visa blog : สำหรับคนไทยค่ะ
  • Home
  • Blog

แชร์ประสบการณ์ Skills Assessment

11/12/2021

 
วันนี้คนเขียนมาแชร์ประสบการณ์การทำ Skills Assessment ตำแหน่ง Restaurant Manager

เคสนี้ น้องติดต่อคนเขียนมา 5 เดือนก่อนวีซ่าหมดอายุ  ..... มองเผินๆเหมือนน้องติดต่อมาเนิ่นๆ เวลาเหลือเฟือ ... แต่พอมองระยะเวลาภาพรวม และวีซ่าที่น้องต้องการยื่น เวลาเหลือไม่เยอะเลย เพราะสเต็ปที่ต้องทำก่อนการยื่นวีซ่ามีเยอะ และแต่ละสเต็ปก็ต้องใช้เวลาในการเตรียมเคส และเวลาในการรอผล

ส่วนใหญ่น้องที่ให้คนเขียนทำ Skills Assessment ก็จะให้คนเขียนทำงานส่วนอื่นด้วย เพราะฉะนั้นต่อให้เราเริ่มงานกันที่ Skills Assessment คนเขียนไม่ได้พิจารณาเอกสารสำหรับการยื่น Skills Assessment เท่านั้น แต่พิจารณาเผื่อไปถึงสเต็ปอื่นด้วย

Skills Assessment เคสนี้ ระยะเวลาพิจารณาปกติคือ 10-12 อาทิตย์ (3 เดือน) และมี Option ให้เลือกเป็น Priority processing ได้ด้วย ซึ่งจะทราบผลภายใน 10 วันทำการ .... คนเขียนให้น้องเลือก เพราะระยะเวลายังพอยื่นแบบปกติได้ แต่น้องก็เลือกแบบ Priority processing

ข้อดีของ Priority processing คือเร็ว  ..... ข้อเสียคือจะไม่มีการขอเอกสารเพิ่ม ถ้าพลาด เอกสารไม่ครบ หรือไม่ดีพอ ก็ถูกปฏิเสธเลย 

เคสนี้ คนเขียนตีเอกสารกลับไปให้น้องแก้ รวมทั้งขอเอกสารเพิ่มหลายครั้ง เพราะเราพลาดไม่ได้ โดยเฉพาะเคสนี้ ที่น้องรับค่าจ้างเป็นเงินสด

Q:   เอะ รับเงินสดได้ด้วยเหรอ ???
A:   ได้สิ ไม่มีกฏหมายห้ามรับค่าจ้างเป็นเงินสด ... ตราบใดที่มีการจ่ายภาษี และทำทุกอย่างกันอย่างถูกต้องตามกฏหมาย (แต่รับเงินเข้าบัญชี ดีที่สุด เพราะพิสูจน์ง่ายกว่า = เคสมีความเสี่ยงน้อยกว่า)

น้องเห็นคนเขียนตีเอกสารกลับ ขอเอกสารเพิ่ม ก็กังวลว่าเคส Skills Assessment จะมีปัญหาไหม ซึ่งคนเขียนบอกเลยว่า ... ไม่ค่ะ ... คนเขียนมั่นใจว่าเคส Skills Assessment ไม่มีปัญหา .... แต่อย่างที่เกริ่นไป คนเขียนพิจารณาเอกสารเผื่อสเต็ปอื่นไปด้วยเลย (Why not?) ในเมื่อคนเขียนก็เป็นคนทำสเต็ปต่อไปให้ลูกความ และเห็นข้อมูลและปัญหาอื่นอยู่ เราก็มองไกลนิดนึง แก้ปัญหาล่วงหน้าไปพร้อมๆกับการเตรียมยื่น Skills Assessment เลย

เคสนี้ Skills Assessing Authority ตอบรับการพิจาณาเคสเป็นแบบ Priority Processing วันศุกร์ .... วันพุธ ตี 2 คนเขียนได้รับอีเมล์ว่า Skills Assessment ผ่านแล้ว .... ม้วนเดียวจบ ใช้เวลา 2 วันทำการ ! .
... รับเงินสด เอกสารก็แน่นได้ (ในบางเคส) .... จบไป 1 สเต็ป มีเวลาหายใจ และเตรียมสเต็ปถัดไป

ป.ล. เคสรับเงินสด แบบสดจริงๆ ไม่มีบันทึก ไม่จ่ายภาษี ไม่ต้องคิดเลยนะคะ เสมือนไม่ได้ทำงาน .... เพราะฉะนั้น ถ้าคิดว่าวันนึงอาจจะต้องการยื่นวีซ่าที่ต้องใช้ประสบการณ์การทำงาน .... หางานที่เข้าระบบ และเสียภาษี

คนเขียนมีน้องหลายคนที่มาปรึกษา ประสบการณ์การทำงานสูงหลายปีเลย แต่รับ cash in hand ทั้งหมด ไม่มี record อะไรทั้งสิ้น สะดวกนายจ้าง สะดวกลูกจ้าง รับเงินสดเต็มๆ แต่สุดท้ายจบอยู่ตรงนั้น ไปต่อไม่ได้ .... ฝากไว้ให้คิด

Tip: พยายามทำงานในสายอาชีพที่เลือกให้ได้อย่างน้อย 20 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ .... เพราะ Skills Assessing Authority หลายๆที่ ไม่พิจารณาระยะเวลาการทำงานที่น้อยกว่า 20 ชั่วโมงต่ออาทิตย์เลยนะคะ



Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com 



แชร์ประสบการณ์ Subclass 186 visa

11/7/2020

 
โพสนี้ Advance อีกแล้ว เป็นเคส 457 Transitional arrangements ต่อยอดไป 186

Transitional arrangements คืออะไร ???


  • คือกฏเก่า สำหรับคนที่ ณ วันที่ (หรือก่อนวันที่) 18 April 2017 ถือ 457 หรือคนที่ยื่นใบสมัครไปแล้วและอยู่ระหว่างรอผลการพิจารณาและในที่สุดก็ได้ 457 มาครอง
  • เงื่อนไขคือ ทำงานกับนายจ้างในตำแหน่งที่ได้รับการสปอนเซอร์อย่างน้อย 2 ปี ก็จะขอ 186 / 187 ได้ โดยไม่ต้องกังวลว่าตอนยื่น 186 / 187 สาขาอาชีพจะยังอยู่ในลิสสำหรับยื่น 186 / 187 หรือไม่ (ไม่เกี่ยวเลย)

เคสนี้เรายื่น Nomination และ 457 visa application เดือน March 2017 ปรากฏว่าเดือน April 2017 (ระหว่างการพิจารณา) กฏเปลี่ยนครั้งใหญ่ก็มา แบบไม่บอกล่วงหน้า บอกปุ๊บก็บังคับใช้เลย

  • หลายสาขาอาชีพหายไปจากลิสสำหรับการสปอนเซอร์ = สาขาอาชีพของลูกความก็หายไปด้วย !
  • กฏเปลี่ยนนี้บังคับใช้ทั้งกับเคสใหม่ และเคสที่อยู่ระหว่างการพิจารณาด้วย = ลูกความก็โดนด้วยสิ !!
  • คนเขียนก็ทั้งเหวอและมึน อยู่ๆก็เจอ Dead case ซะอย่างงั้น

คนเขียนก็ได้รับจดหมายจากอิมมิเกรชั่นเชิญให้นายจ้างถอน Nomination application ถ้าไม่ถอน ก็จะถูกปฏิเสธ เพราะสาขาอาชีพถูกตัดออกไปจากลิสแล้ว ยังไงก็อนุมัติไม่ได้ ..... ทำยังไงดีล่ะ??? ..... ก็ถอนเรื่องสิคะ ไม่มีทางเลือก

และเมื่อไม่มี Nomination วีซ่า 457 ก็ไปต่อไม่ได้ ถ้าไม่ถอนเรื่องก็จะถูกปฏิเสธ ..... ลูกความร้องไห้ อนาคตหายวับไปกับกฏเปลี่ยน ..... คนเขียนก็บอกลูกความแบบมึนๆว่า อย่าเพิ่งถอน Visa application นะ ขอคิดก่อน (มันต้องมีทางสิ)

จริงๆคนเขียนไม่ต้องทำอะไรเลยก็ได้ เพราะหน้าที่ในความรับผิดชอบของตัวเองก็ทำไปแล้ว ยื่น Decision Ready application รอแค่ผลการพิจารณาอย่างเดียว กฏเปลี่ยนกะทันหัน เป็นอะไรที่อยู่นอกเหนือการควบคุม ..... แต่ ..... ในเมื่อมาเป็นลูกความกันแล้ว เราก็ต้องไม่ทิ้งกันใช่ไหม

หลังจากหายเหวอ หายมึน ก็ใช้เวลาคิดและทำ Research ไปหลายอาทิตย์ (ไม่ใช่แค่หลายวัน) ..... ฟรีด้วย ไม่ได้คิดตังค์เพิ่ม ส่วนนึงเพราะสงสารลูกความ อีกส่วนเพราะการหาทางช่วย Dead case มันท้าทาย เหนื่อยแต่สนุก

คิดอยู่หลายทาง บางทางก็แพ๊งแพงและเสี่ยงมาก ..... และแล้วไอเดียบรรเจิดก็มา เรายื่น Nomination ใหม่ นายจ้างเดิม ตำแหน่งเดิม (เคสนี้ลูกความขยับไปตำแหน่งอื่นไม่ได้ เพราะเป็น Skills ที่เฉพาะทางมากๆ) ..... ลูกความก็สุดแสนจะไว้ใจ ให้คนเขียนลองอะไรใหม่ๆ  คือจริงๆลูกความก็ไม่มีอะไรจะเสียแล้ว ถ้าลองอาจจะได้วีซ่า ถ้าไม่ลองก็เป็น Dead case แพ๊คกระเป๋ากลับบ้าน

สรุปว่าอิมมิเกรชั่นใช้เวลาพิจารณา Nomination ใหม่ไอเดียบรรเจิดของคนเขียนไปเกือบปี ในที่สุดคุณลูกความก็ได้วีซ่า 457 มาครอง (ไม่มีขอเอกสารเพิ่ม แต่คิดนานมากกกกก) ..... รอ 1 ปี ได้วีซ่า 2 ปี

ทำไมคนเขียนแนะนำให้ลูกความไม่ถอนเรื่อง ทั้งๆที่ถ้าไม่ถอนเรื่องอาจจะถูกปฏิเสธวีซ่า ..... เพราะลูกความยื่นใบสมัคร 457 ก่อนที่กฏจะเปลี่ยน ถ้าวีซ่าผ่านขึ้นมา ลูกความก็จะเข้า Transitional arrangements (ทำงานกับนายจ้างครบ 2 ปี มีสิทธิ์ยื่นขอพีอาร์ไม่ว่าสาขาอาชีพจะอยู่ใน Short term list หรือ Medium/Long list หรือหายไปจากลิสก็ตาม) แต่ถ้าถอนเรื่องแล้วยื่นใหม่ สาขาอาชีพใน Short term list จะต่อยอดไป 186 ไม่ได้ (Strategy การทำงานสำคัญเสมอ)

และแล้วลูกความก็ทำงานครบ 2 ปี ได้เวลายื่นพีอาร์ ถ้าวันนั้นถอดใจไม่ยอมเสี่ยงลุยต่อ คงไม่มีวันนี้ที่ลูกความจะได้ยื่นพีอาร์ ..... แต่ปัญหาไม่จบสิ ..... ใครที่เคยยื่น 457 หรือ 482 และรอยื่นพีอาร์ คงพอทราบว่าการยื่น Nomination นายจ้างจะต้องพิสูจน์ว่าเงินเดือนที่เสนอให้เราเป็น Annual Market Salary Rate คือจะต้องไม่ต่ำกว่าเงินเดือนที่จ่ายลูกจ้างออสซี่ที่ทำงานตำแหน่งเดียวกับเรา หรือถ้าไม่มีลูกจ้างที่เป็นออสซี่ ก็ต้องไปหาหลักฐานอย่างอื่น (ตามที่กฏหมายกำหนด) มาโชว์ว่าเงินเดือนที่เสนอให้เรามันสมเหตุสมผลและเป็นราคาตลาด

เนื่องจากเคสนี้ ทั้งบริษัทมีแค่ Director และมีลูกจ้างเพียงคนเดียวคือลูกความ ไม่มีลูกจ้างออสซี่เลย และลูกความทำงานในตำแหน่งที่ใช้ Skills เฉพาะทางมากๆ หาหลักฐาน Annual Market Salary Rate ตามที่กฏหมายกำหนดไม่ได้เลย ..... ไอเดียบรรเจิดก็ต้องมี งานโฆษณาชวนเชื่อก็ต้องมา และก็ลุ้นกันต่อว่าจะรอดหรือไม่รอด

สรุปว่ารอดค่ะ ยื่น February 2020 ก่อน COVID-19 .... ทั้ง Nomination & วีซ่า 186 ผ่านเมื่อวันก่อน (แบบไม่ขออะไรเพิ่มเลย) ..... 5 เดือนพอดี  บริษัทนี้ก็ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ต้องปิดชั่วคราวและขาดรายได้เหมือนหลายๆธุรกิจ ซึ่งหลายๆเคสตอนนี้อาจจะเจอขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตำแหน่งที่ยื่นขอ เช่นยังจำเป็นต้องมี ต้องสปอนเซอร์ไหม และสถานะการเงินดีพอที่จะจ่ายค่าแรงหรือไม่ (เตรียมตัวกันไว้ด้วยนะคะ)

หลายๆคนที่ถือ 457 Transitional arrangements (ทำงานครบ 2 ปี ยื่นขอพีอาร์ได้) อาจจะสงสัยว่า ถ้าได้วีซ่ามาแค่ 2 ปี จะยื่น 186 ได้ไหม หรือต้องต่อ 482 ไปก่อน คำตอบคือถ้า Manage ดีๆ ไม่มี unpaid leave เลย และตอนที่ได้วีซ่า 457 ก็อยู่ในประเทศออสเตรเลียและทำงานกับนายจ้างอยู่แล้ว มีความเป็นไปได้สูงค่ะ (case by case)


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


457 กฏเปลี่ยน 2

8/5/2017

 
วีซ่า 457 ยังอยู่นะคะ จนกว่าวีซ่าตัวใหม่ Temporary Skill Shortage (TSS) จะมีผลบังคับใช้ในเดือนมีนาคม 2018

แต่... คนเขียนขอสรุปกฏเปลี่ยนที่มีผลแล้ว และที่จะมีผลในอนาคตอันใกล้ตามนี้ค่ะ

กฏที่บังคับใช้ตั้งแต่ 19 เมษายน 2017

@ ลิสสาขาอาชีพเปลี่ยนจาก SOL  เป็น MLTSSL และ จาก CSOL เป็น STSOL
    เพราะว่าอ่านจากตัวกฏหมายไม่ง่าย และน่าเบื่อ (คนเขียนยังเบื่อเลย แต่ต้องอ่าน) คนเขียนเลยให้ลิงค์ไปที่
    เวปของอิมมิเกรชั่นแทนนะคะ แต่ถ้าใครสนใจอ่านจากกฏหมายโดยตรงก็คลิ๊กที่นี่เลยค่ะ

@ มี 216 อาชีพถูกตัดออกไปจากลิส
    คนที่ยื่น Nomination และ/หรือ วีซ่า 457 ไปก่อนกฏเปลี่ยน แต่ยังรอผลอยู่ ก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกันค่ะ
   อิมมิเกรชั่นแนะนำให้ถอนเรื่องและขอรีฟัน ถ้าไม่ถอนเรื่องก็จะถูกปฏิเสธและไม่ได้เงินค่ายื่นคืน แต่... คนเขียนคิด
   ว่าในบางเคสการถอนเรื่องและขอรีฟันอาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด  ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละเคสนะคะ

@ บางอาชีพที่อยู่ในลิสใหม่ อิมมิเกรชั่นมีเงื่อนไขบางอย่าง (Caveats) เพิ่มขึ้นมา (อาชีพยอดฮิตของเรา Massage
    Therapist, Cook, Chef & Restaurant Manager โดนด้วยค่ะ)
    Restaurant Manager จะต้องไม่ใช่ร้าน fast food, takeaway, ร้านที่ออกแนว Casual - ร้านที่ก่ำกึ่งว่าอาจจะมี
    ปัญหาก็คือร้านประเภทคาเฟ่ หรือ coffee shop ซึ่งก็ต้องมาดูกันเป็นเคสๆไปนะคะ
    Chef, Cook ก็เหมือนๆกันนะคะ และก็จะต้องไม่ใช่การทำงานในโรงงาน หรือ mass production
    Accountant (General) หน้าที่จะต้องเป็นนักบัญชี ไม่ใช่เสมียนบัญชีหรือ book keeper ธุรกิจจะต้องมีรายได้ต่อ
    ปีอย่างน้อย 1 ล้านเหรียญ และมีพนักงานไม่น้อยกว่า 5 คน

   แปลว่า... เช็ค Caveats กันก่อนนะคะ ว่าเราจะมีสิทธิ์ลุ้น Nomination & Visa application หรือไม่
  ใช้คำว่ามีสิทธ์ลุ้น เพราะบางเคสเป็นเคสก่ำกึ่ง ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ เคสแบบนี้คงต้องมีการทำสรุป
   (โฆษณาชวนเชื่อกันนิดนึง)

   สำหรับเคสที่อยู่ระหว่างพิจารณา แต่ตอนนี้ทราบแล้วว่าติด Caveats แน่ๆ (ไม่ใช่เคสก่ำกึ่งแบบมีสิทธิ์ลุ้น)
   อิมมิเกรชั่นให้ถอนเรื่องรับเงินคืนได้ค่ะ แต่ (ขอใช้ประโยคเดิม) ในบางเคสการถอนเรื่องและขอรีฟันอาจจะไม่ใช่
   ทางเลือกที่ดีที่สุด  ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละเคสนะคะ
   
@ วีซ่า 457 ที่จะออกหลังจากนี้ ถ้าอาชีพที่อยู่ใน MLTSSL จะได้วีซ่า 4 ปี และ STSOL จะได้วีซ่า 2 ปี (ปรับใช้กับ
    เคสที่ยื่นก่อนกฏเปลี่ยนและยังอยู่ในระหว่างพิจารณาด้วยนะคะ)

จากวันที่ 1 กรกฏาคม 2017

@ การจ่ายค่าจ้าง $96,4000 เพื่อยกเว้นผลภาษาอังกฤษ จะถูกยกเลิก

@ ต้องยื่นใบตำรวจแล้วนะคะ ก่อนหน้านี้ไม่ต้องยื่น(ยกเว้นว่าถูกขอ)

@ คาดว่าจะมีการเพิ่มอาชีพที่ต้องทำ skills assessment นะคะ
   ถึงแม้จะเป็นเคสที่ไม่มีระบุให้ต้องทำ skills assessment อิมมิเกรชั่นก็มีสิทธิ์ขอได้อยู่แล้วค่ะ ถ้าไม่เชื่อว่าเรามี
   คุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งจริง

@ ในส่วนของเจ้าของธุรกิจ (Sponsor) อิมมิเกรชั่นจะเข้มงวดขึ้นในเรื่องการเทรนพนักงานที่เป็นซิติเซ่นหรือ
    พีอาร์  (... ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะเข้มยังไง) 

@ คาดว่าจะมีการปรับเปลี่ยนสาขาอาชีพอีกนะคะ (ชีวิตอยู่บนความไม่แน่นอน ต้องตามข่าวกันค่ะ)
     
ก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2017

@ อิมมิเกรชั่นจะมีการเก็บข้อมูลเลขที่ภาษีของคนถือวีซ่า 457 และวีซ่าถาวรแบบนายจ้างสปอนเซอร์ และลิงค์
    กับ ATO (แปลว่าถ้าตกลงค่าแรงกันไว้ที่ $55000 แต่จ่ายจริงไม่ถึง ก็อาจจะเกิดปัญหาได้ค่ะ)
        
@ Sponsor ที่ไม่ทำตามหน้าที่ เช่นไม่ทำเทรนนิ่ง ไม่จ่ายค่าแรงตามที่ตกลงกัน ถ้าถูกจับได้ และมีความผิดจริง
   ก็อาจจะมีการลงโทษ (Sanctioned) คาดว่าคนทั่วไปก็จะสามารถเข้าถึงข้อมูลพวกนี้ได้ (Sanctioned มีมา
   นานแล้ว แต่ "publication of sanctioned sponsors" ยังไม่มีค่ะ เริ่มธันวานะคะ)

มีนาคม 2018

@ Bye bye 457

@ Hello TSS (Temporary Skill Shortage)


ข้อมูลจาก:
www.border.gov.au
www.legislation.gov.au

บทความต่อไป ผลกระทบของกฏเปลี่ยนต่อการขอพีอาร์ผ่านนายจ้างสปอนเซอร์

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com

457 กฏเปลี่ยน 1

28/4/2017

 
รัฐบาลเปลี่ยนลิสสาขาอาชีพสำหรับวีซ่า 457 เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2017

จาก Skilled Occupation List (SOL)  เป็น  Medium and Long-term Strategic Skills List (MLTSSL) และ
จาก Consolidated Sponsored Occupation List (CSOL)  เป็น  Short-term Skilled Occupation List (STSOL)

วันนี้ก็มีน้องๆโทรมาถามคนเขียนว่า ได้ข่าวมาว่ารัฐบาลเปลี่ยนกลับมาใช้ SOL และ CSOL อีกแล้ว จริงรึเปล่า คือน้องๆดีใจค่ะ คนเขียนก็จะดีใจมากๆเลยค่ะถ้าเปลี่ยนกลับมาใช้ลิสเดิมจริง แต่

ขอตอบว่า ไม่จริงค่ะ 

ณ ตอนนี้ (28 เมษายน เวลา 2.55pm) ลิสที่ใช้ยังคงเป็นลิสใหม่ MLTSSL และ STSOL ที่ตัดหลายๆสาขาอาชีพออกไปอยู่นะคะ อาชีพยอดฮิตของน้องๆเช่น Restaurant Manager, Cook และ Massage Therapist ยังคงอยู่ใน STSOL นะคะ ซึ่งแปลว่าถ้าได้ 457 ก็จะได้ 2 ปี

น้องๆที่ตามรายละเอียดลึกๆเช่นกฏหมายฉบับที่ออกมาเกี่ยวกับการเปลี่ยนสาขาอาชีพ อาจจะเห็นว่ากฏหมายฉบับที่ว่านี้ได้ถูกยกเลิกไป และคิดว่ารัฐบาลเอาลิสเก่า SOL และ CSOL กลับมาใช้ แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ค่ะ กฏหมายฉบับนั้นถูกยกเลิกจริง แต่ไม่ได้ยกเลิกไปเลย รัฐบาลเอาเนื้อหาของกฏหมายฉบับนั้นไปรวมไว้กับกฏหมายอีกฉบับนึง (ฉบับเก่า) เท่านั้นเองค่ะ

สรุปอีกรอบนะคะ ณ เวลานี้ ลิสที่ใช้คือ MLTSSL และ STSOL

คนเขียนเข้าใจความกังวลของน้องๆนะคะ คนเขียนเองก็มีลูกความที่อยู่ในภาวะที่ไม่ทราบอนาคตตัวเองอยู่หลายคน และกำลังหาทางช่วยเหลืออยู่เช่นกันค่ะ

ปล. หัวข้อ 457 กฏเปลี่ยน 1 แปลว่าจะมี 457 กฏเปลี่ยน 2 ค่ะ (ขอเวลาทำงานก่อนนะคะ)

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com

1 กรกฏาคม 2014 จะมีกฏอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง

19/6/2014

 
เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและความต้องการทางด้านแรงงานของประเทศ ทางอิมมิเกรชั่น & รัฐบาลของประเทศออสเตรเลีย มีการปรับเปลี่ยนกฏหมายและนโยบายด้านคนเข้าเมืองอยู่เรื่อยๆค่ะ

โดยเฉพาะวันที่ 1 กรกฏาคม ของทุกปี จะเป็นวันที่(หลัก) ที่จะมีการเปลี่ยนแปลง อัพเดทกฏหมายและนโยบายทางด้านคนเข้าเมือง

แล้ววันที่ 1 กรกฏาคม ปีนี้ (2014) จะมีอะไรเปลี่ยนบ้างล่ะ?????

กฏหมายก็ทยอยๆออกมานะคะ คนเขียนก็ต้องอัพเดทอยู่เรื่อยๆ แต่ที่คนเขียนทราบ ณ ตอนนี้
ก็คือ

1. อาชีพ Chef จะเข้าไปอยู่ใน Skilled Occupations List หรือที่เรียกสั้นๆว่า (SOL)

ผลของมันคืออะไร?? ก็คือคนที่มีอาชีพนี้ และ/หรือเรียนมาสายนี้ อาจจะสามารถขอวีซ่าแบบอิสระ (Independent) โดยไม่จำเป็นต้องมีนายจ้างสปอนเซอร์ได้ ถ้ามีคุณสมบัติอื่นๆเข้าข่ายตามที่กฏหมายกำหนดด้วยนะคะ

คนที่เรียนมาสายนี้ แต่คุณสมบัติไม่พอที่จะขอ PR ได้ ก็อาจจะมีสิทธิขอวีซ่า 485 (Graduate Temporary visa) ได้ ซึ่งถ้าได้วีซ่ามา ก็สามารถอยู่และทำงานเต็มเวลาในประเทศออสเตรเลียได้อีก 18 เดือน ซึ่งก็อาจจะทำให้มีโอกาสในการขอพีอาร์ (PR) ได้
ในอนาคต ไม่ว่าจะด้วยยื่นด้วยตัวเองผ่าน Independent visa หรือแบบนายจ้างสปอนเซอร์

2. นอกจากอาชีพ Chef แล้ว ยังมีอาชีพ Bricklayer และ Wall and Floor Tiler ด้วยนะคะ ที่ได้รับการเพิ่มเข้าไปใน Skilled Occupations List (SOL) ผลของมันก็เหมือนกับข้อ 1. ค่ะ

3. อาชีพ Hydrogeologist และ Exercise Physiologist จะได้รับการเพิ่มเข้าไปใน Consolidated Sponsored Occupations List (CSOL)

ผลของมันคืออะไร?? ก็จะเป็นอีก 2 อาชีพ ที่มีโอกาสได้รับการสปอนเซอร์จากนายจ้าง หรือรัฐบาลไงคะ

4. ผลของ S
kills Assessment จะมีอายุได้ยาวที่สุดที่ 3 ปีค่ะ ถ้าผลของ Skills Assessment ระบุวันหมดอายุไว้สั้นกว่า 3 ปี ก็ให้เป็นไปตามนั้น

ก่อนวันที่ 1 July 2014 Skills Assessment ไม่มีวันหมดอายุค่ะ เพราะฉะนั้นใครที่ Skills Assessment กำลังจะหมดอายุ ก็มี 2 ทางเลือกค่ะ ทำ Skills Assessment ใหม่อีกรอบ หรือยื่นขอวีซ่าก่อนวันที่ 1 กรกฏาคม 2014 เพื่อหลีกเลี่ยงที่จะต้องเข้าไปอยู่ในกฏใหม่นะคะ

5. มีข่าวมาตลอดหลายเดือนที่ผ่านมาว่าอาชีพ Accountant จะถูกลบออกจาก SOL แต่ ณ ตอนนี้ คนเขียนเข้าใจว่าอาชีพนี้จะยังอยู่ เพียงแต่ลดโควต้า หรือจำนวนคนที่อิมมิเกรชั่นจะออกวีซ่าให้ในอาชีพนี้จะน้อยลง แปลว่ารอนานขึ้นนั่นแหละค่ะ

ติดตามอัพเดทได้ที่นี่ค่ะ

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com

    Author


    พี่เก๋ - กนกวรรณ ศุโภทยาน เป็นทนายความไทย และทนายความของประเทศออสเตรเลีย (Immigration Lawyer)

    มีประสบการณ์เป็นทนายความเฉพาะทาง ด้าน IMMIGRATION ของประเทศออสเตรเลีย รับวางแผนการขอวีซ่า ยื่นใบสมัครขอวีซ่าทุกประเภท ช่วยเหลือในชั้นอุทธรณ์ที่ Administrative Appeals Tribunal และในชั้นศาลค่ะ

    ต้องการคำแนะนำ หรือความช่วยเหลือ ติดต่อได้ที่ Immigration Success Australia
    mb: 0428 191 889 หรือ www.immigrationsuccessaustralia.com

    Archives

    July 2021
    June 2021
    March 2021
    February 2021
    January 2021
    December 2020
    November 2020
    October 2020
    September 2020
    July 2020
    June 2020
    May 2020
    April 2020
    March 2020
    February 2020
    March 2019
    January 2019
    November 2018
    October 2018
    August 2018
    July 2018
    June 2018
    April 2018
    October 2017
    September 2017
    August 2017
    May 2017
    April 2017
    August 2015
    April 2015
    December 2014
    September 2014
    August 2014
    June 2014
    March 2014
    January 2014
    October 2013
    September 2013
    July 2013
    June 2013

    Categories

    All
    วีซ่า
    อุทธรณ์
    วีซ่าคู่ครอง
    101
    102
    103
    143
    173
    186
    187
    190
    300
    309
    4020
    408
    445
    457
    462
    476
    482
    485
    489
    491
    500
    870
    AAT
    Accountant
    Administrative Appeals Tribunal
    Adoption Visa
    Approved Nomination
    Australia
    Australian
    Australian Citizenship
    Australian Immigration
    Bar
    Bricklayer
    Bridging Visa
    Bridging Visa A
    Bridging Visa E
    BVA
    BVE
    Changes To Immigration Law
    Changing Courses
    Chef
    Child Visa
    Consolidated Sponsored Occupations List
    COVID 19
    COVID-19
    CSOL
    Decision Ready
    Decision-ready
    Decision Ready Application
    Decision-ready Application
    De Facto Relationship
    Employer Sponsored
    English Exemption
    ENS
    Exercise Physiologist
    Family
    Family Violence
    Federal Circuit Court
    Graduate Work
    GTE
    Hydrogeologist
    Ielts
    Immigration
    Immigration Lawyer
    Judicial Review
    Jurisdictional Error
    Migration Agent
    Migration Review Tribunal
    MRT
    Nomination
    Orphan Relative Visa
    Overstay
    Parent
    Partner Visa
    PIC 4020
    Post Study Work
    Processing Period
    Protection Visa
    Public Interest Criteria
    Public Interest Criterion
    Regional Australia
    Regional Visas
    Registered Migration Agent
    Rma
    RSMS
    Section 48
    Section 48 Bar
    Self Sponsorship
    Skilled Migration
    Skilled Occupations List
    Skilled Work Regional
    Skills Assessment
    SOL
    Sponsor
    Sponsorship
    Student Visa
    Substantive Visa
    Training
    Tsmit
    Unlawful
    Visa Cancellation
    Visa Refusal
    Wall And Floor Tiler
    Working And Holiday Visa

    RSS Feed

Powered by Create your own unique website with customizable templates.