เคสนี้น้องติดต่อมาหาคนเขียนหลังจากที่วีซ่า 485 ถูกปฏิเสธไปเรียบร้อยแล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่าน้องไม่ได้ยื่นใบสมัครภายใน 6 เดือนนับจากที่เรียนจบ
เคสนี้ลูกจ้างนัดปรึกษาเมื่อปลายปี 2023 ถือ Work and Holiday visa ต้องการทำวีซ่า 482 กับนายจ้างคนปัจจุบัน
สรุปได้ว่า
ลูกจ้างไม่อยากเรียน และนายจ้างก็ต้องการคนทำงาน full-time ไม่ใช่ part-time โอเคที่จะรับความเสี่ยงยื่นเดือนมีนาคมก่อนวีซ่าหมด แต่ถามว่าจะแก้ปัญหาที่กำลังจะทำงานกับนายจ้างครบ 6 เดือนตอนธันวาคมยังไง แล้วถ้าย้ายไปทำงานที่อื่นแล้ว นายจ้างนี้จะสปอนเซอร์ได้ไหม (ได้) ประสบการณ์การทำงานกับที่อื่นจะนับได้ไหม (ได้ ถ้าเหมาะสม) คนเขียนต้องนัดเวลาสัมภาษณ์นายจ้าง เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหา 6 เดือนที่ว่า และดูว่า Nomination จะใช่ Customer Service Manager แน่ๆไหม แอบหวังว่าจะเป็นอาชีพอื่นที่เหมาะสมกว่า ได้ความว่านายจ้างเป็นธุรกิจที่มีการจัดตั้งค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งก็ทำให้ต้องระวังประเด็นอื่นตอนยื่น step 1 Standard Business Sponsorship และ Step 2 Nomination แต่ในความซับซ้อนนี้เอง ก็ทำให้คนเขียนหาทางให้ลูกความทำงานกับนายจ้างต่อไปได้ โดยไม่ผิดเงื่อนไขวีซ่า แต่ที่แก้ไขไม่ได้และต้องลุยไปข้างหน้าคืออาชีพ Customer Service Manager ซึ่งทั้งนายจ้างและคนเขียนเห็นตรงกันว่าตรงกับเนื้องานของลูกความที่สุด แต่นายจ้างก็ต้องเข้าใจความเสี่ยงที่ Nomination จะถูกปฏิเสธด้วย อาชีพนี้มีข้อจำกัด (Caveats) อยู่ 3 ข้อ 1. เงินเดือนต้องเกิน $65,000 2. เงินหมุนเวียนของบริษัทต้องไม่ต่ำกว่า $1mil 3. ต้องไม่ใช่ Low skilled tasks สองข้อแรกไม่ใช่ปัญหา วัดกันได้ง่าย ที่ไม่ง่ายคือข้อ 3. ซึ่งเป็นเหตุให้อาชีพนี้ถูกปฏิเสธกันเยอะ เหตุผลหลักๆคืออิมมิเกรชั่นมองว่าเนื้องานที่จะทำไม่ใช่อาชีพ Customer Service Manager แต่เป็นอาชีพอื่นที่ low skilled และไม่ได้อยู่ในลิสที่จะสปอนเซอร์ได้ หรือต่อให้เป็นอาชีพที่อยู่ในลิส แต่ถ้าเลือกอาชีพในใบสมัครไม่ถูกต้อง เคสก็ไม่ผ่านอยู่ดี คนเขียนให้คำแนะนำว่าควรจะทำอย่างไรให้เคสมีโอกาสมากขึ้น นายจ้างกระตือรือร้นรับคำแนะนำและจะทำตาม เข้าใจความเสี่ยง จะใช้บริการ แต่ขอไปคุยกันภายในก่อนเพื่อขออนุมัติ คนเขียนขอให้เริ่มงานอย่างน้อย 8 อาทิตย์ก่อนวีซ่าหมด เคสก็ยากอยู่แล้ว ถ้าต้องรีบๆทำ โอกาสพลาดก็สูงขึ้น 6 อาทิตย์ก่อนวีซ่าหมด ลูกความติดต่อมาจะให้ทำเคสให้ .... ก่อนหน้านี้คนเขียนตามลูกความไหม คำตอบคือไม่ตามค่ะ เพราะลูกความอาจจะเปลี่ยนใจอยากใช้บริการคนอื่น จะได้ไม่ต้องลำบากใจหาคำพูดสวยๆมาตอบคนเขียน อีกอย่างคือได้แจ้งให้ทราบแล้วว่าเคสยาก รู้ว่าวีซ่าหมดอายุเมื่อไหร่ รู้ค่าใช้จ่าย รู้ว่าคนเขียนต้องการเวลาแค่ไหนที่จะทำเคสดีๆให้ ก็ต้องปล่อยให้ลูกความพิจารณาว่าจะใช้บริการหรือไม่ และจะใช้เมื่อไหร่ แล้วเหลือเวลาน้อยกว่า 8 อาทิตย์ รับเคสไหม ? .... รับค่ะ .... ลูกความที่เคยนัดปรึกษากันมาก่อน ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรงจริงๆ คนเขียนไม่ค่อยปฏิเสธ ลูกจ้างเซ็นสัญญาทันที พร้อมเริ่มงาน นายจ้าง ? ....... หายไปอีก 2 อาทิตย์ ..... ระหว่างนี้คนเขียนตามไหม ..... ตามค่ะ !!!! ก็ตอนนี้รู้แล้วว่าลูกความต้องการใช้บริการ และรับลูกจ้างมาดูแลแล้ว จะไม่รับนายจ้างก็ยังไงอยู่ 4 อาทิตย์ก่อนวีซ่าหมด หลังจากตามแล้วตามอีก คนเขียนต้องบอกลูกจ้างว่าไม่ไหวแล้วนะ ถ้านายจ้างไม่เซ็นสัญญาภายในเที่ยงวันนี้ คนเขียนจะไม่รับเคสนายจ้าง ที่อดทนมาจนเหลือเวลา 4 อาทิตย์เพราะสงสารลูกจ้างที่อยากให้คนเขียนทำเคสให้ทั้งส่วนนายจ้างและลูกจ้าง (แต่จริงๆนายจ้างกับลูกจ้างใช้เอเจนต์หรือทนายคนละคนกันก็ได้นะคะ) คนเขียนเคยโพสไว้ว่า .... เคสยากไม่กลัว กลัวลูกความยาก .... นี่เลยค่ะ ลูกความยาก .... พร้อมทิ้งเคสนายจ้างไหม ณ จุดนี้ ? .... พร้อมมาก (คนเขียนไม่โอเคกับการเสียเวลาแบบนี้) .... แต่นายจ้างเซ็นสัญญาก่อนเที่ยง 5 นาที ! สรุปว่าได้นายจ้างมาเป็นลูกความ .... แอบสงสารตัวเองมากๆ นี่ขนาดจะเซ็นสัญญาทำงานยังยากขนาดนี้ แล้ว 4 อาทิตย์ที่เหลือไว้ทำงาน จะยากขนาดไหน .... ก็อย่างที่คาดไว้เลยค่ะ .... ความเงียบหายต้องมา ..... ลูกจ้างก็รับโทรศัพท์จากคนเขียนถี่ๆ เพราะต้องขอให้ช่วยตามนายจ้างให้ .... สุดท้ายเราต้องมาเร่งทำงานเอาอาทิตย์สุดท้ายก่อนวีซ่าหมด และเรายื่นใบสมัครกัน 2 วันก่อนวีซ่าหมด .... สุดยอดของความเหนื่อย แต่รับงานมาแล้ว ก็ต้องทำให้ดีที่สุด รออยู่ 4 อาทิตย์ .... Nomination ผ่าน 482 ผ่าน .... วันเดียวกัน .... ไม่มีการขอเอกสารเพิ่ม ลูกจ้าง (เคสนี้ไม่ใช่คนไทย) ขอบคุณคนเขียนที่อดทนมาก และไม่บ่นเค้าเลยที่นายจ้างช้า .... ก็ไม่ใช่ความผิดเค้า จะไปบ่นเค้าได้ยังไง .... ว่าแล้ว ก็คุยกันเรื่องการขอวีซ่าให้แฟน ซึ่งจริงๆลูกจ้างได้ถามคนเขียนก่อนยื่นวีซ่าแล้วว่าเค้าจะพ่วงแฟนในใบสมัครเลยได้ไหม แต่จากลักษณะความสัมพันธ์ แต่งงานก็ไม่ใช่ หลักฐาน de facto ก็ไม่มี คำแนะนำคือไม่พ่วงค่ะ .... ยื่นทีหลัง เมื่อพร้อม นายจ้าง .... ก็ขอบคุณคนเขียนเช่นกัน แถมบอกว่าเดี๋ยวมาใช้บริการใหม่นะ เร็วๆนี้ด้วย !! ..... [อยากจะบอกว่า ไม่ต้องเร็วๆนี้ก็ได้ ขอเวลาหายใจ และทำใจหลายๆเดือนเลย] เทรนตอนนี้คือ Nomination และ 482 มีถูกปฏิเสธกันเยอะขึ้นนะคะ และถ้าตามข่าว น่าจะทราบว่าเงื่อนไขการขอวีซ่าหลายๆประเภทปรับให้ยากขึ้น และลดโควต้าต่อปีลง .... คณิตคิดง่าย ถ้าคนสมัครมีมาก แต่โควต้ามีน้อยลง มีความเป็นไปได้อยู่ 2 อย่าง ระยะเวลารอวีซ่านานขึ้น และ/หรือวีซ่าถูกปฏิเสธเยอะขึ้น เพราะฉะนั้น ยื่นใบสมัครวีซ่าด้วยความระมัดระวังนะคะ .... จะยื่นเอกสารอะไร จะให้ข้อมูลแบบไหน คิดให้รอบด้าน จะได้ไม่ต้องมาพยายามแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ หรือตอนที่วีซ่าถูกปฏิเสธแล้ว และระวัง PIC 4020 การให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องในใบสมัคร อาจจะถูกปฏิเสธ พร้อมติดบาร์ 3 ปี Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com เคสนี้ น้องลูกความติดต่อมาจากไทย
น้องเป็นนักเรียนที่ออสเตรเลียมาหลายปี .... สัมภาษณ์กันอยู่นาน .... สรุปได้ว่า ....
น้องติดต่อคนเขียนหลังจากถูกปฏิเสธวีซ่า .... เครียดมาก ไม่คิดว่าจะถูกปฏิเสธวีซ่า ข้าวของที่ออสเตรเลียก็ไม่ได้แพ๊ค ค่าเช่าก็ยังต้องเสีย ตัวอยู่ไทย ไม่มีงานทำ คนเขียนขอดูเอกสารว่าวีซ่านักเรียนที่ถูกปฏิเสธยื่นอะไรไปบ้าง .... ปรากฏว่ามีจดหมายอธิบายว่าทำไมถึงมีความผิดพลาดเรื่องวีซ่า ทำไมยื่นในออสเตรเลียไม่ทัน จนมีประวัติไม่ถือวีซ่าและต้องกลับมายื่นวีซ่าจากไทย .... พูดง่ายๆคือจดหมายนี้เป็นการพยายามขอยกเว้นการติดบาร์ 3 ปีนั่นเอง แต่ .... ลืมอะไรไปรู้ไหม ??? .... ลืมตอบโจทย์ประเด็น Genuine Temporary Entrant (GTE) .... ในจดหมายไม่มีระบุว่าทำไมถึงต้องกลับมาเรียนที่ออสเตรเลีย เรียนที่ไทยได้หรือไม่ได้ etc. .... จะไปคิดเองเออเองว่าอิมมิเกรชั่นต้องคิดได้เองสิว่านักเรียนเหลืออยู่ 1 วิชา ก็ต้องตั้งใจเป็นนักเรียน กลับมาเรียนให้จบรึเปล่า ขีดเส้นใต้ 3 เส้น .... ผู้สมัครมีหน้าที่นำเสนอข้อมูล เอกสาร หลักฐาน .... อิมมิเกรชั่นไม่มีหน้าที่คิดเอง .... และถ้าปล่อยให้คิดเอง อาจจะได้ความคิดติดลบ (เช่นเคสนี้เป็นต้น) ในเมื่อข้อเท็จจริงเป็นแบบนี้ .... คนเขียนแนะนำให้ยื่นวีซ่านักเรียนใหม่ ทำเอกสารให้แน่นกว่าเดิม .... แต่เสี่ยงแน่ๆ ทั้งประเด็น GTE และประเด็นติดบาร์ 3 ปี น้องบอกว่าแต่น้องถูกปฏิเสธแค่ประเด็น GTE แปลว่าอิมมิเกรชั่นต้องโอเคกับประเด็นติดบาร์ 3 ปีแล้วสิ ไม่จริง .... อิมมิเกรชั่นแค่ดึงมาประเด็นเดียวก็ปฏิเสธได้แล้ว จะเขียนอะไรเยอะแยะ .... แต่ไม่ได้แปลว่ายื่นใบสมัครรอบหน้าจะไม่เอามาทุกประเด็นมาพิจารณา แปลว่าต้องกังวลทั้ง 2 ประเด็น !!!! .... อ้อ อย่าลืมว่านอกจากมีประวัติอยู่ออสเตรเลียแบบไม่มีวีซ่า ตอนนี้มีประวัติถูกปฏิเสธวีซ่าเพิ่มเข้ามาด้วย .... ยากสิ .... But it is what it is, you can't change the past. คนเขียน: .... [ช่วยคิดอย่างเต็มที่] .... ไม่อยากลองเสี่ยงยื่นใหม่ ก็ลองคุยกับโรงเรียนไหม เหลืออยู่ 1 วิชา ขอเรียนออนไลน์ได้ไหม และก็ให้เพื่อนช่วยแพ๊คของส่งกลับ บอกเลิกการเช่าจะได้ไม่ต้องเสียตังค์ไปเรื่อยๆ ??? ลูกความ: แต่หนูอยากกลับไปออสเตรเลีย !!! คนเขียน: โอเค ชัดเจน .... อยากกลับ ก็ต้องลองยื่นใหม่ไง .... อ้อ .... อย่าลืมขอ CoE ด้วยนะ (อีก 1 ปัญหา โรงเรียนไม่อยากออก CoE ให้ เนื่องจากน้องถูกปฏิเสธวีซ่ามาแล้วรอบนึง) วันถัดมา .... น้องอีเมล์มาบอกว่า .... โรงเรียนให้น้องจบ !!!! อ้าว .... เรียนจบ ก็ขอวีซ่านักเรียนไม่ได้แล้วสิ .... แปลว่าที่คิดๆไว้ว่าจะทำเคสวีซ่านักเรียนนี้ยังไง ลบทิ้ง โจทย์ใหม่ .... ก็ต้องเริ่มคิดใหม่ ดูเอกสารกันใหม่ ทำ Research ใหม่ด้วย .... แล้วเราก็เห็นทางออก .... Subclass 485 Temporary Graduate visa นั่นเองค่ะ วีซ่า 485 โดยตัวกฏหมายปกติแล้วผู้สมัครหลัก (น้องลูกความ) จะต้องอยู่ที่ออสเตรเลียตอนยื่นใบสมัคร แต่คนทำงานด้านนี้เราต้องตามกฏหมายอย่างใกล้ชิด ซึ่งเรารู้ว่าช่วงโควิด รัฐบาลอนุญาตให้ยื่นวีซ่า 485 จากนอกออสเตรเลีย แต่ที่ต้องทำ research ใหม่หมด เพราะเคสน้องไม่ใช่เคสตรงไปตรงมา มีประเด็นให้น่ากังวลอยู่หลายประเด็น ทั้งประวัติวีซ่า และประวัติการศึกษาเลย แต่ต้องบอกว่าน้องมีโอกาสได้วีซ่า 485 นี้มากกว่าตอนที่คิดว่าจะต้องยื่นวีซ่านักเรียนแน่นอน คนเขียนบอกน้องว่า ไม่คิดนานนะคะ จะทำก็รีบๆทำ เพราะกฏหมายที่ออกมาช่วงโควิด ทยอยยกเลิกไปเยอะแล้ว คนเขียนเชื่อว่าเคส 485 แบบยื่นนอกออสเตรเลียจะหายไปเร็วๆนี้ .... น้องลุย คนเขียนก็ลุย และอย่างรวดเร็ว กลัวกฏหมายจะเปลี่ยนซะก่อน เคสนี้ คนเขียนเลือกที่จะไม่เปิดประเด็นเลยซักประเด็นเดียว แต่เลือกเอกสารอย่างระมัดระวัง และเราวางแผนไว้แล้วว่าถ้าอิมมิเกรชั่นยังมีคำถามเพิ่ม เราจะโต้เถียงยังไง และจะยื่นเอกสารอะไรเพิ่ม รอเรื่องอยู่ 2 เดือนกว่าๆ วีซ่าผ่าน ไม่มีคำถาม ไม่ขออะไรเพิ่ม .... เจอน้องกรี๊ดใส่ หูดับไป 2 วิ หลังจากที่น้องได้วีซ่าไม่กี่วัน กฏหมายเปลี่ยนจริงๆอย่างที่คาดไว้ .... กฏปัจจุบันผู้สมัครหลักวีซ่า 485 ยื่นได้ในออสเตรเลียเท่านั้น กฏหมายด้านอิมมิเกรชั่นเปลี่ยนตลอด .... ถ้าอยู่ออสเตรเลีย หรืออยากมาออสเตรเลีย ตามข่าวด้วย .... ถ้าไม่มั่นใจในความรู้ความสามารถของตัวเอง หา Professional มาช่วยเราค่ะ อย่าลืมว่าไม่มีใครรู้ทุกเรื่อง เก่งทุกเรื่อง Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com "ธุรกิจตั้งใหม่" สำหรับอิมมิเกรชั่นคือ ธุรกิจที่เปิดดำเนินการมาไม่ถึง 1 ปี เคสธุรกิจตั้งใหม่ ที่คนเขียนเพิ่งทำจบไปเร็วๆนี้ คนเขียนกำลังจะยื่นใบสมัครอยู่วันพรุ่งนี้แล้ว น้องลูกความบอกว่าแอบกังวลมากกลัวไม่ผ่าน เคยได้ยินมาว่าธุรกิจต้องดำเนินการมาแล้ว 6 เดือนขึ้นไป แต่เคสของน้องยังดำเนินการมาไม่ถึง 6 เดือน นึกในใจ ...... อ้าว ? ... กังวล ? ... แล้วทำไมไม่คุยกับคนเขียนก่อนหน้านี้ จะก่อนเซ็นสัญญาทำงาน หรือระหว่างทำเคสก็ยังดี มาบอกเอาวันนี้ แล้วพรุ่งนี้จะยื่นใบสมัครเนี่ยะนะ ?? ... แล้วก็จะปล่อยให้คนเขียนยื่นใบสมัคร ทั้งๆที่ตัวเองกังวลเนี่ยะนะ ??? โอ๊ยปวดหัว สิ่งที่พูดออกไป ...... ► ต้องดำเนินการมาแล้ว 6 เดือน ?? .... ไม่จริงค่ะ .... คนเขียนทำเคสที่ ..... ► ธุรกิจเปิดดำเนินการมาได้ 2 วัน ► ธุรกิจเปิดดำเนินการมาได้ 4 อาทิตย์ ► ธุรกิจที่เพิ่งซื้อขายเปลี่ยนเจ้าของกันเสร็จ (ซึ่งถือว่าเป็นธุรกิจตั้งใหม่เช่นกัน ... เคสนี้ไม่ใช่สปอนเซอร์ 482 ด้วย แต่สปอนเซอร์เป็นพีอาร์ 186 กันเลย) ► แต่ละเคส ขึ้นอยู่กับเอกสาร และข้อมูลที่จะนำเสนอค่ะ ► เคสน้อง คนเขียนไม่กังวล (แปลว่าน้องก็ไม่ต้องกังวล) .... เคสนี้ คนเขียนยื่นใบสมัครวันเสาร์ เราทราบผลวันพุธ (3 วันทำการ) สิ่งที่คนเขียนไม่ได้บอกน้องลูกความในวันนั้น ..... ► คนเขียนทำเคสที่ธุรกิจยังไม่ได้เปิดดำเนินการเลยด้วยซ้ำ เรายื่นขอเป็นสปอนเซอร์แล้ว ► ในขณะเดียวกัน คนเขียนก็มีเคสที่ธุรกิจเปิดมาเกินปี ซึ่งถือว่าไม่ใช่ธุรกิจตั้งใหม่แล้ว .... แต่คนเขียนแนะนำให้รอไปก่อน ยังไม่ยื่น เพราะดูภาพรวมแล้ว น่าจะไม่ผ่าน น้องที่เซ็นสัญญาการทำงานกับคนเขียนทุกคน 1. ถ้ากังวล .... ถาม .... และถามโดยเร็ว .... จะได้สบายใจโดยเร็ว .... หรือมีคนเขียนช่วยกังวลไปด้วยอีกคน .... หรือมีคนเขียนช่วยหาทางแก้ปัญหาโดยเร็ว 2. ถ้ากังวล แล้วเก็บไว้ในใจ แล้วคนเขียนจะรู้ไหม .... คนเขียนสามารถหลายอย่าง แต่อ่านใจไม่สามารถนะจ๊ะ 3. คนเขียนไม่สร้างโลกสวยให้ลูกความค่ะ คิดยังไง พูดอย่างงั้น .... ถ้าคิดว่าเคสจะไปไม่รอด จะบอกตั้งแต่ต้นเลยว่าไปไม่รอด .... ถ้าเสี่ยงมาก ก็บอกว่าเสี่ยงมาก .... ถ้าบอกว่าเคสนี้ คนเขียนไม่กังวล ก็แปลว่าไม่กังวล .... อย่างเดียวที่ไม่เคยบอกลูกความ คือเคสนี้ผ่านแน่ๆ .... จะบอกได้ยังไง ไม่ใช่คนตัดสินเคส Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com ▓ ย้ายที่อยู่ เปลี่ยนอีเมล์ ระหว่างรอผลวีซ่า ..... แจ้งอัพเดทข้อมูลกับอิมมิเกรชั่นด้วย ▓ ไม่ได้เปลี่ยนอีเมล์ ? ..... นอกจากเช็ค Inbox แล้ว ..... เช็ค Junk / Spam ด้วย ▓ 2 อาทิตย์ 4 เคส .... ติดต่อมาด้วยปัญหาเดียวกัน ถูกปฏิเสธวีซ่า แต่ทราบเมื่อเลยกำหนดการยื่นอุทธรณ์ไปแล้ว ◙ 1 x เปลี่ยนอีเมล์ แต่ไม่ได้แจ้งอัพเดทอิมมิเกรชั่น ◙ 2 x อีเมล์แจ้งปฏิเสธวีซ่าไปตกอยู่ใน Junk / Spam ◙ 1 x เอเจนต์แจ้งให้ทราบช้า ! ! ▓ ยื่นอุทธรณ์ไม่ทัน ปัญหาใหญ่ .... ถ้าไม่มีเหตุผลที่ดีมากๆและเข้าข้อกฏหมาย หน่วยงานอุทธรณ์ไม่รับพิจารณาเคส และทั้ง 3 เหตุผลที่ลิสไว้ ไม่ใช่เหตุผลที่ดี .... 3 ใน 4 เคสนี้ เป็นเคส PR ด้วย น่าเสียดายมากค่ะ บางเคสเราอาจจะมีทางทำอะไรได้ แต่ชีวิตไม่ง่ายแล้ว ▓ ช่วงนี้ Partner visa ถูกปฏิเสธกันเยอะ อย่าคิดว่า Stage 2 Partner visa ไม่ต้องใช้อะไรมาก ทำเคสแน่นๆไว้ก่อน จะได้ไม่มาเสียใจทีหลัง .... 2 ใน 4 เคสที่ยื่นไม่ทันนี่ก็ Stage 2 Partner visa ค่ะ ถูกปฏิเสธเพราะหลักฐานไม่แน่นพอ แล้วตอนนี้ก็ยื่นอุทธรณ์ไม่ทันอีก .... ปัญหาใหญ่ยังไง นอกจากยื่นอุทธรณ์ไม่ทัน ◙ ยื่นใหม่ในออสเตรเลีย ไม่ได้ ◙ ค่ายื่น $8000+ ◙ ถูกปฏิเสธเพราะไม่เชื่อเรื่องความสัมพันธ์ ไปรอลุ้นอยู่นอกประเทศว่าเคสยื่นใหม่อิมมิเกรชั่นจะเชื่อในความสัมพันธ์หรือไม่ .... ไม่มีวีซ่า ไม่ได้กลับมา ▓ ช่วงนี้อิมมิเกรชั่นเริ่มลงตรวจธุรกิจต่างๆเยอะขึ้น ตามนโยบายใหม่ของรัฐบาล ◙ นายจ้างที่สปอนเซอร์พนักงาน เก็บเอกสารที่ควรจะต้องมีให้เป็นระเบียบหาง่ายๆด้วย ◙ นายจ้างทั้งที่เป็นสปอนเซอร์และไม่ได้เป็น และลูกจ้างทั้งหลาย ทำอะไรไม่ถูกต้องอยู่ แก้ไขด้วย รอให้อิมมิเกรชั่นมาเจอ อาจจะไม่ใช่แค่การตักเตือน นายจ้างอาจจะต้องเสียค่าปรับ ติดบาร์ห้ามสปอนเซอร์ ลูกจ้างอาจจะถูกยกเลิกวีซ่า Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com ► ในอดีตไม่ว่าจะเป็นไมเกรชั่นเอเจนต์ (Registered Migration Agent) หรือทนายความ (Legal Practitioner) ก็จะต้องมีการขึ้นทะเบียนกับ Office of the Migration Agents Registration Authority (OMARA) และคนทั้ง 2 ประเภทก็จะต้องมีเลข Migration Agent Registration Number (MARN) ถึงจะให้คำแนะนำและการช่วยเหลือทางด้านวีซ่าและคนเข้าเมืองได้ ► ปัจจุบัน (2ปีกว่าแล้ว) กฏหมายแยกการขึ้นทะเบียนของไมเกรชั่นเอเจนต์ (Registered Migration Agent) และทนายความ (Legal Practitioner) อย่างชัดเจน ซึ่งก็ทำให้ตรวจสอบได้ง่ายขึ้นด้วยว่าคนที่ตัวเองใช้บริการเป็นเอเจนต์หรือเป็นทนายความ ► ไมเกรชั่นเอเจนต์ (Registered Migration Agent) จะต้องมีการขึ้นทะเบียนกับ OMARA และมีเลข MARN ... ตรวจสอบโดยการพิมพ์ชื่อ-นามสกุล ได้ที่ OMARA website ► ทนายความ (Legal Practitioner) ด้านอิมมิเกรชั่นจะต้องมีเลข Legal Practitioner Number (LPN) และมีการขึ้นทะเบียนกับสภาทนายความของรัฐที่ทนายความทำงานอยู่ .... ตรวจสอบโดยการพิมพ์ชื่อ-นามสกุล ได้ที่
► ถ้าไม่มีชื่อใน OMARA website ไม่ใช่เอเจนต์ ► ถ้าไม่มีชื่ออยู่ในสภาทนายความของรัฐใดรัฐหนึ่ง ไม่ใช่ทนายความ ► อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก Immigration website Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com มีน้องถามมาว่า คำแนะนำฟรี 5 นาที ยังมีอยู่หรือไม่ ตอบ: ข้างล่างเป็นโพสที่เคยลงไว้นานหลายปีแล้ว ทุกอย่างยังเหมือนเดิม ░ ░ ░ ░ ░ ░ ░ ░ ░ ░ ปกติแล้วคนเขียนให้เวลา 5 นาที สำหรับน้องๆที่โทรมาถามคำถามนะคะ เงื่อนไขคือ 1. อะไรตอบได้ ตอบให้เลย 2. ถ้าตอบไม่ได้ เช่น * เป็นเคสที่ต้องดูเอกสาร * ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม * เป็นเคสที่ไม่มีข้อมูลอยู่ในหัว (ใช่ค่ะ คนนะคะไม่ใช่คอมพิวเตอร์ ไม่สามารถจำทุกอย่างได้ และ กฏหมายก็ เปลี่ยนกันอยู่ตลอด ถ้าไม่แน่ใจว่าจะให้คำตอบที่ถูกต้อง คนเขียนไม่ตอบนะคะ) * เคสที่ต้องซักถามและอธิบายกันนานเกิน 5 นาที เคสประมาณนี้ต้องนัดเวลารับคำปรึกษากันเป็นเรื่องเป็นราวนะคะ ซึ่งก็จะมีค่าบริการตามความยากง่าย ความด่วนไม่ด่วนของแต่ละเคส 3. เวลาคนเขียนรับโทรศัพท์ ก็ไม่ได้พูดภาษาไทยนะคะ เพราะคนที่โทรมาอาจจะไม่ใช่คนไทย บางครั้งเป็น อิมมิเกรชั่น หน่วยงานอุทธรณ์ หน่วยงานอื่น หรือลูกความที่ไม่ใช่คนไทย ถ้าคนเขียนจับสำเนียงได้ว่าเป็นคนไทย ก็จะรีบพูดไทยด้วย เพราะฉะนั้นไม่ต้องตกใจจนรีบวาง (ต้องบอก เพราะคนเขียนเจอวางหูใส่อยู่บ่อยๆ ตกใจเพราะเจอ Hello เป็นภาษาอังกฤษ พอรวบรวมกำลังใจได้ ก็โทรมาใหม่ แล้วเราถึงได้คุยกัน) 4. เวลา 5 นาที ไม่เยอะ แต่ก็ไม่น้อยค่ะ คนเขียนรับโทรศัพท์วันละหลายสาย ถ้าให้เวลามากกว่าคนละ 5 นาที (ซึ่งหลายๆครั้งก็เลย) คนเขียนก็จะไม่เหลือเวลาทำงานให้ลูกความ และด้วยความที่ทำงานด้านนี้มานาน คุยกันไม่กี่คำก็ทราบแล้วว่าสามารถตอบได้เลย หรือเป็นเคสที่ต้องดูเอกสารหรือต้องคุยต้องอธิบายกันนาน * คำตอบแค่ทำได้ กับทำไม่ได้ บางครั้งก็มีประโยชน์ บางครั้งก็ไม่ได้ช่วยอะไร * บางทีการตอบสั้นๆว่าทำได้ เป็นการให้ความหวังแบบผิดๆ เพราะเมื่อพิจารณาข้อมูลอื่นที่ก็สำคัญกับการ พิจารณาวีซ่าแล้ว คำตอบว่าทำได้ อาจจะไม่ถูกต้อง * บางทีคำตอบว่าทำไม่ได้ ก็ไม่ถูก เพราะถ้าถามเจาะมาคำถามเดียว อาจจะตอบว่าทำไม่ได้ แต่พอได้ข้อมูล ลึกขึ้น เราอาจจะเจอข้อยกเว้นที่ทำให้ทำเคสได้ 5. จะใช้เวลา 5 นาทีให้เป็นประโยชน์ได้ยังไง ก็ควรจะเรียบเรียงคำถามก่อนโทรมา กระชับ ได้ใจความ ไม่ต้องประหม่า คนเขียนก็คนไทยพูดไทยและชอบกินตำปูปลาร้าเหมือนหลายๆคน ไม่ต้องอารัมภบทเยอะ (ไม่ต้อง Hello กันไปมา ไม่ได้คุยกันซะที ไม่ต้องอ้อมโลก สวัสดีตามมารยาทที่ดีของคนไทยแล้วเข้าประเด็นได้เลย) 6. ขอแค่ไม่หยาบคายคนเขียนยินดีคุยด้วย (ถ้ายุ่งมาก อาจจะขอให้โทรมาใหม่) 7. เสียงดุ???? ทำใจค่ะ เสียงเป็นอย่างงี้เอง 8. รบกวนโทรในเวลาทำงาน จันทร์ - ศุกร์ 9 ถึง 5 ป.ล. น้องๆที่ชอบโทรวันหยุด โทรดึกๆ ไม่รับก็โทรเป็นสิบๆหนจนกว่าจะรับนี่ บอกเลยว่าไม่สำเร็จนะคะ นอกจากไม่รับแล้ว คนเขียนอาจจะบล๊อคเบอร์ไปด้วยเลย Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com █ ถือ Bridging visa A ออกนอกออสเตรเลียไม่ได้ (จริงๆออกได้ - ออกเมื่อไหร่วีซ่าหาย - กลับเข้าออสเตรเลียไม่ได้) █ ยื่นขอ Bridging visa B (BVB) แล้วออกนอกออสเตรเลียเลยไม่ได้ .... ต้องรอวีซ่าออกก่อนแล้วค่อยเดินทาง █ ระยะเวลารอ Bridging visa B (BVB) มีตั้งแต่ 1 วัน ถึงเป็นเดือน เพราะฉะนั้นเผื่อเวลาด้วย █ ธุรกิจตั้งใหม่ก็สปอนเซอร์พนักงานได้ █ ไม่ว่าเป็นธุรกิจแบบเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือ Trust/Trustee ก็สปอนเซอร์พนักงานได้ █ ยื่นขอวีซ่าจากไทย เช่นวีซ่าท่องเที่ยว วีซ่านักเรียน แล้วถูกปฏิเสธด้วยเหตุผลทั่วๆไป เช่นไม่เชื่อว่าจะมาเที่ยวจริง จะมาเป็นนักเรียนจริง หรือส่งเอกสารไม่ครบ จะยื่นใหม่กี่รอบก็ได้ จะยื่นใหม่เมื่อไหร่ก็ได้ แต่ควรยื่นเมื่อมีเอกสารที่ดีกว่าเดิม และตอบโจทย์ประเด็นที่ถูกปฏิเสธ █ ถูกปฏิเสธวีซ่าด้วย Public Interest Criterion (PIC) 4020 เพราะมีการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง - ติดบาร์ 3 ปี - โอกาสขอวีซ่าใหม่แล้วผ่าน .... ยากมาก █ คนที่เคยถูกยกเลิกวีซ่า (ส่วนใหญ่) ติดบาร์ 3 ปี █ เคยอยู่เกินวีซ่า ไม่ได้แปลว่าจะต้องติดบาร์ 3 ปีเสมอไป █ ได้รับแจ้งว่าวีซ่าออกแล้ว ป้องกันการถูกหลอกด้วยการขอจดหมายแจ้ง (Visa grant letter) และเช็คสถานะวีซ่าได้ด้วยตัวเอง ผ่านระบบของอิมมิเกรชั่นที่ VEVO █ ถูกปฏิเสธวีซ่าในออสเตรเลีย ไม่ได้ติด Section 48 บาร์กันทุกคน - บางคนไม่ติด - บางคนติด แต่ก็ยังยื่นวีซ่าบางประเภทได้ Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com วันนี้คนเขียนมาแชร์ประสบการณ์ เกี่ยวกับวีซ่าแบบมีนายจ้างสปอนเซอร์ เช่น 457 482 494 186 และ 187 Q: 187 ??? - วีซ่าตัวนี้ไม่มีแล้วไม่ใช่เหรอ A: ยังทำได้ สำหรับคนกลุ่มเล็กๆที่ถือวีซ่า 457 หรือ 482 ประวัตินายจ้างสำคัญไหม - สำคัญมากค่ะ ไม่ว่าจะก่อนยื่น หรือหลังจากลูกจ้างได้วีซ่าแล้ว ถ้าอนาคตจะมีการสปอนเซอร์คนอื่นต่อ หรือจะมีการสปอนเซอร์ลูกจ้างที่ถือ Temporary visa เพื่อต่อยอดไปเป็นพีอาร์ เคสที่คนเขียนจะแชร์วันนี้เป็นเคสที่นายจ้างถูกอิมมิเกรชั่นลงตรวจหลังจากที่มีการสปอนเซอร์ลูกจ้างไปแล้ว 2 คน (ไม่ได้แปลว่าถ้าสปอนเซอร์แค่คนเดียวจะไม่ถูกลงตรวจ อยู่ที่นายจ้างไหนจะเจอแจ๊คพอต) .... เกิดอะไรขึ้น 1. อิมมิเกรชั่นเจอว่านายจ้างมีการแต่งตั้ง Director ใหม่ แล้วไม่ได้แจ้งให้อิมมิเกรชั่นทราบภายในเวลาที่กฏหมายกำหนด Q: มีต้องแจ้งด้วยเหรอ A: มีค่ะ ต้องแจ้งภายใน 28 วัน ... จริงๆ นายจ้างมีหน้าที่อย่างอื่นอีกหลายอย่าง 2. อิมมิเกรชั่นสัมภาษณ์พนักงานในร้าน รวมถึงลูกจ้างที่ได้รับการสปอนเซอร์ แล้วพบว่าลูกจ้างทำงานนอกเหนือหน้าที่ที่ได้รับการสปอนเซอร์ ..... [เช่น จ้างมาเป็น Backpacker Manager แต่มาช่วยทำความสะอาดห้องพัก ช่วยเก็บขยะ หรือจ้างมาเป็นพนักงานนวด เป็น Chef หรือ Cook แต่มาช่วยทำบัญชีร้าน] ..... น้องๆที่คิดว่าเราทำได้หลายอย่าง เราทำเกินหน้าที่ ดูดีมากๆเลย ...... ขอบอกว่าไม่จริง เคสนี้นายจ้าง 1) ถูกปรับ และ 2) ถูกห้ามสปอนเซอร์พนักงานเพิ่ม นายจ้างและลูกจ้าง1 ยื่นขอพีอาร์วีซ่า 186 คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะไม่ได้สปอนเซอร์พนักงานเพิ่ม แต่เป็นการสปอนเซอร์พนักงานเดิมเพื่อเป็นพีอาร์ .... เกิดอะไรขึ้น ???? นายจ้างถูกปฏิเสธ 186 Nomination เพราะประวัติที่ถูกลงตรวจและถูกลงโทษจากอิมมิเกรชั่น ...... แปลว่าวีซ่า 186 ของลูกจ้างก็ถูกปฏิเสธไปด้วย ลูกจ้าง1 ติดต่อนัดปรึกษากับคนเขียน ถามว่าทำยังไงดี .... คนเขียนก็แนะนำทั้งส่วนการยื่นอุทธรณ์และการยื่นใบสมัครใหม่ไปที่อิมมิเกรชั่น พร้อมกับแจ้งว่าตัดสินใจโดยเร็ว อุทธรณ์มีระยะเวลาจำกัด และน่าจะมีกฏหมายเปลี่ยนเร็วๆนี้ ซึ่งจะกระทบกับเคส หากต้องการจะยื่นใหม่ ลูกจ้าง2 ซึ่งทำงานครบตามที่กฏหมายกำหนด และพร้อมจะยื่นวีซ่าพีอาร์ 186 ..... เมื่อเห็น Nomination & 186 visa applications ของเพื่อนถูกปฏิเสธเพราะนายจ้างมีประวัติถูกอิมมิเกรชั่นลงโทษ ก็เริ่มกังวลบ้าง เพราะตัวเองก็จะต้องใช้นายจ้างคนเดียวกัน .... ขอนัดปรึกษากับคนเขียนบ้าง ซึ่งได้รับคำแนะนำว่า 1. ก็ควรกังวลจริงๆแหละ เพราะแนวทางที่อิมมิเกรชั่นจะพิจารณาเคสของเพื่อนกับของน้องลูกจ้าง2 ก็ไม่ต่างกัน ประวัตินายจ้างมีผลกระทบกับเคสแน่ๆ 2. แต่ ..... เคสเพื่อนที่ถูกปฏิเสธ (ซึ่งคนเขียนไม่ได้เป็นคนทำเคส) จากที่อ่านคำตัดสิน อ่านเอกสารอื่น และซักถามเพิ่มเติม คนเขียนเชื่อว่ามีข้อโต้เถียงบางอย่างที่น่าจะช่วยเคส แต่เคสเพื่อนไม่ได้เอามาใช้ .... สรุปสั้นๆ คือถ้าคนเขียนเป็นคนทำเคส ก็จะเอาข้อโต้เถียงที่ว่ามาใช้ .... ตอบไม่ได้หรอกว่าเคสจะรอดหรือไม่ ... ไม่ลองไม่รู้ 3. ถ้าไม่ต้องการเสี่ยงกับนายจ้างนี้ ก็ ....เริ่มใหม่ .... หานายจ้างใหม่ เสียเงินทำ sponsorship & visa กันใหม่ ถ้านายจ้างใหม่ยอมทำ 186 Direct Entry ให้เลย ก็โชคดีไป ถ้าไม่ยอม ก็ทำงานใน Temporary visa ไป จนกว่านายจ้างจะยอมสปอนเซอร์เป็นพีอาร์ น้องใช้เวลาคิดอยู่ 1 วัน ก่อนจะติดต่อกลับมาให้คนเขียนทำเคสให้ ใช้นายจ้างเดิม .... เสี่ยงเป็นเสี่ยง เกิดอะไรขึ้นกับเคสลูกจ้าง2 .... คนเขียนทำสรุปประเด็นข้อกฏหมาย และโน้มน้าวอิมมิเกรชั่นว่าทำไมควรจะให้เคสนี้ผ่าน รวมถึงเหตุผลที่เคสลูกจ้าง1 ไม่ได้นำมาใช้ แต่คนเขียนคิดว่าสำคัญมากและควรนำมาใช้ (คนเขียนพูดเสมอว่าทนายความและเอเจนต์แต่ละคน มีวิธีการเก็บรายละเอียด มุมมองและแนวทางการทำเคส แตกต่างกันไป .... Strategy การทำเคสของแต่ละคน ไม่เหมือนกัน) ..... เคสนี้ คนเขียนเลือกที่จะเปิดประเด็นเลย ไม่รออิมมิเกรชั่นถาม ผ่านไหม ..... ผ่านสิ .... ประเด็นนายจ้างมีประวัติ จบด้วยจดหมายฉบับเดียวที่คนเขียนทำสรุปเข้าไปนั่นแหละ (แต่อย่าคิดว่าจดหมายฉบับเดียว ใช้เวลานิดเดียวนะคะ กว่าจดหมายจะคลอด ใช้เวลาอ่านเอกสารเดิม เอกสารใหม่ และทำ Research เป็นร้อยหน้า) ย้อนกลับมาที่ลูกจ้าง1 ...... น้องหายไป 3 - 4 เดือน จนในที่สุดกฏเปลี่ยนก็ประกาศออกมา มีเวลา 2 อาทิตย์ก่อนกฏหมายใหม่จะปรับใช้ .... น้องติดต่อมาหาคนเขียน จะให้ทำเคสให้ ยินดีชำระค่าบริการเพิ่มสำหรับเคสด่วน .... ไม่ทันแล้วค่ะ Q: ทำไมถึงช่วยไม่ได้ 2 อาทิตย์ไม่พอเหรอ A: 2 อาทิตย์พอค่ะ ถ้าสามารถทุ่มเวลาให้กับเคสน้องเคสเดียว .... แต่ความจริง ไม่ได้เป็นแบบนั้น ทุกคนที่เซ็นสัญญาการทำงานกับคนเขียน ก็อยากให้เคสของตัวเองออกมาดีๆกันทั้งนั้น เมื่อรับงาน คนเขียนจะมีตารางการทำงานของแต่ละเคสชัดเจน ถ้ารับงานเพิ่มแล้วจะกระทบเคสของน้องๆที่เซ็นสัญญาการทำงานกับคนเขียนไว้ก่อนแล้ว ต่อให้อยากรับ ก็รับไม่ได้ เคสนายจ้างมีประวัติ ระวังให้มาก โอกาสเคสผ่านก็มี โอกาสเคสไม่ผ่านก็สูง และไม่ต้องมานัวๆคิดว่าอิมมิเกรชั่นอาจจะไม่เอาประวัตินายจ้างมาพิจารณา ..... เพราะอยู่ในลิสที่ต้องพิจารณา ยังไงก็ต้องพิจารณา อยู่ที่ว่าเราจะหาเหตุผลอะไร มาช่วยเคสเท่านั้นเอง และจากตัวอย่างเคสนี้ อยากจะบอกว่านายจ้างมีประวัติคนเดียวกัน Nomination เคสนึงถูกปฏิเสธ ไม่ได้แปลว่า Nomination อีกเคสจะต้องถูกปฏิเสธด้วย ถ้าเริ่มต้นการทำเคสด้วยความระมัดระวัง และคิดรอบด้าน โอกาสที่จะผ่านก็มี ย้อนกลับมาที่นายจ้าง ตอนถูกอิมมิเกรชั่นลงตรวจ ..... อิมมิเกรชั่นไม่ใช่ว่าพอเจออะไรไม่ถูกต้อง ก็จะหลับหูหลับตาลงโทษเลยนะคะ .... ให้โอกาสตอบว่าทำไมไม่ควรถูกลงโทษ ให้โอกาสเราโน้วน้าวว่าทำไมควรผ่อนโทษหนักให้เป็นเบา .... ขึ้นอยู่กับเรา นายจ้าง และ/หรือทนายความ เอเจนต์แล้วค่ะว่าจะทำเคสยังไง Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com วันนี้คนเขียนมาแชร์ประสบการณ์เคสวีซ่า 482 ที่น้องลูกความกังวลเรื่องประสบการณ์ และเรื่องการพ่วงแฟนในใบสมัครเดียวกัน
เคสนี้ น้องนัดปรึกษากับคนเขียนมา 2 รอบในเรื่องของตัวเอง และ 1 รอบในเรื่องของแฟน ก่อนที่จะตัดสินใจลุยงานกัน น้องมีนายจ้างที่ต้องการสปอนเซอร์ แต่น้องมีประสบการณ์ไม่ถึง 2 ปีตามนโยบายของอิมมิเกรชั่น และน้องไม่มีวุฒิการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสายงาน ดูเผินๆเหมือนไม่น่าจะทำได้ น้องไปหาคำปรึกษาจากหลายที่ ได้รับคำแนะนำว่าประสบการณ์ยังไม่ถึงบ้าง ทำไม่ได้บ้าง มาถึงคนเขียน น้องได้รับคำแนะนำให้ 1. สะสมประสบการณ์เพิ่ม คือรอไปก่อน หรือ 2. ใช้ประสบการณ์ที่มีเทียบวุฒิการศึกษา ซึ่งน่าจะช่วยให้น้องยื่น 482 ได้เร็วขึ้น น้องเลือกที่จะเทียบวุฒิการศึกษา และยื่น 482 เลย ก่อนวีซ่าตัวปัจจุบันจะหมด คนเขียนถือว่าเป็นเคสมีความเสี่ยง (แต่คนเขียนไม่กังวลเท่าไหร่ เพราะทำเคสประสบการณ์ไม่ตรง ประสบการณ์ไม่ถึงตามนโยบายของอิมมิเกรชั่นมาก็หลายเคส แต่ทำเคสคนอื่นผ่าน ไม่ได้แปลว่าเคสน้องจะต้องผ่านด้วย โดยสรุปคือจากประสบการณ์และเนื้อหาเคสน้อง คนเขียนว่าน่าจะรอด แต่จะมาให้ความหวัง 100% คงไม่ได้ 1. ไม่ใช่คนตัดสินเคส และ 2. เราไม่หลอกกัน เสี่ยงก็คือเสี่ยง ถ้าอยากจะยื่นเร็วต้องยอมรับสภาพ ถ้าไม่อย่างเสี่ยงก็ทำงานเก็บประสบการณ์ต่อไป) ปัญหาที่คนเขียนกังวลมากกว่าเรื่องประสบการณ์ของน้อง คือการพ่วงแฟนน้อง น้องเป็นคู่เหมือน ไม่ได้แต่งงาน ไม่ได้จดทะเบียนความสัมพันธ์ (และไม่ใช่ทุกรัฐที่รับจดทะเบียนความสัมพันธ์) แฟนน้องเคยอยู่ออสเตรเลียด้วยกัน แต่ตอนนี้ติดอยู่นอกออสเตรเลีย แยกกันอยู่มาเกือบปี พยายามจะกลับเข้ามา แต่มาไม่ได้ ถูกปฏิเสธวีซ่ามาแล้ว 2 รอบ เอกสารหลักฐานความสัมพันธ์มีไม่เยอะ ไม่มี Joint อะไรซักอย่าง ไม่ว่าจะ Joint lease, Joint bank account หรือ Joint bill เรื่องของเรื่องคือต้องคิดว่าจะทำยังไงให้อิมมิเกรชั่นเชื่อว่าสองคนนี้เป็นแฟนกันฉันท์ De facto จริง ไม่ใช่แค่เพื่อนกัน อิมมิเกรชั่นขอเอกสารเพิ่มในเรื่องของความสัมพันธ์ (น้องยังมีถามอีกว่าไม่ขออะไรเพิ่มเรื่องประสบการณ์หรือคะพี่ คือยังกังวลไม่เลิก แต่ไม่มีค่ะ อิมมิเกรชั่น Happy กับเอกสารและการสรุปประเด็นกฏหมายที่คนเขียนทำขึ้นมาเพื่อช่วยน้อง) เอกสารความสัมพันธ์เพิ่มเติม เป็นอะไรที่ต้องคิดเยอะมาก เพราะจริงๆคือเอกสารที่เป็นชิ้นเป็นอันยื่นไปหมดแล้ว ต้องเป็นการทำคำอธิบายแล้ว ณ จุดนี้ .... แต่ทั้งน้องและแฟนเขียนได้ .... ไม่โอเคเลย ..... คือ ... ให้รายละเอียดความสัมพันธ์ไม่พอนะคะ ต้องให้แบบตอบโจทย์ด้วย (การตอบโจทย์ในที่นี้ คือ จะให้รายละเอียดความสัมพันธ์ยังไง ให้อิมมิเกรชั่นสามารถเอาข้อกฏหมายมาปรับเทียบได้ง่ายๆ ว่าควรจะเชื่อดีไหมว่าสองคนนี้มี De facto relationship ต่อกันจริง) หลายคนคิดว่าการทำงานของทนายความ เอเจนต์ ไม่เห็นมีอะไร แค่ส่งต่อเอกสารให้อิมมิเกรชั่น .... คนที่ทำแบบนั้นคงมีจริง แต่คนเขียนบอกเลยว่าทนายความและเอเจนต์ที่ทำงานจริงๆ เนื้องานไม่ใช่การส่งต่อเอกสารเลยค่ะ เนื้องานคือการพิจารณาเอกสารและข้อมูลที่ลูกความให้มา จากนั้นก็คิดว่าจะทำยังไงให้เอกสารและเนื้อหาของเคสเข้าข้อกฏหมายมากที่สุด เพิ่มโอกาสให้ลูกความได้วีซ่ามากที่สุด เคสนี้ ตั้งแต่ต้นจนจบ รวมถึงที่อิมมิเกรชั่นขอเอกสารเพิ่ม ใช้เวลา 5 อาทิตย์ สรุปว่าประสบการณ์ของน้องโอเค และอิมมิเกรชั่นเชื่อในความสัมพันธ์ของน้องและแฟน ในที่สุดสองคนนี้ก็ได้กลับมาอยู่ด้วยกันตามเดิม ~The End~ ป.ล. ไม่รับปากว่าเคสจะต้องผ่าน ไม่ได้แปลว่าจะไม่ทำเต็มที่นะคะ Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com วันนี้คนเขียนมาแชร์ประสบการณ์เคสที่มาหาคนเขียนระหว่างทาง ... น้องยื่นใบสมัครวีซ่าไปแล้ว ... โดยเอเจนต์ที่ให้คำแนะนำ ช่วยกรอก ช่วยยื่น แต่ไม่ยอมใส่ชื่อตัวเองในฐานะเอเจนต์ (Representative) ในใบสมัคร .... คือเสมือนน้องยื่นเอง ไม่มีคนช่วย
ถ้าใครเจอเอเจนต์แบบนี้ ... อาจจะเป็นเพราะ ... 1. ไม่ใช่เอเจนต์ หรือทนายความ ไม่มีใบอนุญาตสำหรับการให้คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือด้านวีซ่า 2. เป็นเอเจนต์ หรือเป็นทนายความ แต่เคสความเสี่ยงสูง ไม่อยากเสียประวัติ ถ้าทำเคสแล้วไม่ผ่าน หรือเป็นเคสที่ไม่มีหวังเลย แต่ไม่บอกลูกความตามตรง หรือตั้งใจทำเคสแบบหมกเม็ด dodgy 3. โอเค มองโลกในแง่ดีขึ้นมาอีกนิด ...?? คนเขียนคิดไม่ออกว่ามีเหตุผลอะไรดีๆมั่ง ... น้องก็ถามเอเจนต์ไปเลยว่าทำไมถึงจะช่วยอยู่แค่เบื้องหลัง ทำไมไม่ลงชื่อเป็นเอเจนต์ในระบบอย่างที่ควรจะเป็น น้องบางคน (รวมถึงลูกความเคสนี้) ไม่ทราบด้วยซ้ำว่าใบสมัครของน้อง ไม่มี Representative on the record น้องบางคน รู้ทั้งรู้ว่าเอเจนต์ (หรือไม่เอเจนต์) ช่วยอยู่แค่เบื้องหลัง แต่ก็ยอมใช้บริการ .... ทำไม ??? .... จะเสียเงินทั้งที ทำไมไม่หาคนที่เค้าทำงานจริงๆ กล้าทำ กล้ารับ กล้าที่จะเอาชื่อตัวเองมาแปะในใบสมัครบอกอิมมิเกรชั่นว่าชั้นนี่แหละเป็นคนดูแลลูกความเคสนี้ .... ทำไมถึงยอมใช้บริการคนที่ไม่กล้าออกตัว .... แล้วน้องเชื่อได้ยังไงว่าเค้าจะทำงานอย่างเต็มที่ เคสที่ไม่ใช่เอเจนต์จริง หรือเอเจนต์จริงแต่ไม่ใส่ชื่อเป็นเอเจนต์ในใบสมัคร คงไม่ใช่ปัญหาถ้าเคสจบไปได้แบบสวยๆ .... จะเป็นปัญหาก็ตอนที่เคสไปได้ไม่สวย อิมมิเกรชั่นขอเอกสารเพิ่ม หรือมีการให้ข้อมูลไม่ถูกต้อง เกิดอะไรขึ้น ? ... น้องโดนลอยแพ เราจะทราบได้ยังไงว่าเราเสียเงินใช้บริการเอเจนต์แล้ว เค้าจะเป็นเอเจนต์ให้เราจริง 1. มีการเซ็นฟอร์ม 956 แต่งตั้งเอเจนต์ ..... เอเจนต์จะมี Migration Agent Registration Number: MARN .... ทนายความจะมี Legal Practitioner Number: LPN .... ทั้ง MARN และ LPN เป็นเลข 7 ตัวค่ะ 2. มีชื่อเอเจนต์อยู่ในใบสมัครวีซ่าที่เรายื่นให้กับอิมมิเกรชั่น 3. มีอีเมล์ของเอเจนต์ในใบสมัครวีซ่า สำหรับติดต่อกับอิมมิเกรชั่น (ไม่ใช่อีเมล์ของน้องเอง หรืออีเมล์ที่สร้างมาใหม่เพื่อเคสน้องโดยเฉพาะ) มาเข้าเรื่องเคสที่คนเขียนจะแชร์ในวันนี้กันดีกว่า Character คืออะไร .... คือประวัติของเรานั่นเองค่ะ ว่าเราเป็นคนดีของสังคมไหม ... ถ้าออกวีซ่าให้ จะมีโอกาสทำความเดือดร้อนให้สังคมไหม .... เคสที่อาจจะเจอปัญหา Character ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเคสที่มีประวัติคดีอาญา หรือประวัติวีซ่าอันโชกโชน ใครที่มีประวัติคดีอาญา ไม่ว่าจะถูกโทษปรับ ภาคทัณฑ์ รอลงอาญา จำคุก ก็ต้องมาพิจารณาก่อนการยื่นวีซ่าว่าคดีของเราจะมีผลกับวีซ่าไหม เราต้อง Declare (แจ้งอิมมิเกรชั่นไหม) เราควรจะทำยังไงให้ใบสมัครวีซ่ามีโอกาสผ่านมากที่สุด เคสนี้ น้องติดต่อมาหาคนเขียนหลังจากยื่นใบสมัครวีซ่าไปแล้ว และหลังจากอิมมิเกรชั่นส่งจดหมายให้เวลา 28 วัน (4 อาทิตย์) ให้น้องอธิบายเรื่องคดีอาญาที่เกิดขึ้น .... กว่าน้องจะมาถึงคนเขียน เราเหลือเวลา 21 วัน (3 อาทิตย์) เคสนี้ตัววีซ่าเองไม่ยาก ความยากอยู่ตรงประวัติคดีอาญานี่แหละ .... เหลือ 3 อาทิตย์ ปกติคนเขียนไม่รับเคสนะคะ โดยเฉพาะเคส Character ถ้าทำได้ไม่ดี เคสถูกปฏิเสธกันได้ง่ายๆเลย (ความเครียดสูง ความกดดันสูง มีเวลานิดเดียว) .... แต่ .... บางทีก็มีโมเมนต์ใจอ่อน .... รับเคสมา แล้วก็มาสงสารตัวเองที่ต้องทำงานดึกๆ ทำงานเสาร์อาทิตย์ ... ทำไมใจอ่อนกับเคสนี้ .... น้องมีเอเจนต์ที่ไม่ใช่เอเจนต์ช่วยยื่นวีซ่าให้ เจ้าตัวไม่รู้เรื่อง คิดว่าตัวเองมีเอเจนต์ดูแล ... ตอนนัดปรึกษา คนเขียนแจ้งให้น้องทราบว่า ในใบสมัครไม่มีชื่อเอเจนต์ดูแลเคสน้อง เสมือนน้องยื่นเคสเอง .... น้องก็เหวอไป ... ขนาดเคสขับรถเร็ว เคสเมาแล้วขับ ยังมีคนถูกปฏิเสธวีซ่ามาแล้ว .... แต่เคสนี้ แฟนน้องซึ่งสมัครวีซ่าพร้อมกับน้อง มีเคสทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกาย ซึ่งเป็นเคสซีเรียสกว่า โอกาสเคสจะไม่รอดมีสูง ... คุณเอเจนต์ Declare ในใบสมัครก็จริง แต่ Declare แบบไม่ช่วยน้องเลย เคสดูแรงกว่าที่ควรจะเป็น ... น้องก็เหวอไปอีก แถมมีแนะนำแฟนน้อง (คนที่มีประวัติคดีอาญาว่าไม่ต้อง Declare ชื่อเดิม .... อย่างงี้ก็มีด้วย !!!) .... ชื่อเดิมไม่มีประวัติคดีอะไร แต่การไม่ Declare อาจจะกระทบกับประวัติ Character โดยรวมของน้องได้ .... เกิดอะไรขึ้นกับน้องและเอเจนต์ .... เอเจนต์แนะนำให้น้องไปหาทนาย ให้ทนายเขียนจดหมายว่าแฟนน้องเป็นคนดี มี Character ที่ดี และก็ยื่นจดหมายนี้เข้าไป และหลังจากนั้นก็โดนบอกปัด ... โดนลอยแพนั่นเอง คนเขียนบอกน้องว่าเคสยาก ความเสี่ยงสูง ถ้าคนเขียนจะใจอ่อนรับเคส น้องต้องเต็มที่นะ เพราะเวลาเหลืออยู่นิดเดียว .... เคสยากไม่กลัว กลัวลูกความยาก .... น้องสัญญาว่าจะทำเต็มที่ .... สุดท้ายก็ใจอ่อน รับเคสด่วนมาจนได้ คนเขียนทำอะไรกับเคสนี้บ้าง .... 1. แจ้งอิมมิเกรชั่นว่าคนเขียนดูแลเคสน้อง .... เป็น Representative on the record ให้เคสน้อง .... นับจากนี้ไปอิมมิเกรชั่นติดต่อคนเขียน ไม่ใช่ติดต่อน้องโดยตรง .... ส่วนน้องมีหน้าที่ไม่ไปยุ่งอะไรกับใบสมัครของตัวเอง ไม่ยื่นเอกสารอะไรเอง ทุกอย่างผ่านคนเขียน (เราดูแลเคสกันจริงๆค่ะ ไม่มีดูแลครึ่งๆกลางๆ) 2. แจ้ง Declare ชื่อเดิมให้แฟนน้อง .... อุ๊ย Declare กลางทางได้ด้วยเหรอ .... ได้สิ อะไรควรทำ ก็รีบๆทำ ยิ่งรู้ว่าทำผิด ยิ่งต้องรีบแก้ไข .... แจ้งให้อิมมิเกรชั่นทราบเอง ดีกว่าถูกจับได้เป็นไหนๆ 3. เตรียมงาน คิดว่าเอกสารประเภทไหน เอกสารอะไรที่จะช่วยเคสนี้ ร่างเอกสารสำหรับแก้ปัญหาเรื่องคดีอาญาให้แฟนน้อง ... เอกสารหลายชิ้น คนเขียนสัมภาษณ์เก็บข้อมูลจากน้อง และช่วยร่างให้ ไม่งั้นเดี๋ยวน้องเก็บข้อมูลสำคัญไม่หมด เรื่องของเรื่องคือน้องไม่รู้หรอกว่าอะไรสำคัญ หรือไม่สำคัญสำหรับเคส Character และเวลาเรามีนิดเดียว .... โน๊ตว่า ... เราไม่มีจดหมายจากทนายที่ระบุว่าแฟนน้องเป็นคนดี มี Character ที่ดี (ที่เอเจนต์เดิมแนะนำให้หามายื่น) .... ทำไมล่ะ .... หาไม่ได้เหรอ ??? .... ไม่ใช่ค่ะ .... คนเขียนไม่ขอ .... เพราะไม่คิดว่าเป็นเอกสารที่เหมาะสมสำหรับเคส Character และในความเป็นจริง จะมีกี่คนที่ไม่รู้ตื้นลึกหนาบางของคุณ ที่จะมาเขียนชื่นชมว่าคุณเป็นคนดี เคสนี้ รอนานเกือบปี .... รอดไหม .... รอด ไม่ให้ความหวังก็จริง .... แต่ถ้ารับเคส ก็คือทำเต็มที่นะคะ ความสำเร็จของแต่ละเคส ไม่ได้อยู่ที่คนเขียนคนเดียว ลูกความมีส่วนอย่างมากที่จะทำให้เคสไปรอดหรือไม่รอด .... เคสนี้น้องลูกความก็เต็มที่กับเคส .... ให้หาเอกสาร น้องหา .... ให้แก้เอกสาร น้องแก้ อย่างที่เกริ่นไป เคสยากไม่กลัว กลัวลูกความยาก ลูกความยากเป็นยังไง .... แนะนำอะไร ไม่ทำ .... ขออะไร ไม่ได้ .... ตามแล้ว ตามอีก .... หนักสุดคือ หายต๋อม ติดต่อไม่ได้ .... สั้นๆคือไม่ใส่ใจเคสตัวเองนั่นแหละ อย่าคิดว่าลูกความยากไม่มีอยู่จริง .... ตอนนี้คนเขียนมีน้องลูกความเคสอุทธรณ์อยู่เคสนึง เป็นทุกอย่างที่ลิสไว้เลย ... ทุกวันนี้ยังสงสัยว่าน้องเค้ามาใช้บริการคนเขียนทำไม ... แต่ยังไม่มีคำตอบ เพราะยังติดต่อน้องไม่ได้ (จะว่ามีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย ก็ไม่ใช่ เพราะน้องชำระเต็มจำนวน) .... น้องคนอื่นเค้ามีปัญหาติดต่อเอเจนต์ฺ ติดต่อทนายไม่ได้ .... คนเขียนก็มีปัญหา ติดต่อลูกความไม่ได้ .... แอบบ่นผ่านโพส ตามหาลูกความหาย .... น้องรู้ว่าน้องคือใคร ติดต่อกลับมาเถอะ ตามจนเหนื่อยแล้ว ป.ล.1 ใครที่มีประวัติคดีอาญา เก็บเอกสารเกี่ยวกับคดีไว้ด้วยนะคะ เอกสารบางอย่างอาจจะช่วยเราในอนาคต ป.ล.2 เดี๋ยวนี้มิจฉาชีพเยอะ พวกแอบอ้างก็เยอะ .... น้องคนไหนที่คิดว่ามีคนเขียนเป็นคนดูแลเคส .... ถ้าน้องไม่เคยคุยกับคนเขียนเลย ไม่มีการเซ็นสัญญาทำงานกับคนเขียน น้องไม่ได้มีคนเขียนดูแลนะคะ ... คนเขียนไม่ทำงานผ่านคนกลาง ไม่ว่าจะใครก็แล้วแต่ ... ตลอดการทำงาน การคุยเคส ไม่ว่าจะโทรศัพท์ ไลน์ SMS อีเมล์ หรือการส่งเอกสาร ลูกความของคนเขียนทุกคนติดต่อคนเขียนโดยตรง และติดต่อได้ตลอด ... ถ้ามีใครบอกว่าคนเขียนเป็นทนายที่ดูแลเคสน้อง แต่น้องคุยงานผ่านคนอื่น ส่งเอกสารผ่านอีเมล์คนอื่น น้องถูกหลอกค่ะ Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com คนเขียนมีน้องโทรมาถามกันเป็นระยะๆ
พี่คะ แฟนหนูเคยสปอนเซอร์แฟนมาแล้ว 2 คน เค้าจะสปอนเซอร์หนูได้ไหมคะ พี่คะ แล้วถ้าหนูมีลูกด้วยกัน มันจะทำให้เคสง่ายขึ้นไหมคะ คำถามสั้น คำตอบไม่สั้น -- คนเขียนไม่ค่อยตอบว่าทำได้ หรือทำไม่ได้ บอกตามตรงว่าคำตอบแบบนี้ สำหรับคนเขียนรู้สึกว่าเป็นคำตอบไร้สาระ ตอบแบบไม่มีความรับผิดชอบ * ตอบว่าทำได้ ก็เป็นคำตอบให้ความหวัง แต่จริงๆอาจจะทำไม่ได้ * ตอบว่าทำไม่ได้ ก็เป็นคำตอบตัดความหวัง แต่จริงๆอาจจะทำได้ ก็ได้ กฏหมายคนเข้าเมืองอนุญาตให้สปอนเซอร์แฟนได้แค่ 2 คนค่ะ (Sponsorship limitation) ... ถ้าต้องการสปอนเซอร์แฟนคนที่ 3 ต้องโชว์เหตุผลน่าเห็นใจ แจกแจงไปว่าทำไมอิมมิเกรชั่นถึงควรจะอนุญาตให้สปอนเซอร์อีกได้ ซึ่งไม่ง่าย แต่ละเคสเราต้องดูเนื้อหา เข้าใจเคสในรายละเอียด บางเคสต้องคิดหลายวัน บางเคสคิดกันเป็นเดือน บางเคสคิดไปตลอดระยะเวลาการทำงาน เพราะเป็นเคสความเสี่ยงสูง ถ้าใครจับพลัดจับผลู ได้แฟนที่สปอนเซอร์ไปแล้ว 2 คน ทางเลือกของน้อง คือ 1. เลิก 2. เป็นแฟนกันไป แต่น้องหาวีซ่าอื่นยื่น ... ที่ไม่ใช่ Partner visa 3. ลุยไปข้างหน้ากับ Partner visa แต่เข้าใจว่าเคสไม่ง่าย เพราะต้องพิสูจน์เหตุผลน่าเห็นใจ สำหรับปีนี้ คนเขียนจบเคสสปอนเซอร์แฟนคนที่ 3 ไป 2 เคส เคสแรก เป็นคู่ต่าง (ชาย-หญิง) ไม่มีลูกด้วยกัน ----- ลูกความกลัวเคสยากไม่พอสำหรับคนเขียน ระหว่างรอเคส คุณสปอนเซอร์ก็ไปมีคดีอาญา ให้คนเขียนแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเพิ่มด้วย เคสที่สอง เป็นคู่เหมือน (ชาย-ชาย) ก็แน่นอน ไม่มีลูกด้วยกัน ----- เคสนี้ ระยะเวลาความสัมพันธ์ค่อนข้างสั้น และอิมมิเกรชั่นก็เรียกเคสเร็วกว่าที่คาดไว้ ... แผนงาน (Strategy) ที่วางไว้ เป็นอันต้องปรับใหม่หมด แก้ปัญหาเฉพาะหน้าอีกแล้ว ทั้งสองเคส ลูกความน่ารักมาก Proactive .... ขออะไร ได้ .... ให้ทำอะไร ทำ ทั้งสองเคส คนเขียนแจ้งค่าใช้จ่ายชั้นอุทธรณ์เผื่อไว้เลยตั้งแต่ก่อนเริ่มงาน เพราะเป็นเคสความเสี่ยงสูง (ทำงานกับคนเขียน ไม่มีโลกสวยนะคะ) ทั้งสองเคส ได้เอาเงินเก็บที่เตรียมไว้สำหรับชั้นอุทธรณ์ไปทำอย่างอื่น เพราะเคสผ่านไปได้ด้วยดีที่ชั้นอิมมิเกรชั่น เคสแรก (ชาย-หญิง) ใช้เวลาเกือบ 3 ปี เคสที่สอง (ชาย-ชาย) ใช้เวลา 8 เดือน ลูก ..... ถ้าจะมีลูกเพราะอยากมี จัดไป .... ถ้าจะมีลูก เพราะคิดว่าจะช่วยเรื่องวีซ่า ขอร้องอย่าทำ 1. ไม่แฟร์กับเด็กที่จะให้เค้าเกิดมาด้วยเหตุผลแบบนี้ 2. ไม่มีลูกด้วยกัน เคสก็ผ่านได้ 3. มีลูกด้วยกัน ก็ไม่ได้แปลว่าจะทำให้เคสง่ายขึ้นเสมอไป คนตัดสินเคสทั้งชั้นอิมมิเกรชั้น และชั้นอุทธรณ์ ก็คนเหมือนเราๆนี่แหละ ... บางคนก็มีความเห็นอกเห็นใจ ... บางคนก็ไม่สน ไม่แคร์ ... และถ้าเคสถูกปฏิเสธ นอกจากตัวเองจะเดือนร้อนแล้ว ยังเอาเด็กตัวเล็กๆที่ไม่รู้เรื่องอะไร มาเดือนร้อนไปด้วย ... และถ้าบังเอิญความสัมพันธ์ไปไม่รอดล่ะ ?? Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com Q: อุ๊ย 482 มี GTE ด้วยเหรอ ??
A: มีค่ะ สำหรับอาชีพที่อยู่ใน Short term list (STSOL) Q: เอิ่ม .... GTE คืออะไร ??? A: GTE หรือ Genuine Temporary Entrant คือประเด็นการพิจารณาของบางวีซ่า เช่นวีซ่านักเรียน วีซ่าทำงาน วีซ่าท่องเที่ยว ที่อิมมิเกรชั่นจะต้องเชื่อว่าน้องเข้ามาเรียน มาทำงาน มาท่องเที่ยว แล้วก็จะกลับประเทศของตัวเอง วีซ่านักเรียนและวีซ่าท่องเที่ยวถูกปฏิเสธด้วยประเด็นนี้เยอะมาก ประเด็น GTE ปกติแล้วไม่ใช่ปัญหาใหญ่สำหรับการขอ 482 STSOL .... แต่ต้องระวัง ถ้า * อยู่ออสเตรเลียมานานหลายปีแล้ว * ถือ 457 หรือ 482 STSOL มาแล้ว และต้องการขอ 482 STSOL รอบที่ 2 หรือ 3 หรือ 4 .... * มีประวัติเคยยื่นขอวีซ่าถาวร !!! เคสที่คนเขียนจะแชร์วันนี้ เป็นเคสรวมมิตร รวมทั้ง 3 ประเด็นเลย * น้องถือ 457 รุ่นเก่า ที่ทำงานกับนายจ้างครบ 2 ปี สามารถต่อยอดไปขอวีซ่าถาวร 186 ได้ * น้องไม่มีผลภาษาอังกฤษ ทนายของน้องแนะนำให้ยื่น 186 บอกว่าผ่านแน่นอนโดยใช้ผลการเรียนที่เป็นภาษาอังกฤษ 5 ปี * ยื่นไปได้ 20 วัน น้องถูกปฏิเสธ ด้วยเหตุผลว่าไม่มีผลการเรียน 5 ปี * ทนายของน้องแนะนำให้ยื่นอุทธรณ์ บอกว่าผ่านแน่นอนที่ชั้นอุทธรณ์ น้องมาปรึกษาคนเขียน ขอความเห็นที่สองเกี่ยวกับเคสอุทธรณ์ และแนวทางว่าจะอยู่ที่นี่ต่อยังไง เพราะวีซ่า 457 ที่ถืออยู่กำลังจะหมด ความเห็นของคนเขียนคือ * เคสอุทธรณ์ 186 ไม่น่าจะรอด เพราะน้องไม่มีผลการเรียนที่เป็นภาษาอังกฤษ 5 ปีจริงๆ (ถ้าจะรอด ก็คือฟลุ๊ก Tribunal member เห็นใจ แอบหลับตาข้างนึง) * ยื่น 482 ได้ เสี่ยงถูกปฏิเสธ เพราะ - น้องอยู่มา 13 ปีแล้ว - ถือ 457 มาแล้ว 4 ปี และกำลังจะขอ 482 STSOL - มีประวัติการยื่นขอวีซ่าถาวร 186 และตอนนี้เรื่องอยู่ที่ชั้นอุทธรณ์ ..... แต่น้องกำลังจะเชิญชวนให้อิมมิเกรชั่นเชื่อว่าน้องต้องการที่จะอยู่ที่ออสเตรเลียชั่วคราว เพื่อทำงาน และอนาคตก็จะกลับไปใช้ชีวิตที่ไทย .... เคสนี้เราให้ข้อมูลประเด็นนี้ไปแล้วรอบนึงตอนยื่นใบสมัคร คาดไว้แล้วว่าเราอาจจะเจอรอบ 2 (แต่แอบหวังว่าจะไม่เจอ) พอเราได้จดหมายให้เวลา 28 วัน เพื่อตอบประเด็นนี้อีกรอบ คนเขียนเฉยๆ น้องก็ไม่ตกใจ เพราะเราเข้าใจตรงกันตั้งแต่ต้นแล้ว ... ให้ทำอะไร น้องทำ ... ขออะไร น้องหาให้ .... สุดท้ายน้องก็ได้ 482 ..... มีเวลาหายใจ มีเวลาปรับแผนชีวิต มีเวลาสอบภาษาอังกฤษ ทั้งน้องและนายจ้าง อยากให้คนเขียนทำเคสอุทธรณ์ 186 ที่ทนายคนเดิมยื่นไว้ .... ปกติแล้วคนเขียนไม่ค่อยปฏิเสธลูกความที่คนเขียนเคยทำเคสให้ ... แต่คณิตคิดง่าย .... ทนายคนเดิมของน้อง มีความเห็นว่าเคสอุทธรณ์ผ่านแน่ๆ และน้องก็เสียตังค์ค่าบริการไปแล้ว .... ส่วนคนเขียนคิดว่าเคสไม่น่าจะไม่รอด แล้วจะรับทำเคส ให้น้องเสียตังค์เพิ่มโดยใช่เหตุไปเพื่ออะไร .... ก็ให้น้องอยู่กับทนายเดิมไป ถ้าเคสผ่านคนเขียนก็ดีใจไปกับน้องด้วย .... ถ้าไม่ผ่าน ก็เป็นไปตามที่แจ้งไว้ และก็ได้ให้แนวทางไว้แล้วว่าระหว่างนี้ ควรทำอะไร และปรับแผนชีวิตยังไง ส่วนน้องจะทำ หรือจะแค่รอความหวังกับเคสอุทธรณ์ที่ทนาย 2 คนเห็นไม่เหมือนกัน ก็แล้วแต่น้อง น้องบางคนอ่านโพสนี้อาจจะคิดว่า Q: อ้าว ขนาดทนายด้วยกันยังเห็นไม่เหมือนกัน แล้วชีวิตชั้นจะรอดไหม ???? A: เป็นเรื่องปกติมากที่ทนายความหรือเอเจนต์จะมีความเห็นไม่ตรงกัน หรือมีสไตล์การทำงานที่ไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะด้วยประสบการณ์การทำงานที่ต่างกัน หรือตีความกฏหมายต่างกัน บางคนลืมเช็คข้อกฏหมายก่อนให้คำแนะนำลูกความ หรือลืมเช็คข้อกฏหมายก่อนยื่นใบสมัคร (อย่าลืมว่ากฏหมายคนเข้าเมือง เปลี่ยนบ่อยมาก) Q: โอเค เข้าใจที่พูดมา แต่ในทางปฏิบัติ ชั้นทำอะไรได้บ้าง A: หาความเห็นที่ 2 (หรือ 3 หรือ 4... ) หาคนที่ใช่ ที่น้องมั่นใจ คนที่คลิ๊กค์และคุยกันรู้เรื่อง .... การนัดปรึกษาเบื้องต้นเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เป็นโอกาสที่คุณจะได้คุยเบื้องต้น หาแนวทางสำหรับอนาคต หรือหาแนวทางสำหรับเคสที่กำลังเจอปัญหา เปรียบเทียบและพิจารณาว่าคำแนะนำไหน Make sense มากที่สุด (อย่าลืมทำการบ้านเองด้วย ก่อนคุยเคส น้องจะได้ประโยชน์มากกว่า) นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสที่น้องจะได้พิจารณาบุคลิก การพูดจา สไตล์การทำงาน ความน่าเชื่อถือ ของคนที่เราอาจจะใช้บริการด้วย Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com วันนี้คนเขียนมาแชร์ประสบการณ์การทำ Skills Assessment ตำแหน่ง Restaurant Manager
เคสนี้ น้องติดต่อคนเขียนมา 5 เดือนก่อนวีซ่าหมดอายุ ..... มองเผินๆเหมือนน้องติดต่อมาเนิ่นๆ เวลาเหลือเฟือ ... แต่พอมองระยะเวลาภาพรวม และวีซ่าที่น้องต้องการยื่น เวลาเหลือไม่เยอะเลย เพราะสเต็ปที่ต้องทำก่อนการยื่นวีซ่ามีเยอะ และแต่ละสเต็ปก็ต้องใช้เวลาในการเตรียมเคส และเวลาในการรอผล ส่วนใหญ่น้องที่ให้คนเขียนทำ Skills Assessment ก็จะให้คนเขียนทำงานส่วนอื่นด้วย เพราะฉะนั้นต่อให้เราเริ่มงานกันที่ Skills Assessment คนเขียนไม่ได้พิจารณาเอกสารสำหรับการยื่น Skills Assessment เท่านั้น แต่พิจารณาเผื่อไปถึงสเต็ปอื่นด้วย Skills Assessment เคสนี้ ระยะเวลาพิจารณาปกติคือ 10-12 อาทิตย์ (3 เดือน) และมี Option ให้เลือกเป็น Priority processing ได้ด้วย ซึ่งจะทราบผลภายใน 10 วันทำการ .... คนเขียนให้น้องเลือก เพราะระยะเวลายังพอยื่นแบบปกติได้ แต่น้องก็เลือกแบบ Priority processing ข้อดีของ Priority processing คือเร็ว ..... ข้อเสียคือจะไม่มีการขอเอกสารเพิ่ม ถ้าพลาด เอกสารไม่ครบ หรือไม่ดีพอ ก็ถูกปฏิเสธเลย เคสนี้ คนเขียนตีเอกสารกลับไปให้น้องแก้ รวมทั้งขอเอกสารเพิ่มหลายครั้ง เพราะเราพลาดไม่ได้ โดยเฉพาะเคสนี้ ที่น้องรับค่าจ้างเป็นเงินสด Q: เอะ รับเงินสดได้ด้วยเหรอ ??? A: ได้สิ ไม่มีกฏหมายห้ามรับค่าจ้างเป็นเงินสด ... ตราบใดที่มีการจ่ายภาษี และทำทุกอย่างกันอย่างถูกต้องตามกฏหมาย (แต่รับเงินเข้าบัญชี ดีที่สุด เพราะพิสูจน์ง่ายกว่า = เคสมีความเสี่ยงน้อยกว่า) น้องเห็นคนเขียนตีเอกสารกลับ ขอเอกสารเพิ่ม ก็กังวลว่าเคส Skills Assessment จะมีปัญหาไหม ซึ่งคนเขียนบอกเลยว่า ... ไม่ค่ะ ... คนเขียนมั่นใจว่าเคส Skills Assessment ไม่มีปัญหา .... แต่อย่างที่เกริ่นไป คนเขียนพิจารณาเอกสารเผื่อสเต็ปอื่นไปด้วยเลย (Why not?) ในเมื่อคนเขียนก็เป็นคนทำสเต็ปต่อไปให้ลูกความ และเห็นข้อมูลและปัญหาอื่นอยู่ เราก็มองไกลนิดนึง แก้ปัญหาล่วงหน้าไปพร้อมๆกับการเตรียมยื่น Skills Assessment เลย เคสนี้ Skills Assessing Authority ตอบรับการพิจาณาเคสเป็นแบบ Priority Processing วันศุกร์ .... วันพุธ ตี 2 คนเขียนได้รับอีเมล์ว่า Skills Assessment ผ่านแล้ว .... ม้วนเดียวจบ ใช้เวลา 2 วันทำการ ! .... รับเงินสด เอกสารก็แน่นได้ (ในบางเคส) .... จบไป 1 สเต็ป มีเวลาหายใจ และเตรียมสเต็ปถัดไป ป.ล. เคสรับเงินสด แบบสดจริงๆ ไม่มีบันทึก ไม่จ่ายภาษี ไม่ต้องคิดเลยนะคะ เสมือนไม่ได้ทำงาน .... เพราะฉะนั้น ถ้าคิดว่าวันนึงอาจจะต้องการยื่นวีซ่าที่ต้องใช้ประสบการณ์การทำงาน .... หางานที่เข้าระบบ และเสียภาษี คนเขียนมีน้องหลายคนที่มาปรึกษา ประสบการณ์การทำงานสูงหลายปีเลย แต่รับ cash in hand ทั้งหมด ไม่มี record อะไรทั้งสิ้น สะดวกนายจ้าง สะดวกลูกจ้าง รับเงินสดเต็มๆ แต่สุดท้ายจบอยู่ตรงนั้น ไปต่อไม่ได้ .... ฝากไว้ให้คิด Tip: พยายามทำงานในสายอาชีพที่เลือกให้ได้อย่างน้อย 20 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ .... เพราะ Skills Assessing Authority หลายๆที่ ไม่พิจารณาระยะเวลาการทำงานที่น้อยกว่า 20 ชั่วโมงต่ออาทิตย์เลยนะคะ Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com เมื่ออาทิตย์ก่อน คนเขียนเข้าร่วมสัมมนาที่จัดโดยหน่วยงานอุทธรณ์ Administrative Appeals Tribunal - AAT และหนึ่งในข้อมูลที่ได้รับจาก AAT คือ เคสธุรกิจ - นายจ้างสปอนเซอร์ มีเรทการชนะที่ชั้นอุทธรณ์ที่ 35% !!!
อนาคตไม่รู้ .... แต่ ณ วันนี้ เคสอุทธรณ์นายจ้างสปอนเซอร์ของคนเขียนทุกเคสอยู่ใน 35% นี้ การเตรียมเคสนายจ้างสปอนเซอร์ โดยเฉพาะเคสถูกปฏิเสธ Nomination ไม่ง่าย เพราะเป็นการพิสูจน์ใหม่หมดทุกประเด็น ไม่ใช่เฉพาะประเด็นที่ถูกปฏิเสธ และในความเห็นของคนเขียน ถ้าเตรียมเคสดีๆ ก็มีโอกาสสูงอยู่ เพราะส่วนใหญ่เป็นประเด็นที่ไม่ Black / White แต่ออกแนว Grey คือเรามีโอกาสที่โน้มน้าวให้ Tribunal member (คนตัดสินเคส) เห็นตามแนวทางการโต้เถียงของเรา สำหรับคนที่ไม่รู้ .....
หลายคนอาจจะสงสัยว่า Q: อ้าว ... แล้วจะยื่นไปพร้อมกันทำไม คือควรจะยื่น Nomination application และรอให้ผ่านก่อน แล้วค่อยยื่น Visa application ดีกว่าไหม A: จะยื่นพร้อมกัน หรือยื่นแยกเป็นสเต็ป ไม่มีสูตรตายตัวค่ะ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง พิจารณากันไปเคสๆไป ทั้ง 2 แบบ มีข้อดี ข้อเสีย แตกต่างกัน บางคนอาจจะไม่มีทางเลือก เช่นวีซ่ากำลังจะหมด หรือกฏกำลังจะเปลี่ยน หรือบางคนมีทางเลือก แต่ก็ยังควรจะยื่นไปพร้อมๆกัน ด้วยเหตุผลเฉพาะของแต่ละเคส (การให้คำแนะนำเคสพวกนี้ ต้องสัมภาษณ์แบบเจาะลึกค่ะ) Q: อุ๊ย ... ถ้า Nomination ถูกปฏิเสธ เราก็รีบถอนใบสมัครวีซ่า ก่อนถูกปฏิเสธสิ ??? A: ขึ้นอยู่กับเนื้อหา / สถานการณ์ของแต่ละเคสอีกแล้ว บางเคสก็ควรถอนเรื่อง บางเคสก็ควรปล่อยให้ถูกปฏิเสธแล้วไปอุทธรณ์ ยกตัวอย่างเช่น น้องยื่นวีซ่าก่อนกฏเปลี่ยน ถ้าถอนเรื่อง แล้วรอยื่นใหม่เมื่อพร้อม น้องก็ต้องยื่นให้เข้ากฏปัจจุบัน ซึ่งอาจจะเป็นไปไม่ได้สำหรับน้องบางคน (ถ้าถึงจุดที่ Nomination ถูกปฏิเสธ และไม่ทราบว่าควรจะถอนเรื่อง หรือปล่อยให้วีซ่าถูกปฏิเสธดี ควรจะนัดปรึกษาค่ะ เพราะบางเคส ต่อให้น้องเข้ากฏเก่า และคิดว่าควรจะปล่อยให้ถูกปฏิเสธ เพื่อไปอุทธรณ์ แต่ถ้า Nomination หรือ Visa application ไม่มีโอกาสชนะเลย การยื่นอุทธรณ์ก็อาจจะไม่ใช่ทางออก) คนเขียนจบเคสอุทธรณ์ 186 / 187 Nomination & Visa applications ไป 3 เคสเมื่อไม่นานมานี้ ทั้ง 3 เคสเป็นเคสที่ยื่น Nomination & Visa applications ไปพร้อมกัน (2 ใน 3 เคสนี้ เป็นเคส Self-sponsorship) .... พอ Nomination ไม่ผ่าน Visa ก็ไม่ผ่านด้วย ทั้ง 3 เคส Strategy ของเรา (ด้วยเหตุผลที่ต่างกัน แต่ผลลัพธ์เหมือนกัน) คือ .... จูงมือกันไปอุทธรณ์ทั้งส่วนของนายจ้าง และลูกจ้าง ความน่าสนใจของลูกความ 3 เคสนี้ เคสที่ 1 - ลูกความ Proactive แบบสุดๆ แนะนำให้ทำอะไร ได้ดั่งใจทุกอย่าง ทั้งส่งเอกสาร ทั้งติดต่อคนเขียนเป็นระยะๆ อัพเดทกันตลอด มีคำถามอะไรเกี่ยวกับธุรกิจที่อาจจะกระทบกับเคส น้องโทรขอคำแนะนำก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไร หรือไม่ทำอะไร .... เคสยาก แต่ไม่มีความหนักใจเลย เคสที่ 2 - แนะนำอะไรไป ก็ทำมั่ง ไม่ทำมั่ง และแอบทำเคสเละระหว่างรอ Hearing อีกตังหาก (ลูกความของคนเขียนทุกคน ยกหูโทรหาคนเขียนได้ตลอดไม่ต้องนัดล่วงหน้า ถ้าไม่รับสาย เดี๋ยวโทรกลับ ... แต่น้องลูกความไม่โทร ไม่ถามนี่สิ) .... คนเขียนก็งานงอกซิคะ ต้องมานั่งแก้ปัญหาที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นหลายประเด็นตอนใกล้ Hearing เหนื่อยแบบสุดๆกับการคิด ว่าจะยื่นเอกสารอะไร จะเชิญชวนให้ Tribunal member เห็นดีเห็นงามไปกับคนเขียนได้ยังไงกับเคสที่ไม่ค่อยสวย .... จากนั้นก็มาลุ้นต่อว่าจะชนะหรือไม่ เคสที่ 3 - ลูกความรู้ดีกว่าคนเขียน (ใช่แล้ว บางทีเราก็ได้ลูกความที่รู้ดีกว่าเรา) .... เหนื่อยหนักกว่าเคสที่ 2 อีก กลัวเคสจะไปไม่รอด .... ลองนึกถึงคนที่แนะนำอะไรไปก็เถียง ไม่ฟัง ให้เตรียมอะไรก็ไม่เตรียมเพราะมั่นใจในตัวเอง .... บอกตามตรงว่าคนเขียนมีโมเม้นต์ที่อยากจะเชิญลูกความให้เอาเคสกลับไปทำเอง ทั้ง 3 เคส คนเขียนเคลียร์ประเด็นที่ถูกปฏิเสธโดยอิมมิเกรชั่นได้แบบไม่ยาก แต่เนื่องจาก AAT ดูเคส Nomination ใหม่หมดทุกประเด็น ไม่ใช่แค่ประเด็นที่ถูกปฏิเสธ เพราะฉะนั้นเราโฟกัสไปประเด็นที่ถูกปฏิเสธประเด็นเดียวไม่ได้ และทั้ง 3 เคสนี้ ประเด็นที่เป็นปัญหาจริงๆที่ชั้นอุทธรณ์ ก็ไม่ใช่ประเด็นที่ถูกปฏิเสธโดยอิมมิเกรชั่น (ความน่าปวดหัวของเคส Nomination อยู่ตรงนี้เอง) ..... ลองนึกภาพ คนเขียน: น้องคะ ประเด็นนี้ (xxx) คาดว่าจะเป็นประเด็นหลัก น้องเตรียมเอกสาร 1 2 3 4 และเตรียมข้อมูล (yyy) ไว้ด้วยนะคะ คาดว่าคำถามจะมาประมาณ บลา ... บลา ... บลา ลูกความ: โอ๊ยพี่ ไม่ต้องหรอก มั่นใจว่าประเด็นนี้ไม่ใช่ปัญหา เพราะ บลา ... บลา ... บลา (หลงประเด็น แต่มั่นใจ) คนเขียน: น้องถือสายรอแป๊บนึงนะคะ เดี๋ยวกลับมาอธิบายให้ฟังอีกรอบ [คนเขียนขอเอาหัวไปโขกเสา 3 รอบ และนับ 1 - 100 ก่อน] จริงๆ อธิบายย้ำไปอีกหลายรอบ .... แนะนำได้ แต่ถ้าลูกความไม่ทำ คนเขียนก็ทำอะไรไม่ได้ ได้แต่ทำใจ วัน Hearing: ไม่ใช่แค่ประเด็นที่คาดไว้เท่านั้น แต่เป็นคำถามที่คาดไว้ด้วย น้องตอบไม่ได้ เพราะไม่ได้เตรียม (คนเขียนอยากจะบอกว่า I told you so!!) .... คนเขียนจะไม่แคร์ก็ได้ เพราะพยายามแล้ว แนะนำแล้ว ซ้ำหลายรอบด้วย แต่น้องไม่ฟัง ไม่เตรียม .... แล้วแคร์ไหม ? .... อยากจะไม่แคร์เหมือนกัน แต่ทำไม่ลง ... สำหรับคนเขียน ตราบใดที่เคสยังอยู่ในมือ ก็ต้องทำให้ดีที่สุด .... เราก็ต้องมีเทคนิคการช่วยลูกความ รวมถึงโดน Tribunal member โวยใส่แทนลูกความด้วย !!!! (แอบสงสารตัวเองนิดนึง) เห็นไหม ว่าทำไม การทำเคสแต่ละเคส เรารับประกันความสำเร็จของงานไม่ได้ .... ปัจจัยที่อาจจะทำให้เคสไม่ผ่าน มีเยอะแยะมากมาย รวมถึงปัจจัยที่ไม่ควรจะเกิดแบบเคสนี้ แนะนำแล้วไม่ทำ สุดท้ายน้องมาขอโทษ ที่ไม่ฟัง และไม่เตรียมเคสตามที่แนะนำ และทำให้คนเขียนโดนโวย .... สำหรับคนเขียน การโดนโวยแทนลูกความเป็นเรื่อง จิ๊บ จิ๊บ ไม่คิดมาก [แต่ไม่โดนเลย ดีที่สุด] .... แต่ที่เคืองคือน้องไม่ฟัง และทำเคสเกือบพัง .... คนเขียนพยายามฝ่ายเดียวไม่ได้นะคะ น้องลูกความต้องพยายามด้วย นี่คือเหตุผลที่บางเคส คนเขียนก็ต้องเชิญลูกความให้ไปใช้บริการคนอื่น ถ้าไม่เชื่อ Strategy และคำแนะนำของคนเขียน ถ้าเชื่อคนอื่น หรือเชื่อตัวเองมากกว่า บอกเลยว่าช่วยยาก และเสียเวลามาก คนเขียนขอเอาเวลาอันมีค่า ไปช่วยคนที่มั่นใจในตัวคนเขียนดีกว่า ล่าม - ถ้าไม่มั่นใจในภาษาอังกฤษของตัวเอง หรือของพยาน ขอล่ามไว้ก่อน (ฟรี) .... คือมีล่าม แล้วไม่ใช้ก็ได้ แต่ถ้าจะใช้ แล้วไม่มี เดือดร้อนนะคะ เอเจนต์หรือทนายความช่วยแปลไม่ได้ เพื่อนน้องหรือพยาน ก็ช่วยแปลไม่ได้ ทั้ง 3 เคส คนเขียนขอล่ามให้ทุกเคส ลูกความของคนเขียน ก็มีทั้งแบบใช้ล่ามเป็นบางช่วง ไม่ใช้ล่ามเลยเพราะสื่อสารกันรู้เรื่อง เคสที่แอบปวดหัวคือเคสที่สื่อสารไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่ก็ไม่ยอมใช้ล่าม (จุดประสงค์ของการ Hearing คือการสื่อสารกับ Tribunal member ถาม-ตอบ และให้ข้อมูลว่าเคสเราควรจะผ่านเพราะอะไร ไม่ใช่การโชว์ความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษ และถ้าสื่อสารแบบติดๆขัดๆ นอกจากจะไม่ได้ช่วยเคสแล้ว คุณก็ไม่ได้โชว์ความสามารถทางภาษาอยู่ดี) ทั้ง 3 เคส เราชนะที่ชั้นอุทธรณ์ และเคสจบไปได้ด้วยดี .... ข้อมูลอีกอย่างที่ได้จากวันสัมมนา คือ ... 40% ของเคสธุรกิจ - นายจ้างสปอนเซอร์ที่ชั้นอุทธรณ์ใช้ระยะเวลารอเกิน 2 ปี .... เพราะฉะนั้น การตามเคสถี่ๆ ไม่ได้ทำให้เคสเร็วขึ้น คนอื่นเค้าก็รอเคสนานเหมือนคุณ ถ้าไม่มีเหตุผลอันสมควร ไม่ต้องคิดลัดคิว .... สิ่งที่จะช่วยคุณได้คือการใช้เวลาระหว่างรอเคสให้เป็นประโยชน์ที่สุด เก็บเอกสารหลักฐานที่จะต้องใช้ ... ในขณะเดียวกัน ก็ไม่ปิดโอกาสตัวเองในระหว่างรอ อย่าลืมว่ากฏหมายด้านนี้เปลี่ยนบ่อยมาก คุณอาจจะมีโอกาสยื่นและได้วีซ่าตัวอื่นในระหว่างรอเรื่องก็ได้ Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com วันนี้คนเขียนมาแชร์ประสบการณ์ ทำเคสเอง ดีใจเอง เผลอๆดีใจมากกว่าลูกความซะอีก เพราะทราบว่าผล Bridging visa ตัวนี้ ให้ประโยชน์ลูกความมากมาย ..... ถ้าน้องจะใช้เวลาให้เป็นประโยชน์
น้องโทรมาถามว่า Bridging visa E (BVE) ใกล้จะหมด ทำยังไงได้บ้าง คนเขียนถามคร่าวๆว่าไปทำอะไร ยังไง ก่อนจะถือ ฺBridging visa E น้องก็ตอบมาแบบงงๆ คนเขียนก็งงๆ ไปกับน้องด้วย เคสน้องค่อนข้างยุ่งเหยิงค่ะ คนเขียนขอไม่ลงรายละเอียด .... แต่ .... สรุปว่าต้องนัด Consultation ค่ะ และก็เป็นไปตามคาด น้องก็บอกตามความเข้าใจ แต่เอกสารมาอีกเรื่องนึงเลย และเอกสารก็มีไม่ครบเพราะทำเองบ้าง เพื่อนช่วยบ้าง เพื่อนของเพื่อนช่วยบ้าง .... สรุปว่า ข้อมูลบางอย่างคนเขียนต้องคาดเดาเอาเอง (จากประสบการณ์) ลูกความ : พี่ ... ทำยังไงได้บ้าง BVE ผมกำลังจะหมด และพาสปอร์ตผมก็หมดอายุไปแล้วด้วย คนเขียน : น้องต่อ BVE ใหม่ได้ค่ะ แต่คิดว่าไม่จำเป็น เพราะเท่าที่ดู เหมือนจะมีความผิดพลาดที่ระบบ คือ ฺBVE ของน้อง ยังไม่ควรจะมีวันหมดอายุ ควรจะโชว์ indefinite .... พาสปอร์ตไม่ใช่ปัญหา ลูกความ : อุ๊ย .... เหรอพี่ .... ผมต่อ BVE ได้อีกใช่ไหม ค่อยโล่งใจหน่อย คนเขียน : ใช่ค่ะ ต่อได้ (ก็เพิ่งบอกไป) .... แต่ไม่ควรต่อ .... ควรจะเถียงกับอิมมิเกรชั่น ให้ BVE ตัวเดิม ยืดอายุออกไปถึงจะถูก คนเขียน : ............ เงียบ ............ (เงียบไป แปลว่าอ่านหรือจด ---- เงียบนี้ คือกำลังอ่านข้อกฏหมายอยู่ และปรับเทียบกับประวัติของน้องลูกความ) คนเขียน : .... อืม .... ดูเอกสารน้องแล้ว เหมือนน้องน่าจะมีสิทธิ์ได้ Bridging visa A (BVA) นะคะ .... แต่เสี่ยงอยู่ เพราะเอกสารตัวที่อยากเห็น และจะใช้อ้างอิง น้องไม่มี แต่จากประสบการณ์ และการนับนิ้ว คิดว่าเคสนี้มีลุ้น เคสนี้คนเขียนต้องนับวันค่ะ .... วันที่ เป็นอะไรที่สำคัญมาก .... จะรอดหรือไม่รอด ขึ้นอยู่วันที่ของ Bridging visa ตัวเดิมที่ลูกความเคยถือ ว่าหมดอายุเมื่อไหร่ (แต่ลูกความไม่มี !!!) Big deal มากนะคะ !!!!! BVA ดีกว่า BVE มากมาย .... ถือ BVA สามารถยื่นขอ BVB เพื่อออกนอกประเทศออสเตรเลียได้ เปิดโอกาสให้ลูกความยื่นวีซ่าตัวอื่นแบบนอกประเทศออสเตรเลียได้ และกลับมารอวีซ่าในประเทศได้ (สำหรับเคส section 48 bar) ในขณะที่ BVE น้องออกไปไหนไม่ได้เลย (คือ ออกได้ แต่กลับเข้ามาไม่ได้) อ่านโพสเกี่ยวกับ Bridging visa ได้ที่นี่ค่ะ คนเขียนให้น้องเลือกเองระหว่าง 1. BVA ค่าบริการสูงกว่า เพราะเคสยากกว่า จะได้รึเปล่าไม่รู้ แต่มีลุ้น กับ 2. BVE ค่าบริการถูกกว่า และได้แน่ๆ ไม่ว่าจะเป็น BVE ตัวเดิมแต่เปลี่ยนจากมีวันหมดอายุ เป็นไม่มีวันหยุดอายุ หรือ BVE ตัวใหม่ ....... ติ๊กต๊อก .... ติ๊กต๊อก ....... น้องตัดสินใจให้คนเขียนลองยื่นขอ BVA ให้ ...... Good decision ค่ะ (คนเขียนอยากลอง เพราะเชื่อว่ามีลุ้น แต่นี่ชีวิตของลูกความ ตังค์ของลูกความ ก็ต้องให้ลูกความตัดสินใจเอง) ........ ปรากฏว่า อิมมิเกรชั่นได้ใบสมัคร BVA วันที่ 13 .... ปฏิเสธ BVA วันนั้นเลย ! ..... แอบผิดหวังไป 10 วิ (ก่อนอ่านคำตัดสิน) คนเขียนคิดว่าถ้าปฏิเสธเพราะเรื่องวันที่ (ที่เราไม่มีเอกสารอ้างอิง แต่อิมมิเกรชั่นมีในระบบ) เราก็ต้องยอมรับผลคำตัดสินนั้น ..... ปรากฏว่าไม่ใช่ค่ะ .... ถูกปฏิเสธเพราะเจ้าหน้าที่อ้างว่าน้องเคยถือ BVE มาแล้ว จะกลับมาถือ BVA ไม่ได้ ! ........ โดยส่วนใหญ่แล้ว .... ใช่ค่ะ .... ถือ ฺBVE แล้ว จะกลับมาถือ BVA ไม่ได้ ..... แต่ .... ไม่เสมอไป เคสนี้คนเขียนไม่คิดตังค์ลูกความเพิ่มด้วย .... แต่ขอ fight หน่อย เคืองใจมาก .... เจ้าหน้าที่ตัดสินแบบไม่ดูข้อกฏหมายได้ยังไง ... คนเขียนส่งอีเมล์ ระบุข้อกฏหมายที่ถูกต้องไปให้อิมมิเกรชั่น และขอให้พิจารณาใหม่ (เราไม่ยื่นใบสมัครใหม่ และเราก็ไม่ยื่นอุทธรณ์ด้วย) คนเขียนบอกน้องว่า BVA ถูกปฏิเสธนะ แต่รอก่อนกำลัง fight ให้อยู่ จะหมู่หรือจ่า เดี๋ยวอีกวันสองวันคงรู้เรื่อง วันนี้ อิมมิเกรชั่นส่ง BVA grant letter มาค่ะ .... ไม่มี condition ใดๆ เรียนได้ ทำงานได้ (ออกนอกประเทศได้ด้วย BVB) ....... ถูกปฏิเสธวันที่ 13 เปลี่ยนเป็น Visa grant ให้วันที่ 15 ..... สรุปว่าอิมมิเกรชั่นยอมรับว่าตัดสินผิด และข้อมูลที่คนเขียนต้องเดาและนับนิ้วจากประสบการณ์ ก็ถูกต้อง และตรงกับข้อมูลในระบบของอิมมิเกรชั่นค่ะ ..... เคสจบไปได้ด้วยดี ..... เย้ ........ ถือวีซ่าผิด ชีวิตเปลี่ยน ..... ........ ตัดสินใจผิด ชีวิตเปลี่ยน .... ฝากไว้ให้คิด บางครั้งโอกาสก็มากับการใช้เวลาขุดคุ้ย และมองลึก อ่านแล้วอ่านอีก ...... VEVO หรือวีซ่าที่ออกให้ ไม่ได้ถูกต้องเสมอไป คำตัดสินของอิมมิเกรชั่นก็ไม่ได้ถูกต้องเสมอไป Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com Q: มีเรื่องอยากปรึกษา เกี่ยวกับ 186ens
หนูเคยถือ 457 restaurant managerใช้ visa หมดแล้ว 4 ปีคะ ตอนนี้ยื่น 186 ens สถานะ bridging อยู่คะ รอ pr มาแล้ว 2 ปี ไม่มีความเคลื่อนไหวที่จะผ่าน state 1 เลยคะ ขอเอกสารไปเมื่อ ปี xxxx แล้วก้อเงียบ ตรวจสุขภาพแล้ว มี ielts เรียบร้อย เรื่องเงียบไปนานมาก เพราะอาจติดในเรื่อง covid จน xxx ที่ผ่านมา ขอเอกสารอีกเยอะเลยคะ แล้วก้อมี จม.ยืนยันจากร้านแล้วว่า sponsor เราไหว ทั้งๆที่ผ่านวิกฤติที่ปิด dine in เปิดแค่ takeaway covid มาแล้ว (ตัวหนูสงสัยนิดนึงคะ ว่าทำไมเค้ากดดันเรา แทนที่เค้าจะเห็นใจร้านว่าผ่านอะไรมาบ้าง) ร้านฟื้นตัวได้ดีนะคะหลังจาก covid ก้อส่งเอกสารยืนยันไปทั้งหมดแล้วว่า เราขายได้แบบมีกำไรมาบ้างไม่น่าเกียจ แต่ก้อยังเงียบคะ ช่วงหนึ่งก้อเข้าใจ แบบที่บทความพี่บอกว่าเราไม่ใช่ first criteria แต่หลังจาก covid ซา เมื่อต้นปีเพื่อนที่ได้ ielts พอๆ กับเรา 2-3 คน (chef) pr ผ่านหมดเลย บางคนยอดขายร้าน drop ด้วย ยังผ่าน เลยกังวลมากๆเลยคะว่าเกิดอะไรขึ้นกับ case เรา ( .... รายละเอียดอื่นที่เกี่ยวกับเอเจนต์ของน้อง คนเขียนไม่ลงในนี้นะคะ...เผื่อเอเจนต์มาอ่าน อาจจะทราบว่าน้องคือใคร เดี๋ยวจะเคืองกันซะเปล่าๆ...) ที่อยากจะถามคือ - 186 รอนานสุด กี่ปีคะ ? (รอจนท้อมากเลยคะตอนนี้) - เรา chat ถาม immi ใน web เกี่ยวกับความคืบหน้า visa ของเราได้มั้ยคะ ? (กลัวถามแล้ว เดี๋ยว visa โดน reject) - ถ้าโดนปฎิเสธในช่วงนี้ โดนแบบไหนกันบ้างคะ? (เพราะรู้สึกว่าตัวร้าน และหนูเองก้อ ค่อนข้างครบ) แต่ก้อเกรงๆว่า จะโดนหาเรื่องปฏิเสธจนได้ A: สงสารคนรอนาน .... แต่น้องเอาเคส Restaurant Manager ไปเทียบกับ Chef ไม่ได้ค่ะ เพราะ 1. Restaurant Manager อยู่ใน STSOL 2. Chef อยู่ใน MLTSSL และตอนนี้อยู่ใน PMSOL (priority list) - เคสไปเร็วกว่าแน่นอน ทำไมอิมมิเกรชั่นถึงขอเอกสารเพิ่มมากมาย 1. เพราะคนออสซี่ตกงานกันเยอะ อิมมิเกรชั่นต้องการทราบว่ายังจำเป็นไหมที่จะต้องสปอนเซอร์พนักงาน 2. เพราะเศรษฐกิจแย่ ร้านอยู่ได้ไหม และจะมีเงินจ่ายพนักงานที่ถือ 186 (น้องนั่นเอง) ไปอีก 2 ปีไหม - 186 รอนานสุด กี่ปี? .... ตอบไม่ได้เพราะคนเขียนไม่มีข้อมูลภาพรวมจากอิมมิเกรชั่น (เคยได้ยินมาว่าบางเคสรอไป 3-4 ปี ก็ยังรออยู่ แต่คนเขียนไม่ทราบว่าปัญหาของเคสเค้าคืออะไร) ที่ตอบได้คือเคสของคนขียนเอง เคส 186 TRT Restaurant Manager (อาชีพเดียวกันกับน้อง) ที่ยื่นช่วงโควิด .... เรายื่น Nomination & visa applications September 2020 และ .... Nomination approved and 186 visa granted June 2021 ..... สรุปว่า 9 เดือนค่ะ (เคสนี้เป็น Cafe ด้วย ความเสี่ยงสูงกว่า Restaurant แต่เราพยายามทำเคสให้แน่นที่สุด และ Hope for the best) - เรา chat ถาม immi ใน web เกี่ยวกับความคืบหน้า visa ของเราได้มั้ยคะ .... คนเขียนไม่ทราบว่าน้องหมายถึงตรงไหนของ Web และไม่คิดว่าเป็นช่องทางที่ถูกต้อง ..... และถ้ามีเอเจนต์ดูแลอยู่ ไม่ควรติดต่ออิมมิเกรชั่นเองค่ะ ควรจะเช็คกับเอเจนต์ ถ้าเหมาะสม เค้าคงจะตามให้ หรือเค้าโอเคไหมถ้าน้องจะลองตามเคสเอง .... คนทำงานจะดูแลเคสลำบากถ้าลูกความติดต่ออิมมิเกรชั่นเอง โดยเฉพาะ complex case ที่ strategy การทำงานเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเราจะไม่ทราบเลยว่าลูกความให้ข้อมูลอะไรอิมมิเกรชั่นไปบ้างที่อาจจะสร้างปัญหาให้เคส และถ้าคิดว่าเอเจนต์ไม่ดูแล ก็ถอนเคสไปใช้บริการคนที่น้องคิดว่าจะดูแลน้องได้ดีกว่า (ไม่ได้ประชดนะคะ หมายความตามนี้จริงๆ ถ้าไม่มั่นใจในตัวคนดูแล ต้องหาคนดูแลใหม่ค่ะ) แต่เท่าที่อ่าน คนเขียนว่าเอเจนต์ของน้องก็ใส่ใจนะคะ Proactive ด้วยซ้ำ เอกสารที่คนเขียนไม่ได้เอ่ยถึงในโพสนี้ แต่น้องเขียนมาในอีเมล์ คนเขียนคิดว่าควรรอจนอิมมิเกรชั่นขอค่ะ (ป.ล. เอเจนต์และทนายความแต่ละคน ก็มีสไตล์การทำงานต่างกันนะคะ) - ถ้าโดนปฎิเสธในช่วงนี้ โดนแบบไหนกันบ้างคะ? .... การเงินของร้าน (มีสถานะทางการเงินดีพอที่จะสปอนเซอร์น้องต่อไปอีก 2 ปีหรือไม่) ประวัติการสปอนเซอร์โดยรวม เอกสารการทำงานของน้องกับร้าน ระยะเวลาการทำงานของน้องกับร้าน ผลภาษาอังกฤษของน้องมีก่อนยื่นไหม .... ยื่นเอกสารครบดีแล้วค่ะ แต่เอกสารต้องมีคุณภาพด้วยนะคะ เอาใจช่วยนะคะ ขอให้น้องได้รับข่าวดีเร็วๆนี้ Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com วันนี้คนเขียนมาแชร์ประสบการณ์เคสผู้ปกครอง 2 เคส (ทั้งสองเคส ไม่ใช่คนไทย)
เคสแรก เคสนี้ เป็น Referral จากอดีตลูกความซึ่งเริ่มจากเป็นผี แต่ตอนนี้เป็นพลเมืองออสเตรเลียไปเรียบร้อยแล้ว ... ลูกความฟันธงมาเลยว่าต้องการให้ทำ Parent visa ให้กับคุณพ่อ ซึ่งมาด้วยวีซ่าท่องเที่ยวและวีซ่ากำลังจะหมด หลังจากสัมภาษณ์กันอยู่พักใหญ่ คนเขียนคิดว่าคุณพ่อทำ Parent visa แบบในประเทศออสเตรเลียได้ และก็จะได้ Bridging visa เพื่ออยู่รอวีซ่าในประเทศออสเตรเลียด้วย .... แต่ด้วยลักษณะเฉพาะของเคส คนเขียนเสนอวีซ่าอีกตัวให้เป็นทางเลือกด้วย ซึ่งบอกลูกความไปตามตรงว่าวีซ่าตัวนี้คนเขียนยังไม่เคยทำ และวีซ่าตัวนี้มีเงื่อนไขการผ่านยากกว่า Parent visa คือเคสยากกว่านั่นแหละ แต่คนเขียนคิดว่าเหมาะสมและจะให้ประโยชน์กับลูกความมากกว่า ทั้งช่วงรอและหลังวีซ่าผ่าน (ถ้าวีซ่าผ่านนะ) คนเขียนให้ลูกความเลือกเองระหว่าง Parent visa ที่ลูกความต้องการทำ (และคนเขียนก็ทำเป็นปกติ) หรือจะทำวีซ่าอีกตัว ที่คนเขียนก็ไม่เคยทำ และเอกสารการพิสูจน์เงื่อนไขต่างๆก็ซับซ้อนกว่า ความเสี่ยงสูงกว่า แต่ให้ประโยชน์มากกว่า เมื่อมีทางเลือก เราให้ทางเลือกค่ะ .... ส่วนการตัดสินใจเป็นของลูกความ .... ติ๊กต๊อก .... ติ๊กต๊อก .... ลูกความเลือกวีซ่าตัวใหม่ ไอเดียบรรเจิดของคนเขียน ...... รอดไหม? .... รอดสิ เคสที่ไม่เคยทำ ไม่ใช่แปลว่าทำไม่ได้ หรือจะทำได้ไม่ดี .... ไม่เสมอไปค่ะ .... นักกฏหมาย เราไม่ท่องจำเป็นนกแก้วนกขุนทอง เรารู้ว่าเราควรจะหาข้อมูลจากตัวบทกฏหมายไหน เราเข้าใจวิธีตีความของกฏหมาย เราปรับบทกฏหมายให้เข้ากับข้อเท็จจริง (สถานการณ์ของลูกความ) สมัยคนเขียนเรียนกฏหมาย ไม่ว่าจะที่ไทยหรือที่นี่ ข้อสอบส่วนใหญ่เป็น Open-book exams (เปิดหนังสือตอบ) เพราะไม่มีโรงเรียนสอนกฏหมายที่ไหน คาดหวังว่านักกฏหมายจะต้องจำมาตรานั้นนี้ได้ .... จำได้ ... แต่ปรับใช้ไม่เป็น ... ก็จบ เคสที่สอง เคสนี้ เป็น Referral จากเพื่อนทนายความ ... คุณแม่มาด้วย Tourist visa (วีซ่าท่องเที่ยว) เหลือเวลาอีก 2 เดือนวีซ่าจะหมด ต้องการทำ Parent visa และต้องการให้คุณแม่อยู่ที่ออสเตรเลียตลอดระหว่างรอ เพราะคุณแม่ไม่มีที่จะไป ตัวคนเดียวและกลับไป ก็ไม่มีที่อยู่ ..... ใครที่เป็นลูกคนเดียวและเหลือผู้ปกครองอยู่คนเดียว คงเข้าใจความรู้สึกคุณลูก ปัญหาคือ ..... คุณแม่อายุยังไม่มากพอที่จะยื่น Parent visa แบบในประเทศออสเตรเลียได้ .... ต้องยื่นแบบนอกประเทศออสเตรเลีย ซึ่งคุณแม่ก็จะไม่ได้ Bridging visa เพื่อรอผลวีซ่าในประเทศออสเตรเลีย จะยื่น Tourist visa อีกรอบ ก็คาดว่าจะไม่ผ่าน สรุปว่าโจทย์คือ .... เหลือวีซ่าอยู่ 2 เดือน ทำยังไงก็ได้ให้คุณแม่อยู่ในประเทศออสเตรเลียในระหว่างรอวีซ่าซึ่งใช้เวลารอ 3 - 4 ปี โจทย์นี้ ไม่ยากสำหรับคนเขียน อยู่ที่ลูกความจะมั่นใจในคนเขียน และ Strategy ของคนเขียนไหม และจะรับแรงกดดันที่อาจจะมาจากอิมเกรชั่นได้หรือไม่ เพราะจากประสบการณ์ มีแน่ๆ ส่วนจะกดดันมากน้อยแค่ไหน อีกเรื่องนึง ลูกความถามว่าแล้วยูจะคอยไกด์ชั้นไปตลอดใช่ไหม ... แน่นอนสิคะ แผนงานของเราใช้เวลา 3-4 ปี มี 4-5 สเต็ป ขึ้นอยู่กับว่าอะไรเกิดขึ้นบ้างระหว่างทาง ไม่ไกด์ลูกความ เคสก็ไปไม่รอดสิ สรุปว่าเคสนี้ ลูกความแฮ๊ปปี้มากที่คุณแม่ได้อยู่ที่ออสเตรเลียตลอดระยะเวลารอวีซ่า ลูกความต้องพาคุณแม่ออกไปนอกประเทศรอบนึงค่ะ เพื่อที่อิมมิเกรชั่นจะได้ออก Parent visa ให้ได้ (ตอนทำเคสนี้ กฏหมายคือยื่นใบสมัครแบบนอกประเทศออสเตรเลีย ต้องอยู่นอกประเทศออสเตรเลียตอนวีซ่าออก) Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com อดีตลูกความคนนี้ไม่ใช่คนไทย คนเขียนเริ่มทำเคสให้เมื่อ 10 กว่าปีก่อน
ลูกความจำวันหมดอายุของวีซ่านักเรียนผิดวัน .... รู้ตัวอีกที เป็นผีไป 6 เดือนแล้ว คนเขียนใช้เวลาทำ Research หาข้อมูลไปหลายวัน ก่อนจะนัดลูกความคุย Strategy (แผน) การทำงานกัน คนเขียนบอกลูกความว่า Test case นะ ไปเจอช่องโหว่ ... ไม่มีกฏหมายบอกว่าห้ามทำ แปลว่าทำได้ ... ใช่ไหม?? ... ส่วนจะได้วีซ่ากลับมารึเปล่า ไม่ลองไม่รู้ แต่คิดว่าน่าจะรอด ..... ณ จุดนั้น ลูกความไม่มีอะไรจะเสียแล้ว นอกจากเงินและเวลา และยืนยันหนักแน่นว่ายังไงก็ไม่อยากกลับประเทศตัวเอง พ่อแม่ต้องโกรธมากถ้ารู้ว่าอยู่ๆกลายเป็นผี และเรียนไม่จบเพราะจำวันหมดอายุวีซ่าผิด Strategy แรก (แผน 1) ของเรา มี 3 สเต็ป ในระหว่างที่เราเริ่มสเต็ปแรก คนเขียนก็ทำ Research ต่อไปด้วย เผื่อเจอทางที่ดีกว่า และก็เจอทางที่ดีกว่าจริงๆ สเต็ปเดียวจบ (เหมือนเดิม บางทีกฏหมายก็ไม่ได้เขียนไว้ชัดเจนว่าทำได้ แต่ในเมื่อไม่มีตรงไหนบอกว่าห้ามทำ สำหรับคนเขียนแปลว่าทำได้) ...... ถามว่าลูกความโกรธไหม ที่คนเขียนต้องการเปลี่ยนแผนหลังจากเริ่มงานแผนแรกไปแล้ว .... ไม่โกรธค่ะ ดีใจด้วยซ้ำที่คนเขียนหาทางที่ดูมีเปอร์เซ็นมากกว่า ง่ายกว่าและถูกกว่าให้ได้ ...... จริงๆก็ไม่ควรจะโกรธนะ เคสจะทำผีให้เป็นคน (จากคนไม่มีวีซ่าให้มีวีซ่าตัวที่เหมาะสม) ไม่ง่าย ถ้าไม่แคร์ไม่ใส่ใจ ก็คงไม่มานั่งทำ Research ต่อ ทั้งๆที่แผนแรกก็น่าจะเวิร์ค และลูกความก็ตัดสินใจทำแล้ว สรุปว่าเราเปลี่ยนแผนระหว่างทางไปแผน 2 แทน .... คนเขียนต้องทำ Submissions เขียนเอกสารอธิบายข้อกฏหมายให้อิมมิเกรชั่นเข้าใจ ยาว 3 หน้ากระดาษ อิมมิเกรชั่นก็ไม่เข้าใจอยู่ดี ยกหูหาคนเขียนเลย ร่ำๆจะปฏิเสธวีซ่า บอกว่ากฏหมายไม่ได้บอกว่าทำได้นะ .... คนเขียนก็อธิบายไปสิ ทีละสเต็ป อย่างช้าๆ ถามอิมมิเกรชั่นเป็นระยะๆว่าที่อธิบายไปนี้เค้าเห็นด้วยกับคนเขียนไหม สรุปว่าเห็นด้วย ..... อ้าว ถ้าเห็นด้วย ก็ต้องออกวีซ่าให้สิ .... สรุปว่าขอ 10 นาทีเพื่อเช็คกับหัวหน้าอีกรอบก่อน แล้วจะโทรหาคนเขียนใหม่ ..... ครึ่งชั่วโมงผ่านไป ..... ไม่มีโทรศัพท์จากอิมมิเกรชั่น แต่มีอีเมล์แจ้ง Student visa grant letter ..... เย้ 2 ปี ผ่านไป ... ลูกความติดต่อมาต้องการวางแผนทำพีอาร์ .... คนเขียนแนะนำวีซ่าที่เหมาะสม 1 ปี ผ่านไป ... ลูกความติดต่อมา พ่อแม่ให้ใช้เอเจนต์ชาติเดียวกัน และเอเจนต์แนะนำให้ยื่นวีซ่าอีกตัวนึงและตอนนี้ถูกปฏิเสธ เคสอยู่ชั้นอุทธรณ์ AAT .... ขอคำแนะนำต่อว่าควรจะเดินเคสยังไง คนเขียนก็แนะนำค่ะ แต่แอบกังวลว่าเคสจะไปรอดไหม คำแนะนำเป็น Technical: ข้อกฏหมาย และเทคนิคการทำเคสทั้งนั้น คนที่จะเอามาปรับใช้ก็ไม่ใช่คนเขียน แต่เป็นเอเจนต์ที่ลูกความใช้บริการอยู่ (เคสหลายๆเคส เราต้องตัดสินใจกันหน้างาน ตอนปัญหาเกิด ว่าจะยื่นอะไร ยื่นยังไง นำเสนอแบบไหน) 1 ปี ผ่านไป ... ลูกความติดต่อมา เคสยังอยู่ที่ชั้น AAT .... ที่แนะนำไปคราวที่แล้ว ไม่ได้ทำอะไรซักอย่าง [เสียเวลาไป 1 ปี โดยไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย] ... ขอคำแนะนำอีกแล้วว่าควรจะทำยังไงต่อ ... คนเขียนก็แนะนำอีกแล้วค่ะ แต่ในใจเริ่มคิดว่าแล้วว่าที่แนะนำไปนี่จะเวิร์คไหม เพราะเคสยากขึ้นเรื่อยๆ อีก 1 ปีครึ่ง ผ่านไป ... ลูกความแพ้ที่ชั้น AAT .... คนเขียนถามว่าที่แนะนำไป ไม่ได้เอาไปปรับใช้เลยสิ .... ลูกความบอกว่า ... ก็บอกเอเจนต์แล้ว แต่เค้าไม่ทำ .... ขอคำแนะนำอีกแล้ว ... คนเขียนทราบดีว่าลูกความไว้ใจคนเขียน ติดที่พ่อแม่ต้องการให้ใช้เอเจนต์ชาติเดียวกัน แต่ถามว่าลูกความได้อะไรจากการขอคำแนะนำ แนะนำอะไรไป ก็ไม่ได้เอาไปปรับใช้ หรือต่อให้ปรับใช้ก็ไม่ได้เต็มร้อย เพราะคนทำเคสไม่ใช่คนวางแผนงาน ... สรุปว่าได้เวลาต้องปล่อยลูกความไปตามทางแล้วค่ะ Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com Q: รบกวนสอบถามค่ะ กำลังจะเรียนจบ Certificate III in Cookery เรียนหลักสูตรนี้มาได้ 15 เดือนค่ะ กำลังจะต่อ Certificate IV in Cookery 6 เดือน กับ Advanced diploma of Hospitality 6 เดือน ที่สถาบันเดิม และเรียนต่อเนื่องเลยค่ะ
ในกรณีนี้สามารถขอวีซ่า 485 หลังเรียนจบได้หรือไม่คะ เห็นมีคนบอกว่าต้องเป็นหลักสูตร 2 ปี ตั้งแต่ขอวีซ่าครั้งแรกเลย มาต่อคอร์สทีหลังให้ครบ 2 ปีไม่ได้ รบกวนช่วยแนะนำด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ A: รวมคอร์สได้ค่ะ ไม่จำเป็นต้องเป็นหลักสูตร 2 ปี Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com โพสนี้จะเป็นโพสถามมา - ตอบไป แบบจิปาถะ คือไม่มีหัวข้อนะคะ เป็นคำถามจากน้องๆที่โทรมา อีเมล์มา และคนเขียนคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆด้วย คนเขียนจะอัพเดทคำถาม - คำตอบเป็นระยะๆ - เรียงลำดับจากใหม่ไปเก่า จากบนลงล่าง โพสนี้ยาวมาก คนเขียนขอจบแค่ June 2020 และตั้งแต่ July 2020 จะเป็นโพส Q & A สั้นๆแทนนะคะ 11/06/2020 Q: ถ้าไม่เป็นการรบกวนเกินไปขอสอบถามเล็กน้อยเกี่ยวกับ186ได้ไหมครับ? 1. ผมทำเรื่องยื่น 457 เมื่อ 3/18 granted 10/18 ในเวลานั้นนายจ้างทำ Benchmark ให้ผมและกฎ Benchmark ก็ถูกยกเลิกไป ผมอยากสอบถามว่านายจ้างต้องจ่าย Training Nominate ต่อทุกปีไหมครับในขณะที่ยังคง sponsor 457 ผมอยู่เวลานี้เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย 2. จริงๆแล้ว วีซ่า186 ที่ต้องทำหลังจาก 457 นี่ จำเป็นที่จะต้องทำskill assessmentไหมครับ? 3. sponsor visa 457 สามารถเปลี่ยนนายจ้างระหว่างถือวีซ่าได้ไหมครับ? จะมีผลกับการทำวีซ่า186หรือเปล่า แล้วระหว่างถือวีซ่า186 สามารถเปลี่ยนนายจ้างได้ไหมครับ? อีกอย่างคือ ถ้าหากผมย้ายนายจ้างระหว่างที่ถือ457อยู่ จะต้องนับปีใหม่ไหมครับ? หรือว่าแค่ให้โดยรวมครบ3ปีก็มาสามารถทำ186ได้เลย A: นี่เรียกว่าถามเล็กน้อยเหรอคะ ... ล้อเล่นค่ะ ยินดีตอบ จริงๆคนเขียนจำน้องได้ เพราะฉะนั้นดีใจด้วยที่ได้วีซ่ามาในที่สุด และฝากสวัสดีคุณแม่ด้วยนะคะ 1. ไม่ต้องค่ะ 2. ไม่ต้องค่ะ (แต่อิมมิเกรชั่นมีสิทธิ์ขอให้ทำ) 3. ถือ 457 อยู่ก็เปลี่ยนนายจ้างได้ นายจ้างใหม่ต้องมี Approved Nomination ก่อน น้องถึงจะเริ่มงานกับนายจ้างใหม่ได้ ถ้าเปลี่ยนนายจ้าง ปกติก็ต้องเริ่มนับ 3 ปีใหม่ค่ะ ถ้าเปลี่ยนนายจ้างเพราะบริษัทถูก take over หรือเปลี่ยน structure ของธุรกิจ ต้องเอาเคสมาดู อาจจะไม่ต้องเริ่มนับ 3 ปีใหม่ (คนเขียนทำมาแล้ว ผ่านไปได้ด้วยดี แบบเหนื่อยๆ) ถือ 186 เปลี่ยนนายจ้างได้ไหม? คำถามยอดฮิต - 186/187 สั้นๆคือวีซ่าที่ต้องทำงานกับนายจ้างอย่างน้อย 2 ปี หลังจาก 2 ปีก็ตามสบายค่ะ (ในส่วนของอิมมิเกรชั่น) แต่ในส่วนของกฏหมายแรงงานน้องก็ต้องดูว่าสัญญาจ้างงานกำหนดไว้ว่ายังไงด้วยนะคะ - วีซ่า 187 มีเงื่อนไขติดมากับวีซ่าที่อิมมิเกรชั่นสามารถยกเลิกวีซ่าได้ถ้าไม่ทำงานกับนายจ้าง ส่วน 186 ไม่มีเงื่อนไขนั้น - แต่อิมมิเกรชั่นก็ใช้กฏหมายข้ออื่นมายกเลิกวีซ่าได้ (ุถ้าจะทำ) ส่วนใหญ่จะเป็นกรณีที่เห็นได้ชัดว่าไม่ได้มีความตั้งใจที่จะทำงานกับนายจ้างอยู่แล้ว และเคส 186 ที่ถูกยกเลิกก็มีมาหลายปีแล้วนะคะ - ถ้ามีเหตุผลสมควรในการต้องเปลี่ยนนายจ้างก็จัดไปค่ะ ถ้าวีซ่าจะถูกยกเลิก ก็เอาเหตุผลไปอธิบายให้อิมมิเกชั่นฟัง เช่นถูกไล่ออก หรือนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างตามที่ตกลงกัน เป็นต้น - ถ้าอึดอัดกับนายจ้าง ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Skilled Visas ดูสิคะ มีหลายตัวเลย และอาชีพของน้องก็อยู่ใน Medium & Long term list (MLTSSL) ด้วย นับ points และต้องทำ skills assessment นะคะ Q: ไม่ทราบว่าพี่รับเขียน Story สำหรับ Protection visa ไหมครับ A: ไม่รับค่ะ ไม่รับสร้างเรื่องที่ไม่เป็นความจริง คนเขียนทราบมาว่าบางคนคิดค่าบริการทำ Protection visa ให้น้องๆกันเป็นหมื่นเหรียญ บางคนก็หลายหมื่นเหรียญด้วยซ้ำ บอกแล้วบอกอีก บอกตรงนี้อีกรอบ คนไทยที่ได้ Protection visa มีน้อยมากๆ เคสคนไทยส่วนใหญ่ น้องเอาเงินไปทิ้งกับวีซ่าที่ตัวเองไม่มีโอกาสได้ แค่ซื้อเวลาเพื่อจะอยู่ที่ออสเตรเลีย พอเจอวีซ่าที่ต้องการยื่นจริงๆ เจ้า Protection visa ที่น้องเคยยื่นก็อาจจะมาสร้างปัญหาให้กับวีซ่าตัวใหม่ได้ เอาเงินนี้ไปยื่นวีซ่า (และถ้าจำเป็นก็ยื่นอุทธรณ์) กับวีซ่าที่เราน่าจะมีโอกาสได้ดีกว่านะคะ อย่าถูกหลอก หาข้อมูลเยอะๆ 4/06/2020 Q: เรียนจบป.โท ในสาขา environmental engineering at xxx University และกำลังจะเรียนจบป.เอก สาขาเดียวกันและที่เดียวกันในเดือนกันยายนนี้ มีคะแนน IELTs ของเก่า band 6 ไม่เคยขอวีซ่าของออสเตรเลีย สุขภาพแข็งแรงดี สามารถขอวีซ่า Skilled—Recognised Graduate visa ได้ไหม จำเป็นไหมที่ต้องเรียนจบในออสเตรเลีย หรือมีวีซ่าอื่นที่จะแนะนำไหม A: จริงๆแล้วน้องถามมาอย่างสุภาพมากนะคะ คนเขียนตัดบางประโยคออกตามความเหมาะสม ไม่จำเป็นต้องจบที่ออสเตรเลียค่ะ แต่ต้องจบจากสถานศึกษาและคอร์สที่ Accredited under the Washington Accord หรือที่ระบุไว้ในนี้ อายุและผลภาษาอังกฤษของน้องเข้าเงื่อนไขวีซ่านี้ แต่จากที่คนเขียนเช็คให้คร่าวๆ มหาวิทยาลัยและคอร์สของน้องเหมือนจะไม่อยู่ในลิสสำหรับวีซ่านี้ (คนเขียนส่งลิงค์สำหรับประเทศที่น้องเรียนให้แล้วทางอีเมล์) เพื่อให้แน่ใจน้องลองเช็คเองอีกครั้งจากลิงค์ที่ให้ไว้ในนี้และทางอีเมล์นะคะ เชื่อว่าน้องจะหาข้อมูลที่ต้องการได้ค่ะ ถ้าต้องการให้คนเขียนดูให้ลึกกว่านี้หรือหาทางเลือกอื่นที่อาจจะมี รบกวนนัดปรึกษา ส่งเอกสารการศึกษาและ CV/Resume เป็นเคสที่ต้องใช้เวลาในการพิจารณาและคุยกันค่ะ ป.ล. โพสนี้ ถามถึง Subclass 476 Skilled—Recognised Graduate visa เป็นวีซ่าชั่วคราว 18 เดือนสำหรับคนจบด้าน Engineering โดยเฉพาะเลยค่ะ ซึ่งบางคนก็สามารถต่อยอดไปเป็นพีอาร์ได้ เป็นวีซ่าที่น่าสนใจค่ะ Q: สวัสดีค่ะ..เพิ่งอ่านเจอครั้งแรกค่ะ..ขอบคุณมากๆค่ะ..ที่มีเพจแบบนี้มาแบ่งปันความรู้..ขอสอบถามค่ะ.. ตอนนี้ได้วีซ่าถือ.. TR..อยู่ที่ออสค่ะ และอีก5เดือนหน้าจะครบ2ปีค่ะ..ต้องจะยื่นวีซ่าติดตามลูกชายอายุ20..แต่เราไม่มีตังจ่ายให้ทางเอเจ้น..ติดช่วงโควิด สถานะการเงินได้แค่พยุงตัวตอนนี้..ก็เลยตั้งใจจะทำเอกสารเองค่ะ..อยากสอบถามว่า..เราต้องเริ่มต้นเตรียมเอกสารอย่างไรค่ะ และเราต้องเข้าไปตรวจสอบสถานะในอิมเพื่อเปลื่ยนแปลงอีเมล..ให้อิมสามารถติดต่อเราทางอีเมลหรือป่าวค่ะ..เพราะตอนยื่นวีซ่า309 เอเจ้นเป็นฝ่ายที่ยื่นให้ค่ะ ขอบคุณมากๆค่ะ A: ขอบคุณที่อ่านเพจค่ะ เริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจวีซ่าที่ต้องการจะสมัคร ลองอ่านรายละเอียดของ Subclass 445 Dependent Child visa ดูนะคะ ลูกอายุ 20 แล้ว ต้องพิสูจน์ว่ายังพึ่งพาเราทางด้านการเงิน บางเคสก็ตรงไปตรงมา บางเคสก็น่าปวดหัว เมื่อลูกได้วีซ่านี้ ก็ทำเรื่องแจ้งอิมมิเกรชั่นขอเพิ่มลูกใน Partner visa ของเรา ต้องทำให้เรียบร้อยก่อนพีอาร์ Subclass 100 Permanent Partner visa ออกนะคะ ถ้าพีอาร์ออกก่อน ลูกก็ต้องหาวีซ่าอื่นยื่นแล้วค่ะ ส่วนของ Partner visa เช็คใน Application form ตอนยื่นวีซ่า 309 ในหัวข้อการติดต่อสำหรับ "Second stage permanent visa" ว่าที่ใส่ไปเป็นอีเมล์ของตัวเองหรือของเอเจนต์ ถ้าเป็นอีเมล์ของเอเจนต์ และต้องการเปลี่ยนเป็นอีเมล์ของตัวเอง ก็ต้องแจ้งเปลี่ยนกับอิมมิเกรชั่นค่ะ 21/05/2020 Q: ผมอยากทราบเรื่องการโทรติดต่อในกรณีที่ผมตัดสินใจให้พี่ทำเคสให้ ผมโทรหาได้กี่ครั้ง และถ้าโทรบ่อยจะมีค่าบริการเพิ่มไหม ต้องนัดล่วงหน้าไหม A: ไม่ใช่ครั้งแรกที่เจอคำถามนี้ คนเขียนชอบลูกความที่ proactive และใส่ใจเคสตัวเอง เพราะฉะนั้นจะโทรกี่ครั้งก็ได้ค่ะ ถ้าถามคำถามแล้วน้องสบายใจขึ้น เข้าใจเคสตัวเองได้มากขึ้น ส่งเอกสารให้คนเขียนได้ตรงประเด็นมากขึ้น ยินดีรับโทรศัพท์อย่างมาก ไม่คิดค่าบริการเพิ่ม และไม่ต้องนัดล่วงหน้า 20/05/2020 Q: พี่คะ หนูอ่านเจอโพสของพี่ที่ให้เวลา 5 นาที สำหรับโทรถามคำถาม ไม่ทราบว่าหนูต้องนัดล่วงหน้าไหมคะ A: ขอบคุณสำหรับความเกรงใจ แต่ไม่ต้องนัดล่วงหน้าค่ะ ป.ล. น้องหมายถึงโพสนี้ของคนเขียน สำหรับน้องๆ = สะดวกก็โทร (หรือโทรใหม่) | สำหรับคนเขียน = สะดวกก็รับ (หรือโทรกลับ) Q: วีซ่านักเรียนกำลังจะหมดเดือนหน้า ไม่ต้องการเรียนต่อ และต้องการจะกลับไทย แต่ยังไม่มีตั๋วกลับ ขอวีซ่าท่องเที่ยวได้ไหมคะ A: สถานะการณ์ปกติอาจจะยากหน่อย สถานะการณ์ COVID-19 ตอนนี้มีความเป็นไปได้ค่ะ อย่าลืมเขียนคำอธิบายว่าทำไมถึงขอวีซ่านี้ประกอบไปด้วยนะคะ หรืออาจจะลองเช็ควีซ่า 408 เทียบกันดูนะคะ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่มีความเป็นไปได้ เมื่อยื่นใบสมัครแล้วก็จะได้ Bridging visa มาค่ะ คืออยู่ต่อได้อย่างไม่ผิดกฏหมายในระหว่างรอการพิจารณาและรอตั๋วกลับไทย 19/05/2020 Q: ยื่น Partner visa ก่อนวีซ่าท่องเที่ยวจะหมด นี่วีซ่าท่องเที่ยวหมดไปหลายวันแล้ว แต่อิมมิเกรชั่นยังไม่ส่งเอกสารแจ้งเรื่อง Bridging visa มาเลย ต้องทำยังไงดีคะ และ Partner visa ที่ยื่นไปคือทำกันเอง ยื่นเอกสารแค่ไม่กี่อย่าง ยังไม่ได้ยื่นเอกสารความสัมพันธ์เลยค่ะ A: ถ้ายื่น Partner visa ก่อนวีซ่าท่องเที่ยวหมด โดยปกติน้องก็จะได้รับ Acknowledgement letter & Bridging visa grant letter นะคะ พอวีซ่าท่องเที่ยวหมด น้องก็ถือ Bridging visa โดยอัตโนมัติ อิมมิเกรชั่นจะไม่ส่งเอกสาร Bridging visa มาให้อีกรอบ วิธีเช็ค 1. หาอีเมล์ Bridging visa grant letter (ส่วนใหญ่จะมาวันที่เรายื่น Partner visa หรือวันถัดไป) 2. เช็ค VEVO ซึ่งควรจะขึ้นว่าตอนนี้น้องถือวีซ่า Subclass 010 - Bridging visa A 3. ถ้าหา Bridging visa grant letter ไม่เจอ หรือ VEVO ขึ้น Error แถบแดง โทรกลับมาหาคนเขียนใหม่ค่ะ ต้องมาดูแล้วว่าทำอะไรพลาด และปัญหาอยู่ตรงไหน เอกสารความสัมพันธ์ก็ทยอยยื่นเข้าไปค่ะ ไม่ต้องรออิมมิเกรชั่นขอก่อนแล้วค่อยยื่น Q: สวัสดีค่ะ ขอรบกวนค่ะ ดิฉันถูกปฏิเสธวีซ่า 186 และยื่นอุทธรณ์ไป นี่รอมา 2 ปีกว่าแล้ว เอเจ้นที่ใช้บริการบอกว่ายังไม่มีความคืบหน้า ควรทำยังไงดีคะ A: ไม่ทำยังไงค่ะ รอต่อไป เดี๋ยวก็ถึงคิวเรา AAT ก็ทำตามนโยบาย COVID-19 ของรัฐบาล และพยายามทำ Hearing ที่ทำได้ทางโทรศัพท์และก็ทาง Video Conference เคสต่างๆก็ต้องมีความล่าช้ามากขึ้นเป็นธรรมดา คนเขียนก็มีหลายเคสในมือที่ใกล้ 2 ปี และ 2ปี+ 10/05/2020 Q: สวัสดีค่ะพี่เก๋ พอดีหนูไปคุยกับทนายคนนึง หนูมีแฟนที่คบกันมา 4 ปีแล้ว กำลังเก็บเงินจะยื่นวีซ่าพาร์เนอร์ แต่วีซ่านักเรียนดันมาถูกยกเลิกเสียก่อน ทนายบอกว่าหนูยื่นวีซ่าพาร์เนอร์ในออสไม่ได้แล้ว เพราะหนูถูกยกเลิกวีซ่านักเรียน ก็จะติด section 48 ห้ามยื่นที่ออส ไม่มีข้อยกเว้นใดๆทั้งสิ้น นี่หนูก็ถอดใจแล้วว่าต้องกลับไปยื่นที่ไทย แต่พอดีเพิ่งได้อ่านโพสของพี่ว่ายื่นได้ ทำไมเค้าถึงแนะนำว่ายื่นไม่ได้ละคะ A: แล้วคนเขียนจะทราบไหม ไม่ได้เข้าไปนั่งฟังด้วยนิ น้องก็ไปถามคนที่ให้คำแนะนำสิคะ โอเค ไม่กวนแล้ว ตอบจริงๆก็ได้ ........................................ ถ้าแนะนำว่ายื่นที่ไทยจะได้วีซ่าง่ายกว่า อันนี้เป็นไปได้ และส่วนใหญ่ก็ใช่ซะด้วย แต่ถ้าแนะนำว่าเคส Section 48 ยื่นที่ออสเตรเลียไม่ได้ ต้องกลับไปยื่นที่ไทยเท่านั้น อันนี้ไม่ใช่แล้ว (ยืนยัน เพราะทำเคส Section 48 ยื่นที่ออสเตรเลียมาหลายเคสแล้ว) เคสติด Section 48 แล้วกลับไปยื่นที่ไทย ก็คือเคส Partner visa แบบปกตินั่นแหละค่ะ เพราะ Section 48 ไม่ได้มีผลอะไรกับการยื่นแบบนอกประเทศออสเตรเลีย และเอาตรงๆมันง่ายกว่าสำหรับคนทำงานด้วย แต่พอเป็นเคส Section 48 ยื่นในออสเตรเลียปุ๊บ กลายเป็นเคสยากขึ้นมาเลย เอเจนต์บางคนก็ไม่อยากทำเคสแบบนี้ เครียดกว่า ใช้เวลาการทำงานเยอะกว่า ต้องละเอียด ต้องทำ Research ต้องทำ Submission นำเสนอเคสให้ลูกความ ความเสี่ยงก็สูงกว่า ...... แต่ถ้าบอกลูกความว่าทำไม่ได้ เพราะตัวเองไม่อยากทำ คนเขียนว่าไม่แฟร์นะ ชีวิตของน้อง น้องต้องมีสิทธิ์เลือก บางเคสก็ชัดเจนนะคะว่าถ้ายื่นที่ออสเตรเลียคือไม่ผ่าน ก็ต้องแนะนำให้ยื่นที่ไทย; บางเคสก็มีลุ้นค่ะ เคสแบบนี้คนเขียนจะให้ข้อดีข้อเสียของการยื่นที่ไทย vs ยื่นที่ออสเตรเลีย รับได้แบบไหน บอกมาคนเขียนจัดให้; บางเคส เมื่อเอาปัจจัยหลายๆอย่างมาพิจารณาประกอบกันแล้ว (Strategically) เสี่ยงยื่นที่ออสเตรเลียดีกว่าและให้ประโยชน์มากกว่า หรือบางเคสออกไปแล้วอาจจะไปแล้วไปลับไม่กลับมา What?!!!! .... ใช่แล้ว .... เพราะฉะนั้นไม่ใช่ทุกเคสที่ควรจะกลับไปยื่นที่ไทย .... สงสัยว่าทำไมช่วงนี้มีคนถามประเด็น Section 48 กับ Partner visa มาเยอะมาก อาจจะเพราะสถานการณ์ COVID-19 รึเปล่า ถ้ายังไม่เข้าใจก็ย้อนกลับไปอ่านโพส Partner visa เก่าๆของคนเขียนด้วย หรือจะโทรมาใช้บริการ 5 นาที Free Advice ก็ได้ (แต่บอกตามตรงว่าเคส Section 48 และต้องการจะยื่นที่ออสเตรเลีย 5 นาทีไม่พอ เคสแบบนี้โทรมาคุยกันเบื้องต้นและนัดทำคอนซัลค่ะ) 7/05/2020 Q: สวัสดีค่ะ จะรบกวนสอบถามค่ะ คือถือ 457 แล้วเราลาออกจากร้าน แต่ยังหานายจ้างใหม่ไม่ได้ แล้วระยะเวลาจากวันที่ลาออกจนตอนนี้ก็เกิน 60 วัน แต่เช็คใน vevo ก็ขึ้นว่า in Effect อยู่ แต่ไม่ขึ้นหมายเลข reference ของนายจ้าง แล้วก็ไม่ได้รับการติดต่อจากทนายหรืออิมมิเกรชั่นเรื่องโดนยกเลิกวีซ่า อย่างนี้ถือว่าวีซ่าถูกยกเลิกหรือยังคะ A: ถ้าเช็คใน VEVO แล้ว ยังขึ้นว่าถือ 457 อยู่ ก็คือยังไม่ถูกยกเลิกค่ะ ถ้าถูกยกเลิก หรือไม่มีวีซ่า VEVO ก็จะไม่ขึ้นเลขวีซ่านะคะ จะขึ้นแถบแดงว่ามี Error เกิดขึ้น ก่อนจะตกใจว่าเราไม่ถือวีซ่าแล้ว เช็คก่อนว่าพิมพ์ข้อมูลส่วนตัวถูกต้องหรือไม่ พิมพ์วันเกิดหรือพาสปอร์ตผิดก็ขึ้น Error นะคะ สำหรับน้อง เกิน 60 วันแล้ว ถ้าหานายจ้างได้ต้องรีบยื่นเอกสาร ถ้าหาไม่ได้ ก็ควรจะต้องสมัครวีซ่าอื่นที่เหมาะสม หรือเดินทางออกจากประเทศออสเตรเลียนะคะ 6/05/2020 Q: ขอสอบถามค่ะ คือวีซ่านักเรียนถูกยกเลิก และตอนนี้ไม่มีวีซ่า แต่มีแฟนที่เป็นพีอาร์น่ะค่ะ พอดีอ่านเจอจากเวปอื่นว่ายื่น Partner visa ในออสเตรเลียไม่ได้ เพราะติดบาร์ section 48 แต่อยากลองสอบถามให้แน่ใจว่ายื่นไม่ได้จริงๆ เพราะตอนนี้ก็มี Covid และก็ไม่อยากแยกกันกับแฟน A: ยื่นได้ค่ะ จะติด Section 48 บาร์ จากการถูกปฏิเสธ หรือถูกยกเลิกวีซ่า หรือจะ Overstay วีซ่า ก็สามารถยื่น Partner visa ในประเทศออสเตรเลียได้ค่ะ แต่โน๊ตนะคะว่ายื่นได้ ไม่ได้แปลว่าจะได้วีซ่าเสมอไปนะคะ เป็นเคสที่ต้องคุยกันยาวค่ะ และต้องยอมรับความเสี่ยงได้ ลักษณะการยื่น และเงื่อนไขการได้วีซ่าสำหรับเคส Section 48 หรือเคส Overstay ค่อนข้างซับซ้อน คือต้องมีการพิจารณาว่าเคสมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ไม่ง่าย แต่เคสที่ผ่านมาแล้วก็เยอะค่ะ เคสแชร์ประสบการณ์ Partner visa และเคส Partner visa ที่คนเขียนกล่าวถึงในโพสนี้ หรือโพสอื่นๆ ที่ลูกความได้วีซ่า ส่วนใหญ่ก็เป็นเคสเคยถูกยกเลิกวีซ่ามาก่อนนะคะ ไม่ใช่แค่ Overstay เฉยๆ เพียงแต่คนเขียนใช้คำว่าเคสไม่ถือวีซ่า เพราะตอนยื่นลูกความไม่ถือวีซ่าเท่านั้นเอง (การไม่ถือวีซ่า ก็มีที่มาแตกต่างกันไป) เคส Partner visa ที่คนเขียนทำ มีทั้งเคสถือวีซ่าปกติ เคสถือวีซ่าติดปัญหาอื่นเช่น Health / Character / Sponsor ที่เคยสปอนเซอร์มาก่อนหรือสปอนเซอร์เกิน 2 คนแล้ว เคสวีซ่าขาด เคสถูกปฏิเสธวีซ่า เคสวีซ่าถูกยกเลิก รวมถึงเคสยำใหญ่ (ปัญหาหลายๆอย่างมารวมกัน เหนื่อยแต่สนุก ลูกความคงไม่สนุกด้วย แต่อย่างน้อยคนเขียนก็รับทำเคสละกัน) 15/04/2020 Q: เอกสาร police checks ต้องยื่นพร้อมสมัคร หรือ ต้องรอทางอิมขอมาคะ เห็นบางคนต้องขอ 2 รอบ เนื่องจากสถาณะการณ์โควิค 19 ทุกอย่างเลยด่วนและฉับพลันค่ะ จึงพยายามหาเอกสารเพื่อทำ visa partner ถ้าเอกสารความสัมพันธ์มีน้อย หาเพิ่มหลังจากอิมขอมาได้ไหมคะ A: สำหรับ Partner visa เอกสาร Police checks ยื่นตามหลังได้ค่ะ จะรออิมมิเกรชั่นขอ หรือไม่รอก็ได้ ถ้าผู้สมัครหรือสปอนเซอร์มีประวัติคดีอาญาหรือคิดว่าอาจจะมี ควรหาคำแนะนำที่ถูกต้องก่อนการยื่นใบสมัคร และถ้าเป็นไปได้ควรมี Police checks ก่อนยื่นนะคะ เอกสารความสัมพันธ์สามารถยื่นเพิ่มเติมระหว่างรอการพิจารณาได้ค่ะ ไม่ต้องรออิมมิเกรชั่นขอนะคะ เพราะอิมมิเกรชั่นอาจจะปฏิเสธเลยโดยไม่ขอเอกสารความสัมพันธ์เพิ่มเติม (ถ้าตอนพิจารณาเคส เอกสารพิสูจน์ความสัมพันธ์ยังไม่เพียงพอ) 25/02/2020 Q: รบกวนสอบถามเรื่องผลไอเอลค่ะ ตอนนี้ถือ 457 อยู่ กำลังจะหมดมิถุนานี้ (ได้ 457 ก่อนกฏเปลี่ยน 18 Apr 2017) สอบไอเอลไม่ได้สักทีค่ะ และคิดว่าคงได้ไม่ทัน คิดว่าจะ ต่อ 482 ดีหรือไม่ รบกวนสอบถามว่า 457 ผลไอเอลต้อง 6 ทุก Part แต่ถ้าเปลี่ยนเป็น 482 ตามที่.... (??? ตามที่อะไรดีคะ น้องถามไม่จบ.... คาดว่าจะถามว่า 482 ต้องใช้ผลไอเอลเท่าไหร่) A: ในกรณีนี้คิดว่าจะต่อ 482 ถ้าเป็นอาชีพที่อยู่ใน Short term list ระวังเรื่อง Genuine Temporary Entry (GTE) ด้วยนะคะ 457 ในอดีตไม่ได้ต้องการ IELTS 6 ทุก Part นะคะ เข้าใจผิดหรือพิมพ์ผิดไม่แน่ใจ 482 Short term stream ใช้ผล IELTS 4.5 ทุก Part และ Overall 5 482 Medium term stream ใช้ผล IELTS 5 ทุก Part นอกจาก IELTS แล้ว ผลสอบ TOFEL iBT, PTE Academic, Cambridge C1 Advanced test และ OET ก็ใช้ได้ค่ะ 482 ยังใช้ผลการเรียนเป็นภาษาอังกฤษ 5 ปีในระดับ Secondary or Higher education เป็นข้อยกเว้นภาษาอังกฤษได้นะคะ 5/02/2020 Q: แฟนเป็นชาวนิวซีแลนด์ เค้าต้องการจะยื่น PR ที่นี่ ทำงานเป็น sous chef at cafe Sydney แฟนมี cert 3 certificate for commercial cookery รายได้แฟน $53900 3 ปีย้อนหลัง สามารถยื่นวีซ่าได้ไหมค่ะ A: ยังไม่ได้ค่ะ ต้องพิสูจน์ว่ามี Taxable income เท่ากับหรือมากกว่า Income threshold 4 ปีก่อนการยื่นใบสมัคร (ซึ่ง Income threshold = $53,900 ตั้งแต่ปี 2013-14 แต่ในอนาคตอาจจะไม่ใช่เรทนี้) ใครสงสัยว่าคำถามนี้หมายถึงวีซ่าตัวไหน คำตอบคือ วีซ่า 189 New Zealand Stream 12/11/2019 Q: ตอนนี้ถือวีซ่า 482 (Temporary Skill Shortage) แต่บาดเจ็บและจะต้องรักษาตัวนานเกิน 60 วัน กังวลว่าจะถูกยกเลิกวีซ่าเพราะอิมมิเกรชั่นมีเงื่อนไขว่าห้ามหยุดงานเกิน 60 วัน A: ห้ามหยุดงานเกิน 60 วันที่น้องพูดถึง คือเงื่อนไข 8607 ซึ่งติดมากับวีซ่า 482 (เฉพาะคนถือวีซ่าหลัก) ซึ่งไม่ได้หมายถึงหยุดงานเพราะป่วยนะคะ Keywords ของเงื่อนไข 8607 คือ "cease employment" ซึ่งหมายถึงการหมดสถานะการเป็นลูกจ้าง เช่นการถูกเลิกจ้าง หรือการลาออกจากงาน ซึ่งคนถือวีซ่านี้จะต้องหานายจ้างใหม่ที่พร้อมจะสปอนเซอร์เราภายใน 60 วัน การลาป่วยไม่ใช่ cease employment คือน้องไม่ได้หมดสถานะการเป็นลูกจ้าง เพราะฉะนั้นไม่ได้ทำผิดเงื่อนไข 8607 นะคะ แต่ถ้าลาป่วยนานจนถูกเลิกจ้าง อันนี้อีกเรื่องนึง (ก็เริ่มนับ 60 วันได้เลยค่ะ) 18/03/2019 Q: วีซ่านักเรียนขาดมาได้ 3 วันแล้ว ไม่ทราบว่าจะยื่นใบสมัครวีซ่านักเรียนตัวใหม่ในประเทศออสเตรเลียได้หรือไม่ A: ยื่นได้ค่ะ ถ้ายื่นไม่เกิน 28 วันหลังวีซ่านักเรียนเดิมหมดอายุ แต่ทำได้แค่หนเดียวเท่านั้นนะคะ ถ้าเคยได้วีซ่านักเรียนจากการยื่นหลังจากที่วีซ่านักเรียนเดิมหมดอายุมาแล้ว ก็หมดสิทธิ์ค่ะ ป.ล. ยื่นได้ คืออิมมิเกรชั่นสามารถรับเรื่องได้ ...... แต่ยื่นได้ ไม่ได้แปลว่าจะได้วีซ่านะคะ มันคนละเรื่องกัน เช่น ถ้าอิมมิเกรชั่นเห็นว่าไม่ได้มีความตั้งใจที่จะเป็นนักเรียนจริงๆ ก็สามารถปฏิเสธวีซ่าได้ค่ะ 21/02/2019 Q: มีเรื่องอยากจะรบกวนปรึกษาเรื่องวีซ่า 407 ค่ะ เมื่อปี 2017 เคยยื่นวีซ่า นร ของออสเตรเลียจากประเทศไทย แต่ไม่ผ่านค่ะ เลยไปเรียนโทที่ประเทศอื่นแทน จะเรียนจบปีนี้ค่ะ หลังจากเรียนจบมีความสนใจอยากจะยื่นเทรนนิ่งวีซ่า 407 ค่ะ ได้เข้าไปอ่านในเว็บไซต์ของอิมมิเกรชั่นออสเตรเลียแล้วมีข้อสงสัยตรงนี้ค่ะ ข้อความตรงนี้คือ หมายถึงคนที่เคยโดนปฏิเสธวีซ่าจากการยื่นภายในประเทศออสเตรเลียห้ามสมัครวีซ่าตัวนี้ถูกไหมคะ A: ข้อความที่ตัดมาให้อ่าน คือมีหลายปัจจัยด้วยกันที่ประวัติการถูกยกเลิกหรือถูกปฏิเสธวีซ่า จะมีผลกับการยื่นวีซ่าครั้งต่อไป ถ้าให้อธิบายทุกแบบคงยาวมาก คนเขียนคงต้องหาเวลาเขียนเป็นโพสเลย ยังไงลองอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจากลิงค์ Check if visa cancellation affects your eligibility นะคะ ถ้าประวัติของน้องมีอยู่เท่าที่ให้มา คือเคยมีการถูกปฏิเสธวีซ่านักเรียนที่ยื่นที่ไทยหนึ่งครั้ง (ไม่มีอะไรนอกเหนือ) ถ้าสาเหตุการถูกปฏิเสธไม่ได้มาจากการยื่นเอกสารปลอมหรือให้ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง ก็ไม่น่าจะติดข้อห้ามอะไรในการยื่นวีซ่าตัวถัดไป ถ้ามีประวัติมากกว่านี้ เช่นเคยอยู่เป็นผี overstayed visa มาก่อน เคยถูกยกเลิกวีซ่า ก็อาจจะมีปัญหาในการยื่นวีซ่าตัวถัดไปค่ะ 17/02/2019 Q: อยากเรียนปรึกษาค่ะคือว่าช่วงเมษาที่ผ่านมาลูกชายไปเยี่ยมพี่สาวไปออสเตเลียด้วยวีซ่าท่องเที่ยวแล้วพี่สาวแกให้เรียนภาษาที่นั่นและอยากให้น้องเรียนต่อป.ตรีจึงขอวีซ่านักเรียนให้น้องชายแต่กว่าเอกสารต่างๆจะครบและยื่นขอ ทำให้วันของวีซ่าท่องเที่ยวหมด คือผ่านไปแค่วันเดียว แต่ทางอิมก็ไม่อนุญาติให้ทำ ดังนั้นพี่สาวจึงไปขอบิดจิ้งและให้กลับไทยแต่เกินมาไม่ถึง28วัน จึงอยากจะเรียนปรึกษาว่าจะขอวีซ่าไปออสอีกจะมีทางทำได้ไหมคะ และตอนนี้ให้ลูกชายลงเรียนป.ตรีที่ไทยแล้ว แต่อยากกลับไปเยี่ยมพี่สาวเขาพร้อมพ่อและแม่ช่วงเมษาจะถึงนี้ วีซ่าจะมีปัญหาไหมคะ A: ถ้ากลับไทยไม่เกิน 28วันนับแต่วีซ่าท่องเที่ยวหมดอายุ ก็ไม่ติดบาร์ค่ะ แต่ประวัติการอยู่เกินเวลา ก็คาดว่าจะมีผลกับการพิจารณา เจ้าหน้าที่ก็ต้องมาพิจารณาและชั่งน้ำหนักเอาว่าจุดประสงค์จะมาท่องเที่ยว/มาเยี่ยมจริงหรือไม่ และถ้าอนุญาติให้เข้าออสเตรเลียแล้ว จะกลับออกไปหรือไม่ 11/02/2019 Q: คือว่าหนูเพิ่งเรียนจบป.โท วีซ่าที่ใช้อยู่เป็นวีซ่านักเรียน มาออสตั้งแต่ปี 2016ค่ะ วีซ่านักเรียนกำลังจะหมดวันที่ 15 มีนาคม 2019 ค่ะ อยากจะขอTR visa (post study work steam) ค่ะ แต่มีคำถามคือว่า หนูเคยมาเรียนภาษาที่ออสเตรเลียตอนเด็ก มาเรียนได้ 10 วีคแล้วก็กลับไทยค่ะ ตอนนั้นมา เดือนมีนาคม แล้วกลับไทยเดือนพฤษาคม ปี 2011 อยากจะทราบว่าแบบนี้สามารถสมัครTRได้มั้ยคะ การมาเรียนตอนปี2011ครั้งนั้นส่งผลกระทบ ทำให้ไม่สมารถสมัครTR วีซ่าหรือป่าว หรือว่าไม่เกี่ยวกันค่ะ A: Post study work steam มีเงื่อนไขว่าวีซ่านักเรียนที่สมัครและได้รับเป็นตัวแรกจะต้องเป็นตั้งแต่วัน 5 November 2011 เป็นต้นไป (This stream is only available if you applied for, and were granted, your first student visa to Australia on or after 5 November 2011. If you held your first student visa prior to this date, even as a child on your parent’s student visa, then you will not be eligible to apply for this stream.) ถ้าน้องมาเรียน 10 วีค เดือน March 2011 ด้วยวีซ่านักเรียน ก็จะติดเงื่อนไขนี้ค่ะ น้องคงต้องลองดูเงื่อนไขของ Graduate Work Stream ว่ามีความเป็นไปได้หรือเปล่า ถ้าตอนนั้นมาด้วยวีซ่าท่องเที่ยว ก็ไม่มีผลกระทบ เพราะไม่ใช่วีซ่านักเรียน Q: ตอนนี้ถือ 457 มีอายุถึง DD/MM/2020 ค่ะ ตอนนี้กำลังจะยื่น PR เหลือแค่ผลสอบไอเอลค่ะ น่าจะได้ยื่นภายในเดือนธันวาคมนี้ค่ะ ถ้าหากเรายื่น PR แล้ว เราก็จะเปลี่ยนเป็น Bridging A ใช่ไหมคะ แล้วทีนี้คือ อยากทราบว่า ถ้าเราจะกลับไทยในระหว่างที่เราอยู่ใน bridging A นี้ ต้องขอ bridging B ไหมคะ พอดีซื้อตั๋วไว้ จะกลับไทย DD/MM/2019 ค่ะ ถามทนายแล้ว เค้าบอกว่า สามารถเข้าออกออสเตรเลียได้ โดยไม่ต้องขอ Bridging B ไม่ทราบจริงไหมคะ...พอดีถามเพื่อนคนอื่น ก็ให้ข้อมูลไม่ตรงกันค่ะ อย่างเช่น ถ้าเรายื่นขอ PR...วีซ่าเก่าเราก็จะยกเลิก รบกวนด้วยนะคะ A: เมื่อยื่นขอ PR ก็จะได้ Bridging visa A (BVA) ค่ะ แต่ BVA จะยังไม่มีผลเพราะน้องยังถือ 457 ถึง DD/MM/2020 ถ้ากลับไทยก่อนที่ 457 จะหมดอายุ ไม่ต้องขอ BVB (คือเข้าออกด้วยวีซ่า 457) หลังจาก 457 หมดอายุ (ถ้ายังรอผล PR อยู่) น้องก็จะเข้ามาอยู่ใน BVA ก่อนออกนอกประเทศก็ต้องขอ BVB การยื่นพีอาร์ไม่ได้ทำให้วีซ่าตัวเดิมถูกยกเลิกค่ะ 26/10/2018 Q: ถือวีซ่า 457 อยู่ (หรือวีซ่า 482 / TSS) แต่ถูกเลิกจ้าง ต้องทำยังไง A: ลองหานายจ้างใหม่ดูค่ะ มีเวลา 60 วันก่อนที่อิมมิเกรชั่นจะพิจารณาว่าจะยกเลิกวีซ่าเราหรือไม่ ถ้า 457 ได้มาก่อนวันที่ 19 Nov 16 เปลี่ยนจาก 60 เป็น 90 วัน หานายจ้างใหม่ได้แล้ว เริ่มงานใหม่เลยไม่ได้นะคะ ต้องรอให้นายจ้างใหม่ได้ Approved Nomination ก่อน ถ้ามีวีซ่าอื่นที่อาจจะเหมาะสมกว่า ก็ควรจะรีบยื่นโดยเร็ว เพราะถ้าวีซ่าที่ถืออยู่ถูกยกเลิกก่อน อาจจะทำให้ยื่นไม่ได้ 25/10/2018 Q: วีซ่าถูกปฏิเสธค่ะ จากการขอต่อวีซ่านักเรียน แล้วตอนนี้ยื่น AAT ไป แล้วถือ bridging A อยู่ อยากทราบว่ายังทำงานได้ปกติตามวีซ่านักเรียนไหมคะ A: จากข้อมูลที่ให้มา ก็ควรจะทำงานได้ค่ะ และแนะนำให้น้องเช็ค VEVO ด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าวีซ่าที่ถืออยู่ไม่มี Condition: 'No Work' ติดอยู่ 18/10/2018 Q: ช่วงที่ถือวีซ่า 457 นี้ ไม่ทราบว่ายังต้องจ่ายค่า Training Benchmarks ในทุกๆปีไหมคะ A: ไม่ต้องแล้วค่ะ - นับจากวันที่ 12 สิงหาคม 2018 นายจ้างไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่า Training Benchmarks อีกต่อไป เพราะมีการปรับใช้ Skilling Australians Fund (SAF) levy หรือ Nomination Training Contribution Charge (NTCC) ซึ่งเป็นการชำระเป็นเงินก้อนตอนยื่น Nomination แทน (รายละเอียดที่นี่ค่ะ) นายจ้างที่มีหน้าที่ต้องทำ Training Benchmarks ตามกฏเก่า ก่อนหน้าที่จะมีการยกเลิกในวันที่ 12 สิงหาคม 2018 ก็ยังคงต้องเก็บหลักฐานการทำ Training ไว้นะคะ 22/08/2018 Q: ในกรณีที่ยังไม่ได้ผลภาษาอังกฤษที่ต้องการสำหรับวีซ่า 187 ไม่ทราบว่าจะยื่นใบสมัครก่อน พอได้ผลภาษาอังกฤษแล้วค่อยส่งตามหลังได้หรือไม่ A: ไม่ได้ค่ะ ผลภาษาอังกฤษสำหรับวีซ่า 186 & 187 ต้องเป็นผลของการสอบก่อนการยื่นใบสมัคร 13/07/2018 Q: มาด้วยวีซ่าท่องเที่ยว Multiple 1 ปี ต้องกลับทุก 3 เดือน จะยื่นวีซ่าคู่ครองที่ประเทศออสเตรเลียได้หรือไม่ และจะได้ Bridging visa หรือไม่ A: ถ้าวีซ่าท่องเที่ยวติด Condition 8503 "No further stay" ก็ยื่นวีซ่าคู่ครองที่ออสเตรเลียไม่ได้ค่ะ (เว้นแต่จะมีการขอยกเว้น Condition 8503 และอิมมิเกรชั่นได้อนุมัติแล้วก่อนการยื่นวีซ่าคู่ครอง) ถ้าวีซ่าท่องเที่ยวไม่ติด Condition 8503 ก็สามารถยื่นวีซ่าคู่ครองในประเทศออสเตรเลียได้ค่ะ (ยื่นในระหว่างที่ถือวีซ่าท่องเที่ยวด้วยนะคะ ไม่ใช่อยู่เกินวีซ่าแล้วค่อยยื่น ปัญหาใหญ่จะตามมา) และเมื่อได้ยื่นวีซ่าคู่ครองแล้วก็จะได้ Bridging visa (วีซ่ารอ) เพื่อที่จะอยู่รอผลการพิจารณาวีซ่าคู่ครองที่ออสเตรเลีย โดยไม่ต้องกลับออกไปหรือไปๆมาๆทุก 3 เดือน แล้วจะทราบได้ยังไงว่าวีซ่าท่องเที่ยวที่ให้อยู่ได้ 3 เดือน จะหมดวันที่เท่าไหร่ ----- เช็ค VEVO ค่ะ 4/06/2018 Q: กรณีถือวีซ่าท่องเที่ยว (multiple 3 ปี ) แล้วยื่นวีซ่านักเรียน onshore พอได้รับ bridging A อยู่ออสครบ 3 เดือน ต้องออกนอกประเทศมั๊ยคะ แล้วถ้าวีซ่านักเรียนออก วีซ่าท่องเที่ยวยังคงอยู่มั้ยคะ A: ถ้าวีซ่าท่องเที่ยวหมดอายุแล้วไม่กลับออกไป ก็จะเปลี่ยนมาถือ Bridging visa ถ้าวีซ่านักเรียนออก วีซ่านักเรียนก็จะมาแทนวีซ่าท่องเที่ยวค่ะ Q: มาด้วย visa subclass 400 ต้องการอยู่ต่อ ถ้าขอ visa subclass 400 อีกครั้ง จะโดนปฎิเสธจากทาง immigration หรือไม่ และถ้าโดนปฎิเสธ จะมีผลกับการขอ 189 ในอนาคตของดิฉันไหม A: ถ้าเหตุผลดี หลักฐานดี วีซ่า 400 ก็มีโอกาสผ่านค่ะ ถ้าวีซ่า 400 ถูกปฏิเสธ และถือ bridging visa อาจจะติด Section 48 Bar ทำให้ยื่นวีซ่า 189 ในประเทศออสเตรเลียไม่ได้ แต่ก็ยังยื่นแบบนอกประเทศได้ 25/04/2018 Q: รบกวนสอบถามค่ะ คือ ทางนายจ้างจะขอวีซ่า TSS ให้เพื่อทำงานในออสเตรเลียเป็นเวลาประมาณ 1 ปีค่ะ ทำหน้าที่ programmer ค่ะ ตัวดิฉันเองต้องการจะยื่นขอวีซ่า 189 ด้วยตัวเองด้วยค่ะ เลยอยากทราบว่า ถ้าเราถือ TSS หรือ เคยถือ TSS จะมีปัญหาในการยื่นขอ 189 ไหมคะ แล้ว ถ้าทำงานในออสเตรเลีย ครบ 1 ปี ด้วย TSS visa จะสามารถ add 5 points ในการขอ 189 ไหมคะ A: ถือ TSS หรือ เคยถือ TSS ไม่มีปัญหาในการยื่นขอ 189 ค่ะ ทำงานในออสเตรเลีย ครบ 1 ปี ด้วย TSS visa จะสามารถ add 5 points ในการขอ 189 ได้ค่ะ แต่ Points รวม ของประสบการณ์การทำงานทั้งหมด (ไม่ว่าจะในหรือนอกประเทศออสเตรเลีย) จะได้มากสุดไม่เกิน 20 points 19/10/2017 Q: ตอนนี้ได้วีซ่า 457 2 ปี แต่กำลังจะเปลี่ยนนายจ้าง นายจ้างใหม่ไม่เคยสปอนเซอร์ใครมาก่อน จึงต้องทำ nomination, sponsor applications ใหม่ แล้วก็ค่า training ค่า adv ขอสอบถามเรื่องค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ว่า 1. จริงๆแล้วใครสมควรต้องเป็นเป็นคนรับผิดชอบ? เพราะเราไปคุยกับเขาเองว่าอยากย้ายมาร้านนี้ แล้วเขาเองก็ต้อง การคนทำงานด้วย เหมือนจะ win-win ทั้งสองฝ่ายแต่ก็รู้ว่ามันไม่ใช่คับ 2. การทำ transfer มา จริงๆแล้ว มีค่าใช้จ่ายมั้ยคับ A: 1. ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ถามมา นายจ้างมีหน้าที่จ่ายค่ะ 2. ในกรณีที่ถามมา มีค่าใช้จ่ายเฉพาะส่วนของนายจ้างค่ะ ค่า adv (???) - ถ้าหมายถึงค่าโฆษณา Labour Market Testing (LMT) ต้องดูด้วยว่าเข้าข้อยกเว้นหรือไม่ กฏหมายปัจจุบัน การ Nominate ลูกจ้างที่ถือพาสปอร์ตไทย นายจ้างไม่จำเป็นต้องทำ LMT Q: ตอนนี้ผมถือวีซ่า 457 สปอนเซอร์ chef อยู่คับผมได้วีซ่าก่อนที่กฎใหม่จะเปลี่ยน แต่ผมอยากทราบว่า 1. อีกกี่ปีถึงจะขอยื่นพีอาร์ได้ ยึดตามกฎใหม่ 3 ปี หรือ กฎเก่า 2 ปีคับ 2. ตอนขอ 457 ผมสอบไอเอลได้ 5.5 แต่อยากทราบว่าตอนขอพีอาร์ ต้องสอบไอเอลใหม่มั้ยคับ เพราะตามกฎใหม่ ต้องให้ได้ 6 A: 1. ยังไม่ทราบแน่ชัดนะคะ ต้องรออิมมิเกรชั่นประกาศอีกที 2. กฏใหม่ที่ว่า คือกฏปัจจุบันแล้วค่ะ IELTS ต้องได้ 6 ทุกพาร์ท (อิมมิเกรชั่นรับผลสอบอื่นด้วยนะคะ ลองไล่ อ่านด้านล่าง) 13/10/2017 Q: ถ้าเราถือ Bridging visa B อยู่ในประเทศออสเตรเลียแล้ว สามารถอยู่ได้นานกี่ปี A: อยู่ได้จนกว่าอิมมิเกรชั่นจะพิจารณาออกวีซ่าให้ ถ้าถูกปฏิเสธวีซ่า ก็จะถือ Bridging visa ต่อไปอีก 28 หรือ 35 วัน (แล้วแต่ว่า Bridging visa ที่ถืออยู่ออกให้ก่อนหรือหลังวันที่ 19 พฤศจิกายน 2016) แนะนำให้เช็ค VEVO ค่ะ ก็จะทราบว่า Bridging visa หมดเมื่อไหร่ ถ้ามีการยื่นอุทธรณ์ไปที่ AAT Bridging visa ก็จะยืดออกไป 12/10/2017 Q: ตอนนี้ถือวีซ่านักเรียน ซึ่งจะหมดอายุปี 2020 มีนายจ้างอยากจะสปอนเซอร์ในตำแหน่ง Web Administrator จะยื่นวีซ่า 457 ตอนนี้ หรือควรจะรอยื่นวีซ่า TSS หลังมีนาคม 2018 และถ้ายื่นวีซ่า 457 หรือ TSS ไม่ผ่าน จะต้องกลับไทยเลย หรือกลับมาเป็นวีซ่านักเรียนได้เลย A: Web Administrator ตอนนี้อยู่ใน STSOL ไม่ว่าจะขอวีซ่า 457 หรือ TSS ก็จะได้วีซ่าระยะเวลา 2 ปี จากข้อมูลที่มี ณ เวลานี้ วีซ่า TSS ในสาขาอาชีพใน STSOL ไม่สามารถต่อยอดไปเป็นพีอาร์ได้ ส่วนคนที่ถือวีซ่า 457 จะต่อยอดไปเป็นพีอาร์ได้หรือไม่หลังกฏเปลี่ยนเดือนมีนาคม 2018 อิมมิเกรชั่นเกริ่นๆว่าจะมี Transitional provisions ส่วนเงื่อนไขจะเป็นยังไง ตอนนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด คาดว่าจะทราบประมาณเดือนธันวาคม ในกรณีที่ขอวีซ่า 457 หรือ TSS แล้วไม่ผ่าน และวีซ่านักเรียนยังไม่หมดอายุ น้องก็ยังคงอยู่ในประเทศออสเตรเลียได้ด้วยวีซ่านักเรียนค่ะ 7/10/2017 Q: ตอนนี้ถือ Bridging visa A อยู่ แต่อยากกลับไทยไปเยี่ยมครอบครัว และร่วมงานแต่งงานน้องชาย เหตุผลแบบนี้จะขอ Bridging visa B ได้หรือไม่ และต้องขอล่วงหน้านานเท่าไหร่ แล้วจะเข้ามาอยู่ต่อประเทศนี้อีกจะได้ไหมคะ พอกลับมาแล้วก็มาถือ ฺBridging visa A ต่อใช่ไหมคะ หรือ Bridging visa A จะถูกยกเลิก A: คิดว่าน่าจะได้ค่ะ ปกติแล้วอิมมิเกรชั่นไม่ค่อยปฏิเสธ Bridging visa B นะคะ อิมมิเกรชั่นแจ้งว่าควรขอล่วงหน้าระหว่าง 2 อาทิตย์ ถึง 3 เดือน ส่วนตัวคิดว่าล่วงหน้า 4 อาทิตย์กำลังดี กลับมาแล้วก็ถือ Bridging visa B ต่อไปค่ะ ส่วนจะออกไปนอกออสเตรเลียได้อีกหรือไม่ หรือต้องขอ Bridging visa B ตัวใหม่ก่อนออกไป ดูวันที่ที่ระบุไว้ตรง Must not arrive after ถ้าคิดว่าออกไปแล้วจะกลับเข้ามาหลังวันที่ที่ระบุไว้ ก็ต้องขอใหม่ก่อนออกไปนะคะ Q: ถูกปฏิเสธวีซ่านักเรียนเพราะอิมมิเกรชั่นไม่ได้รับหลักฐานการเงิน ควรจะยื่นอุทธรณ์ หรือกลับไทยแล้วค่อยยื่นวีซ่ามาใหม่ และจะได้วีซ่าหรือไม่ A: ยื่นอุทธรณ์ก็จะได้อยู่ที่ออสเตรเลียต่อในระหว่างรอผลอุทธรณ์ ถ้าสามารถโชว์หลักฐานการเงินตามที่อิมมิเกรชั่นกำหนดได้ อุทธรณ์ก็น่าจะผ่าน ระยะเวลาการรอ +/- 1 ปี กลับไทยแล้วค่อยยื่นมาใหม่จะเร็วกว่า เคสที่กลับไปเรื่องหลักฐานการเงิน และได้วีซ่ากลับมาอย่างรวดเร็วก็มีนะคะ แต่ก็มีความเสี่ยง เพราะถ้าอิมมิเกรชั่นปฏิเสธวีซ่าจะด้วยเหตุผลทางการเงินหรือเหตุผลอื่น เช่นไม่เชื่อว่าเราต้องการเป็นนักเรียนจริง ก็อาจจะไม่ได้กลับมา วีซ่านักเรียนยื่นแบบนอกประเทศจะไม่มีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์ไปที่ AAT นะคะ ต้องยื่นใหม่อย่างเดียว นอกจากจะพิสูจน์ได้ว่าการปฏิเสธของอิมมิเกรชั่นมีข้อผิดพลาดทางกฏหมาย ก็มีโอกาสยื่นอุทธรณ์ไปที่ศาล แต่ค่าใช้จ่ายสูงและรอผลการพิจารณานานค่ะ 13/09/2017 Q: ตอนนี้ถือ Bridging visa A จะต้องขอ Bridging visa B ล่วงหน้ากี่วัน ก่อนเดินทาง และอยู่นอกประเทศได้ถึงเมื่อไหร่ A: ข้อมูล ณ เวลานี้ อิมมิเกรชั่นระบุไว้ว่า ควรขอล่วงหน้าอย่างน้อย 2 อาทิตย์ แต่ไม่เกิน 3 เดือน (คนเขียนคิดว่าขอล่วงหน้าอย่างน้อย 4 อาทิตย์ กำลังดีค่ะ) - ในจดหมายอนุมัติ Bridging visa B จะมี Must not arrive after "วันที่" เอาไว้ ก็ต้องกลับเข้ามาในประเทศออสเตรเลียภายในวันที่ๆระบุไว้ Q: ต้องการยื่นขอวีซ่า 485 แต่ยังไม่มีผลภาษาอังกฤษ จะยื่นขอวีซ่าก่อน แล้วค่อยลองสอบไปเรื่อยๆ พอได้ผลที่ต้องการแล้ว ค่อยยื่นตามเข้าไปได้หรือไม่ A: ไม่ได้ค่ะ ผลภาษาอังกฤษที่ใช้ได้ จะต้องมาจากการสอบก่อนการยื่นขอวีซ่า 485 และมีอายุไม่เกิน 3 ปี Q: ถูกปฏิเสธวีซ่านักเรียน ตอนนี้ถือ Bridging visa A ซึ่งจะหมดอายุ 35 วันนับจากที่ได้รับแจ้ง พอยื่นอุทธรณ์ที่ AAT ไปแล้ว จะต้องรอกี่วันถึงจะไปยื่นขอต่อ Bridging visa A กับอิมมิเกรชั่นได้ A: ไม่ต้องรอ และไม่ต้องขอค่ะ หลังจากที่ยื่นอุทธรณ์แล้ว ทาง AAT และอิมมิเกรชั่นจะติดต่อกันเองค่ะ และ Bridging visa A ตัวเดิมที่ถืออยู่ ก็จะมีการอัพเดท โดยเปลี่ยน ฺฺBridging visa A ที่มีวันหมดอายุ เป็น indefinite แบบไม่มีวันหมดอายุ (เพื่อรอการพิจารณาในชั้นอุทธรณ์) Q: วีซ่า 457 จะหมดอายุเดือนเมษายน 2018 แต่ยังไม่ได้ภาษาอังกฤษสำหรับยื่นพีอาร์ จะขอต่อวีซ่า 457 อีกได้หรือไม่ A: เดือนมีนาคม 2018 วีซ่า 457 จะถูกยกเลิก และจะมีการปรับใช้วีซ่าตัวใหม่แทน คือวีซ่า Temporary Skills Shortage (TSS) Q: น้องสาวถูกปฏิเสธวีซ่าและติด PIC4020 เพราะแจ้งในใบสมัครว่าไม่เคยถูกปฏิเสธวีซ่า แต่จริงๆแล้วเคยถูกปฏิเสธวีซ่ามาก่อน เคสของน้องสาวจะมีผลกระทบกับพี่สาวที่กำลังยื่นขอพีอาร์หรือไม่ A: เป็นเรื่องเฉพาะตัวของน้องสาว คาดว่าจะไม่มีผลกระทบกับวีซ่าของพี่สาว เพราะอิมมิเกรชั่นพิจารณาวีซ่ากันเป็นรายบุคคลค่ะ Q: สอบภาษาอังกฤษไม่ผ่านซะที ควรทำยังไงดี
A: เดี๋ยวนี้ไม่ได้มีแค่ IELTS แล้วนะคะ มี PTE Academic, TOEFL iBT, CAE และ OET (อันนี้สำหรับ Healthcare workers เช่นหมอ พยาบาล) ถ้าสอบ IELTS ไม่ได้ผลที่ต้องการซะที ก็อาจจะลองเปลี่ยนมาสอบอย่างอื่นดูนะคะ เข้าคอร์สติวเข้มก็อาจจะช่วยได้ คอร์สติวเข้มส่วนใหญ่ไม่ได้สอนแกรมม่านะคะ สอนเทคนิคการทำข้อสอบ สอนการใช้เวลา (ที่มีอยู่อย่างจำกัดในการทำข้อสอบ) ให้เป็นประโยชน์สูงสุด เช่นแต่ละข้อควรใช้เวลากี่นาที เป็นต้น อีกอย่างที่จะช่วยได้ คือการเอาตัวเองไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่บังคับให้เราต้องใช้ภาษาอังกฤษ เช่นคลุกคลีกกับเพื่อนต่างชาติ ทำงานที่ต้องสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ อ่านนิยาย/หนังสือพิมพ์ที่เป็นภาษาอังกฤษ ฟังวิทยุ/ฟังเพลงเป็นภาษาอังกฤษ ฝึกสำเนียงโดยการพูดตามนักอ่านข่าวในทีวี พูดกับเพื่อนคนไทยเป็นภาษาอังกฤษก็ได้ อยู่ที่ไหนก็พัฒนาตัวเองได้ ถ้าอยากจะทำ Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com นานๆทีก็จะมีน้องโทรมาถามประมาณนี้
"พี่ครับผมเคยไปออสเตรเลียและหนีวีซ่ามาระยะนึง ถูกจับได้และส่งกลับ ตอนนี้อยู่ไทย เอเจนต์แนะนำให้ผมเปลี่ยนชื่อแล้วไปขอพาสปอร์ตด้วยชื่อใหม่ นี่ผมไปเปลี่ยนชื่อมาแล้ว กำลังจะไปทำพาสปอร์ต พี่ว่าผมจะได้วีซ่าไหมครับ " อารมณ์คนเขียนก็ประมาณ "โอ้โหน้อง เอเจนต์ที่ไหนคะเนี่ยแนะนำแบบนี้" เอเจนต์คงไม่ได้แนะนำให้เปลี่ยนชื่อ เผื่อชื่อใหม่จะทำให้ดวงดีได้วีซ่าหรอกค่ะ คาดว่าเอเจนต์ตั้งใจจะยื่นวีซ่าให้โดยใช้ชื่อใหม่ ไม่แจ้งชื่อเดิม เผื่ออิมมิเกรชั่นจะไม่เจอว่าน้องเคยมีประวัติหนีวีซ่า การไม่แจ้งชื่อเดิมในใบสมัคร อาจจะมีผลกระทบกับวีซ่าได้นะคะ โดยเฉพาะในกรณีที่ชื่อเดิมมีประวัติไม่ดีแบบนี้ ถ้าอิมมิเกรชั่นตรวจเจอเข้าในระหว่างพิจารณาวีซ่า นอกจากอาจจะถูกปฏิเสธวีซ่าเพราะประวัติเดิมแล้ว ยังอาจจะถูกติดบาร์ 3 ปี (PIC 4020) จากการให้ข้อมูลที่ไม่เป็นจริงด้วย ถ้าบังเอิญโชคดีได้วีซ่า ก็ไม่ได้แปลว่าอนาคตจะไม่มีปัญหา ต่อให้หมกเม็ดไปตลอดรอดฝั่งจนได้พีอาร์ ได้เป็นพลเมือง อิมมิเกรชั่นก็อาจจะมาเจอประวัติเก่าเข้าจนได้ คนเขียนเอาเคสที่เพิ่งอ่านเจอเมื่อเร็วๆนี้มาแชร์นะคะ เคสนี้คือเข้ามาด้วยวีซ่าท่องเที่ยว พบรัก แต่งงาน ขอวีซ่าคู่ครอง ความสัมพันธ์ไปไม่รอด ไม่ได้พีอาร์และกลับประเทศไป ต่อมาพบรักใหม่กับออสซี่อีกคน แทนที่จะขอวีซ่าคู่ครองตามปกติซึ่งก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เอเจนต์กลับแนะนำให้เปลี่ยนชื่อก่อนยื่น เพื่อที่จะยื่นวีซ่าคู่ครองด้วยชื่อใหม่โดยไม่แจ้งชื่อเดิม คือประวัติใสค่ะ เสมือนไม่เคยขอวีซ่า สรุปว่าได้วีซ่าคู่ครองกับแฟนใหม่ด้วยชื่อใหม่ และต่อมาก็ได้เป็นพลเมืองด้วยชื่อใหม่ ......18 ปีผ่านไปอิมมิเกรชั่นไปเจอเข้าโดยบังเอิญ (เดี๋ยวนี้ระบบคอมพิวเตอร์เค้าเริ่ดนะคะ) โดนยกเลิกการเป็นพลเมือง เจ้าตัวขอความเห็นใจว่าเค้ามีลูกและก็ลงหลักปักฐานที่นี่มา 18 ปีแล้ว และที่ทำแบบนั้นก็เพราะเอเจนต์แนะนำให้ทำ .... คืออิมมิเกรชั่นหรือศาลไม่ค่อยฟังหรอกนะคะเหตุผลประมาณนี้ เพราะคุณเองก็ต้องมีวิจารณญาณคิดได้เองด้วยว่าอะไรควรอะไรไม่ควร ใบสมัครของคุณถือว่าคุณเป็นคนให้ข้อมูลจะมีคนช่วยหรือไม่ก็แล้วแต่ (เพราะฉะนั้นต่อให้ใช้บริการเอเจนต์หรือทนาย ก็ต้องใส่ใจเคสตัวเองค่ะ no ifs no buts) ถ้าตั้งใจจะเปลี่ยนชื่อเพื่อให้ประวัติใสสะอาด อย่าทำค่ะ ไม่คุ้ม ถ้าเปลี่ยนชื่อเพราะเชื่อเรื่องดวง แต่งงาน หย่า หรือด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ แจ้งชื่อเก่าและประวัติเก่าให้อิมมิเกรชั่นทราบด้วยค่ะ จะได้พีอาร์ และอนาคตจะต่อยอดไปเป็นพลเมือง ก็เอาให้แน่ใจว่าได้มาแล้วมันจะอยู่กับเราไปตลอดชีวิต คนเขียนมีเคสน้องคนนึงเคยถือวีซ่าท่องเที่ยว จากนั้นก็ถือวีซ่านักเรียนอีก 2-3 ตัว น้องมาให้คนเขียนดูแลในส่วนของวีซ่าคู่ครองให้ ถามไปถามมาได้ความว่าในใบสมัครวีซ่าท่องเที่ยวและวีซ่านักเรียน น้องแจ้งว่า Never married (ไม่เคยแต่งงาน / โสด) และไม่เคยมีชื่ออื่น แต่ในความเป็นจริงน้องเคยแต่งงาน เคยหย่า และเคยเปลี่ยนชื่อมา 6 หน !!! คนเขียนแจ้งให้น้องทราบถึงโอกาสที่จะเกิดปัญหา PIC 4020 (การให้ข้อมูลไม่ถูกต้องในใบสมัครเดิม อาจจะทำให้ใบสมัครใหม่ถูกปฏิเสธและติดบาร์ 3 ปี) น้องบอกว่า "แหมพี่คะ พี่ก็ทำให้มันเหมือนที่เอเจนต์เดิมทำสิคะ ไม่ต้องแจ้งอะไรทั้งนั้น" คนเขียนก็บอกว่า "น้องคะ น้องมาทางไหนน้องไปทางนั้นเลยค่ะ" .... ล้อเล่นค่ะ ไม่ได้พูด (แค่คิดในใจ) คนเขียนบอกน้องว่าทำแบบนั้นไม่ได้ค่ะ 1. ผิดจรรยาบรรณ 2. พีอาร์เป็นวีซ่าถาวร น้องอยากได้พีอาร์ระยะสั้น หรือพีอาร์ระยะยาว ถ้าได้พีอาร์แล้วถูกยกเลิกภายหลัง หรือได้เป็นพลเมืองแล้วถูกยกเลิก รับได้ไหม มีทางเลือกให้น้อง 2 ทางคือ 1. ใช้บริการคนเขียน Declare ทุกอย่างตามความเป็นจริง แน่นอนคนเขียนจะช่วยอย่างเต็มที่เท่าที่ทนายคนนึงจะทำได้โดยไม่ผิดจรรยาบรรณ เคสเสี่ยงถูกปฏิเสธไหม เสี่ยงแน่นอน แต่ถ้าผ่านเราก็ได้วีซ่ามาอย่างถูกต้อง ไม่ต้องมากังวลว่ากรรมจะตามทันเหมือนเคสที่เล่าให้ฟังข้างบน 2. ไปใช้บริการคนอื่นได้เลยค่ะ น้องตัดสินใจใช้บริการค่ะ เคสแบบนี้เป็นเคสต้องคิดเยอะค่ะ Strategy การทำงานต้องมี ว่าจะนำเสนอเคสแบบไหนให้เคสดูดีที่สุด ต้องคิดเผื่อแผนสอง แผนสาม (อย่ามาถามหาการันตี เคสง่ายแค่ไหนก็ไม่เคยการันตี เพราะคนเขียนไม่ใช่คนตัดสินเคส) เราทำเต็มที่แล้วเราก็ลุ้นผลไปด้วยกัน เตรียมใจเผื่อต้องยื่นอุทธรณ์กันไว้เรียบร้อย แล้วเราก็ผ่านมันมาได้ที่ชั้นอิมมิเกรชั่น โดยไม่มีการขอเอกสารหรือข้อมูลเพิ่มเติมเลย ตอนนี้น้องก็เป็นพีอาร์ไปแล้ว เมื่อพร้อมขอเป็นพลเมืองก็ไม่น่าจะเจอปัญหาอะไร เพราะเราเซ็ตข้อมูลของลูกความให้อิมมิเกรชั่นทราบอย่างถูกต้องแล้ว ไม่ต้องกลัวเผลอ ไม่ต้องกลัวเจอประวัติหมกเม็ดอีกต่อไป .....จริงๆ ระหว่างทางเราก็เจอประวัติคดีอาญาของน้องด้วย หลังจากที่ Declare ไปแล้วว่าไม่มีประวัติ น้องบอกว่า "หนูไม่รู้ หนูลืม" Great! - คนเขียนไม่รู้เหมือนกันว่าเรารอดมาได้ยังไง สรุปว่า Declare (แจ้ง) ชื่อทุกชื่อ สถานะ และประวัติของเราอย่างถูกต้องค่ะ ถ้าปัญหาจะเกิดก็ให้มันเกิดซะตั้งแต่ต้น ไม่ว่าจะขอวีซ่าชั่วคราว หรือวีซ่าพีอาร์ ถ้าหมกเม็ดแล้วต้องมาตามแก้ปัญหา = ความเสี่ยงสูง/ ค่าใช้จ่ายสูง/ เสียเครดิต (หมดความน่าเชื่อถือ) หมกเม็ดไปเรื่อยๆก็อาจจะเจอแจ็คพอตแบบเคสข้างบน ถูกยกเลิกการเป็นพลเมืองหลังจากลงหลักปักฐานสร้างอนาคตที่นี่ไปเรียบร้อยแล้ว (เคสที่ถูกยกเลิกการเป็นพลเมืองมีอยู่เรื่อยๆนะคะ นี่แค่ตัวอย่างเดียว บางเคสที่หมกเม็ดเอาไว้ เรื่องก็มาแดงเอาตอนขอเป็นพลเมืองนี่แหละค่ะ ผลคือถูกปฏิเสธการเป็นพลเมือง และก็ถูกยกเลิกพีอาร์ บางเคสไม่ได้กระทบแค่ตัวเอง ลูกและคู่ครองก็พลอยโดนไปด้วย) Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com เคสนี้เป็นเรื่องของลูกความแถบยุโรบคู่หนึ่งที่มาด้วย Working Holiday visa และทำวีซ่า 457 กับเอเจนต์อื่น
ลูกความติดต่อมาหาคนเขียนครั้งแรกกลางปี 2016 Standard Business Sponsorship (SBS) application ถูกปฏิเสธเพราะเอเจนต์คำนวนค่าเทรนนิ่งผิด เอเจนต์แนะนำให้ยื่นอุทธรณ์ คนเขียนแนะนำให้ยื่นเรื่องใหม่เข้าไปที่อิมมิเกรชั่น เพราะเป็นประเด็นที่แก้ไขได้ และยื่นใหม่เร็วกว่ายื่นอุทธรณ์แน่นอน ลูกความอยากเปลี่ยนมาให้คนเขียนดูแล แต่นายจ้างยังมั่นคงกับเอเจนต์เดิม (ปัญหาโลกแตก ต้องปล่อยให้นายจ้างลูกจ้างตกลงกันเอาเอง) เวลาผ่านไปไวเหมือนโกหก ลูกความติดต่อมาอีกครั้งเมื่อธันวาคม 2018 และจะให้คนเขียนยื่นขอพีอาร์ให้ คนเขียนก็คิดว่าลูกความต้องการต่อยอดจาก 457 เป็นวีซ่าพีอาร์ 186 .... คือดูจากเวลาแล้วน่าจะใช่ น่าจะถือ 457 (เข้ากฏเก่า) มาแล้ว 2 ปี ปรากฏว่าความเป็นจริงห่างไกลจากที่คิดไว้เยอะเลยค่ะ ที่หายไป 2 ปีกว่า คนเขียนวิเคราะห์ได้ตามข้างล่าง คือต้องวิเคราะห์เองจากเอกสาร เพราะถามอะไรลูกความก็ทำหน้างงๆ --- คืองงอะไร ไม่เข้าใจ จะว่าภาษาไม่ดีก็ไม่ใช่ เพราะภาษาอังกฤษเป็นภาษาเกิด ....... สรุปว่าเพราะเอเจนต์ไม่เคยอธิบายอะไรเลย ....และลูกความก็เกรงใจ ....... ไม่กล้าถาม!!!! .....เอกสารที่คนเขียนขอไป ตอนแรกก็ไม่มีให้ คือเกรงใจไม่กล้าขอจากเอเจนต์ จนคนเขียนต้องบอกว่าถ้าไม่มีเอกสารก็ไม่ต้องมา หมดปัญญาช่วย .... คือจะให้นั่งเทียนหรือไง ถามอะไรก็ตอบไม่ได้ ขออะไรก็ไม่มี สรุปว่าเคสนี้ 1. SBS ที่แนะนำให้ยื่นใหม่ ผ่านไปได้ด้วยดี 2. Nomination ไม่ผ่าน และตอนนี้เรื่องอยู่ที่ชั้นอุทธรณ์ 3. วีซ่า 457 ก็แน่นอน..ไม่ผ่าน (เพราะ Nomination ไม่ผ่าน) และเรื่องอยู่ที่ชั้นอุทธรณ์เหมือนกัน (และเอเจนต์ก็ยื่นใบสมัครวีซ่าเลท คือหลังวันที่ 18 April 2017 ต่อให้ลูกความได้วีซ่า ก็เข้ากฏใหม่ อาชีพ STSOL ต่อยอดจาก 457 ไปพีอาร์ไม่ได้) ที่หนักกว่านั้นคือเช็ค VEVO แล้วไปเจอว่าจากที่เคยถือ Bridging visa B (BVB) อยู่ กลายเป็นตอนนี้ไม่มีวีซ่า ..... สรุปว่าสองคนที่นั่งอยู่ตรงหน้าคนเขียนไม่มีวีซ่า!!!!! แต่ต้องการยื่นพีอาร์ (แบบในประเทศออสเตรเลียด้วยนะ) ..... เอิ่ม......แก้ปัญหาสำคัญก่อนดีไหม ..... ทำไมอยู่ๆถึงไม่มีวีซ่า เหมือนเดิมค่ะ ลูกความตอบไม่ได้ ตอบได้แต่ว่าหลังจากที่เช็ค VEVO เองแล้วเจอว่าไม่มีวีซ่า ก็รีบบอกเอเจนต์ เอเจนต์ก็รีบยื่นเรื่องขอ Bridging visa E (BVE) ให้ ตอนนี้คือกำลังรออิมมิเกรชั่นออก BVE ให้ คนเขียนก็ .... เอะ .... แล้วมันใช่เหรอ .... จากที่ถือ BVB อยู่ดีๆ ไปเป็นผีได้ยังไง???? ..... คนทำงานด้านนี้ต้องถามคำถามนี้ซิคะ จะหลับหูหลับตายื่น BVE ให้ลูกความโดยไม่หาคำตอบได้ยังไง และประวัติลูกความก็เสียไปจากการอยู่แบบไม่ถือวีซ่า .... มันใช่เหรอ ถ้ามันมีเหตุผลอันสมควร มีที่มาที่ไปทำให้กลายเป็นคนไม่มีวีซ่า ก็ต้องยอมรับสภาพ แต่จากที่คนเขียนสัมภาษณ์ลูกความ และวิเคราะห์จากเอกสาร คนเขียนไม่เจอเหตุอะไรเลยที่อยู่ๆลูกความจะกลายเป็นผี ไม่มีวีซ่า คือค่อนข้างมั่นใจว่าต้องมีความผิดพลาดอะไรบางอย่างเกิดขึ้น และลูกความควรจะยังถือ BVB อยู่ แต่....เนื่องจากคนเขียนก็ไม่ใช่เอเจนต์ที่ดูแลลูกความ จะมาฟันธง รู้ดีไปกว่าเจ้าของเคสได้ยังไง (ใช่ไหม?) คนเขียนเลยแนะนำให้ลูกความเป็นกบฏกับเอเจนต์! เอ้ย....ไม่ใช่... .... แนะนำให้ถามเอเจนต์ถึงเหตุผลที่มาที่ไปของการที่อยู่ๆลูกความไม่มีวีซ่า ถ้าหาเหตุผลมาอธิบายไม่ได้ ก็ต้องไปสู้รบกับอิมมิเกรชั่นเอา BVB คืนมาให้ลูกความ ไม่ใช่ไปสมัคร BVE ให้ลูกความ (BVE คือวีซ่าตัวที่แย่ที่สุดในบรรดา BV ทั้งหมด ถ้าเรามีสิทธิ์ถือ BV ที่ดีกว่า ทำไมจะยอมถือ BVE - อ่านเรื่อง BV ต่างๆได้ที่นี่) ลองนึกเล่นๆถึงสถานะของลูกความในกรณีที่ถือ BVB vs BVE ดูนะคะ การกลับมาถือ BVE แน่นอนว่าเปลี่ยนสถานะจากผี เป็นมีวีซ่า .... สำหรับเอเจนต์เป็นทางออกที่ง่ายที่สุด ไม่ต้องคิด ไม่ต้องทำ Research ไม่ต้องไปนั่งทบทวนประวัติลูกความ ไม่ต้องไปง้างกับอิมมิเกรชั่น .... แต่ผลกระทบต่อลูกความตามมาแบบยาวๆ เพราะตอนนี้ลูกความติด section 48 จากการถูกปฏิเสธวีซ่า 457 ทำให้ยื่นพีอาร์ในประเทศไม่ได้ จะออกไปยื่นพีอาร์แบบนอกประเทศแล้วกลับมารอเรื่องในประเทศก็ไม่ได้ เพราะ BVE ออกไปได้ กลับเข้ามาไม่ได้ ก็ต้องรอผลวีซ่าอยู่นอกประเทศเท่านั้น ลองนึกต่อว่าถ้าวีซ่าพีอาร์ไม่ผ่าน และต้องการจะขอวีซ่าชั่วคราวเพื่อกลับมา ก็คาดว่าจะติดบาร์ 3 ปี จากประวัติที่เคยอยู่แบบไม่มีวีซ่านั่นเอง) ..... อีกทางเลือกนึง ก็คือต้องรอจน Nomination ที่ชั้นอุทธรณ์ผ่านและได้วีซ่า 457 ก่อนค่อยยื่นพีอาร์แบบในประเทศ ... แล้วถ้า Nomination ไม่ผ่าน ไม่ได้วีซ่า 457 ล่ะ (ย้อนกลับไปอ่านย่อหน้านี้อีกรอบค่ะ) การกลับมาถือ BVB แน่นอนลูกความยังติด section 48 จากการถูกปฏิเสธวีซ่า 457 .... แต่ก็สามารถบินออกไปเพื่อยื่นพีอาร์แบบนอกประเทศและกลับมารอพีอาร์ในประเทศได้ในระหว่างที่รอผลอุทธรณ์ของ 457 .... ในกรณีที่วีซ่า 457 ไม่ผ่าน หรือวีซ่าพีอาร์ไม่ผ่าน .... ลูกความก็ยังมีสิทธิ์ยื่นขอวีซ่าชั่วคราวตัวอื่นเพื่อจะกลับเข้ามาในประเทศออสเตรเลียได้โดยไม่ติดบาร์ 3 ปี (เพราะไม่เคยมีประวัติเป็นผีมาก่อน) โพสนี้แอดวานซ์นิดนึง อ่านแล้วงงก็ไม่แปลก ...... ถ้าอ่านแล้วเข้าใจหมดเลย ก็เก่งมากค่ะ แสดงว่าเข้าใจกฏหมายอิมมิเกรชั่นได้ดีระดับนึงเลยทีเดียว สิ่งที่อยากจะบอกก็คือ การมีเอเจนต์หรือทนายความดูแลเคสให้เราเป็นเรื่องที่ดี แต่หัดตั้งคำถาม หัดวิเคราะห์เองด้วย ถ้าไม่แน่ใจในแนวทาง ก็หาความเห็นที่สองค่ะ ชีวิตเป็นของเรา เราต้องดูแลชีวิตและอนาคตของตัวเองด้วย เคสนี้ ลูกความโทรมาขอบคุณที่อธิบายจนเค้าเข้าใจเคสตัวเองและฮึดไปไฟท์กับเอเจนต์ จนเอเจนต์ต้องถอน BVE application และไฟท์กับอิมมิเกรชั่นจนได้ BVB คืนมาในที่สุด (ถือวีซ่าผิด ชีวิตเปลี่ยนนะคะ) ..... ส่วนวีซ่าพีอาร์ที่ลูกความต้องการยื่น เราก็หาทางจนได้ค่ะ (457 ต่อยอดไปพีอาร์ ...ไม่ใช่คำตอบสำหรับทุกคน ...ไม่ง้อก็ได้) .... รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม .... มีประโยชน์ โปรดแชร์ .... Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com UPDATE: 12 April 2019 ถึงแม้กฏหมายใหม่เกี่ยวกับ family sponsorship จะให้มีผลบังคับใช้วันที่ 17 April 2019 ทางอิมมิเกรชั่นได้ชี้แจ้งมาว่า ในวันที่ 17 April 2019 กฏหมายใหม่นี้จะนำมาปรับใช้กับวีซ่าใหม่ก่อน ซึ่งก็คือ วีซ่าผู้ปกครอง (วีซ่าพ่อแม่) แบบชั่วคราว Sponsored Parent (Temporary) visa ส่วนวีซ่าคู่ครอง Partner visa จะยังไม่เอากฏใหม่นี้มาปรับใช้ สรุปว่าเคสของน้องๆที่วีซ่าใกล้จะหมดและยังไม่ได้ยื่น Partner visa ก็ยังพอมีเวลาค่ะ ส่วนเคสที่ได้ยื่นไปแล้วก่อนหน้าที่จะมีประกาศนี้ ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีค่ะ เพราะอิมมิเกรชั่นก็ไม่ได้แจ้งมาว่าจะนำกฏหมายใหม่มาปรับใช้กับ Partner visa เมื่อไหร่ ซึ่งก็แปลว่าเมื่อไหร่ก็ได้นับแต่วันที่ 17 April 2019 เป็นต้นไป เพราะมีกฏหมายมารับรองแล้ว ค่ายื่นวีซ่าต่างๆ ก็จะมีการขึ้นราคาอีก 5.4% นับจากวันที่ 1 July 2019 UPDATE: 9 April 2019 กฏใหม่ จะเริ่มปรับใช้วันที่ 17 April 2019 นะคะ UPDATE: 23 January 2019 จากที่คนเขียนโพสไปเมื่อวันที่ 29 November 2018 ว่ามีร่างกฏหมายผ่านทั้งสภาล่างและสภาสูงเมื่อวันที่ 28 November 2018 (อ่านเนื้อหาเดิมได้ด้านล่าง) ร่างกฏหมายนี้ ออกมาเป็นกฏหมายเมื่อวันที่ 10 December 2018 นะคะ ที่คนเขียนไม่ได้อัพเดทให้ทราบก่อนหน้านี้ เพราะต้องการจะรอดูว่าจะให้มีผลบังคับใช้เมื่อไหร่ และในทางปฏิบัติอิมมิเกรชั่นจะปรับใช้ยังไง จะได้อัพเดทให้ทราบกันรอบเดียว .... แต่จนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีความคืบหน้า .... แปลว่า..จะปรับใช้เมื่อไหร่ก็ได้ในช่วง 6 เดือนนับจากวันที่ผ่านเป็นกฏหมาย ส่วนอิมมิเกรชั่นจะประกาศกฏเปลี่ยนให้ทราบล่วงหน้า หรือประกาศแล้วปรับใช้ทันทีเลย ก็ต้องรอดูกันต่อไปค่ะ Original post: 29 November 2018
โพสนี้มาแบบสั้นๆ แต่สำคัญอีกแล้วค่ะ มีร่างกฏหมายผ่านทั้งสภาล่างและสภาสูงเมื่อวานนี้นะคะ ยังไม่เป็นกฏหมาย แต่เนื่องจากผ่านทั้งสองสภามาแล้ว ก็คาดว่าจะเป็นกฏหมายเร็วๆนี้ ส่วนรายละเอียดลึกๆจะเป็นยังไง จะมีผลบังคับใช้เร็วหรือช้าแค่ไหน ต้องคอยดูกันต่อไป อาจจะประกาศออกมาก่อนและปรับใช้ใน 1-6 เดือน (แจ้งล่วงหน้า) หรืออาจจะเหมือนตอนกฏเปลี่ยนของ 457 ประกาศแล้วมีผลเลย ก็เซอร์ไพร์สและรับสภาพกันไป กฏปัจจุบัน - ใบสมัครวีซ่าคู่ครอง (Partner visa) และใบสมัครสปอนเซอร์จะยื่นไปพร้อมๆกัน หรือจะยื่นใบสมัครสปอนเซอร์ตามหลังก็ได้ กฏที่ "คาดว่า" จะนำมาปรับใช้ (จากจุดประสงค์ของร่างกฏหมายฉบับนี้ บวกกับข้อมูลที่อิมมิเกรชั่นได้ประกาศไว้นานแล้ว) คือต้องการให้สปอนเซอร์ยื่นใบสมัครของตัวเองตังหากก่อน และเมื่อใบสมัครของสปอนเซอร์ผ่านแล้ว ผู้สมัคร Partner visa ถึงจะสามารถยื่นใบสมัครวีซ่าได้ ปกติแล้วคนเขียนจะไม่โพสอะไรที่ยังไม่เป็นตัวบทกฏหมาย แต่ร่างกฏหมายฉบับนี้สำคัญสำหรับคนที่วีซ่ากำลังจะหมด ถ้ามาเจอกฏเปลี่ยนกระทันหัน ต้องรอให้สปอนเซอร์ยื่นใบสมัครและได้รับการ Approve ก่อน ก็อาจจะยื่น Partner visa ไม่ทันก่อนที่วีซ่าตัวปัจจุบันจะหมดอายุ เคสที่อยู่ระหว่างเตรียมเอกสารหรือเอกสารยังไม่แน่น ก็ต้องเลือกเอาระหว่างยื่นแบบหลวมๆ เสี่ยงถูกปฏิเสธวีซ่า หรือเสี่ยงเข้ากฏใหม่ ยื่นไม่ทันเพราะต้องรอสปอนเซอร์ Approval ก่อน และอาจจะต้องยื่นวีซ่าตัวอื่นเข้าไปแทน เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน จุดประสงค์ของโพสนี้ ไม่ได้เป็นการแนะนำว่าให้ทุกคนรีบยื่นก่อนกฏเปลี่ยน แค่ต้องการแจ้งข่าวให้ทราบ จะได้เอาไปประกอบการพิจารณา .... อย่าลืมว่าเคสแต่ละเคสมีที่มาที่ไปไม่เหมือนกัน วิธีการทำงานก็แตกต่างกันไปนะคะ.... There is no "one size fits all" scenario. มีความคืบหน้า ก็จะมาอัพเดทให้ทราบในโพสนี้นะคะ ที่มา: Migration Amendment (Family Violence and Other Measures) Bill 2016 Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com UPDATE: 14 December 2018 จากที่คนเขียนโพสไปเมื่อวันที่ 28 November ว่า "ยื่นอุทธรณ์ AAT ไม่ทันเวลา อาจจะยังมีหวัง" (อ่านเนื้อหาเดิมได้ด้านล่าง) .... ปรากฏว่าเป็นความหวังที่สั้นมากค่ะ .... เพราะ the Federal Court (Full Court) ได้มีคำตัดสินกลับไปเป็นแนวทางแบบเดิมๆที่เคยเป็นมา คือ.... ยื่นอุทธรณ์ไม่ทันเวลา = No jurisdiction = AAT ไม่สามารถพิจารณาเคสได้ เราคงต้องมาดูกันต่อว่าจะมีการยื่นอุทธรณ์ไปถึง the High Court หรือไม่ และผลจะเป็นยังไง ที่มา: Beni v Minister for Immigration and Border Protection [2018] FCAFC 228 (14 December 2018) Original post: 28 November 2018
โพสนี้มาแบบสั้นๆ แต่สำคัญมากสำหรับอนาคตของใครหลายๆคน ที่ผ่านๆมา หากมีการยื่นอุทธรณ์ที่ไป AAT เลยระยะเวลาที่กฏหมายกำหนดไว้ AAT จะถือว่าหน่วยงานไม่มีอำนาจในการพิจารณาเคส (No jurisdiction) เมื่อวันที่ 19 November 2018 the Federal Court (single judge) ได้มีคำตัดสินว่า AAT สามารถพิจารณาใบสมัครอุทธรณ์ที่ยื่นไม่ทันเวลา (Out of time) ได้ ซึ่งคาดว่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้ใครหลายๆคนที่ยื่นอุทธรณ์ไม่ทันเวลา ไม่ว่าจะสำหรับคนที่พลาดไปแล้ว (แต่เจ้าตัวยังอยู่ในประเทศออสเตรเลีย) หรือคนที่อาจจะพลาดยื่นไม่ทันเวลาในอนาคต แต่คำตัดสินนี้ ไม่ได้แปลว่าทุกคนเรื่อยๆเฉื่อยๆได้นะคะ ระยะเวลาการยื่นอุทธรณ์ก็เป็นอะไรที่เราต้องใส่ใจและพยายามยื่นให้ทันเวลา เพราะคำตัดสินนี้ ไม่ได้แปลว่า AAT จะต้องรับพิจารณาทุกเคสที่ยื่นไม่ทันเวลา (ไม่อย่างงั้นก็คงไม่ต้องมีระยะเวลาเลย) แต่แปลว่า AAT มีสิทธิ์พิจารณาเป็นเคสๆไปว่าเคสมีที่มาที่ไปยังไง มีเหตุผลน่าเห็นใจตรงไหน ถึงได้ยื่นไม่ทันเวลา และถ้าเห็นดีเห็นงาม ก็สามารถที่จะรับเรื่องไว้ได้ (ในอดีตคือไม่ต้องคิด ไม่ต้องพิจารณา เพราะถือว่า No jurisdiction ยังไงก็ไม่รับเรื่อง) สำหรับใครที่งงๆว่าคำตัดสินของเคสนึง มาเกี่ยวอะไรกับเคสอื่นๆด้วย .... กฏหมายของออสเตรเลีย นอกจากยึดถือตัวบทกฏหมายแล้ว ยังถือว่าคำตัดสินของศาลเป็นบรรทัดฐาน เป็นแนวทางเอามาปรับใช้กับเคสอื่นที่มีลักษณะคล้ายๆกันด้วยค่ะ ป.ล. ณ วันนี้ เคสนี้ถือเป็นบรรทัดฐาน แนวทางใหม่สำหรับ AAT .... แต่อนาคตไม่แน่นอนค่ะ ถ้าอิมมิเกรชั่นอุทธรณ์คำตัดสินนี้ และศาลที่สูงกว่าตัดสินเป็นอื่น บรรทัดฐาน แนวทางก็เปลี่ยนอีก หรืออิมมิเกรชั่นอาจจะมีการแก้กฏหมาย เพื่อให้ AAT ไม่สามารถพิจารณาเคสยื่นไม่ทันเวลาได้ (อะไรก็เกิดขึ้นได้) กฏหมายอิมมิเกรชั่นเปลี่ยนกันอยู่เรื่อยๆค่ะ ตราบใดที่ยังไม่ได้ PR หรือเป็น Australian citizen ก็คงต้องติดตามและอัพเดทกฏหมายกันนะคะ ที่มา: Brown v Minister for Home Affairs (No.2) [2018] FCA 1787 (19 November 2018) Blog writer: Kanokwan Subhodyana Immigration Lawyer www.immigrationsuccessaustralia.com |
Author
Archives
December 2023
Categories
All
|