คนเขียนจะอัพเดทคำถาม - คำตอบเป็นระยะๆ - เรียงลำดับจากใหม่ไปเก่า จากบนลงล่าง
โพสนี้ยาวมาก คนเขียนขอจบแค่ June 2020 และตั้งแต่ July 2020 จะเป็นโพส Q & A สั้นๆแทนนะคะ
1. ผมทำเรื่องยื่น 457 เมื่อ 3/18 granted 10/18 ในเวลานั้นนายจ้างทำ Benchmark ให้ผมและกฎ Benchmark ก็ถูกยกเลิกไป ผมอยากสอบถามว่านายจ้างต้องจ่าย Training Nominate ต่อทุกปีไหมครับในขณะที่ยังคง sponsor 457 ผมอยู่เวลานี้เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย
2. จริงๆแล้ว วีซ่า186 ที่ต้องทำหลังจาก 457 นี่ จำเป็นที่จะต้องทำskill assessmentไหมครับ?
3. sponsor visa 457 สามารถเปลี่ยนนายจ้างระหว่างถือวีซ่าได้ไหมครับ? จะมีผลกับการทำวีซ่า186หรือเปล่า แล้วระหว่างถือวีซ่า186 สามารถเปลี่ยนนายจ้างได้ไหมครับ? อีกอย่างคือ ถ้าหากผมย้ายนายจ้างระหว่างที่ถือ457อยู่ จะต้องนับปีใหม่ไหมครับ? หรือว่าแค่ให้โดยรวมครบ3ปีก็มาสามารถทำ186ได้เลย
A: นี่เรียกว่าถามเล็กน้อยเหรอคะ ... ล้อเล่นค่ะ ยินดีตอบ จริงๆคนเขียนจำน้องได้ เพราะฉะนั้นดีใจด้วยที่ได้วีซ่ามาในที่สุด และฝากสวัสดีคุณแม่ด้วยนะคะ
1. ไม่ต้องค่ะ
2. ไม่ต้องค่ะ (แต่อิมมิเกรชั่นมีสิทธิ์ขอให้ทำ)
3. ถือ 457 อยู่ก็เปลี่ยนนายจ้างได้ นายจ้างใหม่ต้องมี Approved Nomination ก่อน น้องถึงจะเริ่มงานกับนายจ้างใหม่ได้ ถ้าเปลี่ยนนายจ้าง ปกติก็ต้องเริ่มนับ 3 ปีใหม่ค่ะ ถ้าเปลี่ยนนายจ้างเพราะบริษัทถูก take over หรือเปลี่ยน structure ของธุรกิจ ต้องเอาเคสมาดู อาจจะไม่ต้องเริ่มนับ 3 ปีใหม่ (คนเขียนทำมาแล้ว ผ่านไปได้ด้วยดี แบบเหนื่อยๆ)
ถือ 186 เปลี่ยนนายจ้างได้ไหม? คำถามยอดฮิต
- 186/187 สั้นๆคือวีซ่าที่ต้องทำงานกับนายจ้างอย่างน้อย 2 ปี หลังจาก 2 ปีก็ตามสบายค่ะ (ในส่วนของอิมมิเกรชั่น) แต่ในส่วนของกฏหมายแรงงานน้องก็ต้องดูว่าสัญญาจ้างงานกำหนดไว้ว่ายังไงด้วยนะคะ
- วีซ่า 187 มีเงื่อนไขติดมากับวีซ่าที่อิมมิเกรชั่นสามารถยกเลิกวีซ่าได้ถ้าไม่ทำงานกับนายจ้าง ส่วน 186 ไม่มีเงื่อนไขนั้น
- แต่อิมมิเกรชั่นก็ใช้กฏหมายข้ออื่นมายกเลิกวีซ่าได้ (ุถ้าจะทำ) ส่วนใหญ่จะเป็นกรณีที่เห็นได้ชัดว่าไม่ได้มีความตั้งใจที่จะทำงานกับนายจ้างอยู่แล้ว และเคส 186 ที่ถูกยกเลิกก็มีมาหลายปีแล้วนะคะ
- ถ้ามีเหตุผลสมควรในการต้องเปลี่ยนนายจ้างก็จัดไปค่ะ ถ้าวีซ่าจะถูกยกเลิก ก็เอาเหตุผลไปอธิบายให้อิมมิเกชั่นฟัง เช่นถูกไล่ออก หรือนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างตามที่ตกลงกัน เป็นต้น
- ถ้าอึดอัดกับนายจ้าง ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Skilled Visas ดูสิคะ มีหลายตัวเลย และอาชีพของน้องก็อยู่ใน Medium & Long term list (MLTSSL) ด้วย นับ points และต้องทำ skills assessment นะคะ
A: ไม่รับค่ะ ไม่รับสร้างเรื่องที่ไม่เป็นความจริง
คนเขียนทราบมาว่าบางคนคิดค่าบริการทำ Protection visa ให้น้องๆกันเป็นหมื่นเหรียญ บางคนก็หลายหมื่นเหรียญด้วยซ้ำ บอกแล้วบอกอีก บอกตรงนี้อีกรอบ คนไทยที่ได้ Protection visa มีน้อยมากๆ เคสคนไทยส่วนใหญ่ น้องเอาเงินไปทิ้งกับวีซ่าที่ตัวเองไม่มีโอกาสได้ แค่ซื้อเวลาเพื่อจะอยู่ที่ออสเตรเลีย พอเจอวีซ่าที่ต้องการยื่นจริงๆ เจ้า Protection visa ที่น้องเคยยื่นก็อาจจะมาสร้างปัญหาให้กับวีซ่าตัวใหม่ได้ เอาเงินนี้ไปยื่นวีซ่า (และถ้าจำเป็นก็ยื่นอุทธรณ์) กับวีซ่าที่เราน่าจะมีโอกาสได้ดีกว่านะคะ อย่าถูกหลอก หาข้อมูลเยอะๆ
A: จริงๆแล้วน้องถามมาอย่างสุภาพมากนะคะ คนเขียนตัดบางประโยคออกตามความเหมาะสม
ไม่จำเป็นต้องจบที่ออสเตรเลียค่ะ แต่ต้องจบจากสถานศึกษาและคอร์สที่ Accredited under the Washington Accord หรือที่ระบุไว้ในนี้ อายุและผลภาษาอังกฤษของน้องเข้าเงื่อนไขวีซ่านี้ แต่จากที่คนเขียนเช็คให้คร่าวๆ
มหาวิทยาลัยและคอร์สของน้องเหมือนจะไม่อยู่ในลิสสำหรับวีซ่านี้ (คนเขียนส่งลิงค์สำหรับประเทศที่น้องเรียนให้แล้วทางอีเมล์) เพื่อให้แน่ใจน้องลองเช็คเองอีกครั้งจากลิงค์ที่ให้ไว้ในนี้และทางอีเมล์นะคะ เชื่อว่าน้องจะหาข้อมูลที่ต้องการได้ค่ะ ถ้าต้องการให้คนเขียนดูให้ลึกกว่านี้หรือหาทางเลือกอื่นที่อาจจะมี รบกวนนัดปรึกษา ส่งเอกสารการศึกษาและ CV/Resume เป็นเคสที่ต้องใช้เวลาในการพิจารณาและคุยกันค่ะ
ป.ล. โพสนี้ ถามถึง Subclass 476 Skilled—Recognised Graduate visa เป็นวีซ่าชั่วคราว 18 เดือนสำหรับคนจบด้าน Engineering โดยเฉพาะเลยค่ะ ซึ่งบางคนก็สามารถต่อยอดไปเป็นพีอาร์ได้ เป็นวีซ่าที่น่าสนใจค่ะ
A: ขอบคุณที่อ่านเพจค่ะ เริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจวีซ่าที่ต้องการจะสมัคร ลองอ่านรายละเอียดของ Subclass 445 Dependent Child visa ดูนะคะ ลูกอายุ 20 แล้ว ต้องพิสูจน์ว่ายังพึ่งพาเราทางด้านการเงิน บางเคสก็ตรงไปตรงมา บางเคสก็น่าปวดหัว เมื่อลูกได้วีซ่านี้ ก็ทำเรื่องแจ้งอิมมิเกรชั่นขอเพิ่มลูกใน Partner visa ของเรา ต้องทำให้เรียบร้อยก่อนพีอาร์ Subclass 100 Permanent Partner visa ออกนะคะ ถ้าพีอาร์ออกก่อน ลูกก็ต้องหาวีซ่าอื่นยื่นแล้วค่ะ
ส่วนของ Partner visa เช็คใน Application form ตอนยื่นวีซ่า 309 ในหัวข้อการติดต่อสำหรับ "Second stage permanent visa" ว่าที่ใส่ไปเป็นอีเมล์ของตัวเองหรือของเอเจนต์ ถ้าเป็นอีเมล์ของเอเจนต์ และต้องการเปลี่ยนเป็นอีเมล์ของตัวเอง ก็ต้องแจ้งเปลี่ยนกับอิมมิเกรชั่นค่ะ
A: ไม่ใช่ครั้งแรกที่เจอคำถามนี้ คนเขียนชอบลูกความที่ proactive และใส่ใจเคสตัวเอง เพราะฉะนั้นจะโทรกี่ครั้งก็ได้ค่ะ ถ้าถามคำถามแล้วน้องสบายใจขึ้น เข้าใจเคสตัวเองได้มากขึ้น ส่งเอกสารให้คนเขียนได้ตรงประเด็นมากขึ้น ยินดีรับโทรศัพท์อย่างมาก ไม่คิดค่าบริการเพิ่ม และไม่ต้องนัดล่วงหน้า
A: ขอบคุณสำหรับความเกรงใจ แต่ไม่ต้องนัดล่วงหน้าค่ะ
ป.ล. น้องหมายถึงโพสนี้ของคนเขียน
สำหรับน้องๆ = สะดวกก็โทร (หรือโทรใหม่) | สำหรับคนเขียน = สะดวกก็รับ (หรือโทรกลับ)
A: สถานะการณ์ปกติอาจจะยากหน่อย สถานะการณ์ COVID-19 ตอนนี้มีความเป็นไปได้ค่ะ อย่าลืมเขียนคำอธิบายว่าทำไมถึงขอวีซ่านี้ประกอบไปด้วยนะคะ หรืออาจจะลองเช็ควีซ่า 408 เทียบกันดูนะคะ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่มีความเป็นไปได้ เมื่อยื่นใบสมัครแล้วก็จะได้ Bridging visa มาค่ะ คืออยู่ต่อได้อย่างไม่ผิดกฏหมายในระหว่างรอการพิจารณาและรอตั๋วกลับไทย
A: ถ้ายื่น Partner visa ก่อนวีซ่าท่องเที่ยวหมด โดยปกติน้องก็จะได้รับ Acknowledgement letter & Bridging visa grant letter นะคะ พอวีซ่าท่องเที่ยวหมด น้องก็ถือ Bridging visa โดยอัตโนมัติ อิมมิเกรชั่นจะไม่ส่งเอกสาร Bridging visa มาให้อีกรอบ
วิธีเช็ค
1. หาอีเมล์ Bridging visa grant letter (ส่วนใหญ่จะมาวันที่เรายื่น Partner visa หรือวันถัดไป)
2. เช็ค VEVO ซึ่งควรจะขึ้นว่าตอนนี้น้องถือวีซ่า Subclass 010 - Bridging visa A
3. ถ้าหา Bridging visa grant letter ไม่เจอ หรือ VEVO ขึ้น Error แถบแดง โทรกลับมาหาคนเขียนใหม่ค่ะ ต้องมาดูแล้วว่าทำอะไรพลาด และปัญหาอยู่ตรงไหน
เอกสารความสัมพันธ์ก็ทยอยยื่นเข้าไปค่ะ ไม่ต้องรออิมมิเกรชั่นขอก่อนแล้วค่อยยื่น
A: ไม่ทำยังไงค่ะ รอต่อไป เดี๋ยวก็ถึงคิวเรา
AAT ก็ทำตามนโยบาย COVID-19 ของรัฐบาล และพยายามทำ Hearing ที่ทำได้ทางโทรศัพท์และก็ทาง Video Conference เคสต่างๆก็ต้องมีความล่าช้ามากขึ้นเป็นธรรมดา คนเขียนก็มีหลายเคสในมือที่ใกล้ 2 ปี และ 2ปี+
A: แล้วคนเขียนจะทราบไหม ไม่ได้เข้าไปนั่งฟังด้วยนิ น้องก็ไปถามคนที่ให้คำแนะนำสิคะ
โอเค ไม่กวนแล้ว ตอบจริงๆก็ได้ ........................................ ถ้าแนะนำว่ายื่นที่ไทยจะได้วีซ่าง่ายกว่า อันนี้เป็นไปได้ และส่วนใหญ่ก็ใช่ซะด้วย แต่ถ้าแนะนำว่าเคส Section 48 ยื่นที่ออสเตรเลียไม่ได้ ต้องกลับไปยื่นที่ไทยเท่านั้น อันนี้ไม่ใช่แล้ว (ยืนยัน เพราะทำเคส Section 48 ยื่นที่ออสเตรเลียมาหลายเคสแล้ว)
เคสติด Section 48 แล้วกลับไปยื่นที่ไทย ก็คือเคส Partner visa แบบปกตินั่นแหละค่ะ เพราะ Section 48 ไม่ได้มีผลอะไรกับการยื่นแบบนอกประเทศออสเตรเลีย และเอาตรงๆมันง่ายกว่าสำหรับคนทำงานด้วย แต่พอเป็นเคส Section 48 ยื่นในออสเตรเลียปุ๊บ กลายเป็นเคสยากขึ้นมาเลย เอเจนต์บางคนก็ไม่อยากทำเคสแบบนี้ เครียดกว่า ใช้เวลาการทำงานเยอะกว่า ต้องละเอียด ต้องทำ Research ต้องทำ Submission นำเสนอเคสให้ลูกความ ความเสี่ยงก็สูงกว่า ...... แต่ถ้าบอกลูกความว่าทำไม่ได้ เพราะตัวเองไม่อยากทำ คนเขียนว่าไม่แฟร์นะ ชีวิตของน้อง น้องต้องมีสิทธิ์เลือก
บางเคสก็ชัดเจนนะคะว่าถ้ายื่นที่ออสเตรเลียคือไม่ผ่าน ก็ต้องแนะนำให้ยื่นที่ไทย; บางเคสก็มีลุ้นค่ะ เคสแบบนี้คนเขียนจะให้ข้อดีข้อเสียของการยื่นที่ไทย vs ยื่นที่ออสเตรเลีย รับได้แบบไหน บอกมาคนเขียนจัดให้; บางเคส เมื่อเอาปัจจัยหลายๆอย่างมาพิจารณาประกอบกันแล้ว (Strategically) เสี่ยงยื่นที่ออสเตรเลียดีกว่าและให้ประโยชน์มากกว่า หรือบางเคสออกไปแล้วอาจจะไปแล้วไปลับไม่กลับมา What?!!!! .... ใช่แล้ว .... เพราะฉะนั้นไม่ใช่ทุกเคสที่ควรจะกลับไปยื่นที่ไทย
.... สงสัยว่าทำไมช่วงนี้มีคนถามประเด็น Section 48 กับ Partner visa มาเยอะมาก อาจจะเพราะสถานการณ์ COVID-19 รึเปล่า ถ้ายังไม่เข้าใจก็ย้อนกลับไปอ่านโพส Partner visa เก่าๆของคนเขียนด้วย หรือจะโทรมาใช้บริการ 5 นาที Free Advice ก็ได้ (แต่บอกตามตรงว่าเคส Section 48 และต้องการจะยื่นที่ออสเตรเลีย 5 นาทีไม่พอ เคสแบบนี้โทรมาคุยกันเบื้องต้นและนัดทำคอนซัลค่ะ)
A: ถ้าเช็คใน VEVO แล้ว ยังขึ้นว่าถือ 457 อยู่ ก็คือยังไม่ถูกยกเลิกค่ะ
ถ้าถูกยกเลิก หรือไม่มีวีซ่า VEVO ก็จะไม่ขึ้นเลขวีซ่านะคะ จะขึ้นแถบแดงว่ามี Error เกิดขึ้น ก่อนจะตกใจว่าเราไม่ถือวีซ่าแล้ว เช็คก่อนว่าพิมพ์ข้อมูลส่วนตัวถูกต้องหรือไม่ พิมพ์วันเกิดหรือพาสปอร์ตผิดก็ขึ้น Error นะคะ
สำหรับน้อง เกิน 60 วันแล้ว ถ้าหานายจ้างได้ต้องรีบยื่นเอกสาร ถ้าหาไม่ได้ ก็ควรจะต้องสมัครวีซ่าอื่นที่เหมาะสม หรือเดินทางออกจากประเทศออสเตรเลียนะคะ
A: ยื่นได้ค่ะ จะติด Section 48 บาร์ จากการถูกปฏิเสธ หรือถูกยกเลิกวีซ่า หรือจะ Overstay วีซ่า ก็สามารถยื่น Partner visa ในประเทศออสเตรเลียได้ค่ะ แต่โน๊ตนะคะว่ายื่นได้ ไม่ได้แปลว่าจะได้วีซ่าเสมอไปนะคะ เป็นเคสที่ต้องคุยกันยาวค่ะ และต้องยอมรับความเสี่ยงได้
ลักษณะการยื่น และเงื่อนไขการได้วีซ่าสำหรับเคส Section 48 หรือเคส Overstay ค่อนข้างซับซ้อน คือต้องมีการพิจารณาว่าเคสมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ไม่ง่าย แต่เคสที่ผ่านมาแล้วก็เยอะค่ะ เคสแชร์ประสบการณ์ Partner visa และเคส Partner visa ที่คนเขียนกล่าวถึงในโพสนี้ หรือโพสอื่นๆ ที่ลูกความได้วีซ่า ส่วนใหญ่ก็เป็นเคสเคยถูกยกเลิกวีซ่ามาก่อนนะคะ ไม่ใช่แค่ Overstay เฉยๆ เพียงแต่คนเขียนใช้คำว่าเคสไม่ถือวีซ่า เพราะตอนยื่นลูกความไม่ถือวีซ่าเท่านั้นเอง (การไม่ถือวีซ่า ก็มีที่มาแตกต่างกันไป)
เคส Partner visa ที่คนเขียนทำ มีทั้งเคสถือวีซ่าปกติ เคสถือวีซ่าติดปัญหาอื่นเช่น Health / Character / Sponsor ที่เคยสปอนเซอร์มาก่อนหรือสปอนเซอร์เกิน 2 คนแล้ว เคสวีซ่าขาด เคสถูกปฏิเสธวีซ่า เคสวีซ่าถูกยกเลิก รวมถึงเคสยำใหญ่ (ปัญหาหลายๆอย่างมารวมกัน เหนื่อยแต่สนุก ลูกความคงไม่สนุกด้วย แต่อย่างน้อยคนเขียนก็รับทำเคสละกัน)
A: สำหรับ Partner visa เอกสาร Police checks ยื่นตามหลังได้ค่ะ จะรออิมมิเกรชั่นขอ หรือไม่รอก็ได้
ถ้าผู้สมัครหรือสปอนเซอร์มีประวัติคดีอาญาหรือคิดว่าอาจจะมี ควรหาคำแนะนำที่ถูกต้องก่อนการยื่นใบสมัคร และถ้าเป็นไปได้ควรมี Police checks ก่อนยื่นนะคะ
เอกสารความสัมพันธ์สามารถยื่นเพิ่มเติมระหว่างรอการพิจารณาได้ค่ะ ไม่ต้องรออิมมิเกรชั่นขอนะคะ เพราะอิมมิเกรชั่นอาจจะปฏิเสธเลยโดยไม่ขอเอกสารความสัมพันธ์เพิ่มเติม (ถ้าตอนพิจารณาเคส เอกสารพิสูจน์ความสัมพันธ์ยังไม่เพียงพอ)
A: ในกรณีนี้คิดว่าจะต่อ 482 ถ้าเป็นอาชีพที่อยู่ใน Short term list ระวังเรื่อง Genuine Temporary Entry (GTE) ด้วยนะคะ
457 ในอดีตไม่ได้ต้องการ IELTS 6 ทุก Part นะคะ เข้าใจผิดหรือพิมพ์ผิดไม่แน่ใจ
482 Short term stream ใช้ผล IELTS 4.5 ทุก Part และ Overall 5
482 Medium term stream ใช้ผล IELTS 5 ทุก Part
นอกจาก IELTS แล้ว ผลสอบ TOFEL iBT, PTE Academic, Cambridge C1 Advanced test และ OET ก็ใช้ได้ค่ะ
482 ยังใช้ผลการเรียนเป็นภาษาอังกฤษ 5 ปีในระดับ Secondary or Higher education เป็นข้อยกเว้นภาษาอังกฤษได้นะคะ
A: ยังไม่ได้ค่ะ ต้องพิสูจน์ว่ามี Taxable income เท่ากับหรือมากกว่า Income threshold 4 ปีก่อนการยื่นใบสมัคร (ซึ่ง Income threshold = $53,900 ตั้งแต่ปี 2013-14 แต่ในอนาคตอาจจะไม่ใช่เรทนี้)
ใครสงสัยว่าคำถามนี้หมายถึงวีซ่าตัวไหน คำตอบคือ วีซ่า 189 New Zealand Stream
A: ห้ามหยุดงานเกิน 60 วันที่น้องพูดถึง คือเงื่อนไข 8607 ซึ่งติดมากับวีซ่า 482 (เฉพาะคนถือวีซ่าหลัก) ซึ่งไม่ได้หมายถึงหยุดงานเพราะป่วยนะคะ
Keywords ของเงื่อนไข 8607 คือ "cease employment" ซึ่งหมายถึงการหมดสถานะการเป็นลูกจ้าง เช่นการถูกเลิกจ้าง หรือการลาออกจากงาน ซึ่งคนถือวีซ่านี้จะต้องหานายจ้างใหม่ที่พร้อมจะสปอนเซอร์เราภายใน 60 วัน
การลาป่วยไม่ใช่ cease employment คือน้องไม่ได้หมดสถานะการเป็นลูกจ้าง เพราะฉะนั้นไม่ได้ทำผิดเงื่อนไข 8607 นะคะ แต่ถ้าลาป่วยนานจนถูกเลิกจ้าง อันนี้อีกเรื่องนึง (ก็เริ่มนับ 60 วันได้เลยค่ะ)
A: ยื่นได้ค่ะ ถ้ายื่นไม่เกิน 28 วันหลังวีซ่านักเรียนเดิมหมดอายุ แต่ทำได้แค่หนเดียวเท่านั้นนะคะ
ถ้าเคยได้วีซ่านักเรียนจากการยื่นหลังจากที่วีซ่านักเรียนเดิมหมดอายุมาแล้ว ก็หมดสิทธิ์ค่ะ
ป.ล. ยื่นได้ คืออิมมิเกรชั่นสามารถรับเรื่องได้ ...... แต่ยื่นได้ ไม่ได้แปลว่าจะได้วีซ่านะคะ มันคนละเรื่องกัน
เช่น ถ้าอิมมิเกรชั่นเห็นว่าไม่ได้มีความตั้งใจที่จะเป็นนักเรียนจริงๆ ก็สามารถปฏิเสธวีซ่าได้ค่ะ
เมื่อปี 2017 เคยยื่นวีซ่า นร ของออสเตรเลียจากประเทศไทย แต่ไม่ผ่านค่ะ เลยไปเรียนโทที่ประเทศอื่นแทน จะเรียนจบปีนี้ค่ะ หลังจากเรียนจบมีความสนใจอยากจะยื่นเทรนนิ่งวีซ่า 407 ค่ะ ได้เข้าไปอ่านในเว็บไซต์ของอิมมิเกรชั่นออสเตรเลียแล้วมีข้อสงสัยตรงนี้ค่ะ
ข้อความตรงนี้คือ หมายถึงคนที่เคยโดนปฏิเสธวีซ่าจากการยื่นภายในประเทศออสเตรเลียห้ามสมัครวีซ่าตัวนี้ถูกไหมคะ
A: ข้อความที่ตัดมาให้อ่าน คือมีหลายปัจจัยด้วยกันที่ประวัติการถูกยกเลิกหรือถูกปฏิเสธวีซ่า จะมีผลกับการยื่นวีซ่าครั้งต่อไป ถ้าให้อธิบายทุกแบบคงยาวมาก คนเขียนคงต้องหาเวลาเขียนเป็นโพสเลย ยังไงลองอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจากลิงค์ Check if visa cancellation affects your eligibility นะคะ
ถ้าประวัติของน้องมีอยู่เท่าที่ให้มา คือเคยมีการถูกปฏิเสธวีซ่านักเรียนที่ยื่นที่ไทยหนึ่งครั้ง (ไม่มีอะไรนอกเหนือ) ถ้าสาเหตุการถูกปฏิเสธไม่ได้มาจากการยื่นเอกสารปลอมหรือให้ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง ก็ไม่น่าจะติดข้อห้ามอะไรในการยื่นวีซ่าตัวถัดไป
ถ้ามีประวัติมากกว่านี้ เช่นเคยอยู่เป็นผี overstayed visa มาก่อน เคยถูกยกเลิกวีซ่า ก็อาจจะมีปัญหาในการยื่นวีซ่าตัวถัดไปค่ะ
A: ถ้ากลับไทยไม่เกิน 28วันนับแต่วีซ่าท่องเที่ยวหมดอายุ ก็ไม่ติดบาร์ค่ะ แต่ประวัติการอยู่เกินเวลา ก็คาดว่าจะมีผลกับการพิจารณา เจ้าหน้าที่ก็ต้องมาพิจารณาและชั่งน้ำหนักเอาว่าจุดประสงค์จะมาท่องเที่ยว/มาเยี่ยมจริงหรือไม่ และถ้าอนุญาติให้เข้าออสเตรเลียแล้ว จะกลับออกไปหรือไม่
A: Post study work steam มีเงื่อนไขว่าวีซ่านักเรียนที่สมัครและได้รับเป็นตัวแรกจะต้องเป็นตั้งแต่วัน 5 November 2011 เป็นต้นไป (This stream is only available if you applied for, and were granted, your first student visa to Australia on or after 5 November 2011. If you held your first student visa prior to this date, even as a child on your parent’s student visa, then you will not be eligible to apply for this stream.)
ถ้าน้องมาเรียน 10 วีค เดือน March 2011 ด้วยวีซ่านักเรียน ก็จะติดเงื่อนไขนี้ค่ะ น้องคงต้องลองดูเงื่อนไขของ Graduate Work Stream ว่ามีความเป็นไปได้หรือเปล่า
ถ้าตอนนั้นมาด้วยวีซ่าท่องเที่ยว ก็ไม่มีผลกระทบ เพราะไม่ใช่วีซ่านักเรียน
รบกวนด้วยนะคะ
A: เมื่อยื่นขอ PR ก็จะได้ Bridging visa A (BVA) ค่ะ แต่ BVA จะยังไม่มีผลเพราะน้องยังถือ 457 ถึง DD/MM/2020
ถ้ากลับไทยก่อนที่ 457 จะหมดอายุ ไม่ต้องขอ BVB (คือเข้าออกด้วยวีซ่า 457)
หลังจาก 457 หมดอายุ (ถ้ายังรอผล PR อยู่) น้องก็จะเข้ามาอยู่ใน BVA ก่อนออกนอกประเทศก็ต้องขอ BVB
การยื่นพีอาร์ไม่ได้ทำให้วีซ่าตัวเดิมถูกยกเลิกค่ะ
A: ลองหานายจ้างใหม่ดูค่ะ มีเวลา 60 วันก่อนที่อิมมิเกรชั่นจะพิจารณาว่าจะยกเลิกวีซ่าเราหรือไม่
ถ้า 457 ได้มาก่อนวันที่ 19 Nov 16 เปลี่ยนจาก 60 เป็น 90 วัน
หานายจ้างใหม่ได้แล้ว เริ่มงานใหม่เลยไม่ได้นะคะ ต้องรอให้นายจ้างใหม่ได้ Approved Nomination ก่อน
ถ้ามีวีซ่าอื่นที่อาจจะเหมาะสมกว่า ก็ควรจะรีบยื่นโดยเร็ว เพราะถ้าวีซ่าที่ถืออยู่ถูกยกเลิกก่อน อาจจะทำให้ยื่นไม่ได้
A: จากข้อมูลที่ให้มา ก็ควรจะทำงานได้ค่ะ
และแนะนำให้น้องเช็ค VEVO ด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าวีซ่าที่ถืออยู่ไม่มี Condition: 'No Work' ติดอยู่
A: ไม่ต้องแล้วค่ะ - นับจากวันที่ 12 สิงหาคม 2018 นายจ้างไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่า Training Benchmarks อีกต่อไป เพราะมีการปรับใช้ Skilling Australians Fund (SAF) levy หรือ Nomination Training Contribution Charge (NTCC) ซึ่งเป็นการชำระเป็นเงินก้อนตอนยื่น Nomination แทน (รายละเอียดที่นี่ค่ะ)
นายจ้างที่มีหน้าที่ต้องทำ Training Benchmarks ตามกฏเก่า ก่อนหน้าที่จะมีการยกเลิกในวันที่ 12 สิงหาคม 2018 ก็ยังคงต้องเก็บหลักฐานการทำ Training ไว้นะคะ
A: ไม่ได้ค่ะ ผลภาษาอังกฤษสำหรับวีซ่า 186 & 187 ต้องเป็นผลของการสอบก่อนการยื่นใบสมัคร
A: ถ้าวีซ่าท่องเที่ยวติด Condition 8503 "No further stay" ก็ยื่นวีซ่าคู่ครองที่ออสเตรเลียไม่ได้ค่ะ (เว้นแต่จะมีการขอยกเว้น Condition 8503 และอิมมิเกรชั่นได้อนุมัติแล้วก่อนการยื่นวีซ่าคู่ครอง)
ถ้าวีซ่าท่องเที่ยวไม่ติด Condition 8503 ก็สามารถยื่นวีซ่าคู่ครองในประเทศออสเตรเลียได้ค่ะ (ยื่นในระหว่างที่ถือวีซ่าท่องเที่ยวด้วยนะคะ ไม่ใช่อยู่เกินวีซ่าแล้วค่อยยื่น ปัญหาใหญ่จะตามมา) และเมื่อได้ยื่นวีซ่าคู่ครองแล้วก็จะได้ Bridging visa (วีซ่ารอ) เพื่อที่จะอยู่รอผลการพิจารณาวีซ่าคู่ครองที่ออสเตรเลีย โดยไม่ต้องกลับออกไปหรือไปๆมาๆทุก 3 เดือน
แล้วจะทราบได้ยังไงว่าวีซ่าท่องเที่ยวที่ให้อยู่ได้ 3 เดือน จะหมดวันที่เท่าไหร่ ----- เช็ค VEVO ค่ะ
A: ถ้าวีซ่าท่องเที่ยวหมดอายุแล้วไม่กลับออกไป ก็จะเปลี่ยนมาถือ Bridging visa
ถ้าวีซ่านักเรียนออก วีซ่านักเรียนก็จะมาแทนวีซ่าท่องเที่ยวค่ะ
A: ถ้าเหตุผลดี หลักฐานดี วีซ่า 400 ก็มีโอกาสผ่านค่ะ
ถ้าวีซ่า 400 ถูกปฏิเสธ และถือ bridging visa อาจจะติด Section 48 Bar ทำให้ยื่นวีซ่า 189 ในประเทศออสเตรเลียไม่ได้ แต่ก็ยังยื่นแบบนอกประเทศได้
คือ ทางนายจ้างจะขอวีซ่า TSS ให้เพื่อทำงานในออสเตรเลียเป็นเวลาประมาณ 1 ปีค่ะ ทำหน้าที่ programmer ค่ะ ตัวดิฉันเองต้องการจะยื่นขอวีซ่า 189 ด้วยตัวเองด้วยค่ะ เลยอยากทราบว่า ถ้าเราถือ TSS หรือ เคยถือ TSS จะมีปัญหาในการยื่นขอ 189 ไหมคะ แล้ว ถ้าทำงานในออสเตรเลีย ครบ 1 ปี ด้วย TSS visa จะสามารถ add 5 points ในการขอ 189 ไหมคะ
A: ถือ TSS หรือ เคยถือ TSS ไม่มีปัญหาในการยื่นขอ 189 ค่ะ
ทำงานในออสเตรเลีย ครบ 1 ปี ด้วย TSS visa จะสามารถ add 5 points ในการขอ 189 ได้ค่ะ แต่ Points รวม
ของประสบการณ์การทำงานทั้งหมด (ไม่ว่าจะในหรือนอกประเทศออสเตรเลีย) จะได้มากสุดไม่เกิน 20 points
1. จริงๆแล้วใครสมควรต้องเป็นเป็นคนรับผิดชอบ? เพราะเราไปคุยกับเขาเองว่าอยากย้ายมาร้านนี้ แล้วเขาเองก็ต้อง
การคนทำงานด้วย เหมือนจะ win-win ทั้งสองฝ่ายแต่ก็รู้ว่ามันไม่ใช่คับ
2. การทำ transfer มา จริงๆแล้ว มีค่าใช้จ่ายมั้ยคับ
A: 1. ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ถามมา นายจ้างมีหน้าที่จ่ายค่ะ
2. ในกรณีที่ถามมา มีค่าใช้จ่ายเฉพาะส่วนของนายจ้างค่ะ
ค่า adv (???) - ถ้าหมายถึงค่าโฆษณา Labour Market Testing (LMT) ต้องดูด้วยว่าเข้าข้อยกเว้นหรือไม่ กฏหมายปัจจุบัน การ Nominate ลูกจ้างที่ถือพาสปอร์ตไทย นายจ้างไม่จำเป็นต้องทำ LMT
1. อีกกี่ปีถึงจะขอยื่นพีอาร์ได้ ยึดตามกฎใหม่ 3 ปี หรือ กฎเก่า 2 ปีคับ
2. ตอนขอ 457 ผมสอบไอเอลได้ 5.5 แต่อยากทราบว่าตอนขอพีอาร์ ต้องสอบไอเอลใหม่มั้ยคับ เพราะตามกฎใหม่
ต้องให้ได้ 6
A: 1. ยังไม่ทราบแน่ชัดนะคะ ต้องรออิมมิเกรชั่นประกาศอีกที
2. กฏใหม่ที่ว่า คือกฏปัจจุบันแล้วค่ะ IELTS ต้องได้ 6 ทุกพาร์ท (อิมมิเกรชั่นรับผลสอบอื่นด้วยนะคะ ลองไล่
อ่านด้านล่าง)
A: อยู่ได้จนกว่าอิมมิเกรชั่นจะพิจารณาออกวีซ่าให้ ถ้าถูกปฏิเสธวีซ่า ก็จะถือ Bridging visa ต่อไปอีก 28 หรือ 35 วัน (แล้วแต่ว่า Bridging visa ที่ถืออยู่ออกให้ก่อนหรือหลังวันที่ 19 พฤศจิกายน 2016) แนะนำให้เช็ค VEVO ค่ะ ก็จะทราบว่า Bridging visa หมดเมื่อไหร่ ถ้ามีการยื่นอุทธรณ์ไปที่ AAT Bridging visa ก็จะยืดออกไป
A: Web Administrator ตอนนี้อยู่ใน STSOL ไม่ว่าจะขอวีซ่า 457 หรือ TSS ก็จะได้วีซ่าระยะเวลา 2 ปี
จากข้อมูลที่มี ณ เวลานี้ วีซ่า TSS ในสาขาอาชีพใน STSOL ไม่สามารถต่อยอดไปเป็นพีอาร์ได้
ส่วนคนที่ถือวีซ่า 457 จะต่อยอดไปเป็นพีอาร์ได้หรือไม่หลังกฏเปลี่ยนเดือนมีนาคม 2018 อิมมิเกรชั่นเกริ่นๆว่าจะมี Transitional provisions ส่วนเงื่อนไขจะเป็นยังไง ตอนนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด คาดว่าจะทราบประมาณเดือนธันวาคม
ในกรณีที่ขอวีซ่า 457 หรือ TSS แล้วไม่ผ่าน และวีซ่านักเรียนยังไม่หมดอายุ น้องก็ยังคงอยู่ในประเทศออสเตรเลียได้ด้วยวีซ่านักเรียนค่ะ
A: คิดว่าน่าจะได้ค่ะ ปกติแล้วอิมมิเกรชั่นไม่ค่อยปฏิเสธ Bridging visa B นะคะ อิมมิเกรชั่นแจ้งว่าควรขอล่วงหน้าระหว่าง 2 อาทิตย์ ถึง 3 เดือน ส่วนตัวคิดว่าล่วงหน้า 4 อาทิตย์กำลังดี กลับมาแล้วก็ถือ Bridging visa B ต่อไปค่ะ
ส่วนจะออกไปนอกออสเตรเลียได้อีกหรือไม่ หรือต้องขอ Bridging visa B ตัวใหม่ก่อนออกไป ดูวันที่ที่ระบุไว้ตรง Must not arrive after ถ้าคิดว่าออกไปแล้วจะกลับเข้ามาหลังวันที่ที่ระบุไว้ ก็ต้องขอใหม่ก่อนออกไปนะคะ
A: ยื่นอุทธรณ์ก็จะได้อยู่ที่ออสเตรเลียต่อในระหว่างรอผลอุทธรณ์ ถ้าสามารถโชว์หลักฐานการเงินตามที่อิมมิเกรชั่นกำหนดได้ อุทธรณ์ก็น่าจะผ่าน ระยะเวลาการรอ +/- 1 ปี กลับไทยแล้วค่อยยื่นมาใหม่จะเร็วกว่า เคสที่กลับไปเรื่องหลักฐานการเงิน และได้วีซ่ากลับมาอย่างรวดเร็วก็มีนะคะ แต่ก็มีความเสี่ยง เพราะถ้าอิมมิเกรชั่นปฏิเสธวีซ่าจะด้วยเหตุผลทางการเงินหรือเหตุผลอื่น เช่นไม่เชื่อว่าเราต้องการเป็นนักเรียนจริง ก็อาจจะไม่ได้กลับมา วีซ่านักเรียนยื่นแบบนอกประเทศจะไม่มีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์ไปที่ AAT นะคะ ต้องยื่นใหม่อย่างเดียว นอกจากจะพิสูจน์ได้ว่าการปฏิเสธของอิมมิเกรชั่นมีข้อผิดพลาดทางกฏหมาย ก็มีโอกาสยื่นอุทธรณ์ไปที่ศาล แต่ค่าใช้จ่ายสูงและรอผลการพิจารณานานค่ะ
A: ข้อมูล ณ เวลานี้ อิมมิเกรชั่นระบุไว้ว่า ควรขอล่วงหน้าอย่างน้อย 2 อาทิตย์ แต่ไม่เกิน 3 เดือน (คนเขียนคิดว่าขอล่วงหน้าอย่างน้อย 4 อาทิตย์ กำลังดีค่ะ) - ในจดหมายอนุมัติ Bridging visa B จะมี Must not arrive after "วันที่" เอาไว้ ก็ต้องกลับเข้ามาในประเทศออสเตรเลียภายในวันที่ๆระบุไว้
A: ไม่ได้ค่ะ ผลภาษาอังกฤษที่ใช้ได้ จะต้องมาจากการสอบก่อนการยื่นขอวีซ่า 485 และมีอายุไม่เกิน 3 ปี
A: ไม่ต้องรอ และไม่ต้องขอค่ะ หลังจากที่ยื่นอุทธรณ์แล้ว ทาง AAT และอิมมิเกรชั่นจะติดต่อกันเองค่ะ และ Bridging visa A ตัวเดิมที่ถืออยู่ ก็จะมีการอัพเดท โดยเปลี่ยน ฺฺBridging visa A ที่มีวันหมดอายุ เป็น indefinite แบบไม่มีวันหมดอายุ (เพื่อรอการพิจารณาในชั้นอุทธรณ์)
A: เดือนมีนาคม 2018 วีซ่า 457 จะถูกยกเลิก และจะมีการปรับใช้วีซ่าตัวใหม่แทน คือวีซ่า Temporary Skills Shortage (TSS)
A: เป็นเรื่องเฉพาะตัวของน้องสาว คาดว่าจะไม่มีผลกระทบกับวีซ่าของพี่สาว เพราะอิมมิเกรชั่นพิจารณาวีซ่ากันเป็นรายบุคคลค่ะ
A: เดี๋ยวนี้ไม่ได้มีแค่ IELTS แล้วนะคะ มี PTE Academic, TOEFL iBT, CAE และ OET (อันนี้สำหรับ Healthcare workers เช่นหมอ พยาบาล)
ถ้าสอบ IELTS ไม่ได้ผลที่ต้องการซะที ก็อาจจะลองเปลี่ยนมาสอบอย่างอื่นดูนะคะ เข้าคอร์สติวเข้มก็อาจจะช่วยได้ คอร์สติวเข้มส่วนใหญ่ไม่ได้สอนแกรมม่านะคะ สอนเทคนิคการทำข้อสอบ สอนการใช้เวลา (ที่มีอยู่อย่างจำกัดในการทำข้อสอบ) ให้เป็นประโยชน์สูงสุด เช่นแต่ละข้อควรใช้เวลากี่นาที เป็นต้น
อีกอย่างที่จะช่วยได้ คือการเอาตัวเองไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่บังคับให้เราต้องใช้ภาษาอังกฤษ เช่นคลุกคลีกกับเพื่อนต่างชาติ ทำงานที่ต้องสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ อ่านนิยาย/หนังสือพิมพ์ที่เป็นภาษาอังกฤษ ฟังวิทยุ/ฟังเพลงเป็นภาษาอังกฤษ ฝึกสำเนียงโดยการพูดตามนักอ่านข่าวในทีวี พูดกับเพื่อนคนไทยเป็นภาษาอังกฤษก็ได้ อยู่ที่ไหนก็พัฒนาตัวเองได้ ถ้าอยากจะทำ
Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com