visa blog : สำหรับคนไทยค่ะ
  • Home
  • Blog

แชร์ประสบการณ์ Consultation & Bridging visa

15/7/2021

 
วันนี้คนเขียนมาแชร์ประสบการณ์ ทำเคสเอง ดีใจเอง เผลอๆดีใจมากกว่าลูกความซะอีก เพราะทราบว่าผล Bridging visa ตัวนี้ ให้ประโยชน์ลูกความมากมาย ..... ถ้าน้องจะใช้เวลาให้เป็นประโยชน์

น้องโทรมาถามว่า Bridging visa E (BVE) ใกล้จะหมด ทำยังไงได้บ้าง  คนเขียนถามคร่าวๆว่าไปทำอะไร ยังไง ก่อนจะถือ ฺBridging visa E  น้องก็ตอบมาแบบงงๆ  คนเขียนก็งงๆ ไปกับน้องด้วย  เคสน้องค่อนข้างยุ่งเหยิงค่ะ คนเขียนขอไม่ลงรายละเอียด  .... แต่ .... สรุปว่าต้องนัด Consultation ค่ะ   และก็เป็นไปตามคาด  น้องก็บอกตามความเข้าใจ  แต่เอกสารมาอีกเรื่องนึงเลย  และเอกสารก็มีไม่ครบเพราะทำเองบ้าง เพื่อนช่วยบ้าง เพื่อนของเพื่อนช่วยบ้าง .... สรุปว่า ข้อมูลบางอย่างคนเขียนต้องคาดเดาเอาเอง (จากประสบการณ์)

ลูกความ :      พี่ ... ทำยังไงได้บ้าง BVE ผมกำลังจะหมด และพาสปอร์ตผมก็หมดอายุไปแล้วด้วย
คนเขียน :     น้องต่อ BVE ใหม่ได้ค่ะ แต่คิดว่าไม่จำเป็น เพราะเท่าที่ดู เหมือนจะมีความผิดพลาดที่ระบบ คือ ฺBVE ของน้อง ยังไม่ควรจะมีวันหมดอายุ ควรจะโชว์ indefinite .... พาสปอร์ตไม่ใช่ปัญหา
ลูกความ :     อุ๊ย .... เหรอพี่ .... ผมต่อ BVE ได้อีกใช่ไหม ค่อยโล่งใจหน่อย
คนเขียน :     ใช่ค่ะ ต่อได้ (ก็เพิ่งบอกไป) .... แต่ไม่ควรต่อ .... ควรจะเถียงกับอิมมิเกรชั่น ให้ BVE ตัวเดิม ยืดอายุออกไปถึงจะถูก
คนเขียน :      ............ เงียบ ............ (เงียบไป แปลว่าอ่านหรือจด ---- เงียบนี้ คือกำลังอ่านข้อกฏหมายอยู่ และปรับเทียบกับประวัติของน้องลูกความ)
คนเขียน :     .... อืม .... ดูเอกสารน้องแล้ว เหมือนน้องน่าจะมีสิทธิ์ได้ Bridging visa A (BVA) นะคะ .... แต่เสี่ยงอยู่ เพราะเอกสารตัวที่อยากเห็น และจะใช้อ้างอิง น้องไม่มี แต่จากประสบการณ์ และการนับนิ้ว คิดว่าเคสนี้มีลุ้น

เคสนี้คนเขียนต้องนับวันค่ะ .... วันที่ เป็นอะไรที่สำคัญมาก .... จะรอดหรือไม่รอด ขึ้นอยู่วันที่ของ Bridging visa ตัวเดิมที่ลูกความเคยถือ ว่าหมดอายุเมื่อไหร่ (แต่ลูกความไม่มี !!!)
 
Big deal มากนะคะ !!!!!     BVA ดีกว่า BVE มากมาย .... ถือ BVA สามารถยื่นขอ BVB เพื่อออกนอกประเทศออสเตรเลียได้ เปิดโอกาสให้ลูกความยื่นวีซ่าตัวอื่นแบบนอกประเทศออสเตรเลียได้ และกลับมารอวีซ่าในประเทศได้ (สำหรับเคส section 48 bar)  ในขณะที่ BVE น้องออกไปไหนไม่ได้เลย (คือ ออกได้ แต่กลับเข้ามาไม่ได้)

อ่านโพสเกี่ยวกับ Bridging visa ได้ที่นี่ค่ะ

คนเขียนให้น้องเลือกเองระหว่าง 

1. BVA ค่าบริการสูงกว่า เพราะเคสยากกว่า จะได้รึเปล่าไม่รู้ แต่มีลุ้น กับ
2. BVE ค่าบริการถูกกว่า และได้แน่ๆ ไม่ว่าจะเป็น BVE ตัวเดิมแต่เปลี่ยนจากมีวันหมดอายุ เป็นไม่มีวันหยุดอายุ หรือ BVE ตัวใหม่


     ....... ติ๊กต๊อก .... ติ๊กต๊อก .......


น้องตัดสินใจให้คนเขียนลองยื่นขอ BVA ให้ ......  Good decision ค่ะ  (คนเขียนอยากลอง เพราะเชื่อว่ามีลุ้น แต่นี่ชีวิตของลูกความ ตังค์ของลูกความ ก็ต้องให้ลูกความตัดสินใจเอง)

........ ปรากฏว่า อิมมิเกรชั่นได้ใบสมัคร BVA วันที่ 13 .... ปฏิเสธ BVA วันนั้นเลย ! ..... แอบผิดหวังไป 10 วิ (ก่อนอ่านคำตัดสิน)

คนเขียนคิดว่าถ้าปฏิเสธเพราะเรื่องวันที่ (ที่เราไม่มีเอกสารอ้างอิง แต่อิมมิเกรชั่นมีในระบบ) เราก็ต้องยอมรับผลคำตัดสินนั้น ..... ปรากฏว่าไม่ใช่ค่ะ .... ถูกปฏิเสธเพราะเจ้าหน้าที่อ้างว่าน้องเคยถือ BVE มาแล้ว จะกลับมาถือ BVA ไม่ได้ !  

........ โดยส่วนใหญ่แล้ว .... ใช่ค่ะ .... ถือ ฺBVE แล้ว จะกลับมาถือ BVA ไม่ได้ ..... แต่ .... ไม่เสมอไป

เคสนี้คนเขียนไม่คิดตังค์ลูกความเพิ่มด้วย .... แต่ขอ fight หน่อย เคืองใจมาก .... เจ้าหน้าที่ตัดสินแบบไม่ดูข้อกฏหมายได้ยังไง ... คนเขียนส่งอีเมล์ ระบุข้อกฏหมายที่ถูกต้องไปให้อิมมิเกรชั่น และขอให้พิจารณาใหม่ (เราไม่ยื่นใบสมัครใหม่ และเราก็ไม่ยื่นอุทธรณ์ด้วย)

คนเขียนบอกน้องว่า BVA ถูกปฏิเสธนะ แต่รอก่อนกำลัง fight ให้อยู่ จะหมู่หรือจ่า เดี๋ยวอีกวันสองวันคงรู้เรื่อง

วันนี้ อิมมิเกรชั่นส่ง BVA grant letter มาค่ะ .... ไม่มี condition ใดๆ เรียนได้ ทำงานได้ (ออกนอกประเทศได้ด้วย BVB) .......  ถูกปฏิเสธวันที่ 13 เปลี่ยนเป็น Visa grant ให้วันที่ 15 ..... สรุปว่าอิมมิเกรชั่นยอมรับว่าตัดสินผิด และข้อมูลที่คนเขียนต้องเดาและนับนิ้วจากประสบการณ์ ก็ถูกต้อง และตรงกับข้อมูลในระบบของอิมมิเกรชั่นค่ะ ..... เคสจบไปได้ด้วยดี ..... เย้


........ ถือวีซ่าผิด ชีวิตเปลี่ยน  .....

........ ตัดสินใจผิด ชีวิตเปลี่ยน ....

ฝากไว้ให้คิด บางครั้งโอกาสก็มากับการใช้เวลาขุดคุ้ย และมองลึก อ่านแล้วอ่านอีก ...... VEVO หรือวีซ่าที่ออกให้ ไม่ได้ถูกต้องเสมอไป คำตัดสินของอิมมิเกรชั่นก็ไม่ได้ถูกต้องเสมอไป


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


Q & A : วีซ่า 186 TRT Restaurant Manager ทำไมรอนาน

14/7/2021

 
Q: มีเรื่องอยากปรึกษา เกี่ยวกับ 186ens

หนูเคยถือ 457 restaurant managerใช้ visa หมดแล้ว 4 ปีคะ ตอนนี้ยื่น 186 ens สถานะ bridging อยู่คะ รอ pr มาแล้ว 2 ปี ไม่มีความเคลื่อนไหวที่จะผ่าน state 1 เลยคะ ขอเอกสารไปเมื่อ ปี xxxx  แล้วก้อเงียบ ตรวจสุขภาพแล้ว มี ielts เรียบร้อย เรื่องเงียบไปนานมาก เพราะอาจติดในเรื่อง covid จน xxx ที่ผ่านมา ขอเอกสารอีกเยอะเลยคะ แล้วก้อมี จม.ยืนยันจากร้านแล้วว่า sponsor เราไหว ทั้งๆที่ผ่านวิกฤติที่ปิด dine in เปิดแค่ takeaway covid มาแล้ว (ตัวหนูสงสัยนิดนึงคะ ว่าทำไมเค้ากดดันเรา แทนที่เค้าจะเห็นใจร้านว่าผ่านอะไรมาบ้าง) ร้านฟื้นตัวได้ดีนะคะหลังจาก covid ก้อส่งเอกสารยืนยันไปทั้งหมดแล้วว่า เราขายได้แบบมีกำไรมาบ้างไม่น่าเกียจ แต่ก้อยังเงียบคะ

ช่วงหนึ่งก้อเข้าใจ  แบบที่บทความพี่บอกว่าเราไม่ใช่ first criteria แต่หลังจาก covid ซา เมื่อต้นปีเพื่อนที่ได้ ielts พอๆ กับเรา 2-3 คน (chef) pr ผ่านหมดเลย บางคนยอดขายร้าน drop ด้วย ยังผ่าน เลยกังวลมากๆเลยคะว่าเกิดอะไรขึ้นกับ case เรา ( .... รายละเอียดอื่นที่เกี่ยวกับเอเจนต์ของน้อง คนเขียนไม่ลงในนี้นะคะ...เผื่อเอเจนต์มาอ่าน อาจจะทราบว่าน้องคือใคร เดี๋ยวจะเคืองกันซะเปล่าๆ...) 

ที่อยากจะถามคือ

- 186 รอนานสุด กี่ปีคะ ? (รอจนท้อมากเลยคะตอนนี้)
- เรา chat ถาม immi ใน web เกี่ยวกับความคืบหน้า visa ของเราได้มั้ยคะ ? (กลัวถามแล้ว เดี๋ยว visa โดน reject)
- ถ้าโดนปฎิเสธในช่วงนี้ โดนแบบไหนกันบ้างคะ?  (เพราะรู้สึกว่าตัวร้าน และหนูเองก้อ ค่อนข้างครบ) แต่ก้อเกรงๆว่า จะโดนหาเรื่องปฏิเสธจนได้



A: สงสารคนรอนาน .... แต่น้องเอาเคส Restaurant Manager ไปเทียบกับ Chef ไม่ได้ค่ะ เพราะ
1. Restaurant Manager อยู่ใน STSOL
2. Chef อยู่ใน MLTSSL และตอนนี้อยู่ใน PMSOL (priority list)  - เคสไปเร็วกว่าแน่นอน

ทำไมอิมมิเกรชั่นถึงขอเอกสารเพิ่มมากมาย
1. เพราะคนออสซี่ตกงานกันเยอะ อิมมิเกรชั่นต้องการทราบว่ายังจำเป็นไหมที่จะต้องสปอนเซอร์พนักงาน
2. เพราะเศรษฐกิจแย่ ร้านอยู่ได้ไหม และจะมีเงินจ่ายพนักงานที่ถือ 186 (น้องนั่นเอง) ไปอีก 2 ปีไหม

- 186 รอนานสุด กี่ปี?  .... ตอบไม่ได้เพราะคนเขียนไม่มีข้อมูลภาพรวมจากอิมมิเกรชั่น (เคยได้ยินมาว่าบางเคสรอไป 3-4 ปี ก็ยังรออยู่ แต่คนเขียนไม่ทราบว่าปัญหาของเคสเค้าคืออะไร)

ที่ตอบได้คือเคสของคนขียนเอง เคส 186 TRT Restaurant Manager (อาชีพเดียวกันกับน้อง) ที่ยื่นช่วงโควิด
.... เรายื่น Nomination & visa applications September 2020 และ
.... Nomination approved and 186 visa granted June 2021 ..... สรุปว่า 9 เดือนค่ะ (เคสนี้เป็น Cafe ด้วย ความเสี่ยงสูงกว่า Restaurant แต่เราพยายามทำเคสให้แน่นที่สุด และ Hope for the best)


- เรา chat ถาม immi ใน web เกี่ยวกับความคืบหน้า visa ของเราได้มั้ยคะ .... คนเขียนไม่ทราบว่าน้องหมายถึงตรงไหนของ Web และไม่คิดว่าเป็นช่องทางที่ถูกต้อง ..... และถ้ามีเอเจนต์ดูแลอยู่ ไม่ควรติดต่ออิมมิเกรชั่นเองค่ะ ควรจะเช็คกับเอเจนต์ ถ้าเหมาะสม เค้าคงจะตามให้ หรือเค้าโอเคไหมถ้าน้องจะลองตามเคสเอง .... คนทำงานจะดูแลเคสลำบากถ้าลูกความติดต่ออิมมิเกรชั่นเอง โดยเฉพาะ complex case ที่ strategy การทำงานเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเราจะไม่ทราบเลยว่าลูกความให้ข้อมูลอะไรอิมมิเกรชั่นไปบ้างที่อาจจะสร้างปัญหาให้เคส  และถ้าคิดว่าเอเจนต์ไม่ดูแล ก็ถอนเคสไปใช้บริการคนที่น้องคิดว่าจะดูแลน้องได้ดีกว่า (ไม่ได้ประชดนะคะ หมายความตามนี้จริงๆ ถ้าไม่มั่นใจในตัวคนดูแล ต้องหาคนดูแลใหม่ค่ะ) แต่เท่าที่อ่าน คนเขียนว่าเอเจนต์ของน้องก็ใส่ใจนะคะ Proactive ด้วยซ้ำ เอกสารที่คนเขียนไม่ได้เอ่ยถึงในโพสนี้ แต่น้องเขียนมาในอีเมล์ คนเขียนคิดว่าควรรอจนอิมมิเกรชั่นขอค่ะ (ป.ล. เอเจนต์และทนายความแต่ละคน ก็มีสไตล์การทำงานต่างกันนะคะ)

- ถ้าโดนปฎิเสธในช่วงนี้ โดนแบบไหนกันบ้างคะ? .... การเงินของร้าน (มีสถานะทางการเงินดีพอที่จะสปอนเซอร์น้องต่อไปอีก 2 ปีหรือไม่) ประวัติการสปอนเซอร์โดยรวม เอกสารการทำงานของน้องกับร้าน ระยะเวลาการทำงานของน้องกับร้าน ผลภาษาอังกฤษของน้องมีก่อนยื่นไหม .... ยื่นเอกสารครบดีแล้วค่ะ แต่เอกสารต้องมีคุณภาพด้วยนะคะ   


เอาใจช่วยนะคะ ขอให้น้องได้รับข่าวดีเร็วๆนี้


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com



English for 186 visa - PR visa - Competent English

9/7/2021

 
คนเขียนเพิ่งวางสายจากน้องลูกความ เห็นว่ามีประโยชน์ เลยต้องเขียนโพสนี้อย่างเร็ว

ลูกความต้องต่อวีซ่า 482 เพราะยังไม่ได้ผลภาษาอังกฤษ Competent English สำหรับวีซ่า 186

คนเขียน:  สอบภาษาอังกฤษไปถึงไหนแล้วคะ
ลูกความ:  สอบหลายรอบมาก ไม่ผ่านซักที ลองทั้ง IELTS และ PTE
คนเขียน:  ลองสอบอย่างอื่นดูไหม TOEFL, Cambridge ???
ลูกความ:  พี่ .... ไม่ได้ค่ะ .... วีซ่าพีอาร์ ใช้ได้แค่ IELTS กับ PTE เท่านั้น ! 
คนเขียน:  ห่ะ .... เดี๋ยวนะ .... นี่เราพูดเรื่องเดียวกันอยู่รึเปล่าเนี่ย ... วีซ่า 186 นะ
ลูกความ:  ใช่ค่ะ .... วีซ่า 186 ใช้ได้แค่ IELTS กับ PTE เท่านั้น
คนเขียน:  ไม่จริงค่ะ ... TOEFL, Cambridge, OET ก็ใช้ได้
ลูกความ:  ไม่ได้ค่ะพี่ ... ได้แค่ IELTS กับ PTE เท่านั้น ! หนูอยู่ในวงการ !
คนเขียน:  ....... ???   

..... ขำตรง "หนูอยู่ในวงการ" นี่แหละ (ตอบแบบมั่นใจมาก)
..... เอิ่ม ......... คนเขียนก็ "อยู่ในวงการ"  (อยู่มานานกว่าน้องอีก)

คาดว่าต้องมีน้องหลายคนที่อาจจะเข้าใจผิดเหมือนน้องลูกความคนนี้ ชัดๆไปเลยนะคะ

1. จะยื่นวีซ่า 186 ต้องมีผล Competent English ก่อนยื่น

2. ผลภาษาอังกฤษที่ใช้ได้คือ

    * IELTS - At least 6 for each of the 4 components

    * TOEFL iBT - At least 12 for listening, 13 for reading, 21 for writing and 18 for speaking

    * PTE Academic - At least 50 for each of the 4 components

    * Occupational English Test (OET) - At least B for each of the 4 components

    * Cambridge C1 Advanced Test - At least 169 in each of the 4 components

3. ผลภาษาอังกฤษมีอายุ 3 ปี

4. ย้ำว่าใช้ได้ทุกผลสอบที่ลิสไว้ข้างบน ไม่ใช่แค่ IELTS & PTE เท่านั้น

5. โน๊ตว่า TOEFL iBT – Special Home Edition, OET@Home และ IELTS Indicator ใช้ไม่ได้นะคะ

6. OET น่าจะยากกว่าตัวอื่น ออกแบบมาสำหรับพวกหมอ พยาบาล Healthcare sector (แต่ถ้าน้องคนไหนเบื่อสอบแบบอื่นแล้ว อยากลอง ก็ได้นะคะ)

น้องคนไหนที่ทราบแล้ว แต่มั่นใจกับ IELTS และ/หรือ PTE เพราะติวมาแล้ว รู้แนวทางข้อสอบแล้ว และไม่อยากลองสอบแบบอื่น ก็โอเคค่ะ ..... คนเขียนแค่อยากแจ้งให้ทราบ สำหรับคนที่ไม่ทราบ หรือเข้าใจผิดแบบน้องลูกความ (จะได้ไม่พลาดโอกาส)

ลูกความ:  พี่ ... หนูขอบคุณมากๆค่ะ หนูไม่รู้เลย คิดว่าใช้ได้แค่ IELTS กับ PTE .... เดี๋ยวหนูจะลอง TOEFL และหนูว่าเพื่อนๆหนูที่ติวอยู่ด้วยกันก็ไม่รู้เหมือนกัน  (... เพื่อนในวงการของน้องนั่นเอง ...) 

คนเขียนมีน้องลูกความที่สอบไป 18 รอบแล้ว บางคนคิดเป็นตัวเงินมาเลยว่าหมดไป $6000 แล้ว ยังสอบไม่ผ่านเลย

เป็นกำลังใจให้น้องๆทุกคนนะคะ

ป.ล. ข้อมูลเกี่ยวกับ Competent English ในโพสนี้ ใช้ได้กับทุกวีซ่าที่ระบุว่าต้องมี Competent English ไม่ใช่เฉพาะวีซ่า 186



Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com

แชร์ประสบการณ์ เคสวีซ่าพ่อแม่ วีซ่าผู้ปกครอง Parent visa

3/7/2021

 
วันนี้คนเขียนมาแชร์ประสบการณ์เคสผู้ปกครอง 2 เคส (ทั้งสองเคส ไม่ใช่คนไทย)

เคสแรก

เคสนี้ เป็น Referral จากอดีตลูกความซึ่งเริ่มจากเป็นผี แต่ตอนนี้เป็นพลเมืองออสเตรเลียไปเรียบร้อยแล้ว ... ลูกความฟันธงมาเลยว่าต้องการให้ทำ Parent visa ให้กับคุณพ่อ ซึ่งมาด้วยวีซ่าท่องเที่ยวและวีซ่ากำลังจะหมด

หลังจากสัมภาษณ์กันอยู่พักใหญ่ คนเขียนคิดว่าคุณพ่อทำ Parent visa แบบในประเทศออสเตรเลียได้ และก็จะได้ Bridging visa เพื่ออยู่รอวีซ่าในประเทศออสเตรเลียด้วย .... แต่ด้วยลักษณะเฉพาะของเคส คนเขียนเสนอวีซ่าอีกตัวให้เป็นทางเลือกด้วย ซึ่งบอกลูกความไปตามตรงว่าวีซ่าตัวนี้คนเขียนยังไม่เคยทำ และวีซ่าตัวนี้มีเงื่อนไขการผ่านยากกว่า Parent visa คือเคสยากกว่านั่นแหละ แต่คนเขียนคิดว่าเหมาะสมและจะให้ประโยชน์กับลูกความมากกว่า ทั้งช่วงรอและหลังวีซ่าผ่าน (ถ้าวีซ่าผ่านนะ)

คนเขียนให้ลูกความเลือกเองระหว่าง Parent visa ที่ลูกความต้องการทำ (และคนเขียนก็ทำเป็นปกติ)

หรือจะทำวีซ่าอีกตัว ที่คนเขียนก็ไม่เคยทำ และเอกสารการพิสูจน์เงื่อนไขต่างๆก็ซับซ้อนกว่า ความเสี่ยงสูงกว่า แต่ให้ประโยชน์มากกว่า

เมื่อมีทางเลือก เราให้ทางเลือกค่ะ .... ส่วนการตัดสินใจเป็นของลูกความ 

                      .... ติ๊กต๊อก .... ติ๊กต๊อก ....

ลูกความเลือกวีซ่าตัวใหม่ ไอเดียบรรเจิดของคนเขียน ...... รอดไหม? .... รอดสิ

เคสที่ไม่เคยทำ ไม่ใช่แปลว่าทำไม่ได้ หรือจะทำได้ไม่ดี .... ไม่เสมอไปค่ะ ....

นักกฏหมาย เราไม่ท่องจำเป็นนกแก้วนกขุนทอง เรารู้ว่าเราควรจะหาข้อมูลจากตัวบทกฏหมายไหน เราเข้าใจวิธีตีความของกฏหมาย เราปรับบทกฏหมายให้เข้ากับข้อเท็จจริง (สถานการณ์ของลูกความ) 

สมัยคนเขียนเรียนกฏหมาย ไม่ว่าจะที่ไทยหรือที่นี่ ข้อสอบส่วนใหญ่เป็น Open-book exams (เปิดหนังสือตอบ) เพราะไม่มีโรงเรียนสอนกฏหมายที่ไหน คาดหวังว่านักกฏหมายจะต้องจำมาตรานั้นนี้ได้ .... จำได้ ... แต่ปรับใช้ไม่เป็น ... ก็จบ


เคสที่สอง

เคสนี้ เป็น Referral จากเพื่อนทนายความ ... คุณแม่มาด้วย Tourist visa (วีซ่าท่องเที่ยว) เหลือเวลาอีก 2 เดือนวีซ่าจะหมด ต้องการทำ Parent visa และต้องการให้คุณแม่อยู่ที่ออสเตรเลียตลอดระหว่างรอ เพราะคุณแม่ไม่มีที่จะไป ตัวคนเดียวและกลับไป ก็ไม่มีที่อยู่  ..... ใครที่เป็นลูกคนเดียวและเหลือผู้ปกครองอยู่คนเดียว คงเข้าใจความรู้สึกคุณลูก

ปัญหาคือ ..... คุณแม่อายุยังไม่มากพอที่จะยื่น Parent visa แบบในประเทศออสเตรเลียได้ .... ต้องยื่นแบบนอกประเทศออสเตรเลีย ซึ่งคุณแม่ก็จะไม่ได้ Bridging visa เพื่อรอผลวีซ่าในประเทศออสเตรเลีย  จะยื่น Tourist visa อีกรอบ ก็คาดว่าจะไม่ผ่าน

สรุปว่าโจทย์คือ .... เหลือวีซ่าอยู่ 2 เดือน ทำยังไงก็ได้ให้คุณแม่อยู่ในประเทศออสเตรเลียในระหว่างรอวีซ่าซึ่งใช้เวลารอ 3 - 4 ปี

โจทย์นี้ ไม่ยากสำหรับคนเขียน อยู่ที่ลูกความจะมั่นใจในคนเขียน และ Strategy ของคนเขียนไหม และจะรับแรงกดดันที่อาจจะมาจากอิมเกรชั่นได้หรือไม่ เพราะจากประสบการณ์ มีแน่ๆ ส่วนจะกดดันมากน้อยแค่ไหน อีกเรื่องนึง

ลูกความถามว่าแล้วยูจะคอยไกด์ชั้นไปตลอดใช่ไหม ... แน่นอนสิคะ แผนงานของเราใช้เวลา 3-4 ปี มี 4-5 สเต็ป ขึ้นอยู่กับว่าอะไรเกิดขึ้นบ้างระหว่างทาง ไม่ไกด์ลูกความ เคสก็ไปไม่รอดสิ

สรุปว่าเคสนี้ ลูกความแฮ๊ปปี้มากที่คุณแม่ได้อยู่ที่ออสเตรเลียตลอดระยะเวลารอวีซ่า ลูกความต้องพาคุณแม่ออกไปนอกประเทศรอบนึงค่ะ เพื่อที่อิมมิเกรชั่นจะได้ออก Parent visa ให้ได้ (ตอนทำเคสนี้ กฏหมายคือยื่นใบสมัครแบบนอกประเทศออสเตรเลีย ต้องอยู่นอกประเทศออสเตรเลียตอนวีซ่าออก)



Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


กฏเปลี่ยน 1 July 2021

2/7/2021

 
ไม่ทั้งหมด แต่สรุปมาให้เท่าที่สรุปได้นะคะ

  1. Partner visa ที่มีข่าวว่าสปอนเซอร์จะต้องยื่นใบสมัครและได้รับอนุมัติก่อน ผู้สมัครถึงจะยื่นใบสมัครวีซ่าได้ ณ ตอนนี้ (2 July 21 9pm) ยังไม่ปรับใช้นะคะ คาดว่าจะปรับใช้ในปีนี้แหละค่ะ (เมื่อไหร่ ยังไม่ได้ประกาศออกมา)
  2. ค่ายื่นวีซ่าหลายๆตัว (แต่ไม่ทุกตัว) ขึ้นราคา เช็คค่ายื่นกันที่นี่ค่ะ
  3. ค่ายื่น Citizenship application ก็ขึ้นราคา เช็คได้ที่นี่
  4. ค่ายื่นอุทธรณ์ Migration Review application ขึ้นราคา เป็น $3000
  5.  ค่าอุทธรณ์ Refugee Review application (Protection visa ด้วย) = $1846 (ชำระถ้าแพ้คดี)
  6. ค่าตรวจสุขภาพก็ขี้นราคาค่ะ เช็คได้ที่นี่
  7. ใบสมัคร Bridging visa E ยื่นผ่านอีเมล์ไม่ได้แล้วนะคะ เป็นทาง ImmiAccount หรือทางเมล์/courier เท่านั้น (คนเขียนเชื่อว่าประเด็นนี้ไม่กระทบน้องๆเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ก็ยื่นผ่าน ImmiAccount กัน จะมีก็ Professionals บางคน รวมถึงคนเขียนด้วย ที่บางทีก็ยื่นผ่านอีเมล์ด้วยเหตุผลทางเทคนิค)
  8. อาชีพยอดฮิต Chef ตอนนี้อยู่ใน Priority Migration Skilled Occupation List (PMSOL) ด้วย  อาชีพอยู่ใน PMSOL ดียังไง ดีเพราะ Nomination และวีซ่าแบบมีนายจ้างสปอนเซอร์จะได้รับการพิจารณาเร็ว (Priority Processing)

The Priority Migration Skilled Occupation List
ตอนนี้มี 41 อาชีพ (* คืออาชีพที่เพิ่มมาเมื่อ June 2021):


  • Chief Executive or Managing Director (111111)
  • Construction Project Manager (133111)
  • Accountant (General) (221111)*
  • Management Accountant (221112)*
  • Taxation Accountant (221113)*
  • External Auditor (221213)*
  • Internal Auditor (221214)*
  • Surveyor (232212)*
  • Cartographer (232213)*
  • Other Spatial Scientist (232214)*
  • Civil Engineer (233211)*
  • Geotechnical Engineer (233212)*
  • Structural Engineer (233214)*
  • Transport Engineer (233215)*
  • Electrical Engineer (233311)*
  • Mechanical Engineer (233512)
  • Mining Engineer (excluding Petroleum) (233611)*
  • Petroleum Engineer (233612)*
  • Medical Laboratory Scientist (234611)*
  • Veterinarian (234711)
  • Orthotist or Prosthetist (251912)*
  • General Practitioner (253111)
  • Resident Medical Officer (253112)
  • Psychiatrist (253411)
  • Medical Practitioners nec (253999)
  • Midwife (254111)
  • Registered Nurse (Aged Care) (254412)
  • Registered Nurse (Critical Care and Emergency) (254415)
  • Registered Nurse (Medical) (254418)
  • Registered Nurse (Mental Health) (254422)
  • Registered Nurse (Perioperative) (254423)
  • Registered Nurses nec (254499)
  • Multimedia Specialist (261211)*
  • Analyst Programmer (261311)*
  • Developer Programmer (261312)
  • Software Engineer (261313)
  • Software and Applications Programmers nec (261399)*
  • ICT Security Specialist (262112)*
  • Social Worker (272511)
  • Maintenance Planner (312911)
  • Chef (351311)*

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


อย่ารอจนวันที่วีซ่าหมดอายุ

2/7/2021

 
คนเขียนเคยโพสเรื่องนี้นานแล้ว (พร้อมตัวอย่าง) .... แต่ก็มีเหตุให้อยากเตือนกันอีกรอบ

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ที่ผ่านมา ระบบ ImmiAccount ปิดปรับปรุงช่วงค่ำๆ และใช้ได้อีกทีเช้าวันที่ 1 กรกฏาคม (ระบบปิดปรับปรุง 30 มิถุนายน เป็นเรื่องปกติของอิมมิเกรชั่นนะคะ ระวังล่วงหน้าไว้ได้เลย)

วันที่ 1 กรกฏาคม ImmiAccount ใช้ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง

วันนี้ 2 กรกฏาคม ตั้งแต่เช้า จนป่านนี้ (7pm++) ImmiAccount ใช้ไม่ได้เลย

คนเขียน ไม่เจอปัญหาใหญ่ เพราะไม่ยื่นใบสมัครวันสุดท้ายอยู่แล้ว (ถ้าไม่จำเป็น) จะมีก็แค่ปัญหากวนใจ อยากยื่นเอกสารเพิ่ม อยากอัพเดพข้อมูล อยากร่างใบสมัครให้ลูกความ แต่เข้าระบบไม่ได้

แต่คนเขียนอ่านโพสจากเอเจนต์หลายคน ที่ลูกความของเค้าเป็นผีไปเรียบร้อย (หรือกำลังจะเป็น) เพราะยื่นวีซ่าไม่ได้ (และเชื่อว่ามีน้องบางคน เจอปัญหาเดียวกัน) จากเคสสบายๆ กลายเป็นเคสน่าปวดหัวไปเลย

เพราะฉะนั้น สำคัญมากที่น้องๆจะเผื่อเวลา ให้เวลาตัวเอง ให้เวลาทนายหรือเอเจนต์ที่ดูแลเราด้วย


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com

Q & A : 482 Chef - skills Assessment

29/6/2021

 
Q: ผมมีเรื่องรบกวน อยากสอบถามว่า วีซ่า 482 Chef ต้องทำ skill assessment ไหมครับ ถ้าเรียนจบ Cookery + diploma hospitality ขอบคุณมากครับ

A: ถ้าเรียนจบที่ออสเตรเลีย ไม่ต้องค่ะ 

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


แชร์ประสบการณ์ Partner visa

27/6/2021

 
วันนี้คนเขียนมาแชร์เคสวีซ่าคู่ครองที่ค่อนข้างซับซ้อน 2 เคส

เคสแรก

ลูกความรักกัน แต่งงานกันที่ไทย คนนึงตัดสินใจมาเรียนที่นี่ อีกคนทำงานอยู่ที่ไทย ต้องห่างกันนานหลายปี ระยะทางและความห่างเป็นปัญหา ไม่มีอะไรจะคุยกัน สุดท้ายหาเรื่องทะเลาะกัน ลงเอยที่การหย่ากันตามกฏหมายออสเตรเลีย

กลับมาเจอกันไม่นานหลังจากหย่า สรุปว่ายังรักกัน เปลี่ยนใจจะไม่หย่าแล้ว (คือคิดว่าแต่งที่ไทย หย่าที่ออสเตรเลีย ระบบไม่ลิงค์กัน ไม่บอกก็ไม่มีใครรู้) .... ไม่ทันแล้วค่ะ หย่าก็คือหย่า แต่งที่ไทยและหย่าที่ออสเตรเลียก็คือหย่าอย่างถูกต้องตามกฏหมาย ไม่ต่างอะไรกับการหย่าที่ไทย (ใครมีปัญหาคล้ายๆกัน และคิดว่าไทยกับออสเตรเลีย ระบบไม่ลิงค์กัน ไม่บอกก็ไม่มีใครรู้ว่าใครแต่งใครหย่า ขอร้องว่าอย่า shortcut ถ้าไม่อยากมีปัญหาให้ปวดหัวที่หลัง ... ปวดหัวมากด้วย PIC4020 การให้ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง false or misleading information ถ้าถูกเช็คเจอ ใบสมัครอาจจะถูกปฏิเสธพร้อมติดบาร์อีก 3 ปี)

เคสนี้ Strategy ของเราหลายสเต็ป เข้าตามตรอกออกตามประตูแบบสุดๆ ปัญหาคืออิมมิเกรชั่นอาจจะคิดว่าการหย่าก็แสดงให้เห็นอยู่แล้วว่าหมดรักกัน ไม่มั่นคงต่อกันจริงๆ (not a genuine and committed relationship) ประกอบกับลูกความอยู่กันคนละประเทศมานาน ทะเลาะกัน ห่างกัน หย่ากัน เอกสารพิสูจน์ความสัมพันธ์ก็น้อยมาก คำอธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์จึงเป็นเรื่องสำคัญมากๆสำหรับเคสนี้

เคสนี้เราทำงานด้วยกัน 4 ปีกว่า ตั้งแต่ลูกความหย่ากันยันได้พีอาร์ (Strategy ได้ผล ไม่มีถูกปฏิเสธ ไม่ต้องไปอุทธรณ์ เย้) ลูกความก็อยู่ซิดนีย์เหมือนคนเขียน แต่เราก็ไม่เคยเจอกัน 

เพราะฉะนั้นน้องๆที่ถามว่าเราจะทำงานด้วยกันยังไงเพราะน้องอยู่ไทย/อยู่ต่างรัฐ  คนเขียนอยู่ซิดนีย์ .... ทำได้ค่ะ ผ่านอีเมล์ + โทรศัพท์ (+ apps ต่างๆที่เหมาะสม)


เคสที่สอง

ลูกความคู่นี้ (หรือสองคู่นี้) ไม่ใช่คนไทยค่ะ แต่เป็นลูกความคนเขียนมา 10 ปีได้    ... เดี๋ยวนะ ... อย่าเพิ่งคิดว่าทำเคสยังไงใช้เวลา 10 ปี !

ลูกความเดิมทีเป็นคู่เหมือนค่ะ อายุต่างกันหลายสิบปี ตอนทำเคสนี้คนเขียนก็ว่าเสี่ยงอยู่แล้วเพราะอายุห่างกันมาก แต่ความรักไม่มีขอบเขต ไม่จำกัดเพศ ไม่จำกัดอายุใช่ไหม สรุปว่าผ่านค่ะ ได้พีอาร์สมใจ

วันดีคืนดีลูกความติดต่อมา
ลูกความ:   ชั้นเลิกกับแฟนแล้วนะ
คนเขียน:   อ้าว... เสียใจด้วยนะ
ลูกความ:   ไม่เป็นไร ชั้นมีแฟนใหม่แล้วนะ
คนเขียน:   ว้าว... ดีใจด้วยนะ
ลูกความ:   เป็นคนละเพศแล้วนะ และอยากให้ทำเคสให้
คนเขียน:   ......

อึ้งไปนาน หลังจากหายอึ้งก็สัมภาษณ์แบบเจาะลึก คนเขียนไม่ได้สงสัยว่าความสัมพันธ์ไม่ใช่เรื่องจริง เพราะเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง เราอยู่ในยุคที่เปิดกว้างและยอมรับว่าอะไรๆก็เป็นไปได้ทั้งนั้น  แต่กังวลแทนลูกความว่าอิมมิเกรชั่นจะคิดยังไงกับประวัติแบบนี้ บอกเลยว่าเป็นเคสความเสี่ยงสูง เคสอาจจะถูกปฏิเสธ เราอาจจะต้องไปถึงชั้นอุทธรณ์ สรุปว่าลูกความยืนยันว่าจะให้คนเขียนทำเคสให้ ...... สรุปว่าทำก็ทำ ... การวางแผนงาน (Strategy) การอธิบายความสัมพันธ์เป็นจุดสำคัญของเคสอีกแล้ว

Stage 1 ผ่านฉลุยอย่างรวดเร็ว
Stage 2 ถูกดอง 2 ปีกว่า
(อย่าคิดว่า Stage 2 เป็นอะไรที่ง่ายๆ แค่ยื่นเอกสารประมาณเดิมก็พอนะคะ ไม่เสมอไปค่ะ ลูกความที่ติดต่อมาหาคนเขียนหลังจากที่ถูกปฏิเสธ Stage 2 ก็เยอะ)

หลายครั้งที่ลูกความโทรมาถามว่าทำไมนานจังเลย เพื่อนยื่นทีหลังได้พีอาร์แล้ว โทรตามไหม อยากได้พีอาร์เร็วๆ  

คำอธิบายของคนเขียนคือ อย่าเอาเคสของตัวเองไปเทียบกับเคสเพื่อน เคสเพื่อนมีประเด็นแบบนี้ไหม (ไม่มี) Processing Centre หรือเจ้าหน้าที่คนเดียวกันไหม (ไม่ทราบ) 

สำหรับบางเคส (รวมถึงเคสนี้ด้วย) คนเขียนไม่ตามค่ะ อยากดองๆไป ในระหว่างถูกดองก็พัฒนาความสัมพันธ์ไป ถามว่าถ้าเคสแน่น อิมมิเกรชั่นจะเอาจุดไหนมาปฏิเสธ

ตามเร็วแล้วอาจจะถูกปฏิเสธ กับถูกดองแล้วอาจจะผ่าน เลือกเอา

ไม่มีใครอยากรอ อยากได้วีซ่าเร็วๆกันทั้งนั้น การที่ทนายความหรือเอเจนต์ตามเคสให้ ลูกความก็แฮ๊ปปี้เพราะดูเหมือนได้รับความเอาใจใส่ แต่บางเคสที่ไม่ได้ตาม ไม่ได้แปลว่าลืมหรือไม่ใส่ใจ .... ไม่มีใครต้องการให้ลูกความไม่แฮ๊ปปี้หรอกค่ะ 

การอีเมล์ตามเคสกับอิมมิเกรชั่น คนเขียนใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที + ลูกความแฮ๊ปปี้
คนเขียนใช้เวลา 15-30 นาที ในการอธิบายเหตุผลว่าทำไมถึงไม่ตามเคสให้ + ความเสี่ยงที่ลูกความก็จะยังไม่แฮ๊ปปี้ต่อไป
เพราะฉะนั้น ....... ถ้าตามเคสแล้ว มีผลดีกับเคส คนเขียนก็ทำไปแล้ว (make sense ไหมคะ)

บางเคสไม่มีใครตอบได้ว่าจะออกหัวหรือก้อย ทำได้แค่ดีที่สุด ถ้ารักกันจริงและไม่มีทางเลือกอื่น ก็ต้องลุยไปข้างหน้า ไม่ลองไม่รู้ (ใช่ไหม) ทั้ง 2 เคส คนเขียนวาง Strategy ให้ลูกความแบบคร่าวๆ ทราบอยู่แล้วว่าเคสแบบนี้เราคาดเดาไม่ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นระหว่างทาง แผนก็ต้องปรับเปลี่ยนกันไปตามหน้างาน คนเขียนไม่ชอบให้ความหวังลูกความ รับได้กับความเสี่ยงเราก็ทำงานด้วยกันได้ 

ทั้งสองเคสลูกความรู้ตั้งแต่ต้นว่าโอกาสที่เคสจะถูกปฏิเสธที่สเต็ปใดสเต็ปหนึ่งมีสูง คนเขียนไม่เคยรับประกันความสำเร็จของงาน ทำได้แค่ดีที่สุด ทั้งสองเคสเราผ่านในทุกสเต็ปค่ะ

ป.ล. นานๆทีก็จะมีน้องโยนหินถามทางมาว่าคนเขียนรับทำเคสจ้างแต่ง เพื่อนช่วยเพื่อน ญาติช่วยญาติไหม
ตอบกันชัดๆไปเลยนะคะ
  - ถ้าความสัมพันธ์ไม่ใช่เรื่องจริง ไม่รับทำเคส
  - ถ้ารับเคสมาแล้ว มาทราบระหว่างทาง ก็เลิกทำเคสระหว่างทาง
  - ถ้าความสัมพันธ์เป็นเรื่องจริง ต่อให้คบกันมาไม่นาน ต่อให้มีความยุ่งยากซับซ้อนแค่ไหน ถ้าคุณยอมรับความเสี่ยงได้ คนเขียนไม่มีปัญหาในการทำเคสให้ (คนเขียนไม่แคร์เรื่อง 100% success rate ถ้า play safe ตลอด ลูกความที่เคสยากแต่อยากลอง ก็พลาดโอกาส และคนเขียนก็พลาดโอกาสที่จะได้พัฒนาตัวเองด้วย)



Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


แชร์ประสบการณ์ อดีตลูกความที่ต้องปล่อย 1

26/6/2021

 
อดีตลูกความคนนี้ไม่ใช่คนไทย คนเขียนเริ่มทำเคสให้เมื่อ 10 กว่าปีก่อน

ลูกความจำวันหมดอายุของวีซ่านักเรียนผิดวัน .... รู้ตัวอีกที เป็นผีไป 6 เดือนแล้ว

คนเขียนใช้เวลาทำ Research หาข้อมูลไปหลายวัน ก่อนจะนัดลูกความคุย Strategy (แผน) การทำงานกัน 

คนเขียนบอกลูกความว่า Test case นะ ไปเจอช่องโหว่ ... ไม่มีกฏหมายบอกว่าห้ามทำ แปลว่าทำได้ ... ใช่ไหม?? ... ส่วนจะได้วีซ่ากลับมารึเปล่า ไม่ลองไม่รู้ แต่คิดว่าน่าจะรอด ..... ณ จุดนั้น ลูกความไม่มีอะไรจะเสียแล้ว นอกจากเงินและเวลา และยืนยันหนักแน่นว่ายังไงก็ไม่อยากกลับประเทศตัวเอง พ่อแม่ต้องโกรธมากถ้ารู้ว่าอยู่ๆกลายเป็นผี และเรียนไม่จบเพราะจำวันหมดอายุวีซ่าผิด  

Strategy แรก (แผน 1) ของเรา มี 3 สเต็ป ในระหว่างที่เราเริ่มสเต็ปแรก คนเขียนก็ทำ Research ต่อไปด้วย เผื่อเจอทางที่ดีกว่า และก็เจอทางที่ดีกว่าจริงๆ สเต็ปเดียวจบ (เหมือนเดิม บางทีกฏหมายก็ไม่ได้เขียนไว้ชัดเจนว่าทำได้ แต่ในเมื่อไม่มีตรงไหนบอกว่าห้ามทำ สำหรับคนเขียนแปลว่าทำได้)  ...... ถามว่าลูกความโกรธไหม ที่คนเขียนต้องการเปลี่ยนแผนหลังจากเริ่มงานแผนแรกไปแล้ว .... ไม่โกรธค่ะ ดีใจด้วยซ้ำที่คนเขียนหาทางที่ดูมีเปอร์เซ็นมากกว่า ง่ายกว่าและถูกกว่าให้ได้ ...... จริงๆก็ไม่ควรจะโกรธนะ เคสจะทำผีให้เป็นคน (จากคนไม่มีวีซ่าให้มีวีซ่าตัวที่เหมาะสม) ไม่ง่าย ถ้าไม่แคร์ไม่ใส่ใจ ก็คงไม่มานั่งทำ Research ต่อ ทั้งๆที่แผนแรกก็น่าจะเวิร์ค และลูกความก็ตัดสินใจทำแล้ว

สรุปว่าเราเปลี่ยนแผนระหว่างทางไปแผน 2 แทน .... คนเขียนต้องทำ Submissions เขียนเอกสารอธิบายข้อกฏหมายให้อิมมิเกรชั่นเข้าใจ ยาว 3 หน้ากระดาษ  อิมมิเกรชั่นก็ไม่เข้าใจอยู่ดี ยกหูหาคนเขียนเลย ร่ำๆจะปฏิเสธวีซ่า บอกว่ากฏหมายไม่ได้บอกว่าทำได้นะ ....  คนเขียนก็อธิบายไปสิ ทีละสเต็ป อย่างช้าๆ ถามอิมมิเกรชั่นเป็นระยะๆว่าที่อธิบายไปนี้เค้าเห็นด้วยกับคนเขียนไหม สรุปว่าเห็นด้วย ..... อ้าว ถ้าเห็นด้วย ก็ต้องออกวีซ่าให้สิ .... สรุปว่าขอ 10 นาทีเพื่อเช็คกับหัวหน้าอีกรอบก่อน แล้วจะโทรหาคนเขียนใหม่ ..... ครึ่งชั่วโมงผ่านไป .....  ไม่มีโทรศัพท์จากอิมมิเกรชั่น แต่มีอีเมล์แจ้ง Student visa grant letter ..... เย้

2 ปี ผ่านไป ... ลูกความติดต่อมาต้องการวางแผนทำพีอาร์ .... คนเขียนแนะนำวีซ่าที่เหมาะสม

1 ปี ผ่านไป ... ลูกความติดต่อมา พ่อแม่ให้ใช้เอเจนต์ชาติเดียวกัน และเอเจนต์แนะนำให้ยื่นวีซ่าอีกตัวนึงและตอนนี้ถูกปฏิเสธ เคสอยู่ชั้นอุทธรณ์ AAT .... ขอคำแนะนำต่อว่าควรจะเดินเคสยังไง คนเขียนก็แนะนำค่ะ แต่แอบกังวลว่าเคสจะไปรอดไหม คำแนะนำเป็น Technical: ข้อกฏหมาย และเทคนิคการทำเคสทั้งนั้น คนที่จะเอามาปรับใช้ก็ไม่ใช่คนเขียน แต่เป็นเอเจนต์ที่ลูกความใช้บริการอยู่ (เคสหลายๆเคส เราต้องตัดสินใจกันหน้างาน ตอนปัญหาเกิด ว่าจะยื่นอะไร ยื่นยังไง นำเสนอแบบไหน)

1 ปี ผ่านไป ... ลูกความติดต่อมา เคสยังอยู่ที่ชั้น AAT .... ที่แนะนำไปคราวที่แล้ว ไม่ได้ทำอะไรซักอย่าง [เสียเวลาไป 1 ปี โดยไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย] ... ขอคำแนะนำอีกแล้วว่าควรจะทำยังไงต่อ ... คนเขียนก็แนะนำอีกแล้วค่ะ แต่ในใจเริ่มคิดว่าแล้วว่าที่แนะนำไปนี่จะเวิร์คไหม เพราะเคสยากขึ้นเรื่อยๆ 

อีก 1 ปีครึ่ง ผ่านไป ... ลูกความแพ้ที่ชั้น AAT .... คนเขียนถามว่าที่แนะนำไป ไม่ได้เอาไปปรับใช้เลยสิ .... ลูกความบอกว่า ... ก็บอกเอเจนต์แล้ว แต่เค้าไม่ทำ .... ขอคำแนะนำอีกแล้ว

... คนเขียนทราบดีว่าลูกความไว้ใจคนเขียน ติดที่พ่อแม่ต้องการให้ใช้เอเจนต์ชาติเดียวกัน แต่ถามว่าลูกความได้อะไรจากการขอคำแนะนำ แนะนำอะไรไป ก็ไม่ได้เอาไปปรับใช้ หรือต่อให้ปรับใช้ก็ไม่ได้เต็มร้อย เพราะคนทำเคสไม่ใช่คนวางแผนงาน  ... สรุปว่าได้เวลาต้องปล่อยลูกความไปตามทางแล้วค่ะ



Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


Q & A : วีซ่า 187 กับการเรียน 5 ปี เพื่อยกเว้นผลภาษาอังกฤษ

25/6/2021

 
Q: พยายามสอบภาษาอังกฤษมาหลายรอบแล้ว แต่ไม่ผ่านซักที ได้ยินมาว่าวีซ่า 187 ยังใช้ผลการเรียน 5 ปี แทนผลภาษาอังกฤษได้อยู่ จริงไหมคะ

A: จริงค่ะ  สำหรับ 187 Temporary Residence Transition Stream (187TRT) เท่านั้น

แต่นโยบายการพิจารณาผลการเรียน 5 ปี ไม่นิ่ง ขึ้นอยู่กับการตีความของอิมมิเกรชั่นในแต่ละช่วงเวลา บางช่วงเวลาก็นับได้หมด ยกเว้น General English บางช่วงก็นับได้เฉพาะการเรียนระดับมัธยมและปริญญา .... จริงอยู่ นโยบายไม่ใช่ข้อกฏหมาย เราโต้เถียงได้ แต่ใครจะอยากเสี่ยงถูกปฏิเสธวีซ่า ถ้าไม่จำเป็น

เพราะฉะนั้น แนะนำว่าพยายามสอบภาษาอังกฤษ (เช่น IELTS, PTE) ให้ผ่านดีกว่าค่ะ ถ้าสอบไม่ผ่านจริงๆ ค่อยมาเสี่ยงใช้ผลการเรียน 5 ปี

 

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


Q & A : เงื่อนไขการเรียนของวีซ่า 485

6/3/2021

 
Q: รบกวนสอบถามค่ะ กำลังจะเรียนจบ Certificate III in Cookery เรียนหลักสูตรนี้มาได้ 15 เดือนค่ะ กำลังจะต่อ Certificate IV in Cookery 6 เดือน กับ Advanced diploma of Hospitality 6 เดือน ที่สถาบันเดิม และเรียนต่อเนื่องเลยค่ะ
 
ในกรณีนี้สามารถขอวีซ่า 485 หลังเรียนจบได้หรือไม่คะ เห็นมีคนบอกว่าต้องเป็นหลักสูตร 2 ปี ตั้งแต่ขอวีซ่าครั้งแรกเลย มาต่อคอร์สทีหลังให้ครบ 2 ปีไม่ได้ รบกวนช่วยแนะนำด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ


A: รวมคอร์สได้ค่ะ ไม่จำเป็นต้องเป็นหลักสูตร 2 ปี


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


NEWS อิมมิเกรชั่นเตรียมออกวีซ่าให้โดยไม่ต้องเดินทางออกนอกประเทศ

12/2/2021

 
ข่าวดีสำหรับหลายๆคน ....... อิมมิเกรชั่นประกาศมาแล้วนะคะว่า

ตั้งแต่วันที่ 27 February 2021 --- อิมมิเกรชั่นคาดว่าจะออกวีซ่าต่อไปนี้ให้ได้ในประเทศออสเตรเลีย (ผู้สมัครไม่ต้องออกไปรอนอกประเทศ)


  • Partner (subclass 309) visa
  • Prospective Marriage (subclass 300) visa
  • Dependent Child (subclass 445) visa
  • Child (subclass 101) visa
  • Adoption (subclass 102) visa

และตั้งแต่วันที่ 24 March 2021 --- ก็คาดว่าจะออกวีซ่าต่อไปนี้ให้ได้ในประเทศออสเตรเลีย

  • Contributory Parent (subclass 143) visa
  • Contributory Parent (subclass 173) visa
  • Parent (subclass 103) visa

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


Q & A : สปอนเซอร์ / Sponsor สำหรับ Partner visa

24/1/2021

 
Q: สอบถามเรื่อง partner visaค่ะ

แฟนเป็น citizen ค่ะ เคยประสบอุบัติเหตุ รัฐบาลว่าเป็น disability ตอนนี้กลับไปทำงานปกติ และลาออกจากงานแล้วเพราะกำลังจะมี business ร่วมกัน  จากข้อมูลเบื้องต้น แฟนสามารถเป็น sponsor ให้ได้ไหมคะ


A: มีคำถามประมาณนี้มาให้ตอบอยู่เรื่อยๆนะคะ ขอตอบในนี้แล้วกันจะได้เป็นประโยชน์กับคนอื่นด้วย

สำหรับกฏหมาย ณ ปัจจุบัน สปอนเซอร์จะตกงาน จะ disable หรือจะทำธุรกิจส่วนตัว ไม่ใช่ประเด็นที่อิมมิเกรชั่นจะดูในส่วนของสปอนเซอร์ค่ะ



Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


Q & A : IELTS สำหรับวีซ่า 485

21/1/2021

 
Q: ต้องการสอบถามว่า วีซ่าหลังเรียนจบที่ขอได้ ใช้ IELTS Academic หรือ General คะ 

A: คาดว่าน้องหมายถึงวีซ่า 485 -- สำหรับการยื่นขอวีซ่าใช้ IELTS General ค่ะ

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


Q & A : ยื่น 186 หรือ 482 แต่ไม่มีผลภาษาอังกฤษ

13/1/2021

 
Q: ผมเคยถือวีซ่า 457 มาตอนนี้ก็ครบ 4 ปี หมดอายุไปแล้ว ตอนขอ 457 ผมใช้ 5 ปี full-time student แต่มารู้ที่หลังว่าเขาไม่ใช้แล้ว แล้วด้วยสถานะการณ์โรคระบาดเลยจำเป็นต้องเปลี่ยนวีซ่าตัวเองเป็น 482 ก่อนเพราะ agent บอกว่ายื่น 186 ไม่ได้ แต่ปัญหาของผมคือไม่ว่ายังไงก็สอบภาษาไม่ผ่านสักที และตอนนี้ก็ on visa Bridging อยู่ กลัวว่าถ้าถึงวันที่ immigration รอคะแนนภาษาผมไม่ได้แล้วผมจะโดนส่งกลับ หรือยื่นอุทธรณ์ได้ไหมเพราะถ้าเอาจริงๆ ผมพร้อมหมดแล้ว ขาดแต่ภาษาเรื่องเดียวในการขอ pr แล้วผมก็ทำงานจ่าย tax ที่เดิมซื่งเป็นบริษัทแฟนไซน์มา 9 ปีในการทำงานภาษาอังกฤษไม่ใช้ปัญหาเลยแค่ด้วยตัวผมเองไม่ว่ายังไงก็สอบไม่ผ่านสักที คือจริงๆแล้วผมก็แค่อยากระบายเพราะตอนนี้ผมมีความรู้สึกว่าตัวคนเดียวเฉยๆ ครับ
 
ขอบคุณครับที่รับฟัง


A: อ่านแล้วรู้สึกว่าต้องรีบตอบ สงสารคนตัวคนเดียว (เรื่องจริง ไม่ล้อเล่น)

186 ตอนนี้ใช้ผลการเรียน 5 ปีไม่ได้แล้ว และผลภาษาอังกฤษต้องมีก่อนยื่น
482 ภาษาอังกฤษไม่จำเป็นต้องมีก่อนยื่น (แต่มีก่อนยื่นดีที่สุด) ถ้าถึงเวลาจะตัดสินแล้วยังไม่มีผลภาษาอังกฤษ
       เคสจะถูกปฏิเสธ ยื่นอุทธรณ์ได้ค่ะ
482 ยังใช้ five years of full-time study in a secondary and/or higher education institution where the
       instruction was delivered in English แทนผลภาษาอังกฤษได้ค่ะ

คนเขียนก็มีลูกความหลายคนที่สอบภาษาไม่ผ่านซักที สู้ๆค่ะ เอาใจช่วยนะคะ


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


Q & A : Partner visa & สถานะการทำงานและการเงินของสปอนเซอร์

4/1/2021

 
Q: ระหว่างหาข้อมูลเรื่อง partner visa บังเอิญเจอ blog นี้ขึ้นมา มีคำถามที่สงสัยว่าถ้าจะทำ partner visa de facto กับแฟน ซึ่งเราสองคนอยู่ในประเทศออสเตรเลียทั้งคู่ แฟนเป็น citizen ที่นี่ ตัวเราถือวีซ่า 485 แต่ตอนนี้เค้า unemployed ไม่ทราบว่าอิมมิเกรชั่นเค้าจะดูตัวคนสปอนเซอร์รึเปล่าคะว่าหน้าที่การงานเป็นยังไง financial situation เป็นยังไงบ้าง

A: กฏหมาย ณ ปัจจุบัน ไม่ดูค่ะ (อนาคตอาจจะเปลี่ยนได้)


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


Q & A : ป่วยระหว่างรอผลวีซ่า 186

28/12/2020

 
Q: ผมยื่นวีซ่า 186 แต่ตอนนี้วีซ่ายังไม่ออกครับ ระหว่างรอผมมีปัญหาสุขภาพและไม่ได้ไปทำงาน ตอนนี้ถือบริดจิ้ง 186 ถ้าผมรอที่นี่ไปเรื่อยๆ วีซ่าจะโดนแคลเซิลไหมครับ หรือ มีสิทธิ์ที่วีซ่าจะออกไหมครับ แล้ว ถ้ากรณีโดนยกเลิกวีซ่า ขออุทธรณ์ได้ไหมครับ

ปล. ทางร้านไม่แจ้งอิมและยังจ่ายเงินเดือนมาให้เรื่อยๆต่ออีกหลายเดือนครับ


A: เป็นอะไรที่ตอบยากนะคะ เพราะข้อมูลไม่ละเอียดพอ  ขอตอบให้คร่าวๆละกันค่ะ

ถ้าไม่ได้ไปทำงานเพราะป่วย คือลาป่วย และนายจ้างยังจ่ายค่าจ้างระหว่างรอให้น้องสุขภาพดีขึ้นและกลับมาทำงานได้ตามปกติ ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรนะคะ โอกาสที่จะได้วีซ่าก็ยังมีค่ะ เก็บเอกสารทุกอย่างไว้ เผื่อจำเป็นต้องใช้ ถ้าถูกปฏิเสธก็ยื่นอุทธรณ์ได้ค่ะ

ถ้าไม่ได้ไปทำงานเพราะป่วยจนไม่สามารถทำงานในตำแหน่งที่ได้รับการสปอนเซอร์ได้อีกต่อไปแบบถาวร โอกาสที่ Nomination application และ/หรือ 186 visa application จะถูกปฏิเสธก็มีค่ะ และถ้าได้วีซ่ามา โอกาสที่จะถูกยกเลิกวีซ่าก็มีเช่นกัน อุทธรณ์ได้ค่ะ ส่วนจะชนะหรือไม่อีกเรื่องนึง ต้องทราบรายละเอียดมากกว่านี้ โอกาสที่จะไปต่อในชั้นการพิจารณาอื่นอาจจะมี ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่แท้จริงของเคสและเอกสารประกอบการพิจารณา 



Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com



Q & A : 462 Working and holiday visa & เงื่อนไขการทำงาน 8547

28/12/2020

 
Q: ตอนนี้ กำลังจะเปลี่ยนวีซ่าจากวีซ่า working and holiday เป็นวีซ่า student แต่ยังไม่ได้ยื่น อยากทราบว่า กรณีเราเปลี่ยนวีซ่า ระหว่างรอวีซ่า student เราสามารถทำงานกับนายจ้างคนเดิมได้ไหมคะ ตามเงื่อนเดิม เข้าใจว่าที่จะได้ระหว่างรอ จะเป็นเงื่อนไขเดียวกับ วีซ่า working and Holiday ที่ถืออยู่ ณ ปัจจุบัน หรือสามารถทำกับนายจ้างคนเดิมได้คะ ขอบคุณค่ะ

A: เมื่อยื่น Student visa application น้องจะได้ Bridging visa มาถือระหว่างรอผลวีซ่านักเรียน เงื่อนไขการทำงานกับนายจ้าง 6 เดือน (8547) ก็จะติดมากับ Bridging visa ด้วยค่ะ แต่เงื่อนไข 6 เดือนกับนายจ้างจะเริ่มนับใหม่ ถ้าเคยทำงานกับนายจ้างมาแล้ว 6 เดือน เมื่อ Bridging visa มีผลบังคับใช้ (คือหลังวีซ่า 462 หมดอายุ) น้องสามารถทำงานกับนายจ้างเดิมได้อีก 6 เดือน  และเมื่อวีซ่านักเรียนออก น้องก็ทำตามเงื่อนไขวีซ่านักเรียนค่ะ


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


Federal Circuit Court - Application Filing fee

13/11/2020

 
สำหรับคนที่แพ้อุทธรณ์ที่ชั้น Administrative Appeals Tribunal (AAT) และคิดว่า AAT ตัดสินเคสโดยไม่ถูกต้องตามข้อกฏหมาย (คือมี Error of law / Jurisdictional error) เกิดขึ้น อาจจะพิจารณายื่นอุทธรณ์ไปที่ Federal Circuit Court (Judicial review)

ยกตัวอย่าง Error of law / Jurisdictional error ก็เช่น

 - AAT ไม่เอาข้อมูลที่มีทั้งหมดมาประกอบการพิจารณา
 - AAT ไม่ให้ความเป็นธรรมในวัน Hearing
 - AAT สรุปข้อมูลบางอย่าง ทั้งๆที่ไม่มีหลักฐานประกอบ
 - บลา บลา (และเหตุผลอื่นๆ แล้วแต่เคสค่ะ)

วันนี้คนเขียนไม่ได้ตั้งใจจะมาให้ข้อมูลเรื่องการยื่นอุทธรณ์ไปที่ Federal Circuit Court นะคะ เพราะเป็นอะไรที่ค่อนข้างซับซ้อน และเป็นเคสที่ต้องอ่านเอกสารอย่างละเอียด อ่านหลายรอบ ทำ Research และคิดเยอะมากๆ

วันนี้แค่ต้องการจะแจ้งให้ทราบว่า ค่า Application Filing fee จะสูงขึ้น

ตอนนี้ = $680
นับจากวันที่ 1 January 2021 = $3300 (Ouch!!!!)



Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer
www.immigrationsuccessaustralia.com


Q & A : Partner visa & Bridging visa A (BVA)

13/11/2020

 
Q: ขณะนี้อาศัยอยู่ออสเตรเลียด้วย Visitor Visa ต้องการยื่นขอ Partner Visa แบบ onshore  แต่ติดตรงที่ระหว่างรอวีซ่าตัวจริง ทำอย่างไรถึงจะสามารถเรียนและทำงานในออสเตรเลียไปด้วยได้ เข้าใจว่า BVA ที่จะได้ระหว่างรอ จะเป็นเงื่อนไขเดียวกับ Visitor Visa subclass 600 ที่ถืออยู่ ณ ปัจจุบัน

ขอคำแนะนำเบื้องต้น เรื่องว่าควรยื่นประเภทวีซ่าที่เหมาะสม ที่จะสามารถเรียนและทำงานในออสเตรเลียได้


A: ตอนที่ถือวีซ่าท่องเที่ยวก็ทำตามเงื่อนไขวีซ่าท่องเที่ยว เมื่อ Bridging visa เริ่มมีผลบังคับใช้ สามารถเรียนและทำงานได้ค่ะ 
 
จากข้อมูลที่ให้มาซึ่งค่อนข้างจำกัด Partner visa น่าจะเป็นวีซ่าที่เหมาะสมแล้วนะคะ แต่ไม่ทราบรายละเอียดลึกๆ ก็ไม่ทราบว่าเคสจะมีประเด็นอะไรให้ต้องกังวลหรือไม่



Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


Q & A : Bridging visa E ต้องขอก่อนหรือหลังวีซ่าหมด

7/11/2020

 
Q: อยากสอบถามเรื่อง Bridging Visa E ค่ะ พอดีว่าติด Section 48 bar จาก 485 visa refusal แล้วต้องกลับไทยภายใน 28 วัน แต่ว่ายังหาไฟลท์กลับไทยไม่ได้ เลยต้องการยื่นขอ BVE ไม่ทราบว่าต้องขอก่อนหรือหลังวีซ่าหมดหรอคะ

A: ถ้าตอนนี้ถือ BVE อยู่แล้ว = ต่อก่อนวีซ่าหมด
ถ้าตอนนี้ถือวีซ่าอื่น เช่น BVA = ต่อวันถัดไปหลังวีซ่าหมด (เช่น BVA หมดวัน 14, ยื่นใบสมัคร BVE วันที่ 15)

ป.ล.1    วีซ่าถูกปฏิเสธ น่าจะมี 35 วันนะคะ ไม่ใช่ 28 วัน ลองเช็ค VEVO ดูอีกครั้งว่าวีซ่าหมดวันไหนแน่
ป.ล.2    ในกรณี 485 ถูกปฏิเสธ น่าจะมีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์นะคะ ลองพิจารณาดูว่าเป็นเคสที่ควรจะยื่นอุทธรณ์หรือไม่



Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


Q & A : วีซ่าถูกปฏิเสธ ควรจะยื่นอุทธรณ์ หรือยื่นใหม่

4/11/2020

 
Q: วีซ่าเพิ่งถูกปฏิเสธมาน่ะค่ะ อยากทราบว่าควรจะยื่นอุทธรณ์ หรือรอซักระยะนึงแล้วยื่นใบสมัครใหม่ดีคะ

A: ต้องดูว่าถูกปฏิเสธด้วยเหตุผลอะไร เป็นอะไรที่เราสามารถโต้เถียงหรือปรับปรุงได้ไหม ถ้าได้ เราควรจะโต้เถียงหรือปรับปรุงที่ชั้นอุทธรณ์หรือที่ชั้นอิมมิเกรชั่นดี แต่ละเคสก็มีแนวทาง (Strategy) การทำเคสไม่เหมือนกันค่ะ ก็เป็นคำถามที่ไม่สามารถตอบได้โดยไม่พิจารณาเอกสารและซักถามข้อมูลเพิ่มเติม แนะนำให้นัดปรึกษาเบื้องต้นนะคะ เราต้องดูเอกสารและคุยกันค่ะ


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com



Q & A : ถือ 485 อยู่ จะย้ายไปติดตามแฟนด้วยวีซ่า 485 ได้ไหม

2/11/2020

 
Q: กรณีที่ถือวีซ่า 485 อยู่แล้วแต่วีซ่าจะหมดธันวาคมนี้
สามารถให้แฟนยื่น 485   แล้วเราย้ายไปติดตามแฟนได้ไหมคะ


A: ได้ค่ะ


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com



NEWS for Partner visa

7/10/2020

 
Federal Budget ที่ประกาศมาเมื่อวาน (6 October 2020) ที่เกี่ยวข้องกับ Partner visa ก็จะมีตามนี้นะคะ

  • ผู้สมัครวีซ่าแบบในประเทศออสเตรเลีย และคนที่มีสปอนเซอร์อาศัยอยู่ Regional areas (เมืองรอบนอก) จะได้ Priority คือจะได้รับการพิจารณาก่อน
  • ผู้สมัคร Partner visa และสปอนเซอร์ที่เป็นพีอาร์ ต้องมีผลภาษาอังกฤษ - UPDATE: ผลภาษาอังกฤษที่ต้องการคือ Functional English หรือเรียน Adult Migrant English Program:AMEP 510 ชั่วโมง ก่อนยื่น Stage 2 Permanent Partner visa (ความเห็นส่วนตัวนะคะ คนเขียนคิดว่า Functional English เป็นระดับที่สูงเกินไปสำหรับ Partner visa และก็ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถไปเรียน AMEP ได้ ไม่ว่าจะเป็นภาระทางครอบครัว ที่อยู่อาจจะไกลจากที่เรียน)
  • สปอนเซอร์ต้องยื่น Sponsorship application และต้องได้รับอนุมัติ ก่อนที่ผู้สมัครจะยื่น Partner visa application ได้ (เรื่องนี้คนเขียนเคยโพสไว้นานแล้ว เพราะกฏหมายออกมาตั้งนานแล้ว เพียงแต่อิมมิเกรชั่นยังไม่เอามาปรับใช้กับ Partner visa แต่เมื่อมีประกาศใน Federal Budget คาดว่าคงจะปรับใช้เร็วๆนี้)
  • การตรวจเช็คประวัติคดีอาญาจะเข้มงวดขึ้น

ทั้งหมดนี้เป็นประกาศนะคะ ส่วนจะปรับใช้เมื่อไหร่และรายละเอียดลึกๆจะเป็นอย่างไร เราก็ต้องติดตามกันต่อไป

ใครพร้อมยื่นก่อนกฏเปลี่ยนก็ยื่นค่ะ แต่ดูให้ดีๆว่าเคสพร้อมยื่นจริงๆ

เคส Partner visa ไม่ใช่แค่มีแฟนเป็น Australian citizen หรือพีอาร์เป็นอันจบนะคะ มีเงื่อนไขอื่นๆอีกเยอะแยะเคสที่ถูกปฏิเสธเพราะประเด็นอื่นก็เยอะค่ะ ยื่นวีซ่ากันด้วยความระมัดระวัง


Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com

แชร์ประสบการณ์ Consultation รอบที่ 2

5/10/2020

 
คนเขียนมีน้องๆนัดขอคำปรึกษาเบื้องต้น (Initial Consultation) กันเป็นปกตินะคะ บางคนก็

  • ชัดเจนมาเลยว่าต้องการทำวีซ่าอะไร (แต่บางครั้งคนเขียนก็เสนอวีซ่าตัวอื่นที่เหมาะสมกว่า)
  • ไม่ทราบอะไรเลยและต้องการหาแนวทาง หรือวางแผนอนาคต
  • มีปัญหาด่วนมาให้แก้ไขให้
  • มีเวลาตั้งเยอะแต่ไม่ทำอะไร เหลือ 1 อาทิตย์บ้าง 3 วันบ้าง
  • วีซ่าจะหมดวันพรุ่งนี้ วันนี้เพิ่งติดต่อมา

ปกติคนเขียนไม่ทำงานวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ  บางวัน 5ทุ่ม เที่ยงคืน ตี3 ยังนั่งทำงาน แต่จะพยายามเลิกรับโทรศัพท์หลัง 1ทุ่ม

สำหรับเคสด่วน นัดปรึกษาวันเสาร์อาทิตย์ หรือแม้กระทั่ง 3-4 ทุ่ม คนเขียนก็จัดให้นะคะ แต่ด่วนของลูกความ กับด่วนของคนเขียน คนละเรื่องกัน เช่น


  • ลูกความเพิ่งแพ้ที่ชั้นอุทธรณ์มา ต้องการทราบว่าจะอุทธรณ์ต่อหรือจะกลับไทยดี เคสนี้มี 35 วัน จริงๆเคสนี้ไม่ด่วน แต่ไฟล์กลับไทยช่วงโควิดมีไม่เยอะ และเต็มเร็วมาก เพราะฉะนั้นเวลาเป็นเรื่องสำคัญ และอาจจะมีผลกระทบกับวีซ่าของลูกความในอนาคต (ถ้าตัดสินใจจะกลับ แต่กลับไม่ได้ก่อนวีซ่าหมด) เคสนี้คนเขียนดูเคสให้วันเสาร์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็น 3 วัน Long weekend สงสารตัวเองนิดนึง แต่ด่วนก็คือด่วน จัดให้
  • เคสที่ลูกความถูกเอเจนต์ลอยแพ และมี deadline คนเขียนก็ดูเคสให้แบบด่วน ส่วนจะรับทำเคสหรือไม่อีกเรื่องนึง
  • เคสที่วีซ่าจะหมดวันพรุ่งนี้ แต่เพิ่งติดต่อมา อันนี้ด่วนของคุณ ไม่ด่วนสำหรับคนเขียนนะคะ

เข้าเรื่องดีกว่า ...... คนเขียนก็จะมีลูกความบางคนที่เคยทำ Initial Consultation แล้ว หายไปพักนึง ก็ขอนัดอีกรอบ หรืออีก 2 รอบ ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร รอบแรกอาจจะเป็นการหาแนวทาง รอบสองอาจจะพร้อมทำเรื่องยื่นวีซ่า หรือติดปัญหาอะไรบางอย่าง หรือสถานะของลูกความเปลี่ยน หรือกฏหมายเปลี่ยน

เคส Consultation รอบที่ 2 ที่คนเขียนแอบเซ็ง(และเสียดายแทน) ก็จะประมาณ 4 เคสข้างล่างค่ะ


เคสที่ 1

Initial Consultation .... เคส Partner visa .... ลูกความไม่ถือวีซ่า คนเขียนแนะนำเคสนี้ให้ยื่นในประเทศออสเตรเลียเท่านั้น โน๊ตตัวโตๆไว้ในไฟล์ว่า "Complex case - Onshore only"   เหตุผลคือนอกจากจะไม่ถือวีซ่าแล้ว ประวัติทางวีซ่าก็ dodgy จะด้วยความตั้งใจหรือได้รับคำแนะนำผิดๆคนเขียนไม่ทราบ รวมถึงประวัติส่วนตัว ที่คนเขียนเชื่อว่าถ้าออกไปแล้วจะไม่ได้กลับเข้ามา

4 ปี ผ่านไป ลูกความติดต่อมาขอ Consultation รอบที่ 2 ... ปรากฏว่าตอนนี้กลับประเทศตัวเองไปแล้ว ..... 
       
                                                                       What!  Why?

                     .... ก็แนะนำแล้วว่าไม่ให้กลับ ให้ยื่น Onshore = ยื่นในประเทศออสเตรเลีย

ลูกความบอกว่าขอโทษนะที่ตอนนั้นไม่เชื่อยู หลังจากที่คุยกันเสร็จ เอาไปเล่าให้เพื่อนฟัง เพื่อนแนะนำคนอื่นที่เป็นคนชาติเดียวกันให้ เลยใช้บริการเค้าแทน ถูกเรียกเก็บเงินตลอดแล้วไม่ทำอะไรให้เลย .....  4 ปีผ่านไป คนนี้ก็แนะนำให้กลับออกไปยื่น Offshore Partner visa บอกว่าง่ายและเร็ว นี่กลับมาประเทศตัวเองได้หลายเดือนแล้ว เงินก็โอนไปแล้ว เค้ายังไม่ได้ยื่นวีซ่าให้ แถมติดต่อไม่ได้ด้วย

เคสนี้มีตั้งแต่การอยู่เกินวีซ่า เปลี่ยนชื่อกลับมาใหม่ ไม่แจ้งชื่อเดิม ยื่นสาระพัดวีซ่า รวมถึง Protection visa ยื่นเอกสารปลอม อยู่เกินวีซ่าต่ออีก 10 กว่าปี ที่สำคัญมีประวัติคดีอาญาร้ายแรง ประเภทที่อิมมิเกรชั่นจะต้องปฏิเสธวีซ่า ยกเว้นว่าจะมีเหตุผลน่าเห็นใจ ..... (ประวัติทางวีซ่าโชกโชนขนาดนี้ ความเห็นใจของอิมมิเกรชั่นจะมีเหลืออยู่แค่ไหน ..... แถมตอนนี้ลูกความอยู่นอกออสเตรเลีย เหตุผลหลายๆอย่างที่อาจจะเอามาใช้ได้ ถ้าลูกความอยู่ในออสเตรเลียก็หายไปด้วย) .... เพราะฉะนั้นยื่น Offshore ไม่มีทางง่ายและเร็ว ..... มีความเป็นไปได้สูงมากที่อาจจะไม่ได้กลับเข้ามาอีกนาน หรืออาจจะไม่ได้กลับเข้ามาอีกเลย

คนเขียนบอกเลยว่าในบางเคส Offshore is NOT an option!  และการพยายามหาทางให้ลูกความอยู่ที่ประเทศออสเตรเลียต่อ ง่ายกว่าการพยายามเอาลูกความกลับมานะคะ


เคสที่ 2

Initial Consultation .... ลูกความไม่ถือวีซ่า ติด section 48 บาร์ด้วย ทางเลือกสำหรับทำพีอาร์ไม่มี คนเขียนคิดว่ากลับไทยติดบาร์ 3 ปีน่าจะดีกว่า ดูประวัติแล้ว หลังบาร์ 3 ปี น่าจะมีโอกาสได้กลับมา

7 ปีผ่านไป ลูกความติดต่อมาขอ Consultation รอบ 2 ...... ปรากฏว่าตอนนี้ก็ยังอยู่ที่นี่ เชื่อเพื่อนและนายหน้ายื่น Protection visa ไปเรียบร้อย จากนั้นก็ไปอ่านเจอจากหลายแหล่ง รวมถึง VisaBlog ของคนเขียนด้วยว่าไม่ควรยื่น Protection visa ตอนนี้เริ่มกังวลกับผลเสียที่จะตามมา

คนเขียนก็งงกับเคสนี้นะคะ จะว่าไฺม่เคยรู้จักคนเขียนมาก่อนก็ไม่ใช่ เพราะเคยนัดปรึกษากันมาแล้ว แทนที่จะปรึกษาว่าควรหรือไม่ควรยื่น Protection visa ก่อนยื่น ก็ไม่ทำ ...... ยื่นไปแล้ว ค่อยมากังวล ค่อยมาหาคำปรึกษา .... ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าน้องคิดอะไร


เคสที่ 3

Initial Consultation ..... เคส Partner visa เป็นเคสที่ตรงไปตรงมา ไม่ได้มีประเด็นซีเรียสอะไรที่น่ากังวล แต่คนเขียนก็อธิบายเงื่อนไข Requirements ของ Partner visa และบอกจุดที่ควรระวังให้ทราบ น้องถามว่า
ถาม ...... จำเป็นต้องใช้บริการคนเขียนไหม
ตอบ ..... น้องต้องถามตัวเองว่าเข้าใจกฏหมาย เงื่อนไข เอกสาร หลักฐาน ของการทำ Partner visa แค่ไหน แต่ละคนก็มีขีดความสามารถแตกต่างกันไป คนที่ทำเองแล้วผ่านก็เยอะแยะ คนที่ทำเองแล้วถูกปฏิเสธก็มี เคสที่มาให้คนเขียนทำอุทธรณ์ให้ก็เยอะ
ถาม ...... ถ้าน้องจะทำเคสเอง และเสียค่าปรึกษาเพื่อขอคำแนะนำเป็นระยะๆ และให้คนเขียนตรวจเช็คเอกสารให้ก่อนยื่นล่ะ
ตอบ ..... ไม่มีบริการนี้ค่ะ สำหรับคนเขียนมีแค่ 2 ทาง ทำเคส หรือไม่ทำเคส  เคส Partner visa เหมือนกัน แต่ Strategy (แผนการทำงาน) ของแต่ละเคสไม่เหมือนกัน เคสที่ไม่มีประเด็นซีเรียส ไม่ได้แปลว่าไม่มีจุดที่ควรระวัง บางเคสเราเห็นปัญหาระหว่างการเตรียมยื่น และการตัดสินใจยื่นหรือไม่ยื่นเอกสารบางชิ้น นำเสนอหรือไม่นำเสนอข้อมูลบางอย่างเป็นอะไรที่ต้องคิด ต้องตัดสินใจทั้งนั้น  สำหรับคนเขียน Quality control เป็นเรื่องสำคัญ และเคสที่มาให้ดูแลแบบครึ่งๆกลางๆเป็นอะไรที่ Control ยากมาก

ลูกความตัดสินใจทำเคสเอง

...... 2 ปีผ่านไป ลูกความขอนัด Consultation รอบ 2 ... ส่งคำตัดสินปฏิเสธ Partner visa มาให้อ่าน พลาดไปกับการเลือกเอกสารพิสูจน์ความสัมพันธ์


เคสที่ 4

Initial Consultation .... ลูกความเลิกกับแฟนคนเดิม มีแฟนคนใหม่ คนเขียนแนะนำวีซ่าที่คิดว่าเหมาะสมให้ และแนะนำให้ Declare ข้อมูลกับอิมมิเกรชั่น เคสนี้ลูกความอยู่ในจุดที่ไม่มีหน้าที่ต้อง Declare  แต่สำหรับเคสนี้ Strategically แล้ว ลูกความควร Declare

ลูกความหายไป 2 ปีกว่า ขอนัด Consultation รอบ 2 เคสถูกปฏิเสธเพราะประเด็นนี้เลย ถามว่าแนะนำแล้วทำไมถึงไม่ทำ ลูกความบอกว่ายื่นวีซ่าที่คนเขียนแนะนำ แต่ให้เอเจนต์อีกคนดูแลเคสและยื่นวีซ่าให้ ซึ่งเอเจนต์บอกว่าไม่มีหน้าที่ต้อง Declare ก็ไม่ต้อง Declare ก็เลยทำตามที่เอเจนต์แนะนำ ...... 

ทนาย และเอเจนต์แต่ละคนก็มีสไตล์การทำงาน และ Strategy (แผนการทำงาน) ของแต่ละเคสแตกต่างกันไปนะคะ  ชอบสไตล์การทำงานแบบไหน   ชอบ Strategy ของใคร  ใช้บริการคนนั้น   คนที่วาง Strategy ให้  โดยปกติก็จะมีแพลนอยู่ในหัวแล้ว (หวังว่านะ) ว่ารายละเอียดและสเต็ปการเดินเคส รวมถึงการยื่นเอกสารควรจะเป็นแบบไหนและเพราะอะไร และถ้าอะไรบางอย่างเกิดขึ้นระหว่างทาง ควรจะเดินเคสต่อยังไง



Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

www.immigrationsuccessaustralia.com


<<Previous
Forward>>

    Author


    พี่เก๋ - กนกวรรณ ศุโภทยาน เป็นทนายความไทย และทนายความของประเทศออสเตรเลีย (Immigration Lawyer)

    มีประสบการณ์เป็นทนายความเฉพาะทาง ด้าน IMMIGRATION ของประเทศออสเตรเลีย รับวางแผนการขอวีซ่า ยื่นใบสมัครขอวีซ่าทุกประเภท ช่วยเหลือในชั้นอุทธรณ์ที่ Administrative Appeals Tribunal และในชั้นศาลค่ะ

    ต้องการคำแนะนำ หรือความช่วยเหลือ ติดต่อได้ที่ Immigration Success Australia
    mb: 0428 191 889 หรือ www.immigrationsuccessaustralia.com

    Archives

    December 2023
    November 2023
    October 2023
    July 2023
    September 2022
    July 2022
    January 2022
    December 2021
    November 2021
    October 2021
    September 2021
    July 2021
    June 2021
    March 2021
    February 2021
    January 2021
    December 2020
    November 2020
    October 2020
    September 2020
    July 2020
    June 2020
    May 2020
    April 2020
    March 2020
    February 2020
    March 2019
    January 2019
    November 2018
    October 2018
    August 2018
    July 2018
    June 2018
    April 2018
    October 2017
    September 2017
    August 2017
    May 2017
    April 2017
    August 2015
    April 2015
    December 2014
    September 2014
    August 2014
    June 2014
    March 2014
    January 2014
    October 2013
    September 2013
    July 2013
    June 2013

    Categories

    All
    วีซ่า
    อุทธรณ์
    วีซ่าคู่ครอง
    101
    102
    103
    143
    173
    186
    187
    190
    300
    309
    4020
    408
    417
    445
    457
    462
    476
    482
    485
    489
    491
    494
    500
    870
    AAT
    Accountant
    Administrative Appeals Tribunal
    Adoption Visa
    Agriculture Visa
    Approved Nomination
    Australia
    Australian
    Australian Citizenship
    Australian Immigration
    Bar
    Bricklayer
    Bridging Visa
    Bridging Visa A
    Bridging Visa E
    BVA
    BVE
    Changes To Immigration Law
    Changing Courses
    Chef
    Child Visa
    Consolidated Sponsored Occupations List
    COVID 19
    COVID-19
    CSOL
    Decision Ready
    Decision-ready
    Decision Ready Application
    Decision-ready Application
    De Facto Relationship
    Employer Sponsored
    English Exemption
    ENS
    Exercise Physiologist
    Family
    Family Violence
    Federal Circuit Court
    Graduate Work
    GTE
    Hydrogeologist
    Ielts
    Immigration
    Immigration Lawyer
    Judicial Review
    Jurisdictional Error
    Migration Agent
    Migration Review Tribunal
    MRT
    Nomination
    Orphan Relative Visa
    Overstay
    Parent
    Partner Visa
    PIC 4020
    Post Study Work
    Processing Period
    Protection Visa
    Public Interest Criteria
    Public Interest Criterion
    Regional Australia
    Regional Visas
    Registered Migration Agent
    Rma
    RSMS
    Section 48
    Section 48 Bar
    Self Sponsorship
    Skilled Migration
    Skilled Occupations List
    Skilled Work Regional
    Skills Assessment
    SOL
    Sponsor
    Sponsorship
    Student Visa
    Substantive Visa
    Training
    Travel Exemption
    Tsmit
    Unlawful
    Visa Cancellation
    Visa Refusal
    Wall And Floor Tiler
    Working And Holiday Visa

    RSS Feed

Powered by Create your own unique website with customizable templates.