visa blog : สำหรับคนไทยค่ะ
  • Home
  • Blog

AAT review application - Subclass 186 NOmination

15/11/2018

 
เคสที่คนเขียนจะแชร์วันนี้เป็นเคสมหาหิน และเป็นเคสที่ใช้ชั่วโมงการทำงานเยอะมากถึงมากที่สุด

ข้อคิดในเคสนี้อยู่ในเนื้อหา (ไม่มี ป.ล. 1, 2, 3, 4) หวังว่าน้องๆจะได้เรียนรู้จากข้อผิดพลาดในเคสนี้ และเอาไปปรับใช้ให้เป็นประโยชน์กับเคสตัวเองนะคะ 

โพสนี้แอดวานซ์นิดนึงนะคะ สำหรับคนที่พอมีความเข้าใจเงื่อนไขของวีซ่า 186 หรือ 187 มาบ้างแล้ว สำหรับมือใหม่ รบกวนตามอ่านลิงค์ที่ให้ไว้ตัวแดงๆในโพสนี้ก่อน จะได้พอเข้าใจว่าคนเขียนพูดถึงอะไร และสำคัญยังไง

คุณลูกความติดต่อมาขอคำแนะนำหลังจากอิมมิเกรชั่นปฏิเสธ Nomination สำหรับวีซ่า Subclass 186 แบบ Temporary Residence Transition Stream (TRT) ..... เหตุผลที่ปฏิเสธก็มี 2 ข้อด้วยกัน คือ

  • นายจ้างมีประวัติไม่ทำตามเงื่อนไขการเป็นสปอนเซอร์หลายข้อ เคยถูกปรับ เคยติดบาร์ห้ามสปอนเซอร์พนักงานเพิ่ม
  • เนื่องจากอิมมิเกรชั่นเจอว่าลูกจ้างทำหน้าที่อื่นนอกเหนือจากหน้าที่ของตำแหน่งที่ได้รับการสปอนเซอร์มา อิมมิเกรชั่นเลยตัดสินว่าลูกจ้างไม่ได้ทำงานในตำแหน่งที่จ้างครบ 2 ปี ในระหว่างที่ถือวีซ่า 457
(จริงๆแล้วเหตุผลการปฏิเสธคือข้อล่างเท่านั้น แต่ข้อบนเป็นที่มาที่ไปสำคัญของการถูกปฏิเสธ เพราะฉะนั้นจากคำตัดสิน เคสนี้มี 2 ประเด็น)

เท้าความข้อกฏหมายนิดนึง....... เคสนี้เข้ากฏเก่า (Transitional arrangements) ...... คือต้องทำงานในระหว่างถือวีซ่า 457 อย่างน้อย 2 ปี ถึงจะขอพีอาร์ได้ (กฏปัจจุบันคือต้องทำงานในวีซ่า 457 / TSS-482 อย่างน้อย 3 ปี ถึงจะขอพีอาร์ได้)

จากข้อมูลที่ลูกความให้มา คนเขียนคิดว่าเราน่าจะหาข้อโต้แย้งเหตุผลทั้ง 2 ข้อนี้ได้ (หมายถึงโต้แย้งกันทางข้อกฏหมายนะคะ ไม่ใช่โต้แย้งแบบตามใจฉัน)

เคสนี้จริงๆยื่นใหม่ได้ เพราะลูกความยังถือวีซ่า 457 อยู่อีกระยะใหญ่ แต่แนวโน้มที่จะถูกปฏิเสธอีกรอบก็มีสูง  และลูกความก็ยังไม่มีผลภาษาอังกฤษสำหรับกฏปัจจุบัน (เทียบเป็น IELTS ก็ 6 ทุกพาร์ท) ..... สรุปว่าเคสนี้การยื่นอุทธรณ์ดูแล้วจะเข้าท่าที่สุด (จริงๆยื่นอุทธรณ์ด้วย และเมื่อได้ผลภาษาอังกฤษก็ยื่นใหม่ด้วยก็ได้ แต่ลูกความไม่สน ไม่สอบ วัดใจกันไปเลยค่ะ ลุยทางเดียว บอกว่าถ้าไม่ชนะที่ชั้นอุทธรณ์ก็จะแพ๊คกระเป๋ากลับบ้าน .... คนเขียนแอบเครียดเลย กลัวครอบครัวนี้ต้องแพ๊คกระเป๋าจริงๆ)

ว่าแล้วลูกความก็เซ็นสัญญาให้คนเขียนดูแลเคสอุทธรณ์ .... และแล้วเซอร์ไพร์สก็มา ....... งานงอกแบบจริงๆจังๆ ไม่เคยมีเคสไหนงานงอกขนาดนี้

เบื้องลึกของเคส ..... ข้อมูลที่ไม่ได้ระบุในคำตัดสิน แต่เจอระหว่างทางคือ

  • ลูกความใช้วันลา (annual leave เพื่อกลับไทย) เกินไปเยอะมาก รวมระยะเวลาทำงานอยู่ในประเทศออสเตรเลียทั้งหมด (นับแล้วนับอีก นับไป 5-6 รอบ - wishful thinking) นับยังไงก็ได้ไม่ถึง 2 ปี ณ วันยื่น Nomination (ถามว่าทำไม๊ ทำไม ทำไปได้ไง รออีกนิดให้มันครบ 2 ปี++++ แล้วค่อยยื่นไม่ได้เหรอ วีซ่าเหลืออีกตั้งนาน จะรีบไปไหน - ไม่แอบเครียดแล้ว เครียดอย่างแรง)
  • รายละเอียด Leave period ที่ให้ไปที่ชั้นอิมมิเกรชั่นก็ไม่ถูกต้อง อิมมิเกรชั่นเช็คได้จาก Movement record (เครียดหนักเข้าไปอีก) - ลูกความบอกว่า honest mistake แต่ Tribunal อาจจะมองว่าโกหกก็ได้ เพราะ Leave period ที่ไม่ถูกต้องนับเวลาได้ครบ 2 ปี แต่พอเช็คจาก Movement record แล้ว กลับนับเวลาได้ไม่ถึง 2 ปี - เครียดไหมล่ะ เริ่มเห็น Credibility issue (ปัญหาความน่าเชื่อถือ) ที่ปลายขอบฟ้า
  • เอเจนต์เดิมเอาค่าเทรนนิ่ง (Training expenditure) ที่เกิดขึ้นก่อนที่นายจ้างจะได้เป็นสปอนเซอร์มานัวๆเป็นค่าเทรนนิ่งในระหว่างที่มีลูกจ้างถือ 457 (คือมันใช้ไม่ได้นะคะ)  -         ลูกความบอกว่าไม่รู้ ก็จ่ายตามที่เอเจนต์แนะนำให้จ่าย และอิมมิเกรชั่นก็ไม่ได้ปฏิเสธเรื่องเทรนนิ่ง ก็แปลว่าไม่มีปัญหาสิ - คือจริงๆแล้ว
    • อิมมิเกรชั่นไม่จำเป็นต้องลิสทุกเหตุผลที่สามารถปฏิเสธได้ ลิสเหตุผลเดียวก็ปฏิเสธได้แล้วค่ะ
    • และถึงแม้อิมมิเกรชั่นจะนัวๆโอเคกับบางเรื่อง    Tribunal ไม่จำเป็นต้องนัวๆโอเคด้วยนะคะ เพราะการพิจารณา Nomination refusal outcome เป็นการพิจารณาใหม่หมดในทุกเงื่อนไขของ Nomination และต้องบอกว่า Tribunal แม่นข้อกฏหมายกว่าอิมมิเกรชั่นเยอะมาก ... ข้อดีคือเราคุยภาษาเดียวกัน (ภาษากฏหมาย) ข้อเสียคือถ้าหาข้อกฏหมายมาสนับสนุนข้อเท็จจริง (ที่ไม่ค่อยจะสวยหรู) ไม่ได้ เคสก็ Hopeless
  • สัญญาระบุให้จ่ายค่าจ้างทุกอาทิตย์ แต่จ่ายกันรายเดือนมั่ง รายสองอาทิตย์มั่ง ทุกวันที่ 15 มั่ง สรุปว่าผิดตั้งแต่ไม่ทำตามที่สัญญาระบุไว้ แถมยังนำเสนอว่ามีการจ่ายเงินครบถ้วนได้ยากมาก .... ทำยังไงดีล่ะ ...... ไม่นำเสนอ-เคสก็อาจจะไปไม่รอด นำเสนอ-เคสก็อาจจะดูไม่ดี (สรุปว่าต้องเลือกเอาระหว่างสถานการณ์ที่แย่กับแย่กว่า)

และบลา...บลา...บลา.... คือมีปัญหาอื่นอีกมากมาย เงื่อนไขการพิจารณา Nomination มีกี่ข้อ มีปัญหาเกือบทุกข้อ .....คนเขียนก็คิดไม่ถึงว่าสาระพันปัญหามันจะมารวมกันอยู่ในเคสๆเดียวนี้แหละ (ลูกความสามารถมาก) ปรากฏว่าอธิบายยังไงลูกความก็ไม่เข้าใจว่าเคสตัวเองอาการหนักมาก  Positive thinking สุดๆ (ซึ่งก็เข้าใจได้ คนส่วนใหญ่ก็คิดว่าเมื่อตัวเองคิดดีทำดี ก็ต้องได้ดี ทำผิดพลาดแบบไม่ตั้งใจก็พยายามแก้ไข ก็ต้องให้อภัยกันสิ ... ในความเป็นจริงกฏหมายอิมมิเกรชั่นโหดร้ายกว่านั้นนะคะ ........  บางครั้ง Tribunal ก็มองอีกมุม เช่นกฏหมายเป็นอะไรที่คุณต้องรู้ จะมาบอกไม่รู้ไม่ได้ ไม่อย่างงั้นทุกคนก็อ้างแบบนี้ ก็ได้วีซ่ากันหมดสิ ..... หรือมองว่าคุณพยายามโกหก สร้างเรื่องเพื่อให้ได้วีซ่ารึเปล่า .... บางครั้ง Tribunal ก็เห็นใจ แต่กฏหมายอาจจะไม่เปิดช่องให้ใช้ความเห็นใจมาเป็นองค์ประกอบในการพิจารณา)

สรุปว่าหายใจเข้าลึกๆหายใจออกยาวๆ ทำ Research หาข้อกฏหมายมาแก้ปัญหาไปทีละเปลาะ ส่วนที่ไม่มีข้อกฏหมายมาช่วย คนเขียนก็ไปนำเสนอมุมมองใหม่ๆเอาที่ Tribunal ละกัน 

เคสนี้ก็ลูกความในฝันอีกแล้วค่ะ เคสยากมากจริงๆ แต่แนะนำอะไร ลูกความทำทุกอย่าง .... ทำให้คนเขียนแก้ไขปัญหาหลายๆจุดให้คุณลูกความได้ทางเอกสาร และเหลือประเด็นหลักๆ (ซีเรียสๆ) ไว้ลุยกันวัน Hearing เพราะเอกสารอย่างเดียวเอาไม่อยู่

ปรากฏว่าวัน Hearing คนเขียนแอบกุมขมับ เพราะรู้สึกว่า Tribunal member ออกแนวติดลบกับเคสพอสมควร (ซึ่งก็เข้าใจได้ เพราะประเด็นที่ซีเรียสและไม่น่าจะให้ผ่านมีหลายประเด็น ประกอบกับลูกความและพยานก็ตื่นเต้นตอบคำถามได้ไม่ดีและไม่ละเอียดพอ) คนเขียนก็มีการโต้เถียงทางข้อกฏหมายกับ Tribunal member ในวันนัด แต่เนื่องจากมีหลายประเด็น เวลาก็หมดซะก่อน แต่ Tribunal member ก็ยังอนุญาติให้คนเขียนทำ Written Submissions โต้เถียงเคสเพิ่มเติมได้ (โอกาสสุดท้ายของเรา) .... สรุปว่าผ่านค่ะ .... ลูกความไม่ต้องแพ๊คกระเป๋ากลับบ้านแล้ว ... เย้ ... หายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง  (เคสนี้ลูกความอยู่คนละรัฐกับคนเขียน ตั้งแต่ต้นจนจบเรายังไม่เคยเจอกันตัวเป็นๆ ..... อ้าว แล้ว Hearing กันยังไง??? - Video conference คือคำตอบ) 

คนเขียนจะไม่ลงรายละเอียดว่าโต้เถียงอะไรไปบ้าง แค่ Submissions โต้เถียงทางข้อกฏหมายอย่างเดียวก็ 10 หน้าแล้ว เอกสารประกอบรวมๆในเคสนี้ก็น่าจะราวๆ 400-600 หน้า และแนวทางการโต้เถียงและการแก้ปัญหาของแต่ละเคสก็ไม่เหมือนกัน   แค่ยื่นต่างช่วงเวลากันก็อาจจะใช้กฏหมายกันคนละตัวแล้ว   ถึงแม้นายจ้างจะเคยมีประวัติถูกปรับหรือติดบาร์เหมือนกัน เหตุผลที่มาที่ไปของการถูกปรับหรือติดบาร์ก็ต่างกัน  ถึงแม้ลูกจ้างจะเคยถูกกล่าวหาว่าทำหน้าที่อื่นนอกเหนือจากหน้าที่ของตำแหน่งที่ได้รับสปอนเซอร์เหมือนกัน แต่ลักษณะงาน ธุรกิจ หรือเอกสารประกอบต่างกัน แนวทางการทำเคสก็ต่างกัน (สรุปว่าเคสใครเคสมันค่ะ เคสอุทธรณ์ไม่มีแพทเทิร์น) ....      แต่สิ่งที่ลูกความเคสอุทธรณ์ทุกคนควรมีคือ Being proactive ใส่ใจและเต็มที่กับเคสตัวเองค่ะ อย่าคาดหวังว่าเมื่อมีเอเจนต์หรือทนายความดูแลแล้ว เราจะไม่ต้องทำอะไรเลย ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ค่ะ เราทำงานกันเป็นทีม ทีมข้อกฏหมาย + ทีมข้อเท็จจริง (คุณลูกความนั่นเอง)  ลูกความยกความดีความชอบให้คนเขียนเต็มๆ แต่คนเขียนคืนกลับไปครึ่งนึง ถ้าลูกความไม่ใส่ใจเคสตัวเอง เคสก็ออกมาดีไม่ได้ เราไม่มีเวทมนต์ hard work + team work ล้วนๆค่ะ

หวังว่าข้อมูลในโพสนี้จะเป็นประโยชน์กับน้องๆที่หมายตาวีซ่า Subclass 186 หรือ 187 นะคะ

ขอบคุณที่อ่าน ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์ ก็แชร์ได้เลยค่ะ ไม่ต้องขออนุญาตกัน

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com

กฏเปลี่ยน - ค่า Training - วีซ่า 457 482 186 และ 187

10/8/2018

 
กฏใหม่สำหรับค่า Training ที่นายจ้างจะต้องชำระในการยื่น Nomination จะเริ่มปรับใช้แล้วนะคะ

รายละเอียดตามข้างล่างค่ะ

  • เริ่มปรับใช้วันที่ 12 สิงหาคม 2018
  • สำหรับวีซ่า 457, 482, 186 & 187   -    ใช่ค่ะ...สำหรับวีซ่า 457 ด้วย (ไม่ได้พิมพ์ผิด) .... คือสำหรับนายจ้างที่ต้องการยื่น Nomination เพื่อสปอนเซอร์คนที่ถือวีซ่า 457 อยู่แล้ว
  • ปรับใช้กับ  Nomination ที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคมเป็นต้นไป ไม่มีผลย้อนหลัง
  • ค่า Training จ่ายเต็มตอนยื่น Nomination application
รายละเอียดค่า Training
Nomination สำหรับวีซ่า 457 & 482
  • รายได้ของธุรกิจต่ำกว่า 10ล้าน ชำระ $1200 x จำนวนปีที่ต้องการสปอนเซอร์พนักงาน
  • รายได้ของธุรกิจสูงกว่า 10ล้าน ชำระ $1800 x จำนวนปีที่ต้องการสปอนเซอร์พนักงาน

Nomination สำหรับวีซ่า 186 & 187
  • รายได้ของธุรกิจต่ำกว่า 10ล้าน ชำระ $3000
  • รายได้ของธุรกิจสูงกว่า 10ล้าน ชำระ $5000

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com

457 กฏเปลี่ยน 2

8/5/2017

 
วีซ่า 457 ยังอยู่นะคะ จนกว่าวีซ่าตัวใหม่ Temporary Skill Shortage (TSS) จะมีผลบังคับใช้ในเดือนมีนาคม 2018

แต่... คนเขียนขอสรุปกฏเปลี่ยนที่มีผลแล้ว และที่จะมีผลในอนาคตอันใกล้ตามนี้ค่ะ

กฏที่บังคับใช้ตั้งแต่ 19 เมษายน 2017

@ ลิสสาขาอาชีพเปลี่ยนจาก SOL  เป็น MLTSSL และ จาก CSOL เป็น STSOL
    เพราะว่าอ่านจากตัวกฏหมายไม่ง่าย และน่าเบื่อ (คนเขียนยังเบื่อเลย แต่ต้องอ่าน) คนเขียนเลยให้ลิงค์ไปที่
    เวปของอิมมิเกรชั่นแทนนะคะ แต่ถ้าใครสนใจอ่านจากกฏหมายโดยตรงก็คลิ๊กที่นี่เลยค่ะ

@ มี 216 อาชีพถูกตัดออกไปจากลิส
    คนที่ยื่น Nomination และ/หรือ วีซ่า 457 ไปก่อนกฏเปลี่ยน แต่ยังรอผลอยู่ ก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกันค่ะ
   อิมมิเกรชั่นแนะนำให้ถอนเรื่องและขอรีฟัน ถ้าไม่ถอนเรื่องก็จะถูกปฏิเสธและไม่ได้เงินค่ายื่นคืน แต่... คนเขียนคิด
   ว่าในบางเคสการถอนเรื่องและขอรีฟันอาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด  ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละเคสนะคะ

@ บางอาชีพที่อยู่ในลิสใหม่ อิมมิเกรชั่นมีเงื่อนไขบางอย่าง (Caveats) เพิ่มขึ้นมา (อาชีพยอดฮิตของเรา Massage
    Therapist, Cook, Chef & Restaurant Manager โดนด้วยค่ะ)
    Restaurant Manager จะต้องไม่ใช่ร้าน fast food, takeaway, ร้านที่ออกแนว Casual - ร้านที่ก่ำกึ่งว่าอาจจะมี
    ปัญหาก็คือร้านประเภทคาเฟ่ หรือ coffee shop ซึ่งก็ต้องมาดูกันเป็นเคสๆไปนะคะ
    Chef, Cook ก็เหมือนๆกันนะคะ และก็จะต้องไม่ใช่การทำงานในโรงงาน หรือ mass production
    Accountant (General) หน้าที่จะต้องเป็นนักบัญชี ไม่ใช่เสมียนบัญชีหรือ book keeper ธุรกิจจะต้องมีรายได้ต่อ
    ปีอย่างน้อย 1 ล้านเหรียญ และมีพนักงานไม่น้อยกว่า 5 คน

   แปลว่า... เช็ค Caveats กันก่อนนะคะ ว่าเราจะมีสิทธิ์ลุ้น Nomination & Visa application หรือไม่
  ใช้คำว่ามีสิทธ์ลุ้น เพราะบางเคสเป็นเคสก่ำกึ่ง ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ เคสแบบนี้คงต้องมีการทำสรุป
   (โฆษณาชวนเชื่อกันนิดนึง)

   สำหรับเคสที่อยู่ระหว่างพิจารณา แต่ตอนนี้ทราบแล้วว่าติด Caveats แน่ๆ (ไม่ใช่เคสก่ำกึ่งแบบมีสิทธิ์ลุ้น)
   อิมมิเกรชั่นให้ถอนเรื่องรับเงินคืนได้ค่ะ แต่ (ขอใช้ประโยคเดิม) ในบางเคสการถอนเรื่องและขอรีฟันอาจจะไม่ใช่
   ทางเลือกที่ดีที่สุด  ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละเคสนะคะ
   
@ วีซ่า 457 ที่จะออกหลังจากนี้ ถ้าอาชีพที่อยู่ใน MLTSSL จะได้วีซ่า 4 ปี และ STSOL จะได้วีซ่า 2 ปี (ปรับใช้กับ
    เคสที่ยื่นก่อนกฏเปลี่ยนและยังอยู่ในระหว่างพิจารณาด้วยนะคะ)

จากวันที่ 1 กรกฏาคม 2017

@ การจ่ายค่าจ้าง $96,4000 เพื่อยกเว้นผลภาษาอังกฤษ จะถูกยกเลิก

@ ต้องยื่นใบตำรวจแล้วนะคะ ก่อนหน้านี้ไม่ต้องยื่น(ยกเว้นว่าถูกขอ)

@ คาดว่าจะมีการเพิ่มอาชีพที่ต้องทำ skills assessment นะคะ
   ถึงแม้จะเป็นเคสที่ไม่มีระบุให้ต้องทำ skills assessment อิมมิเกรชั่นก็มีสิทธิ์ขอได้อยู่แล้วค่ะ ถ้าไม่เชื่อว่าเรามี
   คุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งจริง

@ ในส่วนของเจ้าของธุรกิจ (Sponsor) อิมมิเกรชั่นจะเข้มงวดขึ้นในเรื่องการเทรนพนักงานที่เป็นซิติเซ่นหรือ
    พีอาร์  (... ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะเข้มยังไง) 

@ คาดว่าจะมีการปรับเปลี่ยนสาขาอาชีพอีกนะคะ (ชีวิตอยู่บนความไม่แน่นอน ต้องตามข่าวกันค่ะ)
     
ก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2017

@ อิมมิเกรชั่นจะมีการเก็บข้อมูลเลขที่ภาษีของคนถือวีซ่า 457 และวีซ่าถาวรแบบนายจ้างสปอนเซอร์ และลิงค์
    กับ ATO (แปลว่าถ้าตกลงค่าแรงกันไว้ที่ $55000 แต่จ่ายจริงไม่ถึง ก็อาจจะเกิดปัญหาได้ค่ะ)
        
@ Sponsor ที่ไม่ทำตามหน้าที่ เช่นไม่ทำเทรนนิ่ง ไม่จ่ายค่าแรงตามที่ตกลงกัน ถ้าถูกจับได้ และมีความผิดจริง
   ก็อาจจะมีการลงโทษ (Sanctioned) คาดว่าคนทั่วไปก็จะสามารถเข้าถึงข้อมูลพวกนี้ได้ (Sanctioned มีมา
   นานแล้ว แต่ "publication of sanctioned sponsors" ยังไม่มีค่ะ เริ่มธันวานะคะ)

มีนาคม 2018

@ Bye bye 457

@ Hello TSS (Temporary Skill Shortage)


ข้อมูลจาก:
www.border.gov.au
www.legislation.gov.au

บทความต่อไป ผลกระทบของกฏเปลี่ยนต่อการขอพีอาร์ผ่านนายจ้างสปอนเซอร์

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com

วีซ่า 457 กฏเปลี่ยนอีกแล้ว เมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม 2013 -  ภาค 2 ค่ะ

19/7/2013

 
เพิ่มเติมจาก Post ที่แล้วค่ะ

นายจ้าง จากที่แค่ต้องโชว์ว่าเรามีความตั้งใจ (commitment) จะเทรน์พนักงาน ตอนนี้ไม่พอแล้วค่ะ ต้องมีการเทรน์จริงด้วย ไม่อย่างนั้นอาจจะมีปัญหาเมื่ออิมมาตรวจ หรือตอนขอ sponsor ครั้งต่อไปนะคะ

คาดว่าปลายปีนี้จะมีกฏบังคับเพิ่มให้นายจ้างประกาศหาลูกจ้างทั่วไป ก่อนที่จะมีการ Sponsor ลูกจ้างด้วย 457 ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าหาคนมาทำในตำแหน่งที่ต้องการ Sponsor ไม่ได้จริงๆ   รายละเอียดของข้อบังคับนี้คงต้องรอดูกันต่อไปค่ะว่านายจ้างจะต้องทำอะไรบ้าง เป็นระยะเวลานานเท่าไหร่

มาต่อเรื่องเงินๆ ทองๆ กันค่ะ

ค่าแรงขั้นต่ำ (TSMIT) สำหรับลูกจ้างที่ขอ 457 เพิ่มขึ้นจาก $51,400 เป็น $53,900
ค่าแรงสำหรับคนที่ต้องการขอยกเว้นภาษาอังกฤษ (IELTS 5 ทุก part) เพิ่มขึ้นจาก $92,000 เป็น $96,400
ค่าแรงของลูกจ้าง สำหรับนายจ้างที่ไม่ต้องการโชว์ Market Rate เพิ่มขึ้นจาก $180,000 เป็น $250,000

ค่าใบสมัคร หลังวันที่ 1 กรกฏาคม 2013 ตามนี้ค่ะ

Sponsorship                                                      $420
Nomination                                                       $330
457 Main applicant                                          $900
457 ติดตาม อายุเกิน 18                                      $900
457 ติดตาม อายุไม่เกิน 18                                  $255  
โบนัสสำหรับคนที่เคยขอวีซ่าชั่วคราวในประเทศออสเตรเลียมาแล้ว เพิ่มไปอีก   $700 ค่ะ 

จะเห็นว่าแพงขึ้นจากเดิมมากเลยค่ะ นอกจากนี้กฏใหม่ยังให้อิมสามารถปฏิเสธใบสมัครได้ง่ายกว่าเดิมด้วยค่ะ เพราะฉนั้นควรจะเตรียมเอกสารให้แน่น และให้พร้อมค่ะ เพราะอิมอาจจะปฏิเสธใบสมัครโดยที่ไม่ให้เวลาอธิบาย หรือข้อเอกสารเพิ่มเติม  ถ้าพลาดแล้ว นอกจากจะเสียดายตังค์ที่เสียไป บางคนอาจจะโชคร้ายถูก Section 48 bar ด้วยค่ะ 

!@#5#$^&%$R& Section 48 bar คืออะไร รอ Post ถัดไปค่ะ             

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com

    Author


    พี่เก๋ - กนกวรรณ ศุโภทยาน เป็นทนายความไทย และทนายความของประเทศออสเตรเลีย (Immigration Lawyer)

    มีประสบการณ์เป็นทนายความเฉพาะทาง ด้าน IMMIGRATION ของประเทศออสเตรเลีย รับวางแผนการขอวีซ่า ยื่นใบสมัครขอวีซ่าทุกประเภท ช่วยเหลือในชั้นอุทธรณ์ที่ Administrative Appeals Tribunal และในชั้นศาลค่ะ

    ต้องการคำแนะนำ หรือความช่วยเหลือ ติดต่อได้ที่ Immigration Success Australia
    mb: 0428 191 889 หรือ www.immigrationsuccessaustralia.com

    Archives

    July 2021
    June 2021
    March 2021
    February 2021
    January 2021
    December 2020
    November 2020
    October 2020
    September 2020
    July 2020
    June 2020
    May 2020
    April 2020
    March 2020
    February 2020
    March 2019
    January 2019
    November 2018
    October 2018
    August 2018
    July 2018
    June 2018
    April 2018
    October 2017
    September 2017
    August 2017
    May 2017
    April 2017
    August 2015
    April 2015
    December 2014
    September 2014
    August 2014
    June 2014
    March 2014
    January 2014
    October 2013
    September 2013
    July 2013
    June 2013

    Categories

    All
    วีซ่า
    อุทธรณ์
    วีซ่าคู่ครอง
    101
    102
    103
    143
    173
    186
    187
    190
    300
    309
    4020
    408
    445
    457
    462
    476
    482
    485
    489
    491
    500
    870
    AAT
    Accountant
    Administrative Appeals Tribunal
    Adoption Visa
    Approved Nomination
    Australia
    Australian
    Australian Citizenship
    Australian Immigration
    Bar
    Bricklayer
    Bridging Visa
    Bridging Visa A
    Bridging Visa E
    BVA
    BVE
    Changes To Immigration Law
    Changing Courses
    Chef
    Child Visa
    Consolidated Sponsored Occupations List
    COVID 19
    COVID-19
    CSOL
    Decision Ready
    Decision-ready
    Decision Ready Application
    Decision-ready Application
    De Facto Relationship
    Employer Sponsored
    English Exemption
    ENS
    Exercise Physiologist
    Family
    Family Violence
    Federal Circuit Court
    Graduate Work
    GTE
    Hydrogeologist
    Ielts
    Immigration
    Immigration Lawyer
    Judicial Review
    Jurisdictional Error
    Migration Agent
    Migration Review Tribunal
    MRT
    Nomination
    Orphan Relative Visa
    Overstay
    Parent
    Partner Visa
    PIC 4020
    Post Study Work
    Processing Period
    Protection Visa
    Public Interest Criteria
    Public Interest Criterion
    Regional Australia
    Regional Visas
    Registered Migration Agent
    Rma
    RSMS
    Section 48
    Section 48 Bar
    Self Sponsorship
    Skilled Migration
    Skilled Occupations List
    Skilled Work Regional
    Skills Assessment
    SOL
    Sponsor
    Sponsorship
    Student Visa
    Substantive Visa
    Training
    Tsmit
    Unlawful
    Visa Cancellation
    Visa Refusal
    Wall And Floor Tiler
    Working And Holiday Visa

    RSS Feed

Powered by Create your own unique website with customizable templates.