อนาคตไม่รู้ .... แต่ ณ วันนี้ เคสอุทธรณ์นายจ้างสปอนเซอร์ของคนเขียนทุกเคสอยู่ใน 35% นี้
การเตรียมเคสนายจ้างสปอนเซอร์ โดยเฉพาะเคสถูกปฏิเสธ Nomination ไม่ง่าย เพราะเป็นการพิสูจน์ใหม่หมดทุกประเด็น ไม่ใช่เฉพาะประเด็นที่ถูกปฏิเสธ และในความเห็นของคนเขียน ถ้าเตรียมเคสดีๆ ก็มีโอกาสสูงอยู่ เพราะส่วนใหญ่เป็นประเด็นที่ไม่ Black / White แต่ออกแนว Grey คือเรามีโอกาสที่โน้มน้าวให้ Tribunal member (คนตัดสินเคส) เห็นตามแนวทางการโต้เถียงของเรา
สำหรับคนที่ไม่รู้ .....
- Nomination application คือใบสมัครของนายจ้าง เสนอตำแหน่งงานให้ลูกจ้าง
- Visa application ก็ชัดเจน คือใบสมัครของลูกจ้าง ซึ่งก็ต้องมีความรู้ และประสบการณ์ตามที่กฏหมายกำหนด เพื่อที่จะมาทำงานในตำแหน่งที่นายจ้างเสนอให้
- Nomination & Visa applications จะยื่นพร้อมกันก็ได้ หรือจะยื่น Nomination application ก่อน รอจนผ่าน แล้วค่อยยื่น Visa application ก็ได้
- เคสนายจ้างสปอนเซอร์ส่วนใหญ่ที่ชั้นอุทธรณ์ คือเคส Nomination ถูกปฏิเสธ
- เมื่อ Nomination ถูกปฏิเสธ ถ้ามีการยื่น Visa application เข้าไปด้วย วีซ่าก็จะถูกปฏิเสธไปด้วย (ยกเว้นมีการถอนใบสมัครวีซ่า ก่อนที่จะถูกปฏิเสธ)
- เมื่อมีการถูกปฏิเสธ ต้องมาดูว่าจะยื่นใหม่ดี หรือจะยื่นอุทธรณ์ดี
- บางเคสก็ไม่มีโอกาสยื่นใหม่ บางเคสก็ไม่ควรยื่นใหม่
- ถ้าทั้ง Nomination & Visa applications ถูกปฏิเสธ โดยส่วนใหญ่ก็จูงมือกันไปอุทธรณ์ (แต่ไม่เสมอไป)
- ถ้า Nomination ผ่าน Visa ก็ยังมีโอกาสถูกปฏิเสธได้อยู่ดี ถ้าผู้สมัครไม่เข้าเงื่อนไขบางอย่าง เช่น ไม่มีผลภาษาอังกฤษ หรือมีประสบการณ์ไม่ถึงตามที่กฏหมายกำหนด
- เคส Visa ถูกปฏิเสธ ส่วนใหญ่แล้ว Tribunal member จะพิจารณาเฉพาะประเด็นที่ถูกปฏิเสธ ถ้าทุกอย่างโอเค เคสก็จะถูกส่งกลับไปให้อิมมิเกรชั่นพิจารณาในประเด็นอื่นต่อไป
หลายคนอาจจะสงสัยว่า
Q: อ้าว ... แล้วจะยื่นไปพร้อมกันทำไม คือควรจะยื่น Nomination application และรอให้ผ่านก่อน แล้วค่อยยื่น Visa application ดีกว่าไหม
A: จะยื่นพร้อมกัน หรือยื่นแยกเป็นสเต็ป ไม่มีสูตรตายตัวค่ะ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง พิจารณากันไปเคสๆไป ทั้ง 2 แบบ มีข้อดี ข้อเสีย แตกต่างกัน บางคนอาจจะไม่มีทางเลือก เช่นวีซ่ากำลังจะหมด หรือกฏกำลังจะเปลี่ยน หรือบางคนมีทางเลือก แต่ก็ยังควรจะยื่นไปพร้อมๆกัน ด้วยเหตุผลเฉพาะของแต่ละเคส (การให้คำแนะนำเคสพวกนี้ ต้องสัมภาษณ์แบบเจาะลึกค่ะ)
Q: อุ๊ย ... ถ้า Nomination ถูกปฏิเสธ เราก็รีบถอนใบสมัครวีซ่า ก่อนถูกปฏิเสธสิ ???
A: ขึ้นอยู่กับเนื้อหา / สถานการณ์ของแต่ละเคสอีกแล้ว บางเคสก็ควรถอนเรื่อง บางเคสก็ควรปล่อยให้ถูกปฏิเสธแล้วไปอุทธรณ์ ยกตัวอย่างเช่น น้องยื่นวีซ่าก่อนกฏเปลี่ยน ถ้าถอนเรื่อง แล้วรอยื่นใหม่เมื่อพร้อม น้องก็ต้องยื่นให้เข้ากฏปัจจุบัน ซึ่งอาจจะเป็นไปไม่ได้สำหรับน้องบางคน (ถ้าถึงจุดที่ Nomination ถูกปฏิเสธ และไม่ทราบว่าควรจะถอนเรื่อง หรือปล่อยให้วีซ่าถูกปฏิเสธดี ควรจะนัดปรึกษาค่ะ เพราะบางเคส ต่อให้น้องเข้ากฏเก่า และคิดว่าควรจะปล่อยให้ถูกปฏิเสธ เพื่อไปอุทธรณ์ แต่ถ้า Nomination หรือ Visa application ไม่มีโอกาสชนะเลย การยื่นอุทธรณ์ก็อาจจะไม่ใช่ทางออก)
คนเขียนจบเคสอุทธรณ์ 186 / 187 Nomination & Visa applications ไป 3 เคสเมื่อไม่นานมานี้ ทั้ง 3 เคสเป็นเคสที่ยื่น Nomination & Visa applications ไปพร้อมกัน (2 ใน 3 เคสนี้ เป็นเคส Self-sponsorship) .... พอ Nomination ไม่ผ่าน Visa ก็ไม่ผ่านด้วย ทั้ง 3 เคส Strategy ของเรา (ด้วยเหตุผลที่ต่างกัน แต่ผลลัพธ์เหมือนกัน) คือ .... จูงมือกันไปอุทธรณ์ทั้งส่วนของนายจ้าง และลูกจ้าง
ความน่าสนใจของลูกความ 3 เคสนี้
เคสที่ 1 - ลูกความ Proactive แบบสุดๆ แนะนำให้ทำอะไร ได้ดั่งใจทุกอย่าง ทั้งส่งเอกสาร ทั้งติดต่อคนเขียนเป็นระยะๆ อัพเดทกันตลอด มีคำถามอะไรเกี่ยวกับธุรกิจที่อาจจะกระทบกับเคส น้องโทรขอคำแนะนำก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไร หรือไม่ทำอะไร .... เคสยาก แต่ไม่มีความหนักใจเลย
เคสที่ 2 - แนะนำอะไรไป ก็ทำมั่ง ไม่ทำมั่ง และแอบทำเคสเละระหว่างรอ Hearing อีกตังหาก (ลูกความของคนเขียนทุกคน ยกหูโทรหาคนเขียนได้ตลอดไม่ต้องนัดล่วงหน้า ถ้าไม่รับสาย เดี๋ยวโทรกลับ ... แต่น้องลูกความไม่โทร ไม่ถามนี่สิ) .... คนเขียนก็งานงอกซิคะ ต้องมานั่งแก้ปัญหาที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นหลายประเด็นตอนใกล้ Hearing เหนื่อยแบบสุดๆกับการคิด ว่าจะยื่นเอกสารอะไร จะเชิญชวนให้ Tribunal member เห็นดีเห็นงามไปกับคนเขียนได้ยังไงกับเคสที่ไม่ค่อยสวย .... จากนั้นก็มาลุ้นต่อว่าจะชนะหรือไม่
เคสที่ 3 - ลูกความรู้ดีกว่าคนเขียน (ใช่แล้ว บางทีเราก็ได้ลูกความที่รู้ดีกว่าเรา) .... เหนื่อยหนักกว่าเคสที่ 2 อีก กลัวเคสจะไปไม่รอด .... ลองนึกถึงคนที่แนะนำอะไรไปก็เถียง ไม่ฟัง ให้เตรียมอะไรก็ไม่เตรียมเพราะมั่นใจในตัวเอง .... บอกตามตรงว่าคนเขียนมีโมเม้นต์ที่อยากจะเชิญลูกความให้เอาเคสกลับไปทำเอง
ทั้ง 3 เคส คนเขียนเคลียร์ประเด็นที่ถูกปฏิเสธโดยอิมมิเกรชั่นได้แบบไม่ยาก แต่เนื่องจาก AAT ดูเคส Nomination ใหม่หมดทุกประเด็น ไม่ใช่แค่ประเด็นที่ถูกปฏิเสธ เพราะฉะนั้นเราโฟกัสไปประเด็นที่ถูกปฏิเสธประเด็นเดียวไม่ได้ และทั้ง 3 เคสนี้ ประเด็นที่เป็นปัญหาจริงๆที่ชั้นอุทธรณ์ ก็ไม่ใช่ประเด็นที่ถูกปฏิเสธโดยอิมมิเกรชั่น (ความน่าปวดหัวของเคส Nomination อยู่ตรงนี้เอง)
..... ลองนึกภาพ
คนเขียน: น้องคะ ประเด็นนี้ (xxx) คาดว่าจะเป็นประเด็นหลัก น้องเตรียมเอกสาร 1 2 3 4 และเตรียมข้อมูล (yyy) ไว้ด้วยนะคะ คาดว่าคำถามจะมาประมาณ บลา ... บลา ... บลา
ลูกความ: โอ๊ยพี่ ไม่ต้องหรอก มั่นใจว่าประเด็นนี้ไม่ใช่ปัญหา เพราะ บลา ... บลา ... บลา (หลงประเด็น แต่มั่นใจ)
คนเขียน: น้องถือสายรอแป๊บนึงนะคะ เดี๋ยวกลับมาอธิบายให้ฟังอีกรอบ [คนเขียนขอเอาหัวไปโขกเสา 3 รอบ และนับ 1 - 100 ก่อน]
จริงๆ อธิบายย้ำไปอีกหลายรอบ .... แนะนำได้ แต่ถ้าลูกความไม่ทำ คนเขียนก็ทำอะไรไม่ได้ ได้แต่ทำใจ
วัน Hearing: ไม่ใช่แค่ประเด็นที่คาดไว้เท่านั้น แต่เป็นคำถามที่คาดไว้ด้วย น้องตอบไม่ได้ เพราะไม่ได้เตรียม (คนเขียนอยากจะบอกว่า I told you so!!)
.... คนเขียนจะไม่แคร์ก็ได้ เพราะพยายามแล้ว แนะนำแล้ว ซ้ำหลายรอบด้วย แต่น้องไม่ฟัง ไม่เตรียม
.... แล้วแคร์ไหม ? .... อยากจะไม่แคร์เหมือนกัน แต่ทำไม่ลง ... สำหรับคนเขียน ตราบใดที่เคสยังอยู่ในมือ ก็ต้องทำให้ดีที่สุด .... เราก็ต้องมีเทคนิคการช่วยลูกความ รวมถึงโดน Tribunal member โวยใส่แทนลูกความด้วย !!!! (แอบสงสารตัวเองนิดนึง)
เห็นไหม ว่าทำไม การทำเคสแต่ละเคส เรารับประกันความสำเร็จของงานไม่ได้ .... ปัจจัยที่อาจจะทำให้เคสไม่ผ่าน มีเยอะแยะมากมาย รวมถึงปัจจัยที่ไม่ควรจะเกิดแบบเคสนี้ แนะนำแล้วไม่ทำ
สุดท้ายน้องมาขอโทษ ที่ไม่ฟัง และไม่เตรียมเคสตามที่แนะนำ และทำให้คนเขียนโดนโวย .... สำหรับคนเขียน การโดนโวยแทนลูกความเป็นเรื่อง จิ๊บ จิ๊บ ไม่คิดมาก [แต่ไม่โดนเลย ดีที่สุด] .... แต่ที่เคืองคือน้องไม่ฟัง และทำเคสเกือบพัง .... คนเขียนพยายามฝ่ายเดียวไม่ได้นะคะ น้องลูกความต้องพยายามด้วย
นี่คือเหตุผลที่บางเคส คนเขียนก็ต้องเชิญลูกความให้ไปใช้บริการคนอื่น ถ้าไม่เชื่อ Strategy และคำแนะนำของคนเขียน ถ้าเชื่อคนอื่น หรือเชื่อตัวเองมากกว่า บอกเลยว่าช่วยยาก และเสียเวลามาก คนเขียนขอเอาเวลาอันมีค่า ไปช่วยคนที่มั่นใจในตัวคนเขียนดีกว่า
ล่าม - ถ้าไม่มั่นใจในภาษาอังกฤษของตัวเอง หรือของพยาน ขอล่ามไว้ก่อน (ฟรี) .... คือมีล่าม แล้วไม่ใช้ก็ได้ แต่ถ้าจะใช้ แล้วไม่มี เดือดร้อนนะคะ เอเจนต์หรือทนายความช่วยแปลไม่ได้ เพื่อนน้องหรือพยาน ก็ช่วยแปลไม่ได้
ทั้ง 3 เคส คนเขียนขอล่ามให้ทุกเคส ลูกความของคนเขียน ก็มีทั้งแบบใช้ล่ามเป็นบางช่วง ไม่ใช้ล่ามเลยเพราะสื่อสารกันรู้เรื่อง เคสที่แอบปวดหัวคือเคสที่สื่อสารไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่ก็ไม่ยอมใช้ล่าม (จุดประสงค์ของการ Hearing คือการสื่อสารกับ Tribunal member ถาม-ตอบ และให้ข้อมูลว่าเคสเราควรจะผ่านเพราะอะไร ไม่ใช่การโชว์ความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษ และถ้าสื่อสารแบบติดๆขัดๆ นอกจากจะไม่ได้ช่วยเคสแล้ว คุณก็ไม่ได้โชว์ความสามารถทางภาษาอยู่ดี)
ทั้ง 3 เคส เราชนะที่ชั้นอุทธรณ์ และเคสจบไปได้ด้วยดี ....
ข้อมูลอีกอย่างที่ได้จากวันสัมมนา คือ ... 40% ของเคสธุรกิจ - นายจ้างสปอนเซอร์ที่ชั้นอุทธรณ์ใช้ระยะเวลารอเกิน 2 ปี .... เพราะฉะนั้น การตามเคสถี่ๆ ไม่ได้ทำให้เคสเร็วขึ้น คนอื่นเค้าก็รอเคสนานเหมือนคุณ ถ้าไม่มีเหตุผลอันสมควร ไม่ต้องคิดลัดคิว .... สิ่งที่จะช่วยคุณได้คือการใช้เวลาระหว่างรอเคสให้เป็นประโยชน์ที่สุด เก็บเอกสารหลักฐานที่จะต้องใช้ ... ในขณะเดียวกัน ก็ไม่ปิดโอกาสตัวเองในระหว่างรอ อย่าลืมว่ากฏหมายด้านนี้เปลี่ยนบ่อยมาก คุณอาจจะมีโอกาสยื่นและได้วีซ่าตัวอื่นในระหว่างรอเรื่องก็ได้
Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com