visa blog : สำหรับคนไทยค่ะ
  • Home
  • Blog

์NEWS 500 Student visa - 462 Work and Holiday visa

22/1/2022

 
Student visa (Subclass 500)

เงื่อนไขการทำงาน

            - ตั้งแต่วันที่ 19 January 2022 ไม่ว่าจะถือวีซ่าหลัก หรือวีซ่าติดตาม ทำงานได้ไม่จำกัดชั่วโมง
            - โน๊ตว่า คนถือวีซ่าหลัก ก็ยังต้องเรียน เก็บ attendance และทำผลการเรียนนะคะ
            - โน๊ตต่อว่า รัฐบาลจะรีวิวเงื่อนไขที่ให้ทำงานใหม่นี้ เดือน April 2022

Refund เงินค่าใบสมัคร

             - ไม่ว่าจะถือวีซ่าหลัก หรือวีซ่าติดตาม
             - ไม่ว่าจะถือวีซ่านักเรียนอยู่แล้ว หรือเพิ่งขอก็แล้วแต่
             - ถ้าเดินทางมาถึงออสเตรเลียระหว่างวันที่ 19 January 2022 และ 19 March 2022
             - สามารถทำเรื่อง Refund ขอคืนเงินค่าใบสมัครได้
             - การขอ Refund ทำได้ถึง 31 December 2022


Work and Holiday visa (Subclass 462) และ Working Holiday visa (Subclass 417)

เงื่อนไขการทำงาน

            - ตั้งแต่วันที่ 19 January 2022 ถึง 31 December 2022 ไม่จำต้องเปลี่ยนนายจ้างทุก 6 เดือน


Refund เงินค่าใบสมัคร

             - ไม่ว่าจะถือวีซ่า 462 / 417 อยู่แล้ว หรือเพิ่งขอก็แล้วแต่
             - ถ้าเดินทางมาถึงออสเตรเลียระหว่างวันที่ 19 January 2022 และ 19 April 2022
             - สามารถทำเรื่อง Refund ขอคืนเงินค่าใบสมัครได้เช่นกัน



Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


แชร์ประสบการณ์ Skills Assessment

11/12/2021

 
วันนี้คนเขียนมาแชร์ประสบการณ์การทำ Skills Assessment ตำแหน่ง Restaurant Manager

เคสนี้ น้องติดต่อคนเขียนมา 5 เดือนก่อนวีซ่าหมดอายุ  ..... มองเผินๆเหมือนน้องติดต่อมาเนิ่นๆ เวลาเหลือเฟือ ... แต่พอมองระยะเวลาภาพรวม และวีซ่าที่น้องต้องการยื่น เวลาเหลือไม่เยอะเลย เพราะสเต็ปที่ต้องทำก่อนการยื่นวีซ่ามีเยอะ และแต่ละสเต็ปก็ต้องใช้เวลาในการเตรียมเคส และเวลาในการรอผล

ส่วนใหญ่น้องที่ให้คนเขียนทำ Skills Assessment ก็จะให้คนเขียนทำงานส่วนอื่นด้วย เพราะฉะนั้นต่อให้เราเริ่มงานกันที่ Skills Assessment คนเขียนไม่ได้พิจารณาเอกสารสำหรับการยื่น Skills Assessment เท่านั้น แต่พิจารณาเผื่อไปถึงสเต็ปอื่นด้วย

Skills Assessment เคสนี้ ระยะเวลาพิจารณาปกติคือ 10-12 อาทิตย์ (3 เดือน) และมี Option ให้เลือกเป็น Priority processing ได้ด้วย ซึ่งจะทราบผลภายใน 10 วันทำการ .... คนเขียนให้น้องเลือก เพราะระยะเวลายังพอยื่นแบบปกติได้ แต่น้องก็เลือกแบบ Priority processing

ข้อดีของ Priority processing คือเร็ว  ..... ข้อเสียคือจะไม่มีการขอเอกสารเพิ่ม ถ้าพลาด เอกสารไม่ครบ หรือไม่ดีพอ ก็ถูกปฏิเสธเลย 

เคสนี้ คนเขียนตีเอกสารกลับไปให้น้องแก้ รวมทั้งขอเอกสารเพิ่มหลายครั้ง เพราะเราพลาดไม่ได้ โดยเฉพาะเคสนี้ ที่น้องรับค่าจ้างเป็นเงินสด

Q:   เอะ รับเงินสดได้ด้วยเหรอ ???
A:   ได้สิ ไม่มีกฏหมายห้ามรับค่าจ้างเป็นเงินสด ... ตราบใดที่มีการจ่ายภาษี และทำทุกอย่างกันอย่างถูกต้องตามกฏหมาย (แต่รับเงินเข้าบัญชี ดีที่สุด เพราะพิสูจน์ง่ายกว่า = เคสมีความเสี่ยงน้อยกว่า)

น้องเห็นคนเขียนตีเอกสารกลับ ขอเอกสารเพิ่ม ก็กังวลว่าเคส Skills Assessment จะมีปัญหาไหม ซึ่งคนเขียนบอกเลยว่า ... ไม่ค่ะ ... คนเขียนมั่นใจว่าเคส Skills Assessment ไม่มีปัญหา .... แต่อย่างที่เกริ่นไป คนเขียนพิจารณาเอกสารเผื่อสเต็ปอื่นไปด้วยเลย (Why not?) ในเมื่อคนเขียนก็เป็นคนทำสเต็ปต่อไปให้ลูกความ และเห็นข้อมูลและปัญหาอื่นอยู่ เราก็มองไกลนิดนึง แก้ปัญหาล่วงหน้าไปพร้อมๆกับการเตรียมยื่น Skills Assessment เลย

เคสนี้ Skills Assessing Authority ตอบรับการพิจาณาเคสเป็นแบบ Priority Processing วันศุกร์ .... วันพุธ ตี 2 คนเขียนได้รับอีเมล์ว่า Skills Assessment ผ่านแล้ว .... ม้วนเดียวจบ ใช้เวลา 2 วันทำการ ! .
... รับเงินสด เอกสารก็แน่นได้ (ในบางเคส) .... จบไป 1 สเต็ป มีเวลาหายใจ และเตรียมสเต็ปถัดไป

ป.ล. เคสรับเงินสด แบบสดจริงๆ ไม่มีบันทึก ไม่จ่ายภาษี ไม่ต้องคิดเลยนะคะ เสมือนไม่ได้ทำงาน .... เพราะฉะนั้น ถ้าคิดว่าวันนึงอาจจะต้องการยื่นวีซ่าที่ต้องใช้ประสบการณ์การทำงาน .... หางานที่เข้าระบบ และเสียภาษี

คนเขียนมีน้องหลายคนที่มาปรึกษา ประสบการณ์การทำงานสูงหลายปีเลย แต่รับ cash in hand ทั้งหมด ไม่มี record อะไรทั้งสิ้น สะดวกนายจ้าง สะดวกลูกจ้าง รับเงินสดเต็มๆ แต่สุดท้ายจบอยู่ตรงนั้น ไปต่อไม่ได้ .... ฝากไว้ให้คิด

Tip: พยายามทำงานในสายอาชีพที่เลือกให้ได้อย่างน้อย 20 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ .... เพราะ Skills Assessing Authority หลายๆที่ ไม่พิจารณาระยะเวลาการทำงานที่น้อยกว่า 20 ชั่วโมงต่ออาทิตย์เลยนะคะ



Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com 



แชร์ประสบการณ์ เคสอุทธรณ์นายจ้างสปอนเซอร์ 186 & 187 Nomination & Visa applications

4/12/2021

 
เมื่ออาทิตย์ก่อน คนเขียนเข้าร่วมสัมมนาที่จัดโดยหน่วยงานอุทธรณ์ Administrative Appeals Tribunal - AAT และหนึ่งในข้อมูลที่ได้รับจาก AAT คือ เคสธุรกิจ - นายจ้างสปอนเซอร์ มีเรทการชนะที่ชั้นอุทธรณ์ที่ 35% !!!

อนาคตไม่รู้ .... แต่ ณ วันนี้ เคสอุทธรณ์นายจ้างสปอนเซอร์ของคนเขียนทุกเคสอยู่ใน 35% นี้


การเตรียมเคสนายจ้างสปอนเซอร์ โดยเฉพาะเคสถูกปฏิเสธ Nomination ไม่ง่าย เพราะเป็นการพิสูจน์ใหม่หมดทุกประเด็น ไม่ใช่เฉพาะประเด็นที่ถูกปฏิเสธ และในความเห็นของคนเขียน ถ้าเตรียมเคสดีๆ ก็มีโอกาสสูงอยู่ เพราะส่วนใหญ่เป็นประเด็นที่ไม่ Black / White แต่ออกแนว Grey คือเรามีโอกาสที่โน้มน้าวให้ Tribunal member (คนตัดสินเคส) เห็นตามแนวทางการโต้เถียงของเรา


สำหรับคนที่ไม่รู้ .....


  • Nomination application คือใบสมัครของนายจ้าง เสนอตำแหน่งงานให้ลูกจ้าง
  • Visa application ก็ชัดเจน คือใบสมัครของลูกจ้าง ซึ่งก็ต้องมีความรู้ และประสบการณ์ตามที่กฏหมายกำหนด เพื่อที่จะมาทำงานในตำแหน่งที่นายจ้างเสนอให้
  • Nomination & Visa applications จะยื่นพร้อมกันก็ได้ หรือจะยื่น Nomination application ก่อน รอจนผ่าน แล้วค่อยยื่น Visa application ก็ได้
  • เคสนายจ้างสปอนเซอร์ส่วนใหญ่ที่ชั้นอุทธรณ์ คือเคส Nomination ถูกปฏิเสธ
  • เมื่อ Nomination ถูกปฏิเสธ ถ้ามีการยื่น Visa application เข้าไปด้วย วีซ่าก็จะถูกปฏิเสธไปด้วย (ยกเว้นมีการถอนใบสมัครวีซ่า ก่อนที่จะถูกปฏิเสธ)
  • เมื่อมีการถูกปฏิเสธ ต้องมาดูว่าจะยื่นใหม่ดี หรือจะยื่นอุทธรณ์ดี
  • บางเคสก็ไม่มีโอกาสยื่นใหม่ บางเคสก็ไม่ควรยื่นใหม่
  • ถ้าทั้ง Nomination & Visa applications ถูกปฏิเสธ โดยส่วนใหญ่ก็จูงมือกันไปอุทธรณ์ (แต่ไม่เสมอไป)
  • ถ้า Nomination ผ่าน Visa ก็ยังมีโอกาสถูกปฏิเสธได้อยู่ดี ถ้าผู้สมัครไม่เข้าเงื่อนไขบางอย่าง เช่น ไม่มีผลภาษาอังกฤษ หรือมีประสบการณ์ไม่ถึงตามที่กฏหมายกำหนด
  • เคส Visa ถูกปฏิเสธ ส่วนใหญ่แล้ว Tribunal member จะพิจารณาเฉพาะประเด็นที่ถูกปฏิเสธ ถ้าทุกอย่างโอเค เคสก็จะถูกส่งกลับไปให้อิมมิเกรชั่นพิจารณาในประเด็นอื่นต่อไป

หลายคนอาจจะสงสัยว่า

Q: อ้าว ... แล้วจะยื่นไปพร้อมกันทำไม คือควรจะยื่น Nomination application และรอให้ผ่านก่อน แล้วค่อยยื่น Visa application ดีกว่าไหม

A: จะยื่นพร้อมกัน หรือยื่นแยกเป็นสเต็ป ไม่มีสูตรตายตัวค่ะ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง พิจารณากันไปเคสๆไป ทั้ง 2 แบบ มีข้อดี ข้อเสีย แตกต่างกัน บางคนอาจจะไม่มีทางเลือก เช่นวีซ่ากำลังจะหมด หรือกฏกำลังจะเปลี่ยน หรือบางคนมีทางเลือก แต่ก็ยังควรจะยื่นไปพร้อมๆกัน ด้วยเหตุผลเฉพาะของแต่ละเคส (การให้คำแนะนำเคสพวกนี้ ต้องสัมภาษณ์แบบเจาะลึกค่ะ)

Q: อุ๊ย ... ถ้า Nomination ถูกปฏิเสธ เราก็รีบถอนใบสมัครวีซ่า ก่อนถูกปฏิเสธสิ ???

A: ขึ้นอยู่กับเนื้อหา / สถานการณ์ของแต่ละเคสอีกแล้ว บางเคสก็ควรถอนเรื่อง บางเคสก็ควรปล่อยให้ถูกปฏิเสธแล้วไปอุทธรณ์ ยกตัวอย่างเช่น น้องยื่นวีซ่าก่อนกฏเปลี่ยน ถ้าถอนเรื่อง แล้วรอยื่นใหม่เมื่อพร้อม น้องก็ต้องยื่นให้เข้ากฏปัจจุบัน ซึ่งอาจจะเป็นไปไม่ได้สำหรับน้องบางคน (ถ้าถึงจุดที่ Nomination ถูกปฏิเสธ และไม่ทราบว่าควรจะถอนเรื่อง หรือปล่อยให้วีซ่าถูกปฏิเสธดี ควรจะนัดปรึกษาค่ะ เพราะบางเคส ต่อให้น้องเข้ากฏเก่า และคิดว่าควรจะปล่อยให้ถูกปฏิเสธ เพื่อไปอุทธรณ์ แต่ถ้า Nomination หรือ Visa application ไม่มีโอกาสชนะเลย การยื่นอุทธรณ์ก็อาจจะไม่ใช่ทางออก)

คนเขียนจบเคสอุทธรณ์ 186 / 187 Nomination & Visa applications ไป 3 เคสเมื่อไม่นานมานี้ ทั้ง 3 เคสเป็นเคสที่ยื่น Nomination & Visa applications ไปพร้อมกัน (2 ใน 3 เคสนี้ เป็นเคส Self-sponsorship) .... พอ Nomination  ไม่ผ่าน Visa ก็ไม่ผ่านด้วย ทั้ง 3 เคส Strategy ของเรา (ด้วยเหตุผลที่ต่างกัน แต่ผลลัพธ์เหมือนกัน) คือ .... จูงมือกันไปอุทธรณ์ทั้งส่วนของนายจ้าง และลูกจ้าง

ความน่าสนใจของลูกความ 3 เคสนี้

เคสที่ 1 - ลูกความ Proactive แบบสุดๆ แนะนำให้ทำอะไร ได้ดั่งใจทุกอย่าง ทั้งส่งเอกสาร ทั้งติดต่อคนเขียนเป็นระยะๆ อัพเดทกันตลอด มีคำถามอะไรเกี่ยวกับธุรกิจที่อาจจะกระทบกับเคส น้องโทรขอคำแนะนำก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไร หรือไม่ทำอะไร .... เคสยาก แต่ไม่มีความหนักใจเลย

เคสที่ 2 - แนะนำอะไรไป ก็ทำมั่ง ไม่ทำมั่ง และแอบทำเคสเละระหว่างรอ Hearing อีกตังหาก (ลูกความของคนเขียนทุกคน ยกหูโทรหาคนเขียนได้ตลอดไม่ต้องนัดล่วงหน้า ถ้าไม่รับสาย เดี๋ยวโทรกลับ ...  แต่น้องลูกความไม่โทร ไม่ถามนี่สิ) .... คนเขียนก็งานงอกซิคะ ต้องมานั่งแก้ปัญหาที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นหลายประเด็นตอนใกล้ Hearing เหนื่อยแบบสุดๆกับการคิด ว่าจะยื่นเอกสารอะไร จะเชิญชวนให้ Tribunal member เห็นดีเห็นงามไปกับคนเขียนได้ยังไงกับเคสที่ไม่ค่อยสวย .... จากนั้นก็มาลุ้นต่อว่าจะชนะหรือไม่

เคสที่ 3 - ลูกความรู้ดีกว่าคนเขียน (ใช่แล้ว บางทีเราก็ได้ลูกความที่รู้ดีกว่าเรา) .... เหนื่อยหนักกว่าเคสที่ 2 อีก กลัวเคสจะไปไม่รอด  .... ลองนึกถึงคนที่แนะนำอะไรไปก็เถียง ไม่ฟัง ให้เตรียมอะไรก็ไม่เตรียมเพราะมั่นใจในตัวเอง .... บอกตามตรงว่าคนเขียนมีโมเม้นต์ที่อยากจะเชิญลูกความให้เอาเคสกลับไปทำเอง

ทั้ง 3 เคส คนเขียนเคลียร์ประเด็นที่ถูกปฏิเสธโดยอิมมิเกรชั่นได้แบบไม่ยาก แต่เนื่องจาก AAT ดูเคส Nomination ใหม่หมดทุกประเด็น ไม่ใช่แค่ประเด็นที่ถูกปฏิเสธ เพราะฉะนั้นเราโฟกัสไปประเด็นที่ถูกปฏิเสธประเด็นเดียวไม่ได้  และทั้ง 3 เคสนี้ ประเด็นที่เป็นปัญหาจริงๆที่ชั้นอุทธรณ์ ก็ไม่ใช่ประเด็นที่ถูกปฏิเสธโดยอิมมิเกรชั่น (ความน่าปวดหัวของเคส Nomination อยู่ตรงนี้เอง)

..... ลองนึกภาพ

คนเขียน:  น้องคะ ประเด็นนี้ (xxx) คาดว่าจะเป็นประเด็นหลัก น้องเตรียมเอกสาร 1 2 3 4 และเตรียมข้อมูล (yyy) ไว้ด้วยนะคะ คาดว่าคำถามจะมาประมาณ บลา ... บลา ... บลา

ลูกความ:  โอ๊ยพี่ ไม่ต้องหรอก มั่นใจว่าประเด็นนี้ไม่ใช่ปัญหา เพราะ บลา ... บลา ... บลา (หลงประเด็น แต่มั่นใจ)

คนเขียน:  น้องถือสายรอแป๊บนึงนะคะ เดี๋ยวกลับมาอธิบายให้ฟังอีกรอบ [คนเขียนขอเอาหัวไปโขกเสา 3 รอบ และนับ 1 - 100 ก่อน] 

จริงๆ อธิบายย้ำไปอีกหลายรอบ .... แนะนำได้ แต่ถ้าลูกความไม่ทำ คนเขียนก็ทำอะไรไม่ได้ ได้แต่ทำใจ

วัน Hearing:   ไม่ใช่แค่ประเด็นที่คาดไว้เท่านั้น แต่เป็นคำถามที่คาดไว้ด้วย น้องตอบไม่ได้ เพราะไม่ได้เตรียม (คนเขียนอยากจะบอกว่า I told you so!!)

.... คนเขียนจะไม่แคร์ก็ได้ เพราะพยายามแล้ว แนะนำแล้ว ซ้ำหลายรอบด้วย แต่น้องไม่ฟัง ไม่เตรียม

.... แล้วแคร์ไหม ? .... อยากจะไม่แคร์เหมือนกัน แต่ทำไม่ลง ... สำหรับคนเขียน ตราบใดที่เคสยังอยู่ในมือ ก็ต้องทำให้ดีที่สุด .... เราก็ต้องมีเทคนิคการช่วยลูกความ รวมถึงโดน Tribunal member โวยใส่แทนลูกความด้วย !!!! (แอบสงสารตัวเองนิดนึง) 

เห็นไหม ว่าทำไม การทำเคสแต่ละเคส เรารับประกันความสำเร็จของงานไม่ได้ .... ปัจจัยที่อาจจะทำให้เคสไม่ผ่าน มีเยอะแยะมากมาย รวมถึงปัจจัยที่ไม่ควรจะเกิดแบบเคสนี้ แนะนำแล้วไม่ทำ

สุดท้ายน้องมาขอโทษ ที่ไม่ฟัง และไม่เตรียมเคสตามที่แนะนำ และทำให้คนเขียนโดนโวย .... สำหรับคนเขียน การโดนโวยแทนลูกความเป็นเรื่อง จิ๊บ จิ๊บ ไม่คิดมาก [แต่ไม่โดนเลย ดีที่สุด] ....  แต่ที่เคืองคือน้องไม่ฟัง และทำเคสเกือบพัง .... คนเขียนพยายามฝ่ายเดียวไม่ได้นะคะ น้องลูกความต้องพยายามด้วย

นี่คือเหตุผลที่บางเคส คนเขียนก็ต้องเชิญลูกความให้ไปใช้บริการคนอื่น ถ้าไม่เชื่อ Strategy และคำแนะนำของคนเขียน ถ้าเชื่อคนอื่น หรือเชื่อตัวเองมากกว่า บอกเลยว่าช่วยยาก และเสียเวลามาก คนเขียนขอเอาเวลาอันมีค่า ไปช่วยคนที่มั่นใจในตัวคนเขียนดีกว่า 

ล่าม - ถ้าไม่มั่นใจในภาษาอังกฤษของตัวเอง หรือของพยาน ขอล่ามไว้ก่อน (ฟรี) .... คือมีล่าม แล้วไม่ใช้ก็ได้ แต่ถ้าจะใช้ แล้วไม่มี เดือดร้อนนะคะ เอเจนต์หรือทนายความช่วยแปลไม่ได้ เพื่อนน้องหรือพยาน ก็ช่วยแปลไม่ได้

ทั้ง 3 เคส คนเขียนขอล่ามให้ทุกเคส ลูกความของคนเขียน ก็มีทั้งแบบใช้ล่ามเป็นบางช่วง ไม่ใช้ล่ามเลยเพราะสื่อสารกันรู้เรื่อง เคสที่แอบปวดหัวคือเคสที่สื่อสารไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่ก็ไม่ยอมใช้ล่าม (จุดประสงค์ของการ Hearing คือการสื่อสารกับ Tribunal member ถาม-ตอบ และให้ข้อมูลว่าเคสเราควรจะผ่านเพราะอะไร ไม่ใช่การโชว์ความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษ และถ้าสื่อสารแบบติดๆขัดๆ นอกจากจะไม่ได้ช่วยเคสแล้ว คุณก็ไม่ได้โชว์ความสามารถทางภาษาอยู่ดี)

ทั้ง 3 เคส เราชนะที่ชั้นอุทธรณ์ และเคสจบไปได้ด้วยดี .... 

ข้อมูลอีกอย่างที่ได้จากวันสัมมนา คือ ... 40% ของเคสธุรกิจ - นายจ้างสปอนเซอร์ที่ชั้นอุทธรณ์ใช้ระยะเวลารอเกิน 2 ปี .... เพราะฉะนั้น การตามเคสถี่ๆ ไม่ได้ทำให้เคสเร็วขึ้น คนอื่นเค้าก็รอเคสนานเหมือนคุณ ถ้าไม่มีเหตุผลอันสมควร ไม่ต้องคิดลัดคิว .... สิ่งที่จะช่วยคุณได้คือการใช้เวลาระหว่างรอเคสให้เป็นประโยชน์ที่สุด เก็บเอกสารหลักฐานที่จะต้องใช้ ... ในขณะเดียวกัน ก็ไม่ปิดโอกาสตัวเองในระหว่างรอ อย่าลืมว่ากฏหมายด้านนี้เปลี่ยนบ่อยมาก คุณอาจจะมีโอกาสยื่นและได้วีซ่าตัวอื่นในระหว่างรอเรื่องก็ได้


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com 



HOT NEWS วีซ่าที่ไม่ต้องขอ Travel Exemption ตั้งแต่วันที่ 1 December 2021

22/11/2021

 
ประกาศข่าวดี -- เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 December 2021

คนที่ถือวีซ่าต่อไปนี้  ถ้าฉีดวัคซีนครบแล้ว ไม่ต้องขอ Travel Exemption 

ฉีดวัคซีนครบแล้ว หมายถึง ......


1. ฉีดวัคซีนต่อไปนี้ 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 14 วัน (ฉีดไขว้ได้)

  • AstraZeneca Vaxzevria
  • AstraZeneca Covishield
  • Pfizer/Biontech Comirnaty
  • Moderna Spikevax
  • Sinovac Coronavac
  • Bharat Biotech Covaxin
  • Sinopharm BBIBP-CorV (for 18-60 year olds)
2. ฉีด 1 เข็ม

  • Johnson & Johnson/ Janssen-Cilag COVID Vaccine
3. ฉีดวัคซีนครบ อย่างน้อย 7 วันก่อนเดินทาง

4. ถ้าฉีดไม่ครบ ยังต้องขอ Travel Exemption


วีซ่าที่ว่าคือ


Subclass 200 – Refugee visa
Subclass 201 – In-country Special Humanitarian visa
Subclass 202 – Global Special Humanitarian visa
Subclass 203 – Emergency Rescue visa
Subclass 204 – Woman at Risk visa
Subclass 300 – Prospective Marriage visa
Subclass 400 – Temporary Work (Short Stay Specialist) visa
Subclass 403 – Temporary Work (International Relations) visa (other streams, including Australian Agriculture Visa stream)
Subclass 407 – Training visa
Subclass 408 – Temporary Activity visa
Subclass 417 – Working Holiday visa
Subclass 449 – Humanitarian Stay (Temporary) visa
Subclass 457 – Temporary Work (Skilled) visa
Subclass 461 – New Zealand Citizen Family Relationship visa
Subclass 462 – Work and Holiday visa
Subclass 476 – Skilled – Recognised Graduate visa
Subclass 482 – Temporary Skill Shortage visa
Subclass 485 – Temporary Graduate visa
Subclass 489 – Skilled – Regional (Provisional) visa
Subclass 491 – Skilled Work Regional (Provisional) visa
Subclass 494 – Skilled Employer Sponsored Regional (Provisional) visa
Subclass 500 – Student visa
Subclass 580 – Student Guardian visa (closed to new applicants)
Subclass 590 – Student Guardian visa
Subclass 785 – Temporary Protection visa
Subclass 790 – Safe Haven Enterprise visa
Subclass 870 – Sponsored Parent (Temporary) visa
Subclass 988 – Maritime Crew visa

อนาคต จะมีประเภทวีซ่าเพิ่มอีก และมีการเปลี่ยนแปลงอีก ติดตามเงื่อนไขการเข้าเมืองในช่วงโควิดได้ที่นี่

และอย่าลืมเช็คเงื่อนไขการกักตัวของแต่ละรัฐก่อนเดินทางด้วยนะคะ



Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com


แชร์ประสบการณ์เคสอุทธรณ์ วีซ่านักเรียนถูกปฏิเสธ

1/11/2021

 
เคสวีซ่านักเรียนที่ถูกปฏิเสธส่วนใหญ่เป็นเรื่อง Genuine Temporary Entrant (GTE) คืออิมมิเกรชั่นไม่เชื่อว่าน้องตั้งใจจะเป็นนักเรียนจริงๆ คืออาจจะคิดว่าขอวีซ่าเพื่อจะทำงาน หรือคิดว่าเมื่อเรียนจบแล้ว คงไม่ยอมกลับประเทศแน่ๆเลย

น้องๆนักเรียนถึงต้องเขียน Statement of purpose เพื่อที่จะโน้มน้าวอิมมิเกรชั่นว่า ชั้นอยากมาเรียนจริงๆนะ เรียนจบแล้วก็จะกลับนะ

ยกตัวอย่างประเด็นที่ถูกปฏิเสธ ก็เช่น

1. อยู่ที่ออสเตรเลียมานานหลายปี
2. ขอเรียนระดับที่ต่ำกว่าวุฒิการศึกษาที่ไทย
3. ขอต่อวีซ่า และเลือกเรียนระดับที่ต่ำกว่าคอร์สที่เรียนก่อนหน้า
4. ขอเรียนในสายวิชาที่ไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับสายที่เคยเรียนมา หรือมีประสบการณ์ทำงานมา
5. อายุค่อนข้างเยอะ
6. ต่อวีซ่านักเรียนมาหลายรอบแล้ว อยู่มานานแล้ว แต่แทบไม่ได้กลับไปเยี่ยมที่บ้านเลย
7. ไม่ทำ Research และเขียน Statement of purpose ได้ไม่ดี
8. ไม่ยื่น Statement of purpose
9. .... มีอีก ... แต่ ตอนนี้คิดไม่ออก

วันนี้คนเขียนมี Telephone Hearing .... ลูกความอยู่รัฐนึง คนเขียนอยู่อีกรัฐนึง และ AAT ก็อยู่อีกรัฐนึง

น้องลูกความควบมาหลายประเด็นเลย อยู่ออสเตรเลียมาประมาณ 10 ปีได้ เรียนสูงมา แล้วมาเปลี่ยนเป็นคอร์สที่ต่ำกว่า และเป็นคนละสายกับที่เคยเรียนมา .... แถมอายุก็เริ่มเยอะ (อายุ 37 ตอนถูกปฏิเสธ อายุ 39 ณ วัน Hearing) .... Statement of purpose ของน้อง ก็ ..... เกือบดี

ตอนน้องมาเป็นลูกความของคนเขียน น้องมีการยื่นเอกสารบางอย่างเข้าไปแล้ว รวมถึง Statement of purpose ... ที่แอบกุมขมับคือยื่นไป 2 ฉบับค่ะ!!!! ฉบับเกือบดี1 กับฉบับเกือบดี2  และยื่นต่างกัน 1 วัน เนื้อหาคล้ายกันแต่ไม่เหมือนกัน คือยื่นทำไม ไม่เข้าใจ (ปัญหาของคนทำเคสเอง คือไม่รู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไร)

เคสนี้ เรายื่นเอกสารเข้าไปอีกเยอะเลยค่ะ รวมถึง Statement of purpose ฉบับใหม่ (คือถ้าน้องมาหาคนเขียนตั้งแต่ต้น เราคงยื่นแค่ฉบับใหม่ฉบับเดียว!) .... เอกสารบางชิ้น คนเขียนนั่งคิดนานมาก เพราะต้องชั่งน้ำหนักว่าเอกสารจะช่วยเคส หรือจะทำเคสพัง ..... เป็นความโชคดีของคนเขียน ที่ขออะไรไป น้องก็พยายามหามาให้ และน้องก็ไว้ใจ ให้คนเขียนตัดสินใจเลยว่าจะยื่นอะไร หรือไม่ยื่นอะไร

Hearing เช้านี้ .... Tribunal member เริ่มต้นการพิจารณาด้วยคำว่า "ชั้นได้ดูเอกสารที่ยื่นเข้ามาทั้งหมดแล้ว และเอกสารครอบคลุมทุกประเด็น ทำให้ชั้นเชื่อว่าคุณตั้งใจจะเป็นนักเรียนจริงๆ และชั้นตัดสินใจส่งเคสกลับไปให้อิมมิเกรชั่นพิจารณาประเด็นอื่นต่อไป" .....  สรุปว่าไม่มีคำถาม .... แถมได้คำตัดสินเดี๋ยวนั้นเลย .... น้อง Happy มีแอบกรี๊ดใส่ Tribunal member เล็กน้อย .... เคสจบไปได้ด้วยดี (คนเขียนหายเหนื่อย และดีใจไปกับน้องด้วย)

สำหรับเคสที่ถูกปฏิเสธวีซ่านักเรียน .... ถ้าอยากมีโอกาสชนะ ช่วยตั้งใจเรียนในระหว่างรอการพิจารณาด้วยนะคะ



Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com



HOT NEWS ข่าวดีของคนติด Section 48 bar

30/10/2021

 
Hot news ..... ใครติด Section 48 Bar .... สามารถยื่นวีซ่า

  • Subclass 190 -Skilled Nominated visa
  • Subclass 491Skilled Work Regional (Provisional) visa
  • Subclass 494 Skilled Employer Sponsored Regional (Provisional) visa

แบบในประเทศออสเตรเลียได้ตั้งแต่วันที่ 13 November 2021

โพสนี้ มาเร็ว ไปเร็ว แค่ต้องการแจ้งข่าวดี

คนเขียนเชื่อว่าต้องมีน้องหลายๆคนที่จะได้ประโยชน์จากข่าวนี้ ดีใจด้วยนะคะ



Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com


Agricuture Visa วีซ่าการเกษตร โปรดระวังมิจฉาชีพ

1/10/2021

 
Update: 1 October 2021

ตอนแรกคนเขียนตั้งใจว่าจะไม่ลงอัพเดท เพราะยังไม่มีอะไรใหม่ที่กระทบคนไทย แต่มีน้องๆโทรมาถามหลายคน  เลยขอสรุปสั้นๆนิดนึงนะคะ จะได้ไม่ถูกใครหลอก

เมื่อวาน 30 September 2021 ได้มีการปรับแก้กฏหมาย เพื่อให้ Agriculture visa หรือวีซ่าการเกษตร เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวีซ่า Subclass 403

วีซ่าตัวนี้แตกย่อยไปหลายแขนง รวมถึง Seasonal Worker Program และ Pacific Labour Scheme ..... ซึ่งทั้งสองชื่อนี้ ไม่ใช่วีซ่าที่คนไทยจะสมัครได้นะคะ

วีซ่าการเกษตรที่คนไทยเรียกกัน ...... ชื่ออย่างเป็นทางการมาแล้ว "Australian Agriculture Worker" .... เงื่อนไขวีซ่าก็มาแล้ว ...... แต่ตอนนี้ยังไม่ปรับใช้กับคนไทยค่ะ

ตอนนี้รัฐบาลก็ต้องทำข้อตกลงกับประเทศที่จะเข้าร่วมโครงการ ไหนจะต้องคำนึงถึงเรื่องการกักตัวด้วย ......


รายละเอียดของวีซ่าน่าจะมีออกมาเป็นระยะๆ คนเขียนติดตามข่าวอยู่ แล้วจะมาอัพเดทให้ทราบที่โพสนี้นะคะ

สำหรับคนไทย ดูแนวโน้มแล้ว น่าจะเป็นปีหน้าค่ะ

เพราะฉะนั้น ..... ระวังกันด้วยนะคะ อย่าถูกหลอก




Original post: 11 September 2021

คนเขียนตั้งใจว่าจะโพสแชร์ประสบการณ์เคสอุทธรณ์นะคะ แต่ขอแทรกโพสนี้ก่อน ช่วงนี้เศรษฐกิจแย่ ทุกคนมองหาโอกาส มิจฉาชีพก็เอาเหตุผลเดียวกันนี่แหละมาหลอกเอาตังค์

Agriculture visa หรือที่คนไทยเรียกกันว่าวีซ่าการเกษตร ยังเป็นแค่ประกาศ ยังไม่มีการปรับใช้ คือยังไม่มีวีซ่านี้สำหรับคนไทย รัฐบาลคาดว่าจะนำมาปรับใช้วันที่ 21 กันยายนนี้ ซึ่งจะทำได้หรือไม่ ยังไม่ทราบ และถ้าทำได้ จะรวมประเทศไทยด้วยเลยหรือไม่ ก็ยังไม่ทราบอีก

เพราะฉะนั้นคิดให้ดีๆ ก่อนที่จะเสียตังค์ให้ใคร พิจารณาด้วยว่าคนๆนั้นเชื่อถือได้หรือไม่ มิจฉาชีพมีตั้งแต่หลอกเอาตังค์ และไม่ทำอะไรให้เลย หรืออาจจะทำวีซ่าแบบอื่น (ไม่ใช่วีซ่าที่ตกลงกันไว้) หรือที่แย่ไปกว่านั้น นอกจากไม่ทำวีซ่าให้แล้ว ยังเอาข้อมูลและเอกสารส่วนตัวของคุณไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่นไปทำเรื่องกู้ยืมเงิน (นอกจากเสียเงินฟรี แล้วยังเป็นหนี้อีกด้วย !!! เอาไหม ไม่ได้ขู่ โดนกันมาแล้ว)

ถ้าเป็นคนเขียน .... อย่างน้อยๆ คนเขียนจะพยายามหาข้อมูลพวกนี้ 


  1. วีซ่าอะไรที่เค้าจะทำให้ ขอเลขวีซ่า Subclass
  2. จากนั้น เช็คที่เวปของอิมมิเกรชั่นโดยตรง https://immi.homeaffairs.gov.au/ ด้านบนขวามือ จะมีสัญญาลักษณ์แว่นขยาย ให้หาข้อมูล ก็พิมพ์เลข 3 ตัวที่ได้มา และอ่านดูว่ามันคือวีซ่าอะไร เงื่อนไขการได้วีซ่ามีอะไรบ้าง ใช่วีซ่าที่เราต้องการหรือไม่ หรือลองเช็คที่เวปของสถานทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย https://thailand.embassy.gov.au/bkok/Visas_and_Migration.html (600 = วีซ่าท่องเที่ยว; 500 = วีซ่านักเรียน; วีซ่าทำงานขึ้นด้วยเลข 4xx)
  3. ธุรกิจที่ออสเตรเลียชื่ออะไร และขอที่อยู่ด้วย .... จะทำงานทั้งที ต้องรู้ว่าที่ทำงานอยู่ที่ไหน
  4. ธุรกิจนี้ เป็นเจ้าของฟาร์ม/สวน หรือเป็นบริษัทจัดหางาน 
  5. ขอ Website และเช็คดูว่าธุรกิจนี้ทำอะไรกันแน่ 
  6. ขอเลข ABN ของธุรกิจ (ภาษาไทย น่าจะเรียกว่าเลขทะเบียนการค้า)
  7. ได้เลข ABN แล้ว เช็คที่นี่ https://abr.business.gov.au/ 
  8. ดูข้อมูลจากเวปนี้ ว่าธุรกิจชื่ออะไร ตรงกับชื่อที่ให้มาไหม และจัดตั้งมาตั้งแต่เมื่อไหร่ มีการจดทะเบียนเสีย GST (Goods and Services Tax) ไหม .... ธุรกิจที่รายได้เกิน $75,000 ต่อปี ต้องจดทะเบียนเสีย GST  .... และไม่ว่าเป็นเจ้าของฟาร์ม/สวน หรือบริษัทจัดหางาน คนเขียนว่ารายได้น่าจะเกิน $75,000 ต่อปี ถ้าธุรกิจเพิ่งตั้ง หรือตั้งมานาน แต่ไม่จดทะเบียน GST ระวังให้มากๆ หาข้อมูลเพิ่มอีกหลายๆทาง ก่อนที่จะเสียตังค์
  9. เช็คด้วยว่าเงื่อนไขการทำงานเป็นยังไง ค่าจ้างได้เท่าไหร่ ลองเช็ค Google map ธุรกิจนี้อยู่ตรงไหน สถานที่หน้าตาเป็นยังไง

และถ้าเป็นคนเขียน .... คนเขียนจะยังไม่เสียตังค์ให้ใคร จนกว่ารัฐออสเตรเลียจะประกาศว่าวีซ่าตัวมีการปรับใช้แล้ว และคนไทยสามารถสมัครได้ 

ถ้าวีซ่าตัวนี้ประกาศใช้แล้ว และคนไทยยังสมัครไม่ได้ คนเขียนก็คงรอต่อไป .....

ใครๆก็หวังอยากจะมีชีวิตที่ดีขึ้นกันทั้งนั้น แต่ระวังกันนิดนึงนะคะ


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com



แชร์ประสบการณ์ Consultation & Section 48 Bar

4/9/2021

 

น้องลูกความเคสนี้ ไม่ใช่คนไทยค่ะ  Referred มาจากอดีตลูกความที่คนเขียนเคยทำ 457 และ 186 ให้ และน้องเป็นซิติเซ่นไปเรียบร้อยแล้ว

น้องเริ่มมาปรึกษาคนเขียนหนแรกปี 2018


  • น้องถือวีซ่า 457 และต้องการยื่นพีอาร์  ENS 186
  • หลังจากซักถามกันอยู่พักนึง คำแนะนำของคนเขียนคือ น้องมีทุกอย่าง ยกเว้น Competent English ซึ่งน้องจะต้องมีก่อนยื่นวีซ่า สรุปคือยังขอพีอาร์วีซ่า 186 ไม่ได้
  • น้องถามว่า แล้วจะทำไงเพราะ 457 ใกล้หมดอายุ และอิมมิเกรชั่นก็ยกเลิกวีซ่าประเภท 457 ไปแล้ว ยื่นอีกไม่ได้แล้ว
  • คนเขียนแนะนำว่าน้องยื่น 482 ได้ และไม่ได้กระทบกับการขอพีอาร์ 186 ในอนาคต แต่ต้องยื่น 186 ก่อน mid-March 2022 เนื่องจากเป็นเคส Transitional arrangements

ปี 2019 นายจ้างของน้อง ติดต่อมาหาคนเขียน

  • สรุปว่านายจ้างและน้องตัดสินใจยื่น 482 Nomination & visa applications ..... DIY ... ทำเองค่ะ !!!!
  • คนเขียนไม่เคยทำเคสให้นายจ้างหรือน้องลูกความ และไม่ได้คาดหวังว่าลูกความจะต้องมาใช้บริการ แต่ก็ไม่คิดว่าจะทำกันเอง  ใจกล้ามากค่ะ .... เคสนายจ้างสปอนเซอร์มีหลายประเด็นที่ต้องระวัง พลาดนิดเดียว เคสปลิวได้เลย
  • สรุปว่า Nomination ผ่าน แต่วีซ่าไม่ผ่าน
  • อ่านคำตัดสิน และขอเอกสารต่างๆมานั่งดู ทำ Research และเช็คข้อกฏหมาย (ใช้เวลาไป 3 ชั่วโมง ชาร์จลูกความ 1 ชั่วโมง)
  • คำแนะนำของคนเขียนคือ ถูกปฏิเสธเพราะประโยคเดียวที่น้องเขียน (นายจ้างช่วยเขียน เพราะคิดว่าจะช่วยเคส) ประโยคเดียวจริงๆ จบเคสนี้ไปเลย ..... ปกติแล้วพออ่านคำตัดสิน คนเขียนจะพอเห็นแนวทางการโต้เถียง แล้วเราค่อยมา Perfect เคสกันระหว่างรอ Hearing จะชนะ หรือไม่ชนะ ไม่รู้ แต่อย่างน้อยเราเห็นแนวทาง .... แต่สำหรับเคสนี้ ณ ตอนให้คำปรึกษา คนเขียนคิดไม่ออกจริงๆว่าจะเถียงกับ AAT ยังไงให้เคสรอด
  • การทำเคสเอง บางทีก็เจอแบบนี้ เจ้าตัวคิดว่าเขียนอย่างนี้ ต้องช่วยเคสแน่ๆ ปรากฏว่าสำหรับเคสนี้ ไม่ใช่เลย ตายสงบ ศพไม่สีชมพู ศพเกรียม
  • ด้วยสถานการณ์เฉพาะของเคสนี้ คนเขียนบอกลูกความตามตรงว่าเคส AAT มีความหวังน้อย  แต่เห็นวิธีที่น้องลูกความจะไม่ติด section 48 และสามารถยื่นวีซ่าต่อในประเทศออสเตรเลียได้ ในระหว่างยื่นอุทธรณ์ และถือ ฺBridging visa (เห็นไหมว่าแคร์ คิดว่าเคส AAT อาจจะไม่รอด ก็ยังพยายามหาทางอื่นเผื่อไว้ให้)

และ ... ใช่แล้วค่ะ อ่านไม่ผิด .... ไม่ใช่ทุกเคสที่ถูกปฏิเสธ และถือ Bridging visa แล้วจะต้องติด Section 48 Bar

บางเคส น้องยังอยู่ในภาวะที่ยังสามารถทำอะไรซักอย่างให้ตัวเองไม่ติด Section 48 Bar ได้ (เช่นเคสนี้)

บางเคส กว่าน้องจะมาถึงคนเขียน ก็เลยช่วงเวลาที่จะทำอะไรซักอย่างได้แล้ว แต่การสัมภาษณ์เจาะลึกเพื่อที่จะเข้าใจ timeframe ต่างๆในชีวิตน้อง (หมายถึง timeframe ของวีซ่า) อาจจะช่วยให้คนเขียนพิจารณาได้ว่าจริงๆแล้วน้องติดหรือไม่ติด Section 48 Bar

       
สรุปว่า .... ส่วนใหญ่แล้ว เคสที่ถูกปฏิเสธวีซ่า เคสรออุทธรณ์ และลูกความถือ Bridging visa จะติด Section 48 Bar คือยื่นวีซ่าส่วนใหญ่ในประเทศออสเตรเลียไม่ได้   ..... แต่ (ตัวโตๆ) ... ไม่เสมอไป


  • เคสนี้ คนเขียนแนะนำแนวทางเพื่อที่น้องจะไม่ติด Section 48 Bar ให้ทราบ
  • นายจ้างอีเมล์ตอบกลับมา .... ขอบคุณคนเขียน และบอกว่าไปปรึกษาทนายอีกคน และเค้ามีแนวทางและความเห็นไม่เหมือนคนเขียน และความเห็นของทนายคนนั้นคือ .. บลา ..บลา ...บลา
  • คนเขียนตอบไปว่า ความเห็นและคำแนะนำของคนเขียนยังเหมือนเดิม จะทำตามหรือไม่ทำตาม แล้วแต่คุณ
  • คนเขียนไม่มีหน้าที่มา Justify ความเห็นของตัวเอง ทุกครั้งที่มีคนเห็นต่าง ไม่ว่าจะเป็นทนายความ หรือเอเจนต์ท่านอื่น หรือเพื่อนของลูกความ คนเขียนใช้เวลาในการอ่านเคส ในการวิเคราะห์ อ่านข้อกฏหมาย และ Research ในแต่ละเคสก่อนให้คำแนะนำเสมอ .... สำหรับเคสนี้ ใช้เวลาไป 3 ชั่วโมง .... คุณจะเชื่อ และเอาแนวทางไปปรับใช้ หรือจะไม่เชื่อ และไม่เอาแนวทางไปปรับใช้ ก็เป็นสิทธิ์ของคุณ

ปี 2021 น้องลูกความที่เป็นแฟน (วีซ่าติดตาม ในภาษาน้องๆคนไทย) ติดต่อมาขอนัดปรึกษาสำหรับเคสตัวเอง และไม่ได้ท้าวความอะไรเกี่ยวกับเคสข้างบนเลย

แต่พอส่งเอกสารมา คนเขียนเห็นชื่อคนถือวีซ่าหลัก คนเขียนนึกเคสออกเลยว่าเคสไหน เคสหน้าตาเป็นยังไง เคยให้คำแนะนำอะไรไว้กับคนถือวีซ่าหลัก และนายจ้าง (ขนาดไม่เคยทำเคสให้นะ บางเคส คนเขียนก็มี Photographic memory เคสนี้จำรายละเอียดเคส และคำแนะนำของตัวเองในปี 2018 & 2019 ได้ โดยไม่ต้องดูเอกสารย้อนหลัง !!!  สมองเป็นอะไรที่แปลกมาก)


  • สรุปว่า 2 ปีผ่านไป เคสน้องยังอยู่ที่ AAT 
  • สรุปว่า ที่แนะนำให้ทำ เพื่อที่จะไม่ติด Section 48 Bar ไม่ได้ทำ (เพราะเมื่อปี 2019 ทำตามคำแนะนำของทนายอีกท่านนึง)  ... สรุปว่าติด Section 48 Bar
  • ตอนนี้คนถือวีซ่าหลักจะยื่น 186 ก็ยังยื่นไม่ได้ เพราะเคสยังค้างอยู่ที่ AAT และภาษาอังกฤษก็ยังไม่มี
  • น้อง (คนติดตาม) ต้องการให้ดูว่าเค้าจะสมัครเป็นคนถือ 482 หลักได้ไหม เพราะตอนนี้มีนายจ้างต้องการสปอนเซอร์ 
 
ปัญหาคือ


  1. น้องติด Section 48 ฺBar ต้องบินออกไปยื่นแบบนอกประเทศออสเตรเลีย
  2. น้องจะขอ Bridging visa B ผ่านรึเปล่า เพราะปัญหา COVID-19 ถ้าเหตุผลไม่ดีจริง อิมมิเกรชั่นอาจจะไม่ให้ออก
  3. ถ้าได้ Bridging visa B มา .... ออกไปแล้ว จะกลับเข้ามาได้รึเปล่า มีน้องๆหลายคนที่ออกไปแล้วด้วย Bridging visa B นี่แหละ และก็ติดอยู่นอกประเทศเลย เพราะ COVID-19 และขอ Travel Exemption ไม่ผ่าน
  4. ถ้ายินดีที่จะติดอยู่นอกประเทศ รอ 482 ออก .... แล้วถ้า Nomination และ/หรือวีซ่า 482 ถูกปฏิเสธล่ะ (และเคส AAT ของคนที่ถือวีซ่าหลัก ดูแนวโน้มแล้วมีโอกาสไม่รอดสูง เพราะประโยคๆเดียว)

ถ้าตอนปี 2019 น้อง action อย่างที่คนเขียนแนะนำ น้องก็จะไม่ติด Section 48 Bar น้องคนติดตามก็ยื่น 482 ในประเทศออสเตรเลียได้ และก็จะได้ ฺBridging visa มาถืออีกหนึ่งตัว ถ้าเคสผ่าน ปัญหาที่มีอยู่ก็จบ ถ้าเคสไม่ผ่าน น้องก็ยังยื่นอุทธรณ์ได้ พัฒนาเคสตัวเองต่อไปในออสเตรเลีย (hindsight is a wonderful thing) แต่ตอนนี้ทำแบบนั้นไม่ได้แล้ว

ป.ล. ทนายความและเอเจนต์แต่ละคน มีสไตล์การทำงานไม่เหมือนกัน มองเคสไม่เหมือนกัน วาง Strategy การทำเคสไม่เหมือนกัน คุณมั่นใจคนไหน คุณใช้บริการคนนั้น หรือทำตามคำแนะนำของคนนั้น

คนเขียนจบเคสอุทธรณ์ AAT 186/187 Nomination & Visa applications ไป 3 เคส (ชนะทั้ง 3  เคส และ 2 ใน 3 เคสนี้ เป็น Self Sponsor) จะแชร์ประสบการณ์ให้อ่านกันในโพสหน้านะคะ  ..... ขอบคุณที่ติดตามค่ะ


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com



น้องคนไหนส่งอีเมล์มา ช่วยอ่านหน่อยค่ะ

25/7/2021

 
น้องคนไหนส่งคำถามมาทางอีเมล์ น้อยมากที่คนเขียนจะไม่ตอบ และส่วนใหญ่จะตอบภายใน 1-3 วัน (แล้วแต่ความยุ่งและโอกาสของแต่ละวัน) ถ้าไม่ได้รับอีเมล์ตอบกลับ

  1. เช็ค Junk or Spam mailbox
  2. เช็ค Mailbox เต็มหรือเปล่า ปกติจะลองส่งใหม่ 2-3 รอบถ้ายังเด้งกลับมาเพราะเมล์เต็ม คนเขียนก็ไม่ทราบจะทำยังไง
  3. ใครส่งคำถามผ่าน "Contact us" จาก Immigration Success Australia website พิมพ์อีเมล์ตอบกลับของตัวเองให้ถูกต้องด้วย

ส่วนน้อยที่คนเขียนจะไม่ตอบอีเมล์ ก็เช่น คำถามกว้างๆสั้นๆ ประมาณ "หนูอยากทำพีอาร์ค่ะ"  "ผมอยากไปออสเตรเลีย ต้องทำยังไง"  ถ้าให้ข้อมูลมาแค่นี้ บอกตามตรงว่าไม่ทราบว่าจะตอบยังไงเหมือนกัน จะให้อธิบายวีซ่าทุกประเภทก็คงไม่ไหว

เพราะฉะนั้น

สั้น กระชับ ได้ใจความ = ตอบได้ ตอบ | ถ้าตอบไม่ได้ เพราะรายละเอียดไม่พอ ต้องดูเอกสาร หรือต้องอธิบายกันยาว คนเขียนจะแจ้งรายละเอียดของการทำคอนซัลในอีเมล์ตอบกลับเลย

คนเขียนเป็นประเภทม้วนเดียวจบนะคะ ตอบกลับไปกลับมาทีละประโยค  สองประโยค ไม่ใช่สไตล์การทำงานของคนเขียน ถ้าไม่ทราบว่าจะเขียนยังไงให้สั้น กระชับ ได้ใจความ โทรเลยค่ะ 5 นาที Free advice


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


แชร์ประสบการณ์ Consultation & Bridging visa

15/7/2021

 
วันนี้คนเขียนมาแชร์ประสบการณ์ ทำเคสเอง ดีใจเอง เผลอๆดีใจมากกว่าลูกความซะอีก เพราะทราบว่าผล Bridging visa ตัวนี้ ให้ประโยชน์ลูกความมากมาย ..... ถ้าน้องจะใช้เวลาให้เป็นประโยชน์

น้องโทรมาถามว่า Bridging visa E (BVE) ใกล้จะหมด ทำยังไงได้บ้าง  คนเขียนถามคร่าวๆว่าไปทำอะไร ยังไง ก่อนจะถือ ฺBridging visa E  น้องก็ตอบมาแบบงงๆ  คนเขียนก็งงๆ ไปกับน้องด้วย  เคสน้องค่อนข้างยุ่งเหยิงค่ะ คนเขียนขอไม่ลงรายละเอียด  .... แต่ .... สรุปว่าต้องนัด Consultation ค่ะ   และก็เป็นไปตามคาด  น้องก็บอกตามความเข้าใจ  แต่เอกสารมาอีกเรื่องนึงเลย  และเอกสารก็มีไม่ครบเพราะทำเองบ้าง เพื่อนช่วยบ้าง เพื่อนของเพื่อนช่วยบ้าง .... สรุปว่า ข้อมูลบางอย่างคนเขียนต้องคาดเดาเอาเอง (จากประสบการณ์)

ลูกความ :      พี่ ... ทำยังไงได้บ้าง BVE ผมกำลังจะหมด และพาสปอร์ตผมก็หมดอายุไปแล้วด้วย
คนเขียน :     น้องต่อ BVE ใหม่ได้ค่ะ แต่คิดว่าไม่จำเป็น เพราะเท่าที่ดู เหมือนจะมีความผิดพลาดที่ระบบ คือ ฺBVE ของน้อง ยังไม่ควรจะมีวันหมดอายุ ควรจะโชว์ indefinite .... พาสปอร์ตไม่ใช่ปัญหา
ลูกความ :     อุ๊ย .... เหรอพี่ .... ผมต่อ BVE ได้อีกใช่ไหม ค่อยโล่งใจหน่อย
คนเขียน :     ใช่ค่ะ ต่อได้ (ก็เพิ่งบอกไป) .... แต่ไม่ควรต่อ .... ควรจะเถียงกับอิมมิเกรชั่น ให้ BVE ตัวเดิม ยืดอายุออกไปถึงจะถูก
คนเขียน :      ............ เงียบ ............ (เงียบไป แปลว่าอ่านหรือจด ---- เงียบนี้ คือกำลังอ่านข้อกฏหมายอยู่ และปรับเทียบกับประวัติของน้องลูกความ)
คนเขียน :     .... อืม .... ดูเอกสารน้องแล้ว เหมือนน้องน่าจะมีสิทธิ์ได้ Bridging visa A (BVA) นะคะ .... แต่เสี่ยงอยู่ เพราะเอกสารตัวที่อยากเห็น และจะใช้อ้างอิง น้องไม่มี แต่จากประสบการณ์ และการนับนิ้ว คิดว่าเคสนี้มีลุ้น

เคสนี้คนเขียนต้องนับวันค่ะ .... วันที่ เป็นอะไรที่สำคัญมาก .... จะรอดหรือไม่รอด ขึ้นอยู่วันที่ของ Bridging visa ตัวเดิมที่ลูกความเคยถือ ว่าหมดอายุเมื่อไหร่ (แต่ลูกความไม่มี !!!)
 
Big deal มากนะคะ !!!!!     BVA ดีกว่า BVE มากมาย .... ถือ BVA สามารถยื่นขอ BVB เพื่อออกนอกประเทศออสเตรเลียได้ เปิดโอกาสให้ลูกความยื่นวีซ่าตัวอื่นแบบนอกประเทศออสเตรเลียได้ และกลับมารอวีซ่าในประเทศได้ (สำหรับเคส section 48 bar)  ในขณะที่ BVE น้องออกไปไหนไม่ได้เลย (คือ ออกได้ แต่กลับเข้ามาไม่ได้)

อ่านโพสเกี่ยวกับ Bridging visa ได้ที่นี่ค่ะ

คนเขียนให้น้องเลือกเองระหว่าง 

1. BVA ค่าบริการสูงกว่า เพราะเคสยากกว่า จะได้รึเปล่าไม่รู้ แต่มีลุ้น กับ
2. BVE ค่าบริการถูกกว่า และได้แน่ๆ ไม่ว่าจะเป็น BVE ตัวเดิมแต่เปลี่ยนจากมีวันหมดอายุ เป็นไม่มีวันหยุดอายุ หรือ BVE ตัวใหม่


     ....... ติ๊กต๊อก .... ติ๊กต๊อก .......


น้องตัดสินใจให้คนเขียนลองยื่นขอ BVA ให้ ......  Good decision ค่ะ  (คนเขียนอยากลอง เพราะเชื่อว่ามีลุ้น แต่นี่ชีวิตของลูกความ ตังค์ของลูกความ ก็ต้องให้ลูกความตัดสินใจเอง)

........ ปรากฏว่า อิมมิเกรชั่นได้ใบสมัคร BVA วันที่ 13 .... ปฏิเสธ BVA วันนั้นเลย ! ..... แอบผิดหวังไป 10 วิ (ก่อนอ่านคำตัดสิน)

คนเขียนคิดว่าถ้าปฏิเสธเพราะเรื่องวันที่ (ที่เราไม่มีเอกสารอ้างอิง แต่อิมมิเกรชั่นมีในระบบ) เราก็ต้องยอมรับผลคำตัดสินนั้น ..... ปรากฏว่าไม่ใช่ค่ะ .... ถูกปฏิเสธเพราะเจ้าหน้าที่อ้างว่าน้องเคยถือ BVE มาแล้ว จะกลับมาถือ BVA ไม่ได้ !  

........ โดยส่วนใหญ่แล้ว .... ใช่ค่ะ .... ถือ ฺBVE แล้ว จะกลับมาถือ BVA ไม่ได้ ..... แต่ .... ไม่เสมอไป

เคสนี้คนเขียนไม่คิดตังค์ลูกความเพิ่มด้วย .... แต่ขอ fight หน่อย เคืองใจมาก .... เจ้าหน้าที่ตัดสินแบบไม่ดูข้อกฏหมายได้ยังไง ... คนเขียนส่งอีเมล์ ระบุข้อกฏหมายที่ถูกต้องไปให้อิมมิเกรชั่น และขอให้พิจารณาใหม่ (เราไม่ยื่นใบสมัครใหม่ และเราก็ไม่ยื่นอุทธรณ์ด้วย)

คนเขียนบอกน้องว่า BVA ถูกปฏิเสธนะ แต่รอก่อนกำลัง fight ให้อยู่ จะหมู่หรือจ่า เดี๋ยวอีกวันสองวันคงรู้เรื่อง

วันนี้ อิมมิเกรชั่นส่ง BVA grant letter มาค่ะ .... ไม่มี condition ใดๆ เรียนได้ ทำงานได้ (ออกนอกประเทศได้ด้วย BVB) .......  ถูกปฏิเสธวันที่ 13 เปลี่ยนเป็น Visa grant ให้วันที่ 15 ..... สรุปว่าอิมมิเกรชั่นยอมรับว่าตัดสินผิด และข้อมูลที่คนเขียนต้องเดาและนับนิ้วจากประสบการณ์ ก็ถูกต้อง และตรงกับข้อมูลในระบบของอิมมิเกรชั่นค่ะ ..... เคสจบไปได้ด้วยดี ..... เย้


........ ถือวีซ่าผิด ชีวิตเปลี่ยน  .....

........ ตัดสินใจผิด ชีวิตเปลี่ยน ....

ฝากไว้ให้คิด บางครั้งโอกาสก็มากับการใช้เวลาขุดคุ้ย และมองลึก อ่านแล้วอ่านอีก ...... VEVO หรือวีซ่าที่ออกให้ ไม่ได้ถูกต้องเสมอไป คำตัดสินของอิมมิเกรชั่นก็ไม่ได้ถูกต้องเสมอไป


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


Q & A : วีซ่า 186 TRT Restaurant Manager ทำไมรอนาน

14/7/2021

 
Q: มีเรื่องอยากปรึกษา เกี่ยวกับ 186ens

หนูเคยถือ 457 restaurant managerใช้ visa หมดแล้ว 4 ปีคะ ตอนนี้ยื่น 186 ens สถานะ bridging อยู่คะ รอ pr มาแล้ว 2 ปี ไม่มีความเคลื่อนไหวที่จะผ่าน state 1 เลยคะ ขอเอกสารไปเมื่อ ปี xxxx  แล้วก้อเงียบ ตรวจสุขภาพแล้ว มี ielts เรียบร้อย เรื่องเงียบไปนานมาก เพราะอาจติดในเรื่อง covid จน xxx ที่ผ่านมา ขอเอกสารอีกเยอะเลยคะ แล้วก้อมี จม.ยืนยันจากร้านแล้วว่า sponsor เราไหว ทั้งๆที่ผ่านวิกฤติที่ปิด dine in เปิดแค่ takeaway covid มาแล้ว (ตัวหนูสงสัยนิดนึงคะ ว่าทำไมเค้ากดดันเรา แทนที่เค้าจะเห็นใจร้านว่าผ่านอะไรมาบ้าง) ร้านฟื้นตัวได้ดีนะคะหลังจาก covid ก้อส่งเอกสารยืนยันไปทั้งหมดแล้วว่า เราขายได้แบบมีกำไรมาบ้างไม่น่าเกียจ แต่ก้อยังเงียบคะ

ช่วงหนึ่งก้อเข้าใจ  แบบที่บทความพี่บอกว่าเราไม่ใช่ first criteria แต่หลังจาก covid ซา เมื่อต้นปีเพื่อนที่ได้ ielts พอๆ กับเรา 2-3 คน (chef) pr ผ่านหมดเลย บางคนยอดขายร้าน drop ด้วย ยังผ่าน เลยกังวลมากๆเลยคะว่าเกิดอะไรขึ้นกับ case เรา ( .... รายละเอียดอื่นที่เกี่ยวกับเอเจนต์ของน้อง คนเขียนไม่ลงในนี้นะคะ...เผื่อเอเจนต์มาอ่าน อาจจะทราบว่าน้องคือใคร เดี๋ยวจะเคืองกันซะเปล่าๆ...) 

ที่อยากจะถามคือ

- 186 รอนานสุด กี่ปีคะ ? (รอจนท้อมากเลยคะตอนนี้)
- เรา chat ถาม immi ใน web เกี่ยวกับความคืบหน้า visa ของเราได้มั้ยคะ ? (กลัวถามแล้ว เดี๋ยว visa โดน reject)
- ถ้าโดนปฎิเสธในช่วงนี้ โดนแบบไหนกันบ้างคะ?  (เพราะรู้สึกว่าตัวร้าน และหนูเองก้อ ค่อนข้างครบ) แต่ก้อเกรงๆว่า จะโดนหาเรื่องปฏิเสธจนได้



A: สงสารคนรอนาน .... แต่น้องเอาเคส Restaurant Manager ไปเทียบกับ Chef ไม่ได้ค่ะ เพราะ
1. Restaurant Manager อยู่ใน STSOL
2. Chef อยู่ใน MLTSSL และตอนนี้อยู่ใน PMSOL (priority list)  - เคสไปเร็วกว่าแน่นอน

ทำไมอิมมิเกรชั่นถึงขอเอกสารเพิ่มมากมาย
1. เพราะคนออสซี่ตกงานกันเยอะ อิมมิเกรชั่นต้องการทราบว่ายังจำเป็นไหมที่จะต้องสปอนเซอร์พนักงาน
2. เพราะเศรษฐกิจแย่ ร้านอยู่ได้ไหม และจะมีเงินจ่ายพนักงานที่ถือ 186 (น้องนั่นเอง) ไปอีก 2 ปีไหม

- 186 รอนานสุด กี่ปี?  .... ตอบไม่ได้เพราะคนเขียนไม่มีข้อมูลภาพรวมจากอิมมิเกรชั่น (เคยได้ยินมาว่าบางเคสรอไป 3-4 ปี ก็ยังรออยู่ แต่คนเขียนไม่ทราบว่าปัญหาของเคสเค้าคืออะไร)

ที่ตอบได้คือเคสของคนขียนเอง เคส 186 TRT Restaurant Manager (อาชีพเดียวกันกับน้อง) ที่ยื่นช่วงโควิด
.... เรายื่น Nomination & visa applications September 2020 และ
.... Nomination approved and 186 visa granted June 2021 ..... สรุปว่า 9 เดือนค่ะ (เคสนี้เป็น Cafe ด้วย ความเสี่ยงสูงกว่า Restaurant แต่เราพยายามทำเคสให้แน่นที่สุด และ Hope for the best)


- เรา chat ถาม immi ใน web เกี่ยวกับความคืบหน้า visa ของเราได้มั้ยคะ .... คนเขียนไม่ทราบว่าน้องหมายถึงตรงไหนของ Web และไม่คิดว่าเป็นช่องทางที่ถูกต้อง ..... และถ้ามีเอเจนต์ดูแลอยู่ ไม่ควรติดต่ออิมมิเกรชั่นเองค่ะ ควรจะเช็คกับเอเจนต์ ถ้าเหมาะสม เค้าคงจะตามให้ หรือเค้าโอเคไหมถ้าน้องจะลองตามเคสเอง .... คนทำงานจะดูแลเคสลำบากถ้าลูกความติดต่ออิมมิเกรชั่นเอง โดยเฉพาะ complex case ที่ strategy การทำงานเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเราจะไม่ทราบเลยว่าลูกความให้ข้อมูลอะไรอิมมิเกรชั่นไปบ้างที่อาจจะสร้างปัญหาให้เคส  และถ้าคิดว่าเอเจนต์ไม่ดูแล ก็ถอนเคสไปใช้บริการคนที่น้องคิดว่าจะดูแลน้องได้ดีกว่า (ไม่ได้ประชดนะคะ หมายความตามนี้จริงๆ ถ้าไม่มั่นใจในตัวคนดูแล ต้องหาคนดูแลใหม่ค่ะ) แต่เท่าที่อ่าน คนเขียนว่าเอเจนต์ของน้องก็ใส่ใจนะคะ Proactive ด้วยซ้ำ เอกสารที่คนเขียนไม่ได้เอ่ยถึงในโพสนี้ แต่น้องเขียนมาในอีเมล์ คนเขียนคิดว่าควรรอจนอิมมิเกรชั่นขอค่ะ (ป.ล. เอเจนต์และทนายความแต่ละคน ก็มีสไตล์การทำงานต่างกันนะคะ)

- ถ้าโดนปฎิเสธในช่วงนี้ โดนแบบไหนกันบ้างคะ? .... การเงินของร้าน (มีสถานะทางการเงินดีพอที่จะสปอนเซอร์น้องต่อไปอีก 2 ปีหรือไม่) ประวัติการสปอนเซอร์โดยรวม เอกสารการทำงานของน้องกับร้าน ระยะเวลาการทำงานของน้องกับร้าน ผลภาษาอังกฤษของน้องมีก่อนยื่นไหม .... ยื่นเอกสารครบดีแล้วค่ะ แต่เอกสารต้องมีคุณภาพด้วยนะคะ   


เอาใจช่วยนะคะ ขอให้น้องได้รับข่าวดีเร็วๆนี้


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com



English for 186 visa - PR visa - Competent English

9/7/2021

 
คนเขียนเพิ่งวางสายจากน้องลูกความ เห็นว่ามีประโยชน์ เลยต้องเขียนโพสนี้อย่างเร็ว

ลูกความต้องต่อวีซ่า 482 เพราะยังไม่ได้ผลภาษาอังกฤษ Competent English สำหรับวีซ่า 186

คนเขียน:  สอบภาษาอังกฤษไปถึงไหนแล้วคะ
ลูกความ:  สอบหลายรอบมาก ไม่ผ่านซักที ลองทั้ง IELTS และ PTE
คนเขียน:  ลองสอบอย่างอื่นดูไหม TOEFL, Cambridge ???
ลูกความ:  พี่ .... ไม่ได้ค่ะ .... วีซ่าพีอาร์ ใช้ได้แค่ IELTS กับ PTE เท่านั้น ! 
คนเขียน:  ห่ะ .... เดี๋ยวนะ .... นี่เราพูดเรื่องเดียวกันอยู่รึเปล่าเนี่ย ... วีซ่า 186 นะ
ลูกความ:  ใช่ค่ะ .... วีซ่า 186 ใช้ได้แค่ IELTS กับ PTE เท่านั้น
คนเขียน:  ไม่จริงค่ะ ... TOEFL, Cambridge, OET ก็ใช้ได้
ลูกความ:  ไม่ได้ค่ะพี่ ... ได้แค่ IELTS กับ PTE เท่านั้น ! หนูอยู่ในวงการ !
คนเขียน:  ....... ???   

..... ขำตรง "หนูอยู่ในวงการ" นี่แหละ (ตอบแบบมั่นใจมาก)
..... เอิ่ม ......... คนเขียนก็ "อยู่ในวงการ"  (อยู่มานานกว่าน้องอีก)

คาดว่าต้องมีน้องหลายคนที่อาจจะเข้าใจผิดเหมือนน้องลูกความคนนี้ ชัดๆไปเลยนะคะ

1. จะยื่นวีซ่า 186 ต้องมีผล Competent English ก่อนยื่น

2. ผลภาษาอังกฤษที่ใช้ได้คือ

    * IELTS - At least 6 for each of the 4 components

    * TOEFL iBT - At least 12 for listening, 13 for reading, 21 for writing and 18 for speaking

    * PTE Academic - At least 50 for each of the 4 components

    * Occupational English Test (OET) - At least B for each of the 4 components

    * Cambridge C1 Advanced Test - At least 169 in each of the 4 components

3. ผลภาษาอังกฤษมีอายุ 3 ปี

4. ย้ำว่าใช้ได้ทุกผลสอบที่ลิสไว้ข้างบน ไม่ใช่แค่ IELTS & PTE เท่านั้น

5. โน๊ตว่า TOEFL iBT – Special Home Edition, OET@Home และ IELTS Indicator ใช้ไม่ได้นะคะ

6. OET น่าจะยากกว่าตัวอื่น ออกแบบมาสำหรับพวกหมอ พยาบาล Healthcare sector (แต่ถ้าน้องคนไหนเบื่อสอบแบบอื่นแล้ว อยากลอง ก็ได้นะคะ)

น้องคนไหนที่ทราบแล้ว แต่มั่นใจกับ IELTS และ/หรือ PTE เพราะติวมาแล้ว รู้แนวทางข้อสอบแล้ว และไม่อยากลองสอบแบบอื่น ก็โอเคค่ะ ..... คนเขียนแค่อยากแจ้งให้ทราบ สำหรับคนที่ไม่ทราบ หรือเข้าใจผิดแบบน้องลูกความ (จะได้ไม่พลาดโอกาส)

ลูกความ:  พี่ ... หนูขอบคุณมากๆค่ะ หนูไม่รู้เลย คิดว่าใช้ได้แค่ IELTS กับ PTE .... เดี๋ยวหนูจะลอง TOEFL และหนูว่าเพื่อนๆหนูที่ติวอยู่ด้วยกันก็ไม่รู้เหมือนกัน  (... เพื่อนในวงการของน้องนั่นเอง ...) 

คนเขียนมีน้องลูกความที่สอบไป 18 รอบแล้ว บางคนคิดเป็นตัวเงินมาเลยว่าหมดไป $6000 แล้ว ยังสอบไม่ผ่านเลย

เป็นกำลังใจให้น้องๆทุกคนนะคะ

ป.ล. ข้อมูลเกี่ยวกับ Competent English ในโพสนี้ ใช้ได้กับทุกวีซ่าที่ระบุว่าต้องมี Competent English ไม่ใช่เฉพาะวีซ่า 186



Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com

แชร์ประสบการณ์ เคสวีซ่าพ่อแม่ วีซ่าผู้ปกครอง Parent visa

3/7/2021

 
วันนี้คนเขียนมาแชร์ประสบการณ์เคสผู้ปกครอง 2 เคส (ทั้งสองเคส ไม่ใช่คนไทย)

เคสแรก

เคสนี้ เป็น Referral จากอดีตลูกความซึ่งเริ่มจากเป็นผี แต่ตอนนี้เป็นพลเมืองออสเตรเลียไปเรียบร้อยแล้ว ... ลูกความฟันธงมาเลยว่าต้องการให้ทำ Parent visa ให้กับคุณพ่อ ซึ่งมาด้วยวีซ่าท่องเที่ยวและวีซ่ากำลังจะหมด

หลังจากสัมภาษณ์กันอยู่พักใหญ่ คนเขียนคิดว่าคุณพ่อทำ Parent visa แบบในประเทศออสเตรเลียได้ และก็จะได้ Bridging visa เพื่ออยู่รอวีซ่าในประเทศออสเตรเลียด้วย .... แต่ด้วยลักษณะเฉพาะของเคส คนเขียนเสนอวีซ่าอีกตัวให้เป็นทางเลือกด้วย ซึ่งบอกลูกความไปตามตรงว่าวีซ่าตัวนี้คนเขียนยังไม่เคยทำ และวีซ่าตัวนี้มีเงื่อนไขการผ่านยากกว่า Parent visa คือเคสยากกว่านั่นแหละ แต่คนเขียนคิดว่าเหมาะสมและจะให้ประโยชน์กับลูกความมากกว่า ทั้งช่วงรอและหลังวีซ่าผ่าน (ถ้าวีซ่าผ่านนะ)

คนเขียนให้ลูกความเลือกเองระหว่าง Parent visa ที่ลูกความต้องการทำ (และคนเขียนก็ทำเป็นปกติ)

หรือจะทำวีซ่าอีกตัว ที่คนเขียนก็ไม่เคยทำ และเอกสารการพิสูจน์เงื่อนไขต่างๆก็ซับซ้อนกว่า ความเสี่ยงสูงกว่า แต่ให้ประโยชน์มากกว่า

เมื่อมีทางเลือก เราให้ทางเลือกค่ะ .... ส่วนการตัดสินใจเป็นของลูกความ 

                      .... ติ๊กต๊อก .... ติ๊กต๊อก ....

ลูกความเลือกวีซ่าตัวใหม่ ไอเดียบรรเจิดของคนเขียน ...... รอดไหม? .... รอดสิ

เคสที่ไม่เคยทำ ไม่ใช่แปลว่าทำไม่ได้ หรือจะทำได้ไม่ดี .... ไม่เสมอไปค่ะ ....

นักกฏหมาย เราไม่ท่องจำเป็นนกแก้วนกขุนทอง เรารู้ว่าเราควรจะหาข้อมูลจากตัวบทกฏหมายไหน เราเข้าใจวิธีตีความของกฏหมาย เราปรับบทกฏหมายให้เข้ากับข้อเท็จจริง (สถานการณ์ของลูกความ) 

สมัยคนเขียนเรียนกฏหมาย ไม่ว่าจะที่ไทยหรือที่นี่ ข้อสอบส่วนใหญ่เป็น Open-book exams (เปิดหนังสือตอบ) เพราะไม่มีโรงเรียนสอนกฏหมายที่ไหน คาดหวังว่านักกฏหมายจะต้องจำมาตรานั้นนี้ได้ .... จำได้ ... แต่ปรับใช้ไม่เป็น ... ก็จบ


เคสที่สอง

เคสนี้ เป็น Referral จากเพื่อนทนายความ ... คุณแม่มาด้วย Tourist visa (วีซ่าท่องเที่ยว) เหลือเวลาอีก 2 เดือนวีซ่าจะหมด ต้องการทำ Parent visa และต้องการให้คุณแม่อยู่ที่ออสเตรเลียตลอดระหว่างรอ เพราะคุณแม่ไม่มีที่จะไป ตัวคนเดียวและกลับไป ก็ไม่มีที่อยู่  ..... ใครที่เป็นลูกคนเดียวและเหลือผู้ปกครองอยู่คนเดียว คงเข้าใจความรู้สึกคุณลูก

ปัญหาคือ ..... คุณแม่อายุยังไม่มากพอที่จะยื่น Parent visa แบบในประเทศออสเตรเลียได้ .... ต้องยื่นแบบนอกประเทศออสเตรเลีย ซึ่งคุณแม่ก็จะไม่ได้ Bridging visa เพื่อรอผลวีซ่าในประเทศออสเตรเลีย  จะยื่น Tourist visa อีกรอบ ก็คาดว่าจะไม่ผ่าน

สรุปว่าโจทย์คือ .... เหลือวีซ่าอยู่ 2 เดือน ทำยังไงก็ได้ให้คุณแม่อยู่ในประเทศออสเตรเลียในระหว่างรอวีซ่าซึ่งใช้เวลารอ 3 - 4 ปี

โจทย์นี้ ไม่ยากสำหรับคนเขียน อยู่ที่ลูกความจะมั่นใจในคนเขียน และ Strategy ของคนเขียนไหม และจะรับแรงกดดันที่อาจจะมาจากอิมเกรชั่นได้หรือไม่ เพราะจากประสบการณ์ มีแน่ๆ ส่วนจะกดดันมากน้อยแค่ไหน อีกเรื่องนึง

ลูกความถามว่าแล้วยูจะคอยไกด์ชั้นไปตลอดใช่ไหม ... แน่นอนสิคะ แผนงานของเราใช้เวลา 3-4 ปี มี 4-5 สเต็ป ขึ้นอยู่กับว่าอะไรเกิดขึ้นบ้างระหว่างทาง ไม่ไกด์ลูกความ เคสก็ไปไม่รอดสิ

สรุปว่าเคสนี้ ลูกความแฮ๊ปปี้มากที่คุณแม่ได้อยู่ที่ออสเตรเลียตลอดระยะเวลารอวีซ่า ลูกความต้องพาคุณแม่ออกไปนอกประเทศรอบนึงค่ะ เพื่อที่อิมมิเกรชั่นจะได้ออก Parent visa ให้ได้ (ตอนทำเคสนี้ กฏหมายคือยื่นใบสมัครแบบนอกประเทศออสเตรเลีย ต้องอยู่นอกประเทศออสเตรเลียตอนวีซ่าออก)



Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


กฏเปลี่ยน 1 July 2021

2/7/2021

 
ไม่ทั้งหมด แต่สรุปมาให้เท่าที่สรุปได้นะคะ

  1. Partner visa ที่มีข่าวว่าสปอนเซอร์จะต้องยื่นใบสมัครและได้รับอนุมัติก่อน ผู้สมัครถึงจะยื่นใบสมัครวีซ่าได้ ณ ตอนนี้ (2 July 21 9pm) ยังไม่ปรับใช้นะคะ คาดว่าจะปรับใช้ในปีนี้แหละค่ะ (เมื่อไหร่ ยังไม่ได้ประกาศออกมา)
  2. ค่ายื่นวีซ่าหลายๆตัว (แต่ไม่ทุกตัว) ขึ้นราคา เช็คค่ายื่นกันที่นี่ค่ะ
  3. ค่ายื่น Citizenship application ก็ขึ้นราคา เช็คได้ที่นี่
  4. ค่ายื่นอุทธรณ์ Migration Review application ขึ้นราคา เป็น $3000
  5.  ค่าอุทธรณ์ Refugee Review application (Protection visa ด้วย) = $1846 (ชำระถ้าแพ้คดี)
  6. ค่าตรวจสุขภาพก็ขี้นราคาค่ะ เช็คได้ที่นี่
  7. ใบสมัคร Bridging visa E ยื่นผ่านอีเมล์ไม่ได้แล้วนะคะ เป็นทาง ImmiAccount หรือทางเมล์/courier เท่านั้น (คนเขียนเชื่อว่าประเด็นนี้ไม่กระทบน้องๆเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ก็ยื่นผ่าน ImmiAccount กัน จะมีก็ Professionals บางคน รวมถึงคนเขียนด้วย ที่บางทีก็ยื่นผ่านอีเมล์ด้วยเหตุผลทางเทคนิค)
  8. อาชีพยอดฮิต Chef ตอนนี้อยู่ใน Priority Migration Skilled Occupation List (PMSOL) ด้วย  อาชีพอยู่ใน PMSOL ดียังไง ดีเพราะ Nomination และวีซ่าแบบมีนายจ้างสปอนเซอร์จะได้รับการพิจารณาเร็ว (Priority Processing)

The Priority Migration Skilled Occupation List
ตอนนี้มี 41 อาชีพ (* คืออาชีพที่เพิ่มมาเมื่อ June 2021):


  • Chief Executive or Managing Director (111111)
  • Construction Project Manager (133111)
  • Accountant (General) (221111)*
  • Management Accountant (221112)*
  • Taxation Accountant (221113)*
  • External Auditor (221213)*
  • Internal Auditor (221214)*
  • Surveyor (232212)*
  • Cartographer (232213)*
  • Other Spatial Scientist (232214)*
  • Civil Engineer (233211)*
  • Geotechnical Engineer (233212)*
  • Structural Engineer (233214)*
  • Transport Engineer (233215)*
  • Electrical Engineer (233311)*
  • Mechanical Engineer (233512)
  • Mining Engineer (excluding Petroleum) (233611)*
  • Petroleum Engineer (233612)*
  • Medical Laboratory Scientist (234611)*
  • Veterinarian (234711)
  • Orthotist or Prosthetist (251912)*
  • General Practitioner (253111)
  • Resident Medical Officer (253112)
  • Psychiatrist (253411)
  • Medical Practitioners nec (253999)
  • Midwife (254111)
  • Registered Nurse (Aged Care) (254412)
  • Registered Nurse (Critical Care and Emergency) (254415)
  • Registered Nurse (Medical) (254418)
  • Registered Nurse (Mental Health) (254422)
  • Registered Nurse (Perioperative) (254423)
  • Registered Nurses nec (254499)
  • Multimedia Specialist (261211)*
  • Analyst Programmer (261311)*
  • Developer Programmer (261312)
  • Software Engineer (261313)
  • Software and Applications Programmers nec (261399)*
  • ICT Security Specialist (262112)*
  • Social Worker (272511)
  • Maintenance Planner (312911)
  • Chef (351311)*

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


อย่ารอจนวันที่วีซ่าหมดอายุ

2/7/2021

 
คนเขียนเคยโพสเรื่องนี้นานแล้ว (พร้อมตัวอย่าง) .... แต่ก็มีเหตุให้อยากเตือนกันอีกรอบ

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ที่ผ่านมา ระบบ ImmiAccount ปิดปรับปรุงช่วงค่ำๆ และใช้ได้อีกทีเช้าวันที่ 1 กรกฏาคม (ระบบปิดปรับปรุง 30 มิถุนายน เป็นเรื่องปกติของอิมมิเกรชั่นนะคะ ระวังล่วงหน้าไว้ได้เลย)

วันที่ 1 กรกฏาคม ImmiAccount ใช้ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง

วันนี้ 2 กรกฏาคม ตั้งแต่เช้า จนป่านนี้ (7pm++) ImmiAccount ใช้ไม่ได้เลย

คนเขียน ไม่เจอปัญหาใหญ่ เพราะไม่ยื่นใบสมัครวันสุดท้ายอยู่แล้ว (ถ้าไม่จำเป็น) จะมีก็แค่ปัญหากวนใจ อยากยื่นเอกสารเพิ่ม อยากอัพเดพข้อมูล อยากร่างใบสมัครให้ลูกความ แต่เข้าระบบไม่ได้

แต่คนเขียนอ่านโพสจากเอเจนต์หลายคน ที่ลูกความของเค้าเป็นผีไปเรียบร้อย (หรือกำลังจะเป็น) เพราะยื่นวีซ่าไม่ได้ (และเชื่อว่ามีน้องบางคน เจอปัญหาเดียวกัน) จากเคสสบายๆ กลายเป็นเคสน่าปวดหัวไปเลย

เพราะฉะนั้น สำคัญมากที่น้องๆจะเผื่อเวลา ให้เวลาตัวเอง ให้เวลาทนายหรือเอเจนต์ที่ดูแลเราด้วย


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com

Q & A : 482 Chef - skills Assessment

29/6/2021

 
Q: ผมมีเรื่องรบกวน อยากสอบถามว่า วีซ่า 482 Chef ต้องทำ skill assessment ไหมครับ ถ้าเรียนจบ Cookery + diploma hospitality ขอบคุณมากครับ

A: ถ้าเรียนจบที่ออสเตรเลีย ไม่ต้องค่ะ 

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


แชร์ประสบการณ์ Partner visa

27/6/2021

 
วันนี้คนเขียนมาแชร์เคสวีซ่าคู่ครองที่ค่อนข้างซับซ้อน 2 เคส

เคสแรก

ลูกความรักกัน แต่งงานกันที่ไทย คนนึงตัดสินใจมาเรียนที่นี่ อีกคนทำงานอยู่ที่ไทย ต้องห่างกันนานหลายปี ระยะทางและความห่างเป็นปัญหา ไม่มีอะไรจะคุยกัน สุดท้ายหาเรื่องทะเลาะกัน ลงเอยที่การหย่ากันตามกฏหมายออสเตรเลีย

กลับมาเจอกันไม่นานหลังจากหย่า สรุปว่ายังรักกัน เปลี่ยนใจจะไม่หย่าแล้ว (คือคิดว่าแต่งที่ไทย หย่าที่ออสเตรเลีย ระบบไม่ลิงค์กัน ไม่บอกก็ไม่มีใครรู้) .... ไม่ทันแล้วค่ะ หย่าก็คือหย่า แต่งที่ไทยและหย่าที่ออสเตรเลียก็คือหย่าอย่างถูกต้องตามกฏหมาย ไม่ต่างอะไรกับการหย่าที่ไทย (ใครมีปัญหาคล้ายๆกัน และคิดว่าไทยกับออสเตรเลีย ระบบไม่ลิงค์กัน ไม่บอกก็ไม่มีใครรู้ว่าใครแต่งใครหย่า ขอร้องว่าอย่า shortcut ถ้าไม่อยากมีปัญหาให้ปวดหัวที่หลัง ... ปวดหัวมากด้วย PIC4020 การให้ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง false or misleading information ถ้าถูกเช็คเจอ ใบสมัครอาจจะถูกปฏิเสธพร้อมติดบาร์อีก 3 ปี)

เคสนี้ Strategy ของเราหลายสเต็ป เข้าตามตรอกออกตามประตูแบบสุดๆ ปัญหาคืออิมมิเกรชั่นอาจจะคิดว่าการหย่าก็แสดงให้เห็นอยู่แล้วว่าหมดรักกัน ไม่มั่นคงต่อกันจริงๆ (not a genuine and committed relationship) ประกอบกับลูกความอยู่กันคนละประเทศมานาน ทะเลาะกัน ห่างกัน หย่ากัน เอกสารพิสูจน์ความสัมพันธ์ก็น้อยมาก คำอธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์จึงเป็นเรื่องสำคัญมากๆสำหรับเคสนี้

เคสนี้เราทำงานด้วยกัน 4 ปีกว่า ตั้งแต่ลูกความหย่ากันยันได้พีอาร์ (Strategy ได้ผล ไม่มีถูกปฏิเสธ ไม่ต้องไปอุทธรณ์ เย้) ลูกความก็อยู่ซิดนีย์เหมือนคนเขียน แต่เราก็ไม่เคยเจอกัน 

เพราะฉะนั้นน้องๆที่ถามว่าเราจะทำงานด้วยกันยังไงเพราะน้องอยู่ไทย/อยู่ต่างรัฐ  คนเขียนอยู่ซิดนีย์ .... ทำได้ค่ะ ผ่านอีเมล์ + โทรศัพท์ (+ apps ต่างๆที่เหมาะสม)


เคสที่สอง

ลูกความคู่นี้ (หรือสองคู่นี้) ไม่ใช่คนไทยค่ะ แต่เป็นลูกความคนเขียนมา 10 ปีได้    ... เดี๋ยวนะ ... อย่าเพิ่งคิดว่าทำเคสยังไงใช้เวลา 10 ปี !

ลูกความเดิมทีเป็นคู่เหมือนค่ะ อายุต่างกันหลายสิบปี ตอนทำเคสนี้คนเขียนก็ว่าเสี่ยงอยู่แล้วเพราะอายุห่างกันมาก แต่ความรักไม่มีขอบเขต ไม่จำกัดเพศ ไม่จำกัดอายุใช่ไหม สรุปว่าผ่านค่ะ ได้พีอาร์สมใจ

วันดีคืนดีลูกความติดต่อมา
ลูกความ:   ชั้นเลิกกับแฟนแล้วนะ
คนเขียน:   อ้าว... เสียใจด้วยนะ
ลูกความ:   ไม่เป็นไร ชั้นมีแฟนใหม่แล้วนะ
คนเขียน:   ว้าว... ดีใจด้วยนะ
ลูกความ:   เป็นคนละเพศแล้วนะ และอยากให้ทำเคสให้
คนเขียน:   ......

อึ้งไปนาน หลังจากหายอึ้งก็สัมภาษณ์แบบเจาะลึก คนเขียนไม่ได้สงสัยว่าความสัมพันธ์ไม่ใช่เรื่องจริง เพราะเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง เราอยู่ในยุคที่เปิดกว้างและยอมรับว่าอะไรๆก็เป็นไปได้ทั้งนั้น  แต่กังวลแทนลูกความว่าอิมมิเกรชั่นจะคิดยังไงกับประวัติแบบนี้ บอกเลยว่าเป็นเคสความเสี่ยงสูง เคสอาจจะถูกปฏิเสธ เราอาจจะต้องไปถึงชั้นอุทธรณ์ สรุปว่าลูกความยืนยันว่าจะให้คนเขียนทำเคสให้ ...... สรุปว่าทำก็ทำ ... การวางแผนงาน (Strategy) การอธิบายความสัมพันธ์เป็นจุดสำคัญของเคสอีกแล้ว

Stage 1 ผ่านฉลุยอย่างรวดเร็ว
Stage 2 ถูกดอง 2 ปีกว่า
(อย่าคิดว่า Stage 2 เป็นอะไรที่ง่ายๆ แค่ยื่นเอกสารประมาณเดิมก็พอนะคะ ไม่เสมอไปค่ะ ลูกความที่ติดต่อมาหาคนเขียนหลังจากที่ถูกปฏิเสธ Stage 2 ก็เยอะ)

หลายครั้งที่ลูกความโทรมาถามว่าทำไมนานจังเลย เพื่อนยื่นทีหลังได้พีอาร์แล้ว โทรตามไหม อยากได้พีอาร์เร็วๆ  

คำอธิบายของคนเขียนคือ อย่าเอาเคสของตัวเองไปเทียบกับเคสเพื่อน เคสเพื่อนมีประเด็นแบบนี้ไหม (ไม่มี) Processing Centre หรือเจ้าหน้าที่คนเดียวกันไหม (ไม่ทราบ) 

สำหรับบางเคส (รวมถึงเคสนี้ด้วย) คนเขียนไม่ตามค่ะ อยากดองๆไป ในระหว่างถูกดองก็พัฒนาความสัมพันธ์ไป ถามว่าถ้าเคสแน่น อิมมิเกรชั่นจะเอาจุดไหนมาปฏิเสธ

ตามเร็วแล้วอาจจะถูกปฏิเสธ กับถูกดองแล้วอาจจะผ่าน เลือกเอา

ไม่มีใครอยากรอ อยากได้วีซ่าเร็วๆกันทั้งนั้น การที่ทนายความหรือเอเจนต์ตามเคสให้ ลูกความก็แฮ๊ปปี้เพราะดูเหมือนได้รับความเอาใจใส่ แต่บางเคสที่ไม่ได้ตาม ไม่ได้แปลว่าลืมหรือไม่ใส่ใจ .... ไม่มีใครต้องการให้ลูกความไม่แฮ๊ปปี้หรอกค่ะ 

การอีเมล์ตามเคสกับอิมมิเกรชั่น คนเขียนใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที + ลูกความแฮ๊ปปี้
คนเขียนใช้เวลา 15-30 นาที ในการอธิบายเหตุผลว่าทำไมถึงไม่ตามเคสให้ + ความเสี่ยงที่ลูกความก็จะยังไม่แฮ๊ปปี้ต่อไป
เพราะฉะนั้น ....... ถ้าตามเคสแล้ว มีผลดีกับเคส คนเขียนก็ทำไปแล้ว (make sense ไหมคะ)

บางเคสไม่มีใครตอบได้ว่าจะออกหัวหรือก้อย ทำได้แค่ดีที่สุด ถ้ารักกันจริงและไม่มีทางเลือกอื่น ก็ต้องลุยไปข้างหน้า ไม่ลองไม่รู้ (ใช่ไหม) ทั้ง 2 เคส คนเขียนวาง Strategy ให้ลูกความแบบคร่าวๆ ทราบอยู่แล้วว่าเคสแบบนี้เราคาดเดาไม่ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นระหว่างทาง แผนก็ต้องปรับเปลี่ยนกันไปตามหน้างาน คนเขียนไม่ชอบให้ความหวังลูกความ รับได้กับความเสี่ยงเราก็ทำงานด้วยกันได้ 

ทั้งสองเคสลูกความรู้ตั้งแต่ต้นว่าโอกาสที่เคสจะถูกปฏิเสธที่สเต็ปใดสเต็ปหนึ่งมีสูง คนเขียนไม่เคยรับประกันความสำเร็จของงาน ทำได้แค่ดีที่สุด ทั้งสองเคสเราผ่านในทุกสเต็ปค่ะ

ป.ล. นานๆทีก็จะมีน้องโยนหินถามทางมาว่าคนเขียนรับทำเคสจ้างแต่ง เพื่อนช่วยเพื่อน ญาติช่วยญาติไหม
ตอบกันชัดๆไปเลยนะคะ
  - ถ้าความสัมพันธ์ไม่ใช่เรื่องจริง ไม่รับทำเคส
  - ถ้ารับเคสมาแล้ว มาทราบระหว่างทาง ก็เลิกทำเคสระหว่างทาง
  - ถ้าความสัมพันธ์เป็นเรื่องจริง ต่อให้คบกันมาไม่นาน ต่อให้มีความยุ่งยากซับซ้อนแค่ไหน ถ้าคุณยอมรับความเสี่ยงได้ คนเขียนไม่มีปัญหาในการทำเคสให้ (คนเขียนไม่แคร์เรื่อง 100% success rate ถ้า play safe ตลอด ลูกความที่เคสยากแต่อยากลอง ก็พลาดโอกาส และคนเขียนก็พลาดโอกาสที่จะได้พัฒนาตัวเองด้วย)



Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


แชร์ประสบการณ์ อดีตลูกความที่ต้องปล่อย 1

26/6/2021

 
อดีตลูกความคนนี้ไม่ใช่คนไทย คนเขียนเริ่มทำเคสให้เมื่อ 10 กว่าปีก่อน

ลูกความจำวันหมดอายุของวีซ่านักเรียนผิดวัน .... รู้ตัวอีกที เป็นผีไป 6 เดือนแล้ว

คนเขียนใช้เวลาทำ Research หาข้อมูลไปหลายวัน ก่อนจะนัดลูกความคุย Strategy (แผน) การทำงานกัน 

คนเขียนบอกลูกความว่า Test case นะ ไปเจอช่องโหว่ ... ไม่มีกฏหมายบอกว่าห้ามทำ แปลว่าทำได้ ... ใช่ไหม?? ... ส่วนจะได้วีซ่ากลับมารึเปล่า ไม่ลองไม่รู้ แต่คิดว่าน่าจะรอด ..... ณ จุดนั้น ลูกความไม่มีอะไรจะเสียแล้ว นอกจากเงินและเวลา และยืนยันหนักแน่นว่ายังไงก็ไม่อยากกลับประเทศตัวเอง พ่อแม่ต้องโกรธมากถ้ารู้ว่าอยู่ๆกลายเป็นผี และเรียนไม่จบเพราะจำวันหมดอายุวีซ่าผิด  

Strategy แรก (แผน 1) ของเรา มี 3 สเต็ป ในระหว่างที่เราเริ่มสเต็ปแรก คนเขียนก็ทำ Research ต่อไปด้วย เผื่อเจอทางที่ดีกว่า และก็เจอทางที่ดีกว่าจริงๆ สเต็ปเดียวจบ (เหมือนเดิม บางทีกฏหมายก็ไม่ได้เขียนไว้ชัดเจนว่าทำได้ แต่ในเมื่อไม่มีตรงไหนบอกว่าห้ามทำ สำหรับคนเขียนแปลว่าทำได้)  ...... ถามว่าลูกความโกรธไหม ที่คนเขียนต้องการเปลี่ยนแผนหลังจากเริ่มงานแผนแรกไปแล้ว .... ไม่โกรธค่ะ ดีใจด้วยซ้ำที่คนเขียนหาทางที่ดูมีเปอร์เซ็นมากกว่า ง่ายกว่าและถูกกว่าให้ได้ ...... จริงๆก็ไม่ควรจะโกรธนะ เคสจะทำผีให้เป็นคน (จากคนไม่มีวีซ่าให้มีวีซ่าตัวที่เหมาะสม) ไม่ง่าย ถ้าไม่แคร์ไม่ใส่ใจ ก็คงไม่มานั่งทำ Research ต่อ ทั้งๆที่แผนแรกก็น่าจะเวิร์ค และลูกความก็ตัดสินใจทำแล้ว

สรุปว่าเราเปลี่ยนแผนระหว่างทางไปแผน 2 แทน .... คนเขียนต้องทำ Submissions เขียนเอกสารอธิบายข้อกฏหมายให้อิมมิเกรชั่นเข้าใจ ยาว 3 หน้ากระดาษ  อิมมิเกรชั่นก็ไม่เข้าใจอยู่ดี ยกหูหาคนเขียนเลย ร่ำๆจะปฏิเสธวีซ่า บอกว่ากฏหมายไม่ได้บอกว่าทำได้นะ ....  คนเขียนก็อธิบายไปสิ ทีละสเต็ป อย่างช้าๆ ถามอิมมิเกรชั่นเป็นระยะๆว่าที่อธิบายไปนี้เค้าเห็นด้วยกับคนเขียนไหม สรุปว่าเห็นด้วย ..... อ้าว ถ้าเห็นด้วย ก็ต้องออกวีซ่าให้สิ .... สรุปว่าขอ 10 นาทีเพื่อเช็คกับหัวหน้าอีกรอบก่อน แล้วจะโทรหาคนเขียนใหม่ ..... ครึ่งชั่วโมงผ่านไป .....  ไม่มีโทรศัพท์จากอิมมิเกรชั่น แต่มีอีเมล์แจ้ง Student visa grant letter ..... เย้

2 ปี ผ่านไป ... ลูกความติดต่อมาต้องการวางแผนทำพีอาร์ .... คนเขียนแนะนำวีซ่าที่เหมาะสม

1 ปี ผ่านไป ... ลูกความติดต่อมา พ่อแม่ให้ใช้เอเจนต์ชาติเดียวกัน และเอเจนต์แนะนำให้ยื่นวีซ่าอีกตัวนึงและตอนนี้ถูกปฏิเสธ เคสอยู่ชั้นอุทธรณ์ AAT .... ขอคำแนะนำต่อว่าควรจะเดินเคสยังไง คนเขียนก็แนะนำค่ะ แต่แอบกังวลว่าเคสจะไปรอดไหม คำแนะนำเป็น Technical: ข้อกฏหมาย และเทคนิคการทำเคสทั้งนั้น คนที่จะเอามาปรับใช้ก็ไม่ใช่คนเขียน แต่เป็นเอเจนต์ที่ลูกความใช้บริการอยู่ (เคสหลายๆเคส เราต้องตัดสินใจกันหน้างาน ตอนปัญหาเกิด ว่าจะยื่นอะไร ยื่นยังไง นำเสนอแบบไหน)

1 ปี ผ่านไป ... ลูกความติดต่อมา เคสยังอยู่ที่ชั้น AAT .... ที่แนะนำไปคราวที่แล้ว ไม่ได้ทำอะไรซักอย่าง [เสียเวลาไป 1 ปี โดยไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย] ... ขอคำแนะนำอีกแล้วว่าควรจะทำยังไงต่อ ... คนเขียนก็แนะนำอีกแล้วค่ะ แต่ในใจเริ่มคิดว่าแล้วว่าที่แนะนำไปนี่จะเวิร์คไหม เพราะเคสยากขึ้นเรื่อยๆ 

อีก 1 ปีครึ่ง ผ่านไป ... ลูกความแพ้ที่ชั้น AAT .... คนเขียนถามว่าที่แนะนำไป ไม่ได้เอาไปปรับใช้เลยสิ .... ลูกความบอกว่า ... ก็บอกเอเจนต์แล้ว แต่เค้าไม่ทำ .... ขอคำแนะนำอีกแล้ว

... คนเขียนทราบดีว่าลูกความไว้ใจคนเขียน ติดที่พ่อแม่ต้องการให้ใช้เอเจนต์ชาติเดียวกัน แต่ถามว่าลูกความได้อะไรจากการขอคำแนะนำ แนะนำอะไรไป ก็ไม่ได้เอาไปปรับใช้ หรือต่อให้ปรับใช้ก็ไม่ได้เต็มร้อย เพราะคนทำเคสไม่ใช่คนวางแผนงาน  ... สรุปว่าได้เวลาต้องปล่อยลูกความไปตามทางแล้วค่ะ



Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


Q & A : วีซ่า 187 กับการเรียน 5 ปี เพื่อยกเว้นผลภาษาอังกฤษ

25/6/2021

 
Q: พยายามสอบภาษาอังกฤษมาหลายรอบแล้ว แต่ไม่ผ่านซักที ได้ยินมาว่าวีซ่า 187 ยังใช้ผลการเรียน 5 ปี แทนผลภาษาอังกฤษได้อยู่ จริงไหมคะ

A: จริงค่ะ  สำหรับ 187 Temporary Residence Transition Stream (187TRT) เท่านั้น

แต่นโยบายการพิจารณาผลการเรียน 5 ปี ไม่นิ่ง ขึ้นอยู่กับการตีความของอิมมิเกรชั่นในแต่ละช่วงเวลา บางช่วงเวลาก็นับได้หมด ยกเว้น General English บางช่วงก็นับได้เฉพาะการเรียนระดับมัธยมและปริญญา .... จริงอยู่ นโยบายไม่ใช่ข้อกฏหมาย เราโต้เถียงได้ แต่ใครจะอยากเสี่ยงถูกปฏิเสธวีซ่า ถ้าไม่จำเป็น

เพราะฉะนั้น แนะนำว่าพยายามสอบภาษาอังกฤษ (เช่น IELTS, PTE) ให้ผ่านดีกว่าค่ะ ถ้าสอบไม่ผ่านจริงๆ ค่อยมาเสี่ยงใช้ผลการเรียน 5 ปี

 

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


Q & A : เงื่อนไขการเรียนของวีซ่า 485

6/3/2021

 
Q: รบกวนสอบถามค่ะ กำลังจะเรียนจบ Certificate III in Cookery เรียนหลักสูตรนี้มาได้ 15 เดือนค่ะ กำลังจะต่อ Certificate IV in Cookery 6 เดือน กับ Advanced diploma of Hospitality 6 เดือน ที่สถาบันเดิม และเรียนต่อเนื่องเลยค่ะ
 
ในกรณีนี้สามารถขอวีซ่า 485 หลังเรียนจบได้หรือไม่คะ เห็นมีคนบอกว่าต้องเป็นหลักสูตร 2 ปี ตั้งแต่ขอวีซ่าครั้งแรกเลย มาต่อคอร์สทีหลังให้ครบ 2 ปีไม่ได้ รบกวนช่วยแนะนำด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ


A: รวมคอร์สได้ค่ะ ไม่จำเป็นต้องเป็นหลักสูตร 2 ปี


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


NEWS อิมมิเกรชั่นเตรียมออกวีซ่าให้โดยไม่ต้องเดินทางออกนอกประเทศ

12/2/2021

 
ข่าวดีสำหรับหลายๆคน ....... อิมมิเกรชั่นประกาศมาแล้วนะคะว่า

ตั้งแต่วันที่ 27 February 2021 --- อิมมิเกรชั่นคาดว่าจะออกวีซ่าต่อไปนี้ให้ได้ในประเทศออสเตรเลีย (ผู้สมัครไม่ต้องออกไปรอนอกประเทศ)


  • Partner (subclass 309) visa
  • Prospective Marriage (subclass 300) visa
  • Dependent Child (subclass 445) visa
  • Child (subclass 101) visa
  • Adoption (subclass 102) visa

และตั้งแต่วันที่ 24 March 2021 --- ก็คาดว่าจะออกวีซ่าต่อไปนี้ให้ได้ในประเทศออสเตรเลีย

  • Contributory Parent (subclass 143) visa
  • Contributory Parent (subclass 173) visa
  • Parent (subclass 103) visa

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


Q & A : สปอนเซอร์ / Sponsor สำหรับ Partner visa

24/1/2021

 
Q: สอบถามเรื่อง partner visaค่ะ

แฟนเป็น citizen ค่ะ เคยประสบอุบัติเหตุ รัฐบาลว่าเป็น disability ตอนนี้กลับไปทำงานปกติ และลาออกจากงานแล้วเพราะกำลังจะมี business ร่วมกัน  จากข้อมูลเบื้องต้น แฟนสามารถเป็น sponsor ให้ได้ไหมคะ


A: มีคำถามประมาณนี้มาให้ตอบอยู่เรื่อยๆนะคะ ขอตอบในนี้แล้วกันจะได้เป็นประโยชน์กับคนอื่นด้วย

สำหรับกฏหมาย ณ ปัจจุบัน สปอนเซอร์จะตกงาน จะ disable หรือจะทำธุรกิจส่วนตัว ไม่ใช่ประเด็นที่อิมมิเกรชั่นจะดูในส่วนของสปอนเซอร์ค่ะ



Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


Q & A : IELTS สำหรับวีซ่า 485

21/1/2021

 
Q: ต้องการสอบถามว่า วีซ่าหลังเรียนจบที่ขอได้ ใช้ IELTS Academic หรือ General คะ 

A: คาดว่าน้องหมายถึงวีซ่า 485 -- สำหรับการยื่นขอวีซ่าใช้ IELTS General ค่ะ

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


Q & A : ยื่น 186 หรือ 482 แต่ไม่มีผลภาษาอังกฤษ

13/1/2021

 
Q: ผมเคยถือวีซ่า 457 มาตอนนี้ก็ครบ 4 ปี หมดอายุไปแล้ว ตอนขอ 457 ผมใช้ 5 ปี full-time student แต่มารู้ที่หลังว่าเขาไม่ใช้แล้ว แล้วด้วยสถานะการณ์โรคระบาดเลยจำเป็นต้องเปลี่ยนวีซ่าตัวเองเป็น 482 ก่อนเพราะ agent บอกว่ายื่น 186 ไม่ได้ แต่ปัญหาของผมคือไม่ว่ายังไงก็สอบภาษาไม่ผ่านสักที และตอนนี้ก็ on visa Bridging อยู่ กลัวว่าถ้าถึงวันที่ immigration รอคะแนนภาษาผมไม่ได้แล้วผมจะโดนส่งกลับ หรือยื่นอุทธรณ์ได้ไหมเพราะถ้าเอาจริงๆ ผมพร้อมหมดแล้ว ขาดแต่ภาษาเรื่องเดียวในการขอ pr แล้วผมก็ทำงานจ่าย tax ที่เดิมซื่งเป็นบริษัทแฟนไซน์มา 9 ปีในการทำงานภาษาอังกฤษไม่ใช้ปัญหาเลยแค่ด้วยตัวผมเองไม่ว่ายังไงก็สอบไม่ผ่านสักที คือจริงๆแล้วผมก็แค่อยากระบายเพราะตอนนี้ผมมีความรู้สึกว่าตัวคนเดียวเฉยๆ ครับ
 
ขอบคุณครับที่รับฟัง


A: อ่านแล้วรู้สึกว่าต้องรีบตอบ สงสารคนตัวคนเดียว (เรื่องจริง ไม่ล้อเล่น)

186 ตอนนี้ใช้ผลการเรียน 5 ปีไม่ได้แล้ว และผลภาษาอังกฤษต้องมีก่อนยื่น
482 ภาษาอังกฤษไม่จำเป็นต้องมีก่อนยื่น (แต่มีก่อนยื่นดีที่สุด) ถ้าถึงเวลาจะตัดสินแล้วยังไม่มีผลภาษาอังกฤษ
       เคสจะถูกปฏิเสธ ยื่นอุทธรณ์ได้ค่ะ
482 ยังใช้ five years of full-time study in a secondary and/or higher education institution where the
       instruction was delivered in English แทนผลภาษาอังกฤษได้ค่ะ

คนเขียนก็มีลูกความหลายคนที่สอบภาษาไม่ผ่านซักที สู้ๆค่ะ เอาใจช่วยนะคะ


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


Q & A : Partner visa & สถานะการทำงานและการเงินของสปอนเซอร์

4/1/2021

 
Q: ระหว่างหาข้อมูลเรื่อง partner visa บังเอิญเจอ blog นี้ขึ้นมา มีคำถามที่สงสัยว่าถ้าจะทำ partner visa de facto กับแฟน ซึ่งเราสองคนอยู่ในประเทศออสเตรเลียทั้งคู่ แฟนเป็น citizen ที่นี่ ตัวเราถือวีซ่า 485 แต่ตอนนี้เค้า unemployed ไม่ทราบว่าอิมมิเกรชั่นเค้าจะดูตัวคนสปอนเซอร์รึเปล่าคะว่าหน้าที่การงานเป็นยังไง financial situation เป็นยังไงบ้าง

A: กฏหมาย ณ ปัจจุบัน ไม่ดูค่ะ (อนาคตอาจจะเปลี่ยนได้)


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


<<Previous

    Author


    พี่เก๋ - กนกวรรณ ศุโภทยาน เป็นทนายความไทย และทนายความของประเทศออสเตรเลีย (Immigration Lawyer)

    มีประสบการณ์เป็นทนายความเฉพาะทาง ด้าน IMMIGRATION ของประเทศออสเตรเลีย รับวางแผนการขอวีซ่า ยื่นใบสมัครขอวีซ่าทุกประเภท ช่วยเหลือในชั้นอุทธรณ์ที่ Administrative Appeals Tribunal และในชั้นศาลค่ะ

    ต้องการคำแนะนำ หรือความช่วยเหลือ ติดต่อได้ที่ Immigration Success Australia
    mb: 0428 191 889 หรือ www.immigrationsuccessaustralia.com

    Archives

    July 2021
    June 2021
    March 2021
    February 2021
    January 2021
    December 2020
    November 2020
    October 2020
    September 2020
    July 2020
    June 2020
    May 2020
    April 2020
    March 2020
    February 2020
    March 2019
    January 2019
    November 2018
    October 2018
    August 2018
    July 2018
    June 2018
    April 2018
    October 2017
    September 2017
    August 2017
    May 2017
    April 2017
    August 2015
    April 2015
    December 2014
    September 2014
    August 2014
    June 2014
    March 2014
    January 2014
    October 2013
    September 2013
    July 2013
    June 2013

    Categories

    All
    วีซ่า
    อุทธรณ์
    วีซ่าคู่ครอง
    101
    102
    103
    143
    173
    186
    187
    190
    300
    309
    4020
    408
    445
    457
    462
    476
    482
    485
    489
    491
    500
    870
    AAT
    Accountant
    Administrative Appeals Tribunal
    Adoption Visa
    Approved Nomination
    Australia
    Australian
    Australian Citizenship
    Australian Immigration
    Bar
    Bricklayer
    Bridging Visa
    Bridging Visa A
    Bridging Visa E
    BVA
    BVE
    Changes To Immigration Law
    Changing Courses
    Chef
    Child Visa
    Consolidated Sponsored Occupations List
    COVID 19
    COVID-19
    CSOL
    Decision Ready
    Decision-ready
    Decision Ready Application
    Decision-ready Application
    De Facto Relationship
    Employer Sponsored
    English Exemption
    ENS
    Exercise Physiologist
    Family
    Family Violence
    Federal Circuit Court
    Graduate Work
    GTE
    Hydrogeologist
    Ielts
    Immigration
    Immigration Lawyer
    Judicial Review
    Jurisdictional Error
    Migration Agent
    Migration Review Tribunal
    MRT
    Nomination
    Orphan Relative Visa
    Overstay
    Parent
    Partner Visa
    PIC 4020
    Post Study Work
    Processing Period
    Protection Visa
    Public Interest Criteria
    Public Interest Criterion
    Regional Australia
    Regional Visas
    Registered Migration Agent
    Rma
    RSMS
    Section 48
    Section 48 Bar
    Self Sponsorship
    Skilled Migration
    Skilled Occupations List
    Skilled Work Regional
    Skills Assessment
    SOL
    Sponsor
    Sponsorship
    Student Visa
    Substantive Visa
    Training
    Tsmit
    Unlawful
    Visa Cancellation
    Visa Refusal
    Wall And Floor Tiler
    Working And Holiday Visa

    RSS Feed

Powered by Create your own unique website with customizable templates.