจจัยอื่นๆมาประกอบการ พิจารณาด้วยนะคะ คือไม่ใช่ว่าได้รับการเสนอเงินเดือนเท่านี้ แปลว่าได้วีซ่าแน่ๆ 2. ถือพาสปอร์ตของ UK, US, Canada, NZ and Ireland 3. เรียน full-time เป็นภาษาอังกฤษ ใน secondary and/or higher education institution มาอย่างน้อย 5 ปี กฏนี้มีการเปลี่ยนแปลงนะคะ จากเดิมจะต้องเป็น 5 ปีต่อเนื่อง ตอนนี้นับรวมได้ 5 ปีเป็นอันใช้ได้ แปลว่าเรียนมา 2 ปี พักการเรียนไป 1 ปี กลับมาเรียนต่ออีก 3 ปี ก็โอเคค่ะ พิสูจน์ให้ได้ก็แล้วกัน แถมท้ายด้วย ค่าแรงขั้นต่ำ (TSMIT) สำหรับลูกจ้างที่ขอ 457 ยังคงเดิมค่ะ คือ $53,900 ค่าแรงของลูกจ้าง สำหรับนายจ้างที่ไม่ต้องการโชว์ Market Rate ลดลงจาก $250,000 เป็น $180,000 (อัฟเดทค่ะ เนื่องจากเรทใหม่ $180,000 ที่ประกาศให้ใช้เมื่อ 18 เมษายน 2015 ไม่ผ่านที่ The Senate - นับจาก 17 มิถุนายน 2015 - เรทเปลี่ยนกลับมาเป็น $250,000 ตามเดิมนะคะ) โดยภาพรวมแล้ว ต้องบอกว่าเป็นข่าวดีสำหรับน้องๆที่รอยื่่นวีซ่า 457 นะคะ ไม่มีกฏที่ทำให้ชีวิตยุ่งยากขึ้นเลย มีแต่หย่อนลง แต่อย่าลืมนะคะว่าเงื่อนไขการยื่นวีซ่า 457 ไม่ได้มีแค่ที่เอ่ยถึงข้างต้น เพราะฉะนั้นตรวจเช็คให้แน่ใจก่อนว่าเรามีโอกาสได้วีซ่าแน่ๆค่อยยื่นนะคะ Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com คนเขียนได้รับความไว้วางใจให้ช่วยเหลือลูกความท่านหนึ่ง (เรียกว่าครอบครัวหนึ่งดีกว่า เพราะมีสมาชิกหลายคนอยู่) คุณลูกความถูกปฏิเสธวีซ่า 457 มา และเรื่องอยู่ที่ชั้นอุทธรณ์ MRT คุณลูกความถามว่ามีทางรอดไหม ทนายที่ทำเรื่องให้ไม่ใส่ใจเลย อยากให้คนเขียนดูแลเคสที่ MRT ให้ หลังจากคนเขียนศึกษาเคส นั่งคิดนอนคิดอยู่หลายตลบ ได้ตอบกลับไปว่ายากค่ะ ยื่นใหม่ง่ายกว่า แต่ก็ยังยากอยู่ดี แค่ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับการลุยต่อในชั้นอุทธรณ์เท่านั้นเอง โน๊ตตัวโตๆ กรุณาอย่ายึดเอาประโยคข้างต้นเป็นสรณะ คนเขียนไม่ได้หมายความว่าทุกเคสที่ถูกปฏิเสธแล้วยื่นใหม่ง่ายกว่าที่จะไปสู้ที่ชั้นอุทธรณ์ แต่ละเคสมีสถานะภาพ และสถานการณ์ที่ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นทางออกย่อมไม่เหมือนกัน
ข้อเตือนใจที่ 1 - อย่าเอาเคสคนอื่นมาเปรียบเทียบ หรือมาปรับใช้กับเคสเรา เราอาจจะมีสถานะภาพและสถานการณ์หลายๆอย่างคล้ายเคสเพื่อนเรา แต่รับรองได้ว่าไม่มีสองเคสไหนที่เหมือนกันเด๊ แต่ละเคสจึงควรได้รับการวินิจฉัยอย่างละเอียด โดยไม่เอาไปเปรียบเทียบกับเคสของคนอื่น รายละเอียดในเคสนี้มีมากค่ะ เล่าไปสามวันก็ไม่จบ และก็ไม่เล่าด้วยเพราะขี้เกียจพิมพ์ สั้นๆคือทนายคนที่ช่วยเหลือคุณลูกความในการยื่นครั้งที่ถูกปฏิเสธมานี่ (ไม่ใช่คนเขียนนะ ขอบอก) ยื่นเอกสารที่ขัดแย้งกันอยู่ในตัวเข้าไป เห็นเอกสารแล้ว ถ้าคนเขียนเป็นอิมก็คงปฏิเสธเคสนี้เหมือนกัน สรุปว่าคุณลูกความไว้ใจให้ทำเคสให้ค่ะ คนเขียนแนะนำว่ายื่นใหม่ แต่คิดว่าเก็บเคสเดิมที่ MRT ไว้เป็น Backup ก่อน ก็ยื่นไปแล้ว เสียตังค์ไปแล้วนี่ แต่ที่เก็บไว้ก่อนนี่ไม่ได้เผื่อชนะนะคะ เพราะไม่คิดว่าจะรอด แต่เก็บไว้เพื่อประโยชน์อื่น (ประโยชน์อะไรเอ่ย ยาวค่ะ ขอเป็นคราวอื่นนะคะ เดี๋ยวจะแหวกแนวจนงงว่าพูดเรื่องอะไรกันแน่) ทำเคสนี้เครียดค่ะ มากด้วย เพราะถ้าพลาด สมาชิกในครอบครัวได้แพ๊คกระเป๋ากลับบ้านกันทั้งครอบครัว เคสนี้อยู่ในระดับยากมากถึงมากที่สุด ก็เอกสารที่อิมมีอยู่แล้ว (ไอ้ที่มันขัดกันเองอยู่น่ะ) จะทำยังไงให้มันหายไปล่ะ ไม่ต้องคิดมากค่ะ ไม่ใช่คำถามแต่เป็นประโยคบอกเล่า สรุปว่าเอกสารที่อิมมีอยู่แล้ว มันไม่มีทางหายไปได้ มันยากตรงนี้แหละ จะยื่นเอกสารยังไงให้ถูกต้องตามกฏหมาย ไม่ขัดแย้งกับของเดิมที่ก็ขัดแย้งกันอยู่ในตัว และเข้าข่ายที่จะได้วีซ่า สัมภาษณ์เจาะลึกถึงลึกที่สุดเท่านั้นค่ะ แล้วเอาข้อมูลมาประกอบกับข้อกฏหมายและนโยบายปัจจุบัน รวมถึงคำวินิจฉัยต่างๆของศาล ยื่นเอกสารที่มีคำตอบอยู่ในตัว และอุดช่องโหว่ทุกช่องที่คิดได้ (แต่ถ้าคุณไม่รู้ว่าอะไรคือช่องโหว่ คุณก็คงไม่หาทางอุดเนอะ บางอย่างสอนกันไม่ได้ค่ะ ประสบการณ์และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น) สรุปว่าเคสนี้ผ่านไปได้ด้วยดี แต่ขอบอกว่าหินมาก ลูกความดีใจมาก คนเขียนก็ดีใจมากเช่นกันที่ส่งคุณลูกความ (และครอบคร้ว) ถึงที่หมาย เหมือนยกภูเขาออกจากอก จากนี้ก็ได้แต่หวังว่าคุณลูกความจะไม่ทำชีวิตตัวเองให้ยุ่งยากขึ้นมาอีกในช่วง 2 ปีที่รอยื่นขอ PR (อย่าคิดว่าคนเขียนพูดเล่นนะคะ หลายๆคนมีความสามารถมากมายในการทำชีวิตให้มีสีสัน และยุ่งยากต่อการช่วยเหลือ) ข้อเตือนใจที่ 2 - เลือกให้ดี บางครั้งการเลือกทนายหรือเอเจนต์ ก็เหมือนการเลือกคู่ เลือกได้ดีก็ดีไป เลือกได้ไม่ดี กว่าจะรู้ก็เสียเงินเสียเวลา และอาจจะถึงเสียอนาคตด้วย อ่านวิธีการเลือกทนายหรือเอเจนต์ได้ที่นี่ ข้อเตือนใจที่ 3 - เมื่อเลือกได้แล้ว เข้าใจล่ะว่าเราไว้ใจเค้าในระดับหนึ่ง แต่กรุณาอย่าปล่อยทุกอย่างให้อยู่ในมือทนายหรือเอเจนต์ ชีวิตเรา อนาคตเราที่ฝากไว้กับเค้า ตามงานบ้าง ถามบ้างว่าเค้าตั้งใจจะยื่นเอกสารอะไร เอกสารหน้าตาเป็นอย่างไร อย่างน้อยเค้าจะได้ทราบว่าเราใส่ใจ เผื่อเค้าคิดอยู่ว่าจะทำงานแบบเรื่อยๆเฉื่อยๆ เค้าก็อาจจะตั้งใจทำงานมากขึ้นนะ ข้อเตือนใจที่ 4 - อย่ายื่นเอกสารให้ทนายหรือเอเจนต์เอาวินาทีสุดท้าย เหลือเวลาให้เค้าทำงานบ้าง มีความตั้งใจทำงานอย่างเดียวไม่พอนะคะ ต้องมีเวลาด้วย ให้เวลาเค้า = เพิ่มโอกาสให้เราได้วีซ่า ขอสารภาพว่าคนเขียนแอบตุ่ยๆกับคุณลูกความท่านนี้เล็กน้อย เพราะต้องตามงานกันบ่อยครั้ง (ไม่ใช่ลูกความตามคนเขียนนะ แต่คนเขียนต้องตามคุณลูกความ ก็เล่นเงียบหายไปเป็นระยะๆ) เข้าใจละว่าเค้าไว้วางใจเรา แต่ไม่ให้ข้อมูลไม่ให้เอกสาร ประกอบกับคนเขียนนั่งเทียนไม่เป็น สรุปว่างานมันไม่เดิน แต่ Deadline มันไม่รอ ก็ต้องมีการเตือนกัน (อย่างพี่เตือนน้องนะ แอบดุ แต่ด้วยความหวังดี) ว่าอย่าให้คนตั้งใจทำงานเสียความตั้งใจนะจ๊ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องวีซ่าเป็นเรื่องอนาคตของเรา เราซึ่งเป็นเจ้าของเรื่องต้องใส่ใจและจัด Priority ให้ถูกต้อง ถ้าคุณลูกความท่านนี้มาอ่านคงรู้ว่าคนเขียนหมายถึงเค้านะ ขอบอกว่าอย่าคิดมากน้อง ไม่มีใครรู้ว่าน้องคือใคร ยกเว้นน้องจะไปบอกใครๆว่าพี่เค้าหมายถึงชั้นเองล่ะเทอ (ซึ่งจริงๆ พี่อาจจะพูดถึงเคสอื่นที่มีข้อมูลใกล้เคียงกันอยู่ก็ได้ เพราะลูกความพี่ส่วนใหญ่ก็เป็นกลุ่มที่ชอบสร้างสีสันให้ชีวิตซะด้วย) อีกอย่างคือคิดซะว่าเราได้ร่วมด้วยช่วยกันให้ข้อมูล แชร์ข้อคิดกับคนอื่นๆที่อาจจะอยู่ในสถานะการณ์ใกล้เคียงกับเราเนอะ ข้อเตือนใจที่ 5 - ทนายหรือเอเจนต์ ไม่มีเวทมนต์นะจ๊ะ ทำได้แค่เต็มที่ นี่พูดถึงคนที่มีใจรักงานและมีความจริงใจกับลูกความนะคะ จะให้มารับปากว่าผ่านแน่ ได้วีซ่าแน่ เป็นไปไม่ได้ เพราะทนายหรือเอเจนต์ไม่ใช่คนตัดสินเคส คนที่หวังจะได้ยินประโยคสวยหรูให้ความหวัง รับประกันว่าได้วีซ่าแน่ คุณจะไม่ได้ยินประโยคพวกนี้จากคนที่มีจรรยาบรรณในการทำงาน เพราะฉะนั้นอย่าให้ใครมาหลอกเรา และที่สำคัญเราอย่าหลอกตัวเอง มีความหวังได้ แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง เข้าใจสถานะภาพและสถานการณ์ที่แท้จริงของเราเองดีที่สุด Hope for the best and prepare for the worst - Good luck, everyone. Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและความต้องการทางด้านแรงงานของประเทศ ทางอิมมิเกรชั่น & รัฐบาลของประเทศออสเตรเลีย มีการปรับเปลี่ยนกฏหมายและนโยบายด้านคนเข้าเมืองอยู่เรื่อยๆค่ะ
โดยเฉพาะวันที่ 1 กรกฏาคม ของทุกปี จะเป็นวันที่(หลัก) ที่จะมีการเปลี่ยนแปลง อัพเดทกฏหมายและนโยบายทางด้านคนเข้าเมือง แล้ววันที่ 1 กรกฏาคม ปีนี้ (2014) จะมีอะไรเปลี่ยนบ้างล่ะ????? กฏหมายก็ทยอยๆออกมานะคะ คนเขียนก็ต้องอัพเดทอยู่เรื่อยๆ แต่ที่คนเขียนทราบ ณ ตอนนี้ ก็คือ 1. อาชีพ Chef จะเข้าไปอยู่ใน Skilled Occupations List หรือที่เรียกสั้นๆว่า (SOL) ผลของมันคืออะไร?? ก็คือคนที่มีอาชีพนี้ และ/หรือเรียนมาสายนี้ อาจจะสามารถขอวีซ่าแบบอิสระ (Independent) โดยไม่จำเป็นต้องมีนายจ้างสปอนเซอร์ได้ ถ้ามีคุณสมบัติอื่นๆเข้าข่ายตามที่กฏหมายกำหนดด้วยนะคะ คนที่เรียนมาสายนี้ แต่คุณสมบัติไม่พอที่จะขอ PR ได้ ก็อาจจะมีสิทธิขอวีซ่า 485 (Graduate Temporary visa) ได้ ซึ่งถ้าได้วีซ่ามา ก็สามารถอยู่และทำงานเต็มเวลาในประเทศออสเตรเลียได้อีก 18 เดือน ซึ่งก็อาจจะทำให้มีโอกาสในการขอพีอาร์ (PR) ได้ในอนาคต ไม่ว่าจะด้วยยื่นด้วยตัวเองผ่าน Independent visa หรือแบบนายจ้างสปอนเซอร์ 2. นอกจากอาชีพ Chef แล้ว ยังมีอาชีพ Bricklayer และ Wall and Floor Tiler ด้วยนะคะ ที่ได้รับการเพิ่มเข้าไปใน Skilled Occupations List (SOL) ผลของมันก็เหมือนกับข้อ 1. ค่ะ 3. อาชีพ Hydrogeologist และ Exercise Physiologist จะได้รับการเพิ่มเข้าไปใน Consolidated Sponsored Occupations List (CSOL) ผลของมันคืออะไร?? ก็จะเป็นอีก 2 อาชีพ ที่มีโอกาสได้รับการสปอนเซอร์จากนายจ้าง หรือรัฐบาลไงคะ 4. ผลของ Skills Assessment จะมีอายุได้ยาวที่สุดที่ 3 ปีค่ะ ถ้าผลของ Skills Assessment ระบุวันหมดอายุไว้สั้นกว่า 3 ปี ก็ให้เป็นไปตามนั้น ก่อนวันที่ 1 July 2014 Skills Assessment ไม่มีวันหมดอายุค่ะ เพราะฉะนั้นใครที่ Skills Assessment กำลังจะหมดอายุ ก็มี 2 ทางเลือกค่ะ ทำ Skills Assessment ใหม่อีกรอบ หรือยื่นขอวีซ่าก่อนวันที่ 1 กรกฏาคม 2014 เพื่อหลีกเลี่ยงที่จะต้องเข้าไปอยู่ในกฏใหม่นะคะ 5. มีข่าวมาตลอดหลายเดือนที่ผ่านมาว่าอาชีพ Accountant จะถูกลบออกจาก SOL แต่ ณ ตอนนี้ คนเขียนเข้าใจว่าอาชีพนี้จะยังอยู่ เพียงแต่ลดโควต้า หรือจำนวนคนที่อิมมิเกรชั่นจะออกวีซ่าให้ในอาชีพนี้จะน้อยลง แปลว่ารอนานขึ้นนั่นแหละค่ะ ติดตามอัพเดทได้ที่นี่ค่ะ Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com นับจากวันนี้ (2 มิถุนายน 2014) เป็นต้นไป ไม่สามารถยื่นขอวีซ่าตามลิสข้างล่างได้อีกแล้วนะคะ ทั้งแบบยื่นในประเทศ และยื่นนอกประเทศ
1. Parent visa 2. Aged Parent visa 3. Aged Dependent Relative visa 4. Carer visa 5. Remaining Relative visa แต่ Contributory Parent visa และ Contributory Aged Parent visa หรือวีซ่าผู้ปกครองแบบเสียตังค์เยอะๆให้รัฐยังอยู่นะคะ ใครที่เป็น PR หรือ Citizen และอยากให้คุณพ่อคุณแม่มาอยู่ด้วยแบบถาวร ก็ต้องใช้เวลาเก็บตังค์กันหน่อยละค่ะ ส่วนใครที่อยากเอาญาติผู้ใหญ่หรือญาติสนิทมาอยู่ด้วย หรือมาดูแลคนป่วย ท่าทางจะยากแล้วนะคะ ณ ตอนนี้ คนเขียนไม่คิดว่าอิมจะออกวีซ่าอะไรมาทดแทนวีซ่าตัวที่หายไป ถ้ามีอะไรคืบหน้าก็จะมาโพสให้ทราบกันนะคะ Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com |
Author
Archives
December 2023
Categories
All
|