A: มีค่ะ สำหรับอาชีพที่อยู่ใน Short term list (STSOL)
Q: เอิ่ม .... GTE คืออะไร ???
A: GTE หรือ Genuine Temporary Entrant คือประเด็นการพิจารณาของบางวีซ่า เช่นวีซ่านักเรียน วีซ่าทำงาน วีซ่าท่องเที่ยว ที่อิมมิเกรชั่นจะต้องเชื่อว่าน้องเข้ามาเรียน มาทำงาน มาท่องเที่ยว แล้วก็จะกลับประเทศของตัวเอง วีซ่านักเรียนและวีซ่าท่องเที่ยวถูกปฏิเสธด้วยประเด็นนี้เยอะมาก
ประเด็น GTE ปกติแล้วไม่ใช่ปัญหาใหญ่สำหรับการขอ 482 STSOL .... แต่ต้องระวัง ถ้า
* อยู่ออสเตรเลียมานานหลายปีแล้ว
* ถือ 457 หรือ 482 STSOL มาแล้ว และต้องการขอ 482 STSOL รอบที่ 2 หรือ 3 หรือ 4 ....
* มีประวัติเคยยื่นขอวีซ่าถาวร !!!
เคสที่คนเขียนจะแชร์วันนี้ เป็นเคสรวมมิตร รวมทั้ง 3 ประเด็นเลย
* น้องถือ 457 รุ่นเก่า ที่ทำงานกับนายจ้างครบ 2 ปี สามารถต่อยอดไปขอวีซ่าถาวร 186 ได้
* น้องไม่มีผลภาษาอังกฤษ ทนายของน้องแนะนำให้ยื่น 186 บอกว่าผ่านแน่นอนโดยใช้ผลการเรียนที่เป็นภาษาอังกฤษ 5 ปี
* ยื่นไปได้ 20 วัน น้องถูกปฏิเสธ ด้วยเหตุผลว่าไม่มีผลการเรียน 5 ปี
* ทนายของน้องแนะนำให้ยื่นอุทธรณ์ บอกว่าผ่านแน่นอนที่ชั้นอุทธรณ์
น้องมาปรึกษาคนเขียน ขอความเห็นที่สองเกี่ยวกับเคสอุทธรณ์ และแนวทางว่าจะอยู่ที่นี่ต่อยังไง เพราะวีซ่า 457 ที่ถืออยู่กำลังจะหมด
ความเห็นของคนเขียนคือ
* เคสอุทธรณ์ 186 ไม่น่าจะรอด เพราะน้องไม่มีผลการเรียนที่เป็นภาษาอังกฤษ 5 ปีจริงๆ (ถ้าจะรอด ก็คือฟลุ๊ก Tribunal member เห็นใจ แอบหลับตาข้างนึง)
* ยื่น 482 ได้ เสี่ยงถูกปฏิเสธ เพราะ
- น้องอยู่มา 13 ปีแล้ว
- ถือ 457 มาแล้ว 4 ปี และกำลังจะขอ 482 STSOL
- มีประวัติการยื่นขอวีซ่าถาวร 186 และตอนนี้เรื่องอยู่ที่ชั้นอุทธรณ์ ..... แต่น้องกำลังจะเชิญชวนให้อิมมิเกรชั่นเชื่อว่าน้องต้องการที่จะอยู่ที่ออสเตรเลียชั่วคราว เพื่อทำงาน และอนาคตก็จะกลับไปใช้ชีวิตที่ไทย
.... เคสนี้เราให้ข้อมูลประเด็นนี้ไปแล้วรอบนึงตอนยื่นใบสมัคร คาดไว้แล้วว่าเราอาจจะเจอรอบ 2 (แต่แอบหวังว่าจะไม่เจอ) พอเราได้จดหมายให้เวลา 28 วัน เพื่อตอบประเด็นนี้อีกรอบ คนเขียนเฉยๆ น้องก็ไม่ตกใจ เพราะเราเข้าใจตรงกันตั้งแต่ต้นแล้ว ... ให้ทำอะไร น้องทำ ... ขออะไร น้องหาให้
.... สุดท้ายน้องก็ได้ 482 ..... มีเวลาหายใจ มีเวลาปรับแผนชีวิต มีเวลาสอบภาษาอังกฤษ
ทั้งน้องและนายจ้าง อยากให้คนเขียนทำเคสอุทธรณ์ 186 ที่ทนายคนเดิมยื่นไว้ .... ปกติแล้วคนเขียนไม่ค่อยปฏิเสธลูกความที่คนเขียนเคยทำเคสให้ ... แต่คณิตคิดง่าย
.... ทนายคนเดิมของน้อง มีความเห็นว่าเคสอุทธรณ์ผ่านแน่ๆ และน้องก็เสียตังค์ค่าบริการไปแล้ว
.... ส่วนคนเขียนคิดว่าเคสไม่น่าจะไม่รอด แล้วจะรับทำเคส ให้น้องเสียตังค์เพิ่มโดยใช่เหตุไปเพื่ออะไร
.... ก็ให้น้องอยู่กับทนายเดิมไป ถ้าเคสผ่านคนเขียนก็ดีใจไปกับน้องด้วย .... ถ้าไม่ผ่าน ก็เป็นไปตามที่แจ้งไว้ และก็ได้ให้แนวทางไว้แล้วว่าระหว่างนี้ ควรทำอะไร และปรับแผนชีวิตยังไง ส่วนน้องจะทำ หรือจะแค่รอความหวังกับเคสอุทธรณ์ที่ทนาย 2 คนเห็นไม่เหมือนกัน ก็แล้วแต่น้อง
น้องบางคนอ่านโพสนี้อาจจะคิดว่า
Q: อ้าว ขนาดทนายด้วยกันยังเห็นไม่เหมือนกัน แล้วชีวิตชั้นจะรอดไหม ????
A: เป็นเรื่องปกติมากที่ทนายความหรือเอเจนต์จะมีความเห็นไม่ตรงกัน หรือมีสไตล์การทำงานที่ไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะด้วยประสบการณ์การทำงานที่ต่างกัน หรือตีความกฏหมายต่างกัน บางคนลืมเช็คข้อกฏหมายก่อนให้คำแนะนำลูกความ หรือลืมเช็คข้อกฏหมายก่อนยื่นใบสมัคร (อย่าลืมว่ากฏหมายคนเข้าเมือง เปลี่ยนบ่อยมาก)
Q: โอเค เข้าใจที่พูดมา แต่ในทางปฏิบัติ ชั้นทำอะไรได้บ้าง
A: หาความเห็นที่ 2 (หรือ 3 หรือ 4... ) หาคนที่ใช่ ที่น้องมั่นใจ คนที่คลิ๊กค์และคุยกันรู้เรื่อง .... การนัดปรึกษาเบื้องต้นเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เป็นโอกาสที่คุณจะได้คุยเบื้องต้น หาแนวทางสำหรับอนาคต หรือหาแนวทางสำหรับเคสที่กำลังเจอปัญหา เปรียบเทียบและพิจารณาว่าคำแนะนำไหน Make sense มากที่สุด (อย่าลืมทำการบ้านเองด้วย ก่อนคุยเคส น้องจะได้ประโยชน์มากกว่า) นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสที่น้องจะได้พิจารณาบุคลิก การพูดจา สไตล์การทำงาน ความน่าเชื่อถือ ของคนที่เราอาจจะใช้บริการด้วย
Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com