เคสนี้เป็นวีซ่าบุตรบุญธรรมที่ถูกปฏิเสธในชั้นอิมมิเกรชั่น และก็ไม่ประสบความสำเร็จที่ชั้นอุทธรณ์ Administrative Appeals Tribunal (AAT) ก็เลยมาร้องต่อศาล Federal Circuit Court และก็ไม่ประสบความสำเร็จอยู่ดี
เคสนี้เป็นเคสที่ป้าหรือน้าไม่แน่ใจ (เรียกว่า"ป้า" แล้วกันนะคะ เพื่อความสะดวก) ซึ่งเป็นพลเมืองของออสเตรเลียแล้ว ต้องการที่จะนำหลานอายุ 17 มาอยู่ด้วย (ซึ่งเป็นลูกของพี่หรือลูกของน้องก็ไม่แน่ใจ - คิดซะว่าเป็นลูกของน้องนะคะ เพื่อความสะดวก) - พ่อแม่แท้ๆจะแก่หรืออ่อนกว่าพ่อแม่บุญธรรมในกรณีนี้ ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ และภาษาอังกฤษใช้คำว่า sister คนเขียนก็ไม่ทราบว่าใครแก่กว่าใคร รู้แค่ว่าแม่ที่แท้จริงกับคนที่อยากเป็นแม่บุญธรรมเป็นพี่น้องกัน)
เคสนี้ตามที่อ่าน ป้าไม่ได้มีการทำเรื่องบุตรบุญธรรมที่ประเทศไทย (คือไม่มีหลักฐานว่าทำ) แต่มีการร้องขอต่อศาลที่ประเทศออสเตรเลีย (Family Court of Australia) ให้มีสิทธิ์ในการปกครอง (parenting orders) หลานอายุ 17 คนนี้ ซึ่งพ่อแม่ที่แท้จริงของหลานก็ยังมีชีวิตอยู่และเซ็นยินยอมให้สิทธิ์ในการปกครองลูกตัวเองแก่ป้า เพื่อที่จะได้มาเรียน มาอาศัยอยู่ที่ออสเตรเลีย
ตอนแรกป้าเริ่มด้วยวีซ่า Orphan relative แปลเป็นไทยว่าวีซ่าสำหรับญาติที่เป็นกำพร้า วีซ่าถูกปฏิเสธเพราะพ่อแม่แท้จริงก็ยังมีชีวิตอยู่ ไม่ได้ตาย ไม่ได้สูญหาย ไม่ได้พิการ
ป้าเลยยื่นวีซ่าบุตรบุญธรรมแทน ประเด็นสำคัญที่โต้เถียงโดยป้าคือ
1. ป้าอ้างถึงคำสั่งของศาลออสเตรเลียที่ให้อำนาจป้าปกครองหลาน (parenting orders)
- ศาลบอกว่าให้อำนาจปกครองหลาน ไม่ได้เป็นเอกสารที่แปลว่าหลานได้กลายเป็นบุตรบุญธรรมของป้าแล้ว
2. ป้าบอกว่าไปหา Department of Family and Community Services (FACS) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่พิจารณาอนุมัติการรับบุตรบุญธรรมแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ไม่ยอมรับพิจารณา (เพราะหน่วยงานจะพิจารณาอนุมัติบุตรบุญธรรม ที่ไม่ใช่แบบญาติรับญาติมาเป็นบุตร) ป้าโต้เถียงว่า การที่ FACS ไม่ยอมรับเรื่องพิจารณาการรับบุตรบุญธรรมของป้า ป้าถือเป็นการอนุมัติบุตรบุญธรรมแล้วโดยปริยาย (???? ตรงนี้ คนเขียนงงๆนะคะ ว่าการไม่รับเรื่องไว้พิจารณา จะถือว่าเป็นการอนุมัติได้อย่างไร อาจจะมีรายละเอียดทางเอกสารมากกว่าที่เขียนไว้ในคำตัดสินเคสนี้นะคะ ถึงทำให้ป้าคิดแบบนี้)
- ศาลบอกว่าการที่ FACS ปฏิเสธที่จะพิจารณาเคสญาติรับญาติมาเป็นบุตรบุญธรรม จะมานัวๆว่ามีการอนุมัติได้ยังไง ต้องมีเอกสารอนุมัติที่ชัดเจนสิ
3. ป้าบอกว่าจริงๆแล้วป้าเป็นแม่บุญธรรมตามธรรมเนียมไทย (Customary/informal adoption) มานานแล้ว เพราะที่ประเทศไทยหลานมักจะอยู่ในความดูแลของปู่ย่าตายาย ในกรณีนี้นอกจากตายายแล้ว ป้าก็ช่วยดูแลและรับภาระทางการเงินส่งหลานเรียน ทำไม AAT (หน่วยรับอุทธรณ์แรก) ไม่ถามถึงจุดนี้ในวันพิจารณา และไม่ยอมพิจารณาในประเด็นนี้
- ศาลบอกว่า ถ้าคิดว่าประเด็นไหนสำคัญและอยากให้พิจารณา ป้ามีหน้าที่นำเสนอต่อ AAT นะคะ ... AAT ไม่ได้มีหน้าที่ๆจะต้องถามทุกอย่างที่ป้าอยากให้ถาม
- และถ้าป้าจะบอกว่า ป้าได้นำเสนอต่อ AAT แล้ว ว่าป้าเป็นแม่บุญธรรมตามธรรมเนียมไทยมานานแล้ว แต่ AAT กลับไม่เอามาพิจารณา ศาลบอกว่าไหนล่ะหลักฐานว่าได้นำเสนอต่อ AAT แล้ว ไม่เห็นเอามาแสดงต่อศาล (Federal Circuit Court) เลย ... อ้างลอยๆไม่ได้นะ
- และหลักฐานที่ศาลมีในเคสนี้ ก็ไม่มีชิ้นไหนเลยที่สื่อว่าได้มีการรับบุตรบุญธรรมกันมาก่อนแล้วจากประเทศไทย มีแต่เอกสารที่สื่อว่าป้าและสามีมาพยายามทำเรื่องรับบุตรบุญธรรมในประเทศออสเตรเลีย
... เคสอิมมิเกรชั่นเป็นเคสที่ว่ากันตามหลักฐาน และการพิสูจน์หลักฐานนะคะ
ไม่ว่าจะที่ชั้นอิมมิเกรชั่น ชั้นอุทธรณ์ที่ AAT
ชั้นอุทธรณ์ที่ Federal Circuit Court / Federal Court หรือ High court
หรือชั้นอื่นๆที่บางเคสเปิดโอกาสให้ไปได้
ศาลโน๊ตไว้ด้วยว่า เคสนี้จริงๆแล้วเป็นเคสที่ต้องยื่นแบบนอกประเทศเท่านั้น แต่ตัวหลานอยู่ในประเทศออสเตรเลียตอนยื่น (ซึ่งแค่จุดนี้จุดเดียวก็ไม่รอดแล้ว และ AAT จะไม่พิจารณาจุดอื่นเลยก็ได้)
คนเขียนโน๊ตว่าป้าและสามีไม่ได้แต่งทนายมาช่วยในเคส Federal Circuit Court (อาจจะมีคนช่วยอยู่เบื้องหลัง
รึเปล่า อันนี้ไม่แน่ใจ)
เคสบุตรบุญธรรมในกรณีที่ผู้ขอรับบุตรธรรมเป็นพีอาร์ หรือพลเมืองของออสเตรเลียไปแล้ว มีความซับซ้อนสูง และความเสี่ยงสูง ต้องใช้เวลาพิจารณากันนานเพราะข้อมูลเยอะ และต้องพิจารณากันเป็นเคสๆไปนะคะ
ปกติแล้วคนเขียนจะโพสที่มาของข้อมูล แต่เนื่องจากเคสนี้เป็นเคสคนไทย แหล่งข้อมูลระบุชื่อนามสกุลชัดเจน
ถึงแม้ว่าเคสนี้จะได้ตีพิมพ์ให้คนทั่วไปหาอ่านได้ และคนเขียนก็ไม่ได้มีหน้าที่รักษาความเป็นส่วนตัวให้กับป้าและหลานในเคสนี้ แต่ด้วยวัฒนธรรมไทยและเคารพในความเป็นส่วนตัวของป้าหลานคู่นี้ คนเขียนขอแจ้งแหล่งข้อมูลแค่ว่าเป็นคำตัดสินของ Federal Circuit Court ปี 2017
Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com